แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 10979|ตอบ: 10
go

วัดพระธาตุสบแวน ม.๑ ต.หย่วน อ.เชียงคำ จ.พะเยา [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_1350.jpg



วัดพระธาตุสบแวน

ม.๑ ต.หย่วน อ.เชียงคำ จ.พะเยา

[พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุริมฝีปากล่าง]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 6 ตุลาคม 2565)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1400.JPG



วัดพระธาตุสบแวน ตั้งอยู่ที่บ้านธาตุสบแวน หมู่ที่ ๑ ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงคำประมาณ ๔ กิโลเมตร


IMG_1287.JPG



IMG_1294.JPG



ซุ้มประตูทางเข้า วัดพระธาตุสบแวน


IMG_1292.JPG



IMG_1297.JPG



IMG_1291.JPG



ซุ้มประตูทางออก วัดพระธาตุสบแวน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1285.JPG



แผนผังวัดพระธาตุสบแวน

๑. วิหาร
๒. พระธาตุ
๓. กุฏิสงฆ์
. อุโบสถ
๕. หอระฆัง
๖. ศาลาแหล่งความรู้
๗. หอฉัน-ครัว
๘. ห้องน้ำ
๙. ศาลาพิพิธภัณฑ์
๑๐. ระบบประปา
๑๑. อาคารเด็กอนุบาล
๑๒. ศูนย์ทอผ้าไทลื้อ
๑๓. บ้านไทลื้อ
๑๔. ศาลาอเนกประสงค์
๑๕. โรงเก็บวัสดุ
๑๖. ศาลาราย
๑๗. ต้นจามจุรีสวยที่สุดในประเทศไทย
๑๘. เมรุเผาศพ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1395.JPG



IMG_1302.jpg



IMG_1352.JPG



IMG_1362.JPG



IMG_1305.JPG



วิหาร วัดพระธาตุสบแวน



IMG_1310.JPG



ภายในวิหาร วัดพระธาตุสบแวน



IMG_1314.JPG



IMG_1318.JPG



IMG_1324.JPG



พระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานภายในวิหาร วัดพระธาตุสบแวน


IMG_1319.JPG



ธรรมาสน์ ภายในวิหาร วัดพระธาตุสบแวน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1389.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุสบแวน) ประดิษฐานด้านหลังวิหาร วัดพระธาตุสบแวน



IMG_1357.JPG



IMG_1348.jpg



IMG_1375.JPG



IMG_1385.JPG



IMG_1358.JPG



IMG_1345.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุสบแวน) วัดพระธาตุสบแวน

ประดิษฐานพระเกศาธาตุและพระบรมธาตุริมฝีปากล่างขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


IMG_1378.JPG



คำไหว้พระธาตุสบแวน
(ว่านะโม ๓ จบ) อะหัง วันทามิ สิระสา เกสา ธาตุง มุขขัง ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะทาฯ


(หมายเหตุ : ห้ามสุภาพสตรีเข้าเขตรอบในพระธาตุสบแวน)


IMG_1386.JPG



IMG_1342.JPG



รูปปั้นสิงห์ อยู่บนหัวเสากำแพงแก้วล้อมรอบทั้งสี่ทิศ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุสบแวน



IMG_1359.JPG



IMG_1344.JPG



ฉัตรสัปทน อยู่มุมนอกกำแพงแก้วทั้งสี่ทิศ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุสบแวน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1336.JPG



ตำนานพระธาตุสบแวน


จาก ตำนานพระชินธาตุมุณีราช วัดพระธาตุสบแวน



กล่าวไว้ว่า ปางเมื่อพระองค์ยังทรมานอยู่ในพระเชตวันนารามในเมืองสาวัตถี เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วในราตรีหนึ่ง พระองค์ทรงรำพึงว่า บัดนี้อายุของเราก็ได้ ๖๐ ปีแล้ว เมื่ออายุได้ ๘๐ ปี เราก็ปรินิพพาน เราควรเสด็จไปโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย และตั้งศาสนาไว้ทั้งในมัชฌิมประเทศและปัจจันตประเทศ ดังนั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์จึงทรงพาเอาพระอรหันต์ ๔ องค์ คือ พระโสณเถระ พระอุตตรเถระ พระรัตนเถระ และพระอานนท์เถระ เสด็จไปถึงเมืองกุสินารา ซึ่งมีพระยาอโศกเป็นเจ้าเมือง เมื่อเห็นพระองค์เสด็จมาถึง จึงได้ตามเสด็จพระองค์ไปเพื่ออุปัฏฐากในวันเดือนอ้ายแรม ๑ ค่ำ


หลังจากนั้นพระองค์ก็เสด็จไปตามริมฝั่งแม่น้ำระมิงค์ (แม่ปิง) ไปเมืองหริภุญชัย ไปดอยสุเทพ ไปบุปผาราม ไปภังคะ ไปเชียงดาว ไปตับเตา ไปสบยาง ไปฉันข้าวที่ริมน้ำฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วเสด็จขึ้นไปแสนหวี ไปถึงเมืองวิเทหะราชสุทินราชและนาระทะไชยกะ ทรงจำพรรษา ณ เมืองนั้น ครั้นออกพรรษาแล้ว พระองค์ก็เสด็จมาเมืองลื้อ ทรงให้พระเกศาธาตุไว้ที่พระธาตุเมืองสิงห์ ไปเมืองยองทรงให้พระเกศาธาตุไว้ที่พระธาตุเมืองพะยาก ไปเมืองเชียงแสน ไปดอยตุง ภูข้าว กู้แก้ว จอมกิตติ สบจัน ไปผาเรือ เสด็จไปตามเขาน้อยเขาใหญ่ ไปแซ่โว้ จอมศีล ภูขวาง จอมไคล้ จอมแจ้ง และไปขิงแกง ตามลำดับ


ต่อจากนั้นพระองค์ก็เสด็จมาถึงป่าแห่งหนึ่ง มีต้นไม้ใหญ่ ๓ ต้น มีกิ่งก้านสาขาหนาแน่นเป็นที่น่าพักอาศัยยิ่งนัก พระองค์เสด็จไปประทับยืนอยู่ใต้ต้นมะม่วงต้นหนึ่งทางด้านทิศอีสาน และรับสั่งให้พระอานนท์เถระชำระปัดกวาดสถานที่บริเวณนั้นให้สะอาด เมื่อทำเสร็จเรียบร้อย พระอานนท์เถระก็เอาผ้ามาปูลาดอาสนะ แล้วก็อาราธนาพระองค์มาประทับนั่งเหนืออาสนะที่ใต้ต้นมะม่วงแห่งนั้น


ในขณะนั้นมีอุบาสกคนหนึ่งมีอาชีพเป็นพรานป่าชื่อว่า นายเชียงบาน ได้ไปเที่ยวป่าได้พบเห็นพระองค์ซึ่งได้ประทับอยู่ ณ ที่นั้น เขาไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า จึงเข้าไปแอบต้นไม้ดู ขณะนั้นพระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นอุบาสกคนนั้น จึงได้ตรัสเรียกอุบาสกคนนั้นว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านจงเข้าแวนใกล้เรา (เข้ามานั่งใกล้เรา) เถิด แล้วตรัสว่า ตัวเราคือพระพุทธเจ้า อุบาสกคนนั้นก็ไม่สามารถเข้ามาหาพระองค์ได้ เพราะกลัวรัศมีของพระองค์ พระอานนท์เถระจึงได้ถามอุบาสกคนนั้นว่า ดูก่อนอุบาสก แม่น้ำมีใกล้หรือไกล อุบาสกคนนั้นก็ทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม่น้ำมีอยู่ไม่ไกลเท่าไร (น้ำแวน) เมื่อทูลแล้ว ได้ไปนำเอาน้ำและมะม่วงคำ ๓ ผล มาถวายแก่พระองค์ พระองค์ทรงรับน้ำและมะม่วงคำจากอุบาสกคนนั้น


แล้วก็ปรารภกับพระอานนท์เถระว่า ดูก่อนอานนท์ ตถาคตเสด็จมาถึงที่นี่ ก็มีอุบาสกเอาน้ำและมะม่วงคำมาถวายแก่เรา และเวลานี้ก็เป็นคิมหันต์ฤดู (ฤดูร้อน) และตรงกับเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ (ซึ่งเราได้ยึดถือเป็นประเพณีทุกปี) มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระมหากรุณาธิคุณ สัพเพสัง สัตตานัง แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง พระองค์ได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่น่าอภิรมย์ยิ่งนัก ควรตั้งศาสนาไว้เพื่อให้เป็นที่สักการบูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลาย


ดังนั้นพระอานนท์เถระจึงทูลขอพระเกศาธาตุกับพระองค์ พระองค์ทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาลูบคลำพระเศียรได้พระเกศาเส้นหนึ่ง ทรงยื่นให้แก่พระอานนท์เถระ พระยาอินทร์และเทวดาที่รักษาต้นมะม่วงที่พระองค์ประทับอยู่ จึงได้เนรมิตผอบคำใหญ่ ๗ กำ มารองรับเอาพระเกศาธาตุ เนรมิตอุโมงค์คำลึก ๗๐ วา เนรมิตสำเภาคำใหญ่ ๓ วา ของคนธรรมดาเนรมิตอาสนะคำใส่ลงในสำเภาลอยไว้ในอุโมงค์ เสร็จแล้วก็อันเชิญพระเกศาธาตุของพระองค์เข้าไปประดิษฐานเหนืออาสนะคำ แล้วก็เนรมิตแผ่นหิน ๓ ศอก ปิดไว้ เนรมิตดินปิดลาดเหนือสูง ๔ ศอก หล่อด้วยทรายขาวบริสุทธิ์ ตั้งยนต์ฟันเครื่องป้องกันมิให้ใครมาทำลายไว้ ๑๒ แห่ง พระยาอินทร์ก็ได้ตั้งเทวบุตรชื่อว่า เทโว และเทวดา ชื่อว่า สุระ ให้ปกครองรักษาต้นมะม่วงและพระเกศาธาตุเจ้าไว้จนกว่าจะสิ้น ๕,๐๐๐ พระวัสสา อย่าให้ใครมาทำลายสถานที่ตั้งศาสนานี้ได้ และให้ก่อเป็นเจดีย์ให้สูง ๗ ศอก


และพระองค์ทรงรับสั่งพระอานนท์เถระว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากตถาคตนิพพานไปแล้ว จงเอาพระธาตุ (กระดูก) ริมฝีปาก (สบ) ข้างล่างของตถาคต มาประดิษฐานไว้กับพระเกศาธาตุนี้ อีกต่อไปภายหน้า เจดีย์องค์นี้จะได้ชื่อว่า "พระธาตุสบแวน" ตามที่ตถาคตได้ตรัสกับอุบาสกคนนั้นให้เข้ามาแวนใกล้ (นั่งใกล้) อีกประการหนึ่ง กระดูกริมฝีปากข้างล่างของตถาคตได้มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ ภายหน้าเมืองนี้จะได้เรียกชื่อตามอุบาสกที่ชื่อว่า นายเชียงบาน ได้นำมะม่วงคำมาถวายแก่เราว่า “เมืองเชียงคำ”


ตโต ปร ตั้งแต่นั้นมาอุบาสกคนนั้นก็ได้อยู่จนสิ้นอายุของเขา และได้มาเกิดเป็นเจ้าเมืองที่นี้ ได้มาสร้างเจดีย์องค์นี้ไว้ ภายหลังเจดีย์องค์นี้ก็ได้ชำรุดผุพังไป คงเหลือแต่รูปฐานเท่านั้น ต่อมาได้มีเจ้าเมืองคนหนึ่งศรัทธาแรงกล้าได้มาบูรณปฏิสังขรณ์จนรุ่งเรืองยิ่งกว่าเก่า พระยาอินทร์ได้สั่งให้เจ้าเมืองคนนั้นว่า ต่อไปภายหน้าผู้ใดจะมาถวายทานก็ดี จะมาสร้างก็ดี ให้บูชาเทวบุตรผู้รักษาต้นไม้และองค์พระธาตุนี้ ด้วยดอกไม้สีเหลือง ๔ ดอก สีขาว ๔ ดอก ข้าวขาว ข้าวเหลือง อย่างละ ๔ อย่าง และบูชาเทวดาทางด้านทิศเหนือพระธาตุด้วยดอกไม้สีเขียว ๘ ดอก สีแดง ๘ ดอก ช่อเชียว ช่อแดง อย่างละ ๘ ช่อ พร้อมด้วยโภชนาหาร พระยาอินทร์ได้กำหนดบริเวณเขตพระเจดีย์ไว้ด้านละ ๕๐๐ วา


หากมีสัตว์น้อยใหญ่อาศัยอยู่ในเขตนั้น ผู้ใดไปทำลาย เทวดาก็จะไม่พอใจ จะทำให้ผู้นั้นเป็นอันตรายอายุสั้นตลอด ถึงต้นไม้หญ้าคาผู้ใดนำไปสร้างบ้านเรือนก็จะไม่เจริญ เพราะสถานที่บริเวณนั้นเป็นเขตขององค์พระธาตุ ซึ่งเทวบุตรเทวดาได้รักษาองค์พระธาตุให้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้ หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้เสด็จไปแช่แห้ง ช่อแฮ ขวยปู จูทับ ลับลี้ ร่องอ้อ ลำปาง จอมทอง ไปเมืองฮอด ดอยเปิง เมืองคม เมืองเมย เมืองยอง เมืองกลาง สะโพง เมืองแสลบ เมืองทะโค่ง ไปเมืองกุสินารา โปรดสัตว์ทั้งหลายโดยลำดับ แล้วก็เสด็จเข้าสู่พระเชตวันนารามตามเดิมก็มีวันนั้นแลฯ กล่าวยังตำนานพระธาตุสบแวนโดยย่อก็เพียงเท่านี้


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เอกสารตำนานพระชินธาตุมุณีราช วัดพระธาตุสบแวน)



IMG_1374.JPG



ตำนานพระธาตุสบแวน


เรียบเรียงโดย พระชัยวัฒน์ อชิโต

หนังสือตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑



ตามตำนานที่ทางวัดจัดพิมพ์เล่าไว้ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จจาก พระธาตุจอมทอง อ.เมือง จ.พะเยา แล้วก็เสด็จมาที่ พระธาตุแจโว, จอมศีล, ภูขวาง, จอมไคล้, จอมแจ้ง, และพระธาตุขิงแกง

ต่อจากนั้นพระองค์ก็เสด็จมาถึงป่าแห่งหนึ่ง และได้เสด็จไปประทับยืนอยู่ใต้ต้นมะม่วงต้นหนึ่งด้านทิศอีสาน จากนั้นพระอานนท์ก็ได้ชำระปัดกวาดบริเวณนั้นให้สะอาด แล้วจึงปูลาดด้วยผ้าอาสนะที่ใต้ต้นมะม่วงนั้น

ขณะที่พระพุทธองค์ประทับนั่งเหนืออาสนะนั้น ยังมีพรานป่าคนหนึ่งมีชื่อว่า “เชียงบาน” ได้เที่ยวไปในป่าแลเห็นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่นั้น จึงเข้าไปแอบต้นไม้ดู เพราะเขาไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า ในขณะนั้นองค์สมเด็จพระภควันต์จึงตรัสเรียกว่า

“ดูก่อนอุบาสก ท่านจงเข้ามาแวน (นั่ง) ใกล้เราเถิด ตัวเราคือพระพุทธเจ้า”

แต่อุบาสกคนนั้นก็ไม่สามารถเข้ามาหาได้ เพราะกลัวรัศมีของพระองค์ พระอานนท์จึงถามว่า ดูก่อนอุบาสก น้ำมีอยู่ใกล้หรือไกล นายพรานตอบว่า น้ำมีอยู่ไม่ไกลเท่าไร

จากนั้นก็ได้นำเอามะม่วงทองคำ ๓ ผล เข้ามาถวายแด่พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับแล้ว จึงทรงปรารภกับพระอานนท์ว่า พระตถาคตเสด็จมาถึงที่นี่ ก็มีอุบาสกเอามะม่วงทองคำมาถวายแก่เรา และเวลานี้ก็เป็นคิมหันต์ฤดู และตรงกับเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ สถานที่นี้เป็นสถานที่น่าอภิรมย์ยิ่งนัก ควรตั้งศาสนาไว้เพื่อให้เป็นที่สักการบูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลาย

ตรัสดังนี้แล้วจึงประทานพระเกศาเส้นหนึ่งบรรจุในผอบทองคำใหญ่ ๗ กำ ที่พระอินทร์เนรมิตไว้ ซึ่งประดิษฐานอยู่บนสำเภาทองอยู่ภายในอุโมงค์ลึก ๗๐ วา อันเทวดาที่รักษาต้นมะม่วงที่พระองค์ทรงประทับอยู่นั้นเป็นผู้เนรมิต แล้วปิดด้วยแผ่นหินและกลบด้วยดิน โดยมียนต์จักรป้องกันไว้มิให้ใครทำลาย

ต่อมาพระอินทร์ก็ได้ตั้งเทพบุตรชื่อว่า “เทโว” ให้เป็นผู้รักษาต้นมะม่วงนั้น กับเทวดาอีกองค์หนึ่งชื่อว่า “สุระเท” ให้รักษาพระเกศาธาตุจนกว่าสิ้นพระศาสนา แล้วก่อเป็นเจดีย์สูง ๗ ศอก จากนั้นพระองค์ตรัสว่า

“ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากตถาคตนิพพานไปแล้ว จงเอาพระธาตุ ริมฝีปาก (สบ) ข้างล่าง มาประดิษฐานไว้กับพระเกศานี้ ต่อไปภายหน้าพระเจดีย์องค์นี้ จะได้ชื่อว่า พระธาตุสบแวน ตามที่ตถาคตได้ตรัสกับอุบาสกคนนั้นให้มา “แวน” ใกล้

อีกประการหนึ่ง กระดูกริมฝีปากล่างของพระตถาคตได้มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ ภายหน้าเมืองนี้จะได้เรียกชื่อตามอุบาสกคนนั้นชื่อว่า “นายเชียงบาน” (ปัจจุบันนี้คือ ตำบลเชียงบาน) ได้นำเอามะม่วงทองคำมาถวายแก่เรา ต่อไปเมืองนี้จะได้ชื่อว่า “เมืองเชียงคำ” ดังนี้..”


(แต่นั้นมาอุบาสกผู้นี้ก็ได้ตายไปแล้ว ก็ได้มาเกิดเป็นเจ้าเมืองนั้น ได้มาบูรณะพระเจดีย์องค์นี้ไว้) หลังจากนั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้เสด็จไป พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน, พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ เป็นลำดับไป

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๔๒๒-๔๒๓.)       



IMG_1384.JPG



IMG_1285.1.JPG



ประวัติวัดพระธาตุสบแวน


ในสมัยตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ราวปี พ.ศ.๒๓๙๙ เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน ได้กวาดต้อนชาวไทลื้อ จากแคว้นสิบสองปันนาไปไว้ที่อำเภอเชียงม่วน ในจำนวนนั้นมี พระยาคำ และพระยาธนะ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในแคว้นสิบสองปันนารวมอยู่ด้วย

พระยาทั้งสองได้อพยพผู้คน มาอยู่ที่อำเภอเชียงคำ โดยจัดตั้งหมู่บ้าน และชักชวนชาวเมืองบูรณะพระเจดีย์ของเดิม และสร้างวัด โดยตั้งชื่อว่า “วัดพระธาตุสบแวน”

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล
: ป้ายประวัติวัดพระธาตุสบแวน)

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1392.JPG



ศาลา อยู่ด้านข้างพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุสบแวน


IMG_1363.JPG



IMG_1368.JPG



IMG_1380.JPG



พระพุทธสมฤทธิ์อิฏฐผลทันใจ ประดิษฐานภายในศาลา วัดพระธาตุสบแวน


ศรัทธา พ่อจันทร์ตุ้ย สมฤทธิ์ พร้อมลูกหลาน สร้างถวาย เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔


IMG_1371.JPG



ขอเชิญร่วมทำบุญใส่บาตรพระประจำวันเกิด และใส่บาตร ๑๐๘ บาตร ภายในศาลา วัดพระธาตุสบแวน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1394.JPG



IMG_1339.JPG



อุโบสถ
วัดพระธาตุสบแวน


IMG_1396.JPG



IMG_1399.JPG



รูปพระสังกัจจายน์ หรือพระมหากัจจายนเถระ (องค์ตรงกลาง) วัดพระธาตุสบแวน


IMG_1382.JPG



IMG_1383.JPG



ศาลาจุดเทียนสืบชะตาและสะเดาะเคราะห์ วัดพระธาตุสบแวน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1332.JPG



IMG_1328.JPG



ศาลาพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุสบแวน


IMG_1299.JPG



IMG_1300.JPG



ศาลาราย วัดพระธาตุสบแวน


IMG_1387.JPG



IMG_1281.JPG



หอระฆัง วัดพระธาตุสบแวน



IMG_1283.JPG



IMG_1388.JPG



กุฏิสงฆ์ วัดพระธาตุสบแวน สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1303.JPG



ศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน วัดพระธาตุสบแวน



IMG_1288.JPG



ต้นจามจุรี วัดพระธาตุสบแวน



IMG_1331.JPG



IMG_1325.JPG



IMG_1290.JPG



การเดินทางมาวัดพระธาตุสบแวน ขอจบการเดินทางด้วยภาพบรรยากาศภายในวัด สวัสดีค่ะ

----------------------


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • วัดพระธาตุสบแวน อ.เชียงคำ จ.พะเยา
         • พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.
   


**หมายเหตุ :


ท่านใดประสงค์จะนำรูปภาพหรือเนื้อหาบทความไปใช้ประโยชน์ที่อื่น สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากข้าพเจ้าก่อน


และได้โปรดกรุณาให้เครดิตอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มา : เว็บแดนนิพพาน และกรุณาอย่าลบหรือครอบตัดเครดิตแหล่งที่มาบนรูปภาพ “Photo by Dannipparn.com”


(ป.ล. หากว่ากระทู้บทความนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยในความผิดพลาดต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปไว้ ณ ที่นี้ด้วย และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-12-1 00:05 , Processed in 0.069088 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.