แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดถ้ำตับเตา ม.๑๓ ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_0115.JPG



IMG_0236.JPG



ด้านหลังพระพุทธรูปประธาน (พระเจ้าตนหลวง)  ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา จะมีโพรงลอดไปยังถ้ำปราสาท ผู้หญิงห้ามขึ้นไป ยังด้านบนแท่นประดิษฐานพระประธานค่ะ



DSC01080.JPG



DSC01047.JPG



IMG_0131.JPG



IMG_0127.JPG



IMG_0124.JPG



วิหารพระนอน ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา สร้างโดย หลวงปู่ครูบาธรรมชัย พ.ศ.๒๔๙๒ ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01059.JPG



IMG_0145.JPG



IMG_0141.JPG



IMG_0146.JPG



พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานภายใน วิหารพระนอน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา เป็นพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า ๙ เมตร หรือประมาณ ๕ วา สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนพอกด้วยยางไม้รักปิดทองในแบบศิลปะอยุธยา

ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ท่านสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรถ คราวพระองค์ยกกองทัพเพื่อจะเข้าตีพม่าและตีเมืองตองอูในประมาณปี พ.ศ.๒๑๓๕  และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพหลวงไปทางเชียงดาวพักพลที่เมืองหาง ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองในราชอาณาจักรไทยค่ะ



DSC01076.JPG


รูปปั้นพระอรหันต์และพระสงฆ์สาวก ล้อมรอบพระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานภายใน วิหารพระนอน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา แสดงถึงตอนพระพุทธเจ้าประชวร หลังจากรับบิณฑบาตจากนายจุนทะ ณ ถ้ำตับเตาแห่งนี้ พระพุทธองค์ก็ทรงประชวรและอาเจียน เนื่องจากอาหารเป็นพิษ พระภิกษุจำนวนมากได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตอนพระพุทธเจ้าอาพาธหนัก ขณะที่ทรงประชวรอยู่ก็ทรงประทับที่ถ้ำตับเตา ตามตำนานถ้ำตับเตาที่กล่าวไว้ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01082.JPG



ตำนานถ้ำตับเตา


(แหล่งที่มา : อินทร์ศวร  แย้มแสง ผู้ค้นคว้าเรียบเรียง. ประวัติวัดถ้ำตับเตา,  หน้า ๙-๑๓.)


ในสมัยตอนปลายสมัยพุทธกาล ขณะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์พรรษาชราภาพมากแล้ว หลังจากทรงตรากตรำพระวรกายในการเที่ยวประกาศพระศาสนาในถิ่นฐานต่างๆ จนมีพุทธสาวกและพุทธบริษัทสี่เป็นปึกแผ่น จนจะได้เวลาเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานตามคำทูลอาราธนาของพญามาร

พระพุทธองค์ได้เสด็จรับบิณฑบาตอาหารที่ประกอบขึ้นด้วยสุกรมัทวะจากนายจุนทะ เป็นเนื้อหมู (น่าจะเป็นเนื้อหมูเป็นโรค บ้างก็ว่าอาหารประกอบขึ้นจากเห็ดที่งอกจากหลุมฝังศพหมูตายด้วยโรค) หลังจากรับบิณฑบาต พระพุทธองค์ก็ทรงประชวร มีอาเจียนบ่อย เพราะอาหารเป็นพิษ ขณะที่ทรงประชวรอยู่นั้น ก็ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้ พร้อมด้วยพระอานนท์พุทธอุปัฏฐาก (ถ้ำแห่งนี้ยังไม่มีชื่อในขณะนั้น ก็คือถ้ำตับเตาในปัจจุบันนี้เอง)

ขณะที่พระองค์ประทับพักพระวรกายที่ถ้ำ ความได้ทราบถึงพระสงฆ์สาวกจำนวนหนึ่ง ๕๐๐ รูป ก็พากันเดินทางมายังถ้ำแห่งนี้ เพื่อเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการประชวร พระสงฆ์เหล่านี้ บ้างเป็นพระอรหันต์สำเร็จอภิญญา บ้างเป็นพระอริยเจ้าระดับรองลงมา บ้างยังเป็นพระสุปฏิปันโนที่เป็นกัลยาปุถุชนก็มี เมื่อทราบพระอาการหนักหนาสาหัส ก็มีความเห็นให้พระสงฆ์สาวกผู้สำเร็จอรหันต์ทรงอภิญญา เหาะไปบอกหมอชีวกโกมารภัจจ์ ให้มารักษาพยาบาลสมเด็จพระบรมครูของโลก

ฝ่ายหมอชีวกโกมารภัจจ์ก็เดินทางมาพร้อมพระอรหันตเจ้า ให้โอสถเพื่อรักษาพระอาการประชวรหวังจะให้หายจากพระโรคนั้น แต่รักษาอยู่ได้ ๓ วัน พระอาการก็ไม่บรรเทามีแต่ทรุดลง ก็ให้พระอรหันต์เจ้ารูปเดิมนั้นเดินทางไปเชิญพระฤาษีผู้เป็นอาจารย์ประสิทธิ์ประสาทวิชาการแพทย์แก่ตน ให้เดินทางมาทำการรักษาพยาบาลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝ่ายพระฤาษีผู้อาจารย์ก็เดินทางมาพร้อมด้วยยาสมุนไพรจำนวนมาก เมื่อมาถึงก็ขอตรวจอาการโดยการสำรวจตรวจดูสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงอาเจียนออกมาก็ทราบว่าเป็นการประชวรด้วยพาร้ายจากอาหารสุกรมัทวะ จะรักษาด้วยยาธรรมดาไม่ได้ แต่มียาอยู่ขนานหนึ่งเรียกว่า เป็นยาวิเศษก็สามารถว่าได้เพราะเป็นโอสถทรงคุณค่าสูงรักษาอาการป่วยได้ทุกอย่างไม่ว่าอาการจะหนักหนาประการใดก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงขออาราธนาพระอรหันต์เจ้ารูปนั้นไปเอายามาให้ พระพุทธสาวกอรหันต์รูปนั้นเวียนไปเอายาถึง ๓ รอบก็ไม่ตรงตามความต้องการ ตกลงหมอชีวกโกมารภัจจ์ต้องเดินทางไปเอามาด้วยตนเองโดยอาศัยอิทธิฤทธิ์ของพระอรหันต์เจ้าองค์นั้นช่วยพาไปและกลับมาโดยเร็ว

เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ไม่อาจรอดพ้นจากข่ายพระญาณของสมเด็จพระสุคตเจ้าไปได้ พระองค์ก็ปรารภแก่พระอานนท์ พุทธอนุชาว่า ตถาคตได้รับอาราธนาจากพญามารเพื่อเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้วหนึ่งประการ และยังได้รับบิณฑบาตอาหารมื้อสุดท้ายที่ทำให้สำเร็จผลานิสงส์อันมากแก่ผู้ถวาย คือนายจุนทะ ผู้ถวายอาหารสุกรมัทวะ สมเด็จพระพุทธองค์ตรัสว่า อาหารสองมื้อที่ให้ผลานิสงส์มากแก่ผู้ถวายบิณฑบาตพระพุทธเจ้า คืออาหารมื้อแรกที่ทำให้สำเร็จพระโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า และอาหารมื้อสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าฉันแล้วจะเสด็จเข้าสู่การดับขันธปรินิพพาน


ดังนั้นถ้าพระองค์ทรงรับโอสถจากพระฤาษีมาฉันทำให้หายอาการประชวร ก็จะไม่เป็นการรักษาสัจจะแก่พญามาร และจะทำให้อาหารมื้อสุดท้ายที่ได้รับบิณฑบาตไม่มีผลานิสงส์แก่ผู้ถวายเต็มที่ จำเป็นจะต้องหาทางไปจากถ้ำแห่งนี้เพื่อแสวงหาสถานที่อันเหมาะสมแก่การดับขันธ์สู่ปรินิพพาน สมเด็จพระพุทธองค์ทรงตั้งสัจจาธิษฐานว่า  ขอให้เพดานถ้ำจงบังเกิดเป็นโพรงเพื่อจักพาพระอานนท์ พุทธอุปัฏฐากเสด็จเหาะหนีไปทางอากาศได้

ครั้นเมื่อพระฤาษีนำเอาโอสถวิเศษนั้นให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ มาถวายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็พาเอาพระอานนท์เหาะขึ้นสู่อากาศหายไปและเสด็จไปยังเมืองกุสินารายน์ การที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเหาะหนีไปนั้น ทำให้พระสงฆ์สาวกทั้งหลายที่ยังเป็นปุถุชนพากันโศกเศร้าร่ำไห้คร่ำครวญอื้ออึงไป ส่วนที่เป็นพระอริยเจ้าก็สงบสำรวมพิจารณาเหตุการณ์ด้วยธรรม และต่างพากันแสวงหาสถานที่บำเพ็ญสมณธรรมต่อไปตามควรแก่ตน

เมื่อพระสงฆ์เหล่านี้ได้สำเร็จอรหันตผลแล้วครบถ้วน ก็พากันมายังบริเวณหน้าถ้ำแห่งนี้พร้อมกันดับขันธ์นิพพานหมดสิ้น ทิ้งให้ซากศพทอดร่างไว้บนพื้นปฐพี และส่งกลิ่นเน่าเหม็นตลบไปทั่วป่าบริเวณนั้น พระอินทร์จึงให้เทพบุตรผู้มเหศักดิ์ตนหนึ่งนำเอาไฟทิพย์จากสวรรค์มาเผาผลาญซากศพพระอรหันต์เหล่านั้น ไฟทิพย์ที่มีความร้อนแรงยิ่งนัก เผาไหม้กินอาณาเขตกว้างขวางปริมณฑลถึง ๘,๐๐๐ วา ไหม้ลงไปในแผ่นดินลึก ๑,๐๐๐ วา

ความร้อนแรงของไฟทิพย์นี้ส่งความร้อนไปถึงเมืองบาดาลแห่งหนึ่ง อันเป็นที่อยู่ของพญานาคชื่อว่า อุรุนาคราช พระยานาคตนนี้จึงนำบริวารพันหนึ่งชำแรกพื้นดินขึ้นมา ปล่องที่พญานาคนำบริวารชำแรกพื้นดินขึ้นมาคือ ตาน้ำผุดที่ได้ก่อให้เกิดหนองน้ำเล็กๆ ด้านหลังถ้ำนั้นเอง หนองน้ำแห่งนี้ได้ไหลเป็นลำธารใสสะอาดผ่านบริเวณวัดและไหลลงสู่แม่น้ำฝางในที่ไกลออกไปทางทิศตะวันออก ได้หล่อเลี้ยงบำรุงพื้นที่เกษตรกรรมหมู่บ้านถ้ำและบ้านศรีดงเย็น บ้านอ่าย พื้นดินบริเวณวัดถ้ำตับเตาและบริเวณใกล้เคียงจึงเป็นพื้นที่มีขุ่นขาวคล้ายขี้เถ้าปนอยู่และจะเป็นอย่างนี้ไปจนถึงยุคสมัยพระศรีอริยเมตไตรยภายหน้า

พระพุทธองค์ยังได้ทำนายไว้อีกว่าสถานที่แห่งนี้จะได้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา เมื่อกาลเวลาผ่านกึ่งพุทธกาลไปแล้วสถานที่ถ้ำแห่งนี้จะได้รับการปรับปรุงพัฒนาเจริญมากขึ้น ผู้คนพุทธมามกะทั้งหลายจากทั่วสารทิศหลั่งไหลกันมาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในถ้ำแห่งนี้ และได้ชื่อว่าถ้ำดับเถ้า และจะเป็นสถานที่รื่นรมย์ด้วยกระแสแห่งรสธรรมอันวิเศษเป็นสถานที่ชำระจิตใจให้สะอาดจากธุลีมลทินอาสวะกิเลส


อนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงอดีตของพระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ รูป ที่พากันมาถวายบังคมเยี่ยมพระอาการประชวร และต่อมาสำเร็จอรหันตผลและพากันมาดับขันธ์นิพพาน ณ ที่แห่งนี้พร้อมกันว่า

ในสมัยพุทธกาลแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามหากัสปะ พระพุทธองค์พระองค์นั้นได้นำพระสงฆ์สาวกเดินทางมาพักพระอริยาบถ ณ ถ้ำแห่งนี้ และได้สวดท่องบทพระธรรมเทศนาได้รับฟังมาด้วยเสียงอันไพเราะกังวาล ฝูงค้างคาวจำนวน ๕๐๐ ตัว ที่เกาะอยู่ตามเพดานถ้ำได้ฟังกระแสร์เสียงอันไพเราะกังวานนั้นก็มีความเคลิบเคลิ้มจิตตกภวังค์หล่นลงมากระทบพื้นหินตาย

ด้วยอำนาจแห่งบุญที่เหล่าค้างคาวนั้นได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนาก็พากันบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีปราสาทวิมานสูง ๑๒ โยชน์ รุ่งเรืองงดงามด้วยความเป็นทิพย์แดนสวรรค์แห่งนั้นมีปราสาทเรียงรายกันไปดุจนิ้วมือถึง ๕๐๐ องค์ เหล่าเทพบุตร ๕๐๐ องค์ นี้จึงมีชื่อว่า อังคุลีเทพบุตร ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าลงมาบังเกิดเป็นพระสิทธัตถะกุมาร และออกผนวช เป็นนักบวชในพระศาสนาของพระสมณโคดมพุทธเจ้า และสำเร็จพระอรหันต์โดยครบถ้วน

ฝ่ายพระฤาษีอาจารย์หมอชีวกโกมารภัจจ์ เมื่อไม่อาจจะถวายพระโอสถอันวิเศษยิ่งนักแก่พระพุทธองค์ให้หายพระประชวรได้ ก็มีความเสียใจยิ่งนัก ยกมืออันสั่นเทาที่กำถ้วยโอสถขึ้นพลางกล่าวว่า อันโอสถวิเศษของตูนี้จะไม่มีไว้สำหรับรักษาผู้ใดอีกต่อไป ไม่มีประโยชน์อันใดแล้วจะรักษาไว้ ว่าแล้วก็สาดโอสถนั้นทิ้งไปทั่วบริเวณ ทำให้พื้นดินบริเวณถ้ำตับเตานี้มีพืชสมุนไพรขึ้นจำนวนมากมายหลายชนิด แต่เพราะอำนาจคำกล่าวที่คล้ายคำสาปว่าไม่มีประโยชน์อันใดจะรักษาไว้ จึงทำให้สมุนไพรที่เกิดขึ้นบริเวณภูเขาถ้ำตับเตามีคุณภาพในการประกอบขึ้นเป็นรักษาโรคต่างๆ อ่อนมาก ไม่เหมือนสมุนไพรชนิดเดียวกันที่เกิดขึ้นในที่อื่นมีคุณภาพดีกว่า

การเรียบเรียงเรื่องราวประวัติ วัดถ้ำตับเตา ผู้เรียบเรียงได้ข้อมูลจากเอกสารแผ่นปลิวของวัดถ้ำตับเตาที่เจ้าอาวาสพิมพ์โรเนียวแจกญาติโยม จากเอกสารตำนานถ้ำตับเตาเรียบเรียงขึ้นมาของคุณ ส. สุจิตโต ซึ่งพระครูโสภณเจติยารามได้พิมพ์ขึ้นมานานแล้ว จากหนังสือตำนานเมืองโยนกเชียงแสนเมืองฝางไชยปราการฯ ของคุณสงวน  โชติสุขรัตน์ หนังสือสมัยพระปิยะมหาราชของ มร.คาร์บล็อก แปลโดย เสถียร  พันธรังสี และอัมพร  จุลานนท์

ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านดังกล่าวนามมาแล้วทุกท่าน บุญกุศลและความดีงามทั้งหลายจะพึงบังเกิดขึ้นจากข้อเขียนของข้าพเจ้าครั้งนี้ ขอบุญกุศลนั้นจงได้เป็นส่วนแห่งกุศลแก่ท่านเหล่านั้นด้วยเทอญ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01063.JPG



IMG_0166.JPG



IMG_0173.JPG



พระพุทธรูป
สมัยพม่า ประดิษฐานภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


IMG_0227.JPG



หินแกะสลักรูปช้างหลายเศียร ภายใน  ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


DSC01062.JPG



DSC01061.JPG



IMG_0136.JPG



รูปปั้นพระฤาษี พระอาจารย์ของบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01074.JPG



DSC01066.JPG



IMG_0219.JPG



โพรงเพดานถ้ำ ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ลักษณะคล้ายรอยพระบาท แสงสามารถส่องทะลุผ่านลงมาจากผนังถ้ำด้านบนมายังภายในถ้ำแจ้งได้ค่ะ


IMG_0118.JPG



DSC01045.JPG



DSC01030.JPG



IMG_0089.JPG



IMG_0086.JPG



ถ้ำเสบียง วัดถ้ำตับเตา อยู่ติดกับถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) ไปทางทิศตะวันออก มีโพรงลอดและบันไดลงไปยังถ้ำเสบียง ภายในจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในถ้ำเสบียง ๑ องค์ ค่ะ


IMG_0087.JPG



DSC01027.JPG


   
หินแกะสลักรูปสัตว์ ปากทางเข้า ถ้ำเสบียง วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01005.JPG



บันไดทางลงไปกราบนมัสการรอยพระพุทธหัตถ์ และรอยพระพุทธบาทจำลอง อยู่ติดกับด้านนอก ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) และ ถ้ำเสบียง วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


DSC01013.JPG



IMG_0081.JPG



IMG_0049.JPG



DSC01016.JPG



รอยพระพุทธหัตถ์ ประดิษฐานใกล้ถ้ำเสบียง ด้านนอกถ้ำตับเตา วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01017.JPG



DSC01011.JPG



IMG_0053.JPG



IMG_0058.JPG



รอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานใกล้ถ้ำเสบียง ด้านนอกถ้ำตับเตา วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


IMG_0093.JPG



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการรอยพระพุทธหัตถ์ และรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดถ้ำตับเตา พร้อมกันเลยนะคะ
         
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)   
        ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะปาทัง ตัง ปาทะ วะลัญชะนะ มะหัง สิระสา นะมามิฯ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0076.JPG



พระพุทธรูปองค์เล็ก ประดิษฐานบนผาหิน ด้านนอกถ้ำตับเตา วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


IMG_0079.JPG



DSC01019.JPG



พระพุทธรูปหินแกะสลักบนหน้าผาหิน ด้านนอกถ้ำตับเตา วัดถ้ำตับเตา ค่ะ



IMG_0071.JPG


DSC01021.JPG



DSC01024.JPG



หินแกะสลักรูปคนต่างๆ ด้านนอกถ้ำตับเตา วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01095.JPG



IMG_0254.JPG



IMG_0257.JPG



IMG_0255.JPG



รูปปั้นบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ ประดิษฐานอยู่ด้านหน้า ถ้ำตับเตา ระหว่างทางเดินเชื่อมถ้ำแจ้งกับถ้ำมืด วัดถ้ำตับเตา ค่ะ



IMG_0244.JPG



DSC01098.JPG



IMG_0259.JPG



IMG_0260.JPG



IMG_0262.JPG



ทางเดินเชื่อมระหว่างถ้ำแจ้งกับถ้ำมืด วัดถ้ำตับเตา ซึ่งถ้ำมืดอยู่ห่างจากถ้ำแจ้งขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ ๓๐๐ เมตร เราสามารถเดินจากหน้าถ้ำแจ้งไปยังถ้ำมืดได้ โดยไม่ต้องเดินลงบันไดหน้าถ้ำแจ้งเพื่อมาขึ้นบันไดทางขึ้นถ้ำมืดค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9949.JPG



IMG_9959.JPG



IMG_9984.JPG



IMG_9983.JPG



บันไดทางขึ้นถ้ำมืด (ถ้ำลอดบาป) วัดถ้ำตับเตา



DSC01100.JPG



IMG_0268.JPG



ปากทางเข้าถ้ำมืด (ถ้ำลอดบาป) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ

ถ้ำมืด มีลักษณะเป็นโพรงชอนลึกเข้าไปในภูเขา ภายในมีหินงอกหินย้อยสองข้างทางเหมือนฉากท้องพระโรงงดงามมาก มีความลึกเข้าไปประมาณ ๕๐๐ เมตร หรือร่วม ๑ กิโลเมตร ก้นถ้ำมีเจดีย์เปียกหรือเจดีย์นิ่มดังกล่าวมานานแล้ว

การเข้าถ้ำมืด สมัยก่อนนั้นต้องอาศัยคบเพลิงหรือตะเกียงเจ้าพายุส่องให้แสงสว่าง เพราะไม่มีแสงอาทิตย์ส่องถึง ปัจจุบันทางวัดได้เดินสายไฟโยงไปตามที่ต่างๆ ในถ้ำแล้ว (ติดต่อขอเข้าชมถ้ำมืด ทำบุญค่าบำรุงไฟฟ้าให้ทางวัด ๑๐๐ บาท ต่อคณะ) แต่บางจุดภายในถ้ำมืดไฟฟ้าส่องสว่างไม่ทั่วถึง ควรพกไฟฉายเข้าไปด้วย



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-9 00:36 , Processed in 0.059525 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.