แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดเชียงมั่น (สังฆาราม) ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 07:14 โดย pimnuttapa

  
Resize-of-DSC00299.jpg

ภายใน วิหารจัตุรมุข วัดเชียงมั่น ตรงกลางจะมีกู่ลายเขียนทองที่สวยงาม เป็นที่ประดิษฐานพระเสตังคมณี (พระแก้วขาว) และพระศิลาปิดทองปางทรมานช้างนาฬาคีรีค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 07:17 โดย pimnuttapa

  
Resize-of-DSC00300.jpg

ด้านหน้ากู่ลาย ตรงกลางจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเงิน และด้านซ้าย - ขวาของพระพุทธรูปเงินจะเป็นพระพุทธรูปศิลาดำค่ะ   


Picture-671.jpg

พระพุทธรูปศิลาดำ องค์ด้านซ้าย เป็นรูปช้างนาฬาคีรี เป็นพระพุทธรูปแบบล้านนาตอนต้น หน้ากลม อมยิ้ม คางเป็นปม รัศมีบัวตูม ชายจีวรสั้น ขัดสมาธิเพชร ร่างอวบอ้วน นั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์ด้านขวา เป็นรูปพระอานนท์ ศิลปะแบบล้านนาตอนปลาย หน้าเรียวขึ้น รัศมีเปลวไฟ ขัดสมาธิราบ บ่าใหญ่ เอวเล็ก จีวรยาวระดับพระอุระ เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 07:17 โดย pimnuttapa

Resize-of-DSC00298.jpg

พระพุทธรูปเงิน ประดิษฐานภายใน วิหารจัตุรมุข วัดเชียงมั่น เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง เป็นพระพุทธรูปแบบล้านนาตอนปลายแท้ ชายจีวรยาวถึงพระนาภี ขัดสมาธิราบ รัศมีเปลวไฟค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 07:18 โดย pimnuttapa


Picture-676.jpg

พระเสตังคมณี (พระแก้วขาว) และพระศิลาปิดทองปางทรมานช้างนาฬาคีรี (เรียงจากซ้าย – ขวา) ประดิษฐานภายใน กู่ลาย ด้านหลังพระพุทธรูปเงินค่ะ   

คำไหว้พระเสตังคมณี
  (กล่าวนะโม ๓ จบ) เสตังคะมณี  พุทธะพิมพัง  มหาเตชัง  มหิทธิกัง  โย  เว  พุทธัง  นะมัสสันโต  สัคคะติง  โส  คะมิสสะติ เตเนตัง  พุทธพิมพัญจะ  อะหัง  วันทามิ  สัพพะทา

คำไหว้พระศิลาเจ้า
(กล่าวนะโม ๓ จบ)  สีลาพิมพัง  สุรูปัญจ  อิธิเตชัง  มหัพพลัง  โย  เว  พุทธัง  นมัสสันโต  นิพพานัง  โส  คะมิสสะติ  เตเนตัง  พุทธพิมพัญจะ  อะหัง  วันทามิ  สัพพะทา  นัสสันตุ  เม  สัพพะโรคา  สัพพะภะยา  มาเม  โหนตุ  พุทธสีลา  นุภาเวนะ  สัพพะลาภา  ภะวันตุ  เมฯ

แปลว่า ผู้ใดกราบไหว้บูชา พระศิลาพุทธรูปเจ้า ซึ่งมีพระพุทธรูปอันสวยงาม มีอิทธิเดช มีกำลังเป็นอันมาก ผู้นั้นจักได้เข้าถึงยังพระนิพพาน เหตุดังนั้น ข้าพเจ้าจักไหว้พระศิลาพุทธองค์นั้นตลอดกาลทุกเมื่อ สรรพโรคของข้าพเจ้าจงฉิบหายไป สรรพภัยขอจงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธศิลาเจ้า สรรพลาภจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญฯ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-6-21 23:11  

Picture-672.jpg

ประวัติพระเสตังคมณี อายุ ๑,๘๐๐ ปี เรียกอีกอย่างว่าแก้วขาว หน้าตักกว้าง ๔ นิ้ว สูงประมาณ ๖ นิ้ว พระแก้วขาวเป็นฝีมือการสร้างของชาวละโว้ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ของพระแม่เจ้าจามเทวีที่ได้อัญเชิญมาจากเมืองละโว้ ภายในบรรจุพระบรมธาตุ ๔ องค์ พระพักตร์เป็นรูปไข่ เอวเล็ก บ่าใหญ่ นั่งขัดสมาธิราบ ชายจีวรยาว ทำด้วยหินสี เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือประติมากรรมชาวละโว้หรือขอม ในสมัยที่มีอำนาจปกครองบริเวณดินแดนสุวรรณภูมิและตั้งราชธานีอยู่ที่ละโว้

ต่อมาภายหลัง พ่อขุนมังรายมหาราชตีเมืองลำพูนได้ ไฟเกิดไหม้ทั้งเมือง แต่พระแก้วขาว ภายในพระราชวัง หาได้ถูกเพลิงไหม้ไม่ แต่บริเวณรอบๆ นั้น ถูกไฟเผาผลาญพินาศหมดสิ้น พระองค์เห็นอัศจรรย์เช่นนั้น จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระบูชาประจำพระองค์จนตลอดรัชกาล แม้ในเวลาออกศึกก็อัญเชิญพระแก้วขาวไปด้วยทุกครั้ง สมัยต่อมาเมื่อพ.ศ. ๒๐๒๒ จึงได้อัญเชิญไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง แล้วก็มาประดิษฐานที่วัดเชียงมั่นจนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติพระศิลาปิดทองปางทรมานช้างนาฬาคีรี อายุ ๒,๕๐๐ ปี ดูจากพุทธลักษณะที่ช่างได้ประดิษฐานขึ้น น่าจะเป็นศิลปะอินเดียแบบปาละ ลักษณะยืนแบบ triple flexion ตามพุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จออกบิณฑบาตกับพระสาวก ครั้งนั้นพระเทวทัตไปมอมเหล้าช้างให้มาทำร้ายพระพุทธเจ้า พระอานนท์ก็ยอมตายแทน โดยออกมาขัดขวางหน้าไว้ แต่พระพุทธเจ้าท่านบอกให้พระอานนท์หลบไป ด้วยพุทธานุภาพทำให้ช้างสงบลงและเชื่องในที่สุด


ตำนานพระศิลาปิดทองปางทรมานช้างนาฬาคีรี เป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบลังกา สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ตามตำนานได้เล่าว่า พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงให้ไปเอาหินพิมผการ (คล้ายหินอ่อน) มาแต่ท้องมหาสมุทร แล้วให้ช่างแกะสลักเป็นพระพุทธรูปปางเสด็จบิณฑบาตปราบช้างนาฬาคีรีที่กรุงราชคฤห์ ในกาลนั้น พระอรหันต์ทั้งหลายและพระเจ้าอชาตศัตรูพร้อมใจกันอธิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ๗ องค์ ให้เสด็จเข้าไปสถิตอยู่ในองค์พระศิลานั้น ครั้นแล้ว พระศิลาก็แสดงอิทธิฤทธิ์เสด็จลอยขึ้นสู่นภากาศสูงประมาณพอที่คนจะมองเห็นได้ แล้วเสด็จลงมาสถิตเหนือบัลลังก์ดังเดิม

ต่อมาก็มีพระเถระ ๓ องค์ หนึ่งในนั้นคือ พระมหากัสปะเถระเจ้าเล่าว่า ได้นำพระพุทธรูปอัญเชิญมาสู่เมืองลังกาโดยเรือสำเภา แล้วเดินทางผ่านเมืองศรีสัชนาลัย ลำปาง มายังเมืองเชียงใหม่ตามลำดับ ในขณะที่พระศิลาสถิตอยู่ตามที่ต่างๆ นั้น เมื่อได้กราบไหว้บูชาและสรงด้วยน้ำหอมแล้ว ก็จะมีฝนตกลงมา สร้างความชุ่มชื่นและร่มเย็นให้เกิดขึ้นในที่นั้นทันที และได้นำมาถวายพญามังรายซึ่งครองเวียงกุมกามประมาณพ.ศ.๑๘๓๓ และได้ถูกจำลองไว้ ๒ องค์ คืออยู่ที่ วัดสวนดอก ๑ องค์ และอยู่ที่วัดหัวข่วงอีก ๑ องค์ ต่อมาเมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๓๓๔ พระเจ้ากาวิละได้สร้างฐานพระพร้อมซุ้มทำด้วยไม้ลงรักปิดทองค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-6-21 23:34  

Resize-of-DSC00302.jpg

ระฆัง ด้านข้าง วิหารจัตุรมุข วัดเชียงมั่น ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 07:18 โดย pimnuttapa

Resize-of-DSC00296.jpg

เดี๋ยวเราไปกราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดเชียงมั่น (สังฆาราม) กันต่อค่ะ ตามมาเลยค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 07:20 โดย pimnuttapa

  
Resize-of-DSC00307.jpg

พระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประดิษฐานด้านหลัง วิหารใหญ่ วัดเชียงมั่น (สังฆาราม) ซึ่งอยู่ด้านหน้าพระบรมธาตุเจดีย์ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 07:21 โดย pimnuttapa


Resize-of-DSC00304.jpg

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเชียงมั่น (สังฆาราม) ค่ะ   

จารึกจดหมายเหตุเกี่ยวกับวัดเชียงมั่น


• พ.ศ. ๑๘๓๙ พญามังรายก่อเจดีย์ทัดที่หอนอนบ้านเชียงมั่น แล้วลวดสร้างเป็นวัดใส่ชื่อวัดเชียงมั่น บัดนั้น
• พ.ศ. ๒๐๑๔ พระเจ้าติโลกราชก่อเจดีย์คร่อมทับองค์เดิม
• พ.ศ. ๒๑๑๔ พญาแสนหลวงสร้างเจดีย์คร่อมทับครั้งที่ ๒
• พ.ศ. ๒๓๓๙ ยามใกล้จะเที่ยงวันขึ้น ๑๒ ค่ำ วันพฤหัสบดีพระยามังราวชิรปราการกำแพงแก้ว (เจ้ากาวิละ) ยกพลเข้าเมืองผ่านประตูช้างเผือกโดยจัดให้ “ลวะจูงหมาพาแซกนำเข้าก่อนและไปพักนอนที่เชียงขวางหน้าวัดเชียงมั่นได้คืนหนึ่ง เช้ารุ่งก็อาบน้ำแต่งตัวบริโภคอาหารแล้วเมื่อถึง “ยามกลองงาย” ซึ่งเป็น “ยามอุทธังราชา” แล้วเข้าสู่ชัยภูมิเป็นที่ตั้งของพระมหากษัตริย์ในครั้งก่อน
• พ.ศ. ๒๓๔๘ เจ้ากาวิละได้บูรณะอุโบสถวัดเชียงมั่น

• พ.ศ. ๒๓๖๕  เจ้าหลวงธัมมลังกาก็ได้ผนวชที่วัดเชียงมั่น
• พ.ศ. ๒๓๖๖ เดือน ๘ อ้าย แรม ๔ ค่ำ วันอาทิตย์ เจ้าหลวงเมืองลำปางและเจ้าหลวงเมืองลำพูนเป็นประธานก็นำพระญาคำฝั้นไปบวชที่วัดเชียงมั่น แล้วให้ไปอยู่ที่วัดสวนดอกเชียงใหม่
• พ.ศ. ๒๓๖๗ เจ้าหลวงเสฏฐีคำฝั้นก็ถึงแก่พิราลัย เมื่อเจ้านายลูกหลานสร้างวิหารที่วัดเชียงมั่น เจ้าราชวงศ์ก็ได้รื้อหอขวางของเจ้าหลวงคำฝั้นไปสร้างวิหารหลังนั้นด้วย
• พ.ศ. ๒๕๐๐ พระเจ้ากาวิโลรส รื้อเอาหอขวางของเจ้าหลวงธัมมลังกามาสร้างวิหารหลวงเชียงมั่น
• พ.ศ. ๒๕๐๗ ตรงกับวันเพ็ญเดือนอ้าย พระเจ้ากาวิโลรส เมื่อเสด็จกลับมาจากกรุงเทพฯ แล้ว ได้ตั้งการฉลองสมโภชพระแก้วเศวตมณี (พระแก้วขาว)

• พ.ศ. ๒๔๑๖ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้สร้างอุโบสถวัดเชียงมั่น สร้างฐานทองคำพระแก้วข้าว และฉัตรด้วยญาติพี่น้อง
• พ.ศ. ๒๔๒๐ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้สร้างวิหารหลวงวัดเชียงมั่น เดือน ๕ แรม ๑๑ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๕ ปกวิหารหลวงวัดเชียงมั่นที่นั้นแลเจ้าเฮย
• พ.ศ. ๒๔๒๖ เจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ฉลองวิหารวัดเชียงมั่นที่รื้อจากท้องพระโรงของพระเจ้ากาวิโลรสไปสร้าง
• พ.ศ. ๒๔๔๐ เจ้าอินทวิชยานนท์ ถวายทานหอพระไตรปิฎกวัดเชียงมั่น เดือน ๗ เพ็ญ
• พ.ศ. ๒๔๔๗ เจ้าอินทวโรรส สุริยวงษ์ ทำบุญฉลองพระไตรปิฎกที่วัดเชียงมั่นและถวายกฐินด้วย เดือนยี่ เหนือ ขึ้น ๑๒ ค่ำ
• พ.ศ. ๒๔๔๙ เจ้าอินทวโรรส สุรยวงษ์ ทำบุญฉลองซุ้มพระพุทธรูปในวิหารหลวงวัดเชียงมั่น เดือน ๙ เหนือ แรม ๑๔ คำ
• พ.ศ. ๒๔๗๕ ครูบาศรีวิชัย เป็นพระประธานมาบูรณะวิหารหลวงวัดเชียงมั่น
• พ.ศ. ๒๔๘๓ ครูบาหมวก สุภาโร เป็นประธานบูรณะเจดีย์
• พ.ศ. ๒๔๙๑ ครูบาอินภา อินทจกโก เป็นประธานสร้างศาลา 2 หลังและหอสรง
• พ.ศ. ๒๕๐๔ ครูบาอินภา อินทจกโก เป็นประธานบูรณะวิหารหลวงและสร้างหอสิริวิชยครุนิมิต

• พ.ศ. ๒๕๑๔ ครูบาอินภา อินทจกโก เป็นประธานสร้างวิหารตุรมุขประดิษฐานพระเสตังคมณีและพระศิลา
• พ.ศ. ๒๕๑๖ วันพุธที่ ๓ มกราคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเสด็จมานมัสการและสรงน้ำพระเสตังคมณี พระศิลา วัดเชียงมั่น
• พ.ศ. ๒๕๒๔ พระปลัดสมพงษ์ สมจิตโต เป็นประธานสร้างกุฏิสงฆ์
• พ.ศ. ๒๕๒๘ พระปลัดสมพงษ์ สมจิตโต เป็นประธานสร้างแท้งน้ำหอระฆัง

• พ.ศ. ๒๕๓๑ พระปลัดสมพงษ์ สมจิตโต เป็นประธานบูรณะหอไตรและกำแพง
• พ.ศ. ๒๕๓๖ พระอธิการ วสันต์ วสันตธัมโม เป็นประธานดำเนินการบูรณะสิ่งสำคัญภายในวัดครั้งใหญ่เพื่อเตรียมการฉลองสมโภช ๗๐๐ ปี วัดเชียงมั่น เมืองเชียงใหม่ ได้แก่ วิหารหลวง เจดีย์ พระเสตังคมณี และหล่อพระพุทธรูปที่ระลึก
• พ.ศ. ๒๕๓๖ กรมศิลปากร บูรณะซ่อมแซมปิดทองเจดีย์โดยได้รับการสนับสนุนจากทายาทของ นายไกรศรี นิมมานเหมินท์

• พ.ศ. ๒๕๓๗ วันอังคารที่ ๑๕ พฤศจิกายน ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ เหนือ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็นประธานหล่อประพุทธเอกอรหันต์สรรพประธานด้วยเงินบริสุทธิ์ และพระสิงห์ ๑ พระสิงห์ ๒ ด้วยทองสัมฤทธิ์ ทอดกฐินด้วย
• พ.ศ. ๒๕๓๘ กรมศิลปากร ซ่อมแซมฐานพระเสตังคมณี
• พ.ศ. ๒๕๓๙ วันเสาร์ที่ ๑๓ มกราคม นางจวนจันทน์ บุรกรมโกวิท สร้างฉัตรทองคำประดับเพชรถวายพระเสตังคมณี
• พ.ศ. ๒๕๓๙ ๑-๕ เมษายน พระครูสันติธรรมวัฒน์ (วสันต์) เป็นประธานจัดงาน ฉลองสมโภช ปอยหลวง เจดีย์ วิหารหลวง พระเสตังคมณี พระศิลา ๗๐๐ ปีวัดเชียงมั่น เมืองเชียงใหม่
• พ.ศ. ๒๕๓๙ ๑๑ เมษายน จังหวัดเชียงใหม่ อาราธนาพระเสตังคมณี พระศิลา แห่รอบเมือง นำไปตั้งที่อนุสาวรีย์ ๓ กษัตริย์ ๑๒ เมษายน สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จมานมัสการสรงน้ำในโอกาส ๗๐๐ ปี เมืองเชียงใหม่

• พ.ศ. ๒๕๔๒ วันเสาร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน แรม ๕ ค่ำ เดือนยี่เหนือ นายอมรพัน นิมานันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานหล่อพระพุทธรูปทรงเครื่อง เฉลิมฉลองพระชนมุ ๖ รอบ ๗๒ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
• พ.ศ. ๒๕๔๓ พระครูสันติธรรมวัฒน์ (วสันต์) เป็นประธานบูรณะซ่อมแซมอุโบสถและพระพุทธรูป
• พ.ศ. ๒๕๔๔ ๑-๔ เมษายน พระครูสันติธรรมวัฒน์ (วสันต์) เป็นประธานจัดงานฉลองสมโภช ปอยหลวง อุโบสถและพระพุทธรูป

ศรัทธา นายไพโรจน์ นางพรรณี ภัทรโกศล สร้างจารึกนี้



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 07:22 โดย pimnuttapa

  
Resize-of-DSC00305.jpg

ประวัติพระบรมธาตุเจดีย์ วัดเชียงมั่น (สังฆาราม) สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปีพ.ศ. ๑๘๓๙ พญามังรายโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นในที่หอนอนประทับของพระองค์ และสถาปนาเป็นวัดเรียกว่า วัดเชียงมั่น ต่อมาเจดีย์คงพังลงในรัชกาลพระเจ้าติโลกราชจึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหม่ในปีพ.ศ. ๒๐๑๔ โดยพระเจ้าติโลกราชโปรดให้ซ่อมแซมด้วยศิลาแลง จากลักษณะส่วนยอดแสดงว่า คงจะซ่อมใหม่ ซึ่งอาจเป็นการซ่อมแซมเมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๑๑๔ โดยพญาแสนหลวง สำหรับลวดลายประดับและจรนำเรือนธาตุนั้น น่าจะมีการปรับเปลี่ยนเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๕ นี้เองค่ะ



‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-6 22:22 , Processed in 0.041034 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.