แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้ ม.๖ ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

รูปหล่อพระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ๑๐ ชาติสุดท้าย

ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า

ประดิษฐาน ณ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้



IMG_0945.JPG



๑. พระเตมิยะโพธิสัตว์          บำเพ็ญเนกขัมมบารมี

๒. พระชนกโพธิสัตว์             บำเพ็ญวิริยบารมี
๓. พระสุวรรณสามโพธิสัตว์   บำเพ็ญเมตตาบารมี
(เรียงจากซ้ายมือ-ขวามือ)



IMG_0947.JPG



๔. พระเนมิราชโพธิสัตว์   บำเพ็ญอธิษฐานบารมี

๕. พระมโหสถโพธิสัตว์    บำเพ็ญปัญญาบารมี
(เรียงจากซ้ายมือ-ขวามือ)



IMG_0949.JPG



๖. พระภูริทัตโพธิสัตว์    บำเพ็ญศีลบารมี

๗. พระจันทโพธิสัตว์     บำเพ็ญขันติบารมี
(เรียงจากซ้ายมือ-ขวามือ)



IMG_0951.JPG



๘. พระนารทโพธิสัตว์            บำเพ็ญอุเบกขาบารมี

๙. พระวิทูรโพธิสัตว์              บำเพ็ญสัจจบารมี
๑๐. พระเวสสันดรโพธิสัตว์    บำเพ็ญทานบารมี
(เรียงจากซ้ายมือ-ขวามือ)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0922.JPG



IMG_0923.JPG



บันไดทางขึ้นไปวิหารพระพุทธชัยยะชนะมาร พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้


IMG_1076.JPG



วิหารพระพุทธชัยยะชนะมาร พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้ กำลังดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๗


IMG_1121.JPG



พระพุทธชัยยะชนะมาร พระพุทธรูปต่างๆ และรูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ประดิษฐานภายในวิหารพระพุทธชัยยะชนะมาร พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้


IMG_1128.JPG



พระพุทธชัยยะชนะมาร พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้ แกะสลักจากไม้ตะเคียนทอง สูง ๘ เมตร ๘๐ เซนติเมตร


IMG_1126.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ และรูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย) ประดิษฐานภายในวิหารพระพุทธชัยยะชนะมาร พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1073.JPG



IMG_1069.JPG



รูปพระมหาอุปคุต
พระแม่ธรณีบีบมวยผม และพระมหาฤาษี (เรียงจากขวามือ-ซ้ายมือ) ประดิษฐานข้างวิหารพระพุทธชัยยะชนะมาร พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้


IMG_1119.JPG



รูปพระมหาอุปคุต ประดิษฐานข้างวิหารพระพุทธชัยยะชนะมาร พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้



IMG_1116.JPG



IMG_1117.JPG



รูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม
ประดิษฐานข้างวิหารพระพุทธชัยยะชนะมาร พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้


IMG_1115.JPG


รูปพระมหาฤาษี
ประดิษฐานข้างวิหารพระพุทธชัยยะชนะมาร พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1089.JPG



IMG_1110.JPG



วิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้
กำลังก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๗


IMG_1101.JPG



IMG_1077.JPG



IMG_1093.JPG



พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) องค์ใหญ่ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้

พระนอนปางปรินิพพาน ยาว ๔๖ ศอก สร้างโดยพระป่านิกร ชยฺยเสโน (พระอาจารย์ป่านิกร ชัยยะเสโน) วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย จ.ตาก เป็นประธานดำเนินการสร้าง พร้อมศิษยานุศิษย์ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑


IMG_1114.JPG



พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) องค์เล็ก ประดิษฐานภายในวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้


IMG_1090.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ
ประดิษฐานภายในวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1103.JPG



IMG_1104.JPG



สมเด็จพระพุทธชัยยะมหามุนี พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้



IMG_1106.JPG



สมเด็จพระพุทธชัยยะมหามุนีทรงเครื่อง หน้าตักกว้าง ๔ ศอก พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้

จัดสร้างโดย พระป่านิกร ชยฺยเสโน (พระอาจารย์ป่านิกร ชัยยะเสโน) วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย จ.ตาก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑


IMG_1103.1.jpg



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน) ประดิษฐานข้างสมเด็จพระพุทธชัยยะมหามุนี พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้


IMG_1062.JPG



รูปปั้น
พระโคอุศุภราชสีแดง พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้

เป็นอนุสรณ์สถานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมัยที่พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพระโค มีพระนามว่า “อุศุภราช”


IMG_1061.JPG



รูปท้าวมหาราชทั้ง ๔ (ท้าวจตุโลกบาล) พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้


IMG_1015.JPG



IMG_1021.JPG



พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้

จัดสร้างโดย พระป่านิกร ชยฺยเสโน (พระอาจารย์ป่านิกร ชัยยะเสโน) วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย จ.ตาก พร้อมคณะศิษย์ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑


IMG_1019.JPG



พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้

ป้ายจารึก


" อันตัวพ่อ           ชื่อว่า         พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก         กู้ชาติ         พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน        ให้เป็น        พุทธบูชา
แด่พระศาสนา       สมณะ        พุทธโคดม
ให้ยืนยง              คงถ้วน       ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชี   ปฏิบัติ        ให้พอสม
เจริญสมถะ           วิปัสสนา     พ่อชื่นชม
ถวายบังคม           รอยบาท     พระศาสดา
คิดถึงพ่อ              พ่ออยู่        คู่กับเจ้า
ชาติของเรา          คงอยู่         คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา          อยู่ยง        คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา           ฝากไว้       ให้คู่กัน "


(พระจารึกในศาลพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร)


IMG_1016.JPG


คำไหว้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
(ตั้งนะโม ๓ จบ) โอม สิโน ราชาเทวะ ชะยะตุภะวัง สัพพะศัตรูวินาสสันติ   


IMG_1022.JPG



บ่อน้ำ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้

เนื่องจากเดิมสถานที่แห่งนี้ขาดแคลนน้ำ ทำให้การดำเนินการก่อสร้างต่างๆ เป็นไปอย่างยากลำบาก พระอาจารย์ป่านิกร ชัยยะเสโน ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐาน

อาศัยบารมีพระฤาษีและเทวดาผู้รักษาสถานที่แห่งนี้บันดาลน้ำใต้ดินไหลพุ่งออกมา เพื่อใช้ประโยชน์ของน้ำบาดาลในการก่อสร้างต่างๆ ณ พุทธอุทยานฯแห่งนี้ เมื่อทำการเจาะน้ำบาดาลแล้วปรากฏว่าน้ำใต้ดินไหลออกมา และน้ำยังไหลอยู่ตลอดจนกระทั่งบัดนี้


IMG_0955.JPG



ขอจบการเดินทางด้วยรูปภาพพุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้ ถ่ายภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๐ พ.ศ.๒๕๕๓ และพ.ศ.๒๕๕๗

และส่งท้ายด้วย ธรรมะคำสอนเรื่อง ลักษณะของทานและศีล โดยหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ที่ท่านได้เมตตาเทศนาอบรมศรัทธาญาติโยม เมื่อกลางเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๓๐ ณ ศาลาบาตร วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน และคำสอนของพระ
ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา

ซึ่งทางคณะศิษย์พระอาจารย์ป่านิกร ชัยยะเสโน ได้จัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์และธรรมะคำสอนของหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา แจกเป็นธรรมทานเป็นที่ระลึกเนื่องในงานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุยอดวิหารสัมพุทเธ วันอาทิตย์ที่ ๑๓ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ ณ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้

เพื่อจะได้ศึกษาปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของครูบาอาจารย์ที่แท้จริง เพื่อนำตนให้พ้นจากกองทุกข์ ค้นหาความสุขและนำมาใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวัน ให้มีสติและมีธรรมะ สวัสดีค่ะ

100150prueazd6zzanp4n1.png




ภาพ ณ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้ พ.ศ.๒๕๕๐


1.2.jpg


ภาพพุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้ ถ่ายภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๐ ตอนที่คณะตามรอยพระพุทธบาท (รุ่นแรก) เว็บแดนนิพพาน ได้เดินทางมากราบนมัสการพระพุทธบาทต่างๆ ในเขตอำเภอลี้ พ.ศ.๒๕๕๐


l41.png



ภาพ ณ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้ พ.ศ.๒๕๕๓


IMG_1651.jpg



IMG_1647.jpg



IMG_1649.jpg



IMG_1645.jpg



ภาพพุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้ ถ่ายภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓ ตอนที่ข้าพเจ้าได้พาสมาชิกเว็บแดนนิพพาน ๒ ท่าน จากกรุงเทพฯ เดินทางมากราบนมัสการพระพุทธบาทต่างๆ ในเขตอำเภอลี้ และได้ร่วมทำบุญถวายปัจจัยบูรณะพัฒนาพุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้ แด่พระอาจารย์ป่านิกร ชัยยะเสโน เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓


l41.2.png



ภาพ ณ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้ พ.ศ.๒๕๕๗


IMG_1131.JPG



IMG_1048.JPG



IMG_1055.JPG



IMG_1163.JPG



บรรยากาศบริเวณโดยรอบพุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้ ถ่ายภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๗



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

C1.jpg



คำสอนเรื่อง ลักษณะของทานและศีล

โดย

หลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา


เทศน์อบรมศรัทธาญาติโยมในศาลารับบาตร

เมื่อกลางเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๓๐

วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน

l44.png



ลักษณะของทานและศีล


นะโม ตัสสะ สาธะโว ดูราโสตุชน สัปปุริสทั้งหลาย ขอให้ตั้งโสตประสาท หู ตา ฟังยังรสพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ ว่าด้วยองค์ลักษณะของการให้ทาน และการรักษาศีล เมตตา ภาวนา ตามที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ เพื่อให้บุคคลทั่วไปและนักบวชทั้งหลายได้บำเพ็ญ เพื่อจะให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารให้ได้ถึงยังพระนิพพาน ดังเราจักเทศนาต่อไปนี้

ลักษณะของวัตถุทาน มีอยู่ ๗ พวกดังนี้


     ๑. อามิสทาน บุคคลหรือนักบวชทั้งหลาย หมู่ใดก็ดี ยามเมื่อขวนขวายหาของทานทั้งหลาย เช่น เสื้อผ้า ข้าว น้ำ โภชนาหาร และคิลานะปัจจัย (ยารักษาโรค) นั้น จงให้ได้มาโดยชอบธรรมแล้วให้ทานแก่พระภิกษุและสามเณรเรียกว่าให้ "อามิสทาน"


แต่ถ้าภิกษุสามเณรนั้นเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นลูกหลาน เป็นญาติ หรือเป็นมิตรสหาย ซึ่งรักใคร่ชอบพอกัน การให้เช่นนี้ก็มีอานิสงส์พอสมควร แต่ผลอานิสงส์ไม่มากนัก เพราะเหตุว่าให้เพราะใส่ใจว่าเป็นพ่อแม่พี่น้อง เป็นเผ่าพันธุ์ ฉะนั้นผลบุญจึงไม่กว้างขวาง แต่การให้ทานเพราะเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าจึงจะมีผลอานิสงส์กว้างขวางกว่า


ประการหนึ่ง ภิกษุตนใดฉลาดรู้ด้วยสวาทศิลป์อันเป็นภัยแก่ศาสนา คือ เป็นหมอดู เรียนรู้คาถาอาคมต่างๆ อันเป็นกิจของคฤหัสถ์ เพื่อสงเคราะห์คนทั้งหลายโดยหวังลาภสักการะเป็นผลตอบแทน ฝูงชนเหล่านั้นเข้าใจว่าภิกษุตนนี้เป็นผู้มีบุญสมภารอันกว้างขวาง ลาดรู้ทุกสิ่ง สามารถแก้ไขปัญหาของเขาทั้งหลายได้


เขาก็น้อมนำมายังวัตถุทานอันใดอันหนึ่งมาถวายเป็นทาน เพื่อแลกกับการบริการของภิกษุตนนั้น ทานนั้นก็ไม่มีผล เพราะภิกษุผู้รับของทานเป็นอาบัติโทษเท่ากับให้กินเปล่าๆ หาอานิสงส์ไม่ได้เลย อันนี้ได้ชื่อว่า "อามิสทานอันไม่ชอบธรรม เป็นอเนสนากรรม"


อีกประการหนึ่ง ภิกษุที่อยากให้คนรักและนำลาภสักการะมาให้ก็ประจบประแจงฆราวาส ไม่ใช่แม่ก็เรียกว่าแม่ มีอะไรก็เอาไปให้ เช่น ข้าวสุก ข้าวสาร ผ้าผ่อน เครื่องประดับตกแต่ง อุ้มลูกอุ้มหลานให้ งานบ้านงานเรือนของคฤหัสถ์


คฤหัสถ์ก็ยินดีว่าภิกษุเหล่านี้มาเรียกเป็นพ่อเป็นแม่ มาให้มาปันวัตถุทั้งหลายและก็ยังรักลูกหลานของตน ช่วยเหลือการงานทุกอย่าง เขาทั้งหลายก็เอาปัจจัย ๔ มาให้แก่เจ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น อันนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็น อามิสทาน ที่เป็น อเนสนากรรม หาผลอานิสงส์ไม่ได้เลย


อเนสนากรรมทั้งสองประการนั้น พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้ภิกษุกระทำ ภิกษุใดกระทำกรรมดังกล่าว ชื่อว่าเป็นมิจฉาชีพเลี้ยงชีวิตผิดศีลธรรม ตายไปก็ไปตกนรก และผู้ให้ทานนั้นก็เป็นบาป ตายไปก็ไปนรกเช่นเดียวกัน


ภิกษุเหล่านี้และอุบาสกอุบาสิกา ผู้เป็นโยมอุปัฏฐากภิกษุเหล่านั้นด้วยปัจจัย ๔ อันเป็นอเนสนากรรมซึ่งกันและกัน เมื่อตายไปก็เป็นสัตว์นรกกินอาจมของกันเป็นอาหาร ต่างคนต่างโทษกันไปมาต่างว่าให้กันว่าไม่ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า


ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า พวกเขามาอุปัฏฐากด้วยปัจจัย ๔ อันประณีต ทำให้เขาเกิดความเสน่หาในตัวเขาและทำให้เราเกิดตัณหาในปัจจัย ๔ ทั้งหลายเหล่านั้น จึงไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนสิกขาบทของพระพุทธเจ้า เขาทั้งสองพวกก็ถกเถียงกันไปมาอยู่ในนรกนั้นแล


    . ธัมมิกทาน คฤหัสถ์และนักบวชผู้ใดปรารถนาจะให้ทานก็ควรขวนขวายหาไทยทานอันชอบ คือ เงินที่ซื้อของทานนั้นก็ให้เว้นจากเงินที่ได้จากการฆ่าสัตว์ เงินที่ได้จากการขายอาวุธ ยาพิษ ขายเหล้า รับจ้างฆ่าคนและเงินที่ลักขโมยของคนอื่นมา เงินเหล่านี้ไม่ควรให้ทาน


ควรเอาเงินที่ได้มาโดยชอบธรรมไปซื้อของทานทั้งหลายมี ผ้า บาตร ข้าว น้ำ โภชนาหาร เสนาสนะปัจจัย เป็นต้น แล้วนำไปถวายแก่พระรัตนตรัย ด้วยใจศรัทธาแท้ ไม่ติดด้วยอามิสอันใดอันหนึ่งสักอย่าง


โดยรำพึงว่าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ หากเป็นศิษย์พระพุทธเจ้า ย่อมสั่งสอนบุคคลทั้งหญิงชายทั้งหลายให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม เมตตาภาวนา แล้วถวายทานแก่ท่านเหล่านั้น ทานนั้นก็จะได้ชื่อว่า "ธัมมิกทาน" มีผลอานิสงส์อันกว้างขวาง


ดังเช่น กากะอริยทุคคตะ ที่หุงข้าวต้มผักไปให้ทานแด่พระมหาเถรเจ้าองค์หนึ่ง แล้วรวยได้เป็นมหาเศรษฐีภายใน ๗ วัน อีกคนหนึ่งเป็นทุคคตะ (คนยากจน) ไปรับจ้างเศรษฐีได้ข้าวเปลือกมากะลาเดียวแล้วเอามาตำแล้วหุงเป็นข้าวยาคู แล้วให้ทานด้วยใจศรัทธายินดี ภายหลังก็ได้เป็นมหาเศรษฐี


    . อธัมมิกทาน ถ้าปัจจัยที่ซื้อของทานได้มาโดยมิชอบ คือ ได้จากการฆ่าสัตว์ ขายหอก ดาบ อาวุธต่างๆ ขายยาพิษ เหล้า ฝิ่น ยาเสพติดและการลักขโมยของคนอื่นมา ถ้าเอาเงินเหล่านี้มาแล้ว ไปซื้อของทานก็จะได้ชื่อว่า "อธัมมิกทาน" เหตุจากทานอันไม่ชอบก็หาผลไม่ได้


นอกจากนี้ การฆ่าสัตว์ให้เป็นทาน หรือยามเมื่อจักสร้างกุฏิ วิหาร เจดีย์ ได้ฆ่าสัตว์เลี้ยงคนงาน เลี้ยงเหล้า วิหารทานเหล่านี้ก็ได้ชื่อว่า "อธัมมิกทาน"


เหตุให้ทานโดยไม่ชอบธรรมก็หาผลอานิสงส์ไม่ได้ เทวดาก็ไม่จดบัญชีบุญอันนี้ แต่จดบัญชีการทำบาปแต่อย่างเดียว เพราะว่าสัตว์ตัวน้อย ตัวใหญ่ทั้งหลายก็ย่อมรักชีวิตของตน มีความกลัวตายเช่นเดียวกับคนและจะเป็นเวรสืบกันไปมาอีกด้วย


เป็นดังนางมัลลิกาเทวีในชาติก่อนนั้น นางได้สั่งฆ่าแม่เจียรตัวหนึ่งเป็นทาน ครั้นตายไปก็ไปตกนรก พ้นจากนรกแล้วก็มาเกิดเป็นสัตว์ให้แม่เจียรตัวนั้นฆ่า


อีกตัวอย่างหนึ่ง เป็นดังพระโพธิสัตว์ได้เกิดมาเป็นเศรษฐี ท่านได้ตกแต่งผ้ามหากฐินเป็นทาน คนทั้งหลายก็ปรึกษาว่าเราจะเอาอะไรมาเลี้ยงแขกดี มหาเศรษฐีก็ว่าแล้วแต่ท่านทั้งหลายเถอะ คนเหล่านั้นก็ฆ่าวัวตัวหนึ่งมาเป็นอาหารเลี้ยงแขก


เมื่อเศรษฐีตายไปก็ไปสู่นรก ส่วนวัวตัวนั้นก็ดักรออยู่ตามทาง ครั้นเห็นเศรษฐีมาดังนั้นก็วิ่งมาหา แล้วกล่าวว่าเราคอยท่านอยู่ทุกวัน บัดนี้ท่านมาถึงก็ดีแล้ว เราจักขวิดท่านให้ตายแล้วจะดูดเลือดและไขมันของท่าน เศรษฐีจึงถามว่าเราได้กระทำกรรมใดต่อท่าน วัวตัวนั้นก็เล่าถึงเหตุที่ต้องตายให้ฟัง


เศรษฐีจึงกล่าวว่า การถวายกฐินครั้งนั้นเราได้อุทิศส่วนกุศลไปให้ท่านด้วย วัวจึงว่าถ้าท่านได้อุทิศส่วนกุศลมาให้ข้าจริง ข้าก็คงจากการเป็นสัตว์แล้ว แต่บัดนี้ข้ายังเป็นสัตว์อยู่ ท่านคงไม่ได้อุทิศส่วนกุศลมาให้ข้าเป็นแน่


ทั้งสองก็เถียงกันไปมาแล้วก็พากันไปสำนักพญายมราช ยามนั้นพญายมราชจึงกล่าวกับศิริคุตตะอำมาตย์ว่า "ดูรา ศิริคุตตะอำมาตย์ ท่านจงพิจารณาดูบัญชีบาป-บุญของเขาทั้งสองดูเถิด" ศิริคุตตะอำมาตย์ก็เปิดบัญชีดูเห็นแต่บัญชีบาปอย่างเดียว บัญชีบุญไม่เห็นมี จึงแจ้งให้พญายมราชทราบ


พญายมราชจึงรำพึงว่า การถวายทานครั้งนั้นมีการฆ่าสัตว์ด้วยจึงหาอานิสงส์ไม่ได้ เทวดาไม่ได้จดลงบัญชีบุญ ครั้นแล้วจึงกล่าวกับเศรษฐีว่า ดูกรเศรษฐี ท่านจงอธิษฐานดูเถิด เขาก็ยกมือขึ้นพนมแล้วกล่าวว่า แม้นข้าได้อุทิศส่วนกุศลมาให้วัวตัวนี้จริงๆ ขอให้ได้เห็นอัศจรรย์อย่างใดอย่างหนึ่ง หากข้าไม่ได้กรวดส่วนกุศลให้วัวตัวนี้จริง ก็อย่าให้เห็นสิ่งอัศจรรย์ใดเลย


และจากนั้น เขาข้างขวาของวัวก็เป็นดอกไม้ ๕ พวก เขาวัวข้างซ้ายก็กลายเป็นน้ำสุคันโธทะกะ (น้ำหอม) ไหลหลั่งตกลงมา เป็นอันว่าเศรษฐีกรวดน้ำให้วัวจริง แต่ทานครั้งนั้นมีผลน้อยนัก ส่วนบุญจึงมาไม่ถึงวัว


พญายมจึงกล่าว ดูกรท่านเศรษฐี ของทานของท่านนั้นหาผลไม่ได้จริง หากแม้นท่านไม่ได้เป็นหน่อพุทธางกูร เราก็จะเอาท่านไปลงนรก ถึงแม้ท่านมีบุญมากนัก อบาย ๔ ท่านก็ไม่อาจจะเว้นได้ ก็จะได้ไปเกิดที่ใดที่หนึ่ง เราจะให้ท่านไปเกิดเป็นลูกพญานาค ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอบายอันหนึ่ง เศรษฐีผู้นั้นก็คือพระพุทธเจ้าของเรานี้


ดังนั้นผู้มีปัญญาทั้งหลาย ทำบุญทำทาน อยากให้มีผลอานิสงส์กว้างขวาง ก็ไม่ต้องฆ่าสัตว์ตัวน้อยตัวใหญ่เอาเนื้อเป็นทานสักอัน


     . ศรัทธาไทยทาน บุคคลหญิงหรือชายและนักบวชทั้งหลายผู้ใดก็ดี บังเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และใคร่จะได้ความสุข ๓ ประการ คือ สุขในเมืองมนุษย์ สุขในเมืองฟ้า และสุขในเมืองนิพพานเป็นที่สุด


แล้วพากันขวนขวายหาไทยทานอันชอบอันบริสุทธิ์แท้ ไม่ให้มีอามิสติดด้วยของไม่บริสุทธิ์ แล้วถวายทานนั้นแด่พระรัตนตรัย การให้ทานดังนี้ชื่อว่า ศรัทธาไทยทาน ของทานนั้นถ้าได้มาโดยบริสุทธิ์จะมากก็ดี จะน้อยก็ดี หาได้ตามกำลังของตน ถึงแม้วัตถุทานจะเป็นของต่ำต้อยก็ดี เป็นของที่ไม่ประณีตก็ดี เป็นของที่ประณีตสวยงามก็ดี


ให้ทำใจให้ปีติยินดีด้วยของทานนั้น แล้วจบของทานเหนือหัวด้วยคำว่า "สุทินนัง วัตตะ เม ทานัง นิพพานะปัจจะโย โหนตุ เม นิจจัง ดังนี้แล้วน้อมถวายทานด้วยมือของตน แล้วกล่าวว่า ปะริสุทธัง มุตตะ จะโก ดังนี้ไปเรื่อยๆ"


การที่มีใจระลึกบุญทานที่ตนได้กระทำ การกล่าวถวายทานด้วยปากของตนและถวายทานด้วยมือของตน ทั้งสามประการนี้ทำพร้อมกันก็ได้ชื่อว่า "ศรัทธาไทยทาน" มีผลอานิสงส์มากนักหาที่สุดไม่ได้ ถ้าเจตนาทั้งสามประการนี้ไม่พร้อมกันก็มีผลไม่กว้างขวาง


การถวายทานแล้วปรารถนาเอาความสุขในเมืองมนุษย์และเมืองสวรรค์นั้นใช้เวลานานกว่าจะหลุดพ้นทุกข์มีผละ (ผล) ไม่กว้างหลายและไม่ควรปรารถนาเอาตามตัณหาให้ปรารถนาเอาสุขในนิพพานอย่างเดียวจักมีผลกว้างขวางมากนัก


    . ทานะทาโส (ทาสะทาน) บุคคลหญิงชายผู้ใดก็ดีขวนขวายหาของทานที่เลวกว่าที่ตนบริโภคใช้สอย ของที่ดีให้ทานไม่ได้ก็เพราะเป็นข้าของตัณหาและตัณหาตัวนั้นก็มากั้นบังหัวใจไม่ให้ของทานที่เป็นของดี บุคคลผู้นั้นจึงได้ชื่อว่า "เป็นข้าของตัณหา"


เมื่อท่องไปในวัฏสังสาร (เวียนเกิด เวียนตาย) เกิดมาในภพชาติใดก็จะเป็นคนถ่อย ต่ำช้า ทุกข์ยากเข็ญใจ รูปชั่ว มีปัญญาต่ำทราม มีลูกเมียข้าวของใช้ทั้งปวงก็เป็นของเลวกว่าคนทั้งหลาย เหตุเพราะได้ให้ของไม่สวย ต่ำช้ากว่าที่ตนกิน บริโภคใช้สอย เป็นทานแต่อดีตนั้น


    . ทานะสหาโย (สหายะทาน) บุคคลผู้ใดให้ทานด้วยของที่เสมอกับที่ตนกินตนบริโภค คือ กินใช้อย่างไรก็ให้อย่างนั้นจะให้ของที่ดีกว่านั้นไม่ได้ เพราะตัณหามากั้นบังไว้ อันนี้ชื่อว่า "เป็นสหายแก่ทาน" บุคคลผู้นั้นเกิดมาในภพชาติใดก็จะมีรูปโฉมสติปัญญาปานกลาง มีของกินของใช้ในระดับปานกลางทุกอย่าง


    . ทานะสามิโก (สามิกะทาน) บุคคลผู้ใดขวนขวายหาของอันบริสุทธิ์ดีงามกว่าของที่ตนกินตนบริโภคให้เป็นทานด้วยใจอันบริสุทธิ์ โดยหวังนิพพานเป็นที่ไป อันนี้ก็ได้ชื่อว่า "ทานะสามิโก"


เพราะของทานเป็นเจ้าแก่เรา ผู้ให้ของทานนั้นเล็งเห็นยังภาวะทุกข์ทั้งหลายและกำจัดเสียอัจจเฉรธรรมความตระหนี่และตัณหา ความยาก ความหวงแหนตัวนั้นไม่ให้มาครอบงำกุศลจิตได้


บุคคลหญิงชายผู้นั้นเกิดมาในภพชาติใดก็จะมีรูปโฉมโนมพรรณอันงามยิ่งกว่าคนทั้งหลาย และย่อมเกิดมาในตระกูลอันประเสริฐ คือ ตระกูลท้าวพญา มหากษัตริย์ พราหมณ์บัณฑิต เศรษฐีอันมีข้าวของมากนัก จะมีวัตถุสิ่งใดก็ดี จะเป็นของสวยงามทุกอย่าง


ณ ชาติสุดท้ายที่จะถึงอรหัตผลก็อุดมประเสริฐนัก ประกอบไปด้วย เตวิชโช ฉฬภิญโญญาณ ดำดิน บินบนได้ทุกอย่าง ก็เพราะได้ให้ของทานอันยิ่งอันประเสริฐ


ส่วนผู้ที่ให้ทานประเภททานะสหาโย เกิดมาใช้ชาติสุดท้ายก็จะได้เป็นอรหันต์ในระดับปานกลาง และผู้ที่ให้ทานประเภททานะทาโส เกิดมาในชาติสุดท้ายก็เพียงแต่ตัดกิเลสต่างๆ ให้หมดไปพร้อมกับจิตนิพพานไป


บุคคลหญิงชายผู้ใดได้ให้ทานอันต่ำต้อย ก็ได้เสวยผลอานิสงส์อันต่ำต้อย ได้ให้ทานของอย่างปานกลางก็มีผลปานกลาง ได้ให้ทานอันยิ่งอันประเสริฐภายหลังก็ได้เสวยผลอันยิ่งประเสริฐทุกสิ่ง


a.png



เจตนาในการให้ทาน มี ๓ ประการดังนี้


     ๑. บุพพภาคเจตนา คือ เจตนาที่จะพิจารณาขวนขวายหาวัตถุทานทั้งหลาย มีผ้าจีวร เป็นต้น ให้ได้มาโดยชอบธรรม ยามเมื่อจะให้ทานนั้นควรทำใจให้ผ่องใส อย่าให้มีโทสะเกิดขึ้นได้ ให้มีใจยินดีดุจดังสมบัติจักมาถึงตนในวันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ อันนี้ได้ชื่อว่า "บุพพภาคเจตนา"


    . บุญจนะเจตนา คือ ยามเมื่อจะให้ทานนั้น ควรยกของทานขึ้นเหนือหัวกล่าวด้วยคำว่า "สุทินนัง วัตตะเมทานัง นิพพานะปัจจะโย โหนตุ เม นิจจัง" แล้วประเคนด้วยมือของตน แล้วให้รำพึงในใจว่าของทานนี้เป็นของประเสริฐบริสุทธิ์ อันอาจจะนำตัวเราให้เข้าถึงนิพพานโดยแท้ไม่ต้องสงสัย อันนี้ได้ชื่อว่า "บุญจนะเจตนา"


    ๓. อัปประภาคเจตนา คือ อะโห วัตตหัง วิคคัตตะ มะละมัจ เลนะ เจตตะสา วิหารา วิมุตตาจาโก ปณะญาติ ปวณีตโคสรโต ยาจะโยโก วัททัญญูวานาสัง วิภาคครัตโตติ แล้วให้ว่า มุตตะจาโคไปเรื่อยๆ จึงได้ชื่อว่า "อัปประภาคเจตนา"


การให้ทานอันประกอบไปด้วยเจตนาทั้งสามประการนี้ จึงจะมีผลอานิสงส์อันกว้างขวางแท้ ยามเมื่อจะให้ทานนั้น ก็อย่าขับซอร้องเพลง อย่าดื่มเหล้ามัวเมาอยู่ ถ้าจะกระทำดังกล่าว ก็เปรียบดังเอาแก้วลูกวิเศษทิ้งลงไปในขี้คน ทำให้เสียวรรณะเดชะแห่งแก้วนั้น


ถ้าแม้นให้ทานแล้วก็รำพึงถึงทานของตน ให้ภาวนาว่า "มุตตะจาโค" ไปเรื่อยๆ ก็เป็นดังเอาแก้วไว้ในไตรทองคำ แก้วลูกนั้นก็จะมีวรรณะงามผ่องใส


การให้ทานก็เพื่อหวังให้ถึงพระนิพพานในภายหน้า จึงไม่รักไม่เสียดายค่าข้าวของเงินทอง สละออกให้เป็นทานก็เป็นการกระทำที่ยากแท้ แต่กลับมากินเหล้า และขับร้องเพลง เล่นอยู่ ก็ทำให้เสียผลอานิสงส์ไป อานิสงส์ไม่กว้างขวาง


การกระทำเช่นนี้ ไม่ใช่วิถีทางของอริยเจ้าทั้งหลาย แต่เป็นวิถีทางของปุถุชน ทำให้ทานนั้นหม่นหมองเสียเปล่า การกล่าวของเจตนาสามประการก็จบเพียงเท่านี้


a2.png




ปัจจัยแห่งการให้ทาน มี ๒ ประการดังนี้


     ๑. อสังขารปัจจัย คือ หญิงชายผู้ใดก็ดี ต้องรอให้ผู้อื่นมาตักเตือนให้ทำบุญ ให้ทานรักษาศีลภาวนาจึงจะทำ หรือต้องมีคนชักชวนจึงจะทำเรียกว่าทำเพราะ "อสังขารปัจจัย" (ไม่ได้คิดทำเอง) การทำบุญเช่นนี้ ผลอานิสงส์ไม่กว้างขวางมากนัก


หากแม้นท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร เกิดมาในชาติใดก็ดี ถ้าจะมีบ้านช่อง เรือนสวน ไร่นา ทรัพย์สมบัติทั้งหลาย ต้องขวนขวายหามาด้วยตนเองจึงจะได้ (ได้มาด้วยความลำบาก) ในชาติสุดท้าย ยามเมื่อจักถึงยังนิพพานก็ต้องพากเพียรเรียนสมถะกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานอย่างหนัก จึงจะได้ดับทุกข์ทั้งปวงและเข้าถึงพระนิพพาน


    . สังขารปัจจัย คือ หญิงชายผู้ใดก็ดี หากมีใจเลื่อมใสศรัทธาด้วยตนเอง บังเกิดกุศลเจตนามักใคร่กระทำบุญทั้งหลายเป็นต้นว่า ให้ทานรักษาศีล ฟังธรรม เมตตา ภาวนา สร้างโบสถ์ วิหาร เจดีย์ โดยที่ไม่ต้องมีผู้ใดชักชวนได้ชื่อว่า "ทำบุญเพราะสังขารปัจจัย"


การทำบุญเช่นนี้ มีผลอานิสงส์กว้างขวางมาก จะเกิดมาในภพชาติใดก็ย่อมได้เกิดในตระกูลท้าวพระยา มหากษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เศรษฐีอันประเสริฐ มีรูปโฉมโนมพรรณสวยงาม มีคู่ครองก็เป็นสุวัจนา (พูดดี) อัทธานิยยาน (ชักนำไปไกล, ไปในทางที่ดี) เสมอใจทุกสิ่งและเป็นที่รักและสักการบูชาแก่บุคคลทั้งหลายมากนัก


แม้นเกิดในเมืองมนุษย์ก็ประเสริฐกว่าคนทั้งหลาย แม้นเกิดในสวรรค์ชั้นฟ้าก็ประเสริฐกว่าเทวดาและเทวบุตรทั้งหลาย ในชาติสุดท้ายก็จะได้ถึงยังนิพพาน ในชาตินั้นจะได้ฟังธรรมในสำนักพระอรหันต์ทั้งหลาย แล้วบังเกิดธรรมสังเวช ยกมือขึ้นบูชาพระรัตนตรัย กล่าวว่า นามะรูปังอะนิจจัง นามะรูปังทุกขัง นามะรูปังอะนัตตา ว่าไปเรื่อยๆ ก็จะได้บรรลุอรหัตผลในบัดเดี๋ยวนั้น


(ดังนั้นบุคคลผู้มีปัญญาก็ควรชำระเจตนาให้บริสุทธิ์จากบาปอกุศลแล้วจึงทำบุญให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ฟังธรรมไปเรื่อยๆ ก็จะได้ถึงสุขสามประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด)


a3.png




ลักษณะของการรับศีลแปด มี ๓ ประการดังนี้


     ๑. หินะศีล คือ หญิงชายผู้ใดก็ดีตั้งใจมารักษาศีลรับศีลก่อนเที่ยงครั้นตะวันบ่าย แล้วก็รับประทานข้าวตะวันตกดินแล้วก็พูดจาดิรัจฉานกถาอันไม่ดี กลับมาบ้านเรือนนอนในห้องเดียวกับลูกเมีย ถึงแม้จะต่างที่นอนกันก็ตาม คนเหล่านี้ได้ชื่อว่า "หินะศีล" รักษาศีลอย่างเลว


    . มัชฌิมศีล คือ รับศีลอย่าให้ล่วงตะวันเที่ยง ให้รับประทานข้าวได้สองมื้อ อย่าให้ล่วงตะวันเที่ยง แม้ว่าตะวันบ่าย นาทีสองนาทีก็ไม่ควร อนึ่งรับศีลแล้วก็ไม่ควรพูดเดียรฉานกถา พูดจาเหลวไหล ไร้สาระ ควรเจรจาด้วยคำอันเป็นทานกถา ศีลกถา ธรรมกถา


และให้ภาวนาวันละ ๒ ยาม ๓ ยาม (ยาม = เวลา, ครั้ง) กลางคืน ๒-๓ ยาม (ครั้ง) อย่าให้ขาด ถ้าได้ ๓ ยาม ก็ยิ่งดี ครั้นจักไปนอนถ้าหากเป็นเรือนกว้างใหญ่มีหลายห้องหลายประตูก็ใช้ได้ (กรณีที่อย่ารวมกับคนอื่น) หรือไปอยู่ยุ้งข้าว เรือน ห่างออกไปก็ได้


    ๓. อุตตมศีล คือ ให้ตื่นเช้า ชำระเนื้อตนก่อนสว่างแจ้ง ครั้นสว่างแจ้งเห็นลายมือแล้วจึงรับศีล ให้รับประทานข้าวมื้อเดียว ให้นอนเรือนห่าง (แยกจากคนอื่นหรือกุฏิ) หรือใต้ร่มไม้ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งหลาย ถ้าเป็นเรือนที่ไม่มีเด็กและผู้หญิงก็เหมาะดี


และให้ภาวนาทั้งสามยามให้ได้ ก็คือ ยามเช้า ยามเที่ยง และยามเย็น กลางคืนคือมัชฌิมยามนั้น เป็นต้น อย่าให้ขาด อย่าพูดกันมาก ให้รักษากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้สะอาด อย่าให้บาปเกิดได้


ให้รำพึงถึงศีลแห่งตน ตั้งแต่ปานาฯ อะทินนาฯ ถึงอุจจาฯ ให้บริสุทธิ์แท้ ให้รำพึงถึงศีลที่รักษาจะไม่ให้หม่นหมองและขาดเป็นบั้งเป็นท่อนเสียสักข้อหนึ่ง แม้นว่าชีวิตของเราจะขาดไปก็ขอรักษาศีลเอาไว้ให้ได้ เป็นดั่งแม่ที่รักษาลูกชายคนเดียวรักเสมอใจนั้นแล คือถ้าหากของมันติดอยู่ที่ใดมันก็ย่อมติดอยู่ที่นั้น


การรักษาศีลให้บริสุทธิ์นั้น ควรละเว้นของเคี้ยวของกินทั้งมวล ควรกินแต่น้ำหรือหมากหรือยาก็กินได้ หินะศีล และมัชฌิมศีล ยังกินส้มได้เว้นได้แต่ข้าวสตูก้อน ข้าวสตูย้อย ถั่วงาอันสุมด้วยข้าว เหล่านี้ไม่ควรกิน ผู้ที่รับศีลแล้วรักษาใจไม่ได้ ปล่อยใจให้คิดถึงการฆ่าสัตว์และลักของของท่านตราบจนถึงอุจจาฯ นั้น ข้อใดข้อหนึ่งก็ดี ศีลนั้นก็มัวหมอง


อีกประการหนึ่ง รักษาปากไม่ได้ ปล่อยให้พูดเกี่ยวกับการฆ่าสัตว์และลักของของท่านตราบถึงข้ออุจจาฯ ข้อใดข้อหนึ่งก็ดี และพูดจาด้วยดิรัจฉานกถาเหล่านี้ ศีลของตนก็ด่างพร้อยไปสิ้น


ประการที่สาม รักษาตนไม่ได้ มีใจรักใคร่ฆ่าสัตว์ เช่น ริ้น ยุง มดดำ มดแดง และลักของของท่าน แม้แต่ข้าวเม็ดเดียวก็ดี กล่าวคำมุสาวาท แม้แต่หลอกเด็กน้อยว่าแม่มึงจะมาก็ดี และผิดศีลตราบถึงอุจจาฯ นั้น ข้อใดข้อหนึ่งก็ดี ก็จะเท่ากับศีลขาดหมดทุกข้อ


คฤหัสถ์นั้นเมื่อรู้ว่าศีลของตนอาจบกพร่อง ก็ให้รีบขอศีลหรือสมาทานศีลใหม่ อย่าให้ล่วงวันนั้น ไม่ควรให้ศีลนั้นหม่นหมอง รับศีลแล้วไม่รักษาเป็นดั่งได้ลูกแก้ววิเศษแล้วซัดตกลงไปในขี้คนนั้นแล มีผลอานิสงส์ไม่กว้างไม่บริสุทธิ์


แม้นเกิดมาในภพชาติใดจะมีตัวตนและลูกเมีย เงินทอง ของกิน ของใช้ สิ่งใดก็ไม่บริสุทธิ์ ย่อมเป็นภัยอันตราย เหตุด้วยศีลไม่บริสุทธิ์นั้นแล ถ้ารักษาศีลบริสุทธิ์แท้ก็จะมีรูปงาม มีวรรณะส่องแจ้งใสงาม มีลูกเมียและข้าวของวัตถุสิ่งใดก็ดีก็เป็นสุวัจนาอัทธานิยยานะ ชักนำไปไกล ไปทางที่ดี เสมอใจทุกอันแล


l54 - Copy (2).png



(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : หนังสือสวดมนต์ที่ระลึกในงานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุยอดวิหารสัมพุทเธ ณ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีป ในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ หน้า ๕๙-๗๔.)



c5.jpg



คำสอนพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา

l28.1.png



๑. เว้นหมาพอศอก เว้นวอกพอวา เว้นคนพาลให้ไกลแสนโยชน์

๒. คนเราเกิดมาหนีทุกข์ไม่พ้นสักคน ไม่มีบุญก็ทุกข์ มีบุญก็ทุกข์ ยิ่งมีบุญมากก็ยิ่งทุกข์ ไม่เห็นใครมีสุขสักคน

๓. สุขอย่าง "คน" นี้ไม่มีหรอก สุขอย่างคนยังมีทุกข์ มีเงินเป็นแสนเป็นล้านก็ยังเป็นทุกข์กลัวเงินทองหาย จะเอาไปค้าขายก็กลัวโดนโกง

๔. ให้ยึดทาน ศีล ภาวนาเป็นหลักปฏิบัติ ไปไหนก็ได้ อยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่ขาดแคลน ปรารถนาอะไรก็ได้ ถ้าไม่ปฏิบัติเลยก็ไม่ได้

๕. การหนีกรรมนี้ต้องทำบุญไปเรื่อยๆ แล้วงดเว้นไม่กระทำกรรมชั่วทุกอย่าง

๖. การใช้กรรมนั้นต้องให้หมดไม่ให้มีสักฝุ่นธุลีหนึ่งก็จะไปนิพพานได้

๗. ถ้าปฏิบัติถึงขั้นตอนพระอริยะหนี (กรรม) ได้ แต่กรรมยังตามอยู่แต่เบาไป เช่น โทษจำคุกตลอดชีวิต โทษทุบตีก็เหลือแต่ด่า โทษด่าก็กลายเป็นเตือน

๘. ถ้าทำความดีได้ ก็แปลว่าหนีนรกได้ แต่หนีกรรมไม่ได้ ต้องเจออย่างแน่นอน และถ้าใช้หนี้ไม่หมดก็ไปนิพพานไม่ได้

๙. เรื่องโชคต่างๆ เรื่องเงิน เป็นเรื่องเล็ก โชคบุญเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าบุญมีกับตัวแล้ว นั่นหละเงินจะมา

๑๐. ทำบุญน้อยแต่เจตนาดีก็ได้บุญมาก เจตนาไม่ดีให้ทานมากก็ไม่ได้บุญ แล้วแต่เจตนา

๑๑. บำเพ็ญไปเรื่อยๆ ก็จะได้ถึงจุดหมาย ให้เอานิพพานอย่างเดียว สาธุ นิพพานัง ปะระมัง สุขัง โหนตุ

๑๒. ถ้าทำบุญจริงๆ แล้ว อย่าไปลืมบุญ ให้รักษาไว้ ภาวนาว่า มุตตะจาโค ไปเรื่อยๆ ให้เป็นบุญไปทุกวัน ปรารถนารำพึงไปทุกวัน บุญก็ไม่หาย

๑๓. ข้าวสุกปั้นเดียวนี้ ถ้าเอาไปขายจะได้ ๑๐๐ บาท ถ้าเอาไปใส่บาตรปรารถนาให้มีอาหารทุกชาติ ข้าวปั้นเดียวนั้นจะกินไม่หมดทั้งชาตินี้ และทุกชาติ

๑๔. คน ๓ ประเภท คือ
       ๑. มีเจตนาเอง ศรัทธาเอง หาได้ด้วยตนเอง ไปทำบุญเอง ได้บุญมากที่สุด

       ๒. อยากทำบุญ รอให้เขามาบอกก่อน ถ้าเขาไม่มาบอกก็ไม่ไป ถ้าเขามาบอกก็ไป บังคับเมื่อใดก็ไปเมื่อนั้น ถ้าไปอย่างนั้น คนที่มาบอกก็จะได้บุญครึ่งหนึ่ง เจ้าของทานได้ครึ่งหนึ่ง

       ๓. อีกพวกหนึ่ง บอกก็ไม่ไป ไม่บอกก็ไม่ไป

๑๕. ขณะนั่งภาวนา สมมุติว่าเราเป็นพระอรหันต์ครู่หนึ่ง เวลานี้ไม่มีสมบัติ ไม่มีพ่อแม่พี่น้อง ไม่มีตนไม่มีตัว เราจะไปนิพพาน ไม่เกี่ยวข้องกับอะไรทั้งสิ้น มันจะตายก็ตายไป ไม่ตายก็แล้วไป ภาวนาให้ไปนิพพาน

๑๖. เราจะเดินทางไปนิพพานจะทำอย่างไร จะขี่เครื่องบินก็ไม่ถึง ขึ้นจรวดก็ไม่ถึง ถ้าทำบันไดแก้ว บันไดทอง จะปรากฏมาเอง ไม่ต้องเดินเหนื่อย

๑๗. บางคนปรามาสบุญ คิดว่าเราไปวัดทุกวัน ทำไมจึงไม่มีความสุข มีคนอิจฉาริษยา มีคนรังแก ไม่ไปทำบุญจะดีกว่า ไปทำบุญก็ป่วยไข้ ไม่ไปทำจะดีกว่า คิดอย่างนี้ไกลนิพพาน

๑๘. ผู้ที่ประมาทในการทำบุญ คิดเสียว่าให้ทานบ่อยๆ ก็ยังทุกข์ คนที่ไม่ใคร่จะทำบุญให้ทานก็ยังมีสุข บุคคลเหล่านั้นจะไกลจากสุขยิ่งนัก

๑๙. คนที่ไปวัดมี ๓ ประเภท คือ     
       ๑. ไปขอพึ่งบารมีพระพุทธเจ้าเวลาเจ็บป่วย เดือดร้อน เวลาที่ดีไม่นึกถึง ถ้าไปก็ต้องเอาของมาล่อจึงไป      
      
       ๒. ใจไม่เข้าวัด มีแต่ความสงสัย แต่ไปขอโชคลาภ ไปหาหมอดู เช่นนี้จะไม่ได้บุญเลยสักนิดเดียว

       ๓. คนที่ตั้งใจจะไปทำบุญโดยเฉพาะ ตั้งสัจจะไว้ว่าจะมาก็มา

๒๐. เราอาศัยพระศาสนาเพิ่มบุญไปเรื่อยๆ วัดที่พระพุทธเจ้าสร้างไว้ ก็ผุพังไปตามกาลเวลา แต่บุญบารมีของพระองค์ก็ยังอยู่ แม้สถานที่จะหักพัง ถ้าเราตั้งใจทำบุญก็จะได้บุญเช่นเดียวกัน

๒๑. ศาสนาที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากทุกข์ มีศาสนาเดียว คือ ศาสนาพุทธ

๒๒. ทางทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ก็คือ ทาน ศีล ภาวนา เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จะดับทุกข์ในใจได้

๒๓. ถ้าเราไม่ยอมเป็นทุกข์ ก็คือ รัก (หวง) ทุกข์ พยายามไขว่คว้าหา ความสุข ก็จะยิ่งเพิ่มทุกข์ขึ้นอีก

๒๔. กิเลสมาร คือความอยากทุกอย่าง อยากได้ อยากดี อยากสวย อยากเป็นเศรษฐี อยากถูกล็อตเตอรี่รางวัล ที่อยากได้นิพพาน หายาก ไม่มีใครต้องการนิพพาน

๒๕. นิพพานอยู่ไกล ถ้าจะไปก็จะต้องออกเดินตั้งแต่วันนี้ อย่างไปทำบุญ ใส่บาตร ค่ำมาก็สวดมนต์ไหว้พระเจริญภาวนา ตัดกิเลสตัณหาทุกวัน

๒๖. คนที่ทำการชั่ว ไม่แน่ว่าจะเป็นคนไม่ดี ที่จริงมาใช้เวร ๕๐๐ ชาติ อย่างท่านองคุลีมาล

๒๗. คนเราเกิดมาจะมีติดตัวมาสองอย่างคือ วาสนาทำบุญ ๑ วาสนาบาป ๑ สองอย่างนี้เป็นเหตุ ถ้ามีวาสนาบาปก็จะบาปไปเรื่อยๆ วาสนาบุญก็จะทำบุญไปเรื่อยๆ

๒๘. คนทำผิดโทษก็ตกอยู่กับคนทำ เราไปเห็นแล้ว อย่าไปเก็บเอามาบ่นว่านินทาเล่าไม่รู้หยุด ทำให้เกิดโทษปัจจุบันขึ้นแก่เรา โทษอันนั้นจะเป็นกรรมเป็นเวร เรียกว่า โทษกรรม อย่างเราเห็นคนเขาฆ่าคนหรือสัตว์ เราก็เล่าให้คนฟังไปเรื่อยๆ ในที่สุดเราจะเป็นผู้ฆ่าคนๆ นั้นด้วยคำพูดของเรา ถ้าเราไม่เล่าให้ใครเรื่องนั้นก็จบ การเล่าควรเล่าพอดี อย่าเอาโทษมาให้เรา

๒๙. คุณอันใดดีให้หมั่นสร้าง อย่าได้อ้างแดนภายหลัง ความทุกข์เที่ยง มาทันไม่ร้าง ใครช่างสร้างจะเป็นบุญนักแล

๓๐. ศีลก็มีหลายข้อ ที่จริงแล้วมีหนึ่งคือ เจตนางดเว้นกรรมชั่ว


l54 - Copy (3).png



(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : หนังสือสวดมนต์ที่ระลึกในงานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุยอดวิหารสัมพุทเธ ณ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีป ในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ หน้า ๘๑-๘๖.)

(แหล่งอ้างอิงภาพพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา : หนังสือสวดมนต์ที่ระลึกในงานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุยอดวิหารสัมพุทเธ ณ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีป ในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖, หน้า ๕๗.)


p9.1.jpg



เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก

l21.1.png



หากผู้ใด           เห็นอานิสงส์    แห่งธรรมนี้

ชื่นเปรมปรีดิ์      เกื้อกูล            ให้ไพศาล

ก็ยินดี              อนุโมทนา        สาธุการ

ธรรมทาน          นั้นเลิศ            กว่าสิ่งใด

ปวงสัตว์โลก      ยังมืด              กันอยู่มาก

ทุกข์ลำบาก       เบียดเบียน       ไม่รู้สิ้น

เพราะโมหะ       บังตา              เป็นอาจิณ

จงช่วยกัน         เปิดโลกสิ้น       ด้วยพระธรรม

ก็จะมีแต่           ความร่มเย็น      สันติสุข

ปวงความทุกข์   ก็มลาย            ไปเหมือนฝัน

มีแต่                ความเมตตา      อภัยกัน

นิจนิรันดร์         เพราะใจนั้น       เห็นธรรมจริง


l20.1.png



(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : หนังสือสวดมนต์ที่ระลึกในงานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุยอดวิหารสัมพุทเธ ณ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีป ในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ หน้า ๑๐๔.)


----------------------


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้ อ.ลี้ จ.ลำพูน
         พระป่านิกร ชยฺยเสโน (พระอาจารย์ป่านิกร ชัยยะเสโน) เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย จ.ตาก และประธานสงฆ์พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีปแท่นดอกไม้
        • หนังสือสวดมนต์ที่ระลึกในงานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุยอดวิหารสัมพุทเธ วันอาทิตย์ที่ ๑๓ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ ณ พุทธอุทยานชัยยะสุขังปางประทีป ถนนลี้-ก้อ ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

        • หนังสือ “กึ๊ดหาเมืองสร้อย” ที่ระลึกในงานประเพณีขึ้นไหว้สาสรงน้ำพระบรมธาตุ ปอยหลวงศาลาสามพระครูบาเจ้า วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก วันที่ ๔-๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

**หมายเหตุ :


ท่านใดประสงค์จะนำรูปภาพหรือเนื้อหาบทความไปใช้ประโยชน์ที่อื่น สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากข้าพเจ้าก่อน


และได้โปรดกรุณาให้เครดิตอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มา : เว็บแดนนิพพาน และกรุณาอย่าลบหรือครอบตัดเครดิตแหล่งที่มาบนรูปภาพ “Photo by Dannipparn.com”


(ป.ล. หากว่ากระทู้บทความนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยในความผิดพลาดต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปไว้ ณ ที่นี้ด้วย และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 01:39 , Processed in 0.132115 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.