แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 4418|ตอบ: 8
go

มหากฐินประทานผ้าไตรสมเด็จพระสังฆราชสร้างศาลาปฏิบัติธรรมและซื้อที่ดิน2556 [คัดลอกลิงค์]

Rank: 1

ขอเชิญพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา
ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดมหากฐินสามัคคีสร้างศาลาปฏิบัติธรรมและซื้อที่ดิน จำนวน ๒๕๕๖ กองๆ ละ ๑๙๙ บาท
ในวันที่ ๘ – ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕
(แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕)
ทอด ณ วัดเทียบศิลาราม
หมู่ที่ ๑๘ บ้านหลักหินใหม่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

ตามที่ วัดเทียบศิลาราม หมู่ที่ ๑๘ ตำบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ ๓๓๑๕๐ ได้กำหนดจัดงานทำบุญทอดมหากฐิน ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ขึ้น ในวันศุกร์ที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๕ มหากฐินในปีนี้ได้รับประทานผ้าไตรกฐิน จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปรินายก เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ให้กับคณะศรัทธาสาธุชน กัลยาณมิตร นักศีล นักบุญ ที่ร่วมเป็นเจ้าภาพในปีนี้ โดยจะนำปัจจัยทั้งหมดในครั้งนี้ เข้าดำเนินการก่อสร้างศาลาสมเด็จองค์ปฐมให้แล้วเสร็จ เรียบร้อยสมบูรณ์ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ( และอีกสวนเพื่อนำไปจัดซื้อที่ดินถวายวัด )
ขออำนาจคุณพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คุณพระธรรมทั้งปวง คุณพระสงฆ์ทั่วพื้น
ปฐพี จงเป็นพลวะ เป็นตบะ เป็นเดชะ เป็นปัจจัยอำนวยอวยชัยให้บรรดาญาติ
โยมผู้ที่ได้ร่วมสร้างศาลาแห่งนี้ จงนิราศทุกข์ นิราศโศก นิราศภัย มีอายุยืน
นาน มีผิวพรรณผุดผ่องผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ มีกำลังกายกำลังใจ
ประกอบการงานสิ่งใดสำเร็จลุล่วงได้ดั่งใจปรารถนา คำว่าไม่มีจงอย่าได้
พบพาน อันความยากจนจงอย่าได้พบเจอ มีศีลมีธรรมประจำใจจงทุกคนทุกท่านเทอญ

กำหนดการ
วันพฤหัสบดีที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ (แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๑)
เวลา ๑๓.๐๐ น. รับมหากฐินตลอดวัน
เวลา ๑๙.๐๐ น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ สมโภชองค์มหากฐิน
วันศุกร์ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ (แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑)
เวลา ๑๑.๐๐ น. ร่วมถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ-สามเณร
เวลา ๑๑.๕๔ น. พิธีทอดถวายองค์มหากฐิน
เวลา ๑๒.๐๐ น. พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นเสร็จพิธี

ประธานฝ่ายสงฆ์
พระครูกมลพัฒนาทร เจ้าคณะอำเภอขุนหาญ

ประธานอุปถัมภ์
ส.จ. ไสว คุณนายดวงแข ไชยสุวรรณ นางรัตน์ ชาลี

ประธานฝ่ายฆราวาส
นายทองใบ นางหนูจันทร์ ทุมทอง นายสมัย นางบังอร วงษ์อนันต์


ประธานสายอำเภอขุนหาญ
พ่อเสวียน แม่สำราญ พานจันทร์ แม่บัวกี่ แก้วภักดี พ่อสมศักดิ์ แม่จีรนันท์ อิงไทย
คุณธีรพันธ์ คุณณัชชานิษฐ์ ตั้งเกียรติกำธร คุณประสงค์ คุณยุพิน ชูกลิ่น แม่ประคอง ดวงพล
คุณนงเยาว์ ชูกลิ่น คุณสุนทรียา ไสว คุณประมูล คำธาอุดม์ คุณอารีวรรณ ศรีสลับ
คุณวรรณี ชินภาคย์ เด็กหญิงธันยชนก เชียวชูกุล คุณภัทราภรณ์ สิ่งที่สุข
ร้านนาตาลี

Rank: 1

หนังสือตอบรับการยื่นยันว่าได้รับประทานจริงจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปรินายก ออกเมื่อ 24 กันยายน พ.ศ 2555
ผู้ขอประทาน นายทองใบ ทุมทอง ประธานองค์การบริหารสวนตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ รับเมื่อ 28 กันยายน พ.ศ 2555

CCF29092555_00000.jpg


Rank: 1

อานิสงส์ของผู้ถวายกฐินเอง


ในชาดก ซึ่งเป็นเรื่องเล่าถึงการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ ทำให้เราเห็นภาพความสำคัญของบุญกฐินอย่างน่าอัศจรรย์ โดยกล่าวว่า อำนาจบุญกุศลที่ได้ถวายผ้ากฐิน เป็นกุศลผลบุญที่ใหญ่หลวง ผู้ถวายจะปรารถนาความสำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่ ก็จะให้สำเร็จได้ดังมโนรถความปรารถนา หรือถ้าจะปรารถนาพุทธภูมิก็ดี ปัจเจกภูมิก็ดี สาวกภูมิก็ดี สาวิกาภูมิก็ดี เมื่อมีวาสนาบารมีแก่กล้าแล้วก็จะได้สำเร็จดังมโนปณิธาน หรือความปรารถนาที่ตั้งไว้
สมเด็จพระโกณฑัญญสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เสด็จประทับ ณ ท่ามกลางแห่งพระภิกษุสงฆ์

ในอติเทวราชชาดก ได้เล่าเรื่องพระเจ้าจิตรราชบรมโพธิสัตว์เจ้า ทรงถวายคู่แห่งผ้าเพื่อกฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วทรงเปล่งพระดำรัสว่า “ข้าพเจ้าขอถวายผ้ากฐินแด่พระภิกษุสงฆ์” ดังนี้ เมื่อเสร็จจากพิธีถวายผ้ากฐินแล้ว ก็ทรงประทับอยู่ ณ บนราชอาสน์อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงทรงประเคนอาหารถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยภัตตาหารมีรสเลิศต่าง ๆ มีข้าวยาคู เป็นต้น ในลำดับนั้น สมเด็จพระโกณฑัญญสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เสด็จประทับ ณ ท่ามกลางแห่งพระภิกษุสงฆ์ ฝ่ายพระเถรเจ้าผู้เป็นธรรมเสนาบดีชื่อว่า พระภัททานิกรรมก็ได้กรานกฐินนั้น ครั้นเสร็จจากการกรานกฐินแล้ว พระโกณฑัญญพุทธเจ้าก็เสด็จประทับในท่ามกลางพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

สมเด็จพระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดิ

ส่วนสมเด็จพระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดินั้น ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่ที่ใกล้พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ถวายบังคมด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์แล้ว ได้ทรงตั้งพระราชปณิธานความปรารถนาขึ้นว่า

อิมินา กฐินทาเนน พุทฺโธ โหมิ อนาคเต
ยทา สพฺพญฺญุตปตฺโต ตารยิสฺสามิ ปาณินํ

แปลว่า “ด้วยอำนาจกฐินทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาลโน้นเถิด ข้าพเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูญุตญาณเจ้าแล้วในกาลใด ก็จะรื้อขนสัตว์ให้พ้นจากสังสารวัฏฎ์ในกาลนั้น”

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “โคดม” ได้แก่ พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้

ครั้นจบคำอธิษฐานลง พระโกณฑัญญพุทธเจ้า จึงทรงพิจารณาดูไปในอนาคตกาล ก็ได้ทรงทราบด้วยพุทธจักษุญาณว่า ความปรารถนาของบรมกษัตริย์องค์นี้จักสำเร็จสมพระประสงค์ จึงได้ทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดแห่ง ๓ อสงไขยแสนกัลป์ นับแต่กัลป์นั้น พระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดินี้ จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “โคดม” ได้แก่ พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้

ท้าวสักกเทวราช ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ขณะเดียวกัน ผู้ที่ถวายผ้ากฐินแล้วบังเกิดความปีติ ความสุขใจ แม้มิได้อธิษฐานคุมวงบุญไว้ ก็ได้รับอานิสงส์ไปเกิดเป็นเทวดาและอานิสงส์ที่จะต่อเนื่องไปในภพหน้า ดังคำประกาศบุพพกุศลของท้าวสักกเทวราช ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ว่า

“คราวหนึ่งเราเกิดเป็นกุฎุมพีผู้มีทรัพย์อยู่ ณ เมืองพาราณสี ได้ถวายผ้าพระกฐินจีวร (แก่พระปทุมุตรสัมพุทธเจ้า) เราจุติจากอัตตภาพเป็นมนุษย์แล้ว ได้เกิดเป็นภูมิเทวดามีศักดาเดชอยู่ ณ ภูเขาคันธมาทน์ เสวยทิพยสมบัติอยู่นาน ครั้นจุติจากอัตตภาพเป็นภูมิเทวดาแล้ว ได้เกิดเป็นสักกเทวราชผู้มเหศราธิบดีแห่งเทวดาทั้งหลาย ครั้นจุติจากอัตตภาพแห่งสักกเทวราชแล้ว จักเกิดเป็นจักรพรรดิมีกำลังเดชานุภาพมากในทวีปทั้งสี่ และจักเสวยมนุษย์และเทวสมบัติสิ้นแสนกัลป ด้วยอำนาจผลแห่งกฐินทาน ด้วยประการฉะนี้”

ผู้มีส่วนร่วมในกฐินย่อมได้อานิสงส์
ติณบาล แปลว่า ผู้ดูแลรักษาหญ้า

ในสมัยพระศาสนาของพระกัสสปสัมพุทธเจ้า บุรุษชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งเป็นคนเข็ญใจไร้ที่พึ่ง ไปอาศัยเศรษฐีสิริธรรมผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์ โดยยอมตนเป็นคนรับใช้ มีหน้าที่ดูแลรักษาหญ้า จึงได้ชื่อว่า ติณบาล แปลว่า ผู้ดูแลรักษาหญ้า ตั้งแต่บัดนั้น

แบ่งอาหารส่วนหนึ่งให้แก่คนจนทั้งหลาย

วันหนึ่งเขาคิดว่า “ตัวเรานี้เป็นคนยากจนเช่นนี้เพราะไม่เคยทำบุญอันใดไว้ในชาติก่อนเลย มาชาตินี้จึงตกอยู่ในฐานะผู้รับใช้คนอื่น ไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติติดตัวแม้แต่น้อย” เมื่อคิดดังนี้แล้วเขาได้แบ่งอาหารที่ท่านเศรษฐีให้ ออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งถวายแก่พระสงฆ์ที่มาบิณฑบาต อีกส่วนหนึ่งเอาไว้สำหรับตนเองรับประทาน ด้วยเดชกุศลผลบุญอันนั้น ทำให้ท่านเศรษฐีเกิดสงสารเขา แล้วให้อาหารเพิ่มอีกเป็น ๒ ส่วน เขาได้แบ่งอาหารเป็น ๓ ส่วน ถวายแก่พระสงฆ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งให้แก่คนจนทั้งหลาย ส่วนที่สามเอาไว้บริโภคสำหรับตนเอง เขาทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลาช้านาน

ต่อมาเป็นวันออกพรรษา เหล่าชนผู้มีศรัทธาต่างพากันทำบุญกฐินเป็นการใหญ่ แม้ท่านเศรษฐีสิริธรรมก็เตรียมจะถวายกฐิน จึงประกาศให้ประชาชนทั้งหลายทราบโดยทั่วกัน เมื่อนายติณบาลได้ยินก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจทันที จึงเข้าไปหาท่านเศรษฐีถามอานิสงส์ของกฐิน เศรษฐีตอบว่า “มีอานิสงส์มากมายหนักหนา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสยกย่องสรรเสริญว่าเป็นทานอันประเสริฐ”

เอาผ้านั้นไปเร่ขายในตลาด

เมื่อเขาได้ทราบดังนี้แล้ว ก็มีความโสมนัสปลาบปลื้มเป็นอันมาก แสดงความประสงค์ที่จะร่วมอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานครั้งนี้ด้วย จึงได้กลับไปที่อยู่ของตน แล้วเกิคความคิดขึ้นว่า “เราไม่มีอะไรเลย แม้แต่ผ้าดีๆ สักผืน เราจะทำบุญร่วมกับท่านเศรษฐีได้อย่างไร” เขาครุ่นคิดอยู่เป็นเวลานาน หาสิ่งที่จะร่วมอนุโมทนากฐินกับท่านเศรษฐีไม่ได้ ในที่สุดเขาได้เปลื้องผ้านุ่งของตนออกพับให้ดี แล้วเย็บใบไม้นุ่งแทน เอาผ้านั้นไปเร่ขายในตลาด

ชาวตลาดทั้งหลายเห็นอาการเช่นนั้น ก็พากันหัวเราะกันลั่น

ชาวตลาดทั้งหลายเห็นอาการเช่นนั้น ก็พากันหัวเราะกันลั่น เขาชูมือขึ้นแถลงว่า "ท่านทั้งหลายหยุดก่อน อย่าหัวเราะข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้ายากจนไม่มีผ้าจะนุ่ง จะขอนุ่งใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น ชาติหน้าจะนุ่งผ้าทิพย์"ครั้นพูดชี้แจงแก่ประชาชนชาวตลาดดังนี้แล้ว เขาได้ออกเดินเร่ขายเรื่อยไป ในที่สุด เขาได้ขายผ้านั้นในราคา ๕ มาสก (๑ บาท) แล้วนำไปมอบให้ท่านเศรษฐี เศรษฐีได้ใช้เงินนั้นซื้อด้ายสำหรับเย็บไตรจีวร ในกาลครั้งนั้นได้เกิดโกลาหลทั่วไปในหมู่ชน ตลอดถึงเทวดาในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า และล่วงรู้ไปถึงพระกรรณของพระเจ้าพาราณสี จึงรับสั่งให้นำนายติณบาลเข้าเฝ้า แต่เขาไม่ยอมเข้าเฝ้าเพราะละอาย จึงได้ตรัสถามความเป็นไปของเขาโดยตลอดแล้ว ทรงให้ราชบุรุษนำผ้าสาฎกราคาแสนตำลึงไปพระราชทานแก่เขา

ครั้นตายจากโลกมนุษย์แล้วได้ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ มีนางฟ้าเป็นบริวาร

นอกจากนั้นได้พระราชทานบ้านเรือนและทรัพย์สมบัติ เป็นอันมาก แล้วโปรดให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีในเมืองพาราณสี มีชื่อว่า ท่านติณบาลเศรษฐี เมื่อเขาดำรงชีวิตอยู่พอสมควรแก่อายุขัยแล้ว ก็ตายไปเกิดเป็นเทพบุตรในดาวดึงส์พิภพ เสวยสมบัติทิพย์อยู่ในวิมานแก้ว สูงได้ ๕ โยชน์ มีนางเทพอัปสรหนึ่งหมื่นเป็นบริวาร ส่วนเศรษฐีสิริธรรม ครั้นตายจากโลกมนุษย์แล้วได้ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ มีนางฟ้าเป็นบริวาร เช่นเดียวกันกับท่านติณบาลเศรษฐี

ผู้ชักชวนให้ทอดกฐินก็ได้อานิสงส์

กฐินมิได้มีอานิสงส์เฉพาะเจ้าของกฐินเท่านั้น แม้ผู้ชักชวนให้ผู้อื่นทอดกฐิน ถ้ารู้จักวิธีในการอธิษฐานบุญก็ย่อมได้รับอานิสงส์เหมือนกัน
ได้ชักชวนเศรษฐีที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตร

ดังในนรชีวกฐินทานชาดก ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญญาสชาดก ได้เล่าเรื่องที่พระพุทธองค์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเกิดเป็นนายนรชีวะ อยู่ในครอบครัวยากจน แต่เป็นลูกกตัญญูเลี้ยงดูมารดา ได้ชักชวนเศรษฐีที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตร ชวนให้เศรษฐีมีศรัทธาถวายผ้ากฐินแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เศรษฐีมีความยินดีได้จัดกฐินไปถวายพระภิกษุสงฆ์ จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงผลหรืออานิสงส์แห่งการถวายผ้ากฐิน พระปทุมุตตรสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า
เย ชนา สุขมิจฺฉนฺตา ทตฺวาน กฐินจีวรํ
เตปิ ทุกฺขา ปมุญฺจเร เทวมนุสฺเสสุ ปตฺวา
นรกาทิมฺหิ น ชายนฺติ กฐินทานสฺสิทํ ผลํ

แปลว่า “บุคคลเหล่าใดปรารถนาหาความสุขนั้น ได้ถวายผ้ากฐินจีวรไว้ บุคคลเหล่านั้นจะพ้นจากความทุกข์ เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ก็ย่อมจะถึงความสุขในหมู่เทวดาและมนุษย์ และจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น นี้เป็นผลแห่งกฐินทาน”

นายนรชีวะจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าศากยมุนีในอนาคตกาล

เมื่อเศรษฐีได้ฟังอานิสงส์กฐินทานเช่นนั้น ก็มีใจชื่นบานยิ่งนัก ส่วนนายนรชีวะผู้เป็นพระโพธิสัตว์ได้หมอบกราบแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า ได้กราบทูลถึงเหตุที่ตนเป็นผู้ชักชวนให้เศรษฐีมาทำบุญสำเร็จด้วยกายวาจาใจ จึงขอตั้งวาจาธิษฐานว่า

อิมินา ภนฺเต ปุญฺเญน ปโพธิโต กฐินํ เทมิ
อนาคเต พุทฺโธ โหมิ ยาว พุทฺธตํ นานุปตฺโต
มา ทลิทฺโท ภวามหํ

แปลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยกุศลผลบุญที่ข้าพระองค์ได้ชักนำกุฎุมพี(เศรษฐี)ให้ถวายผ้ากฐินนี้ ขอให้ข้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในกาลภายหน้า แม้ข้าพระองค์ยังไม่ไปถึงความเป็นพระพุทธเจ้าตราบใด ชื่อว่าความเข็ญใจอย่าได้มีแก่ข้าพระองค์เลย พระเจ้าข้า”

พระปทุมุตตรสัมพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ว่า ด้วยผลแห่งกฐินทานนั้น นายนรชีวะจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าศากยมุนีในอนาคตกาล ก็คือ

พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้

Rank: 1

ร่วมเป็นเจ้าภาพมหากฐินผ้าไตรประทาน จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปรินายก จำนวน 2556 กองๆ ละ 199 บาท

ได้ที่พระสุพิน อตฺตสนฺโต
ธนาคารกรุงไทย สาขา ขุนหาญ
หมายเลข 326-0-16077-9
โทร. 085.657.8676
pra_attasanto@hotmail.com

วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างศาลาสมเด็จองค์ปฐมให้เสร็จสมบูรณ์สร้างมาหลายปีแล้วยังไม่
เพื่อซื้อที่ดินที่ยังค้างอีกจำนวน 250,000 บาท

ขออำนาจคุณพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คุณพระธรรมทั้งปวง คุณพระสงฆ์ทั่วพื้น
ปฐพี จงเป็นพลวะ เป็นตบะ เป็นเดชะ เป็นปัจจัยอำนวยอวยชัยให้บรรดาญาติ
โยมผู้ที่ได้ร่วมสร้างศาลาแห่งนี้ จงนิราศทุกข์ นิราศโศก นิราศภัย มีอายุยืน
นาน มีผิวพรรณผุดผ่องผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ มีกำลังกายกำลังใจ
ประกอบการงานสิ่งใดสำเร็จลุล่วงได้ดั่งใจปรารถนา คำว่าไม่มีจงอย่าได้
พบพาน อันความยากจนจงอย่าได้พบเจอ มีศีลมีธรรมประจำใจจงทุกคนทุกท่านเทอญ

กำหนดการ
วันพฤหัสบดีที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ (แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๑)
เวลา ๑๓.๐๐ น. รับมหากฐินตลอดวัน
เวลา ๑๙.๐๐ น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ สมโภชองค์มหากฐิน
วันศุกร์ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ (แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑)
เวลา ๑๑.๐๐ น. ร่วมถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ-สามเณร
เวลา ๑๑.๕๔ น. พิธีทอดถวายองค์มหากฐิน
เวลา ๑๒.๐๐ น. พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นเสร็จพิธี

Rank: 1

ที่ พิเศษ/๒๕๕๕
วัดเทียบศิลาราม
หมู่ที่ ๑๘ ตำบลบักดอง
อำเภอขุนหาญ จังหวัศรีสะเกษ
รหัสไปรษณีย์ ๓๓๑๕๐

๑ ตุลาคม ๒๕๕๕

เรื่อง ขอเชิญร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพ "เครื่องกัณฑ์มหากฐิน,โรงทาน น้ำดื่ม น้ำปานะ
เรียน ท่านกัลยาณมิตร นักศีล นักบุญ ทุกท่าน
สิ่งที่ส่งมาด้วย ภาพหนังสือประทานผ้าไตรจีวรฯ จำนวน ๑ ชุด

ตามที่ ข้าพเจ้า นายทองใบ ทุมทอง คณะกรรมการวัดเทียบศิลาราม ได้นำหนังสือขึ้นกราบทูล ขอประทานผ้าไตรจีวรกฐิน จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เพื่อเป็นเกียรติ เป็นขวัญกำลังใจ ให้กับ คณะศิษยานุศิษย์ กัลยาณมิตร นักศีล นักบุญ ทุกท่าน ทุกสายบุญ ที่คอยให้การอุปถัมภ์วัดเทียบศิลาราม อย่างดียิ่งมาโดยตลอด

บัดนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงอนุโมทนาและประทาน ผ้ากฐิน ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ แล้ว โดยกำหนดทอดถวายในวันศุกร์ที่ ๙ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๕ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ปี มะโรง เวลา ๐๙.๕๔ น.

จึงขอเชิญชวน คณะศิษยานุศิษย์ กัลยาณมิตร นักศีล นักบุญ ทุกท่าน ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพเครื่องกัณฑ์มหากฐิน,โรงทานอาหาร,น้ำดื่ม,น้ำปานะ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้:

๑. ผ้าไตรจีวรมหากฐิน จำนวน ๑๗ ไตร ๆ ละ จำนวน ๒,๕๐๐ บาท (ตามจำนวนพระภิกษุสามเณรที่จำพรรษา)
๒. ธงจระเข้,มัจฉา จำนวน ๑ คู่ ๆ ละ ประมาณ ๙๐๐ บาท
๓. กระติกน้ำร้อน จำนวน ๑ ใบ ๆ ละ ๑,๗๐๐ บาท
๔. ไม้กวาดอ่อน จำนวน ๑ โหล ๆ ละ ๕๐๐ บาท
๕. ไม้กวาดแข็ง จำนวน ๑ โหล ๆ ละ ๕๐๐ บาท
๖. บาตรแสตนเลสครบชุดอย่างดี จำนวน ๓ ชุด จำนวน ๔,๕๐๐ บาท
๗. ถุงย่ามสักปักอย่างดี จำนวน ๑๗ ใบ ๆ ละ ๔๐๐ บาท
๘. เครื่องไทยทานอย่างดี จำนวน ๑๗ ชุด ๆ ละ ๕๐๐ บาท
๙. โรงทาน น้ำดื่ม น้ำปานะ น้ำยาสมุนไพร ตลอดทั้งกลางวันกลางคืน จำนวน ๒ วัน ๆ ละ ประมาณ ๓,๐๐๐ บาท


หรือร่วมทำบุญ ร่วมเป็นเจ้าภาพ ตามกำลังศรัทธา ท้ายนี้
ขออำนาจคุณพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คุณพระธรรมทั้งปวง คุณพระสงฆ์ทั่วพื้น
ปฐพี จงเป็นพลวะ เป็นตบะ เป็นเดชะ เป็นปัจจัยอำนวยอวยชัยให้บรรดาญาติ
โยมผู้ที่ได้ร่วมสร้างศาลาแห่งนี้ จงนิราศทุกข์ นิราศโศก นิราศภัย มีอายุยืน
นาน มีผิวพรรณผุดผ่องผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ มีกำลังกายกำลังใจ
ประกอบการงานสิ่งใดสำเร็จลุล่วงได้ดั่งใจปรารถนา คำว่าไม่มีจงอย่าได้
พบพาน อันความยากจนจงอย่าได้พบเจอ มีศีลมีธรรมประจำใจจงทุกคนทุกท่านเทอญ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาร่วมทำบุญ ตามกำลังศรัทธา

ขอแสดงความนับถือ
นายทองใบ ทุมทอง
ประธานคณะกรรมการวัดเทียบศิลาราม

Rank: 1

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่วัดเทียบศิลาราม

Rank: 1

ขออนุโมนาบุญด้วยค่ะ  สาธุ

Rank: 1

น้องพู่กันคะ ขออนุโมทนาบุญ ด้วยคนคะ จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Rank: 1

อ่อ ลืม ไปคะ จากลูกสาวและหลานแม่วรรณข้าวมันไก่

‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:04 , Processed in 0.029984 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.