แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: Mr_Romeo
go

สำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์) ม.๑๒ ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-1006.jpg


ระมหาธาตุเจดีย์ศรีหริภุญชัย ประดิษฐานด้านหลัง วิหารบนยอดดอยขะม้อ สำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์)



Picture-1031.jpg


Picture-1033.jpg



Picture-1032.jpg



ระมหาธาตุเจดีย์ศรีหริภุญชัย สำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์)


Picture-1036.jpg



ซุ้มพระพุทธรูป ระมหาธาตุเจดีย์ศรีหริภุญชัย สำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์)


Picture-1018.jpg


คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(กล่าวนะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ


Rank: 8Rank: 8

Picture-1026.jpg


Picture-1000.jpg



Picture-1028.jpg


Picture-1027.jpg


รอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานด้านหน้า วิหารบนยอดดอยขะม้อ สำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์)


Picture-1029.jpg


Picture-1030.jpg


Picture-1021.jpg



รอยพระพุทธบาทจำลอง บนยอดดอยขะม้อ สำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์)


Rank: 8Rank: 8

Picture-1020.jpg


Picture-1047.jpg


Picture-1014.jpg


Picture-1009.jpg



บริเวณบ่อน้ำทิพย์ บนยอดดอยขะม้อ สำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์)

...ห้าม สตรีเพศเข้าบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ โดยเด็ดขาด เพราะเชื่อกันว่าจะทำให้น้ำแห้งเหือดไป


Picture-1017.jpg



ปากโพร่งหินบ่อน้ำทิพย์ บนยอดดอยขะม้อ สำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์) มีลักษณะเป็นบ่อที่เกิดขึ้นกลางพื้นดิน ปล่องกว้าง ๖ เมตร สูงประมาณ ๕ เส้น มีเชือกและบันไดเหล็กทอดลงไปเพื่อตักน้ำ


Picture-1013.jpg



Picture-1011.jpg



ผ้าตาข่ายและตะแกรงกันใบไม้ อยู่บนปากโพร่งหินบ่อน้ำทิพย์ บนยอดดอยขะม้อ สำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์) เพื่อป้องกันไม่ให้ใบไม้ ฯลฯ ตกลงไปในบ่อน้ำทิพย์


Rank: 8Rank: 8

Picture-1012.jpg



Picture-1010.jpg



บ่อน้ำทิพย์ บนยอดดอยขะม้อ สำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์)



Picture-1038.jpg



บ่อน้ำทิพย์ บนยอดดอยขะม้อ สำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ-บ่อน้ำทิพย์) มีลักษณะเป็นบ่อที่เกิดขึ้นกลางพื้นดิน ปากบ่อกว้าง ๓ เมตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเรียว ลึกลงไปเป็นรูปกรวย กล่าวกันว่า ความลึกของบ่อน้ำทิพย์ดอยขะม้อนั้นไม่สามารถลงไปวัดได้ และน้ำก็ไม่เคยแห้งเลย แต่ถ้าผู้หญิงเข้าไปในเขตน้ำจะแห้งทันที

นอกจากน้ำทิพย์จากดอยขะม้อจะใช้ในการสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยในเทศกาลแปดเป็งแล้ว ยังมีการใช้น้ำทิพย์แห่งนี้ในงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๖ ปี พ.ศ.๒๔๕๓ ทางราชการจังหวัดลำพูนได้นำน้ำจากบ่อน้ำทิพย์เข้าร่วมพิธีสรงน้ำศักดิ์สิทธิ์

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ก็ได้ใช้น้ำทิพย์จากดอยขะม้อในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วย กระทั่งในรัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงสรงน้ำมุรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ ทำพิธีเสกทำน้ำศักดิ์สิทธิ์ ณ มหาเจดีย์สถานและพระราชอารามต่างๆ ในราชอาณาจักร จำนวน ๑๗๘ แห่ง

น้ำทิพย์จากดอยขะม้อ ยังถือเป็นน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ ๑ ใน ๗ แห่ง ที่ได้จากแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศ ที่ได้นำไปในงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้ร่วมพิธีทั้งหลาย
ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีประเพณีตักน้ำทิพย์จากดอยขะม้อเพื่อไปสรงองค์พระธาตุหริภุญชัย ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ หรือเดือนแปดเป็งของทุกปี ส่วนประเพณีตักน้ำทิพย์จากดอยขะม้อนี้มีในเดือนแปดเหนือขึ้น ๑๒ ค่ำ ก่อนสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย ๓ วัน วันประเพณีตักน้ำจากบ่อน้ำทิพย์นี้ยังเป็นประเพณีขึ้นดอยขะม้อของพุทธศาสนิกชนทั่วไปอีกด้วย


Picture-1044.jpg



ตำนานบ่อน้ำทิพย์แห่งดอยขะม้อ



ตามตำนานเล่าว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จมาพักค้างคืนที่ ดอยห้างบาตร หลังจากทรงบิณฑบาตรในหมู่บ้านแล้ว จึงเสด็จขึ้นมาฉันภัตตาหารบนดอยขะม้อนี้ ขณะนั้นไม่มีน้ำเสวย จึงรับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำยังลำห้วยแห่งหนึ่งทางทิศเหนือของดอยนี้

เมื่อพระอานนท์ไปถึงลำห้วยนั้น ก็ตีบตันไปหมด ไม่สามารถตักน้ำได้ จึงกลับมากราบทูลให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระองค์จึงตรัสว่า ต่อไปภายหน้าคนทั้งหลายจะเรียกลำห้วยนี้ว่า "แม่ตีบ" แล้วพระอานนท์ก็ไปที่ลำห้วยด้านทิศใต้ บังเอิญมีเกวียนผ่านทำให้น้ำขุ่น ต้องรอท่าอยู่เป็นเวลานาน ฉะนั้นคำว่า "รอท่า" ภายหลังเปลี่ยนเป็น "แม่ทา"

แล้วพระอานนท์ก็ไปทางหนองน้ำด้านทิศตะวันตกของดอยขะม้อนี้อีก พญานาคก็ได้บันดาลให้น้ำแห้งไปหมด ต่อไปคนทั้งหลายจะเรียกว่า "หนองแล้ง" เมื่อเป็นดังนี้พระพุทธองค์จึงอธิษฐานใช้นิ้วพระหัตถ์กดลงบนแผ่นดิน ทันใดนั้นก็มีน้ำพุ่งขึ้นมาให้เสวยเป็นอัศจรรย์ (แต่รอยคล้ายกับปักไม้เท้าลงไป)

แล้วได้ตรัสพยากรณ์ว่า ดูกร อานนท์ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พระธาตุตถาคตจะไปตั้งอยู่ใจกลางเมืองหริภุญชัย ในสมัยพระยาอาทิตตราช แล้วคนทั้งหลายจักตักเอาน้ำแห่งนี้ไปสรงพระธาตุของตถาคต

----------------------


(แหล่งที่มา : พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๙ ธันวาคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๓ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๓๗๕-๓๗๖.)



Picture-1045.jpg



ตักน้ำทิพย์ใส่ถังขึ้นมา แล้วอย่าลืม...พกขวดน้ำมาใส่น้ำทิพย์กลับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-1054.jpg



Picture-1061.jpg



Picture-1016.jpg



Picture-998.jpg



Picture-1052.jpg



Picture-972.jpg



การเดินทางมาสำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ–บ่อน้ำทิพย์) ขอจบการเดินทางด้วยภาพวิวทิวทิศน์ตอนเดินลงดอยขะม้อ สวัสดีค่ะ

----------------------


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • สำนักสงฆ์ผาลาด (ดอยขะม้อ–บ่อน้ำทิพย์) อ.เมือง จ.ลำพูน
        •
นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์.    
        • พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๙ ธันวาคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๓ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 04:49 , Processed in 0.044529 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.