แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร บ.หลวง ม.๒ ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_6336.JPG



ตำนานพระบรมธาตุจอมทอง (ต่อ)

ตอนที่ ๘  ความเป็นมาแห่งพระบรมธาตุในกาลต่อมา

ส่วนพระอานันทะ เมื่อได้เห็นพระบรมธาตุเจ้าแล้วพิจารณาดูเห็นเป็นการถูกต้องตามตำนานนั้นทุกประการ จึงได้นำความไปบอกแก่พระมหาพุทฺธญาโณให้ทราบตามที่ตนได้เห็นมานั้น ส่วนพระมหาพุทฺธญาโณเถระเจ้าเมื่อทราบเช่นนั้นแล้วก็มีจิตปีติยินดียิ่งนัก จึงได้นำความไปทูลถวายพระพรพระรัตนราช เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ให้ทรงทราบทุกประการ

ฝ่ายพระรัตนราช (พระเมืองแก้ว หรือ พระยาเมืองแก้ว เป็นโอรสของพระยายอดเชียงราย ซึ่งสืบพระวงศ์มาจากพระยามังราย ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่)  เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อได้ทราบจากพระมหาพุทฺธญาโณว่า “พระบรมธาตุเจ้าได้เสด็จมาประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง ภายในอาณาเขตแว่นแคว้นของพระองค์เช่นนั้นแล้ว” ก็มีพระทัยยินดีปีติปราโมทย์เป็นกำลัง จึงรับสั่งแก่พระมหาพุทฺธญาโณเถระว่า

“ขอพระคุณเจ้าจงไปจัดการเริ่มปฏิสังขรณ์ปลูกสร้างพระวิหารหลังหนึ่ง ให้เป็น ๔ มุขเหมือนวิหารวัดชัยศรีภูมิ แล้วได้ก่อปราสาทหลังหนึ่งให้เหมือนปราสาทอันมีอยู่ในพระอุโบสถวัดมหาโพธิหลวง (วัดเจ็ดยอด) ไว้ภายในท่ามกลางพระวิหารนั้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าให้เป็นอัครสถานประเสริฐต่อไป”

ดังนี้ แล้วทรงประทานเงินหมื่นหนึ่งเพื่อเป็นค่าอุปกรณ์ในการก่อสร้าง พระเถระเจ้ารับคำพร้อมด้วยปะขาวนักบุญ และนายช่างทั้งหลายไปสู่วัดพระธาตุศรีจอมทอง แล้วร่วมกับเจ้าอาวาสเริ่มการปลูกสร้างพระวิหารและปราสาท ในปีชวดอัฏฐศก พ.ศ. ๒๐๖๐ ตามแบบที่พระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองนครสั่งนั้นทุกประการ

เมื่อการปลูกสร้างพระวิหาร และปราสาทสำเร็จบริบูรณ์แล้ว พระเถระจึงไปทูลถวายพระพรให้เจ้าผู้ครองนครทราบ พระเมืองแก้วเจ้าผู้ครองนครมีใจยินดีมากนัก จึงรับสั่งให้สุวรรณช่างทองสร้างโกศทองคำน้ำหนักได้ ๕๖๐ คำ เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุและพร้อมด้วยพระเถรานุเถระ เสนามาตย์ชาวบ้านชาวเมืองออกไปทำมหกรรมฉลองเป็นมหาปางใหญ่ แล้วเชิญพระบรมธาตุเจ้าเข้าไว้ในโกศทองคำตั้งไว้ภายในปราสาทนั้นแล้ว ทรงปลงพระราชทานวัตถุไทยทานและเครื่องแห่ไว้กับพระบรมธาตุเจ้าเป็นอันมาก และถวายข้าคนไร่นาตามเขตป่าที่ดิน ย่านน้ำ ไว้สำหรับให้ปฏิบัติรักษาทำนุบำรุงพระบรมธาตุให้เจริญถาวรต่อไปตลอด ๕,๐๐๐ พระวัสสา

ส่วนพระมหาสีลปญฺโญเถระ ผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองได้อยู่อุปฐากรักษาทำนุบำรุงพระบรมธาตุเจ้าได้ ๑๕ พรรษาก็มรณภาพไป ต่อจากนั้นพระมหาสังฆราชสทฺธมฺมทสฺสี ได้มาอยู่เป็นเจ้าอาวาสได้ ๑๖ พรรษาก็มรณภาพไป ต่อจากนั้นพระมหาสังฆราชามังคละมาอยู่เป็นเจ้าอาวาสได้ ๑๒ พรรษา ต่อจากนั้นพระสังฆราชาชวนปญฺโญโสภิตชิตินฺทริยวํโส จากวัดหัวคั้งหลวงมาอยู่เป็นเจ้าอาวาสได้ ๑๐ พรรษาก็มรณภาพไป และพระมหาสามิคณาจิตตะ ผู้เป็นศิษย์ได้อยู่เป็นเจ้าอาวาสแทนต่อมา

ถึง พ.ศ. ๒๑๐๐ ปีมะโรง เดือน ๔ (เดือน ๖ เหนือ) ทายกทายิกาศรัทธาทั้งหลายได้ไปนิมนต์พระมหาสังฆราชาญาณมงคละอยู่แคล้นทุ่งตุ๋มมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง ในสมัยนี้พระนางมหาเทวีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยพระยาอัครราชมารดา (พระแม่กุราชวงศ์มังรายที่ ๑๕) ได้มีจิตศรัทธานิมนต์พระบรมธาตุจอมทองเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ มีความเลื่อมใสยินดีในพระบรมธาตุเจ้ายิ่งนัก จึงถวายไทยทานเป็นอันมากคือเข้าของ เงินคำ ข้าคน ไร่นา ป่า ที่ดิน ย่านน้ำ เครื่องทาน ขันทรงน้ำ และสรรพเครื่องแห่ทั้งมวล โดยนัยดังพระรัตนราชาได้ถวายไว้แด่ภายหลังแล้วจึงมีพระราชเสาวนีย์รับสั่งแก่เสนาบดีผู้ใหญ่ทั้ง ๔ คือ พระยาแสนหลวง ๑ พระยาสามล้าน ๑ พระยาจ่าบ้าน ๑ พระยาเด็กชาย ๑ ว่า “ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป บรรดาข้าพระธาตุเจ้าจอมทอง ให้ยกเว้นอย่าได้ใช้สอย เก็บส่วย และเกณฑ์ไปทำการบ้านเมือง ให้เข้าอยู่อุปัฏฐากพระบรมธาตุเจ้าทุกวันคืนเป็นนิตย์อย่าได้ขาด ดังที่พระรัตนราชหากได้ประทานไว้นั้นทุกประการ” ส่วนเสนาบดีทั้ง ๔ รับพระราชเสาวนีย์แล้วก็จัดผู้คนไว้เป็นข้ารักษาพระบรมธาตุที่รับสั่งต่อมา

ถึงปีขาล สัมฤทธิ์ศกเดือนมาฆะ (เดือน ๓ ใต้เดือน ๕ เหนือ) ขึ้น ๕ ค่ำ วันพุธ พระยาสามล้านไชยสงคราม ได้มีจิตศรัทธามาใส่ช่อฟ้าป้านลมพระวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทองและสร้างถนนจากวัดพระธาตุศรีจอมทองไปถึงฝั่งแม่น้ำปิง ยาว ๙๒๐ วา ๒ ศอก กว้าง ๕ วา แล้วปลูกต้นไม้ต่างๆ ไว้สองข้างถนน ถวายผู้คนไว้เป็นข้าพระรัตนตรัย (ข้าพระธาตุ) ลงอาชญาใส่หลาบเงินตราหินไว้เป็นหลักฐาน

ถึง พ.ศ. ๒๑๘๒ พระเจ้ามังธาเจ้าหงสาวดี พระเจ้าแผ่นดินพม่าได้ยกทัพมาปราบลานนาไทยเชียงใหม่ไว้ในอำนาจแล้ว ได้ริบเอาทรัพย์ของพระศาสนาไปและวัดของพระพุทธศาสนาในที่บางแห่งได้ถูกทำลายเสียหายไปบ้านเมืองภูมิประเทศเขตแขวงแห่งนครเชียงใหม่จึงตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าในคราวนี้ (ตามที่เล่าต่อๆ กันมาว่า พระบรมธาตุจอมทองก็ได้ถูกพม่านำไปด้วย ครั้นนำเอาไปถึงเขตแดนพม่าแล้วเปิดผอบออกดูไม่มีพระบรมธาตุอยู่ในผอบนั้น ทั้งนี้ เนื่องจากบรมธาตุได้เสด็จกลับคืนมาประดิษฐานอยู่ในวัดพระธาตุจอมทองตามเดิม แต่ช่วงนี้ไม่มีตำนานกล่าวยืนยัน)

ถึง พ.ศ. ๒๑๘๒ พระเจ้าสุทโธธรรมราชา พระเจ้าแผ่นดินพม่าได้ตกแต่งเครื่องวัตถุไทยทาน ให้เสนานำมาถวายบูชา พระบรมธาตุเจ้าจอมทอง มีทั้งเครื่องอัฏฐบริขาร เครื่องแห่ คือ พัดค้าว จามรบังตะวัน เกือกทุ่งยู โคม ธงไชย ธงลาย ธงดอกคำ ธงช้าง ธงชัยเงิน และเครื่องสักการะอื่นๆ อีกเป็นอันมาก ตามเยี่ยงอย่างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ มีพระรัตนราช (พระเมืองแก้ว) เป็นต้น หากได้เคยถวายทานมาแล้วแต่หนหลัง

ถึง พ.ศ. ๒๓๑๔ ปีขาลโทศก เดือน ๕ (เดือน ๗ เหนือ) แรม ๑๑ ค่ำ วันจันทร์พระบรมธาตุเจ้าองค์ประเสริฐ ก็อันตรธานสูญหายไป นับตั้งแต่นั้นมาถึงปีมะแม ฉลก จุลศักราชล่วงได้ ๑๑๓๖ (พ.ศ. ๒๓๑๘) กษัตริย์เมืองอยุธยา ( คงจะหมายถึงพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน) ยกพลโยธามารบกับพม่าที่นครเชียงใหม่ได้ชัยชนะแล้ว ยกพลไปสู่นครหริภุญชัย นมัสการพระธาตุหริภุญชัยแล้วจึงแต่งตั้งให้พระยาจ่าบ้านเป็นผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระยาวิเชียรปราการ (หรือวชิระปราการกำแพงเพชร) เมืองเชียงใหม่จึงได้หลุดจากพม่ามาขึ้นกับไทยกลางส่วนใหญ่ตลอดมาจนทุกวันนี้

ถึง พ.ศ. ๒๓๒๒ พระยาวิเชียรปราการ (เดิมชื่อ พระยาจ่าบ้าน พระเจ้ากรุงธนบุรีพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาวิเชียรปราการ และให้ครองเมืองเชียงใหม่)  เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้มาคำนึงถึงพระบรมธาตุเจ้าจอมทององค์ประเสริฐ อันได้อันตรธานสูญหายไปแต่ พ.ศ. ๒๓๑๔ นั้น นานประมาณได้ ๙ ปีแล้วจึงได้เห็นนายช่างทองสร้างโกศเงินและโกศทองคำ เพื่อจะนำไปเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุเจ้า กับทั้งพระภิกษุสงฆ์ ๑๒ รูป มีท่านพุทธิมาวํโส ผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นประธาน ให้พร้อมกันไปทำพิธีอาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าตามโบราณประเพณีเป็นครั้งแรกก่อน พระบรมธาตุก็ยังไม่เสด็จมา ต่อมาเมื่อถึงเดือน ๕ (เดือน ๗ เหนือ) แรม ๑๓ ค่ำ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้นำโกศเงินโกศทองคำและเครื่องสักการบูชา มาอาราธนาพระบรมธาตุเจ้าเป็นครั้งที่ ๒ พระบรมธาตุเจ้าก็ยังไม่เสด็จมา

ต่อมาถึงเดือน ๖ (เดือน ๘ เหนือ) แรม ๑๓ ค่ำ (เห็นจะเป็นแรม ๓ ค่ำ เพราะต่อไปมีแรม ๔ ค่ำ ๙ ค่ำ) ท่านพุทธิมาวํโสผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุศรีจอมทองจึงได้ทำพิธีตั้งสัตยาธิษฐานว่า “พระยาวิเชียรปราการ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ปรารถนาสัพพัญญุตญาณ ถ้าความปรารถนานั้นจักสำเร็จดังมโนรถแล้ว ขออัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าจงเสด็จมาปรากฏในคูหาปราสาททองเก่าเทอญ” เมื่ออธิษฐานแล้วถึงวันแรม ๔ ค่ำ เวลาก่อนงาย (๐๙.๐๐ น.) พระบรมธาตุเจ้าก็ได้เสด็จออกมาปรากฏในคูหาปราสาทตามคำอธิษฐานของพระเถระเจ้านั้นแล้ว

พระเถระเจ้าจึงได้มีสมณสาส์นไปถวายพรแด่พระยาวิเชียรปราการเจ้าผู้ครองให้ทราบ ตามที่ตนได้อธิษฐานนั้นทุกประการ ฝ่ายเจ้าผู้ครองนครเมื่อได้ทราบแล้วมีใจปีติยินดีซาบซ่านไปทั่วสรีระกาย จึงได้ตกแต่งเครื่องวัตถุไทยทานนานาประการเป็นอันมากนำไปถวายบูชาแด่พระบรมธาตุเจ้า กับทั้งพระภิกษุสงฆ์ในวันเดือน ๖ (เดือน ๘ เหนือ) แรม ๙ ค่ำ เวลา ๕ โมงเย็นแล้ว ได้จัดแจงผู้คน ไร่นาไว้เป็นข้าพระบรมธาตุ เพื่อให้อยู่ปฏิบัติรักษาพระบรมธาตุเจ้าตามประเพณีที่พระรัตนราช (พระเมืองแก้ว) หากได้กระทำมาแต่หนหลังได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าไปในเมืองเชียงใหม่ ทำการสระสรงและถวายทานต่างๆ นานได้ ๗ วัน ๗ คืน แล้วจึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้า กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม

ต่อมาถึงปีฉลูศก พ.ศ. ๒๓๖๑ (เป็นแผ่นดินรัชกาลที่ ๒ (พระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ครองกรุงเทพ) เดือน ๔ (เดือน ๖ เหนือ) ขึ้น ๑๓ ค่ำ เจ้าเสตหัตถี (พระเจ้าช้างเผือก) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้มีศรัทธา ไปปฏิสังขรณ์พระวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทอง พร้อมด้วยเสนามาตย์ราชบริพารและพะรภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมาก ถึงปี พ.ศ. ๒๓๖๓ พระเจ้าช้างเผือกนครเชียงใหม่ เสด็จไปปิดทองเสาพระวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทองและก่อกำแพงวัด แล้วมีการถวายทานตามประเพณีนิยม

ต่อมาถึงปีจุลศักราช ๑๑๘๕ (พ.ศ. ๒๓๖๗) เจ้าสุภัทระ คำฝั้น ให้เอาทองออกสร้างโกศสำหรับบรรจุพระบรมธาตุเจ้าจอมทองสิ้นทอง ๒๒๒ คำ และสร้างโกศเงินบรรจุพระบรมธาตุสิ้นเงิน ๘๐๐ ดอก แล้วอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าให้เข้าไปโปรดเมตตาในเมืองเชียงใหม่ในปีจุลศักราช ๑๑๘๖ (พ.ศ. ๒๓๖๘) และได้ชักชวนเสนามาตย์ ชาวบ้านชาวเมืองทั้งมวลมาถวายวัตถุไทยทานบูชาพระบรมธาตุเจ้าเป็นอันมาก มีผู้ศรัทธาได้นำปัจจัยมาถวายบูชาพระบรมธาตุคราวนั้นคือเงินเธาะ ๘,๗๐๐ เงินเจียง ๒๕๐ แล้วอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้ากลับคืนไปที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๒ เดือน ๔ (เดือน ๖ เหนือ) วันเพ็ญ เจ้ามหาอุปราชา (ตำนานการปฏิสังขรณ์บอกว่ากรุงเก่า แต่ที่ถูกคือ กรุงเทพฯ) ได้ไปทำการมหกรรมฉลองพระวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นมหาปางอันใหญ่

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๐๕ ปีระกา เดือน ๕ (เดือน ๗ เหนือ) วันพุธ เจ้ากาวิโรรสเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทำการฉลองหอพระไตรปิฎกวัดหัวข่วงได้มีไทยทานเป็นอันมาก ให้นำไปถวายบูชาพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง คือช้างพระที่นั่งใส่เครื่องดาวเงินกูบคำ ม้าพระที่นั่งประดับดาวเงิน ดาบฝักทอง ๑ เล่ม (ดาบฝักทอง ฝักเงิน ยังมีอยู่จนบัดนี้) ดาบหลูบเงิน ๑ เล่ม พระพุทธรูปทองคำ ๑ องค์ พระพุทธรูปนาค ๑ องค์ พระพุทธรูปเงิน ๑ องค์

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๑ เจ้าอินทวิชานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ได้มีการบำเพ็ญกุศลถวายทานฉลองพระธรรมที่ทรงสร้างขึ้นที่วัดเชียงยืนในจังหวัดเชียงใหม่ ได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าจอมทองเข้าไปในเมือง โปรดถวายช้างพระที่นั่งประดับด้วยดาวเงินกับทั้งเครื่องศรีจอมทองตามเดิม

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๖๕ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่พร้อมด้วยพระราชชายา (เจ้าดารารัศมี) ได้รับสั่งพระนายกคณานุการให้จัดการปฏิสังขรณ์พระวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทอง อันเจ้าธรรมลังการช้างเผือกสร้างไว้นั้น (สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๑) สำเร็จบริบูรณ์แล้วถึง ๗ เดือน (เดือน ๙ เหนือ) วันเพ็ญ จึงไปพร้อมกันทำบุญถวายทานฉลองพระวิหารเป็นมหาปางอันใหญ่ พร้อมทั้งสระสรงพระบรมธาตุเจ้าด้วยสุคันโธทกเป็นงานมโหฬารยิ่งในกาลนั้นแล

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๐ พระสุวรรณโมลีศรีบรมธาตุบริหาร (คำ อคฺตปญฺโญ ป.ธ ๖ นธ. เอก) เจ้าคณะอำเภอจอมทองได้เป็นประธานปฏิสังขรณ์ พระวิหารที่ประดิษฐานพระบรมธาตุจอมทอง เป็นการซ่อมใหญ่ครั้งที่ ๖ นับตั้งแต่เริ่มสร้างมาได้เปลี่ยนช่อฟ้าใบระกา กอนระแนง เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาเป็นกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแก่ หล่อฝาผนังวิหารเล็ก เจาะประตูหน้าต่างด้านข้างและด้านหลังใหม่ ตกแต่งให้สวยงาม สร้างเซฟเก็บพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน เพชรนิลจินดา สิ่งของที่มีผู้บริจาคไว้บูชาพระธาตุแต่โบราณกาล ดัดแปลงแท่นพระในพระวิหาร เสร็จแล้วทำการฉลองเป็นการใหญ่ สิ้นทุนทรัพย์ในการซ่อมใหญ่ครั้งที่ ๗ นี้ ๒๑๒,๔๒๑.๙๗ บาท (สองแสนหนึ่งหมื่นสองพันสี่ร้อยยี่สิบเอ็ดบาทเก้าสิบเจ็ดสตางค์)

ต่อมาด้วยความพยายามของพระสุวรรณโมลี วัดพระธาตุศรีจอมทอง ได้รับพระราชทานยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๐๖

ต่อมา พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนา

ต่อมา พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

มีประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ทิศอุดร



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6275.JPG



จุดธูป เทียน ถวายดอกไม้ ลูกแก้วจักรพรรดิ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ค่ะ สาธุ สาธุ


IMG_6296.JPG



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร  พร้อมกันเลยนะคะ

(กล่าวนะโม ๓ จบ)  วันทามิ  เจติยัง  สัพพัง  สัพพัฏฐาเนสุ  ปะติฏฐิตา  สะรีระธาตุโย  เกศาธาตุโย  อะระหันตา  ธาตุโย  เจติยัง  คันทะกุฏิง  จะตุละสี  ติสสะหิสเส  ธัมมักขันเธ  สัพเพสัง  ปาทะเจติยัง  อะหังวันทามิ  ธาตุโย  วันทามิทุระโส  อะหังวันทามิ สัพพะทา  อะหัง  วันทามิ  สิระสา ฯ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6650.JPG



IMG_6324.JPG



IMG_6333.jpg



IMG_6224.JPG



รูปปั้นสิงห์ ประดับบนกำแพงแก้ว องค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ


IMG_6661.JPG



รูปปั้นสิงห์แบบหันหน้า ๔ ทิศ ประดับบนมุมกำแพงแก้ว องค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ


IMG_6343.jpg



ฉัตรสัปทน ประดับมุมทั้งสี่ทิศ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6197.JPG



IMG_6198.JPG



IMG_6225.JPG



IMG_6195.JPG



พระเจดีย์บริวาล (พระธาตุน้อย) ประดิษฐานบริเวณด้านหลัง พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร  ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าอายุประมาณ ๓๐๐ ปี ได้รับการบอกเล่าว่าสร้างโดยชาวพม่า เมื่อครั้งปกครองนครเชียงใหม่ ศิลปะเป็นแบบมอญ-พม่า สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นคู่กับพระบรมธาตุเจดีย์ ให้เกิดการสมดุลกัน ภายในบรรจุสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย แต่ไม่ได้บรรจุพระบรมธาตุไว้ภายในพระเจดีย์บริวาล (พระธาตุน้อย) ค่ะ


IMG_6328.jpg



IMG_6346.jpg



IMG_6355.jpg



เดี๋ยวเราไปกราบนมัสการพระบรมธาตุจอมทอง หลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน มณฑป แท่นบรรทม และชมศาสตราวุธโบราณ ภายใน พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร กันต่อเลยนะคะ  



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6556.JPG



IMG_6577.JPG



IMG_6565.JPG



พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อยู่ด้านหน้า พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นวิหารทรงจตุรมุขเหมือนวิหารวัดชัยศรีภูมิ สร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๖๐ ค่ะ


IMG_6375.jpg



IMG_6385.jpg



IMG_6378.jpg



IMG_6388.jpg



บันไดนาคทางขึ้น/ลง และรูปปั้นกุมภัณฑ์ ด้านหน้า พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6390.jpg



IMG_6393.jpg



พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรองค์จำลอง และรูปปั้นเทวดา ประดิษฐานบริเวณประตูทางเข้า/ออก ด้านหน้า พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ


IMG_6540.JPG



IMG_6533.JPG


ภายใน พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6411.JPG



IMG_6452.JPG



มณฑปปราสาท ภายใน พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร สร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ.๒๐๖๐ โดยมณฑปปราสาทใช้แบบเหมือนมณฑปปราสาทอันมีอยู่ในพระอุโบสถ วัดมหาโพธิหลวง (วัดเจ็ดยอด) ค่ะ


IMG_6420.JPG



IMG_6427.JPG



มณฑปปราสาท ภายใน พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุส่วนพระเศียรเบื้องขวา มีขนาดโตประมาณเมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือนดอกบวบ หรือสีคล้ายดอกพิกุลแห้ง พระธาตุกระดูกด้ามมีดเบื้องขวา (พระอัฐิขากรรไกร) สัณฐานเป็นรูปสามเหลี่ยมเท่าเมล็ดข้าวสารหัก และพระบรมธาตุย่อยอีก ๕ องค์  เท่าเม็ดพันธุ์ผักกาด โดยพระบรมธาตุเจ้าถูกนำเข้าไว้ในโกศทองคำตั้งไว้ภายในมณฑปปราสาท ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6414.JPG



IMG_6523.JPG



IMG_6429.JPG



หลวงพ่อเพชร พระประธาน ประดิษฐานด้านหน้า มณฑปปราสาท ภายใน พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร จำลองจากองค์จริงที่วัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร ค่ะ


IMG_6510.JPG



ภาพมงกุฎประดับผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ถ่ายภาพที่หอสรงน้ำพระธาตุ เมื่อปีพ.ศ.๒๔๐๙ ในภาพมีพระภิกษุชาวพม่าสองรูปยืนอยู่เบื้องหลังพระบรมสารีริกธาตุ บุคคลที่นั่งสักการะพระบรมธาตุด้านหน้าจากซ้ายไปขวา รองอำมาตย์เอกหลวงโยนะการพิจิตร (หลวงโยฯ/มองปันโย/ปันโหย่ อุปะโยคิน/พญาตะก่าและอูมิน น้องชาย แต่งกายแบบพม่า  

หลวงโยฯ เป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่า ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างและบูรณะวัดวาอารามมากมาย จนได้รับการยกย่องเป็นภาษาพม่าว่า พญาตะก่า หมายถึง ชายผู้สร้างพระพุทธรูปและได้รับการเก็บรักษาไว้ในวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทอง โดยมงกุฎประดับอยู่ที่ยอดบนสุดของซุ้มพระพุทธรูปทองคำที่เจ้านายฝ่ายเหนือถวาย ขณะถ่ายภาพมองปันโยมีอายุ ๒๑ ปี ถวายภาพโดยนางประภาศรี(เตชะเสน) อุปะโยคิน บุตรสาวคนสุดท้องของหลวงโยฯกับแม่หน้อย)


IMG_6441.jpg


ที่ถวายสังฆทานพระบรมธาตุฯ และหลวงพ่อเพชร ภายใน พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ


IMG_6470.jpg


ร่วมทำบุญชำระหนี้สงฆ์ ภายใน พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6461.JPG



IMG_6463.jpg



IMG_6444.jpg



IMG_6471.jpg



พระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานด้านหลัง มณฑปปราสาท ภายใน พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6477.JPG



IMG_6448.JPG



รูปเทวดาประดับมุมทั้งสี่ทิศ มณฑปปราสาท ภายใน พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ


IMG_6445.JPG



IMG_6521.JPG



IMG_6473.JPG



ฉัตรสัปทน ประดับ มณฑปปราสาท ภายใน พระวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-9 00:46 , Processed in 0.052886 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.