แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดร่ำเปิง บ.ร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเขี้ยวแก้ว) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:13 โดย pimnuttapa

  
Picture-858.jpg

พระพุทธรูปตโปทาราม (พระพุทธรูปอาตะปะมหามุนีปฏิมากร) ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:13 โดย pimnuttapa


Picture-864.jpg

ประวัติพระพุทธรูป ตโปทาราม (พระพุทธรูปอาตะปะมหามุนีปฏิมากร)  

พระนางอะตะปาเทวี (พระนางเรือนเย็น หรือพระนางโปร่งน้อย หรือพระนางสิริยสวดี) พระอัครมเหสีของพระเจ้ายอดเชียงรายทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๕ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมริดฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย ปางพิชิตมาร หน้าตักกว้าง ๕๙ เซนติเมตร สูง ๘๒ เซนติเมตร ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ วิหารเดิมเกิดชำรุดทรุดโทรมจนใช้การไม่ได้ และมีต้นไม้ขึ้นปกคุมอยู่ทั่วไป แผ่นศิลาจารึกได้จมดินอยู่ในวิหาร คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่จึงได้ประชุมตกลงกันให้อัญเชิญพระประธานไปประดิษฐานไว้ ณ ด้านหลังวิหาร วัดพระสิงห์ และทำการก่อสร้างวิหารขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ท่านพระครูพิพัฒน์คณาภิบาล (ทอง สิริมงคโล) รักษาการเจ้าอาวาส ขณะนั้นได้อาราธนาหลวงพ่อตโปจากวัดพระสิงห์กลับสู่วิหารวัดร่ำเปิง เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๘ ค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:14 โดย pimnuttapa

  
Picture-861.jpg
Picture-863.jpg

พระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ ประดิษฐานด้านหน้าข้างขวา-ซ้าย พระประธาน ภายใน วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-11 04:55  

Picture-866.jpg

ศิลาจารึก ซึ่งเรียกว่า สิลาฝักขาม อยู่ด้านข้าง พระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ข้างซ้าย ภายใน วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ

ประวัติศิลาจารึก


พระยอดเชียงราย ได้จารึกประวัติการสร้างวัดนี้ลงในศิลาจารึก ซึ่งเรียกว่า สิลาฝักขาม (ตัวหนังสือฝักขาม) ดังมีใจความว่า...

“สองพันสามสิบห้าปีจุลศักราชได้แปดร้อยห้าสิบสีตัวในปีเต๋าใจ๋ (เหนือ) เดือนวิสาขะไทยว่าเดือนเจ็ดออก (ขึ้น) สามค่ำวันศุกร์ไทย ได้ฤกษ์อันถ้วนสอง ได้โยคขื่ออายูสมะ ยามกลองงายแล่วสองลูกนาที” ซึ่งแปลเป็นภาษาปัจจุบันว่า “วันศุกร์ขึ้นสามค่ำเดือนเจ็ด ปีชวด พุทธศักราชสองพันสามสิบหาปี เวลา ๐๘.๒๐ น. ได้ฤกษ์ภรณี (ดาวงอนไถ) ได้โยคมหาอุจจ์” คือการก่อสร้างวัดได้ส่วนกันทั้งทางฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร โดยพระองค์ได้ทรงมีพระราชบัญชาให้พระมเหสีชื่อ พระนางอะตะปาเทวี เป็นผู้ดำเนินการสร้าง พระนางอะตะปาเทวี ได้ประชุมแต่งตั้งกรรมการดังต่อไปนี้

รายนามพระมหาเถระ
๑. พระมหาสามีญาณโพธเจ้า
๒. พระมหาเถระสุระสีมหาโพธิเจ้า
๓. พระมหาเถระธรรมเสีนาปติเจ้า
๔. พระมหาเถระสัทธรรมฐิระประสาทเจ้า
๕. พระมหาเถระญาณสาครอารามิตรเจ้า
(ในศิลาจารึกว่ามีประมาณ ๑๐๐ รูป แต่ปรากฏชื่อเพียง ๕ รูป)

รายพระนามและนามผู้สร้างฝ่ายอาณาจักร
๑. พระนางอะตะปาเทยี ประธานกรรมการออกแบบดำเนินการสร้าง
๒. เจ้าเมืองญี่ เจ้าเมืองเชียงราย ผู้เป็นพระราชปิตุลา
๓. เจ้าอติวิสุทธ เจ้าหมื่นเมืองตินเชียง
๔. เจ้าหมื่นคำพร้ากลาง
๕. เจ้าหมื่นธรรมเสนาปติ เมืองจา
๖. เจ้าหมื่นหนังสือวิมลกิรติสิงหราชมนตรี
๗. เจ้าพันเชิงคดีรัตนปัญโญ
๘. เจ้าหมื่นโสม ราชัณฑ์คริก

ในประวัติไม่ได้บอกชัดว่าใช้เวลาสร้างนานเท่าใด กล่าวแต่ว่าสำเร็จแล้วทุกประการ พร้อมทั้งสร้างพระพุทธรูปเป็นประธาน และพระพุทธรูปตามซุ้มที่พระบรมธาตุเจดีย์กับได้สร้างพระไตรปิฎกและพระราชทานทรัพย์ (นา) เงิน (เบี้ย) ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า “มีราชเตทั้งหลายอันกฎหมายไว้กับอารามนี้นาสามล้านห้าหมื่นพัน ไว้กับเจดีย์สี่ด้าน สี่แสนเบี้ยไว้กับพระเจ้า (พระประธาน) ในวิหาร ห้าแสนเบี้ยไว้กับอุโบสถ สี่แสนเบี้ยไว้เป็นจังหัน (ค่าภัตตาหาร) ล้านห้าแสนห้าหมื่นพันเบี้ยไว้ให้ผู้รักษากิน สองแสนเบี้ยให้ชาวบ้านยี่สิบครัวเรือนไว้เป็นผู้ดูแลและอุปัฏฐากรักษาวัด”

เนื่องจากประวัติการสร้างวัดร่ำเปิง หรือวัดตโปทารามนี้ รวบรวมมาจากหลายทางด้วยกัน ทำให้เข้าใจสับสนไปได้ในทัศนะแตกต่างกันโดยเฉพาะเกี่ยวกับชื่อ วัดร่ำเปิง วัดตโปทาราม และพระนามมเหสีของพระเจ้ายอดเชียงราย คือในศิลาจารึกปรากฏพระนามว่า พระนางอะตะปาเทวี แต่ไม่ปรากฏพระนามว่า พระนางโปร่งน้อย ซึ่งในหนังสือพงศาวดารโยนกของพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ปรากฏพระนามว่า พระนางโปร่งน้อย ไม่ปรากฎพระนาม อะตะปาเทวี


นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างกันเกี่ยวกับบุคคลผู้ร่วมในการสร้างวัด ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า “จุลศักราช ๘๕๔ (พ.ศ. ๒๐๓๕) ปีชวดจัตวาสก พระเจ้ายอดเชียงราย เจ้านครพิงค์เชียงใหม่ ให้สถาปนาพระอารามแห่งหนึ่งชื่อว่า ตะโปทาราม ให้ขุดรื้อนิมิตสีมาของเก่าที่พระญาณมงคลเถรผูกไว้นั้นขึ้นชำระผูกพัทธสีมาใหม่ มีพระมหาเวฬุวันมหาเถระ พระสัทธรรมสัณฐิเถระ พระญาณโพธิเถระ พระสุริสิงห็เถระ พระนารถเถระ พระสัทธรรมสัณฐิเถระ กับภิกษุหลายรูปจัดการผูกพัทธสีมาใหม่ให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ

จากการพิจารณาข้อความที่ปรากฏในศิลาจารึกและจากหนังสือประวัติวัดร่ำเปิง ซึ่งพิมพ์แจกในงานกฐินสามัคคีทอด ณ วัดร่ำเปิง วันเสาร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๙ โดยมีผู้เขียน ๒ ท่าน คือ ท่านอาจารย์มุกดาอัยยเสน ที่อ้างว่าเขียนจาก คำบอกเล่าของพระยาประชากิจกรจักร์กับหนังประวัติวัดร่ำเปิง พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๑๔ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๗ และพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๑๙ เรียบเรียงโดย นายปวงคำ ตุ้ยเขียว ซึ่งอ้างว่าอาศัยหลักศิลาจารึก และหนังสือคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ พงศาวดารโยนก และหนังตำนานเมืองเหนือแล้ว ก็อาจจะประมวลเค้าความให้ต่อเนื่องอยู่ในแนวเดียวกันไว้ว่า

แต่เดิมนั้นวัดร่ำเปิงเป็นวัดเก่าอยู่ก่อนแล้ว และคงมีชื่อว่า ตะโปทาราม เพราะพระเจ้ายอดเชียงราย มีพระมเหสีทรงพระนามว่า โปร่งน้อย มีความดีความชอบ รับหน้าที่เป็นประธานดำเนินการสร้างวัดตะโปทารามขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ จึงทรงตั้งพระนามเป็นเกียรติแก่พระนางโปร่งน้อยว่า “พระนางอะตะปาเทวี” โดยแปลงรูปคำจาก ตะโป ชื่อวัดเดิม ซึ่งเป็นภาษาบาลีแปลว่า เครื่องเผา ความร้อน ความเพียร ความสำรวม อันหมายถึงธรรมเครื่องเผาบาปให้สิ้น แต่พระองค์คงจะทรงเห็นว่าตะโป หรือตะปา มีความหมายไปในทางให้ความร้อน จึงเติม คำว่า “อะ” ลงข้างหน้าให้มีความหมายในทางความเย็นแทน ซึ่งก็ปรากฏว่าพระมเหสีของพระเจ้ายอดเชียงราย มีพระนามเป็นภาษาไทยว่า “พระนางสิริยศวดี”


ดังมีปรากฏในหนังสือประวัติวัดร่ำเปิงพิมพ์ครั้งที่ ๑ บทเนื้อเรื่องพิเศษว่า “พระศรีสัทธรรมมหาบรมจักรพรรดิ์ธรรมราชบพิตร” (หมายถึง พระเจ้ายอดเชียงราย ) มีอัครมเหสี ชื่อ อะตะโปเทวี พระราชโอรสชื่อ ปนัดดา หรือดิลกปนัดดาธิราช หรือพ่อท้าว เมืองแก้วหรือพระยาตาธิปราช พระชนนีของพระองค์ ชื่อพระนางสิริยศวดี หรือพระนางโปร่งน้อย จึงให้สันนิษฐานว่า หลังจากพระเมืองแก้วได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเจ้ายอดเชียงรายผู้เป็นราชบิดาแล้ว ได้ทรงตั้งพระนามให้พระราชชนนีใหม่ว่า พระนางสิริยศวดี ก็ย่อมเป็นได้ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:14 โดย pimnuttapa

  
Picture-870.jpg
Picture-871.jpg

พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายใน ศาลา อยู่บริเวณด้านหน้า วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ   



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-12 02:23  

Picture-873.jpg

อุโบสถ วัดร่ำเปิง ค่ะ

ประวัติอุโบสถ วัดร่ำเปิง ที่มีอยู่ในเวลานี้ได้สร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยมีผู้มีจิตศรัทธาช่วยซ่อมให้ได้ใช้ในการปฏิบัติสังฆกรรมมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับพระพุทธรูปพระประธานนั้น เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มีอายุประมาณ ๗๐๐ - ๘๐๐ ปี เป็นศิลาขนาดหน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว สูง ๔๗ นิ้ว โดย จ.ส.ต ประยุทธ ไตรเพียร และคณะ ได้นำถวายไว้เป็นสมบัติของวัดร่ำเปิง เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๑๘ และมีชื่อว่า หลวงพ่อศรีอโยธยา

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 07:43  

Picture-874.jpg

กุฏิรับรองพระครูพิพัฒน์คณาภิบาล (ทอง สิริมงฺคโล) ปัจจุบันคือ พระราชพรหมาจารย์ วัดร่ำเปิง ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 07:45  

Picture-877.jpg

กุฏิสามมณเฑียร วัดร่ำเปิง สร้างเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 07:46  

Picture-878.jpg

หอระฆัง วัดร่ำเปิง ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-11 06:49  

Picture-881.jpg

หอพระไตรปิฎก  วัดร่ำเปิง ค่ะ

หอพระไตรปิฎก  วัดร่ำเปิง ไว้เก็บรักษาพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นหลักธรรมคำสอนในศาสนาพุทธประกอบด้วย พระวินัยหรือข้อห้าม และข้อปฎิบัติของพระสงฆ์ พระสูตร หรือหลักคำสอนธรรมะโดยทั่วไป และพระอภิธรรม อันประกอบด้วยจิตเจตสิก รูป และนิพพาน โดยได้สร้างหอพระไตรปิฎกขึ้นเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมพระไตรปิฎกภาษาต่างๆ จำนวน ๑๗ ภาษา ประกอบด้วย ภาษาไทย ไทยใหญ่ ล้านนา บาลี มอญ เวียดนาม ศรีลังกา พม่า ทิเบต ญี่ปุ่น จีน เกาหลี เนปาล สเปน อังกฤษ อินเดีย และอินเดียโบราณ (เทวนาคี)

พระครูปลัดนพพันธ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสฝ่ายปกครองและผู้ดูแลหอพระไตรปิฎก วัดร่ำเปิง กล่าวถึง สาเหตุที่มีการเก็บรวบรวมพระไตรปิฎกของนานาชาติว่า พระเทพสิทธาจารย์ (พระอาจารย์ทอง สิริงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง เห็นว่า จังหวัดเชียงใหม่มีความเจริญทางด้านศาสนาพุทธจึงน่าจะมีพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาล้านนารวบรวมไว้ในวัด รวมทั้งพระไตรปิฎกภาษาอื่นๆ เมื่ออดีตเจ้าอาวาสได้มีโอกาสเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างประเทศจึงได้เก็บรวบรวมพระไตรปิฎกของประเทศนั้นมา โดยการขอเช่าหรือแลกเปลี่ยนกับพระไตรปิฎกของเมืองไทย ต่อมาปี ๒๕๓๐ ทางวัดได้สร้างหอพระไตรปิฎกขึ้น จึงได้นำพระไตรปิฎกภาษาต่างๆ ที่ได้เก็บรวบรวมไว้ทั้งหมดมาประดิษฐานไว้ในหอพระไตรปิฎกแห่งนี้ค่ะ

‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-5 19:44 , Processed in 0.040946 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.