แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 22500|ตอบ: 37
go

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม อ.เมือง จ.ลำปาง (พระเกศาธาตุพระพุทธเจ้า ๔ องค์,พระบรมธาตุหัวใจ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC03092.jpg



วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม  

บ.เวียงเหนือ  ถ.พระแก้ว  ต.เวียงเหนือ  อ.เมือง  จ.ลำปาง  

[พระเกศาธาตุพระพุทธเจ้า ๔ องค์ , พระบรมธาตุหัวใจ]


ประวัติวัดพระแก้วดอนเต้า ตำนานฉบับพื้นเมือง กล่าวว่า ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนมายุอยู่ องค์สมเด็จพระบรมครูเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๑,๕๐๐ รูป ในคราวนั้น พระสงฆ์ทั้งหลายได้สนทนากัน ถึงเรื่องในอดีตกาลที่ผ่านมา คือปรารภเรื่องพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์เป็นที่บำเพ็ญสมณธรรม พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงเสด็จออกมาจากพระคันธกุฏิ แล้วตรัสถามพระภิกษุทั้งหลาย พระอานนท์ก็กราบทูลตามที่สนทนากัน

องค์สมเด็จพระภควันต์จึงตรัสว่า การบำเพ็ญธรรมในป่าอันสงบเช่นนั้น มิใช่มีแต่พระภิกษุรูปนั้นรูปเดียว แม้เราตถาคตเองครั้งเสวยพระชาติเป็นพญานกแขกเต้า ก็ได้ม่อนดอนเต้า เป็นที่อาศัย เพราะ “ม่อนดอนเต้า” เป็นสถานที่อันประเสริฐ เป็นที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้อยู่สร้างบารมีธรรมมานานแล้ว ในวันนี้เราตถาคตก็จักเสด็จไปที่นั้นพร้อมกับพวกเธอทั้งหลาย พระองค์ตรัสดังนี้แล้ว จึงเสด็จพร้อมกับพระภิกษุทั้งหลายไปสู่ม่อนดอนเต้าด้วยอิทธิฤทธิ์ แล้วทรงทรมานพวกยักษ์และคนพาลทั้งหลายที่อาศัยอยู่ ณ ที่นั้น ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน จนมีผู้บรรลุมรรคผลมากมาย แล้วจึงได้ตรัสเล่าต่อไปอีกว่า

“พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันโธ ได้เอาพระเกศา ๘ เส้น มาบรรจุไว้ในที่นี้ พระพุทธโกนาคม ก็เอาพระเกศามาบรรจุไว้ ๑๖ เส้น และพระพุทธกัสสป ได้นำพระเกศามาบรรจุไว้ ๓๒ เส้น เมื่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้นปรินิพพานแล้ว อัครสาวกทั้งหลายก็นำเอาพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มาบรรจุไว้ที่นี้ และเราตถาคตก็จักเอาพระเกศา ๑๐๘ เส้น มาบรรจุไว้ ณ ที่นี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สถานที่นี้ต่อไป จะเป็นบ้านเมืองที่เจริญรุ่งเรือง จักเป็นสถานที่เคารพสักการบูชาแก่คน ๑๐๑ ภาษา เมื่อเราตถาคตปรินิพพานไปแล้ว พระสาวกของเรามีพระเจ้าอโศกมหาราช พร้อมด้วยพระมหินทร์จะได้นำเอาพระธาตุมะแกว (หัวใจ) ของเรามาบรรจุไว้ที่พระบรมธาตุดอนเต้านี้”



Rank: 8Rank: 8


DSC02973.jpg


วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๕๑๙ บ้านเวียงเหนือ ถนนพระแก้ว ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำวัง ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๒ กิโลเมตร ที่ดินตั้งวัด มีเนื้อที่ ๕๑ ไร่ ๒ งาน ๖๑ ตารางวา และเขตธรณีสงฆ์มีเนื้อที่ประมาณ ๒๖ ไร่ ปัจจุบันสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม บริเวณที่ตั้งวัดเป็นเนินดินสูงขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.๑๒๒๓ ในสมัยของพระเจ้าอนันตยศ (บางตำนานกล่าวว่าสร้างเมื่อพ.ศ.๑๒๓๓) ราชโอรสองค์ที่สองของพระแม่เจ้าจามเทวี เดิมวัดนี้ชื่อว่า “วัดพระแก้วดอนเต้า” เรียกสั้นๆ ว่า “วัดพระแก้ว” ต่อมากรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการประกาศรวมวัดพระแก้วดอนเต้ากับวัดสุชาดารามเข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ วัดพระแก้วดอนเต้าได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร นอกจากนี้วัดพระแก้วดอนเต้ายังได้รับการสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

DSC02974.jpg


ประตูทางเข้า/ออก วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ  

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม เป็นวัดเก่าแก่และสวยงามขนาดใหญ่ มีผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกตนานถึง ๓๒ ปี ปูชนียสถานที่สำคัญ คือ พระเจดีย์ใหญ่ทรงล้านนา มีมณฑปยอดปราสาทแบบพม่าที่ประณีตงดงาม มีพระนอนองค์ใหญ่ มีพระวิหารทรงล้านนาที่มีรูปทรงงดงาม มีลวดลายแกะสลักไม้ที่บานหน้าต่าง ข้างในมีจิตรกรรมฝาผนังที่มีคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์ มีพระอุโบสถทรงล้านนาขนาดกะทัดรัด มีสัดส่วนสวยงาม และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งล้านนา


การเดินทางไปวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ไปได้โดยการข้ามสะพานรัชฎาภิเศก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนพระแก้ว ประมาณ ๑ กิโลเมตร ก็จะเห็นองค์พระบรมธาตุดอนเต้าตั้งเด่นอยู่บนเนินค่ะ


การเดินทางไปวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ดูข้อมูลแผนที่จากเว็บ google ได้ตามลิงค์นี้ค่ะ

https://www.google.co.th/maps?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1&es_sm=93&um=1&ie=UTF-8&sa=X&ei=hz3cVJ2PJ4nmuQSd6IKACg&ved=0CAkQ_AUoAg


DSC02949.jpg



พี่ศักดา คำมาบุญ ที่ใจดีเมตตาขับรถมาส่งข้าพเจ้าที่วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดารามวันนี้ ซึ่งไปเจอข้าพเจ้าที่ข้างถนน กำลังถามทางไปวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดารามอยู่ เลยอาสามาส่งข้าพเจ้าที่วัด เพราะทางมาวัดไม่ค่อยมีรถผ่าน และเห็นเป็นผู้หญิงมาคนเดียวเกรงว่าจะอันตราย

ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณพี่ศักดาเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ  


Rank: 8Rank: 8

DSC02963.jpg



พระวิหารสมเด็จโต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ
  

DSC02954.jpg



IMG_0275.jpg



รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ประดิษฐานภายใน พระวิหารสมเด็จโต วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC02959.jpg


DSC02958.jpg


รูปพระแม่กวนอิม มหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


บทสรรเสริญพระคุณพระแม่กวนอิม มหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร)

   นำโมไต๋ซื่อ  ไต๋ปุย  กิ๋วโค่ว  กิวหลั่ง  กวงไต๋เล่งก้ำ  กวงสี่อิม  ผู่สัก (กราบ) ๓ จบ
นำโมฮู๊ก  นำโมหวบ  นำโมเจ็ง  นำโมกิ้วโค่ว  กิวหลั่ง  กวงสี่อิมผู่สัก  ทั่งจี้โต  โอม  เกียล้อฮวดโต  เกียออฮวดโต  ล้อเกียฮวดโต  ล้อเกียฮวดโต ซำผ่อออ  เทียงล้อซิ้ง  ตี่ล้อซิ้ง  นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิง  เจ๊กเฉียก  ใจเอียงห่วยอุ่ยติ๊ง  นำมอมอ  ออป่อเยี้ย  ปอหล่อบิ๊ก (กราบ)



Rank: 8Rank: 8

DSC02964.jpg


DSC02966.jpg


รูปสมเด็จพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ ๕ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ  


พระคาถาบูชาสมเด็จพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ ๕

  (กล่าวนะโม ๓ จบ)  อิติปิโส  วิเสเสอิ  อิเมนา  พุทธะตังโสอิ  อิโสตัง  พุทธะปิติอิ  อิเสเส  พุทธะน่าเมอิ  พระสยามินโท  วะโรอิติ  พุทธะสังมิ  อิติอะระหัง  สะหัสสะ  กายัง  วะรังพุทโธ  นะโมพุทธายะ  มาสีสะมานัง  ปิยะมะมะ  นะโมพุทธายะ  ปิยะมะมะ  นะโมพุทธายะ  ปิยะมะมะ  นะโมพุทธายะ



Rank: 8Rank: 8


DSC09400.jpg


DSC02971.jpg



น้ำบ่อโบราณ ๔ ลึก ๗ เมตร วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC02976.jpg


DSC02979.jpg


รูปเจ้าพ่อทิพย์ช้าง วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ

เจ้าพ่อทิพย์ช้าง วีระบุรุษแห่งเขลางค์นคร (ลำปาง) ผู้กอบกู้อิสรภาพล้านนาไทยเป็นอิสระและปกครองนครลำปางในพ.ศ. ๒๒๗๕ ปฐมวงศ์ของเจ้าเจ็ดตน ต้นตระกูล ณ. ลำปาง ณ. ลำพูน ณ.เชียงใหม่ และเชื้อเจ็ดตน



DSC02980.jpg


ตำนานเจ้าทิพย์ช้าง (เจ้าพระยาสุระวะฤาไชยสงคราม)

ทิพย์ช้างวีระบุรุษแห่งเขลางค์นคร หรือบางแห่งก็เรียกนายทิพจักรวรเนจร ผู้นี้เป็นพรานป่าชาวบ้านคอกบัว (คือบริเวณข้างวัดศรีล้อม ตำบลเวียงเหนือ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง) บางแห่งก็ว่าเป็นชาวบ้านปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นผู้มีกำลังฝีมือเข้มแข็งและกล้าหาญ จึงได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้ากอบกู้อิสรภาพนครลำปางได้สำเร็จ และได้รับการสถาปนาเป็น “เจ้าพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม” เป็นปฐมวงศ์ของเจ้าเจ็ดต้น ซึ่งเจ้าทั้งเจ็ดเป็นพี่น้องกันมีความสำคัญเกี่ยวกับการกอบกู้อิสรภาพของล้านนาได้สำเร็จ แล้วก็ได้เข้าร่วมกับไทยกลางและได้ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง มีเชื้อสายสืบเนื่องกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน

เจ้าพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) ครองนครลำปางได้นานถึง ๒๗ ปี ถึงปีพ.ศ.๒๓๐๒ (จุลศักราช ๑๑๒๑) ก็ถึงแก่ทิวงคต มีโอรสธิดากับเจ้าแม่ปิมลาเทวีรวม ๖ คน คือ


๑.  เจ้าชายอ้าย (ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์)
๒.  เจ้าชายแก้ว (ได้ครองเมืองแทนบิดา เป็นบิดาของเจ้าเจ็ดตน)
๓.  เจ้านางคำ
๔.  เจ้าชายคำภา
๕.  เจ้าชายพ่อเรือน (ถึงแก่กรรมในการรบกับท้าวลิ้นก่านบุตรพ่อเมืองคนเก่า)
๖.  เจ้านางกลม

หลังจากที่เจ้าพระยาสุละวะฤาไชยสงครามถึงแก่ทิวงคต ท้าวลิ้นก่านพ่อเมืองคนเก่าซึ่งหนีไปอยู่ประตูผาเมื่อครั้งศึกเมืองลำพูนนั้นกลับยกทัพมากำลังมาปล้นแย่งชิงเมืองจากเจ้าชายแก้ว ซึ่งได้ขึ้นครองเมืองแทนบิดา เจ้าชายแก้วและเจ้าชายแก้วเรือนต่อสู้กำลังท้าวลิ้นก่านไม่ได้ ก็อพยพถอยไปอยู่เมืองแพร่ (บางแห่งว่าเมืองลอง) ซ่องสุมผู้คนได้พอสมควรแล้วก็ยกกลับมารบกับท้าวลิ้นก่านอีก ในการรบครั้งนี้ เจ้าชายพ่อเรือนน้องชายเจ้าแก้วถูกปืนตายในที่รบ


เจ้าชายแก้วหนีไปหาโป่อภัยคามินีแม่ทัพพม่าซึ่งมายึดครองเมืองเชียงใหม่และลำพูนในขณะนั้น พม่าจึงส่งเจ้าชายแก้วไปยังกรุงอังวะ ต่อมาพระเจ้าอังวะก็ให้เกณฑ์หัวเมืองฝ่ายเหนือให้โป่ซุกยกมาและนำตัวเจ้าชายแก้วมาด้วย กองทัพพม่ามาตีนครลำปางแตกจับท้าวลิ้นก่านเสีย แล้วคืนเมืองให้เจ้าชายแก้ว พร้อมกันนี้พระเจ้ากรุงอังวะได้สถาปนาให้เจ้าชายแก้วเป็นที่ “เจ้าฟ้าชายแก้ว” (บางแห่งว่าเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว) เป็นผู้ครองเมืองลำปางต่อไป ปีพ.ศ.๒๓๐๗ (จุลศักราช ๑๑๒๖ ปีวอก)

เชื้อสายของเจ้าพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) ที่ได้ครองเมืองนครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน และเชียงแสน เชียงราย ในเวลาต่อมาก็คือ โอรสธิดาของเจ้าฟ้าชายแก้ว อันเกิดจากเจ้าแม่จันทาเทวีคือ


๑. เจ้ากาวิละ ประสูติปีจอ จุลศักราช ๑๑๐๔ พ.ศ.๒๒๘๕ ต่อมาได้เป็นผู้ครองนครลำปาง พ.ศ.๒๓๑๗ เป็นเวลา ๗ ปี แล้วทรงโปรดให้เป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ภายหลังได้เลื่อนรับสุพรรณบัตรเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีฯ พระเจ้าขันธเสมานครเชียงใหม่ที่ ๑


๒. เจ้าคำโสม ประสูติปีชวด จุลศักราช ๑๑๐๖ พ.ศ.๒๒๘๗ ได้เป็นผู้ครองเมืองนครลำปางที่ ๒ ต่อจากพระบรมราชาธิบดี (กาวิละ)


๓. เจ้าน้อยธรรมลังกา ประสูติปีขาล จุลศักราช ๑๑๐๘ พ.ศ.๒๒๘๙ ได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๒ เรียกอย่างสามัญว่า เจ้าช้างเผือก


๔. เจ้าดวงทิพย์ ประสูติปีมะโรง จุลศักราช ๑๑๑๐ พ.ศ.๒๒๙๑ ได้เป็นผู้ครองนครลำปางที่ ๓ ต่อจากเจ้าคำโสม (ปีพ.ศ.๒๓๓๗)


๕. เจ้านางศรีอโนชา ประสูติปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๑๒ พ.ศ.๒๒๘๓ ได้เป็นพระชายากรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาทฯ (ชาวเหนือเรียกว่า แม่เจ้าครอกศรีอโนชา) มีพระธิดา ๑ องค์ ทรงพระนามว่า เจ้าหญิงพิกุลทอง


๖. เจ้านางศรีวรรณา ประสูติปีวอก จุลศักราช ๑๑๑๔ พ.ศ.๒๒๙๕


๗. เจ้าหมูหล้า ประสูติปีจอ จุลศักราช ๑๑๑๖ พ.ศ.๒๒๙๗ ได้เป็นอุปราชเมืองนครลำปาง ถึงอนิจกรรมที่กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๒๓๕๘ อายุได้ ๖๑ ปี


๘. เจ้าคำฝั้น ประสูติปีชวด จุลศักราช ๑๑๑๘ พ.ศ.๒๒๙๙ ได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่ ๓ เรียกอย่างสามัญว่า เจ้าหลวงเศรษฐี


๙. เจ้านางศรีบุญทัน ประสูติปีขาล จุลศักราช ๑๑๒๐ พ.ศ.๒๓๐๑


๑๐. เจ้าบุญมา ประสูติปีมะโรง จุลศักราช ๑๑๒๒ พ.ศ.๑๒๐๒ ได้เป็นผู้ครองนครลำพูนที่ ๒ ภายหลังได้เลื่อนเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน

รวมโอรสและธิดาของเจ้าฟ้าชายแก้ว คือ ชาย ๗ หญิง ๓ รวม ๑๐ คน ที่เรียกว่า เจ้าเจ็ดตนนั้น นับแต่เฉพาะที่เป็นชายเท่านั้น และเจ้าทั้งเจ็ดนี้เป็นต้นตระกูลวงศ์ ณ เชียงใหม่, ณ ลำปาง, ณ ลำพูน สืบมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนเชื้อสายเจ้าเจ็ดตนที่อยู่ทางเชียงรายโดยมากใช้นามสกุล “เชื้อเจ็ดตน” ซึ่งเป็นเชื้อสายสืบมาจาก “ทิพย์ช้าง” วีรบุรุษแห่งเขลางค์นครเช่นเดียวกัน




Rank: 8Rank: 8

DSC09403.jpg


DSC09407.jpg


พระเจดีย์เก่าของวัดล่ามช้าง ประดิษฐานด้านหลัง รูปเจ้าพ่อทิพย์ช้าง วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC02985.jpg


พระอุโบสถสุชาดา วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม เนื่องจากพระอุโบสถได้เลิกใช้งานแล้ว จึงถูกปล่อยทิ้งร้าง ทำให้เกิดการชำรุดเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ภาพตอนทางวัดกำลังบูรณปฏิสังขรณ์ค่ะ


DSC09404.jpg


พระอุโบสถสุชาดา วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม บูรณปฏิสังขรณ์เรียบร้อยแล้วค่ะ


ประวัติวัดสุชาดาราม


ตามประวัติกล่าวว่า คือบริเวณที่ตั้งบ้านของนางสุชาดา อุบาสิกาผู้หนึ่งของวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ที่ได้นำแตงโมลูกหนึ่งไปถวายพระเถระที่วัดพระแก้วฯ ครั้นผ่าแตงโมลูกนั้นออก ก็พบว่ามีมรกตอยู่ข้างใน พระเถระรูปนั้นจึงจ้างช่างให้นำมรกตนั้นไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูป เรียกว่า พระแก้วดอนเต้า ต่อมาได้มีผู้ไปฟ้องเจ้าเมืองลำปางในขณะนั้นว่า พระเถระและนางสุชาดาเป็นชู้กัน เจ้าเมืองลำปางจึงให้จับนางสุชาดาไปประหารชีวิต ส่วนพระเถระองค์นั้นทราบข่าว ก็ได้อัญเชิญพระพุทธรูปหนีไป โดยได้นำไปฝากไว้ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงจนถึงปัจจุบัน ส่วนสถานที่ตั้งบ้านของนางสุชาดา ก็ได้มีผู้มีจิตศรัทธาในคุณงามความดีของนาง บริจาคเงินสร้างวัดขึ้น ชื่อ วัดสุชาดาราม


DSC09405.jpg



พระอุโบสถสุชาดา วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ

พระอุโบสถสุชาดา วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม คาดว่าสร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับพระวิหารลายคำสุชาดา เป็นโบสถ์ขนาดเล็ก มีขนาดที่ฐานกว้าง ๘.๓๐ X ๑๔.๓๕ เมตร  สูง ๙.๒๐ เมตร  ตั้งอยู่บนฐานไพทีสูง ๑.๒๐ เมตร  ขนาดฐานกว้าง ๑๓.๒๐ X ๑๙.๕๐ เมตร  ตัวอุโบสถก่อด้วยอิฐ ฉาบปูนเรียบ ฐานยกพื้นสูง ๑.๒๐ เมตร  มีมุขยื่นออกไปทางด้านหน้า หลังคามุงซ้อนกัน ๒ ชั้น ชั้นละ ๒ ตับ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องคอนกรีตปลายตัด  ที่มุขด้านหน้าจะมีเสาไม้ขนาดใหญ่รับโครงหลังคา  ประดับด้วยลวดลายปูนปั้นติดกระจก จำนวน ๔ ต้น

ที่ไม้หน้าบันเหนือเสาไม้  จะเป็นไม้ภาพลายไทยลงรักปิดทอง  และที่ผนังเหนือช่องประตู จะเป็นลายปูนปั้นรูปพญานาค เหนือลายปูนปั้นขึ้นไป จะเป็นหน้าบันไม้ ประดับด้วยภาพจิตรกรรมลงสีทองภาพมังกร  และลายไทยบนพื้นสีแดง ที่แปไม้จะประดับด้วยจิตรกรรมลายไทยลงทอง และภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่บนฐานชุกชี  ซึ่งประดับด้วยจิตรกรรมลายไทยลงรักปิดทองอย่างสวยงาม  ที่ผนังด้านหลังพระประธาน จะมีลวดลายปูนปั้นรูปใบโพธิ์  และเหนือลายปูนปั้นขึ้นไป จะเป็นจิตรกรรมพุทธประวัติลงทองบนพื้นสีแดง



‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-10 13:27 , Processed in 0.105895 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.