แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดธรรมามูลวรวิหาร ม.๑ ต.ธรรมามูล อ.เมือง จ.ชัยนาท [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC00841.JPG



หลวงพ่อโต และพระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานภายในพระวิหารหลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร



DSC00844.JPG



DSC00843.JPG



หลวงพ่อโต วัดธรรมามูลวรวิหาร

เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขัดสมาธิราบอยู่บนฐาน สลักด้วยศิลา และพระพุทธรูปศิลาอื่นๆ ขนาดเล็ก ประดิษฐานเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปศิลาปิดทองแทบทั้งสิ้น พุทธลักษณะล้วนเป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา


DSC00845.JPG



DSC00846.JPG



DSC00851.JPG



DSC00847.JPG



รอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานภายในพระวิหารหลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร

มีลวดลายสลักเป็นรูปกลมตามวงจักร สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย


Rank: 8Rank: 8

DSC00838.JPG



หลวงพ่อธรรมจักร ประดิษฐานภายในพระวิหารหลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร


DSC00855.JPG



DSC00836.JPG



หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร

เป็นพระพุทธรูปยืน สร้างด้วยศิลาถือปูน ในฝ่าพระหัตถ์ขวาที่ยกขึ้นเป็นลักษณะปางห้ามญาติ (การห้ามทะเลาะวิวาท) มีรูปธรรมจักรติดอยู่ แปลกกว่าพระพุทธรูปปางห้ามญาติทั่วไป เป็นลักษณะหนึ่งของมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนั่นเอง จึงได้นามว่า หลวงพ่อธรรมจักร


DSC00837.JPG



ประวัติหลวงพ่อธรรมจักร



หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร ตามตำนานกล่าวว่า หลวงพ่อธรรมจักรลอยน้ำมาสมัยเดียวกับหลวงพ่อโสธร หรือพระพุทธโสธร ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อมาถึงหน้าวัดธรรมามูล ก็ลอยวนเวียนอยู่หน้าวัด พระและชาวบ้านจึงอัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดนี้จนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาผสมศิลปะสุโขทัย เป็นต้นว่า มีพระพักตร์ค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยม มีเม็ดพระศกเรียงชิดกัน และมีไรพระศก รวมทั้งรัดประคด และขอบด้านหน้าของสบง ซึ่งบ่งว่าเป็นพระพุทธรูปสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเกตุมาลารูปรัศมีแบบเปลวเพลิง ช่วงพระพาหาและลำพระกรอ่อนลาด ดุจที่ปรากฏวงธรรมจักรติดอยู่ เป็นพระพุทธรูปที่มีผู้นับถือมาก

----------------------

(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : หน่วยอนุรักษ์ศิลปกรรมท้องถิ่น ศิลปกรรมเมืองชัยนาท. (๒๕๓๒). หนังสือศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชัยนาท (พิมพ์ครั้งที่ ๑). สระบุรี: โรงพิมพ์ปากเพรียวการช่าง ๒, หน้า ๑๒-๑๔.)



DSC00840.JPG



ทางเข้านมัสการหลวงพ่อโต ภายในพระวิหารหลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร



Rank: 8Rank: 8

DSC00822.JPG



การเดินทางไปวัดธรรมามูลวรวิหาร

จากตัวเมืองชัยนาท ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ และเดินทางต่อมาด้านทิศเหนืออีก ๘ กิโลเมตร จนถึงกิโลเมตรที่ ๒๘๘.๕ แยกทางเข้าวัดธรรมามูลวรวิหาร เข้าไปอีก ๑.๖ กิโลเมตร ถึงวัดธรรมามูลวรวิหาร



DSC00823.JPG



DSC00824.JPG



ทางขึ้นพระอุโบสถและพระวิหารหลวงพ่อธรรมจัก วัดธรรมามูลวรวิหาร


DSC00834.JPG



ประวัติวัดธรรมามูลวรวิหาร



วัดธรรมามูลวรวิหาร เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองชัยนาทมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่บนไหล่เขาธรรมามูลริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันออก ในท้องที่หมู่ ๑ ตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ลักษณะผสมระหว่างศิลปะอยุธยาและศิลปะสุโขทัย มีรูปพระธรรมจักรปรากฏอยู่กลางพระหัตถ์ด้านขวา ซึ่งเป็นความคิดของช่างในสมัยนั้น ที่ตั้งใจสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ให้มีเครื่องหมายแห่งมหาปุริสลักษณะ หลวงพ่อธรรมจักรเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวชัยนาทและจังหวัดใกล้เคียง ภายในวัดมีใบเสมาคู่ ซึ่งสร้างด้วยศิลาทรายแดง สลักลวดลายแบบอยุธยาสวยงามมาก

พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอู่ทอง มีขนาดเล็กกว่าองค์หลวงพ่อธรรมจักร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับวัดธรรมามูลไว้ว่า “พระพุทธรูปเมืองสรรค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้อัญเชิญมาไว้ในพระอุโบสถรัศมีชำรุด”


และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้เมื่อคราวเสด็จไปเมืองพิษณุโลก เพื่อตรวจแก้การหล่อจำลองพระพุทธชินราช เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๔ และได้เสด็จทอดพระเนตรวัดธรรมามูล ได้ทรงบันทึกสภาพสิ่งก่อสร้างและอธิบายลักษณะศิลปกรรมของสิ่งที่พบเห็นว่า


“เวลาบ่ายโมง ๓๕ นาที ถึงธรรมามูล หยุดจอดรถกินข้าว แล้วขึ้นเขาธรรมามูล วัดนี้อยู่ที่ไหล่เขา แปลนวัดมีกำแพงแก้วรอบ ด้านหน้ามีโบสถ์ เป็นโบสถ์โถงเสาอิฐ หลังคาเครื่องประตูมุงกระเบื้องกูบ พระประธานเป็นพระหล่อแบบข้างแม่น้ำนครชัยศรี คือเขมรที่กรอบหน้า เสมาหินทรายแดงดอกไม้นก ถัดโบสถ์มาข้างหลังมีศาลาเจ๊ก ต่อศาลาเจ๊กเป็นวิหารเช่นเขียนแปลนไว้นี้”


ที่เขียนว่ามีกรอบหน้านี้ คงหมายถึงไรพระศกนั่นเอง ปัจจุบันพระเศียรได้ถูกคนร้ายตัดไป ทางวัดได้ทำพระเศียรจำลองขึ้นมาใหม่ จึงไม่อาจเห็นพระเศียรเดิมได้ สำหรับองค์พระที่ยังเหลืออยู่นั้นเห็นได้ชัด คือพระชงค์ทั้งสองข้างนั้นเป็นสันคม พระหัตถ์ใหญ่ และเหยียดเกือบจะตรงออกมาพาดทับอยู่ตรงพระเพลาเบื้องขวา นั่งหัตถ์คล้ายบุคคลธรรมดา


ใบเสมารอบพระอุโบสถ สลักด้วยศิลาทรายแดง มีลายนกประกอบ ซึ่งอาจสลักขึ้นในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓) เป็นอย่างน้อย เพราะความนิยมในศิลาทรายแดงนั้น นิยมกันมากในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง


----------------------

(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติวัดธรรมามูลวรวิหาร และหน่วยอนุรักษ์ศิลปกรรมท้องถิ่น ศิลปกรรมเมืองชัยนาท. (๒๕๓๒). หนังสือศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชัยนาท (พิมพ์ครั้งที่ ๑). สระบุรี: โรงพิมพ์ปากเพรียวการช่าง ๒, หน้า ๑๒-๑๔.)



DSC00835.JPG



พระอุโบสถ วัดธรรมามูลวรวิหาร



DSC00869.JPG



DSC00864.JPG



พระวิหารหลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร


DSC00856.JPG



เวลาเปิดนมัสการหลวงพ่อธรรมจักร : ทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๓๐ น.


DSC00857.JPG



ประตูทางเข้าด้านหน้า พระวิหารหลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร

พุทธศาสนิกชนสามารถร่วมทำบุญตามจิตศรัทธากับทางวัดได้บริเวณด้านหน้าพระวิหารหลวงพ่อธรรมจักร เช่น ทำบุญค่าดอกไม้ ธูปเทียน น้ำมันตะเกียง ซื้อที่ดินถวายวัด เป็นต้น


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-21 17:19 , Processed in 0.094409 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.