แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 14604|ตอบ: 32
go

วัดพระเจดีย์ซาวหลัง บ.วังหม้อ ม.๒ ต.ต้นธงชัย อ.เมือง จ.ลำปาง [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC03379.jpg



วัดพระเจดีย์ซาวหลัง  

บ.วังหม้อ  ม.๒  ต.ต้นธงชัย  อ.เมือง  จ.ลำปาง

[พระบรมธาตุเจดีย์]



วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ตามประวัติของวัดเล่าว่า พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ได้ทำสังคายนาครั้งที่ ๓ โดยมีพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ แล้วได้จัดส่งพระอรหันต์ทั้งหลายออกเผยแพร่พระศาสนา ครั้งนั้นมีพระอรหันต์ ๒ องค์ จาริกมาพบสถานที่แห่งนี้ ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงต่างมีศรัทธาเลื่อมใส ความทราบถึงเจ้าผู้ครองนคร พระองค์ได้เสด็จมาสดับพระธรรมเทศนาจนมีศรัทธาในพระเถระเช่นกัน

พระองค์จึงได้ขอวัตถุสิ่งของเพื่อเป็นตัวแทนของพระอรหันต์ พระเถระทั้งสองจึงปรึกษากันว่า เราทั้งสองยังมิถึงกาลดับขันธ์สรีระต่างๆ ก็ยังไม่แตกหัก ที่พึงจะมีให้ได้นอกจากเส้นผม คิดแล้วดังนั้นจึงพร้อมใจกันลูบเอาเส้นผมติดมือมาองค์ละ ๑๐ เส้น แล้วมอบให้เจ้าเมืองดังประสงค์

ต่อมาเจ้าเมืองพร้อมด้วยไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ร่วมกันก่อสร้างพระสถูปเจดีย์ขึ้น ณ ที่แห่งนี้ แล้วบรรจุเส้นเกศาไว้ทั้ง ๒๐ องค์ พร้อมทั้งก่อสร้างพระวิหารและกุฏิน้อมถวายแด่พระอรหันต์เจ้า เพื่อเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจสืบไปดังนี้



Rank: 8Rank: 8

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
       •  วัดพระเจดีย์ซาวหลัง อ.เมือง จ.ลำปาง

       •  หนังสือประวัติวัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระอารามหลวง เมืองลำปาง เมื่อ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๒
       •  
พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑).  กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๒๗๕.             
       •  เอกสารเรียบเรียงจาก กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๓๒ , โบราณสถาน - ปูชนียวัตถุ ในจังหวัดลำปาง ; อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระราชสุธรรมาภรณ์ ( หล้า อินทชยมหาเถร) พ.ศ.๒๕๓๔.
       •  สมบัติ ศรีนุต ประเทศไทยไม่ใช่กรุงเทพฯ ที่นี่ภูธร ; ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพุธที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๙ หน้า ๑๑.
       •  กรมศิลปากร การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือ พ.ศ.๒๕๒๕.

       •  และทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญครั้งนี้

หมายเหตุ  
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทาน




Rank: 8Rank: 8

DSC03315.jpg


DSC09428.jpg



การเดินทางมากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ก็ขอจบการเดินทางเพียงเท่านี้นะคะ สวัสดีค่ะ   


Rank: 8Rank: 8

DSC03335.jpg



ต้นมะม่วงสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


ประวัติต้นมะม่วงสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง

นอกจากชายอนาถา ๒ พี่น้องได้สร้างบ่อน้ำถวายพระอรหันต์สององค์แล้ว หลังจากนั้นทั้งสองพี่น้องก็พากันไปหาต้นมะม่วงมาปลูกคนละต้น เพื่อจักให้เป็นร่มเงาที่พักพิงและเป็นที่อยู่อาศัยของสาธุชนตลอดถึงฝูงนกกาทั้งหลาย และน้อมถวายแด่พระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสอง

ชายผู้พี่ ปลูกทางทิศใต้กับพระเจดีย์ ส่วนชายผู้น้อง ปลูกทางทิศเหนือข้างพระอุโบสถ แต่ได้สูญสิ้นไปนานแล้ว (ปัจจุบันทางวัดได้นำเอาเมล็ดจากต้นชายผู้พี่มาเพาะปลูกแทนบริเวณที่เดิม) คงเหลือแต่ต้นของชายผู้พี่ ซึ่งเป็นมะม่วงต้นใหญ่และสูงมาก ชาวบ้านเรียกกันว่า “มะม่วงสองพี่น้อง” และถือกันว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์คู่กับองค์พระเจดีย์ตลอดมา

เมื่อทั้งสองพี่น้องได้ทำบุญสมตามที่คิดไว้แล้ว ก็ได้ตั้งความปรารถนาพร้อมกันว่า “ด้วยเดชะบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ขุดบ่อน้ำ ได้ปลูกต้นมะม่วงถวายแด่องค์พระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสอง ขอให้ข้าพเจ้าจงอยู่เย็นเป็นสุข มีที่พึ่งอาศัยประกอบไปด้วยทรัพย์สมบัติ เกิดมาในชาติใดภพใด ขอให้พบแต่ศาสนาของพระตถาคตเจ้าทุกชาติทุกภพเทอญฯ”

นับแต่นั้นมา วัดป่า(พระ)เจดีย์ซาวหลัง ก็เจริญรุ่งเรือง มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาเล่าเรียนปฏิบัติพระธรรมวินัยเป็นจำนวนมาก ส่วนพระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสอง เมื่อเห็นว่าสถานที่แห่งนี้พระพุทธศาสนาได้ประดิษฐานมั่นคงถาวรดีแล้ว ก็จาริกกลับไปยังชมพูทวีปอันเป็นดินแดนของตน



Rank: 8Rank: 8

DSC03323.jpg


DSC09435.jpg


รูปปั้นพระฤาษี บริเวณ บ่อน้ำสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC09439.jpg


DSC03328.jpg



บ่อน้ำบ่อน้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ

ตามประวัติบ่อน้ำสองพี่น้อง อายุได้ ๒,๐๐๐ กว่าปี บูรณะเมื่อพ.ศ.๒๔๖๔ เชื่อกันว่าน้ำในบ่อมีความศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดมีโรคภัยไข้เจ็บเยียวยาเท่าใดไม่หาย และมีเรื่องทุกข์ร้อนทางใจ ก็ไปตั้งสัจจะอธิษฐานขอดื่มและอาบสระเกล้าดำหัวจะทำให้ผู้นั้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บและทุกข์ร้อนทางใจได้ เมื่อต้องการนำไปใช้ให้ตั้งจิตอธิษฐานแล้วตักเอาน้ำด้วยสัจจะคารวะเถิด
เวลาจะตักน้ำในบ่อน้ำ ไม่อนุญาตให้นั่งบริเวณขอบปากบ่อน้ำ


Rank: 8Rank: 8

DSC09437.jpg


DSC03324.jpg



บ่อน้ำบ่อพี่ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03322.jpg


ประวัติบ่อน้ำสองพี่น้อง
วัดพระเจดีย์ซาวหลัง  

เมื่อพระยามิลินทร์ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ซาวหลังน้อมถวายเป็นมหาสังฆทานอันยิ่งใหญ่แด่พระสงฆ์ทั้งปวง ซึ่งมีพระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสองร่วมเป็นประธานอนุโมทนาอยู่ด้วย และนับแต่นั้นมาพระอารามแห่งนี้ก็มีชื่อเรียกว่า “วัดป่า(พระ)เจดีย์ซาวหลัง”

ต่อมาได้มีชายหนุ่มกำพร้าอนาถาสองพี่น้องตั้งบ้านเรือนอยู่ในละแวกนั้น เป็นคนเข็ญใจ แต่สองพี่น้องคู่นี้เป็นผู้มีจิตใจฝักใฝ่ในพระรัตนตรัยเป็นอย่างยิ่งและมิได้ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อถึงวันธรรมะสวนะทั้งสองก็จะละจากการหาเลี้ยงชีพมาสดับรับฟังพระธรรมเทศนา ให้ทาน และรักษาศีล เจริญภาวนา อยู่มิได้ขาด อยู่มาวันหนึ่ง ทั้งสองพี่น้องต่างปรึกษาหารือถึงความเป็นอยู่ยากจนข้นแค้นของตัวเองและรำพึงถึงวาสนาที่อาภัพช่างไม่เหมือนผู้อื่นเขาเลย พลันชายผู้พี่กล่าวว่า

“ในชาติปางก่อนเราทั้งสองอาจจะไม่เคยได้ทำบุญให้ทานรักษาศีลเป็นแน่แท้ คงจะเป็นมัจฉริยะตระหนี่ถี่เหนียวมีจิตใจคับแคบไม่เอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่นเขา เกิดมาชาตินี้ จึงกำพร้าพ่อแม่แต่เยาว์วัย ยากจนไร้ทรัพย์สมบัติ ขาดที่พึ่งอาศัย ได้รับการดูถูกเหยียดหยามดังเช่นทุกวันนี้”

เมื่อชายผู้พี่กล่าวจบ ชายผู้น้องจึงกล่าวว่า “คงจะเป็นผลกรรมตามสนองดังพี่ว่า แล้วเราทั้งสองจะทำประการใด” ชายผู้พี่จึงกล่าวปลอบโยนและชักชวนน้องชายว่า “น้องอย่าได้เศร้าเสียใจ และคิดย่อท้อให้กับความทุกข์ยากในปัจจุบันนี้เลย นับเป็นบุญของเราทั้งสองอยู่ที่ไม่เสียชาติ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีก ได้มาพบพระพุทธศาสนา และพระอรหันต์เจ้าทั้งสอง ควรที่เราจะประกอบคุณงามความดีไว้ เพราะความยากจนมิได้เป็นอุปสรรคในการกระทำความดี เราควรจะสร้างทำอะไรสักอย่างหนึ่งตามกำลังและศรัทธาที่เรามีอยู่ ถวายแด่องค์พระอรหันต์”

เมื่อชายผู้พี่กล่าวจบ ชายผู้น้องก็มีความชื่นชมยินดี และทั้งสองต่างปรึกษากัน ในที่สุดก็ตกลงใจสร้างบ่อน้ำถวายคนละบ่อ แล้วทั้งสองก็พากันไปเลือกดูสถานที่ เมื่อได้เป็นที่พอใจแล้ว วันต่อมาสองพี่น้องก็พากันมาพร้อมด้วยเครื่องมือขุด ก่อนจะขุดทั้งสองพี่น้องก็พากันคุกเข่าประนมมืออธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า “ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เป็นคนยากจนไร้ทรัพย์สมบัติ ขาดที่พึ่งอาศัย ต่างก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ปรารถนาจะขุดบ่อน้ำถวายพระอรหันต์ ณ ที่นี้คนละบ่อ แต่ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นผู้มีกำลังน้อย เมื่อขุดขออย่าให้น้ำออกลึกจนเกินกำลัง ขอให้ลึกพอประมาณเถิด”

เมื่อทั้งสองอธิษฐานแล้วก็ลงมือขุดพร้อมกัน พอขุดได้ไปลึกประมาณ ๑ วา ก็มีน้ำใสสะอาดไหลซึมออกมาพร้อมกัน สองพี่น้องเมื่อเห็นเช่นนั้นต่างก็ปลื้มปีติลืมความเหน็ดเหนื่อยทั้งสิ้น จึงรีบตกแต่งบ่อน้ำให้เรียบดีแล้ว จึงนำเอาดินกี่ (อิฐ) ซึ่งเตรียมไว้แล้วมาก่อเป็นรูปบ่อน้ำสี่เหลี่ยม เมื่อเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว สองพี่น้องก็ได้น้อมถวายแด่พระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสอง เพื่อจะได้ใช้อาบและฉัน และเพื่อให้เป็นสาธารณะประโยชน์โดยทั่วไป

บ่อน้ำทั้งสองนี้ (นับว่าแปลกมิใช่น้อย เท่าที่ทางวัดได้ขุดต่อมา บ่อบ่อหนึ่ง ปรากฏว่าลึกไม่ต่ำกว่า๕-๖ วา จึงจะพบน้ำ) อยู่ทางทิศเหนือของวัด ห่างจากกำแพงประมาณ ๗๐ เมตร ปัจจุบันนี้ยังคงมีน้ำใสสะอาดอยู่ตามเดิม ชาวบ้านเรียกกันว่า “บ่อน้ำสองพี่น้อง” จนทุกวันนี้



Rank: 8Rank: 8

DSC03316.jpg


DSC09427.jpg



ประตูทางเข้า/ออก บ่อน้ำสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC09438.jpg


DSC03319.jpg



รูปอนุสรณ์สองพี่น้องสร้างบ่อน้ำถวายแด่พระอรหันต์ บริเวณ บ่อน้ำสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ



DSC03321.jpg


หอเทพารักษ์ บริเวณ บ่อน้ำสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ  


Rank: 8Rank: 8

DSC03312.jpg


DSC09425.jpg



พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ  


Rank: 8Rank: 8

DSC03277.jpg


ห้องสมุดประชาชน วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03279.jpg



DSC03306.jpg


ทางไปบ่อน้ำสองพี่น้อง อยู่ด้านหลัง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ตามมาเลยค่ะ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-5 19:34 , Processed in 0.039637 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.