แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 15102|ตอบ: 21
go

วัดพระธาตุศรีสามรักษ์ (ห้วยตีนตั่ง) ม.๗ ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC02216.jpg



วัดพระธาตุศรีสามรักษ์ (ห้วยตีนตั่ง)

ม.๗  ต.ทุ่งข้าวพวง  อ.เชียงดาว  จ.เชียงใหม่

[พระบรมธาตุเจดีย์]



Rank: 8Rank: 8

  ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          •  วัดพระธาตุศรีสามรักษ์  อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
          •  พระภิกษุ วัดพระธาตุศรีสามรักษ์  อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
          •  หนังสือที่ระลึกประชุมเพลิงศพหลวงปู่พระอธิการบัณฑิต จิณณปุณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัด
          •  และทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญครั้งนี้

หมายเหตุ   
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทาน


  


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC02236.jpg



IMG_5908.jpg



ศาลพระพรหม วัดพระธาตุศรีสามรักษ์ (ห้วยตีนตั่ง) ค่ะ


IMG_5910.jpg



ศาลารับแขก วัดพระธาตุศรีสามรักษ์ (ห้วยตีนตั่ง) ค่ะ


DSC02276.jpg



DSC02259.jpg



DSC02231.jpg



DSC02232.jpg



DSC02270.jpg



การเดินทางมากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุศรีสามรักษ์ วันนี้ก็ขอจากกันไปด้วยภาพบรรยากาศภายในวัดเลยนะคะ สวัสดีค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC02411.jpg



เหรียญที่ระลึกงานประชุมเพลิงศพ หลวงปู่พระอธิการบัณฑิต จิณปุณโณ (บัณฑิต ฤชาปกรณ์) อดีตเจ้าอาวาส วัดพระธาตุศรีสามรักษ์  (ห้วยตีนตั่ง) ค่ะ


g.jpg



ธรรมะจากหลวงปู่พระอธิการบัณฑิต จิณปุณโณ

มนุษย์นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ ความฝันของมนุษย์ สุดจะพรรณาหาที่เปรียบเทียบไม่ได้ เฝ้ารอคอยดวงอยู่ตลอดเวลาที่จะพาไป ทางถูกต้อง ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ ทางลบ – ทางบวก การกระทำของมนุษย์จะเป็นอยู่สองอย่าง ทางดีและทางไม่ดี แต่ก็ฝืนทำทำแล้วเกิดทางลบ พบแต่สิ่งของที่ไม่เป็นมงคล และทำให้สับสนวุ่นวายเป็นเรื่อง มนุษย์นั้นเกิดมาทั้งที่ควรสร้างความดีไว้มากๆ เมื่อด่วนจะจากโลกนี้ไปควรทำอะไรไว้ให้สังคม ควรสร้างความดีไว้ให้สังคม “คือมนุษย์สมบูรณ์แบบ”
   

                                                                                                   หลวงปู่ บัณฑิต จิณณปุญโญ

ธรรม ๗ ประการ

๑. คนดีชอบก่อ
๒. คนสอชอบแก้ไข
๓. คนจัญไรชอบแก้ตัว
๔. คนชั่วชอบทำลาย
๕. คนมักง่ายชอบทิ้ง
๖. คนจริงชอบทำ
๗. คนระยำชอบตำหนิ


ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อน
กุศลบุญ                คุณล้ำ                เคยทำไว้
จะส่งให้                สวยเด่น              เช่นดวงแข
ทั้งทรัพย์ยศ           ไมตรี                 มีเย็นแด
เพราะกระแส          บุญเลิศ              ประเสริฐนัก




บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

a.jpg



ประวัติพระอธิการบัณฑิต จิณณปุญโญ (บัณฑิต ฤชาปกรณ์) (ต่อ)

วิทยฐานะ
พ.ศ.๒๕๒๗        สอบได้นักธรรมชั้นโท
พ.ศ.๒๕๒๘        สอบได้นักธรรมชั้นเอก
                       ณ.สำนักเรียนวัดชัยพฤกษมาลา กรุงเทพฯ

งานปกครอง
วันที่ ๒ เดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยตีนตั่ง หรือวัดดอยเวียงสุวรรณบรรพต ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระธาตุศรีสามรักษ์ ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

f.jpg



งานก่อสร้าง (สาธารณูปการ)

นับตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๓๐ เป็นต้นมา ท่านก็ได้เริ่มก่อสร้างอาคารเสนาสนะต่างๆ ภายในและนอกวัด อาทิเช่น

๑. พระอุโบสถและเจดีย์ ที่ก่อสร้างด้วยปูน หลังคามุมด้วยกระเบื้องเคลือบตกแต่งด้วยศิลปกรรมปูนปั้น สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒
๒. วิหาร ก่อสร้างด้วยปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้อง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒
๓. กุฏิสงฆ์ ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงกระเบื้อง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓
๔. ห้องน้ำและโรงครัว ก่อสร้างด้วยปูนและไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงกระเบื้อง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ ฯลฯ


และยังมีสิ่งปลูกสร้างอีกมากมายทั้งภายในวัดและภายนอกจนแล้วสร็จทุกอย่าง สิ้นทุนทรัพย์หลายสิบล้านบาท สิ่งเหล่านี้จะสำเร็จไม่ได้หากไม่มีความอุตสาหะมานะอดทน อีกทั้งทุ่มเทแรงกายและแรงใจของท่าน พร้อมทั้งแรงศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศของพุทธบริษัทใกล้และไกล

ช่วงที่ท่านกำลังก่อสร้างอยู่นั้นก็ได้จัดให้มีการเรียนการสอนขึ้นในวัดด้วย และยังอุปการะเด็กชาวไทยภูเขาที่ยากจนด้อยโอกาสในการเรียนหนังสือ ซึ่งเด็กเหล่านี้จะต้องบวชเณรก่อน จึงจะส่งฝากเรียนในโรงเรียนของคณะสงฆ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๓๓ - ๒๕๔๕ ซึ่งบางคนจบการศึกษาที่ดีและอนาคตที่มั่นคง ตอนท่านยังแข็งแรงดีอยู่นั้น ท่านเปิดการเรียนการสอนขึ้นในวัดโดยการจ้างครูมาสอนในสายวิชาชีพนั้นเช่น เปิดการสอนพิมพ์ดีด สอนวิชาตัดเย็บและทำอาหาร ซึ่งทุกคนที่มาเรียนจะได้มีวิชาและความรู้เลี้ยงชีพตัวเองและครอบครัวได้อย่างไม่ต้องลำบาก เพราะมีวิชาติดตัวแล้วทุกคน

เป็นที่ประจักษ์ดังกล่าวว่า ท่านเป็นพระนักพัฒนาอีกรูปหนึ่งที่มีความเสียสละให้ส่วนรวมอย่างแท้จริง ซึ่งท่านได้ทำหน้าที่ของเจ้าอาวาสถวายครบ ๕ ข้อคือ
๑. งานการศึกษา
๒. งานเผยแผ่
๓. งานการศึกษาสงเคราะห์
๔. งานสาธารณสงเคราะห์
๕. งานสาธารณูปการ (งานบูรณะและก่อสร้าง)

e.jpg



ท่านจึงเป็นที่รู้จักเคารพนับถือของผู้คนทั่วไป รวมทั้งพระสงฆ์สามเณรและเพื่อนสหธรรมมิกทุกคน เพราะท่านเป็นผู้ที่มีแต่ความเสียสละช่วยเหลือสนับสนุนงานด้านต่างๆ เป็นอย่างดี

นับตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ มา ท่านก็มีอาการสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงทั้งความชราภาพ จึงทำให้ท่านป่วยได้ง่าย และมีโรคหัวใจที่ต้องผ่าตัด ท่านจึงเข้ารักษาโรงพยาบาลมหาราชสวนดอก หลังจากที่ผ่าตัดแล้ว คุณหมอต้องนัดท่านตรวจทุกๆ ๒ ถึง ๓ เดือนต่อครั้ง ท่านต้องอดทนต่อสู้กับอาการป่วยและสังขารอันไม่เที่ยงนี้ หรืองานปอยหลวงฝังลูกนิมิตนั่นเอง และเมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๒ งานฉลองสมโภชผูกพัทธสีมาก็ได้จัดขึ้นอย่างสมบูรณ์และสมเกียรติ

เมื่อเสร็จงานท่านจึงมีเวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ งานอื่นๆ ท่านก็ปล่อยวางหมดเกือบทุกอย่าง ต่อมาไม่นานนักท่านก็ต้องเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากเกิดอาการอ่อนแรงและโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง จึงทำให้ท่านเข้า-ออกโรงพยาบาลบ่อยยิ่งขึ้น จนเมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๓ ถึงฤดูฝนเข้าพรรษาอาการป่วยอาพาธทรุดหนัก เพราะอาการของต่อมลูกหมากโต ทำให้ตัวท่านต้องใส่ท่อสายยางตลอด เมื่อเดือนพฤศจิกายน ท่านต้องเข้ารับการผ่าตัดด่วนที่โรงพยาบาลมหาราช แพทย์ระบุลำไส้ได้ทะลุเป็นแผลเพราะเป็นมะเร็งในลำไส้ ช่วงพักฟื้นรักษาตัวนั้นเอง ทำให้ท่านมีอาการดีขึ้นบ้าง และทรุดลงตามลำดับ

เดือนธันวาคมวันที่ ๑๘ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๔ ท่านมีอาการหอบหายใจไม่ออก พยาบาลได้ให้ออกซิเจน จนกระทั่งวันที่ ๔ เวลา ๑๖.๐๐ น. ทางโรงพยาบาลได้ส่งตัวท่านไปยังโรงพยาบาลฝาง เพราะที่นั่นมีเครื่องช่วยหายใจว่างพอดี ซึ่งโรงพยาบาลอื่นๆ ไม่มีว่างเลยสักแห่ง พอไปถึงก็เวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. พยาบาลก็ได้นำตัวท่านไปยังห้อง I.C.U ทันที ซึ่งในตอนนั้นท่านไม่รู้สึกตัวแล้ว แต่หัวใจและชีพจรยังเต้นอยู่ และเวลา ๑๙.๓๐ น. หมอพยาบาลได้แจ้งให้ทราบว่า หัวใจของท่านหยุดเต้น ซึ่งทางแพทย์และพยาบาลกำลังช่วยปั๊มหัวใจของท่านอย่างเต็มกำลัง


แต่อนิจจาโลกใบนี้ไม่มีอะไรแน่นอน ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งสอนว่า สภาพสังขารของคนเราไม่เป็นของเที่ยงแท้แน่นอน เมื่อเกิดมา ตั้งอยู่ และดับไปในที่สุด ไม่นานนักร่างสังขารระบบหัวใจของท่านก็หยุดทำงานอย่างสิ้นเชิง และแล้วท่านก็ละสังขารจากไปด้วยอาการสงบ ในวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔ เวลา ๒๐.๐๐ น. ที่โรงพยาบาลฝาง สิริอายุ ๗๘ ปี พรรษา ๒๘

ท่านได้จากไปก็แต่สังขารเท่านั้น เพราะท่านได้ฝากความดีและผลงานไว้ให้คนรุ่นหลังได้จดจำสืบต่อไป ทางคณะสงฆ์ และศิษยานุศิษย์ พร้อมทั้งบุตรธิดาญาติมิตรพี่น้องทุกคน จึงพร้อมใจกันจัดบำเพ็ญกุศลศพ มีพิธีทำบุญสตัตมวาร (ทำบุญ ๗ วัน) ปิดศพ และทำบุญปัญญาสมวาร (ทำบุญ ๕๐ วัน) พร้อมกับได้จัดงานพิธีประชุมเพลิงศพอุทิศบุญกุศลที่บำเพ็ญถวายแด่ หลวงปู่บัณฑิต จิณณปุญโญ ขอให้ดวงวิญญาณของท่านจงรับทราบและได้รับกุศลผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้กระทำแล้วนี้ทุกประการเทอญฯ

นิพพาน ปัจจะโย โหตุโน นิจจัง

สาธุ สาธุ สาธุ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

c.jpg



ประวัติพระอธิการบัณฑิต จิณณปุญโญ (บัณฑิต ฤชาปกรณ์) อดีตเจ้าอาวาส วัดพระธาตุศรีสามรักษ์  (ห้วยตีนตั่ง)

ชื่อ              พระอธิการบัณฑิต ฉายา จิณณปุญโญ นามสกุล ฤชาปกรณ์
                  อายุ  ๗๘  ปี  ๒๘

พรรษา        นักธรรมชั้นเอก

สถานเดิม
        ชื่อ นาย บุญส่ง  กอหา  เกิดวัน พฤหัสบดี ที่ ๒๕ เดือน ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๕ บ้านดอนใหญ่ ต.ท้ายสะแก อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี บิดาชื่อ นาย คำ กอหา มารดาชื่อ นาง มั่น กอหา อาชีพ ทำนา มีพี่น้องร่วม ๖ คน คือ
        ๑.  นาง ปิ่น     กอหา
        ๒. นาย ปราโมทย์     ก่อนิธิ (เสียชีวิต)
        ๓. นาย ประเสริฐ     เคียนทอง (เสียชีวิต)
        ๔. นาย บุญส่ง     กอหา  (นามเดิม)
            (พระอธิการบัณฑิต จิณณปุญโญ ฤชาปกรณ์)
        ๕. นาย สุวัฒน์    กอหา   (เสียชีวิต)
        ๖. นาย กลิ่น    จุไร  (เสียชีวิต)

ชีวิตในวัยเด็กเรียนจบโรงเรียนวัดดอนใหญ่ ชั้นป.๔ เข้าเกณฑ์เป็นทหารได้รับใช้ชาติเป็นทหารอยู่สังกัดเสนารักษ์ ค่ายจักรพงษ์ (ปราจีนบุรี) ช่วงรับราชการก็ได้ศึกษาต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และรับใช้ชาติบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง จึงได้รับความไว้วางใจจากผู้ใหญ่หลายท่านให้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญและได้ติดยศเป็นพันโท จนมาถึงช่วงที่มีการปฏิวัติ ท่านก็ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี พอประเทศชาติบ้านเมืองสงบลงบ้างแล้ว ท่านก็ตัดสินใจลาออกจากราชการทหาร และหันมาประกอบอาชีพเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ถึง ๔ สำนักพิมพ์ มีนิตยสารรายเดือน สยามรัฐ พิมพ์ไทยร่วมสมัย ฯลฯ

ในชีวิตสมรสได้สมรสกับนางสำลี ดีพา และมีบุตรธิดาด้วยกัน ๖ คน ซึ่งก่อนที่ท่านจะบวชนั่นเกิดป่วยขึ้นกะทันหัน ต้องรักษาตัวอยู่นาน และได้อธิษฐานจิตบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง ถ้าหายจากโรคที่เป็นอยู่ จะขอบวชอุทิศตนให้กับพระพุทธศาสนาสืบไป จนกระทั่งปีพ.ศ.๒๕๒๖ อาการป่วยที่เป็นอยู่ก็หายทุเลาเบาบางลง ท่านจึงตัดสินใจบวชทันทีตามที่ได้อธิษฐานจิตเอาไว้

d.jpg



อุปสมบท


เมื่ออายุ ๕๐ ปี ณ พัทธสีมาวัดเขาลาดวนาราม ต.ห้วยแห้ง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เมื่อวันที่ ๑๔ เดือน กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๒๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. มีพระครูพิพัฒคีรีเขต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุด ปคุโณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปุย สิลคุโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์


ช่วงที่อยู่ในวัดใหม่ๆ นั้นอาการป่วยยังไม่ทรงตัว ท่านจึงบำบัดรักษาด้วยการนั่งวิปัสสนากรรมฐานเจริญสมาธิและปัญญาปฏิบัติตามธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์และพระอาจารย์ จนอาการป่วยดีแล้วท่านจึงย้ายมาอยู่ที่วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ เขตพระโขนง กรุงเทพ ไม่นานนักท่านก็ออกเดินธุดงค์มายังภาคเหนือ และอยู่จำพรรษาที่วัดพระธาตุดอยคำ จ.เชียงใหม่


จนกระทั่งมีนายทหารคนหนึ่งได้นิมนต์ท่านให้มายังวัดดอยเวียง (ห้วยตีนตั่ง) แห่งนี้ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๙ เนื่องจากวัดแห่งนี้เป็นวัดร้างและเป็นวัดเก่ามาก่อน ท่านจึงได้เดินทางมาที่วัดแห่งนี้พร้อมกับพระอีกรูปหนึ่ง อยู่มาจนกระทั่งวันหนึ่งขณะที่ท่านนั่งเจริญสมาธิอยู่นั้น ก็เกิดนิมิตองค์พระนเรศวรขึ้นมา ในนิมิตนั้นพระองค์ทรงบอกเล่าถึงความเป็นมาถึงความยากลำบากของพระองค์ รวมถึงชาวเขาชนเผ่าน้อยใหญ่ที่ได้ช่วยพระองค์ในการศึกสงครามในอดีต ตั้งแต่นั้นมาตัวท่าน(หลวงปู่)ก็ตั้งใจแน่วแน่พร้อมแรงศรัทธาอันแรงกล้าที่จะพัฒนาบำรุงก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่ และช่วยพัฒนาส่งเสริมชาวไทยภูเขาอย่างจริงใจจริงจังตั้งแต่นั้นมาร่วม ๒๐ กว่าปี



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

u.jpg



b.jpg



รูปภาพหลวงปู่พระอธิการบัณฑิต จิณปุณโณ อายุ ๗๘ ปี พรรษา ๒๘ อดีตเจ้าอาวาส วัดพระธาตุศรีสามรักษ์  (ห้วยตีนตั่ง) ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC02287.jpg



ขอเชิญร่วมทำบุญงานประชุมเพลิงศพ หลวงปู่พระอธิการบัณฑิต จิณปุณโณ อายุ ๗๘ ปี พรรษา ๒๘ อดีตเจ้าอาวาส วัดพระธาตุศรีสามรักษ์  (ห้วยตีนตั่ง) ณ เมรุชั่วคราวสนามกีฬา เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ในวันที่ ๒๔-๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ค่ะ


DSC02242.jpg



กำหนดการประชุมเพลิงศพ

วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เวลา ๐๙.๐๐ น.         พระสงฆ์จำนวน ๕ รูปประกอบพิธี อาราธนาอัญเชิญศพขึ้นประสาท
เวลา ๒๐.๐๐ น.         เทศนธรรม-สวดพระอภิธรรม

วันศุกร์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เวลา ๒๐.๐๐ น.         เทศนธรรม-สวดพระอภิธรรม

วันเสาร์ที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เวลา ๒๐.๐๐ น.         เทศนธรรมโดย พระครูคำมูล วัดโสภนาราม แม่ริม สวดพระอภิธรรม


DSC02244.jpg



วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เวลา ๐๙.๐๐ น.         ประกอบพิธีไหว้พระรับศีล
                             พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ธรรมนิยามสูตร
                             พ่ออาจารย์โอภาสเวนตาน ถวายเครื่องไทยทาน
                              พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี
เวลา ๑๑.๐๐ น.         ถวายภัตราหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์
เวลา ๑๒.๐๐ น.         เชิญคณะศรัทธาร่วมรับประทานอาหารในโรงทานต่างๆ
เวลา ๑๓.๐๐ น.         ประกอบพิธีทอดผ้าไตรบังสุกุล
                             และมหาบังสุกุล พระสงฆ์พิจารณา
                             ประชุมเพลิงเป็นเสร็จพิธี



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5898.jpg



DSC02249.jpg



DSC02250.jpg



DSC02252.jpg



กู่อัฐิ ภายใน วัดพระธาตุศรีสามรักษ์ (ห้วยตีนตั่ง) พระอาจารย์ บัณฑิต จิณณปุญโญ (อดีตเจ้าอาวาส) ผู้อุปถัมภ์ค่ะ  


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC02238.jpg



DSC02286.jpg


IMG_5894.jpg



DSC02240.jpg



DSC02241.jpg



รูปปั้นพญาโคศุภราช และพระนางมอญจิ๋ง ประดิษฐานภายใน ศาลา วัดพระธาตุศรีสามรักษ์ (ห้วยตีนตั่ง) ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-5 17:39 , Processed in 0.054343 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.