แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 7357|ตอบ: 5
go

วังซักครัว ม.๑ ต.ปากบ่อง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC07555.JPG



วังซักครัว  

ม.๑ ต.ปากบ่อง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 16 ธ.ค. 2564)


Rank: 8Rank: 8

DSC07538.JPG


DSC07542.JPG



DSC07543.JPG



DSC07550.JPG



DSC07558.JPG



การเดินทางไปวังซักครัว ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ (ลำพูน-ป่าซาง) ขับรถจากตลาดสดสบทา อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ประมาณ ๕ นาที เลี้ยวเข้าซอยติดสะพานท่าน้ำ ไปทางท่าน้ำ และขับรถตรงไปตามทางจนถึงวังซักครัว



DSC07561.JPG


วังซักครัว ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน



DSC07556.JPG



DSC07554.JPG



DSC07564.JPG



วังซักครัว คือ จุดที่แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิงไหลมาบรรจบกัน เรียกว่า “สบทา” (ไม่ใช่ “สบกวง” ตามตำนาน) และในบริเวณนี้เรียกว่า วังซักครัว คำว่า “ครัว” หมายถึง เสื้อผ้าหรือเครื่องใช้ในครัว


DSC07552.JPG



แม่น้ำกวง คือ แม่น้ำที่ไหลมาจากด้านขวามือ

แม่น้ำปิง คือ แม่น้ำที่ไหลมาจากด้านหน้า


Rank: 8Rank: 8

DSC07560.JPG



ตำนานวังซักครัว



ในอดีตสมัย ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพุทธกิจ เพื่อหิตานุหิตประโยชน์แก่ประชาชน พลโลกทั้งมวลโดยไม่จำกัดชาติ ชั้น วรรณะ ผู้มีอุปนิสัยที่จะบรรลุธรรมได้ย่อมได้รับอนุเคราะห์ ในข่ายแห่งพระเมตตากรุณาของพระองค์เสมอหน้ากัน ในยามปัจจุสมัยใกล้รุ่งอรุณวันหนึ่ง พระองค์ทรงแผ่ข่ายพระญาณไปทั่วทิศานุทิศ เพื่อตรวจดูสัตว์โลกผู้ควรแก่ธรรมาภิสมัย (การบรรลุธรรม) ก็ทรงทราบด้วยอนาคตังสญาณว่า สุวรรณภูมิ คือดินแดนที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบัน จะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนามั่นคงต่อไปในกาลอนาคต สมควรที่พระองค์จะเสด็จไปประดิษฐานพระศาสนาไว้

ครั้นทรงมีพระราชดำริดังนั้นแล้ว พระองค์จึงทรงเสด็จมาสู่สุวรรณภูมิโดยพุทธนิรมิต มีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ พร้อมด้วยพระอินทร์และพระเจ้าอโศกราช ได้เสด็จจาริกมาตามคามนิคมชนบทต่างๆ จนกระทั่งมาถึง ถ้ำตับเตา เชียงดาว พระนอนขอนม่วง พระบาทยั้งหวีด และพระธาตุทุ่งตูม ตามลำดับ ได้ทรงเหยียบรอยพระบาท และประทานพระเกศาธาตุประดิษฐานไว้ที่นั้นๆ ตามควรแก่พุทธอัชฌาศัย แล้วเสด็จเลียบลงมาตามฝั่งแม่น้ำปิง

พอเสด็จมาถึงวังแห่งหนึ่ง ซึ่งมีน้ำใสสะอาด มีท่าอันราบเตียนงาม พระพุทธองค์ก็ทรงหยุดพักทรงเปลื้องผ้ากาสาวพัสตร์ (จีวร) ให้พระอานนท์นำไปซัก สถานที่พระอานนท์เอาผ้าไปซักนั้น จึงได้ชื่อว่า “วังซักครัว” มาตราบเท่าทุกวันนี้ และวังซักครัวนี้มีอยู่ใต้สบกวง อันเป็นที่ที่แม่น้ำปิงและแม่น้ำกวงไหลมาบรรจบกัน

----------------------


(แหล่งที่มา : ป้ายประวัติตำนานวังซักครัว จัดแสดงภายในพื้นที่สืบสานตำนานวังซักครัว อ้างอิงจากหนังสือ ประวัติวัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จัดพิมพ์เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๓)


DSC07559.JPG



ประวัติวังซักครัว



ก่อนที่จะนำผ้าจีวรไปตากที่วัดพระพุทธบาทตากผ้านั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงวังแห่งหนึ่ง ซึ่งมีน้ำใสสะอาด มีท่าอันราบเตียนงาม พระพุทธองค์ทรงหยุดพัก แล้วทรงเปลื้องผ้าจีวรให้พระอานนท์นำไปซัก สถานที่แห่งนี้จึงมีชื่อว่า วังซักครัว ซึ่งอยู่ใต้สบกวง อันเป็นที่ที่แม่น้ำปิงและแม่น้ำกวงไหลมาบรรจบกัน

จากนั้นพระพุทธองค์ก็เสด็จมาถึงบนลานผาลาด (คือบริเวณวัดพระพุทธบาทตากผ้าปัจจุบัน) พระองค์จึงมีพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท์ให้นำเอาจีวรไปตากบนผาลาดใกล้ๆ ที่ประทับนั้น แล้วทรงบรรทมที่ ดอยม่อนช้าง ได้ประทานพระเกศาธาตุให้แก่ตายายสองผัวเมีย ที่ได้ถวายภัตตาหารและน้ำแก่พระพุทธองค์ ต่อมามีผู้สร้างพระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่ ให้ชื่อว่า พระนอนม่อนช้าง

แล้วก็บังเอิญได้พบกับเจ้าของสถานที่แถวนี้ มีปรากฏการณ์พิเศษเกิดขึ้น ชื่อ นางเอื้องอำไพ อินทโรจน์ สอนอยู่โรงเรียนอรุณโรจน์ศึกษา ได้เล่าว่า ตนเองฝันเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕ ประมาณ ๒ เดือน ก่อนที่ผู้เขียน (พระชัยวัฒน์ อชิโต) จะเดินทางไปถึง ในฝันได้เห็นผ้าสีเหลืองผืนใหญ่เป็นม้วนปรากฏอยู่บนท้องฟ้า เหนือบริเวณที่วังซักครัว

แล้วผ้าได้คลี่ออกมาให้เห็นเป็นจีวรพระ และได้ยินเสียงช้อนกับส้อมกระทบกันเสียงดังก้องในหู ภายหลังได้สอบถามชาวบ้านแถวนี้ดู ปรากฏว่าหมู่บ้านนี้เดิมชื่อว่า “หมู่บ้านก้อง” มาก่อน มาจากเสียงก้องของการสะบัดผ้านั่นเอง และหลังจากนั้นได้ฝันอีกว่า น้ำได้ท่วมบริเวณท่าน้ำ แต่ว่ามีศาลพระภูมิอยู่บนเนินไม่ถูกน้ำท่วมและน้ำจะล้อมรอบไว้

และในบริเวณนี้เมื่อ ๓ ปีก่อน ได้มีคนมาเข้าทรงและบอกว่า ข้างใต้ท่าน้ำมีของลักษณะก้อนกลมๆ ซึ่งเป็นอะไรไม่รู้ วันดีคืนดีก็จะลอยไปทำลายฝายกั้นน้ำให้พัง เคยมีชาวบ้านค้นหาแต่ไม่พบ คุณเอื้องอำไพเล่าให้พวกเราฟังด้วยความปลื้มใจ

----------------------


(แหล่งที่มา : พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๙ ธันวาคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๓ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๓๗๒-๓๗๓.)

Rank: 8Rank: 8

DSC07565.JPG



DSC07566.JPG



พื้นที่สืบสานตำนานวังซักครัว วังซักครัว



DSC07567.JPG



รูปภาพประวัติเกี่ยวกับตำนานวังซักครัวและภูมิปัญญาพื้นบ้านท้องถิ่นล้านนา ภายใน พื้นที่สืบสานตำนานวังซักครัว


DSC07568.JPG



รูปภาพวังซักครัวในอดีต ภายใน พื้นที่สืบสานตำนานวังซักครัว


DSC07572.JPG



DSC07573.JPG



รูปภาพงานวันเปิดตำนานวังซักครัว
ภายใน พื้นที่สืบสานตำนานวังซักครัว


Rank: 8Rank: 8

DSC07577.JPG



DSC07574.JPG



DSC07575.JPG



DSC07576.JPG



การจัดแสดงภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา ทั้งด้านการสร้างบ้านเรือนแบบต่างๆ และวิถีการดำเนินชีวิตแบบล้านนา ภายใน พื้นที่สืบสานตำนานวังซักครัว


DSC07578.JPG


ตูบลม
ภายใน พื้นที่สืบสานตำนานวังซักครัว เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านในอดีต โครงสร้างทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปครึ่งวงกลม ชาวบ้านสร้างตูบลมไว้หลบลมพายุซึ่งเป็นภัยธรรมชาติที่โหมกระหน่ำอย่างรุนแรง ตูบลมช่วยให้ผู้คนได้รับความปลอดภัยอย่างดียิ่ง



Rank: 8Rank: 8

DSC07580.JPG



DSC07553.JPG



DSC07563.JPG



การเดินทางมาวังซักครัว ขอจบการเดินทางด้วยภาพบรรยากาศรอบๆ วังซักครัว สวัสดีค่ะ

----------------------


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • วังซักครัว อ.ป่าซาง จ.ลำพูน         

        •
พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๙ ธันวาคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๓ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 05:46 , Processed in 0.047395 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.