แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ต.โปงทุ่ง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ (รอยพระพุทธบาทพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_1682.jpg



IMG_1466.jpg



IMG_1465.jpg



มณฑปไม้ วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ค่ะ

ประวัติมณฑปไม้ วัดพระพุทธบาทตะเมาะ

ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (หลวงพ่อวงศ์) ได้พาศรัทธาสร้างเมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๐ ท่านบอกกับท่านเจ้าอาวาสนพดลว่า เป็นการก่อสร้างที่ยากที่สุดในชีวิตของท่าน เพราะต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานับประการ การแกะสลักต่างๆ ส่วนมากเป็นฝีมือของท่านทั้งหมด


IMG_1442.jpg



IMG_1718.jpg



IMG_1716.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน มณฑปไม้ วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1744.jpg


บนยอดพระเจดีย์หินทราย ๓ ครูบา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ค่ะ


IMG_1457.jpg



IMG_2413.JPG



รูปปั้นพญานาค พระเจดีย์หินทราย ๓ ครูบา  วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1427.jpg



IMG_1461.jpg



IMG_1749.jpg


พระเจดีย์หินทราย ๓ ครูบา (กำลังก่อสร้าง) วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ค่ะ


IMG_1448.jpg



IMG_2412.JPG



พระเจดีย์หินทราย ๓ ครูบา  วัดพระพุทธบาทตะเมาะ สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่   
  
๑. ครูบาศรีวิชัย     
๒. ครูบาอภิชัยขาวปี                          
๓. ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา  

พระเจดีย์ที่ทำจากหินทราย เป็นหนึ่งในรัตนโกสินทร์ ตามที่อาจารย์สมชาย เถาทอง ได้กล่าวไว้


IMG_1460.jpg



ประวัติพระเจดีย์หินทราย ๓ ครูบา  วัดพระพุทธบาทตะเมาะ

พระเจดีย์หินทราย ๓ ครูบา  สร้างตามดำริของหลวงพ่อครูบาวงศ์ ท่านเล่าให้ท่านเจ้าอาวาสนพดลฟังถึงมูลเหตุของการสร้างว่า พระนางจามเทวีได้มาเข้านิมิตฝันอาราธนาให้ท่านสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ครูบาศรีวิชัยและครูบาอภิชัยขาวปี

หลวงพ่อครูบาวงศ์ดำริที่จะสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๒๑ โดยจะสร้างครอบแท่นที่ครูบาศรีวิชัยและครูบาขาวปีเคยใช้เป็นที่นั่งปฏิบัติธรรม ต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๓๑ พระอาจารย์นพดล สิริวฑฺฒโน เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้เริ่มก่อสร้าง โดยขออนุญาตหลวงพ่อครูบาวงศ์สร้างพระเจดีย์เพิ่มอีก ๑ องค์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หลวงพ่อครูบาวงศ์ ซึ่งท่านก็อนุญาต พระเจดีย์จึงมี ๓ องค์

พระเจดีย์สร้างจากหินทรายขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นวัสดุที่คงทนเพื่อให้อยู่ได้นานเท่าอายุพระศาสนา กว้างประมาณ ๗ เมตร ยาวประมาณ ๑๒.๕ เมตร และสูงประมาณ ๑๙ เมตร วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๓๑ หลวงพ่อครูบาวงศ์เป็นผู้เขียนแบบเริ่มแรกให้คร่าวๆ ต่อมาอาจารย์สมชาย เถาทอง ได้เขียนแบบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในระยะต่อมานายชุมนุมพร ชวนานนท์ เขียนรายละเอียดเพิ่มเติม และมีการแก้ไขรายละเอียดเป็นระยะตามความเหมาะสม

ส่วนภาพฝาผนังเขียนโดยนายกฤษณะ ชวนคุณากร และนางสาววาสนา สำหรับนายช่างที่ควบคุมการก่อสร้าง คือ นายจำรัส อาชญา จบประถมปีที่ ๔ เคยแกะครกหินขายมาประมาณ ๒๐ ปี หัวหน้าช่างฝีมือแกะสลัก คือ นางสาวบัวนาน ทันวัน ช่างทั้งหมดเป็นชาวบ้านธรรมดา นำมาฝึกตั้งแต่ยังไม่เป็นอะไร การก่อสร้างและแบบการสร้าง ตลอดจนแนวความคิดในการเขียนแบบเกิดจากความศรัทธาในพระรัตนตรัยของพระอาจารย์นพดล โดยมีหลวงพ่อครูบาวงศ์เป็นผู้แนะนำ


IMG_2415.JPG



ประวัติพระเจดีย์หินทราย ๓ ครูบา  วัดพระพุทธบาทตะเมาะ (ต่อ)

แนวความคิดในการสร้างพระเจดีย์ มาจากปราสาทหินทั้งในประเทศไทยและอินเดีย แต่ประยุกต์ศิลปะล้านนาเข้าไปด้วย โดยสร้างเป็นทรงล้านนาโบราณ บนยอดพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แกะสลักลวดลายรอบพระเจดีย์ด้วยภาพพระพุทธประวัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่หาผู้สร้างได้ยาก และถือว่าเป็นหนึ่งในรัตนโกสินทร์ (ตามที่อาจารย์สมชาย เถาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านแกะสลักหินของมหาวิทยาลัยศิลปากรเคยกล่าวไว้)

หลวงพ่อครูบาวงศ์ เคยพูดไว้ว่า ต่อไปภายหน้าวัดพระพุทธบาทตะเมาะ จะเป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ และท่านยังได้พูดไว้เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๔ ที่ประเทศอินเดียว่า "ถ้าเจดีย์เสร็จเมื่อไหร่ เมื่อนั้นหละ จะถึงเวลา" สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงหรือไม่ คงจะพิสูจน์ได้ในไม่ช้า แต่ที่แน่นอนและเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์ คือ การสร้างเจดีย์เพื่อบูชาพระรัตนตรัย เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยาวนาน เพื่อให้เป็นที่พึ่งสำหรับชนหมู่มากที่แสวงหาความสงบสุขทางใจ ถือเป็นมหากุศล ย่อมมีผลานิสงส์อย่างยิ่ง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1654.jpg



IMG_1642.jpg



IMG_1644.jpg



บรรยากาศบริเวณ มณฑป ๙ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตะเมาะ จะมีพระพุทธรูปหินประดิษฐานบนก้อนหินหลายองค์ค่ะ


IMG_1663.jpg



IMG_1660.jpg


แท่นนั่งภาวนาครูบาอภิชัยขาวปี ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านข้าง พระพุทธรูปหินค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1584.jpg



IMG_1768.jpg



ซุ้มพระพุทธรูป ซึ่งตั้งอยู่บนโขนหิน ข้างมณฑป ๙ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (หลวงพ่อวงศ์) เคยเล่าให้ท่านเจ้าอาวาสนพดลฟังว่า เป็นสถานที่ฉันภัตตาหารของพระพุทธเจ้า
ค่ะ


IMG_1585.jpg



IMG_1766.jpg


สถานที่ฉันภัตตาหารของพระพุทธเจ้า ภายใน วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1599.jpg



IMG_1590.jpg



IMG_1596.jpg



IMG_1594.jpg



IMG_1759.jpg



รอยพระบาทพระสาวกของพระพุทธเจ้ากกุสันโธ (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ประดิษฐานใกล้ประตูทางเข้า มณฑป ๙ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1581.jpg



IMG_1567.jpg



รอยพระพุทธบาทของพระโกนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ ในมหาภัทรกัปป์นี้ ประดิษฐานภายใน มณฑป ๙ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ค่ะ


IMG_1577.jpg



IMG_1560.jpg



รอยพระพุทธบาทของพระโกนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ เป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา ถูกตกแต่งเรียบร้อยแล้ว ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มาพบรอยพระพุทธบาท และสร้างมณฑปไม้ครอบไว้ ภายหลังครูบาอภิชัยขาวปี สร้างมณฑป ๙ ยอดครอบไว้ค่ะ


IMG_1573.jpg



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน มณฑป ๙ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตะเมาะ พลเรือโทอภิวัฒน์  ศรีวรรธนะ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือและคณะ ได้เดินทางมาถวายพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ที่มณฑป ๙ ยอด ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ ค่ะ


IMG_1568.jpg



จุดธูป เทียน ถวายดอกบัว ดอกมะลิ  ลูกแก้วจักรพรรดิ ปิดทอง เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา  และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี สาูธุ สาธุ


IMG_1563.jpg



IMG_1564.jpg



เดี๋ยวเรามาน้อมใจกราบนมัสการรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทุกแห่งภายใน วัดพระพุทธบาทตะเมาะ พร้อมกันเลยนะคะ

(กล่าวนะโม ๓ จบ)  พระพุทธบาทะ  ยัง  ตัตถะ  โยนะกะปุเร  มุนิโร  จะปาทัง  ตัง  ปาทะวะลัญชะ  นะมะหัง  สิระสา  นะมามิ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1638.jpg



IMG_1608.jpg



IMG_1621.jpg



IMG_1677.jpg



มณฑป ๙ ยอด  ครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตะเมาะ อยู่ใกล้ มณฑป ๘๔ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท ค่ะ


IMG_1598.jpg



ประตูทางเข้า/ออก มณฑป ๙ ยอด  ครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1546.jpg



พระพุทธรูป ประดิษฐานบนที่ครอบรอยพระพุทธบาท ภายใน มณฑป ๘๔ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ค่ะ


IMG_1535.jpg



IMG_1525.jpg



พระพุทธรูป และ รูปภาพครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ประดิษฐานภายใน มณฑป ๘๔ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1550.jpg



IMG_1531.jpg



รอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายของพระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ประดิษฐานบนก้อนหินศิลาใหญ่โผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน ศิลานั้นกว้างประมาณ ๑ วา ยาว ๒ วา กว่า ประดิษฐานภายใน มณฑป ๘๔ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ค่ะ


IMG_1528.jpg



IMG_1516.jpg



ประวัติวัดพระพุทธบาทตะเมาะ


(แหล่งที่มา : วัดพระพุทธบาทตะเมาะ. ประวัติวัดพระพุทธบาทตะเมาะ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.wattamor.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538875311. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๕))


ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (หลวงพ่อวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เล่าให้พระมหานพดล  สิริวฑฺฒโน
เจ้าอาวาส วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ฟังว่า วัดพระพุทธบาทตะเมาะ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตกาลเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์แห่งกัปนี้ ได้แก่ พระพุทธเจ้ากกุสันโธ พระพุทธเจ้าโกนาคมนาคม พระพุทธเจ้ากัสปะ พระพุทธเจ้าสมณโคดม เคยเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ และประทับรอยพระพุทธบาทไว้ และเคยมีพุทธสาวกหลายองค์มาปฏิบัติและบรรลุธรรมที่สถานที่แห่งนี้

ภายในวัดยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง เช่น รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์, แท่นหินที่พระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ประทับไสยาสน์, รอยพระบาทของพระสาวกซึ่งเป็นพุทธอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้ากกุสันโธ, รอยพระบาทของพระฤๅษีที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ

ที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะแห่งนี้ เคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระฤาษี ๒ องค์ ซึ่งต่อมาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ สถานที่นิพพานของท่านทั้งสองอยู่บนแท่นหินภายในบริเวณวัด พระสรีระของท่านทั้งสองยังไม่ได้ประชุมเพลิง พระอินทร์ได้อัญเชิญพระสรีระขององค์หนึ่งไปไว้บนยอดเขาตะเมาะ ส่วนอีกองค์หนึ่งไว้ที่ยอดเขาดอยเกิ้ง เพื่อรอพระศรีอริยะเมตไตรยมาประชุมเพลิงด้วยพระองค์เอง ซึ่งบารมีของท่านทั้งสองยังคุ้มครองสถานที่แห่งนี้ให้ผู้มุ่งหวังปฏิบัติธรรมได้รับความสงบสุข (ชาวบ้านมักเห็นแสงไฟดวงกลมวิ่งไปมาระหว่างยอดเขาทั้งสองเสมอ)


IMG_1511.jpg



ประวัติวัดพระพุทธบาทตะเมาะ (ต่อ)

เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๒ หลวงพ่อวงศ์ได้พาคณะศิษย์ไปที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ซึ่งขณะนั้นมีพระชาวต่างประเทศมาจำพรรษาอยู่มาก ท่านได้เล่าให้พระมหานพดล  สิริวฑฺฒโน เจ้าอาวาส วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ฟังว่า ครูบาอภิชัยขาวปีเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้และจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ.๒๔๖๗ รวมเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ๓๓ ปี

หลวงพ่อวงศ์ได้บูรณะสถานที่สำคัญหลายแห่งภายในวัด เช่น มณฑป ๙ ยอด ครอบรอยพระพุทธบาท ฯลฯ และหลวงพ่อวงศ์ได้มาช่วยครูบาอภิชัยขาวปีก่อสร้างเป็นเวลา ๕ ปี สิ่งก่อสร้างที่เหลือไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชื่นชมอีกอย่างก็คือ กำแพงซึ่งทำจากหินล้วนไม่มีการใช้ปูนแต่อย่างใด กำแพงดังกล่าวเป็นแนวยาว ๒ ชั้นแต่ละชั้นยาวประมาณ ๑๐๐ เมตร

นอกจากแนวกำแพงหินแล้ว ในปีพ.ศ.๒๕๐๐ หลวงพ่อวงศ์ยังได้สร้างมณฑปไว้ด้วย มณฑปนี้เป็นรูปทรงล้านนาและทำจากไม้ทั้งหลัง ซึ่งในปัจจุบันจะหาช่างทำได้ยากเพราะมณฑปทั้งหลังใช้การเข้าลิ่มไม้ทั้งสิ้น จะใช้น๊อตยึดก็เพียงไม่กี่ตัวท่านเล่าให้ฟังว่า มณฑปนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ล้ำค่าของท่านเพราะต้องผจญกับมารหลายประการ เนื่องจากเขตวัดพระพุทธบาทตะเมาะขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนั้นทางการจังหวัดเชียงใหม่เข้มงวดเรื่องป่าไม้มากแม้จะนำมาสร้างเป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาก็ยังเป็นการลำบาก

ในระหว่างที่หลวงพ่อวงศ์มาทำการก่อสร้างที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะอยู่นั้น ท่านต้องพักผ่อนจำวัดที่ห้วยน้ำอุ่น (ปัจจุบันเป็นสถานปฏิบัติธรรม) ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดลำพูน และห่างจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะ ๕ กิโลเมตร กิจวัตรประจำวันของท่าน เริ่มด้วยตื่นเวลา ๔ น. สวดมนต์ทำวัตรจนถึงเวลา ๕ น.เดินทางจากห้วยน้ำอุ่นไปวัดพระพุทธบาทตะเมาะ มาฉันภัตตาหารที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ จากนั้นนำคณะศรัทธาก่อสร้าง โดยท่านเป็นผู้ควบคุมเอง ในช่วงเที่ยงวันคณะศรัทธาจะพักรับประทานอาหาร ขณะนั้นท่านฉันมื้อเดียวท่านจึงใช้เวลาที่คณะศรัทธาพักรับประทานอาหารนี้ไปก่อหินทำถนนระหว่างห้วยน้ำอุ่นกับวัดพระพุทธบาทตะเมาะซึ่งคณะศรัทธาอีกคณะหนึ่งได้นำหินมากองเรียงไว้

เมื่อถึงเวลาช่วงบ่าย ท่านก็จะกลับมาควบคุมการก่อสร้างที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะต่อไปจนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดินไม่สามารถมองเห็นลายมือแล้วจึงเดินทางกลับไปพักที่ห้วยน้ำอุ่น ระหว่างทางที่เดินทางกลับก็จะช่วยกันยกหินที่คณะศรัทธาอีกคณะหนึ่งเรียงกองไว้ นำมาทำถนนระหว่างทางไปเรื่อยท่านจะกลับถึงห้วยน้ำอุ่นประมาณ ๒๒-๒๓ น.ทุกวัน จากนั้นท่านก็จะสรงน้ำสวดมนต์ไหว้พระ เจริญกรรมฐาน และจำวัดประมาณ ๒๔ น. ตื่นเวลา ๔ น. ท่านใช้เวลา ๓ เดือน จึงก่อสร้างแล้วเสร็จนับเป็นความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง

เหตุที่ท่านไม่สามารถจำวัดและให้คณะศรัทธาพักที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะได้ เนื่องจากขณะนั้นครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ซึ่งเจ้าหน้าที่และคณะสงฆ์ของจังหวัดเชียงใหม่มีความเข้มงวดในระหว่างที่กำลังก่อสร้างอยู่นั้น ศิษย์ของครูบาอภิชัยขาวปีเกิดมีเรื่องกับเจ้าหน้าที่และคณะสงฆ์ของบ้านเมืองจนกระทั่งพระปันถูกจับสึกให้นุ่งขาวห่มขาวเป็นเหตุให้ครูบาอภิชัยขาวปีต้องย้ายจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะไปอยู่ที่วัดพระธาตุห้าดวงและพระพุทธบาทผาหนาม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูนเขตติดต่อกับวัดพระพุทธบาทตะเมาะ เมื่อสร้างมณฑปเสร็จแล้วก็ทำการฉลองกันอย่างรีบเร่งซึ่งเมื่อฉลองเสร็จหลวงพ่อวงศ์ก็ติดตามครูบาอภิชัยขาวปีไป

หลังจากเหตุการณ์สงบลงแล้วคณะศรัทธาเคยอาราธนานิมนต์ให้ครูบาอภิชัยขาวปีกลับไปที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะแต่ท่านก็ไม่รับนิมนต์ และบอกว่า "อีกหน่อยจะมีตุ๊ใต้มาอยู่กันเป๊อะเรอะ" (พระภาคใต้มาอยู่กันมาก ภาคใต้ตามความหมายของคนเหนือคือนับจากภาคกลางของประเทศไทยลงไป เป็นภาคใต้หมด) ส่วนหลวงพ่อครูบาวงศ์ท่านเคยบอกว่า "ถ้าไม่ได้อยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ก็จะมาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ"

ในอดีตวัดพระพุทธบาทตะเมาะเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากโดยเฉพาะในสมัยที่ครูบาอภิชัยขาวปียังจำพรรษาอยู่ที่วัดมีศรัทธาญาติโยมทั้งชาวไทยและชาวเขากระเหรี่ยงมาร่วมกันทำบุญเป็นจำนวนมาก มีการก่อวิหาร ที่พักของพระสงฆ์ และเสนาสนะอื่นๆ ภายในวัด นอกจากนี้ครูบาอภิชัยขาวปียังได้รับนิมนต์ไปก่อสร้างสาธารณประโยชน์ที่อื่นอีกมาก

ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๐ ครูบาอภิชัยขาวปีไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่น ซึ่งภายหลังจากที่ท่านจากวัดพระพุทธบาทตะเมาะไปแล้ว วัดก็ค่อยๆ เสื่อมโทรมลงจนกลายเป็นวัดร้างในที่สุด

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๕ พระอาจารย์นพดล สิริวฑฺฒโน ได้ย้ายจากวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม มาจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ซึ่งในช่วงแรกท่านได้สร้างเสนาสนะเท่าที่จำเป็นเพื่อการปฏิบัติธรรม ต่อมาจึงสร้างเสนาสนะเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรงครัว หอระฆัง แท็งก์น้ำ ศาลาปฏิบัติธรรมของญาติโยม และเมื่อถึงปีพ.ศ.๒๕๓๑จึงสร้างพระเจดีย์สามครูบาขึ้นมา เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ครูบาศรีวิชัย, ครูบาอภิชัยขาวปี และครูบาชัยยะวงศาพัฒนา




บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:31 , Processed in 0.042496 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.