แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดเจดีย์หลวง (โชติอาราม) อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุส่วนคางเบื้องซ้าย) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC09739.jpg


DSC09740.jpg



DSC09741.jpg



DSC09742.jpg



รูปปั้นสัตว์ป่าหิมพานต์ ซุ้มประตูหน้าต่าง พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-517.jpg



ศาลพญายักขราช  (ศาลใต้) วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   


ตำนานเมืองเชียงใหม่ ฉบับพระพุทธิมาผูก ๗ หน้า ๑๓ กล่าวว่า...

“สร้างเมื่อ วันเสาร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๗ พ.ศ. ๒๓๔๓ พระเจ้ากาวิละให้ก่อรูปกุมภัณฑ์ ๒ ตน ไว้หน้าวัดโชติการาม” ยักษ์/กุมภัณฑ์ ๒ ตนนี้ คอยพิทักษ์เสาอินทขีลหลักเมืองเชียงใหม่


Picture-515.jpg



รูปปั้นพญายักขราช ประดิษฐานภายใน ศาลพญายักขราช (ศาลใต้) วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   


DSC09820.jpg



อมรเทพ (ศาลเหนือ) วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   


DSC09821.jpg



รูปปั้นพญายักขราช ประดิษฐานภายใน อมรเทพ (ศาลเหนือ) วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

IMG_0268.JPG


IMG_0856.JPG



IMG_0289.JPG



ต้นยางนาใหญ่ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Picture-505.jpg


ประวัติต้นยางนาใหญ่ วัดเจดีย์หลวง


มีต้นยางนาใหญ่ ๓ ต้น กล่าวกันว่าอายุ ๒๐๐ ปี ต้นหนึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างวิหารอินทขีลและศาลพญายักขราช (ศาลใต้) หน้าวัด เป็นต้นที่ใหญ่ที่สุด วัดรอบโคนต้นได้ ๑๐.๕๖ เมตร สูงไม่ต่ำกว่า ๔๐ เมตร (วัดเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๘) ต้นที่สองอยู่ใกล้ประตูทางเข้าวัดทางด้านทิศใต้ติดกำแพงวัด และต้นที่สามซึ่งเล็กกว่าสองต้น อยู่ทางทิศตะวันตกของพระเจดีย์

ต้นยางนาใหญ่ต้นนี้ปลูกสมัยพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑ วงศ์ทิพจักร (พ.ศ.๒๓๒๔-๒๓๕๘) สันนิษฐานว่า  (๑) ปลูกให้เป็น “มีหมายเมือง” ในปีที่ย้ายจากเวียงป่าซางมาอยู่เมืองเชียงใหม่เป็นการถาวร เมื่อพ.ศ ๒๓๓๙ (๒) ปลูกให้เป็น “ของคู่กับเสาอินทขีลตามตำนาน” ในปีที่ย้ายเสาอินทขีลจากวัดสะดือเมืองมาไว้ที่วัดเจดีย์หลวงเมื่อพ.ศ.๒๓๕๓



Rank: 8Rank: 8

Picture-659.jpg


Picture-514.jpg


Picture-513.jpg



วิหารเสาอินทขีล วัดเจดีย์หลวง อินทขีลหรือหลักเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ภายในวิหารเสาอินทขีล วิหารเสาอินทขีลอยู่ทางด้านหน้าเยื้องไปทางทิศตะวันตกของวิหารหลวง

ลักษณะของวิหารเสาอินทขีล คือเป็นอาคารแบบจตุรมุข รูปลักษณ์คล้ายมณฑป หลังคา ๒ ชั้น ชั้นล่างมี ๔ มุข ชั้นบนมี ๒ มุข เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มุงด้วยไม้เกล็ด หน้าบันมุขชั้นล่างทั้ง ๔ มุข และหน้าบันมุขชั้นบนทั้ง ๒ มุข มีลายเขียนสี และเหนือหน้าบัน มีช่อฟ้าใบระกาปิดกระจกสีศิลปกรรมล้านนาสวยงาม


IMG_0511.JPG



ประวัติวิหารอินทขีล หรือมณฑปเสาอินทขีล วัดเจดีย์หลวง

วิหารอินทขีล หรือมณฑปเสาอินทขีล มีมาก่อนสมัยพระเจ้ากาวิละ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์แรก (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๘) เข้าฟื้นเมืองเชียงใหม่ (๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๙) โดยตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่า ในปีพ.ศ.๒๓๔๓ พระเจ้ากาวิละโปรดให้ก่อรูปกุมภัณฑ์สองตนไว้หน้าวัดโชติการาม (ปัจจุบันเรียกว่าเจดีย์หลวง) และก่อรูปสุเทวฤาษีไว้ที่ใกล้หออินทขีล ด้านทิศตะวันตก เป็นหลักฐานแสดงว่าเสาอินทขีลและหออินทขีลตั้งอยู่ในบริเวณวัดเจดีย์หลวงตั้งแต่ก่อนสมัยพระเจ้ากาวิละ

หออินทขีลได้รับการบูรณะเป็นรูปทรงที่เห็นในปัจจุบันเมื่อพ.ศ.๒๔๙๖ ต่อมาในพ.ศ.๒๕๑๔ นางสุรางค์ เจริญบูล ได้อุทิศทรัพย์ซ่อมแซมและในพ.ศ.๒๕๓๖ บริษัทบ้านฉางกรุ๊ปจำกัด ได้ปูหินอ่อนพร้อมปรับปรุงพื้นที่โดยรอบ


IMG_0314.JPG


IMG_0334.JPG



IMG_0283.JPG



เสาอินทขีล ภายใน
วิหารอินทขีล หรือมณฑปเสาอินทขีล วัดเจดีย์หลวง ตั้งอยู่กึ่งกลางวิหาร เป็นเสาอิฐถือปูน ติดกระจกสีต่างๆ ประดับเป็นลวดลายสูง ๑ เมตร ๓๕ เซนติเมตร ๕ มิลลิเมตร วัดรอบเสาได้ ๕.๖๗ เมตร แท่นฐานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเหนือเสาสูง ๙๗ เซนติเมตร วัดโดยรอบได้ ๓.๔ เมตร เสาอินทขีลนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองเชียงใหม่ ด้วยเหตุนี้จึงมีงานสมโภชเป็นประจำทุกปีเรียกว่า “งานเข้าอินทขีล” หรือ “ขึ้นอินทขีล” เริ่มงานวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ (เหนือ) งานวันสุดท้ายคือวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๙ (เหนือ) ออกงานหรืองานแล้วเสร็จด้วยการทำบุญเลี้ยงเพลพระสงฆ์ในวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ซึ่งชาวเชียงใหม่มักพูดว่า “แปดเข้า เก้าออก” คือเดือน ๘ เข้าอินทขีลเดือน ๙ ออกอินทขีล

เสาอินทขีล หมายถึง เสาของพระอินทร์ ตำนานระบุว่าเป็นเสาที่พระอินทร์ประทานแก่ชาวลัวะ โดยให้กุมภัณฑ์ ๒ ตน หามเสาอินทขีลลงมาจากฟ้า แล้วทำหน้าที่รักษาอินทขีล เชื่อกันว่าฝังอยู่ใต้ดิน ชาวเชียงใหม่ถือเสาอินทขีลเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง มีฐานเป็นเสื้อเมืองมีอิทธิฤทธิ์ให้บ้านเมืองพ้นจากภัย และบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ จึงมีประเพณีบูชาเรียกว่าเข้าอินทขีลเดือน ๘ เหนือ เป็นประจำทุกปี เดิมเสานี้อยู่ที่ศาลากลางของจังหวัด คืออนุสาวรีย์ ๓ กษัตริย์ ต่อมาพระเจ้ากาวิละโปรดให้ย้ายมาที่หน้าวัดนี้ เพราะวัดนี้อยู่กลางเมือง มีทวารบาลพิทักษ์อยู่ด้วย


Rank: 8Rank: 8

Picture-499.jpg


ศาลสุเทวฤาษี วัดเจดีย์หลวง อยู่ใกล้ วิหารอินทขีลหรือมณฑปเสาอินทขีลค่ะ


Picture-502.jpg


ศาลเสือดาวและนก วัดเจดีย์หลวง อยู่ใกล้ วิหารอินทขีลหรือมณฑปเสาอินทขีลค่ะ


Picture-507.jpg


ศาลช้าง วัดเจดีย์หลวง อยู่ใกล้ วิหารอินทขีลหรือมณฑปเสาอินทขีลค่ะ


Picture-509.jpg


ศาลราชสีห์ วัดเจดีย์หลวง อยู่ใกล้ วิหารอินทขีลหรือมณฑปเสาอินทขีลค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-493.jpg


เจดีย์รายองค์ด้านทิศใต้ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   


ประวัติเจดีย์รายองค์ด้านทิศใต้ วัดเจดีย์หลวง เป็นเจดีย์เก่าแก่คู่พระบรมธาตุเจดีย์ ตั้งอยู่ด้านเหนือวิหารหลวง มีความสูง ๑๓.๔๓ เมตร รูปทรงสัณฐานสี่เหลี่ยม ฐานกว้างด้านละ ๖.๕๕ เมตร ย่อเก็จ ๓ ชั้น ฐานปัทม์ย่อเก็จซ้อนกัน ๒ ชั้น ตั้งแต่คอระฆังหุ้มไปจนถึงแผ่นจังโกปิดทองคำเปลวปลียอด ปลียอดและฉัตรทำด้วยทองเหลืองปิดทองคำเปลว เจดีย์องค์นี้สร้างมานานแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานปีที่สร้างและผู้ที่สร้าง บูรณะใหม่ในปีพ.ศ.๒๕๓๖


Picture-651.jpg


เจดีย์รายองค์ด้านทิศเหนือ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


ประวัติเจดีย์รายองค์ด้านทิศเหนือ วัดเจดีย์หลวง ตั้งอยู่ด้านใต้ของวิหารหลวง ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์รูปทรงสัณฐานสี่เหลี่ยมแบบศิลปสถาปัตยกรรมล้านนาเชียงใหม่ ประกอบด้วยฐานย่อเก็จ ๓ ชั้น ฐานปัทม์ย่อเก็จซ้อนกัน ๒ ชั้น ตั้งแต่คอระฆังหุ้มไปจนถึงแผ่นจังโกปิดทองคำเปลวปลียอด ปลียอดและฉัตรทำด้วยทองเหลืองปิดทองคำเปลว มีความสูง ๑๕.๘๘ เมตร ฐานกว้างด้านละ ๖.๕๕ เมตร บูรณะใหม่ในปีพ.ศ.๒๕๓๖


Rank: 8Rank: 8

Picture-519.jpg



Picture-521.jpg



กุฏิแก้วนวรัฐ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ

ประวัติกุฏิแก้วนวรัฐ วัดเจดีย์หลวง เป็นกุฏิหลังแรกของวัด สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง เจ้าแก้วนวรัฐสร้างถวายเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑ เป็นอาคารไม้สองชั้น หันหน้าไปสู่วิหารทางทิศเหนือ มี ๓ มุข มุขกลางคือ มุขจามรี มุขตะวันตก คือมุขราชบุตร (วงศ์ตะวัน) สร้างเสริมใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ ส่วนมุขตะวันออกคือ มุขแก้วนวรัฐ อันเป็นส่วนของกุฏิแก้วนวรัฐ เมื่อสร้างครั้งแรกปูพื้นด้วยประดานไม้สักเชื่อมต่อกันทั้ง ๓ มุข มุงด้วยกระเบื้องดินของพื้นเมือง ในปลายปี พ.ศ.๒๕๓๗ ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่ทั้งหลัง โดยทายาทของเจ้าแก้วนวรัฐพร้อมด้วยญาติมิตรเจ้านายฝ่ายเหนือ



Picture-524.jpg



กุฏิชินะทัตต์ วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ ค่ะ


Picture-550.jpg


กุฏิมหาเจติยาสามัคคี วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ ค่ะ


Picture-523.jpg


หอระฆัง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-526.jpg



ศาลาการเปรียญ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ



Picture-545.jpg



Picture-546.jpg



พระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานภายใน ศาลาการเปรียญ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-528.jpg


กุฏิจันทกุสลานุสรณ์ ๘๔ วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ค่ะ


Picture-535.jpg



ด้านหน้ากุฏิจันทกุสลานุสรณ์ ๘๔ วัดเจดีย์หลวง มีป้ายคำกลอนของพระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) แต่งเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ กล่าวว่า...


ชีวิตที่ผ่านมา ๘๙ ปี


๘๙ ปี ที่ผ่านล่วงแล้ว    เหมือนฝัน
ชีวิตทุกทุกวัน             แต่งแต้ม
แต่ละเรื่องแต่ละอัน      ต่างล่วง ลับนา
ดุจดอกไม้หลังแย้ม      เหี่ยวแห้งโรยรา
โอ้. ชีวิตคิดแล้ว          ใจหาย
๘๙ ปี ผ่านไปง่ายดาย   หมดแล้ว
นึกนึกน่าเสียดาย         ชีวิต
ใจวูบใจอ่อนแป้ว         ชีวิตน้อยนิดเดียว
อยากจะอยู่ในโลกนี้     นานนาน
อยู่กับศิษย์ลูกหลาน     ใหญ่น้อย
อยู่แล้วสุขสำราญ        สงบจิต
อยู่ได้จนเกินร้อย         นั่นแท้ความประสงค์



Rank: 8Rank: 8

Picture-529.jpg


วิหารพระทันใจ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Picture-531.jpg


Picture-530.jpg



พระทันใจพุทธเพชรมงคลประทานพร หรือ หลวงพ่อเงินทันใจ ประดิษฐานภายใน วิหารพระเจ้าทันใจ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


คำบูชาพระพุทธรูปหลวงพ่อทันใจ “พระทันใจพุทธเพชรมงคลประทานพร” “หลวงพ่อเงินทันใจ”
(นะโม ๓ หน แล้วว่า ๓ จบ) ตะมะหัง ขิปปะจิตตะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ขิปปะจิตตะ พุทธัง เมสิ ระสา อะภิปูชะยามิ ขิปปะจิตตะ พุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวะตุเม  ขิปปะจิตตะ พุทธานุภาเวนะ สะทา มะหาลาโภ ภาวะตุเม  ขิปปะจิตตะ พุทธานุภาเวนะ สะทา มะหายะโส  ภาวะตุเม



‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-6 18:27 , Processed in 0.063043 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.