แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 20023|ตอบ: 12
go

วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ม.๖ ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC00949.JPG



วัดพระบรมธาตุวรวิหาร  

ม.๖ ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท

[พระบรมธาตุเจดีย์]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 27 กันยายน 2565)


Rank: 8Rank: 8

ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • วัดพระบรมธาตุวรวิหาร อ.เมือง จ.ชัยนาท
        
• พระภิกษุสงฆ์ (ไม่ทราบนาม) วัดพระบรมธาตุวรวิหาร
        • เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ๒ ท่าน
(ไม่ทราบชื่อ)
        • เจ้าคุณวิชัยโสภณ (บุญส่ง สุบินมิตร). (๒๕๔๕, ๗ พฤศจิกายน). ประวัติวัดพระบรมธาตุวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
ครั้งที่ ๑-๔ รวมในเล่มเดียวกัน (พิมพ์ครั้งที่ ๔).
        • เอกสารแนะนำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


**หมายเหตุ :


ท่านใดประสงค์จะนำรูปภาพหรือเนื้อหาบทความไปใช้ประโยชน์ที่อื่น สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากข้าพเจ้าก่อน


และได้โปรดกรุณาให้เครดิตอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มา : เว็บแดนนิพพาน และกรุณาอย่าลบหรือครอบตัดเครดิตแหล่งที่มาบนรูปภาพ “Photo by Dannipparn.com”


(ป.ล. หากว่ากระทู้บทความนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยในความผิดพลาดต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปไว้ ณ ที่นี้ด้วย และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

x.JPG


ประวัติความเกี่ยวเนื่องของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

กับวัดพระบรมธาตุวรวิหารโดยสังเขป



สรุปจากบันทึก มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์)



สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ในรัชกาลที่ ๔
ได้ศึกษาเล่าเรียนกับพระครูวัดใหญ่เมืองพิจิตร ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ จนถึงอายุ ๑๓ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร จากพระครูวัดใหญ่เมืองพิจิตร ครั้นถึงปีจอ โทศก จุลศักราช ๑๑๕๒ อายุสามเณรโตได้ ๑๕ ปี บวชเป็นสามเณรได้ ๓ พรรษา ได้ศึกษา ๓ ปี เล่าเรียนบาลีไวยากรณ์และคัมภีร์มูลกัจจายนะจบ จนเข้าใจไวยากรณ์ รู้สัมพันธ์บริบูรณ์

ครั้นถึงเดือน ๑๒ ปีจอ โทศกนั้น สามเณรโตมีความประสงค์จะเรียนต่อ พระครูวัดใหญ่เมืองพิจิตรจึงได้แนะนำให้สามเณรโตไปศึกษาต่อกับท่านพระครูวัดเมืองไชยนาทบุรี หรือพระครูเจ้าคณะเมืองไชยนาทบุรี

ที่เมืองชัยนาทบุรี พระครูเมืองชัยนาทบุรีเป็นสำนักเรียนใหญ่ มีครูฝึกสอนที่มีความรู้เชี่ยวชาญพระบาลีในธรรมบททีปนี ทศชาติ (๑๐ ชาติ) สารัตถะ ฎีกาโยชนาคัณฐี ในคัมภีร์พระไตรปิฎกธรรมนั้น แปลเป็นภาษาบาลีบ้าง ภาษาเขมรบ้าง แปลเป็นภาษาพม่าบ้าง มีพระครูเมธังกร เป็นผู้มีอายุ เป็นครูผู้ฝึกสอนนักเรียนบาลี

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ได้มาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดพระบรมธาตุ ๓ ปี เรียนจบหมด จนอายุได้ ๑๘ ปี สามเณรโตต้องการศึกษาอีก ฝ่ายท่านพระครูเจ้าคณะเมืองไชยนาทบุรีจึงส่งให้ไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ (บางกอก) ไปอาศัยอยู่กับหลวงพ่อแก้ว วัดบางลำภูบน เพื่อจะเรียนบาลีต่อไป

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เจ้าคุณวิชัยโสภณ (บุญส่ง สุบินมิตร). (๒๕๔๕, ๗ พฤศจิกายน). ประวัติวัดพระบรมธาตุวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ครั้งที่ ๑-๔ รวมในเล่มเดียวกัน (พิมพ์ครั้งที่ ๔) หน้า ๔๗-๖๑.)

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00991.JPG



การเดินทางมาวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ขอจบการเดินทางด้วยประวัติของพระอินทโมลีศรีบรมธาตุบริหารสุวิจารณ์สังฆปาโมกข์ (หลวงพ่อช้าง) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร (พ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๖๕) และประวัติความเกี่ยวเนื่องของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กับวัดพระบรมธาตุวรวิหาร สวัสดีค่ะ



S__28639236.jpg



ประวัติหลวงพ่อช้าง (อินทสรเถระ)
อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร

(พ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๖๕  รวม ๕๕ ปี)


เรียบเรียงโดย นายวิชิต แก้วจินดา จากหอสมุดแห่งชาติ



พระอินทโมลีศรีบรมธาตุบริหารสุวิจารณ์สังฆปาโมกข์ หรือ หลวงพ่อช้าง ท่านมีนามเดิมว่า ช้าง เกิดที่บ้านคุ้งสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๒ เกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาชื่อ โชติ มารดาชื่อ มัว ท่านเป็นบุตรคนโต มีร่างกายแข็งแรง สุขภาพสมบูรณ์ บิดาจึงตั้งชื่อว่า ช้าง ซึ่งเป็นคนมีอัธยาศัยมีเมตตากรุณามาตั้งแต่เป็นเด็ก

การศึกษาเมื่ออายุได้ ๙ ขวบ ครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ในเขตท้องถิ่นอำเภอเมือง บิดาได้พาไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนอักขรขอม ทันสมัยกับพระครูเมธังกร วัดพระบรมธาตุ ด้วยเหตุที่ท่านมีสติปัญญาดีเฉลียวฉลาด จึงเป็นที่ยกย่องและโปรดปรานของพระครูเมธังกร พออายุได้ ๑๓ ปี ได้บรรพชาได้เป็นสามเณร และเริ่มเรียนภาษาบาลี เช่น คัมภีร์มูลกัจจายน์ ธรรมบท และมังคลัตถทีปนี หรือมงคลทีปนี จนแตกฉานสามารถแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยได้อย่างเชี่ยวชาญ

เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี จึงทำพิธีอุปสมบท โดยมีพระครูเมธังกร (จู) เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอินทชาติวรญาณ (อินทร) เจ้าคณะแขวงมโนรมย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการคง วัดบางกะพี้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาว่า “อินทสโร” หลังจากได้ศึกษาด้านคันถธุระ จนสามารถค้นคว้าหาหลักธรรมได้อย่างดีแล้ว จึงมุ่งทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยได้รับการถ่ายทอดหลักการปฏิบัติจากพระครูอินทชาติวรญาณ พร้อมทั้งเชี่ยวชาญด้านอิทธิปาฏิหาริย์ เช่น เสกของหนักให้เบาเหมือนนุ่น ย่นระยะทางให้สั้นได้ เป็นต้น

๑. หน้าที่การงานและสมณศักดิ์

     ๑.๑ พ.ศ.๒๔๑๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมในพระครูเมธังกร นามว่า พระใบฎีกาช้าง ในเวลาต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ สืบต่อจากเจ้าอาวาสองค์ก่อน ส่วนจะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัน เดือน ปี อะไร ไม่มีหลักฐานแน่นอน จึงมิอาจจะทราบได้ นอกจากประมาณตามอายุการปกครองวัด คงจักในราวระหว่าง พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๔๓

     ๑.๒ พ.ศ.๒๔๔๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร มีพระราชทินนามว่า พระครูอินทโมลี พร้อมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์อีกด้วย

     ๑.๓ พ.ศ.๒๔๔๗ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองชัยนาท

     ๑.๔ พ.ศ.๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระอินทโมลีศรีบรมธาตุบริหารสุวิจารณ์สังฆปาโมกข์

๒. ความดีที่ควรยกย่องหลวงพ่อช้าง

ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ และเจ้าคณะอำเภอเมืองชัยนาท ท่านได้พัฒนาวัดโดยการบูรณะก่อสร้างกุฏิวิหาร และสนับสนุนการศึกษาตลอดมา การปฏิบัติธรรมของท่านได้รับการยกย่องว่าเคร่งครัดในการปฏิบัติหน้าที่ ถือสันโดษยึดมั่นในระเบียบวินัยกฎเกณฑ์สังฆาณัติคณะสงฆ์และประเพณี จนเป็นที่เกรงขามกันโดยทั่วไป

เช่นตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งหนึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองบ้านเมือง คือเจ้าเมืองชัยนาทได้ไปตรวจราชการผ่านมา ขี่ม้ามาในเขตวัดกลับจากการตรวจเยี่ยม เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎรในเขตท้องที่เป็นเวลาเย็นแล้ว เข้ามาในเขตวัดไม่ได้ถอดหมวก พระอินทโมลีได้พบเข้า จึงเรียกตัวขึ้นไปบนกุฏิ ท่านเข้ามาในเขตวัดไม่เคารพต่อสถานที่ พระอินทโมลีได้ใช้อาญาวัด ใช้ไม้ตีเจ้าเมือง พร้อมทั้งถามว่า เข้ามาในเขตวัดทำไมไม่ถอดหมวก เราเป็นเจ้าหน้าที่ทำเสียเอง เมื่อย่างเหยียบเข้ามาในเขตวัดแล้ว ต้องแสดงความเคารพ แล้วให้เจ้าเมืองกลับไป

ต่อมานายอำเภอเมืองไปตรวจราชการมาตอนเย็น เข้ามาในบริเวณวัดไม่ถอดหมวก พระอินทโมลีก็เรียกขึ้นไปบนกุฏิ แล้วใช้อาญาวัดตีนายอำเภอเช่นกัน สอบสวนแล้วให้กลับไป นายอำเภอไม่พอใจนำความเรื่องนี้ไปเล่าให้เจ้าเมืองฟัง ท่านเจ้าเมืองตอบกับนายอำเภอว่า เรื่องนี้จะว่าแต่คุณเลย ผมเองก็โดนมาแล้ว เพราะขาดสติ เราเป็นผู้นำ ท่านทำของท่านก็ถูกต้องแล้ว ท่านลงอาญาก็ไม่หนักหนาสาหัสอะไร ต่อไปเราต้องควรระวังและมีสติอยู่เสมอ เพราะเราเป็นผู้ปกครองเขา

ในสมัยนั้นมีอาญาวัด คนดื่มเหล้าสุราเข้ามาใกล้เขตวัดแล้ว เงียบเสมือนคนดี พอออกจากเขตวัดแล้ว เสียงดังถนนสามวาไม่พอจะเดิน สมัยนั้นไม่ว่าโจรผู้ร้าย จะเคารพพระ เห็นพระแล้วเลี่ยงทางยกมือไหว้ ประชาชนราษฎรทั่วๆ ไป ถือว่าวัดเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่มีใครมารบกวน ขายข้าวได้เกวียนละ ๑๘-๒๐ บาท พร้อมทั้งสร้อยแหวนของมีค่านำไปฝากวัดไว้จะไม่มีใครรบกวน สมัยก่อนไม่มีธนาคาร จึงอาศัยวัดเป็นที่พึ่ง มีสมบัติฝากวัดไว้ปลอดภัย เหตุการณ์ดังกล่าวมานี้ เป็นที่กล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้น วัดเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ กฎหมายให้มีอาญาวัดด้วย

หลังจากนั้นท่านได้เล่าเรียนศึกษา ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากพระครูอินทชาติวรญาณ ทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐาน วิชาไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา วิธีปลุกเสก และอธิษฐานจิตต่างๆ จนเป็นที่พอใจของอาจารย์แล้ว ท่านก็ได้ทำหน้าที่พระอาจารย์สอนวิชาดังกล่าว จนมีคนมาขอเป็นศิษย์เพื่อศึกษากับท่านมากมาย และตัวท่านเองก็มีวิชาอาคมเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) ถึงกับคนเก่าๆ ของเมืองชัยนาทเล่าสืบกันมาว่า หลวงพ่อช้างกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านชอบพอกันมาตั้งแต่เด็กๆ แต่หลวงพ่อช้างมีอายุมากกว่าเล็กน้อย มีวิชาด้วยกันทั้งคู่ เคยทดสอบวิชากัน เช่น หลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า ปลุกเสกใบไม้เป็นเสือสมิง หลวงพ่อช้างวัดพระบรมธาตุ ปลุกเสกสร้างควายธนู ลองฤทธิ์กัน ต่างก็ทำอะไรกันไม่ได้ หมายความว่ามีวิชาพอกันทั้งสององค์

จากคำบอกเล่าของพระกุ๋ย บวชเมื่อแก่ และมรณภาพ เมื่อปี ๒๕๔๐ อายุ ๘๙ ปี ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อท่านเป็นเด็ก เป็นลูกศิษย์วัดพระบรมธาตุ เด็กสมัยนั้นเป็นขี้กลากกันมาก รักษาไม่ค่อยหาย ท่านเล่าว่าเด็กหลายคน พอหลวงพ่อช้างสรงน้ำบนกุฏิ แล้วชวนกันไปอยู่ใต้กุฏิ พอหลวงพ่อช้างสรงน้ำลงมา ก็เอาหัวรับน้ำที่หลวงพ่อช้างสรงน้ำถูกตามเนื้อตามตัว ปรากฏว่าขี้กลากหายกันหมดทุกๆ คน พระภิกษุกุ๋ยท่านเล่าให้ฟังอย่างนี้ก่อนที่จะมรณภาพ จะเป็นความขลังหรือความศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็ไม่ทราบได้ แม้แต่น้ำสรงของท่าน ทำให้โรคขี้กลากรักษาด้วยยาไม่หาย แต่พอได้น้ำที่ท่านสรงแล้ว รองรับมาถูเนื้อถูตัวก็หายกันหมดทุกคน พูดแล้วไม่น่าเชื่อ แต่ก็เป็นไปแล้วตามคำบอกเล่า

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เจ้าคุณวิชัยโสภณ (บุญส่ง สุบินมิตร). (๒๕๔๕, ๗ พฤศจิกายน). ประวัติวัดพระบรมธาตุวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ครั้งที่ ๑-๔ รวมในเล่มเดียวกัน (พิมพ์ครั้งที่ ๔) หน้า ๒๗-๒๙.)

Rank: 8Rank: 8

DSC01013.JPG



ชั้นบนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี

จัดแสดงพระพิมพ์ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีในประเทศไทย ตั้งแต่พระพิมพ์ในศิลปะทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะอยุธยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ แม่พิมพ์พระพิมพ์ แผงพระพิมพ์ไม้ และพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็ก


DSC01030.JPG


พระพุทธรูปสำริด ประดิษฐานภายในชั้นบน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


DSC01026.JPG



DSC01015.JPG



DSC01018.JPG



DSC01016.JPG



พระพิมพ์สมัยต่างๆ ประดิษฐานภายในชั้นบน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เช่น พระพิมพ์ปรกโพธิ์ พบที่จังหวัดชัยนาท ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ เป็นต้น



DSC01020.JPG



DSC01021.JPG



แม่พิมพ์พระพิมพ์ จัดแสดงภายในชั้นบน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


DSC01025.JPG


แผงพระพิมพ์ไม้ จัดแสดงภายในชั้นบน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


DSC01028.JPG


แผงพระพิมพ์ไม้ ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔ จัดแสดงภายในชั้นบน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


DSC01027.JPG



งาช้าง จัดแสดงภายในชั้นบน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


Rank: 8Rank: 8

DSC01008.JPG



หลวงพ่อเพชร (หลวงพ่อเชียงแสน) ประดิษฐานภายในชั้นล่าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี

เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา อิทธิพลศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ พบที่วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท


DSC01011.JPG



ประวัติหลวงพ่อเพชร (หลวงพ่อเชียงแสน)


หลวงพ่อเพชร ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ที่วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เดิมทีพระพุทธรูปองค์นี้สถิตอยู่บนศาลาการเปรียญวัดพระบรมธาตุวรวิหาร องค์พระพอกด้วยปูนหน้าตาหน้าเกลียด ไม่มีคนสนใจ ต่อมาปูนที่หุ้มพระพุทธรูปอยู่ได้กะเทาะออก จึงรู้ว่าเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย สมัยเชียงแสนยุคต้น มีพุทธลักษณะสวยงามมาก พระครูอินทโมลี (หลวงพ่อช้าง) เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร (พ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๖๕) พร้อมด้วยประชาชน จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปเชียงแสนไปประดิษฐานไว้บนกุฏิ ที่หน้าโต๊ะหมู่บูชา เป็นที่บูชาพระ และเป็นที่รับแขก

ตามจดหมายเหตุ เสด็จประพาสต้น พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งได้ทรงบันทึกเหตุการณ์ ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นทางเหนือ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ เมื่อเสด็จมาถึงเมืองชัยนาท ว่าเวลา ๒ โมงเช้า ถึงวัดพระบรมธาตุ เวลา ๔ โมงเศษ พระครูอินทโมลี ต้อนรับเสด็จแข็งขัน ถึงทำปะรำ ฉนวนผูกฉัตรและต้นกล้วยอย่างสมเกียรติ แต่ที่ว่าเก่งนั้น พระครูเองเดินออกไปร้องบอกวันทยหัตถ์ ให้กับผู้ใหญ่บ้าน และนักเรียนคำนับ ตรงนี้เราจะมองเห็นความสามารถเฉพาะตัว ในที่นั้นมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครูโรงเรียนไปยืนรอรับเสด็จควรจะเป็นหัวหน้าไปบอกให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักเรียน ทำความเคารพสักคน กลับไม่มีใครเป็นหัวหน้าบอกทำวันทยหัตถ์ ทำความเคารพ

พระครูอินทโมลีเอง ต้องออกไปบอกให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนักเรียนทำความเคารพเสียเอง ทั้งๆ ที่เป็นพระสงฆ์ มีความสามารถถึงเพียงนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชมว่าเก่ง นับว่าเป็นพระสงฆ์ที่เก่งองค์หนึ่ง ถ้าอย่างสมัยนี้ เชยตายแล้ว นับว่าท่านมีความสามารถในตัวของท่านในสมัยนั้น ท่านเป็นพระครูเถระยุคเก่าที่เก่ง ต่อจากนั้นได้ถวายพระพรเชิญเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขึ้นที่ประทับรับรอง ส่วนพระครูอินทโมลี ก็ได้เชิญไปเจริญพระพุทธมนต์ร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตรัสชมเชยว่า เสียงดัง ฟังชัด แม่นยำ ชัดเจน และได้รับพระราชทานผ้ากราบผ้ารองย่ามเป็นที่ระลึกก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จกลับ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปตั้งบนโต๊ะหมู่บูชา มีพุทธลักษณะสวยงามมาก เป็นที่พอพระทัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงตรัสว่า จะขออะไรสักอย่างจะได้ไหม พระครูอินทโมลีจึงถวายพระพรตอบว่า ขอถวายพระพรอนุญาตให้ตามความประสงค์ของมหาบพิตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงตรัสว่า พระพุทธรูปองค์นี้พุทธลักษณะสวยงามมาก ขอพระพุทธรูปองค์นี้ได้ไหม พระครูอินทโมลีจึงขอถวายพระพรขออนุญาตให้ตามพระประสงค์ แต่อาตมาจะขอมหาบพิตรสักอย่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงตรัสว่า ท่านต้องการอะไรล่ะ พระครูอินทโมลีจึงขอถวายพระพรว่า ขณะนี้อาตมายังไม่ขอทูลก่อน ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จกลับ พร้อมนำพระพุทธรูปเชียงแสนไปยังพระราชวังด้วย

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคต พระครูอินทโมลีทราบ จึงได้เดินทางไปขอพระพุทธรูปคืนมาไว้ที่วัดพระบรมธาตุวรวิหาร เดี๋ยวนี้ได้มอบให้กรมศิลปากรดูแลรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี อยู่ในบริเวณวัดพระบรมธาตุวรวิหารตราบเท่าทุกวันนี้ นับว่าเป็นสมบัติอันล้ำค่าของเมืองชัยนาท

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เจ้าคุณวิชัยโสภณ (บุญส่ง สุบินมิตร). (๒๕๔๕, ๗ พฤศจิกายน). ประวัติวัดพระบรมธาตุวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ครั้งที่ ๑-๔ รวมในเล่มเดียวกัน (พิมพ์ครั้งที่ ๔) หน้า ๒๕-๒๖.)


DSC00999.JPG


พระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ พบที่จังหวัดชัยนาท ประดิษฐานภายในชั้นล่าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


DSC00996.JPG


พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๐ พบที่วัดมหาธาตุ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ประดิษฐานภายในชั้นล่าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


DSC01002.JPG


DSC01003.JPG



DSC00997.JPG



พระพุทธรูปสมัยต่างๆ ประดิษฐานภายในชั้นล่าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


DSC00998.JPG



ตู้เก็บพระพุทธรูป แผ่นศิลาจำหลักพระพุทธรูป ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔

ชื้นส่วนใบหน้าบุคคลดินเผา ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙

และเครื่องใช้โบราณต่างๆ

จัดแสดงภายในชั้นล่าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


Rank: 8Rank: 8

DSC00994.JPG



ชั้นล่างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี

จัดแสดงเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีของจังหวัดชัยนาท จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์

โบราณวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ เครื่องใช้ เครื่องประดับสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยทวารวดี พระพุทธรูปสมัยต่างๆ อีกส่วนหนึ่งจัดแสดงโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่น ตู้พระธรรม เครื่องบริขารถมปัด ประติมากรรมและเครื่องถ้วยในศิลปะลพบุรี ศิลปะสุโขทัย ศิลปะอยุธยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ และศิลปะจีน



DSC01007.JPG



ประวัติศาสตร์ โบราณคดี เมืองชัยนาท


จังหวัดชัยนาท ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทย บริเวณที่ราบลุ่มมีแม่น้ำสายสำคัญอันได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำน้อย ที่ยังความอุดมสมบูรณ์และชุ่มชื้นแก่ผืนดิน ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล จากหลักฐานทางโบราณคดีที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าบริเวณจังหวัดชัยนาทปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐-๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ขวานหินขัด ชิ้นส่วนเครื่องมือเหล็ก กำไลสำริด ลูกปัด รวมไปถึงการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อและพิธีกรรมตามรูปแบบของสังคมดั้งเดิม

ล่วงมาถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เมื่ออารยธรรมอินเดียส่งผ่านเข้ามายังภูมิภาคแห่งนี้ ชุมชนดั้งเดิมที่กระจายกันอยู่ตามบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ ได้พัฒนาการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มมีการบันทึกเรื่องราวด้วยตัวอักษร สร้างรูปเคารพ และก่อสร้างศาสนสถาน มีระบบสังคมการดำรงชีวิตซับซ้อนมากขึ้น ได้ปรากฏร่องรอยของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีหลายแห่ง เช่น เมืองอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์ เมืองดงคอน อำเภอสรรคบุรี เป็นต้น โบราณวัตถุที่พบส่วนใหญ่เนื่องในพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูปศิลา พระพิมพ์ และชิ้นส่วนธรรมจักร ตลอดจนแผ่นหินเจาะรูมีเสียงกังวานอย่างที่เรียกกันว่า “ระฆังหิน” และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

บริเวณจังหวัดชัยนาทในปัจจุบันเคยมีเมืองสำคัญ คือ เมืองสรรค์ และเมืองชัยนาท ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับเมืองทั้ง ๒ ปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณหลายฉบับ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงสมเด็จพระนครินทราชาธิราช ได้ตั้งโอรส ๓ พระองค์ คือ เจ้าอ้ายพระยาให้ครองเมืองสุพรรณ เจ้ายี่พระยาให้ครองเมืองสรรค์ และเจ้าสามพระยาให้ครองเมืองชัยนาท

เมืองสรรค์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย อยู่ในเขตพื้นที่ ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เมืองสรรค์อยู่ในฐานะเป็นเมืองชั้นลูกหลวงของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีวัดมหาธาตุเป็นศูนย์กลาง โบราณสถานที่ปรากฏทั้งภายในเมือง เช่น วัดพระยาแพรก วัดสองพี่น้อง และที่วัดพระแก้วนอกเมือง ล้วนแต่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ที่วัดโตนดหลายมีรูปแบบแสดงถึงความสัมพันธ์กับราชธานีสุโขทัยในช่วงเวลานั้นด้วย ศิลปกรรมที่เมืองสรรค์มีลักษณะและรูปแบบที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองพบที่เมืองสรรค์ เป็นแบบศิลปะที่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเล็กน้อยมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น

ส่วนเมืองชัยนาทที่เจ้าสามพระยาได้มาครองนั้น อยู่ที่ฟากตะวันตกของแม่น้ำน่านในจังหวัดพิษณุโลก ไม่ใช่เมืองชัยนาทในเขตจังหวัดชัยนาทปัจจุบัน เมืองชัยนาทที่จังหวัดชัยนาทคงเกิดขึ้นและเรียกชื่อเช่นนี้

ภายหลังจากที่ได้มีการรวมเมืองชัยนาททางฟากตะวันตกของแม่น้ำน่านเข้ากับเมืองสรลวงสองแควฝั่งตรงกันข้าม เรียกชื่อใหม่เป็นเมืองพิษณุโลกในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว โดยเมืองชัยนาทที่จังหวัดชัยนาทนี้ ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำน้อยริมแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตก มีวัดพระบรมธาตุวรวิหารเป็นศูนย์กลางการปกครองท้องที่แห่งใหม่ ภายหลังจึงได้มีการย้ายเมืองชัยนาทมาตั้งใหม่ทางฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นที่ตั้งของตัวจังหวัดชัยนาทในปัจจุบัน

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติศาสตร์ โบราณคดี เมืองชัยนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี)


DSC01004.JPG


เครื่องบริขารถมปัด จัดแสดงภายในชั้นล่าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


DSC01005.JPG


ตู้พระธรรม ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕

ประติมากรรม และเครื่องถ้วย ในศิลปะลพบุรี ศิลปะสุโขทัย ศิลปะอยุธยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ และศิลปะจีน

จัดแสดงภายในชั้นล่าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


Rank: 8Rank: 8

DSC00987.JPG



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี วัดพระบรมธาตุวรวิหาร


DSC01033.JPG



ประวัติพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ก่อตั้งขึ้นด้วยความสนใจของพระชัยนาทมุนี (นวม สุทตฺโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาทและอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร (พ.ศ.๒๔๙๕-๒๕๐๙) ซึ่งได้รวบรวมโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่พบในเขตจังหวัดชัยนาทและบริเวณใกล้เคียง มาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานของวัดเป็นจำนวนมาก

ต่อมาพระชัยนาทมุนีได้ยินดีมอบโบราณวัตถุศิลปวัตถุดังกล่าวให้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยในปี พ.ศ.๒๕๐๙ กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานขึ้นในบริเวณใกล้กับวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตั้งชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เพื่อเป็นที่ระลึกแด่พระชัยนาทมุนี เปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นต้นมา

การจัดแสดง แบ่งการจัดแสดงตามพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ

๑. ชั้นล่าง
จัดแสดงเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีของจังหวัดชัยนาท โบราณวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ เครื่องใช้ เครื่องประดับสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยทวารวดี พระพุทธรูปสมัยต่างๆ อีกส่วนหนึ่งจัดแสดงโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่น ตู้พระธรรม เครื่องบริขารถมปัด ประติมากรรมและเครื่องถ้วยในศิลปะลพบุรี ศิลปะสุโขทัย ศิลปะอยุธยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ และศิลปะจีน

๒. ชั้นบน
จัดแสดงพระพิมพ์ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีในประเทศไทย ตั้งแต่พระพิมพ์ในศิลปะทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะอยุธยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ แม่พิมพ์พระพิมพ์ แผงพระพิมพ์ไม้ และพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็ก



DSC00990.JPG



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี

ที่อยู่ : ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ๑๗๐๐๐

โทรศัพท์ / โทรสาร : ๐-๕๖๔๐-๕๖๒๑

เวลาทำการ : วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

ปิด : วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์


4.JPG


ข้าพเจ้าในนามคณะตามรอยพระพุทธบาท เว็บแดนนิพพาน ดอทคอม กราบขอบพระคุณเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ๒ ท่าน ที่อนุญาตข้าพเจ้าให้เข้าไปถ่ายภาพภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี และเป็นวิทยากรพาชมและบรรยายเกี่ยวกับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้


Rank: 8Rank: 8

DSC00985.JPG



DSC00984.JPG



รูปพระนารายณ์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร



DSC00935.JPG



DSC00937.JPG



กุฏิเจ้าอาวาส วัดพระบรมธาตุวรวิหาร

ปัจจุบันมี พระมหาเจติยารักษ์ (บุญส่ง ภทฺทาจาโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๖-ปัจจุบัน ๒๕๕๐

(หมายเหตุ : ภาพกุฏิเจ้าอาวาส ณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๐)


DSC00988.JPG



เมรุ และศาลาหลังเก่า วัดพระบรมธาตุวรวิหาร


Rank: 8Rank: 8

DSC00957.JPG



พิพิธภัณฑ์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร


DSC00978.JPG



พระพุทธรูปนาคปรก และพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานภายในพิพิธภัณฑ์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร



DSC00967.JPG



พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ประดิษฐานภายในพิพิธภัณฑ์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร


DSC00980.JPG



DSC00973.JPG



รอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานภายในพิพิธภัณฑ์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕


DSC00966.JPG


รูปพระสังกัจจายน์ ประดิษฐานภายในพิพิธภัณฑ์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร


DSC00960.JPG



รูปเหมือนพระอินทโมลีศรีบรมธาตุบริหารสุวิจารณ์สังฆปาโมกข์ (หลวงพ่อช้าง) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร (พ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๖๕) ประดิษฐานภายในพิพิธภัณฑ์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร


DSC00971.JPG



รูปเหมือนพระชัยนาทมุนี (หรุ่น) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร (พ.ศ.๒๔๗๑-๒๔๘๕) และรูปเหมือนพระชัยนาทมุนี (นวม) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร (พ.ศ.๒๔๙๕-๒๕๐๙) (เรียงจากซ้าย-ขวา) ประดิษฐานภายในพิพิธภัณฑ์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร


DSC00972.JPG


เครื่องใช้โบราณต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร


DSC00979.JPG



พุทธศาสนิกชนสามารถร่วมทำบุญบูชาวัตถุมงคลบำรุงวัดได้ ภายในพิพิธภัณฑ์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:34 , Processed in 0.054685 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.