แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดเจดีย์หลวง (โชติอาราม) อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุส่วนคางเบื้องซ้าย) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-569.jpg


กุฏิอุดมสามัคคี วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Picture-570.jpg



กุฏิเนื่องตุทานนท์ วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อ ๒๕๑๖ ค่ะ


Picture-573.jpg



อาคารกาญจนาภิเษก วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อ ๙ มิ.ย. ๒๕๓๙ ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

IMG_0867.JPG


IMG_0879.JPG



IMG_0884.JPG



เจดีย์บูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


IMG_0909.JPG


ประวัติเจดีย์บูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง


เจดีย์บูรพาจารย์ วางศิลาฤกษ์ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ และประกอบพิธียกยอดฉัตร วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดย พระเดชพระคุณพระพรหมเมธี (จำนงค์  ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศาราม เจ้าคณะภาค ๔-๕-๖-๗ และทำการสมโภช ถวายไว้ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยมี เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (จุนท์  พฺรหฺมคุตโต) วัดบวรนิเวศวิหาร  เจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นประธานสงฆ์ พร้อมด้วยพระสงฆ์ในพิธี ๙๕ รูป


สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุอดีตเจ้าอาวาสและบูรพาจารย์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวัดเจดีย์หลวง ดังนี้


๑. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์  สิริจนฺโท ป.ธ.๔)  เจ้าอาวาสรูปที่ ๑ ปี พ.ศ.๒๔๗๑ – ๒๔๗๔

    ชาตะ ๒๐ มีนาคม ๒๓๙๙              มรณภาพ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๗๕


๒. พระครูวินัยธรมั่น (หลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต) เจ้าอาวาสรูปที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๔๗๕

     ชาตะ ๒๐ มกราคม ๒๔๑๓            มรณภาพ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๒


๓. พระครูนพีสีพิศาลคุณ (ทอง โฆสิโต ป.ธ.๓) เจ้าอาวาสรูปที่ ๓  ปี พ.ศ.๒๔๗๖

     ชาตะ ๒๔๓๕                            มรณภาพ ๒ สิงหาคม ๒๕๐๕


๔. พระพุทธิโศภณ (แหวว  ธมฺมทินโน)  เจ้าอาวาสรูปที่ ๔  ปี พ.ศ.๒๔๗๗ – ๒๕๐๒

     ชาตะ ๒๐ มีนาคม ๒๔๒๒             มรณภาพ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๐๒


๕. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์  ธมฺมธโร ป.ธ.๖)  มากำกับการคณะสงฆ์ ปี พ.ศ.๒๔๘๐ – ๒๔๘๓

    ชาตะ ๑ พฤษภาคม ๒๔๔๐            มรณภาพ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๗


๖. พระธรรมดิลก (ขันติ์  ขนฺติโก ป.ธ.๔)  เจ้าอาวาสรูปที่ ๕  ปี พ.ศ.๒๕๐๓ – ๒๕๓๔

    ชาตะ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๕๓               มรณภาพ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๔


๗. พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์  กุสโล ป.ธ.๕)  เจ้าอาวาสรูปที่ ๖  ปี พ.ศ.๒๕๓๕ – ๒๕๕๑

     ชาตะ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๐         มรณภาพ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑


๘. พระมหาหมื่น  วุฑฺฒิญาโณ  ผู้เป็นปราชญ์ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีล้านนา

     ชาตะ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๑๒            มรณภาพ ๓๐ กันยายน ๒๔๙๙


๙. พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน ป.ธ.๓) มาศึกษาพระปริยัติธรรมสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม ๓ ประโยคที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ปี พ.ศ.๒๔๘๓

     ชาตะ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๕๖             มรณภาพ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔


๑๐. พระครูพุทธิโสภณ (ปั๋น) ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนพุทธิโศภณ

      ชาตะ  -                                    มรณภาพ ๒๔๘๗


๑๑. พระปลัดเกตุ  วณฺณโก  สัทธิวิหาริกรูปเดียวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

      ชาตะ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๓๕            มรณภาพ ๒ กรกฎาคม ๒๕๑๒



Rank: 8Rank: 8

Picture-577.jpg


IMG_0944.JPG



วิหารบูรพาจารย์ (วิหารหลวงปู่มั่น) วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Picture-576.jpg


ประวัติวิหารบูรพาจารย์ (วิหารหลวงปู่มั่น) วัดเจดีย์หลวง

วิหารบูรพาจารย์ (วิหารหลวงปู่มั่น) เป็นสถาปัตยกรรมสกุลช่างล้านนา จำลองแบบมาจากวิหารวัดต้นเกว๋น หรือวัดอินทราวาส ม.๔ ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นวิหารเก่าแก่สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๑ สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้นครเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ ๖ วงศ์ทิพย์จักร/ทิพย์ช้าง วิหารกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานบุษบกบรรจุอัฐิธาตุ/ฟันกราม และรูปเหมือนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บริเวณด้านหน้าวิหารบูรพาจารย์เยื้องไปทางทิศใต้เล็กน้อย เคยเป็นที่ตั้งกุฏิทัณฑเขตที่หลวงปู่มั่นเคยพำนัก

พระธรรมวิสุทธิมงคล เป็นประธานวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ สร้างแล้วเสร็จ ทำพิธีถวายเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท คุณฐาวรา หวั่งหลี และคณะเป็นเจ้าภาพ


Rank: 8Rank: 8

IMG_0970.JPG


IMG_0992.JPG



บุษบกที่ประดิษฐานโกศบรรจุอัฐิธาตุ/ฟันกรามของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานภายใน วิหารบูรพาจารย์ (วิหารหลวงปู่มั่น) วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   


DSC09795.jpg



ประวัติบุษบก

บุษบกที่ประดิษฐานโกศบรรจุอัฐิธาตุและฟันกรามของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สร้างด้วยไม้สักลงรักปิดทอง มีรูปทรงเป็นแบศิลปสกุลช่างล้านนา มีขนาดความกว้างของฐาน ๑.๒๔ เมตร ความสูงจากฐานถึงยอด ๔.๘๐ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างรวมทั้งค่าตกแต่งทั้งสิ้น ๒๕๐,๐๐๐ บาทถ้วน และเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ เวลา ๑๖.๐๐ น. หลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) และพระมหาเถราจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน อาทิ:

     หลวงปู่เหรียญ  วรลาโภ  วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
     หลวงปู่จันทร์โสม  กิตติกาโร  วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
     พระญาณทีปาจารย์ (หลวงปู่ท่อน ญาณธโร) วัดป่าศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย
     หลวงปู่มี  ปริปุณโณ วัดป่านาคุณ อ.เมือง จ.อุดรธานี
     หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
     หลวงปู่ฟัก สันติธัมโม วัดพิชัยรัตนาราม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
     พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี

พร้อมทั้งคณะสงฆ์และพระประชาชนจำนวนมาก ได้ร่วมในพิธีอัญเชิญอัฐิธาตุและฟันกรามของหลวงปู่มั่นที่บรรจุในโกศ ขึ้นประดิษฐานไว้ในบุษบก ณ ลานประทักษิณทิศตะวันออกของพระธาตุเจดีย์หลวงเป็นที่เรียบร้อยและประทับใจ


Rank: 8Rank: 8

IMG_0977.JPG



รูปเหมือนรูปนั่งขนาดเท่าองค์จริงของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานภายใน วิหารบูรพาจารย์ (วิหารหลวงปู่มั่น) วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   


Picture-579.jpg


ประวัติรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

พระโสภณธรรมสาร เจ้าอาวาสวัดป่าดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม เชียงใหม่ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการหล่อรูปเหมือนหลวงปู่มั่นไว้ว่า

"เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๕ เวลา ๑๐.๑๙ น. ณ สวนแสงธรรม อำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม ได้ทำพิธีเททองหล่อรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สูง ๑.๗๓ เมตร ในอิริยาบถยืน หล่อด้วยทองสำริดรมดำส่วนหนึ่งของทองที่ใช้หล่อครั้งนี้ เป็นแผ่นทองจังโกที่ได้จากการขุดค้นในการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์หลวง ระหว่างปี ๒๕๓๓-๒๕๓๕ (แผ่นทองหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์หลวงเมื่อครั้งพระเจ้าติโลกราชทรงสร้างเสริมพระธาตุเจดีย์หลวง พ.ศ.๒๐๒๒-๒๐๒๔)

ในการหล่อรูปเหมือนครั้งนี้ ใช้ทุนทรัพย์แสนกว่าบาท คณะศิษย์ศรัทธาของหลวงตามหาบัว (พระธรรมวิสุทธิมงคล) ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ มีหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี) เป้นประธานเททอง มีพระพุทธพจนวราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นประธานสงฆ์สายพระกรรมฐานร้อยกว่ารูปเจริญชัยมงคลคาถา

เมื่อหล่อเสร็จทำการขัดแต่งรมดำเรียบร้อยแล้ว ได้อาราธนามาไว้ในพระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร โดยการตั้งขบวนแห่ต้อนรับรูปเหมือนตั้งแต่ประตูลี้ เมืองลำพูน มาสู่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๖ ขณะนี้อาราธนาประดิษฐานไว้ในวิหารบูรพาจารย์เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งรูปหุ่นขี้ผึ้งอิริยาบถนั่งสมาธิเท่าองค์จริงหลวงปู่มั่น ที่คุณฐาวรา หวั่งลี สร้างถวาย เพื่อให้ประชาชนศิษย์ศรัทธาได้สักการบูชา"


IMG_0980.JPG

DSC09793.jpg



พระอัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานภายใน วิหารบูรพาจารย์ (วิหารหลวงปู่มั่น) วัดเจดีย์หลวง ค่ะ



IMG_0983.JPG



รูปเหมือนพระญาณสัมปันโน หลวงตามหาบัว ประดิษฐานภายใน วิหารบูรพาจารย์ (วิหารหลวงปู่มั่น) วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC09794.jpg


DSC09797.jpg



รูปหล่อรูปยืนขนาดเท่าองค์จริงของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานภายใน วิหารบูรพาจารย์ (วิหารหลวงปู่มั่น) วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Picture-583.jpg


รูปภาพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ติดอยู่ที่ผนัง ภายใน วิหารบูรพาจารย์ (วิหารหลวงปู่มั่น) วัดเจดีย์หลวง ค่ะ  


DSC09801.jpg


DSC09799.jpg



รูปภาพพระทันตธาตุ และพระอัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ภายใน วิหารบูรพาจารย์ (วิหารหลวงปู่มั่น) วัดเจดีย์หลวง ค่ะ  


Rank: 8Rank: 8

Picture-586.jpg


วิหารจตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง หลังนี้ มีฐานคอนกรีตเสริมเหล็กสูง ๑.๒๐ เมตร โครงสร้างด้านบนเป็นไม้สักและไม้มีค่าทั้งหมด หลังคาวิหารทำเป็นลักษณะกุฎาคารหรือปราสาทยอด ๓ ชั้น ส่วนยอดปราสาทติดตั้งฉัตรทองเหลืองแบบพม่า ห้องโถงวิหารที่ตั้งธรรมาสน์ใช้เสาไม้กลม ๘ ต้นค้ำยันเพดาน เสาแต่ละต้นสูง ๖ เมตร วัดรอบเสาได้ ๔๐ เซนติเมตร ใช้เสาไม้เหลี่ยมจำนวน ๕๓ ต้นรองรับ อเสและคร่าวสำหรับประกอบฝาข้อสองสลับลูกกรง เสาแต่ละต้นสูง ๓.๐๐ เมตร วัดเสารอบได้ ๒๐ เซนติเมตร ประดับด้วยลวดลายฉลุปิดทอง ปูพื้นด้วยกระเบื้องเซรามิค ขนาด ๖ X ๖ นิ้ว สีภายในวิหารใช้โทนสีแบบโบราณออกน้ำตาลแดง เพดานประดับด้วยลายดอกบัวติดกระจกสีค่ะ


Picture-587.jpg


ประวัติวิหารจตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง

เป็นปูชนียสถานประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุพระสงฆ์สุปฏิปันโน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วิหารหันหน้าสู่ทิศตะวันออก มีบันไดทอดลงสู่ลานประทักษิณด้านทิศตะวันตกองค์พระธาตุเจดีย์หลวง ได้ทำการฉลองสมโภชถวายเป็นสมบัติพระศาสนาในวันที่ ๑๓ - ๑๔ มกราคม ๒๕๔๙

วางศิลาฤกษ์เพื่อทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ อันเป็นวันทำบุญอายุครบ ๘๗ ปี ของพระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร โดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัวญาณ สัมปันโน) และพระพุทธพจนวราภรณ์ เป็นประธานร่วมในการวางศิลาฤกษ์ คุณฐาวรา หวั่งลี เป็นเจ้าภาพให้ความอุปถัมภ์ในการก่อสร้างที่ต้องใช้ทุนทรัพย์ ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท ระยะก่อสร้าง ๑ ปี ขนาดของอาคารกว้าง ๑๐.๕๐ เมตร ยาว ๑๐.๕๐ เมตร

วิหารจตุรมุขบูรพาจารย์ เป็นศิลปสถาปัตยกรรมแบบพื้นบ้านล้านนาลำปางจำลองแบบมาจากมณฑปจตุรมุขวัดปสนุกใต้ (กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนไว้เป็นวัดปงสนุกเหนือ อันเป็นวัดพี่วัดน้องในชุมชนเดียวกัน เพียงแต่แยกเป็นเหนือ/ใต้) ซึ่งเป็นวัดประจำชุมชนปงสนุก ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ชุมชนปงสนุกนี้เป็นชาวโยนกเชียงแสน ที่ถูกกวาดต้อนมาสมัยเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ ๒ (พระเจ้าดวงทิพย์) บริเวณชุมชนปงสนุกนี้ เคยเป็นวัดเก่าแก่สืบมาแต่ครั้งพระเจ้าอนันตยศโอรสพระนางเจ้าจามเทวี ชาวโยนกเชียงแสนได้ฟื้นฟูขึ้นเป็นวัดอีกครั้ง ต่อมาในสมัยเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ ๗-๘ (ราว พ.ศ.๒๔๗๙-๒๔๓๐) พระอาโนชัยธรรม จินดามุนี (ครูบาโน) จึงได้สร้างมณฑปจตุรมุขอันเป็นสถาปัตยกรรมทรัพย์สิน "ทางศรัทธา" ชั้นเยี่ยมของเมืองลำปาง

แต่วิหารจตุรมุขบูรพาจารย์สร้างให้มีขนาดใหญ่กว่ามณฑปต้นแบบ คือ กว้าง ๑๐.๕๐ เมตร ยาว ๑๐.๕๐ เมตร และส่วนที่สร้างให้แตกต่างจากต้นแบบก็คือ มุขด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวนั้น ได้ทำทางลดระดับยาว ๙ เมตร กว้าง ๒.๘๐ เมตร ปูด้วยกระเบื้องเซรามิคเชื่อมต่อทอดลงสู่ลานประทักษิณของพระธาตเจดีย์หลวงมี "มอม" สัตว์ในโบราณคดีของล้านนาอยู่ ๒ ข้าง ทางขึ้น (มอม สัตว์ในจินตนาการกลายพันธุ์) พร้อมทั้งทำหลังคากันแดดกันฝนลดหลั่นเป็นชั้นๆ ดูงามกลมกลืนอย่างลงตัว


DSC09758.jpg


รูปปั้นตัวมอม บันไดทางขึ้น/ลง วิหารจตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC09759.jpg


DSC09776.jpg



Picture-589.jpg



ตรงกลางห้องโถงของวิหารจตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง สร้างเป็นธรรมาสน์ปราสาท ฐานคอนกรีต (เฉพาะฐาน สูง ๑.๓๓ เมตร) โครงสร้างข้างบนเป็นไม้วัดรอบได้ ๔.๘๐ เมตร สูง ๔.๒๓ เมตร ศิลปะแบบพื้นถิ่นล้านนา  

ภายในธรรมาสน์ประดิษฐานบุษบกบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอีกชั้นหนึ่ง รอบๆ ฐานบุษบกจะเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนขนาดเล็กของพระอาจารย์สายหลวงปู่มั่นหลายรูป พร้อมทั้งอัฐิธาตุของแต่ละท่านที่ได้กลายเป็นพระธาตุแล้วบรรจุไว้ในมณฑป และรูปเหมือนของพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ประดิษฐานภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


DSC09779.jpg


DSC09778.jpg



อัฐิธาตุของพระสงฆ์สุปฏิปันโน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แต่ละท่านที่ได้กลายเป็นพระธาตุแล้วบรรจุไว้ในมณฑป ประดิษฐานภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   



Rank: 8Rank: 8

DSC09773.jpg



Picture-590.jpg



รูปเหมือนพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ประดิษฐานด้านหน้าธรรมาสน์ ภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง สร้างเป็นแท่นฐานคอนกรีตสูง ๘๕ เซนติเมตร วัดรอบได้ ๓.๔๐ เมตร ประดับลวดลายพื้นบ้านล้านนา สำหรับเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหุ่นขี้ผึ้งเท่าตัวจริงของพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ซึ่งเจ้าภาพคือ คุณฐาวรา หวั่งลี ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๔๙ ค่ะ   


DSC09771.jpg



เล็บ ทันตธาตุ พระเกศา พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี ประดิษฐานด้านหน้า รูปเหมือนของพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

รูปภาพพระธาตุ

ภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง



Picture-591.jpg


หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย ,   หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบึ้ง จ.เลย

หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก จ.หนองคาย   ,  หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-592.jpg


หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่  , หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู , หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-595.jpg


หลวงปู่ทวด ราษบุรณาราม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี  , ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง จ.ลำพูน
หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม จ.อุดรธานี , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-596.jpg



หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี , หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
(เรียงจากซ้าย - ขวา)


Picture-597.jpg


หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบุูรพาราม จ.สุรินทร์ , หลวงปู่บุญจันทร์ วัดป่าสันติกาวาส จ.อุดรธานี
หลวงปู่ตื้อ อาจารธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม , หลวงปู่อ่อน ญาณศิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-27 23:33 , Processed in 0.064213 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.