แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 14940|ตอบ: 10
go

วัดพระธาตุดอยเวียง ม.๙ ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC07064.JPG



วัดพระธาตุดอยเวียง  

ม.๙ ต.บ้านธิ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน

[พระบรมธาตุเจดีย์]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 28 ม.ค. 2565)


Rank: 8Rank: 8

DSC07168.JPG



DSC07011.JPG



DSC07013.JPG



DSC07015.JPG



DSC07020.JPG



การเดินทางไปวัดพระธาตุดอยเวียง ใช้เส้นทางสายลำพูน-บ้านธิ ระยะทางห่างจากอำเภอบ้านธิประมาณ ๗ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๑๔๗ เลยสามแยกบ้านธิไปเล็กน้อย เลี้ยวเข้าถนนตรงตลาดอุ๊ยจุ้มไปอีก ๑ กิโลเมตร และเลี้ยวเข้าแยกถนนรพช.บ้านธิ-ดอยเวียงไปอีก ๗ กิโลเมตร ถึงวัดพระธาตุดอยเวียง


Rank: 8Rank: 8

DSC07021.JPG



ซุ้มประตูทางเข้า วัดพระธาตุดอยเวียง



DSC07125.JPG


DSC07111.JPG



วัดพระธาตุดอยเวียง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๑ บ้านดอยเวียง หมู่ที่ ๙ ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน สังกัดคณะมหานิกาย และเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดลำพูนแห่งที่ ๓


DSC07127.JPG



ทางขึ้นพระธาตุดอยเวียง วัดพระธาตุดอยเวียง มี ๒ ทาง คือ บันไดทางขึ้น และถนนทางขึ้นโดยรถ


DSC07084.JPG



บันไดทางขึ้นพระธาตุดอยเวียง วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07085.JPG



DSC07086.JPG



รูปปั้นกุมภัณฑ์ ๒ ตน ประดับบันไดทางขึ้นพระธาตุดอยเวียง วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07028.JPG



ถนนทางขึ้นพระธาตุดอยเวียง วัดพระธาตุดอยเวียง


Rank: 8Rank: 8

DSC07076.JPG



ศาลาหลวงพ่อดำดิน อยู่ริมถนนทางขึ้นพระธาตุดอยเวียง วัดพระธาตุดอยเวียง คุณแม่ชูชื่น ศิระวงษ์ สร้างถวาย ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๘

  

DSC07070.JPG



DSC07071.JPG



หลวงพ่อดำดิน ประดิษฐานภายใน ศาลา ริมถนนทางขึ้นพระธาตุดอยเวียง วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07074.JPG




ประวัติหลวงพ่อดำดิน วัดพระธาตุดอยเวียง


หลวงพ่อดำดิน (พระเจ้าดำดิน)
พระพุทธรูปเก่าแก่องค์ที่สามของวัดพระธาตุดอยเวียง หน้าตักกว้าง ๘๙ นิ้ว ข้างในเป็นศิลาแลง ข้างนอกฉาบด้วยปูนเต็มองค์ ซึ่งเดิมพระพุทธรูปนี้อยู่ที่วัดร้าง หมู่บ้านตำหนัก ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สมัยที่ค้นพบนั้น สลักหักพังเหลือไม่เต็มองค์ และอยู่ในสภาพล้มเศียรปักดิน ลักษณะแขนขาดขาขาด ไม่มีใครบูรณะ ชาวบ้านจึงเรียกว่า พระเจ้าดำดิน หรือ หลวงพ่อดำดิน

ต่อมามีบุคคลชื่อ “หนานหมื่น” มาปรึกษาชาวบ้าน และพร้อมใจกันแต่งเติมองค์พระพุทธรูปส่วนที่ขาด แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้บนเขาที่วัดพระธาตุดอยเวียง เพื่อให้ประชาชนมากราบไหว้


DSC07078.JPG



DSC07072.JPG



บันไดทางขึ้นพระธาตุดอยเวียง ด้านหลังศาลาหลวงพ่อดำดิน วัดพระธาตุดอยเวียง


Rank: 8Rank: 8

DSC07032.JPG



ภาพบรรยากาศบนดอยเวียง วัดพระธาตุดอยเวียง



DSC07069.JPG



DSC07065.JPG



DSC07042.JPG



DSC07033.JPG



DSC07044.JPG



DSC07068.JPG



DSC07052.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุดอยเวียง) วัดพระธาตุดอยเวียง



DSC07063.JPG



DSC07101.JPG



ประวัติวัดพระธาตุดอยเวียง



วัดพระธาตุดอยเวียง
ตั้งอยู่ที่บ้านดอยเวียง หมู่ที่ ๙ ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน สังกัดคณะมหานิกาย มีเนื้อที่พื้นล่างดอยประมาณ ๑๕ ไร่ ส่วนบนดอยเป็นเขาขนาดย่อม เป็นที่ประดิษฐานของเจดีย์เก่าแก่ ซึ่งมีพระธาตุบรรจุอยู่ ตามประวัติสันนิษฐานว่า สร้างเมื่อ พ.ศ.๑๒๒๐ ซึ่งตรงกับสมัยของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์เจ้านครหริภุญชัย (จังหวัดลำพูนในปัจจุบันนี้) และมาบูรณะครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕ ตลอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

และตามตำนานซึ่งจารึกในใบลานภาษาล้านนาว่า ขุนหลวงปาละวิจา ได้มาตั้งเมืองนี้ ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านด้วย และได้สร้างวัดไว้บนดอยเวียงนี้ ต่อมาถูกไฟป่าไหม้ลุกลาม ซึ่งปัจจุบันเหลือแต่เจดีย์ธาตุและศาลาเล็กๆ หลังหนึ่ง

วัดพระธาตุดอยเวียงมีพระพุทธรูปเก่าแก่อยู่ ๓ รูป รูปแรกชาวบ้านพากันเรียกว่า พระเจ้าสายฝน หรือ หลวงพ่อสายฝน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๙ นิ้ว ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ เหตุที่ได้ชื่อว่า หลวงพ่อสายฝน ก็เพราะว่า มีครั้งหนึ่ง ดินฟ้าอากาศแห้งแล้งฝนไม่ตก ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันแห่พระพุทธรูปองค์นี้เพื่อขอฝน ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างน่ามหัศจรรย์ ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านจึงพร้อมใจกันเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อสายฝน

รูปที่สอง พระศิลาแลง หน้าตักกว้าง ๙๙ นิ้ว ประดิษฐานที่ศาลาการเปรียญ รูปที่สาม พระเจ้าดำดิน หรือ หลวงพ่อดำดิน หน้าตักกว้าง ๘๙ นิ้ว ประดิษฐานอยู่ที่ดอยชั้นล่าง ซึ่งทั้งสองรูป ข้างในเป็นศิลาแลง ข้างนอกฉาบด้วยปูนให้เต็มองค์ ซึ่งเดิมพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้อยู่ที่หมู่บ้านตำหนัก ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ซึ่งก็ได้สลักหักพังเหลือไม่เต็มองค์ และอยู่ในสภาพล้มเศียรปักดิน ชาวบ้านจึงเรียกว่า พระเจ้าดำดิน หรือ หลวงพ่อดำดิน ส่วนชั้นบนสุดของดอย เป็นที่ประดิษฐานของพระเจดีย์ธาตุดอยเวียง

ตามประเพณีสืบทอดกันมานาน ก็ได้มีการสรงน้ำพระธาตุบนดอยกันทุกๆ ปี โดยจะเอาวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ (เดือน ๙ เหนือ) เป็นวันสรงน้ำพระธาตุ โดยชาวบ้านใกล้ไกลต่างก็มาร่วมทำบุญมากมายตราบเท่าทุกวันนี้

รายนามเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยเวียง ดังนี้
๑. พระครูอินปั๋น  สุรินฺโท  พ.ศ.๒๕๑๑-๒๕๑๒
๒. พระละ  สิริสาโร  พ.ศ.๒๕๑๓-๒๕๓๐
๓. พระก๋อง  ภิญโญจิต  พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๓๑
๔. พระทวีศิลป์  รตฺนวณฺโณ  พ.ศ.๒๕๓๑-๒๕๓๓
๕. พระละ  สิริสาโร  พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๓๔
๖. พระบัณฑิต  จิตฺตธมฺโม  พ.ศ.๒๕๓๔-๒๕๓๕
๗. พระครูภาวนาพินิจ  พ.ศ.๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน (๒๕๔๙)


จำนวนบุคลากรทั้งหมดที่อยู่ในวัด พระภิกษุสงฆ์ ๑๐ รูป สามเณร ๑ รูป เด็กวัด ๑ คน (ข้อมูล สิงหาคม ๒๕๔๙)


----------------------


(แหล่งที่มา : ป้ายประวัติวัดพระธาตุดอยเวียง)


DSC07056.JPG


คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(กล่าวนะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ


Rank: 8Rank: 8

DSC07036.JPG



DSC07037.JPG



DSC07038.JPG



รูปปั้นกุมภัณฑ์ ๒ ตน ประดับบันไดทางขึ้นพระธาตุดอยเวียง วัดพระธาตุดอยเวียง



DSC07034.JPG



DSC07066.JPG



ศาลา อยู่ใกล้พระธาตุดอยเวียง วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07045.JPG



DSC07050.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ศาลา ใกล้พระธาตุดอยเวียง วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07040.JPG


DSC07039.JPG



วิวทิวทัศน์บนดอยเวียง วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07035.JPG



DSC07030.JPG



เดี๋ยวเราจะไปด้านล่างดอยเวียงกันต่อ


Rank: 8Rank: 8

DSC07025.JPG



วิหารสมเด็จองค์ปฐมปางไสยาสน์ วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07092.JPG



DSC07094.JPG



DSC07090.JPG



DSC07093.JPG



พระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมปางไสยาสน์ วัดพระธาตุดอยเวียง


Rank: 8Rank: 8

DSC07113.JPG



DSC07115.JPG



DSC07112.JPG



DSC07095.JPG



DSC07096.JPG



วิหารหลวงพ่อสายฝน วัดพระธาตุดอยเวียง



DSC07129.JPG



หลวงพ่อสายฝน ประดิษฐานภายใน วิหารหลวงพ่อสายฝน วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07128.JPG



ประวัติหลวงพ่อสายฝน วัดพระธาตุดอยเวียง


หลวงพ่อสายฝน (พระเจ้าสายฝน)
พระพุทธรูปเก่าแก่องค์แรกของวัดพระธาตุดอยเวียง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๙ นิ้ว ทำด้วยทองสัมฤทธิ์

เหตุที่ได้ชื่อว่า หลวงพ่อสายฝน ก็เพราะว่า มีครั้งหนึ่ง ดินฟ้าอากาศแห้งแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันแห่พระพุทธรูปองค์นี้เพื่อขอฝน ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างน่ามหัศจรรย์ ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านจึงพร้อมใจกันเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อสายฝน ซึ่งพระองค์นี้เคยถูกผู้ร้ายตัดเศียรไปขายต่างประเทศ แต่ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ทางตำรวจจึงจับได้บนเครื่องบินก่อนที่เครื่องบินจะออก


Rank: 8Rank: 8

DSC07124.JPG



DSC07121.JPG



ศาลพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07099.JPG



DSC07100.JPG



รูปพระพิฆเนศ วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07123.JPG


DSC07118.JPG



อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก
วัดพระธาตุดอยเวียง


Rank: 8Rank: 8

DSC07154.JPG



DSC07156.JPG



DSC07024.JPG



อุโบสถ วัดพระธาตุดอยเวียง



DSC07107.JPG



กุฏิเจ้าอาวาส วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07104.JPG



DSC07105.JPG



พระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานด้านหน้า กุฏิเจ้าอาวาส วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07108.JPG


ศาลาการเปรียญ วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07139.JPG



พระศิลาแลง ประดิษฐานภายใน ศาลาการเปรียญ วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07136.JPG



ประวัติพระศิลาแลง วัดพระธาตุดอยเวียง


พระศิลาแลง
พระพุทธรูปเก่าแก่องค์ที่สองของวัดพระธาตุดอยเวียง เป็นพระพุทธรูปอีกองค์ที่อัญเชิญมาพร้อมกับหลวงพ่อดำดิน (พระเจ้าดำดิน) หน้าตักกว้าง ๙๙ นิ้ว ข้างในเป็นศิลาแลง ข้างนอกฉาบด้วยปูนเต็มองค์ ซึ่งเดิมพระพุทธรูปนี้อยู่ที่วัดร้าง หมู่บ้านตำหนัก ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ทุกปีจะมีการสรงน้ำพระธาตุและพระพุทธรูปทั้งสามองค์ คือ หลวงพ่อสายฝน พระศิลาแลง และหลวงพ่อดำดิน ในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ (เดือน ๙ เหนือ)


DSC07145.1.JPG



รูปเหมือนหลวงปู่ทวด สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี และ พระครูบาเจ้าศรีวิชัย (เรียงจากซ้าย-ขวา) ประดิษฐานภายใน ศาลาการเปรียญ วัดพระธาตุดอยเวียง


DSC07026.JPG



กุฏิสงฆ์ วัดพระธาตุดอยเวียง


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-10 11:30 , Processed in 0.114660 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.