แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 9156|ตอบ: 14
go

วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ต.บ้านเรือน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน (พระเกศาธาตุใต้ฐานพระเจ้าตาเขียว) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_4504.JPG



วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว

ม.๒ ต.บ้านเรือน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

[พระเกศาธาตุใต้ฐานพระเจ้าตาเขียว]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 7 ม.ค. 2565)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4363.JPG



การเดินทางไปวัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ใช้เส้นทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓๓-๑๑๖ (ทางเลี่ยงเมืองป่าซาง) ไปตามเส้นทาง อปจ.ลพ.๑๒๐๙ มุ่งหน้าสู่หมู่บ้านบ้านเรือน ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน


IMG_4365.JPG



ถนนทางเข้า วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว



IMG_4540.JPG


IMG_4541.JPG



วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4440.JPG



IMG_4443.JPG



IMG_4530.JPG



IMG_4543.JPG



IMG_4464.JPG



วิหาร วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4525.JPG



รูปปั้นท้าวเวสสุวรรณ-ท้าวกุมภัณฑ์ (เรียงจากซ้าย-ขวา) ด้านหน้าวิหาร วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว


IMG_4468.JPG



IMG_4475.JPG



รูปปั้นท้าวเวสสุวรรณ ด้านหน้าวิหาร วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว


IMG_4466.JPG



IMG_4476.JPG



รูปปั้นท้าวกุมภัณฑ์ ด้านหน้าวิหาร วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4524.JPG



IMG_4503.JPG



IMG_4521.JPG



IMG_4522.JPG



IMG_4495.JPG



IMG_4488.JPG



พระเจ้าตาเขียว ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ใต้ฐานพระพุทธรูปเจ้าตาเขียวบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เดิมพระเจ้าตาเขียว มีชื่อเรียกองค์พระพุทธรูปหลายชื่อ ต่อมารองเลขาธิการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๓๗ ขอพระราชทานนามพระพุทธรูป ซึ่งราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง มีหนังสือลงวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๘ แจ้งมาว่า มีพระราชกระแสว่านาม "พระเจ้าตาเขียว" เป็นนามที่ประชาชนนิยมมากกว่า จึงเห็นควรให้ใช้เป็นชื่อของพระประธานประจำวัดบ้านเหล่า


IMG_4498.JPG



IMG_4502.JPG



คำไหว้พระเจ้าตาเขียว
หริภุญฺชยนคเร ปติฏฺฐิตํ นีลเนตฺตพุทฺธรูปํ จ นีลเนตฺตพุทฺธรูปสฺส นีจฏฺฐาเน ปติฏฺฐิตา เกสาธาตุโย จ มยฺหํ สีเสน ปณมามิ อิมินา นมการานิสํเสน กายสุขํ วา วจีสุขํ วา มนสุขํ วา โหตุ เม นิจฺจํ นิพฺพานปจฺจโย โหตุ

คำแปล
ข้าพเจ้าขอนอบน้อม พระพุทธรูปเจ้าตาเขียว ที่ประดิษฐานอยู่ในเมืองหริภุญไชยและพระเกสาธาตุ อันประดิษฐานอยู่ภายใต้ฐานแห่งพระพุทธรูปเจ้าตาเขียว ด้วยเศียรเกล้าของข้าพเจ้า ด้วยอานิสงส์แห่งการทำความนอบน้อมนี้ ขอความสุขทางกาย ความสุขทางวาจา และความสุขทางใจ จงมีแก่ข้าพเจ้า สิ้นกาลนาน และขอจงเป็นปัจจัยแห่งพระนิพพานด้วยเทอญ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4477.JPG



ตำนานพระเกศาธาตุและการสร้างพระเจ้าตาเขียว


ที่ได้มีผู้จัดพิมพ์ถวายวัด เล่าถึงตำนานประวัติพระเกศาธาตุและการสร้างพระเจ้าตาเขียวในหลายยุคสมัย ดังนี้

๑. สมัยพุทธกาล


สมัยเมื่อครั้งองค์สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ได้ทรงจาริกไปยังถิ่นต่างๆ เพื่อประกาศเทศนาธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ ในการเสด็จจาริกครั้งนั้น พระอินทร์และเหล่าเทพยดาได้ตามเสด็จมาด้วย หลังจากเสด็จยังดอยจอมทองและดอยน้อย (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่) แล้วได้เสด็จมายังถิ่นอาศัยทำมาหากินในทางทำไร่ของชนชาวลัวะ ได้ทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปในภายภาคหน้าถิ่นนี้จะเป็นนครใหม่รุ่งเรืองทางพุทธศาสนา มีนามว่า หริภุญชัยนคร

ณ บริเวณที่ทรงประทับพัก ในขณะนั้นมีชาวลัวะผู้หนึ่งชื่อ เม็งคะบุตร ซึ่งกำลังสาละวนอยู่กับการทำไร่ เหลือบไปเห็นพระพุทธองค์เสด็จมา ก็เกิดความเกรงกลัว จึงลุกขึ้นวิ่งหนีไป แต่เมื่อลัวะเม็งคะบุตรทราบว่านี่คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ เม็งคะบุตรจึงกลับไปยังที่เดิม เมื่อเม็งคะบุตรกลับไปแล้ว ประชาชนในแถบใกล้เคียงได้ทราบข่าวการเสด็จมาของพระพุทธองค์ จึงชวนกันมาฟังสัทธรรม เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมฟอกจิตใจของเม็งคะบุตรและประชาชนที่มาฟังในที่นั้นตามสมควรแล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงอานิสงส์ของการก่อสร้างพระพุทธรูปให้ฟังอีก จนทุกคนในที่นั้นเกิดความเลื่อมใส

ครั้นเมื่อพระพุทธองค์แสดงอานิสงส์จบลง พระอินทร์ซึ่งเป็นประธานในที่นั้น จึงกราบบังคมทูลขอพุทธเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อประดิษฐานไว้ ณ ที่ตรงนั้น เพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะของอนุชนรุ่นหลังต่อไปในภายภาคหน้า ในเมื่อพระอินทร์มีความประสงค์เช่นนั้น พระพุทธองค์ก็มิทรงขัดพระหฤทัย จึงทรงประทานพระเกศาธาตุให้แก่พระอินทร์


อนึ่ง พื้นที่บริเวณวัดบ้านเหล่าเป็นที่ราบไม่มีถ้ำเหว หรือเงื่อมผาสำหรับบรรจุพระเกศา หากแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพุทธญานว่า ภายหน้าจักมีพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานครอบพระพุทธเกศาธาตุของพระองค์ไว้ และมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นที่พึ่งของสมณะ เทพยดา และมนุษย์สืบต่อไป จากนั้นพุทธองค์พร้อมด้วยเหล่าเทพยดาทั้งหลาย ก็เสด็จจาริกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดบ้านเหล่า ไปยังวัดพระยืน ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน ต่อไป

หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปแล้ว พระอินทราธิราชพร้อมบริวารส่วนหนึ่ง ได้ร่วมกับเม็งคะบุตรและคหบดีเศรษฐีที่อาศัยอยู่ถิ่นนั้น ได้พากันขุดอุโมงค์และก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ต่อมาจึงนำพระพุทธเกศาใส่ในผอบแก้ว ช้อนทองคำ นาค เงิน และใส่ลงในโกฏิเงินอีกครา บรรจุลงในอุโมงค์ที่วางปูด้วยศิลาเงิน นาค และทองคำทั้งสามทิศ ในเวลาเดียวกันนั้น คหบดีและประชาชนแถบนั้นก็ได้นำเอาของมีค่าต่างๆ นำมาบรรจุลงในอุโมงค์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาด้วย เสร็จแล้วก็ช่วยกันปิดปากอุโมงค์ด้วยแผ่นทองคำ นาค เงิน และท้ายสุดคือ ศิลา เพื่อกันมิให้ผู้ร้ายทำลายและลักขโมย ต่อมาพญานาคมาพบเห็นอุโมงค์บรรจุพระพุทธเกศา และเกรงว่าจะถูกทำร้ายให้ได้รับอันตราย จึงลงไปยังชั้นบาดาล แล้วนำศิลาหินอันใหญ่มาปิดปากอุโมงค์ไว้อีกชั้นหนึ่ง


IMG_4492.JPG



๒. สมัยพระแม่เจ้าจามเทวี


ตำนานฉบับเดียวกันได้กล่าวว่า ครั้นลุถึงปี พ.ศ.๑๒๓๕ อันเป็นอาณาจักรหริภุญชัยนคร มีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก ผู้คนล้วนอยู่ในศีลธรรม จัดเป็นพุทธนครที่มีความร่มเย็น ในครั้งนั้นผู้มีศีลมีธรรม รู้ศีลรู้ธรรม ชื่อว่า ขันตะคะ ได้ทราบว่ามีพระพุทธเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รู้สึกมีความยินดียิ่ง จึงปรึกษากับญาติพี่น้องช่วยกันขุดพระพุทธเกศาธาตุขึ้นมา แล้วขุดถ้ำใหม่ ปรับปรุงหน้าดินให้เรียบร้อยสวยงาม แล้วนำน้ำอบน้ำหอมสุคันธาต่างๆ มาพรมถ้ำใหม่นั้น แล้วอัญเชิญพระแม่เจ้าจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัยนคร พร้อมทั้งเจ้ามหันตยศและพระเจ้าอนันตยศราชโอรสเป็นประธาน

โดยพระแม่เจ้าจามเทวีทรงโปรดให้เจ้ามหันตยศราชโอรสองค์แรก (ผู้ครองนครหริภุญชัยสืบต่อพระองค์) เป็นผู้อัญเชิญพระพุทธเกศาธาตุลงในถ้ำที่สร้างไว้ และทรงให้เจ้าอนันตยศ (ผู้สร้างเขลางค์นคร) เป็นผู้อัญเชิญเครื่องบูชา อันมี แก้ว แหวน เงิน ทอง ดอกเงิน ดอกคำ รูป ช้าง ม้า วัว ควาย (เป็นทองคำ) ขนาดเท่ากำปั้น ถาดเงิน ถาดคำ ทั้งหมดจำนวนหนึ่งลำล้อ เมื่อทุกอย่างสำเร็จลุล่วงไปแล้ว พระแม่เจ้าจามเทวี พระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศ มีความคิดเห็นตรงกันว่า สมควรที่จะสร้างพระพุทธรูปไว้ที่ปากถ้ำ ๑ องค์ เพื่อเป็นเครื่องหมายและให้ผู้คนสมัยนั้นได้กราบไหว้บูชา เพื่อเป็นสิริมงคลและสืบอายุพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป

ขันตะคะ เมื่อรู้ความประสงค์ของพระแม่เจ้าจามเทวีและพระโอรสทั้งสองแล้ว ก็ปีติยินดีและเห็นด้วยที่จะสร้างพระพุทธรูป จึงชวนชาวบ้านในถิ่นนั้นมาร่วมกันดำเนินการก่อสร้างพระพุทธรูป โดยมีพระแม่เจ้าจามเทวี พระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศ เป็นประธานก่อสร้างและบริจาคก้อนอิฐ (ดินกี่) สำหรับสร้างพระพุทธรูปและทองปิดองค์พระเป็นจำนวนมาก พระเจ้ามหันตยศทรงเป็นผู้ดูแลการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง และมีชาวบ้านมาช่วยกันสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางนั่งขัดสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๓ ศอก สูง ๑๘ ศอก โดยสร้างครอบอุโมงค์ที่บรรจุพระเกศาธาตุ (อุโมงค์ดังกล่าวอยู่ใต้พื้นพระพุทธรูปปัจจุบันนี้)

เมื่อทำการก่อสร้างพระพุทธรูปจนถึงพระศอ ตอนแรกผู้ร่วมก่อสร้างก็มีความคิดเห็นเหมือนกัน แต่เมื่อถึงส่วนพระพักตร์ของพระพุทธรูป ต่างมีความเห็นต่างกันออกไป ว่าจะเอาแบบใด รูปใด ต่างไม่มีความลงรอยกัน และยังไม่มีช่างผู้ใดที่จะมาทำพระพักตร์ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำได้ยากพอสมควร ความเห็นอันแตกต่างนี้ได้เข้าไปในวิถีญาณของพระอินทร์ที่ประทับอยู่ในแดนทิพย์แดนธรรม พระอินทร์ทรงเห็นว่าคงไม่ดีแน่ จึงอธิษฐานจิตลงมายังโลกมนุษย์ โดยแปลงร่างเป็นชีปะขาว เดินเข้าไปหากลุ่มคนเหล่านั้น ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีใครทราบชีปะขาวนี้มาจากไหน

เมื่อมาถึงสถานที่ก่อสร้างพระพุทธรูป ชีปะขาวจึงอาสาทำพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้ให้ เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ชีปะขาวคนนั้นจึงได้ลงมือทำพระพักตร์เอง เมื่อทำพระพักตร์เสร็จ ปรากฏเป็นพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์ที่สวยงาม แต่ยังขาดแก้วในพระเนตรที่จะบรรจุเป็นพระเนตรของพระพุทธรูปที่สร้างใหม่ ชีปะขาวที่รับอาสาทำพระพักตร์จึงรับอาสาที่จะหาแก้วมาใส่บรรจุไว้ในพระเนตร ในวันรุ่งขึ้น ชีปะขาวก็ได้นำแก้วมรกตสีเขียวทึบ (เป็นแก้วมรกตมณีนิลจากแดนทิพย์ของพระอินทร์) จำนวน ๒ ลูก มาบรรจุเป็นนัยน์ตาของพระเนตรของพระพุทธรูปองค์นั้น เมื่อบรรจุลงไปแล้วดูสดสวยยิ่งนัก สร้างความฉงนสนเท่ห์แก่บรรดาผู้คนที่ได้พบเห็นเป็นอันมาก และสร้างอุโมงค์ครอบองค์พระพุทธรูปอีกครั้ง

ด้วยเหตุนี้ ประชาชนในแถบนั้นจึงได้ขนานพระนามพระพุทธรูปเป็นภาษาสามัญและพื้นเมืองว่า “พระเจ้าตาเขียว” หรือเรียกตามราชาศัพท์ว่า “พระพุทธปฏิมาพระเนตรเขียว” การสร้างพระพุทธรูปนี้ เริ่มสร้างเมื่อเดือนขึ้น ๘ ค่ำ พ.ศ.๑๒๓๕ เสร็จสมบูรณ์ เดือนยี่แรม ๕ ค่ำ ปี พ.ศ.๑๒๓๕ และเมื่อสร้างองค์พระพุทธรูปบรรจุพระเนตรแก้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงประชุมตกลงกันทำบุญฉลองสมโภชพระพุทธรูป โดยนิมนต์พระเถระผู้ทรงคุณวุฒิมาเจริญพระพุทธมนต์ มีพระแม่เจ้าจามเทวี พระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศ เป็นประธาน และมีการจุดบ้องไฟขนาดต่างๆ เป็นพุทธบูชาเป็นจำนวนมาก ประมาณได้ ๑๐๘ กระบอก

เมื่อประชาชนต่างคนก็จุดบ้องไฟของตัวเองถวายหมดแล้ว ปรากฏว่ายังเหลือบ้องไฟอีกบ้อง ซึ่งเป็นบ้องไฟใหญ่ที่สุดในจำนวนที่จุดในวันนั้น และเป็นบ้องสุดท้าย ดังนั้นประชาชนจึงห้อมล้อมมุงดูกันอย่างเนืองแน่น บ้องไฟนี้ชีปะขาวที่มารับอาสาทำพระพักตร์และเอาแก้วมรกตสีเขียวทึบมาทำพระเนตรองค์พระเป็นผู้จุดเอง เมื่อชนวนบ้องไฟติด ชีปะขาวผู้นั้นจึงกระโดดขึ้นไปอยู่บนหัวบ้องไฟ ในระยะต่อมาชั่วอึดใจประชาชนก็พบความแปลกประหลาด คือ บ้องไฟนั้นได้พาเอาร่างชีปะขาวผู้นั้นขึ้นไปด้วย สูงขึ้น สูงขึ้น จนหายเข้ากลีบเมฆไปในที่สุด และจึงรู้ว่าเป็นพระอินทร์เนรมิตแปลงร่างลงมาช่วยก่อสร้างพระพุทธรูปจนสำเร็จโดยง่ายดาย เกิดเสียงแซ่ซ้องสาธุการดังอึงคะนึงเนืองแน่นจากประชาชนที่ได้พบเห็น


ในระยะต่อมา สถานที่ก่อสร้างพระพุทธรูปเจ้าพระเนตรเขียว จึงได้กลายเป็นวัดขึ้นเรียกว่า “วัดพระเจ้าตาเขียว” ปรากฏว่าเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น และเจริญต่อมาเป็นกาลอันยาวนาน

IMG_4499.JPG


๓. สมัยพระเจ้ายีบา


บ้านเมืองเกิดศึกสงคราม ผู้คนล้มตาย พระพุทธรูปเจ้าตาเขียวจึงขาดการดูแล บ้านเมืองรกร้าง องค์อินทร์ทรงเล็งเห็น จึงได้แปลงลงมาเป็นงูใหญ่เฝ้าบริเวณนี้ไว้ เพื่อคุ้มครองพระพุทธเกศาธาตุและพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จนกว่าจะมีผู้มีบารมีมาสืบทอดต่อไป

อย่างไรก็ตาม ประวัติของวัดได้มีการกล่าวมาถึงช่วงสุดท้ายของเมืองหริภุญชัย ก่อนการปกครองของพญามังรายและเข้ารวมเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา โดยประวัติของวัดในส่วนหลังจากนี้ ได้ขาดหายไปเป็นเวลาประมาณ ๕๐๐ กว่าปี และได้เริ่มกล่าวถึงอีกครั้ง ในช่วงเวลาที่สามารถอ้างอิงหลักฐานบางประการได้ และปรากฏสิ่งก่อสร้างที่เป็นรูปธรรม เช่น รูปเหมือนครูบากึ๋งม้า และกู่บรรจุอัฐิ ให้สักการบูชาตราบจนถึงปัจจุบัน ทุกปีจะมีการสรงน้ำปิดทององค์พระเจ้าตาเขียว ในวันขึ้น ๗-๙ ค่ำ เดือน ๘ (เหนือ)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4491.JPG



IMG_4371.JPG



ประวัติวัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว



วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ประมาณ ๒๐๐ ปีมานี้ มีครูบาองค์หนึ่ง เดินธุดงค์มาจากประเทศพม่า ท่านมาพักอยู่แถวอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างที่ท่านพักอยู่ในเขตนั้น ท่านก็พัฒนาวัดวาอารามอยู่หลายวัดด้วยกัน มีวัดสันกอเก็ด เป็นต้น ระยะที่ท่านพักอยู่อำเภอสันป่าตองนั้น ท่านได้ทราบว่า มีพระสุปฏิปันโนหลายรูปอยู่ในเขตอำเภอป่าซาง ที่ควรศึกษาสนทนาธรรมกับท่าน อาทิ ท่านเจ้าคณะแขวงวัดสันกำแพง ตำบลมะกอก ท่านครูบาวัดตีนดอยพระนอนม่อนช้าง ตำบลมะกอก เป็นต้น (ยังมีอีกหลายรูปที่ผู้เขียนจำไม่ได้)

ท่านได้เดินทางข้ามฟากแม่น้ำปิงมา ทุกครั้งท่านครูบาจะเยี่ยงกรายมายังวัดบ้านเหล่าฯเสมอ ตอนนั้นวัดบ้านเหล่าฯ ยังเป็นป่าทึบ ป่าไผ่ ป่าทองกวาว ไม้อื่นๆ อีกหลายชนิด พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในอุโมงค์ (โขง) มีเครือเขาเถาวัลย์ปกคลุมอยู่แทบจะมองไม่เห็นองค์พระพุทธรูป บริเวณนั้นมีแต่ขนไก่ ขนเป็ด ทั้งหลายที่คนนำเอาสังเวยเซ่นไหว้ กล่าวกันว่าเจ้าที่เจ้าทางที่ปกปักรักษาองค์พระพุทธรูปแรงมาก ถ้าหากมีผู้ใดเยี่ยงกรายมาบริเวณองค์พระแล้วกระทำการลบหลู่ดูหมิ่น จะต้องมีอันเป็นไป คือ เจ็บไข้ได้ป่วยตามๆ กัน ถ้าอยากจะหายป่วยต้องหาสัตว์มาสังเวย ขอขมาลาโทษ จึงจะหายจากการเจ็บป่วย

ท่านครูบาเดินทางผ่านมาบริเวณนี้บ่อยครั้งมาก แต่ท่านไม่ได้สังเกตว่ามีอะไรอยู่ในอุโมงค์นั้น มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านครูบาได้แวะมานั่งสมาธิต่อหน้าองค์พระพุทธรูปเหมือนดังเช่นเคยปฏิบัติมา ก่อนจะนั่ง ท่านได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าหากว่าวัดร้างแห่งนี้จะลุกขึ้นเป็นวัดอีกครั้งหนึ่ง ขอให้มีนิมิตไปในทางที่ดีด้วย จากนั้นท่านครูบาก็เริ่มเจริญสมาธิภาวนา สมดั่งคำอธิษฐานของท่านครูบา ท่านครูบามีนิมิตหมายไปในทางที่ดีจริงๆ ท่านจึงได้นำเอาข่าวนี้ไปบอกกับพระเทพ และพระภิกษุสามเณร ที่อยู่วัดใหม่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดบ้านเหล่าปัจจุบันประมาณ ๕๐๐ เมตร พร้อมด้วยศรัทธาชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้น มาช่วยกันพัฒนาแผ้วถางสร้างเป็นวัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง


ท่านครูบาก็ได้อยู่จำพรรษาที่วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียวนี้ด้วย นับว่าเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียวที่ท่านได้มาพัฒนา สร้างเป็นวัดเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีเศษนี้ ท่านได้นิมนต์พระเทพ พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร ที่วัดใหม่นี้มาอยู่รวมกันจำพรรษาที่วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียวด้วยกัน จนทำให้วัดใหม่นั้นกลายเป็นวัดร้างมาจนถึงปัจจุบัน

และก่อนที่ครูบาจะพัฒนาเป็นวัดอีกครั้งหนึ่ง เดิมวัดบ้านเหล่า ชื่อว่า วัดจันดงพระเจ้านั่งโขง ครูบาพัฒนาวัดเห็นว่าเป็นป่าเป็นเหล่ามาก่อน และท่านได้บูรณะองค์พระพุทธรูปด้วย โดยท่านได้นำเอาขันสรงน้ำของท่าน ซึ่งเป็นสีน้ำเงินเข้มๆ ให้ช่างเจียรนัย แล้วนำมาครอบพระเนตรเดิมขององค์พระด้วย เพราะท่านคิดว่ากลัวจะเป็นภัยต่อโจร จึงคิดเอาแก้วของท่านครอบเอาไว้อีกชั้นหนึ่ง ในระหว่างที่ท่านพัฒนาวัดอยู่นั้นเป็นปี พ.ศ.๒๓๙๕ การก่อสร้างท่านได้รื้ออุโมงค์ครอบองค์พระพุทธรูป แล้วก่อสร้างวิหารแทน และกุฏิ อาคารเสนาสนะอีกหลายอย่าง

ในการก่อสร้างวิหารครั้งนั้น ท่านครูบาได้รับความช่วยเหลือจากหม่องกันทอ โดยได้รับความช่วยเหลือเรื่องไม้เสา ไม้อุปกรณ์ต่างๆ โดยหม่องกันทอได้ให้ความสะดวกในทุกๆ ประการ จนพระวิหารได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นับตั้งแต่นั้นมาวัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียวได้กลับกลายฟื้นขึ้นมาเป็นวัดมีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง จวบจนกระทั่งมาถึงปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะอาศัยบารมีของท่านครูบาเจ้านั่นเอง

เมื่อวัดเจริญขึ้นมาได้ดังนี้ พระภิกษุสามเณรที่จำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่ดังกล่าว จึงพากันย้ายมาจำพรรษาที่วัดปัจจุบันหมด เมื่อท่านครูบาได้บูรณะวัดบ้านเหล่าให้กลับมาเจริญเพียงนั้น ท่านครูบาก็จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านเหล่าเรื่อยมาหลายต่อหลายพรรษาด้วยกัน จนตลอดอายุสังขารของท่านเข้าสู่วัยชราและได้มรณภาพ ณ. ที่วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียวแห่งนี้ นับเป็นวัดที่อวสานชีวิตท่านได้จบลงที่นี่ นับว่าท่านเป็นองค์บุพพาการีต่อวัดบ้านเหล่าฯ ตั้งแต่เป็นวัดร้างให้กลับมาเจริญขึ้น ด้วยบารมีของท่านครูบาเจ้า (แต่ท่านมรณภาพ วัน เดือน ปี ไหน ไม่มีใครทราบ เพราะไม่มีจารึกไว้ที่กู่อัฐิของท่านเลย)

ซึ่งปัจจุบันนี้ กู่อัฐิของท่านครูบาเจ้ายังมีอยู่ที่วัดบ้านเหล่าฯ มาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา ๑๐๐ กว่าปีแล้ว และครูบาเจ้ามีนามใดไม่ปรากฏ อาศัยว่าท่านมาจากเมืองกึ๋งม้าประเทศพม่า ดังนั้นประชาชนจีงเรียกนามของท่าน ตามนามเมืองของท่านว่า “ครูบาเจ้ากึ๋งม้า” ติดปากจนถึงสมัยปัจจุบัน ต่อมาภายหลัง จึงได้ทราบชื่อของครูบากึ๋งม้า จากครูบาพระพ่อเป็ง โพธิโก ซึ่งเป็นพ่อของครูบาพรหมา พรหมจักโก (พระสุพรหมยานเถระ) แห่งวัดพระพุทธบาทตากผ้า โดยครูบาพ่อเป็งได้บอกว่า ชื่อจริงของท่านครูบากึ๋งม้า คือ ครูบาพลปัญญาอรัญญวาสี ดั่งนี้แล



การบริหารและการปกครองวัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว นับตั้งแต่ครูบากึ๋งม้ามาพัฒนาสร้างขึ้นเป็นวัด มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม หนึ่งร้อยปีเศษมานี้ มีดังนี้

๑. ครูบากึ๋งม้า (ครูบาพลปัญญาอรัญญวาสี)  พ.ศ.๒๓๙๕-๒๔๑๓
๒. พระเทพ  พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๑๖
๓. พระโล้  พ.ศ.๒๔๑๗-๒๔๒๐
๔. พระอุ่น  พ.ศ.๒๔๒๑-๒๔๒๓
๕. พระแอ้  พ.ศ.๒๔๒๔-๒๔๒๖
๖. พระดวงคำ  พ.ศ.๒๔๒๗-๒๔๓๒
๗. พระคำมูล  พ.ศ.๒๔๓๓-๒๔๔๖
๘. พระแก้ว  พ.ศ.๒๔๔๗-๒๔๕๖
๙. พระแสน วิชโย  พ.ศ.๒๔๕๗-๒๔๖๔
๑๐. พระติ๊บ จันทิมา  พ.ศ.๒๔๖๕-๒๔๖๙
๑๑. พระก๋องคำ คำภีระ  พ.ศ.๒๔๗๔-๒๔๗๖
๑๒. พระอธิการคำอ้าย อินทวํโส  พ.ศ.๒๔๗๗-๒๕๐๗
๑๓. พระอธิการบุญรส คำภีโร  พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๑๓
๑๔. พระครูวิธานวรการ (สมาน กตปญโญ)  พ.ศ.๒๕๑๔-เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้


----------------------


(แหล่งที่มา : ป้ายประวัติวัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ประวัตินี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๖)


you.jpg


จิตรกรรมฝาผนัง ภาพประวัติวัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว

ภายใน วิหาร วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว



IMG_4513.JPG



ภาพครูบากึ๋งม้าเดินธุดงค์มาจากพม่า พบเห็นพระเจ้านั่งโขง



IMG_4514.JPG


ภาพครูบากึ๋งม้า จึงได้เชิญชวนชาวบ้าน สร้างวิหารขึ้นมา


IMG_4486.JPG


ภาพปี พ.ศ.๒๓๐๐ วิหารสร้างเสร็จสมบูรณ์


IMG_4516.JPG


ภาพได้เกิดวาตภัยขึ้นอย่างรุนแรง วิหารต้านลมไม่ไหว จึงพังลง



IMG_4517.JPG


ภาพต่อมา จึงได้ทำการก่อสร้างวิหารใหม่อีกครั้ง


IMG_4518.JPG


ภาพในปี พ.ศ.๒๔๙๘ และเวลานี้ วิหารหลังนี้ก็ต้องรื้อสร้างใหม่อีกครั้ง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4489.JPG



รูปพระอุปคุตมหาเถระ ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว


IMG_4507.JPG



ภาพปาฏิหาริย์ ขณะลำเรียงพื้นสำเร็จและคานส่งขึ้นไปวางข้างบนเหนือเศียรพระพุทธ ลำเรียงพลาดเป็นเหตุให้แผ่นพื้นสำเร็จตกลงมา แผ่นพื้น (ปูน) สำเร็จนี้ ซึ่งมีน้ำหนักมากรวมแล้วหลายพันกิโลกรัม กลับหยุดลงบนแผ่นหลังคาสังกะสีและไม้ไผ่


IMG_4508.JPG



รูปภาพถ่ายติดแสงลักษณะคล้ายพญานาค ตอนพุทธศาสนิกชนได้มากราบนมัสการพระเจ้าตาเขียว แล้วถ่ายรูปเป็นที่ระลึกสมัยก่อน


IMG_4510.JPG



รูปภาพพระอธิการคำอ้าย อินฺทวํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว (พ.ศ.๒๔๗๗-๒๕๐๗) มรณภาพ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๐๗



IMG_4512.JPG


ธรรมาสน์ ภายใน วิหาร วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4433.JPG



IMG_4427.JPG



IMG_4552.JPG



พระธาตุเจดีย์ วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว


IMG_4423.JPG



รูปปั้นสิงห์ ตั้งอยู่บนกำแพงแก้วรอบ พระธาตุเจดีย์ วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว



IMG_4430.JPG



ศาลาบุญวรรณา วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว สร้างถวายโดย นายจำรัส กันทะสัก พร้อมครอบครัว เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕



IMG_4551.JPG



รูปพระสีวลีมหาเถระ ประดิษฐานภายใน ศาลาบุญวรรณา วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4401.JPG



IMG_4394.JPG



วิหารพระเจ้าตาเขียวจำลอง วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว



IMG_4400.JPG



พระพุทธรูปพระเจ้าตาเขียวจำลอง ประดิษฐานภายใน วิหารพระเจ้าตาเขียวจำลอง วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว



IMG_4402.JPG



กู่อัฐิครูบาพลปัญญาอรัญญวาสี (ครูบากึ๋งม้า) อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกวัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว (พ.ศ.๒๓๙๕-๒๔๑๓) วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว


IMG_4536.JPG



IMG_4439.JPG



อุโบสถ วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว


IMG_4545.JPG



IMG_4546.JPG



วิหารพระอุปคุต ประดิษฐานด้านหน้า อุโบสถ วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 00:39 , Processed in 0.054031 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.