+ u2 h: @& ?+ D8 d8 O
) x* {) [0 |4 A- B2 m9 \7 Z- @
พิษณุโลก - พบรอยเท้ามนุษย์โบราณ ประทับบนหินร่องกล้า ตอกย้ำความเชื่ออุทยานภูหินฯ เคยอยู่ใต้ทะเลมาก่อนหลายล้านปี1 \% {, _) ~8 O, G( N' Y) k' |
, U1 w8 e2 J5 u, I ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (16 ส.ค.54) ว่า คณะทัวร์ป่าหน้าฝนของอุทยานภูหินร่องกล้า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ที่เดินทางสำรวจท่องเที่ยวภายในอุทยานฯ ได้พบกับรอยเท้าบนหินก้อนใหญ่ ตามเส้นทางไปลานหินปุ่ม ตรงข้ามกับสะพานมรณะ จึงแจ้งให้นายศักดิ์ปรินทร์ สุรารักษ์ ผู้ช่วยอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เข้าตรวจสอบพร้อมแจ้งผู้สื่อข่าวไปพิสูจน์จุดรอบเท้าบนหินดังกล่าว
, H: `* b( A6 s; v1 h. C ' ~3 E& P. h- X) E
โดยพบว่าบริเวณดังกล่าวมีรอยเท้าขนาดเล็ก คาดว่าเป็นรอยเท้ามนุษย์โบราณ 1 รอย ฝังอยู่บนลานหินก้อนหนึ่ง บนเขาสูง กลางป่าดิบชื้นสมบูรณ์ เพราะดูจากสภาพแวดล้อม ก้อนหินทรายดังกล่าวปกคลุมด้วยมอสและเฟิร์น ห่างจากถนนลาดยาง ตรงข้ามสะพานมรณะ 700 เมตร
! B9 T4 \- N1 W |4 I9 `
3 t# G$ |7 A% d ^, { ลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏ คือ คล้านกับรอยเท้าคนข้างขวา ข้างเดียว เหมือนกับเหยียบย่ำบนพื้นโคลน แต่เจ้าหน้าที่อุทยานฯใช้มือสัมผัส ก็ต้องตกใจ เพราะมีร่องนิ้วครบทั้ง 5 นิ้ว ปรากฏชัดเจน หากเทียบเท้าของเจ้าหน้าที่ชายแล้ว คาดว่า เป็นรอยเท้าของผู้หญิงแน่นอน เพราะมีขนาดเล็กกว่า
% e; M( C- l" ` g
8 k4 R5 S# o2 f5 M
นายไพรัช มณีงาม หัวหน้าอุทยานภูหินร่องกล้า เปิดเผยว่า รอยเท้ามนุษย์ ประทับบนหินที่ภูหินร่องกล้า ถือว่า แปลกประหลาด ยังไม่มีใครสังเกตเห็นมาก่อน แม้เจ้าหน้าที่อุทยานฯเดินสำรวจป่าหลายครั้ง ก็ไม่เคยพบ เพราะรอยเท้ามีหญ้าหรือมอสปกคลุม
6 _+ d1 S2 P' N. E6 e # \8 n7 E! u; y* }& p
“คงไม่มีใคร ลงทุนสร้างรอยเท้ามนุษย์ไปฝังบนเนินหินแน่นอน น่าจะเกิดโดยธรรมชาติ หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ภูหินร่องกล้า ก็ถือว่า ตอกย้ำความเชื่อที่ว่าอุทยานฯภูหินร่องกล้า เคยเป็นชั้นหินแล้วเกิดการสะสมตัวของตะกอนเม็ดกรวด เม็ดทรายใต้ท้องน้ำในยุคหลายล้านปีก่อน” หัวหน้าอุทยานฯเผย
3 D7 t8 Y6 u( S1 o1 s7 h
; R/ \- g$ D( ~8 G2 ] ทั้งนี้ ตามข้อมูลธรณีวิทยาระบุว่า ลานหินแตกและลานหินปุ่ม ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวภายในอุทยานฯนั้น เป็นปรากฏการณ์ยุค 50 ล้านปีก่อน ที่มีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก หินร่องกล้าถูกยกตัวสูงขึ้น เพราะถูกแรงบีบอัดสองด้านเกิดเป็นภูเขา ทำให้เกิดรอยแยกคือ ลานหินแตก ส่วนลานหินปุ่ม สันนิษฐานว่าเกิดจากการผุพังของชั้นหิน ต่อมาถูกน้ำกัดเซาะทำให้รอยแตกเป็นร่องลึกและกว้าง กลายเป็นรูปร่างกลมมน มองเห็นเป็นลานปุ่มเรียงราย
2 q& }% Q Q$ t9 s1 x
; O _9 \, V' r4 y1 m9 s- L' J
แต่รอยเท้า ที่เกิดขึ้นบนหินก้อนดังกล่าวนั้น ยังไม่สามารถระบุกันได้ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร มีเพียงการสันนิฐานกันว่า น่าจะเป็นร่องรอยมนุษย์ยุคหลายล้านปีก่อน แต่ ณ วันนี้ยังไม่มีนักวิชาการพิสูจน์แน่ชัด
5 I/ D, P' p$ y% m8 u0 u
. }, O; N- X0 l w' k; W$ E! ^ ส่วนการจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมนั้น ยังลำบาก เพราะรอยเท้าอยู่บนเส้นทางป่ารกทึบ
- Z, U$ U( i( B1 S8 l
4 I/ S( P1 Z, p7 w- Nby http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=95400001022268 s- \2 W$ C9 E1 b: Z