แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 13387|ตอบ: 15
go

วัดพระเจ้าตนหลวง ม.๑ ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_1342.JPG



วัดพระเจ้าตนหลวง

ม.๑ ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

[พระเจ้าหลีกเคราะห์ (พระเจ้าตนหลวง) อายุกว่า ๖๐๐ ปี]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 25 ม.ค. 2565)


Rank: 8Rank: 8

IMG_1311.JPG



การเดินทางมาวัดพระเจ้าตนหลวง ขอจบการเดินทางด้วยภาพเก่าวัดพระเจ้าตนหลวง พ.ศ.๒๕๕๐ สวัสดีค่ะ


ภาพเก่าวัดพระเจ้าตนหลวง พ.ศ.๒๕๕๐


DSC05772.JPG



DSC05805.JPG



DSC05795.1.JPG



DSC05837.JPG



DSC05833.JPG



DSC05806.JPG



DSC05775.JPG



DSC05781.JPG



----------------------


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • วัดพระเจ้าตนหลวง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
        • พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์.

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1326.JPG



ศาลาอบรมผู้ปฏิบัติธรรม วัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1278.JPG



IMG_1491.JPG



ศาลาบำเพ็ญบุญดวงดีธรรมานุสรณ์ วัดพระเจ้าตนหลวง สร้าง ๖ เมษายน ๒๕๕๕ ถวาย ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖



IMG_1462.JPG



กุฏิสงฆ์ วัดพระเจ้าตนหลวง



Rank: 8Rank: 8

IMG_1232.JPG


IMG_1233.JPG


IMG_1236.JPG


IMG_1240.JPG



อาศรมปู่ฤาษี วัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1475.JPG



ศาลาครอบบ่อน้ำ วัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1481.JPG



พระพุทธรูปปางสมาธิ ประดิษฐานภายใน ศาลาครอบบ่อน้ำ วัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1484.JPG



บ่อน้ำ ภายใน ศาลาครอบบ่อน้ำ วัดพระเจ้าตนหลวง


IMG_1487.JPG



IMG_1474.JPG



รูปปั้น ๑๒ นักษัตร ด้านข้างศาลาครอบบ่อน้ำ วัดพระเจ้าตนหลวง


Rank: 8Rank: 8

IMG_1308.JPG


DSC05852.JPG



ประตูดวงดี ทางเข้าสำนักปฏิบัติธรรม-สำนักศาสนศึกษา และไปนมัสการพระเจ้าประทานพร วัดพระเจ้าตนหลวง สร้างเมื่อ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๐



IMG_1283.JPG


IMG_1286.JPG



IMG_1287.JPG



IMG_1285.JPG



ศาลาพระประจำวัน วัดพระเจ้าตนหลวง



Rank: 8Rank: 8

IMG_1293.JPG


IMG_1314.JPG



IMG_1325.JPG



IMG_1260.JPG



IMG_1297.JPG


IMG_1303.JPG



อุโบสถ วัดพระเจ้าตนหลวง



Rank: 8Rank: 8

DSC05818.JPG



รูปภาพเก่าเกี่ยวกับพระเจ้าตนหลวง ภายใน วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง จัดทำถวายโดย กาดลุงเงา วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙


a.1.jpg



. รูปภาพพระครูอินทรัตนคุณ (ครูบาสองเมือง) เจ้าอาวาสวัดหล่ายแก้ว ประธานการบูรณะพระเจ้าตนหลวง

๒. รูปภาพเศียรพระเจ้าตนหลวงก่อนบูรณะได้ตกอยู่ข้างฐาน ที่พระเกศได้จารึกเป็นอักษรพื้นเมืองโบราณไว้ว่า “พระยาจอม ได้ริรังสร้างพระพุทธรูปกำเจ้าองค์นี้ เมื่อปีสง้า แรม ๗ ค่ำ ฤกษ์ ๓ เดือนสารทะ จุลศักราช ๗๒๘” (ตรงกับ พ.ศ.๑๙๐๙)


๓. รูปภาพเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร หน่วยที่ ๔ เชียงแสน กำลังพิสูจน์ดูฐานพระเจ้าตนหลวง


๔. รูปภาพพระเถรานุเถระและข้าราชการกำนันผู้ใหญ่บ้านกำลังวางศิลาฤกษ์ บนฐานพระเจ้าตนหลวง



b.1.jpg



๕. รูปภาพศรัทธาประชาชนกำลังอัญเชิญเศียรพระเจ้าตนหลวง เลื่อนเข้าประทับบนฐาน หลังจากวางศิลาฤกษ์แล้ว

๖. รูปภาพพระเถรานุเถระที่นิมนต์มาเป็นพระพิธีชักเลื่อนพระเศียรเข้าสู่ฐานและวางศิลาฤกษ์ รวมเป็นพระพิธี ๑๒ รูป ล้วนเป็นพระเถระผู้อาวุโสทั้งนั้น เมื่อ ๘ มิถุนายน ๒๕๐๕ เดือน ๙ เหนือ ขึ้น ๒ ค่ำ


๗. รูปภาพพระเจ้าตนหลวง ศรัทธาประชาชนอัญเชิญเศียรพระเข้าประทับบนพื้นฐาน และเตรียมจะบูรณะต่อไป


. รูปภาพศรัทธาประชาชนกำลังเตรียมสถานที่ที่จะบูรณะพระเจ้าตนหลวงต่อไป รูปที่เห็นกำลังถักหญ้ากา เพื่อใช้มุงวิหารและปะรำ



c.1.JPG



๙. รูปภาพพระเจ้าตนหลวงบูรณะได้เดือนหนึ่งก็สามารถต่อเศียรได้เรียบร้อยสัดส่วนต่างๆ กรมศิลปากรได้ออกแบบแปลนให้ เมื่อเสร็จแล้วก็มีการเตรียมอบรม


๑๐. รูปภาพพระเจ้าตนหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เป็นพระพุทธรูปโบราณแบบปูนปั้นสมัยเชียงแสนต่อสุโขทัย กรมศิลปากรออกแบบในการบูรณะ


๑๑. รูปภาพศรัทธาประชาชนกำลังแห่ดวงหฤทัยพระเจ้าตนหลวง โดยทำเป็นรูปหงส์ทองกาบดวงหฤทัยไต่ไปตามเส้นเชือกสลิง


๑๒. รูปภาพคณะกรรมการและนางสาวพรหมจารี ได้กวนข้าวมธุปายาสถวายเป็นประจำในวันเดือน ๖ ใต้ หรือเดือน ๘ เหนือ แรม ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันประเพณีสรงน้ำประจำปี

  

IMG_1406.JPG


สามารถร่วมทำบุญต่างๆ กับทางวัด ภายใน วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง



Rank: 8Rank: 8

IMG_1426.JPG



ประวัติการสร้างพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง



ตามประวัติการสร้างเล่าว่า สมัย พระเจ้าแสนภู ครองอาณาจักรลานนาไทย ได้สร้างเมืองใหม่ที่เชียงแสนเป็นเมืองหลวง โดยมี พระสิริราชวังโส เป็นพระราชครู พระเถระองค์นี้มีความรู้ความสามารถมาก อาศัยในวัดพระแก้วภายในพระราชวังนั่นเอง

ครั้งหนึ่ง พระคุณท่านได้สร้างพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ขึ้นไว้สักการบูชาในพระราชวังองค์หนึ่ง มีขนาดใหญ่โตมาก โดยให้ฉายาว่า พระเจ้าล้านตื้อ ปัจจุบันนี้แม่น้ำโขงเปลี่ยนทางเดิน ไปเซาะพังเอาฝั่งแม่โขงตอนที่ตั้งตัวเมืองเชียงแสนพังทลายไป พระเจ้าล้านตื้อก็ได้ทรุดลงไปจมอยู่ในแม่น้ำโขง

แต่เมื่อไม่นานมานี้เอง บริษัทอิตาเลียนไทยฯ จำกัด ได้ใช้เครื่องมือสมัยใหม่ แต่ก็ไม่สามารถดึงขึ้นมาได้ มีผู้นำชิ้นส่วนที่ได้ออกมาแล้ว คือพระเมาลีเท่านั้น ได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานเชียงแสน เรื่องนี้หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดจันทาราม (ท่าซุง)) ท่านเคยบอกไว้ว่า ถ้าพระพุทธรูปยังอยู่ที่นั้นจะเป็นมงคลแก่เขตชายแดนของประเทศไทย

ขอเล่าเรื่องของพระเถระต่อไปว่า วันหนึ่ง ท่านได้ไปบิณฑบาตภายในละแวกบ้านขณะนั้น ท่านได้เห็นทารกเพศหญิงคนหนึ่งนอนอยู่บนเบาะภายในบ้าน จึงได้รู้ด้วยญาณของตนเองว่า เด็กหญิงคนนี้แหละ จะมาเป็นคู่ครองของเรา

เมื่อกลับมาจากบิณฑบาตแล้ว จึงมาคิดพิจารณาว่า หากเราอยู่ในเมืองนี้ต่อไป ความเสื่อมเสียทางเพศพรหมจรรย์และเคราะห์ภัยพิบัติอื่นๆ อีกหลายอย่างก็จะบังเกิดมีขึ้นแก่ตน เราควรจะหลีกหนีออกจากเมืองนี้ไปให้ไกล

เมื่อคิดดังนี้แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจจาริกออกจากเมืองเชียงแสน มุ่งหน้ามาทางเมืองลำพูนจนเลยเข้ามาถึงเขตอำเภอบ้านโฮ่ง เมื่อเห็นว่าไกลพอสมควรแล้ว ท่านจึงตัดสินใจสร้างวัดขึ้น แล้วสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นอีกองค์หนึ่ง ให้เหมือนอย่างครั้งที่ได้อยู่ในเมืองเชียงแสน แล้วให้ชื่อว่า พระเจ้าหลีกเคราะห์ คือ พระเจ้าตนหลวง ในปัจจุบันนี้


สมัยต่อมาบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม วัดพระเจ้าตนหลวงก็รกร้างเป็นป่าเป็นดง จนถึง พ.ศ.๒๔๗๖ จึงได้อาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยมาเป็นประธาน ท่านก็ยินดีสนับสนุน คิดที่จะสร้างพระองค์ใหม่ขึ้น โดยจะไม่บูรณะพระองค์เก่า แต่ในขณะที่กำลังคิดวางโครงการกัน พระครูอินทนนท์ วัดบ้านก้อง เจ้าคณะอำเภอป่าซาง ได้ขอให้หยุดการก่อสร้างต่อไป

เพราะฉะนั้น โครงการที่ครูบาเจ้าฯ ได้คิดไว้จึงเป็นอันล้มเลิกไป ส่วนวัสดุก่อสร้าง เช่น อิฐ ปูน ไม้ ที่ชาวบ้านหามาให้ ก็ได้นำไปสร้างวัดและโรงเรียนกันเสียหมด จึงเป็นที่น่าเสียดายเจตนาดีของท่านครูบาเจ้าฯ และศรัทธาทั้งหลายที่ได้ถูกเพิกถอนไปถึง ๒ ครั้ง


ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๐๕ ได้จัดให้มีพิธีการเทศน์ เพื่อหาทุนก่อสร้างพระวิหารพระเจ้าตนหลวง ในขณะที่พระให้พรและชี้แจงความเป็นมาของพระเจ้าตนหลวง แล้วได้ชักชวนให้คณะศรัทธาประชาชนร่วมมือกับคณะสงฆ์ ช่วยกันบูรณะพระเจ้าตนหลวงต่อไป ทุกคนที่ได้ไปร่วมพิธีกันวันนั้นประมาณพันกว่าคน ต่างก็สาธุการเห็นพร้อมด้วยกัน

ในขณะที่จบพิธีแล้วนั่นเอง ชาวบ้านทั้งหลายกำลังจะกลับบ้าน ต่างก็เห็นปาฏิหาริย์ขึ้นบนท้องฟ้า คือเกิดมีท้องฟ้ามืดคลึ้มในทันทีทันใด และเกิดเป็นลมฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก จนถึงกับพลัดหลงกันไป

เวลาพลบค่ำ พวกคนที่มาติดตามหาลูกหลานที่พลัดหลง ๓-๔ คน ได้เดินผ่านไปทางใกล้ๆ กับพระเจ้าตนหลวง สิ่งที่น่าอัศจรรย์ทำให้คนพวกนั้นตกตะลึง คือมีแสงสว่างจ้าพุ่งออกจากฐานพระขึ้นสู่ท้องฟ้า สูงประมาณเท่าต้นตาล ในที่ต่อหน้าต่อตา ทั้งๆ ที่เมฆฝนยังโปรยลงมาไม่ขาดระยะ

ด้วยอภินิหารนี่เอง ประชาชนบริเวณนี้เมื่อถึงเวลาฝนแล้ง มักจะพากันไปบูชาสรงน้ำพระเป็นประจำ เพื่อทำพิธีขอฝน และก็มักสมความปรารถนาทุกปี

---------------------


(แหล่งที่มา : พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๓๕๘-๓๕๙.)


DSC05778.JPG



ประวัติพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง



ประวัติความเป็นมากล่าวว่า เมื่อ พ.ศ.๑๙๐๙ ปีมะเมีย มีพระเถระจากเมืองเชียงแสนเป็นผู้สร้างขึ้น จนบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม บ้านแตกสาแหรกขาด วัดก็ได้รกร้างกลายเป็นป่า ขาดผู้ปฏิบัติรักษาจนถูกช้างป่าทำลาย พระเจ้าตนหลวง ได้พังทลายลงคงเหลือพระพักตร์ และพระวรกายบางส่วน

กาลเวลาล่วงเลยมาจนถึง พ.ศ.๒๔๖๕ ครูบายาสมุทร วัดเหล่ายาว คิดบูรณะก่อสร้างขึ้น แต่ก็ได้มรณภาพลงเสียก่อน จึงเป็นอันล้มเลิกไป

พ.ศ.๒๔๖๗ คณะศรัทธาประชาชนได้อาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยมาเป็นประธานคิดบูรณะก่อสร้าง แต่ก็ต้องชงักไปอีก เมื่อเจ้าคณะอำเภอปากบ่อง (ป่าซาง) ขอให้หยุดการก่อสร้าง

พ.ศ.๒๕๐๓ พระครูอินทรัตนคุณ เจ้าอาวาสวัดหล่ายแก้ว มอบให้พระดวงดี พรหมโชโต พร้อมด้วยศรัทธาไปขุดหงายพระพักตร์เพื่อทำการซ่อมโบกปูนภายในพระเศียร แล้วทำการอัญเชิญย้ายจากที่เดิมไปไว้ทางทิศใต้ฐานพระ และทำการก่อสร้างวิหารชั่วคราว เพื่อรอเวลาชักขึ้นสู่แท่นบูรณะ

พ.ศ.๒๕๐๖ ตรงกับเดือนสิบเหนือ แรม ๑๑ ค่ำ ก็ได้ทำพิธีบรรจุดวงหฤทัย ซึ่งมีพระสงฆ์และประชาชนมาร่วมพิธีกันอย่างคับคั่ง

---------------------


(แหล่งที่มา : ป้ายประวัติพระเจ้าตนหลวง)



IMG_1419.JPG



รูปภาพพระครูอินทรัตนคุณ (ครูบาสองเมือง) องค์ปฐมผู้บูรณะพระเจ้าตนหลวง และพัฒนาวัดจนรุ่งเรืองต่อมา ภายใน วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง


IMG_1405.JPG



รูปภาพและรูปเหมือนพระครูสุนทรธรรมานุรักษ์ (ครูบาดวงดี พรหมฺโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเจ้าตนหลวง ภายใน วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง


DSC05840.JPG



จิตรกรรมฝาผนังภาพพุทธประวัติ ภายใน วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง


Rank: 8Rank: 8

จิตรกรรมฝาผนังภาพประวัติพระเจ้าตนหลวง

ภายในวิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1456.JPG



๑. เชียงแสนในอดีตครั้งหนึ่ง ได้เกิดทุพภิกขภัยพิบัติร้ายแรง จนประชาชนอพยพหลีกหนีเคราะห์ภัยไปคนละทิศละทาง และมีพระเถระรูปหนึ่งเดินธุดงค์มุ่งสู่นครหริภุญชัยเพียงรูปเดียว



IMG_1378.JPG



๒. พระเถระรูปนั้นคือ พระสิริราชวํโส วัดพระแก้ว พระราชครูพระเจ้าแสนภู ผู้ครองนครเชียงแสน ธุดงค์หลีกเคราะห์ภัยพรหมจรรย์ ระเรื่อยมาจนล่วงถึง ณ ตำบลหนึ่ง พิจารณาเห็นเป็นที่สัปปายะ จึงคิดปักกลดพำนักบำเพ็ญเพียร (ก็คือ ที่ตั้งวัดพระเจ้าตนหลวงในปัจจุบันนี้)



IMG_1381.JPG



๓. พญาจ๋อม เจ้าเมือง และปู่เขื่อนคำ มาพบเห็นปฏิปทาน่าเลื่อมใส จึงนิมนต์อยู่ เพื่อพัฒนา ณ ที่นี้ ต่อไป



IMG_1384.JPG



๔. ลุจุลศักราช ๗๒๘ ตรงกับพุทธศักราช ๑๙๐๙ ท่านก็ได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง ขนาดหน้าตักกว้าง ๗.๕๐ เมตร สูงตั้งแต่ฐานถึงเมาลี ๙.๕๐ เมตร เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ได้หลีกเคราะห์ภัยมา คนทั้งหลายจึงเรียก พระเจ้าหลีกเคราะห์ หรือ พระเจ้าตนหลวง แล



IMG_1387.JPG



. นานาในโลกล้วนอนิจจัง ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ก็เช่นกัน เมื่อกาลผ่านไปเนิ่นนาน จากภัยพิบัติต่างๆ เช่น ภัยจากสงคราม เป็นต้น จึงทรุดโทรมหักพังน่าสังเวช



IMG_1389.JPG



๗. มีผู้คิดจะบูรณะหลายครั้ง มีครูบายาสมุทร ครูบาศรีวิชัย เป็นต้น แต่ไม่สำเร็จ และเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ พระครูอินทรัตนคุณและพระอธิการน้อย จึงดำริที่จะสร้างต่อ



IMG_1391.JPG



๘. และพอถึงวันเสาร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๕ จึงเริ่มวางศิลาฤกษ์บูรณะ และบรรจุดวงหทัย เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๖ เดือน ๑๐ เหนือ แรม ๑๑ ค่ำ



IMG_1393.JPG



๙. หลังจากบรรจุดวงหทัยแล้ว พลบค่ำวันหนึ่ง ก็ปรากฏรัศมีพวยพุ่งจากองค์พระงดงามยิ่ง หลังจากนั้น พระพิรุณก็โปรยปรายพรูพรั่ง ดั่งจะเป็นการรับรู้และอนุโมทนาของเหล่าทวยเทพในสากลจักรวาล



IMG_1396.JPG



๑๐. ในวันแรม ๑๕ ค่ำ ตรงกับเดือน ๘ เหนือ ได้จัดให้มีงานประเพณีสรงน้ำที่ยิ่งใหญ่ทุกปี



IMG_1398.JPG



ภาพวาดพระครูสุนทรธรรมานุรักษ์ (ดวงดี พรหมฺโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเจ้าตนหลวง ผู้รวบรวมเรียบเรียง ประวัตินางแก้ว และประวัติของพระเจ้าตนหลวงทั้งหมด


----------------------


(แหล่งที่มา : จิตรกรรมฝาผนังภาพประวัติพระเจ้าตนหลวง ภายในวิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง ได้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๑ สิ้นทุนทรัพย์ทั้งหมด ๑๕๓,๒๐๐ บาท)


Rank: 8Rank: 8

IMG_1333.JPG



พระเจ้าหลีกเคราะห์ หรือ พระเจ้าตนหลวง ประดิษฐานภายใน วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1431.JPG



IMG_1408.JPG



IMG_1335.JPG



IMG_1357.JPG



IMG_1367.JPG



IMG_1441.JPG



IMG_1447.JPG



พระเจ้าตนหลวง ประดิษฐานภายใน วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่โบราณแบบปูนปั้นสมัยเชียงแสนต่อสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๗.๕๐ เมตร สูงตั้งแต่ฐานถึงพระโมลี ๙.๕๐ เมตร กรมศิลปากรออกแบบในการบูรณะ



IMG_1358.JPG



IMG_1410.JPG



คำไหว้พระเจ้าหลีกเคราะห์ (พระเจ้าต๋นหลวง)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)   

        โย พุทโธ มังคะลัตถานัง สุมังคะโล โหติ ตัสสะ มหาพุทธะรูปัง วันทามิ สัพพะทุกขะ สัพพะโรคะ สัพพะภัยยะ วินาสันตุ สะทา โสตถี ภะวันตุ โน ฯ


        ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นมงคลดี ของเหล่าชนผู้มีความต้องการมงคล ขอความทุกข์โศกโรคภัยทั้งหลาย จงวินาศไป ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในกาลทุกเมื่อเทอญ



‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-4 16:42 , Processed in 0.057064 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.