คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"การปรารถนาไม่สมหวังเป็นของธรรมดา อย่าไปถือสาระเหล่านี้ขึ้นมาให้เป็นทุกข์ ( สัทธรรม 5 หรือสัจธรรม 5 มีความโดยย่อว่าเกิดมาแล้ว ก็ต้องป่วย ต้องแก่ ต้องตายเป็นธรรมดา ระหว่างมีชีวิตอยู่ก็ต้องพบกับความปรารถนาไม่สมหวัง และต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา) เมื่อได้ข่าวว่าใครตายก็จงปล่อยวางพฤติกรารณ์เดิมเสีย กรรมใครย่อมเป็นรรมมัน อย่าไปยึดถือเอากรรมของใครมาไว้ในใจ ทุกอย่างจบสิ้นไป ไม่ควรจักกล่าวถึงอีก แล้วจงอย่าไปตามรู้เลยว่าตายแล้วเขาไปไหน"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"เรื่องของร่างกายอันเป็นรังของโรค ร่างกายที่เป็นอยู่ในเวลานี้ถือว่าเป็นการชดใช้เศษกรรม ให้ยอมรับนับถือกฎธรรมดา ทำใจให้สบาย การเยียวยาจำเป็นต้องมีตามหน้าที่ อย่าไปเศร้าโสกเสียใจหรือหวั่นไหวไปกับอาการป่วยไข้ไม่สบาย สุขภาพไม่ดี ให้ระวังการทรุดโทรมของร่างกายเอาไว้ด้วย การทำงานก็พึงทำแต่พอควร อย่าหักโหมให้มากจนเกินไป ทำอะไรให้สบายใจเข้าไว้ อย่าทำด้วยความทุกข์ใจ"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"เมื่อรู้ว่าร่างกายไม่ค่อยดี จงอย่าประมาทในชีวิต จงหมั่นรักษาจิตอย่าให้ข้องติดอยู่ในโลกทั้งปวง เพราะโลกย่อมได้ชื่อว่ามีอันฉิบหายไปในที่สุด จงพยายามวางโลกเสียด้วยปัญญา พิจารณาตามความเป็นจริง ให้เอาอาการป่วยไข้ไม่สบาย มาเป็นกำลังใจวัดผลของการปฏิบัติ ดูความเกาะติดหรือปล่อยวางรูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ ได้แค่ไหน การยอมรับถือของกฎของกรรมจักต้องไม่มีอาหารดิ้นรนหรือเดือดร้อนไปกับอาการป่วยไข้ไม่สบาย ให้เอาประโยชน์ให้ได้จากการป่วยไข้ไม่สบาย"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"ขอยืนยันว่าการฝึกสติจักต้องอาศัยอานาปานุสสติเป็นหลักสำคัญ แต่มิใช่ทำอย่างเคร่งเครียด หากแต่มีสติรู้อย่างเนืองๆ การเผลอจักต้องมีบ้างเป็นของธรรมดา ถ้าเผลอรู้แล้วก็ตั้งต้นใหม่ ให้กำหนดรู้อย่างนี้ ทำบ่อยๆเข้าจิตก็จักชินในการรู้ลมหายใจเข้า-ออก สติ-สัมปชัญญะก็จักดีขึ้นตามลำดับ จงอย่ากลัวช้าขอให้มีความตั้งใจดำรงมั่นอยู่อย่างนั้น คามสำเร็จก็จักเกิดแน่นอน จงอย่าประมาทในชีวิตสุขภาพยิ่งไม่ดี ควรจักรักษาจิตให้ดีอย่าปล่อยจิตให้ไปตามกรรม พึงระมัดระวังอารมณ์ให้มาก"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"เรื่องความโกรธให้ยอมรับความจริงว่า การยังมีความโกรธอยู่ ทำให้ไปพระนิพพานไม่ได้ อย่าห่วงใคร-อย่าขุ่นเคืองใคร ให้ยอมรับนับถือกฎของกรรมตามความเป็นจริง กรรมใคร-กรรมมัน ก็จักละซึ่งความโกรธได้ ให้เห็นโทษของความโกรธที่ขวางกั้นมรรคผลนิพพานให้มากๆ แล้วดูด้วยว่าความโกรธนั้น ไม่มีคุณกับจิตใจเลยแต่สร้างความเดือดร้อน และทำให้จิตใจลงนรกมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน ต้องพยายามใช้ปัญญาละซึ่งความโกรธด้วยความตั้งใจละจริง จึงจักชนะความโกรธได้"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"ทำอะไรให้เห็นทุกข์ให้มาก และให้เห็นโทษว่าการทำเหล่านี้ การทุกข์เหล่านี้เนื่องจากการมีขันธ์ 5 เป็นปัจจัย ถ้าไม่มีขันธ์ 5 ก็ไม่ต้องมาทำหรือมาทุกข์อย่างนี้อีก ใจเย็นๆทำอะไรให้พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนจักได้ไม่ผิดพลาดไป ส่วนใหญ่เป็นเพราะจิตไม่ละเอียดพอขาดการพิจารณาใคร่ครวญในการทำงานทุกอย่าง แล้วจงอย่าห่วงใยอนาคตให้มากจนเกินไป อยู่กับปัจจุบัน"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"การพูดถึงแนวทางการปฏิบัติให้ใครฟัง ก็เหมือนการโอ้อวด จงอย่าทำ ให้ตอกย้ำความรู้สึกในการปฏิบัติอยู่ในจิตใจของตนเองให้มั่นคงอยู่เสมอ จึงจักเป็นของดี เพราะจักทำให้มีสติสมบูรณ์อันเนื่องมาจากการระลึกนึกถึงเอาไว้อยู่เสมอๆ ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง ให้หวนกลับไปดู เมื่อครั้งรักษาศีลเป็นอารมณ์อยู่เสมอ ฉะนั้นการพิจารณากายคตาก็เช่นกัน จักต้องทำให้ได้เช่นนั้นเหมือนกัน ถ้าทำยังไม่ได้ ให้รู้ว่ากำลังยังไม่พอกับการพิจารณากายคตา"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"จงดูร่างกายเข้าไว้ แล้วหมั่นพิจารณารูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณนี้ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5- ขั้นธ์ 5 ไม่มีในเรา ถ้าคิดได้อย่างนี้เป็นปกติจักไปที่ไหน จักอยู่ที่ไหน ก็เป็นสุข เพราะความห่วงใยอาลัยในขันธ์ 5 หรือร่างกายก็จักไม่มีเลย"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"รักษากำลังใจให้ทรงอารมณ์เฉย แล้วก็วางทุกอย่างตามความเป็นจริงเอาไว้เสมอ คิดให้มันชินพร้อมที่จักวางทุกสิ่งทุกอย่างในโลกตามความเป็นจริงเอาไวเสมอ รวมทั้งร่างกายด้วยการเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"รักษากำลังใจที่ต้องการจักไปพระนิพพาน อย่าให้ลดถอย แล้วเพียรทำปฏิปทาที่จักละความโกรธ ความโลภ ความหลงให้ได้อย่างจริงจัง เพราะความย่อย่นในบารมี 10 บางประการ ให้หมั่นสำรวจบารมี 10 อยู่เสมอๆแล้วทำให้ทรงตัวให้ได้ แล้วกรรมฐานที่ยังบกพร่องอยู่ก็จักดีขึ้นเอง กรณีที่ขาดหรือยกเว้นไม่ได้ คือการพิจารณาร่างกายตามความเป็นจริง ไม่ว่าจักเป็นธาตุ 4 อาการ 32 กายคตานุสสติ อสุภกรรมฐาน หใอย่าทิ้งอริยสัจ คือเห็นตามความเป็นจริงเอาไว้เสมอ แล้วความก้าวหน้าในการละของจิตจักมีมากขึ้น"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"ทำอะไรอย่าหวังผลตอบแทน ให้ดูอารมณ์ของจิตในจุดนี้เอาไว้เสมอ การทำทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่หวังผลตอบแทนจิตก็จักโล่ง ไม่มีอะไรเนตัณหาอยู่กับจิต แต่ถ้าใครเขาจักให้อะไรมาก็รับไว้ อย่าไปยินดียินร้ายทำจิตให้เป็นปกติ อย่าให้ความโลภยินดีในทรัพย์ที่เขาให้มา กำหนดจิตโมทนาในความดีของเขาที่ให้ รักษากำลังใจจุดนี้เอาไว้ให้ดี อย่าพลาดจากกำลังใจละจากกิเลสเพื่อพระนิพพานอย่างจริงจัง"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"อารมณ์รักพระนิพพานจริงๆคือในขณะที่กำหนดภาพพระอยู่ ก้พิจารณาอารมณ์ของจิตไปด้วย ให้ลงตรงว่า สัพเพ ธัมมาอนัตตาติ พระนิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง จิตนี้ต้องดูอารมณ์ให้ว่างจากกิเลส ให้ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกพังหมด ขันธ์ 5 ของเราก็พัง โลกนี้ทั้งโลกไม่มีอะไรเหลือ ชำระจิตให้อย่ายึดเกาะ ไม่ว่าขันธ์ 5 หรืออายตนะสัมผัส โดยฝึกจิตให้ยอมรับสภาวธรรมตามความเป็นจริงจนจิตโล่งโปร่งเบา ไม่มีอารมณ์กังวลใจใดๆทั้งหมด จิตตั้งอยู่ในธรรมว่างอย่างนี้ คือว่างจากกิเลสทั้งปวง เรียกว่าจิตนี้รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้จึงจักเป็นของจริงไม่ใช่กำหนดแต่รักภาพพระนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ในขณะเดียวกัน นิวรณ์เข้ามาเต็มอยู่ในอารมณ์เหมือนกัน อย่างนั้นใช้ไม่ได้ หากทำได้ก็เป็นเอกัตคตารมณ์ ถ้าทรงได้ขณะจิตหนึ่งก็เป็นพระอรหันต์ชั่วคราว ถ้าทรงได้ตลอดไปก็เป็นพระอรหันต์ตลอดชีวิต"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"อย่ากังวลใจ ในเมื่อจำเป็นต้องซื้อของเพื่องานของพระพุทธศาสนา ก็จงทำไปตามความจำเป็นนั้น และจงจำไว้ว่าทำอะไรอย่าทำให้เป็นที่เดือดร้อนของใคร แล้วจงอย่าทำอะไรให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ตัวเอง"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"จงอย่าสนใจในคำพูดของบุคคลอื่น ให้รู้ว่าระจิตของตนเองเป็นสำคัญ เอาเท่านั้นเป็นพอ"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
"จิตอยากคิด ก็ให้คิด จิตอยากพักก็ให้พัก อย่าฝืนเวทนาของจิต หากฝืนเวทนา มรรคผลเกิดได้ยาก"

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
กฎของกรรมคืออริยสัจ
“ ให้เห็นธรรมดาเข้าไว้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจ การกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ความปรารถนาไม่สมหวังนั้น เป็นเรื่องของกฎธรรมดา ไม่มีใครที่จักหลีกเลี่ยงไปได้”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“ถ้าไม่รู้จักทุกข์ ไม่เห็นทุกข์ มันก็ล่วงพ้นความทุกข์ไปไม่ได้ พระตถาคตเจ้าทั้งหลายสอนให้เห็นทุกข์ จักได้วางทุกข์ ปลดทุกข์ ละทุกข์เสียได้ จึงจักเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“หากพิจารณาให้ดีๆ จักเห็นได้ว่า โลกนี้ทั้งโลกมีแต่ความทุกข์ หาสุขที่แท้จริงไม่ได้เลย ให้เห็นตามความเป็นจริง อย่าให้สภาวะของจิตมันบิดเบือนความจริง เพราะตัวธรรมล้วนๆ ไม่มีการปรุงแต่ง มันเกิด เสื่อม ดับ อยู่เป็นปกติตามหลักของมหาสติปัฎฐาน ๔ คือ มีสติกำหนดรู้อยู่เสมอว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนเกิดดับๆ อยู่เป็นปกติธรรม จิตของเราเป็นผู้ไปรู้ธรรมนั้นๆ ผู้ใดไปยืด ไปฝืนกฎธรรมดาเข้าก็เป็นทุกข์ จงอย่าให้จิตของเรามีอุปาทานหลอกตัวเองปรุงแต่งธรรม ว่าดี ว่าเลว ว่าผิด ว่าถูก มองให้ลึกๆลงไป มันเป็นสภาวธรรมอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดา”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
สักกายทิฏฐิ “การมีขันธ์ ๕ ทรงอยู่นั้นเป็นทุกข์ เพราะเราฝืนบังคับมันไม่ได้ดังใจนึก ถ้าจะเปรียบเป็นการเจริญพระกรรมฐาน การยืนนาน เดินนาน นั่งนาน นอนนาน ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค มันทำให้เกิดทุกข์เกิดโทษมากกว่าคุณ”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
สักกายทิฏฐิ
“ความกลัวทุกสิ่งทุกอย่างก็ลงที่สักกายฏิฐิตัวเดียว ในเวลาหิว ในเวลาป่วย ในเวลาหนาว ในเวลาร้อน อะไรมันหิว มันป่วย มันร้อน มันหนาว เป็นเรื่องของกายทั้งสิ้น ไม่ใช่เรื่องของจิต”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“อย่าทำอารมณ์จิตให้หดหู่ไปกับอาการของขันธ์ ๕ นี้ ทุกข์ของกายเป็นเรื่องของกาย ย่อมเป็นไปตามกฎของกรรม จักฝืนกายไม่ให้มีเวทนาย่อมไม่ได้”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“อย่าทำอารมณ์จิตให้หดหู่ไปกับอาการของขันธ์ ๕ นี้ ทุกข์ของกายเป็นเรื่องของกาย ย่อมเป็นไปตามกฎของกรรม จักฝืนกายไม่ให้มีเวทนาย่อมไม่ได้”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“ให้ตรวจดูสภาวะที่ไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่มีในเรา เราจักผูกพันมันเพื่อประโยชน์อันใด”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“วางอารมณ์สังขารุเบกขาญานเข้าไว้ เห็นทุกข์ของร่างกายแล้ว จงกำหนดรู้ว่าทุกข์อย่างนี้เกิดขึ้นได้เพราะการมีร่ายกาย”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“ให้พิจารณาต่อไปว่า อะไรเป็นต้นเหตุให้เกิดมามีร่างกาย เพราะกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม เกาะติดจิตเรามาเป็นเหตุให้เกิดร่างกาย เราจักไปแก้ไขที่กายให้มันหายเกิดได้ไหม แก้ไขให้มันหายเจ็บหายป่วยก็ไม่ได้หายตลอด อย่างดีก็แค่ระงับทุกขเวทนาชั่วคราว ไม่นานมันก็ป่วยใหม่ ไม่นานมันก็แก่ มันก็ตาย ให้ตามรู้ความเป็นจริงของร่างกายนี้ แล้วหันมาแก้ไขอารมณ์จิตที่ติดในร่างกายนี้ดีกว่า จักได้พ้นทุกข์อย่างแท้จริง”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“ทุกอย่างต้องถูกกระทบก่อน จริงจักเป็นของจริงในพระพุทธศาสนา นักปฏิบัติกรรมฐานจักต้องวัดอารมณ์กันที่ตรงนี้ อย่าให้กิเลสมันหลอกเรา หากอยู่สงบๆ โดยไม่ถูกกระทบ ก็หลงคิดว่าตนเองแน่แล้ว จึงถูกกิเลสหลอกอยู่ตลอดเวลา” “เพราะฉะนั้น จงอย่ากลัวอารมณ์กระทบ ให้เอามาเป็นครู พิจารณาให้ลงตัวธรรมดา ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามสภาวะของธรรมซึ่งมีความไม่เที่ยงเป็นปกติ”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“ทุกอย่างต้องถูกกระทบก่อน จริงจักเป็นของจริงในพระพุทธศาสนา นักปฏิบัติกรรมฐานจักต้องวัดอารมณ์กันที่ตรงนี้ อย่าให้กิเลสมันหลอกเรา หากอยู่สงบๆ โดยไม่ถูกกระทบ ก็หลงคิดว่าตนเองแน่แล้ว จึงถูกกิเลสหลอกอยู่ตลอดเวลา”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“เพราะฉะนั้น จงอย่ากลัวอารมณ์กระทบ ให้เอามาเป็นครู พิจารณาให้ลงตัวธรรมดา ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามสภาวะของธรรมซึ่งมีความไม่เที่ยงเป็นปกติ”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“อย่าไปยืดเกาะความไม่เที่ยง เพราะมันทุกข์อยู่ตามปกติเป็นธรรมดา จงปล่อยวางทุกข์นั้นด้วยกำลังอริยสัจ ให้พิจารณาวนไปวนมาอยู่อย่างนี้เป็นปกติ มองความไม่เที่ยง มองความสกปรก มองความทุกข์ของร่างกายให้ชัดตามความเป็นจริง เพียรทำให้ได้ บารมีก็จักสะสมและเต็มได้ในที่สุด”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“อย่าไปสนใจกับการกระทำของบุคคลอื่น ใครเขาจักปฏิบัติอย่างไรก็เรื่องของเขา คุมอารมณ์จิตเราให้ปฏิบัติตัดสังโยชน์เข้าไว้ก็เป็นพอ และไม่ต้องไปตำหนิกรรมของใครว่าออกนอกลู่นอกทาง เพราะเหนื่อยเปล่า ไม่มีประโยชน์สำหรับบุคคลเหล่านี้”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“อย่าเกาะกรรมของชาวบ้าน จักทำให้จิตรุ่มร้อนไปกับการปฏิบัติของเขาด้วย เท่ากับเป็นการเบียดเบียนตนเอง วางอารมณ์ให้สบายๆ แล้วหันมาตัดสังโยชน์ที่เหลืออยู่ดีกว่า”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“ดูพรหมวิหาร ๔ เอาไว้ให้ดี พยายามเจริญให้มากๆ หากมีสิ่งใดมากระทบทางทวารทั้ง ๖ หรืออายตนะสัมผัสทั้ง ๖ หากจิตหวั่นไหวเกิดอารมณ์ ๒ พอใจกับไม่พอใจเข้าก็ถือว่าสอบตก เพราะอารมณ์ทั้ง ๒ เกิดแล้วล้วนเป็นทุกข์ ปิดกั้นความดีในการตัดสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ โดยตรง”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“อารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นกับจิตให้กำหนดรู้ แล้วพิจารณาอารมณ์นั้นขึ้นมา ให้เห็นว่าสร้างความสุข หรือสร้างความทุกข์ให้กับจิต แล้วให้หาสาเหตุว่า ทุกข์หรือสุขเพราะเหตุใด ทกข์ ทุกข์จริงหรือไม่ สุข สุขจริงหรือไม่ ให้โจทย์อารมณ์จิตของตนเองเอาไว้เสมอๆ แล้วจักแก้ไขอารมณ์ที่หวั่นไหวไปมาได้”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“ถ้าหากคิดจักห้ามใครไม่ให้ทำชั่ว ก็ควรคิดที่จักห้ามจิตของตนเองไม่ให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ยังจักได้ประโยชน์กว่า”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“ถ้าหากคิดจักห้ามใครไม่ให้ทำชั่ว ก็ควรคิดที่จักห้ามจิตของตนเองไม่ให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ยังจักได้ประโยชน์กว่า”

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
“ตั้งคำถามให้เกิดขึ้นกับจิต แล้วให้จิตหาคำตอบ ถาม-ตอบๆ อยู่ในนั้นเป็นปกติ จุดนี้จักทำให้จิตเกิดปัญญาและสามารถรู้เห็นตามเหตุตามผลอันเกิดจากการถาม-ตอบๆนั้น ทำให้จิตมันชิน เหนื่อยก็พักในสมถะภาวนา อย่าท้อถอย อย่ารีบเร่ง ทำตามสบายๆ อย่าเครียด แล้วจิตจักเป็นสุขในธรรมได้มากขึ้นตามลำดับ”