แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 13843|ตอบ: 10
go

วัดพระนั่งดิน ม.๗ ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_1246.JPG



วัดพระนั่งดิน

ม.๗ ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา

[พระเจ้านั่งดินในสมัยพุทธกาล , รอยพระพุทธบาท]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 15 ตุลาคม 2565)


Rank: 8Rank: 8

IMG_1215.JPG



IMG_1214.JPG



วัดพระนั่งดิน ตั้งอยู่ที่บ้านพระนั่งดิน หมู่ที่ ๗ ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๑ (ดอกคำใต้-เชียงคำ) ระยะทางห่างจากตัวเมืองอำเภอเชียงคำประมาณ ๔ กิโลเมตร



IMG_1217.jpg



IMG_1219.JPG


ป้ายวัดพระนั่งดิน



IMG_1220.JPG



IMG_1221.JPG



ซุ้มประตู วัดพระนั่งดิน


IMG_1147.JPG



ประตูทางเข้า วัดพระนั่งดิน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1212.JPG



IMG_1187.JPG



IMG_1193.JPG



อุโบสถ วัดพระนั่งดิน


IMG_1197.JPG



ประวัติอุโบสถ วัดพระนั่งดิน


อุโบสถหลังนี้เริ่มสร้างเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๑ ตรงกับเดือน ๑๐ เหนือ ขึ้น ๔ ค่ำ แล้วเสร็จเมื่อ วันจันทร์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๒ เดือน ๗ เหนือ แรม ๔ ค่ำ รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๙๘,๕๖๔ บาท (เก้าหมื่นแปดพันห้าร้อยหกสิบสี่บาทถ้วน) โดยพระอาจารย์คำหล้า สํวโร แห่งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดพระธาตุจอมสักสังวราราม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นประธานการก่อสร้าง

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๙ และได้ทำการผูกพัทธสีมา ตัดลูกนิมิตเมื่อ วันพุธที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๒ ตรงกับเดือน ๕ เหนือ แรม ๑๑ ค่ำ

------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติอุโบสถ วัดพระเจ้านั่งดิน)


IMG_1203.JPG



IMG_1264.JPG



บ่อน้ำทิพย์ ด้านหน้าอุโบสถ วัดพระนั่งดิน


IMG_1202.JPG



IMG_1265.JPG



รูปปั้นพญานาค อยู่บนปากบ่อน้ำทิพย์ ด้านหน้าอุโบสถ วัดพระนั่งดิน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1213.JPG



IMG_1194.JPG



วิหารพระพุทธรูป ด้านหน้าอุโบสถ วัดพระนั่งดิน


IMG_1225.JPG



IMG_1207.JPG



พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานภายในวิหารพระพุทธรูป ด้านหน้าอุโบสถ วัดพระนั่งดิน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1227.JPG



ภายในอุโบสถ วัดพระนั่งดิน



IMG_1239.JPG



ลูกนิมิต ภายในอุโบสถ วัดพระนั่งดิน


IMG_1242.JPG



พระเจ้านั่งดิน ประดิษฐานภายในอุโบสถ วัดพระนั่งดิน



IMG_1262.JPG



IMG_1248.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานด้านหลังพระเจ้านั่งดิน ภายในอุโบสถ วัดพระนั่งดิน



IMG_1240.JPG



IMG_1209.JPG



พระเจ้านั่งดิน วัดพระนั่งดิน


เป็นองค์พระประธานของวัด ไม่มีฐานรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานรองรับ เพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐานบนฐานรองรับ แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน


ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธรูปนี้สร้างขึ้นในสมัยพุทธกาล ตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ พระพุทธองค์ได้ทรงให้ปั้นด้วยดินจากลังกาทวีปขนาดเท่าองค์จริง ดังนั้น พระเจ้านั่งดินน่าจะมีอายุกว่า ๒,๕๐๐ ปี ในการสร้างพระพุทธรูปนี้ ใช้เวลา ๑ เดือน ๗ วัน จึงเสร็จ เมื่อสร้างเสร็จได้ประดิษฐานไว้บนพื้นราบ ไม่มีฐานชุกชีดังพระพุทธรูปอื่นๆ ทั่วไป


เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จนกระทั่งทุกวันนี้


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติวัดพระนั่งดิน)  


IMG_1247.JPG



ตำนานพระเจ้านั่งดิน

วัดพระนั่งดิน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา


จาก หนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง



ในสมัยหนึ่งมีพญาครองเมืองชะราว หรือเมืองพุทธรสะ ได้ค้นพบตำนานพระธาตุดอยคำและพระเจ้านั่งดิน เมื่อปี พ.ศ.๑๒๑๓ ว่า สมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ถึงเมืองพุทธรสะ (อำเภอเชียงคำปัจจุบัน) ซึ่งมี "พญาคำแดง" เป็นเจ้าเมือง

สมัยที่พระพุทธองค์ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระนั้น (พระธาตุดอยคำ อ.เชียงคำ จ.พะเยา ในปัจจุบัน) ทรงตรัสสั่งพญาคำแดง ให้สร้างรูปเหมือนของพระองค์ไว้ยังเมือง พุทธรสะ ขณะนั้นปรากฏว่ามีพระอินทร์ พญานาค ฤาษี ๒ ตน พระอรหันต์ ๔ องค์ ไปเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีป ช่วยกันเนรมิตขึ้น รวมเวลา ๑ เดือน กับ ๗ วัน จึงแล้วเสร็จ

ครั้นเมื่อพระองค์ไปโปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้ง ทรงเห็นรูปเหมือนนั้นเล็กกว่าองค์ตถาคต จึงตรัสสั่งให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระองค์ แล้วพระสัพพัญญูเจ้าจึงได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาล รูปปั้นจำลองจึงเลื่อนลงจากฐานชุกชี (แท่น) มากราบไหว้พระสัพพัญญูเจ้า พระองค์ได้ตรัสเทศนากับรูปเหมือนที่ได้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคต ให้ครบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา” พระรูปเหมือนจึงได้น้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่บนพื้นดินนั้น จึงเรียกกันว่า "พระเจ้านั่งดิน" มาจนกระทั่งทุกวันนี้

ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบกันมาว่า เคยมีชาวบ้านพากันสร้างฐานชุกชี แล้วอัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่มีเหตุปาฏิหาริย์เกิดอสุนีบาตฟ้าผ่าลงมาที่อุโบสถถึง ๓ ครั้ง บางกระแสยังบอกว่า ยกองค์พระไม่ขึ้น เหมือนถูกยึดติดพื้น พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนามาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบเท่าปัจจุบันนี้

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์, หน้า ๒๓๐.)  


IMG_1245.JPG



IMG_1267.JPG



ประวัติพระเจ้านั่งดิน  


จาก ป้ายประวัติพระเจ้านั่งดิน วัดพระนั่งดิน



ตามตำนานกล่าวว่า พระยาผู้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ ตำนาน เมื่อนมจตฺ จุลศักราช ๑๒๑๓ ปีระกา เดือน ๖ แรม ๓ ค่ำ วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกเมตตาสรรพสัตว์รอบโลกโดยทางอภินิหาร พอพระองค์เสด็จมาถึงเวียงพุทธรสะ (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระองค์ได้เสด็จประทับอยู่บนยอดดอยสิงกุตตระ พระธาตุดอยคำปัจจุบัน ทรงแผ่เมตตาและประสาทพรตรัสสั่งพระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น ให้สร้างรูปเหมือนของพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะนี้


พอสัพพัญญูเจ้าตรัสจบ ก็ปรากฏว่ามี พระยาอินทร์องค์หนึ่ง พระยานาคตนหนึ่ง พระฤาษี ๒ รูป และพระอรหันต์ ๔ องค์ ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีป มาสร้างพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ โดยใช้เวลาสร้างหนึ่งเดือนเจ็ดวัน จึงแล้วเสร็จ


ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จโปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้ง ทรงเห็นรูปเหมือนที่ให้ทรงสร้างนั้นเล็กกว่าองค์ตถาคต จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระองค์ แล้วพระสัพพัญญูเจ้าได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาล รูปปั้นจำลองจึงเลื่อนลงจากฐานชุกชี (แท่น) มากราบไหว้พระสัพพัญญูเจ้า พระองค์ได้ตรัสเทศนากับรูปเหมือนที่ให้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา” พระรูปเหมือนนั้นได้กราบน้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่บนผืนดินนั้น พระรูปเหมือนดังกล่าวคือ องค์พระเจ้านั่งดินในปัจจุบันนี้เอง


เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเจ้านั่งดินองค์นี้ ไม่ได้ประทับบนฐานชุกชีเหมือนกับพระพุทธรูปในอุโบสถวัดอื่นๆ มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เคยมีชาวบ้านพากันสร้างฐานชุกชี แล้วอัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่มีเหตุปาฏิหาริย์เกิดฟ้าผ่าลงมาที่อุโบสถถึง ๓ ครั้ง พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาลงมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบเท่าทุกวันนี้

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติพระเจ้านั่งดิน วัดพระนั่งดิน)  

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1249.JPG



IMG_1241.JPG



คำบูชาพระเจ้านั่งดิน
(ตั้งนะโม ๓ จบ) พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นิพพานปัจจโย โหตุเม สัมมาสัมพุทโธ โลกนาโถ อนาคโต นิพพานปัจจโย โหตุ ปรมัง สุขังโหตุโน  


IMG_1259.JPG



IMG_1256.JPG



IMG_1252.JPG



พระเจ้านั่งดินองค์จำลอง ประดิษฐานภายในอุโบสถ วัดพระนั่งดิน


IMG_1244.JPG



พระบรมสารีริกธาตุ ที่จะนำไปบรรจุในองค์พระเจดีย์ศรีเวียงพุทธรสะ วัดพระนั่งดิน


คำบูชา
(ว่านะโม ๓ จบ ) อะหัง วันทามิ อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ ปะระมะสารีริกะ ทาฐาธาตุง มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

ข้าพเจ้า ขอสักการะพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว เพื่อบูชาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้า ตลอดกาลนาน



IMG_1250.JPG



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย) ประดิษฐานภายในอุโบสถ วัดพระนั่งดิน


IMG_1251.JPG



รูปภาพพระครูบาคำหล้า สํวโร (วัดพระธาตุจอมสัก อ.เมือง จ.เชียงราย) ภายในอุโบสถ วัดพระนั่งดิน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1232.JPG



IMG_1231.JPG



ขอเชิญร่วมทำบุญใส่บาตร ๑๐๘ บาตร ภายในอุโบสถ วัดพระนั่งดิน



IMG_1228.JPG



IMG_1230.JPG



พุทธศาสนิกชนสามารถร่วมทำบุญบูชาดอกไม้ ธูปเทียน ทองคำเปลว เทียนสืบชะตาสะเดาะเคราะห์ และทำบุญบำรุงวัดต่างๆ ตามจิตศรัทธากับทางวัดได้ ภายในอุโบสถ วัดพระนั่งดิน


IMG_1235.JPG



ฆ้อง ภายในอุโบสถ วัดพระนั่งดิน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1208.JPG



IMG_1210.JPG



IMG_1269.JPG



ก้อนหินประทับรอยพระพุทธบาท ประดิษฐานใต้ต้นไม้ใหญ่ ด้านหน้าอุโบสถ วัดพระนั่งดิน


IMG_1270.JPG



ก้อนหินประทับรอยพระพุทธบาท วัดพระนั่งดิน

เดิมมีอยู่ ๒ ก้อน
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ ชาวบ้านได้นำหินทั้งสองก้อนลงมาจากบนเขาจำกูด (เฟิร์น) ในป่าท้ายหมู่บ้าน ซึ่งบริเวณใกล้เคียงยังมีบ่อน้ำทิพย์ และมีพระธาตุเจดีย์ชื่อว่า พระธาตุจอมกูด แต่ได้ร้างไปแล้ว ชาวบ้านนำหินทั้งสองก้อนมาถวายที่วัดพระนั่งดินหนึ่งก้อน และถวายไว้ที่วัดหัวทุ่งใหม่ก้อนหนึ่ง


**(หมายเหตุ : สนใจติดตามข้อมูล วัดหัวทุ่งใหม่ เพิ่มเติมได้ที่เว็บแดนนิพพาน @ http://www.dannipparn.com/thread-735-1-3.html)



IMG_1280.JPG



IMG_1277.JPG



รอยพระพุทธบาท วัดพระนั่งดิน

เป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขนาดกว้าง ๗ เซนติเมตร ยาว ๒๓ เซนติเมตร มีขนาดรอยพระบาทเท่ากับรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายที่วัดหัวทุ่งใหม่ ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา


IMG_1274.JPG


คำนมัสการพระพุทธบาท
(ว่านะโม ๓ จบ) ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะปาทัง ตัง ปาทะ วะลัญชะนะ มะหัง สิระสา นะมามิฯ


IMG_1271.JPG



ประวัติรอยพระพุทธบาท วัดพระนั่งดิน


เรียบเรียงโดย เจ้าอาวาสวัดหัวทุ่งใหม่



เจ้าอาวาสวัดพระนั่งดินได้ก้อนหินนี้มาจากในป่าระหว่างวัดหัวทุ่งและวัดทุ่งลม ขึ้นไปทางทิศใต้ ห่างจากวัดหัวทุ่ง ๓ กิโลเมตร มีเนินเขาเป็นป่าที่ร่มรื่น คนแก่คนเฒ่าเรียกว่า จำกูด (หรือใบเฟิร์น) ในป่าท้ายหมู่บ้าน ดอยจำกูดเป็นเนินเขา และบนของเนินเขานั้นมีหินก้อนหนึ่ง (รอยพระพุทธบาท) ซึ่งใต้หินมีน้ำไหลออกตลอดเวลา ไม่ว่าฤดูไหนในหน้าแล้ง เดือนเมษายน ชาวบ้านในอดีตหลาย ๑๐ ปี ก็อาศัยน้ำนี้ตักดื่มกินเวลาไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย


ผู้เฒ่าอายุ ๙๐ ปี ชื่อ พ่ออุ้ยผัด (ปัจจุบันเสียชีวิต) ท่านเล่าบอกว่า สมัยท่านเด็กก็เห็นอยู่เช่นนั้น จึงสันนิษฐานว่า ตรงนั้นเคยเป็นพระธาตุมาก่อน เพราะจะมีคนเห็นแก้วลำแสงสว่างไสวออกกลางป่าตรงบริเวณดอยจำกูด ในวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ อยู่เสมอ


ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ท่านเป็นคนกรุงเทพ ชื่อ โยม อมร นามสกุล คงคา และมาซื้อที่ดินอยู่ที่บ้านหัวทุ่ง ท่านได้ไปเที่ยวป่าและไปเจอหินก้อนที่นี้ เห็นความแปลกและอัศจรรย์ เกิดแรงบันดาลใจใคร่อยากจะเอาก้อนหินมาอยู่กับวัด จึงว่าจ้างให้ นายเทียม ซึ่งมีบ้านอยู่ติดกับวัดหัวทุ่ง ให้เอาเกวียนไปลากออกจากป่าในราคา ๓๐๐ บาท ซึ่งนายเทียมได้เล่าให้ข้าพเจ้า (เจ้าอาวาสวัดหัวทุ่งใหม่) ฟังว่า


ครั้งแรกเมื่อหินได้สัมผัสกับเกวียน ในขณะจะพลิกขึ้น เกวียนหักคาที่ ทั้งที่เกวียนเป็นเกวียนที่ทำแข็งแรงมาก และเกิดลมกระโชกแรงในขณะนั้น เวลาต่อมา นายเทียมจึงกลับมาที่บ้านและเอาเกวียนเล่มใหม่มา พร้อมกับดอกไม้ธูปเทียนขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และขออัญเชิญมาไว้ที่วัด สิ่งที่น่าแปลกคือ หลังจากนั้นการนำก้อนหินที่เป็นรอยพระพุทธบาทมาก็ง่ายและไม่มีอุปสรรคเลย


เมื่อก้อนหินรอยพระพุทธบาทมาถึงวัด เกิดปรากฏการณ์อัศจรรย์ฟ้าร้องคำราม ฝนตกปรอยๆ ซึ่งเป็นนิมิตหมายอันดีเป็นที่อัศจรรย์ใจยิ่งนัก


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เอกสารประวัติรอยพระพุทธบาท วัดหัวทุ่งใหม่ เรียบเรียงโดย เจ้าอาวาสวัดหัวทุ่งใหม่)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1175.JPG



อนุสาวรีย์พระครูบาคำหล้า สํวโร (วัดพระธาตุจอมสัก อ.เมือง จ.เชียงราย) วัดพระนั่งดิน



IMG_1166.JPG



IMG_1167.JPG



IMG_1169.JPG



รูปเหมือน
พระครูบาคำหล้า สํวโร (วัดพระธาตุจอมสัก อ.เมือง จ.เชียงราย) วัดพระนั่งดิน


IMG_1168.JPG



คำไหว้ครูบาคำหล้า
(ว่านะโม ๓ จบ) สังวะโร ภิกขุง มัยหัง สิระสา อะหัง วันทามิ สัพพะทา ตัสสะ คุณณัง สวัสดิ ลาภัง ภะวันตุเม นิพพานัง ปรมัง สุขัง


IMG_1185.JPG



หอระฆัง วัดพระนั่งดิน


IMG_1190.JPG



กุฏิฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี วัดพระนั่งดิน


IMG_1182.JPG



อาคารอเนกประสงค์ หมู่ ๗ เทศบาลตำบลบ้านทราย วัดพระนั่งดิน


IMG_1159.JPG



IMG_1155.JPG



ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดหมู่บ้านบ้านพระนั่งดิน (ศตส.ม.บ้านพระนั่งดิน) วัดพระนั่งดิน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1172.JPG



IMG_1178.JPG



IMG_1164.JPG



IMG_1162.JPG



IMG_1189.JPG



IMG_1200.JPG



IMG_1188.JPG



การเดินทางมาวัดพระนั่งดิน ขอจบการเดินทางด้วยภาพบรรยากาศภายในวัด สวัสดีค่ะ

--------------------


อกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • วัดพระนั่งดิน อ.เชียงคำ จ.พะเยา

        • เจ้าอาวาสวัดหัวทุ่งใหม่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา
(พ.ศ.๒๕๕๔)
        นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์.


**หมายเหตุ :


ท่านใดประสงค์จะนำรูปภาพหรือเนื้อหาบทความไปใช้ประโยชน์ที่อื่น สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากข้าพเจ้าก่อน


และได้โปรดกรุณาให้เครดิตอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มา : เว็บแดนนิพพาน และกรุณาอย่าลบหรือครอบตัดเครดิตแหล่งที่มาบนรูปภาพ “Photo by Dannipparn.com”


(ป.ล. หากว่ากระทู้บทความนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยในความผิดพลาดต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปไว้ ณ ที่นี้ด้วย และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป)

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-23 00:50 , Processed in 0.063899 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.