แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

๒๓. วัดบ่อน้ำทิพย์




DSC00606.jpg


วัดบ่อน้ำทิพย์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในส่วนของเวียงกุมกามชั้นนอก เป็นวัดโบราณในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ตั้งอยู่ริมน้ำปิง (ห่าง) ท่าน้ำปิงที่ใช้ขึ้นสู่หมู่บ้านแถบนี้ชื่อท่าป่ากล้วยและท่าม่วงเขียว ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของท่าป่ากล้วย ริมถนนเชียงใหม่-ลำพูน สายเดิม ซึ่งแต่เดิมเป็นพนังกั้นน้ำของลำน้ำปิง เส้นทางนี้เป็นเส้นทางเดินทัพและเส้นทางค้าขายมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยขุนหลวงวิลังคะ แม่ทัพของกองทัพชาวลัวะ ซึ่งอยู่ทิศเหนือของเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน ยกทัพตีเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ของพระแม่เจ้าจามเทวีและพ่ายแพ้ต่อกองทัพของพระแม่เจ้าจามเทวีในเวลาต่อมา

หลังจากนั้นพระยามังรายก็ใช้เส้นทางนี้ตีนครหริภุญชัย (ลำพูน) ได้ ในปีที่พระยามังรายตีเมืองลำพูนจากพระยายีบาได้ จากหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งเขียนโดยพระรัตนปัญญาเถระเมื่อ พ.ศ.๒๐๖๗ ระบุว่าตีได้เมื่อจุลศักราช ๖๕๔ ซึ่งตรงกับ พ.ศ.๑๘๓๕ หลังจากนั้นก็สร้างเมืองแซ่วซึ่งต่อมาถูกน้ำท่วม จากนั้นมาสร้างเวียงกุมกามใน พ.ศ.๑๘๓๗ และเวียงเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๙ ในเวลาต่อมาค่ะ


DSC00616.jpg


ศาลา วัดบ่อน้ำทิพย์ ค่ะ



DSC00609.jpg


DSC00610.jpg



DSC00611.jpg



พระพุทธรูป
ประดิษฐานภายใน ศาลา วัดบ่อน้ำทิพย์ ค่ะ  


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00634.jpg



ฐานซากโบราณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
วัดบ่อน้ำทิพย์ อยู่ด้านข้าง ศาลา ค่ะ


DSC00629.jpg


ฐานอาคาร วัดบ่อน้ำทิพย์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อยู่ด้านหลัง ศาลา ค่ะ


DSC00623.jpg



DSC00626.jpg


วิหาร
วัดบ่อน้ำทิพย์ เหลือแต่เฉพาะส่วนฐานค่ะ


DSC00632.jpg


บ่อน้ำทิพย์ วัดบ่อน้ำทิพย์ ค่ะ


ประวัติวัดบ่อน้ำทิพย์


ในระหว่างที่พญามังรายสร้างเวียงกุมกามอยู่นั้น ได้ประทับชั่วคราวอยู่ที่บริเวณวัดบ่อน้ำทิพย์ พญามังรายนั้นเชี่ยวชาญทุกด้าน และด้านที่ไม่มีหนังสือเล่มใดกล่าวถึงคือด้านการแพทย์ โดยการใช้ว่านทำสมุนไพรเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เมื่อประชาชนขอรักษามากขึ้นเรื่อยๆ กองแพทย์ของพญามังรายจึงรักษาไม่ไหว จึงได้ปรึกษาพญามังราย พญามังรายจึงบรรชาให้ขุดย่อย่ำขึ้น ๓ บ่อ ในแนวตะวันออก ตะวันตก และทำยาสมุนไพรซึ่งเป็นว่านต่างๆ ปั้นเป็นรูปพระพุทธรูปวางประดิษฐานไว้ในบ่อน้ำทั้ง ๓ บ่อ

บ่อที่ ๑ อยู่ในแนวตะวันตกสุดเป็นบ่อขนาดเล็ก ขอบบ่อกว้างแค่ประมาณ ๑ เมตร เป็นบ่อน้ำทิพย์ที่ใช้รักษาเฉพาะราชวงศ์ มีผู้พบเห็นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๐ มีข่าวลือว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์ ปัจจุบันหายสาบสูญไป ผู้พบเห็นปัจจุบันยังคงมีชีวิตอยู่หลายคน


บ่อที่ ๒ คืออยู่ที่วัดบ่อน้ำทิพย์แห่งนี้ เป็นบ่อที่อยู่ตรงกลาง ปัจจุบันขุดพบเพียงบ่อเดียว เป็นบ่อที่พญามังรายสร้างไว้สำหรับทหารข้าศึกแม่ทัพนายกอง เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ


บ่อที่ ๓ อยู่ในทิศตะวันออกสุด เป็นบ่อที่ใช้รักษาโรคของประชาชนทั่วไป ปัจจุบันคาดว่าจะอยู่ในแนวถนนวงแหวนรอบกลาง

หลังจากพญามังรายได้สร้างเวียงกุมกามและเชียงใหม่เสร็จแล้ว เชื่อว่ายังคงมีการนำน้ำทิพย์จากบ่อน้ำทั้ง ๓ แห่งนี้ ไปใช้รักษาโรค หรือใช้ในการทำพิธีศาสนาสำคัญ รวมทั้งในการทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับออกศึกสงครามหลายชั่วชีวิตคน และในสมัยพม่าปกครองล้านนา พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗ ประชาชนได้หลบหนีภัยสงครามเข้าไปอยู่ในป่าเขาประกอบกับลำน้ำปิงเปลี่ยนเส้นทาง ชุมชนวัดบ่อน้ำทิพย์ได้ลดความสำคัญลงไปและร้างไปในที่สุด

ชุมชนวัดบ่อน้ำทิพย์ คงเริ่มมีบ้านเรือนผู้คนอาศัยอยู่หลังจากพระยากาวิละฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่อีกหลายสิบปีเนื่องจากสมัยนั้นผู้คนมีน้อยมีการอพยพประชาชนจากเมืองต่างๆ ทางทิศเหนือของประเทศปัจจุบันมาอยู่อาศัยในบริเวณนี้ที่เรียกว่า เทครัว ด้านทิศเหนือของชุมชนวัดบ่อน้ำทิพย์เรียกว่า บ้านเขิน ซึ่งเป็นการอพยพประชาชนจากเมืองเขิน ประเทศพม่าในปัจจุบัน

สำหรับปัจจุบันชุมชนบ่อน้ำทิพย์ เป็นที่รวมตัวกันอนุรักษ์โบราณสถานแห่งนี้ ไม่ได้หวังว่าวัดบ่อน้ำทิพย์แห่งนี้จะเป็นที่รักษาโรคภัยไข้เจ็บให้หายเหมือนในสมัยพญามังรายยังคงมีชีวิตอยู่ เพียงแต่เห็นว่าเป็นสถานที่ที่ร่มรื่นสวยงาม เป็นปอดของชุมชนในภาวะอากาศเป็นพิษเหมาะสมต่อการพักผ่อนและออกกำลังกาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่จำหน่ายสินค้าชุมชนของหมู่บ้านในอนาคต รวมทั้งยังเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของพญามังรายผู้สร้างเวียงกุมกามและนครเชียงใหม่



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๔. วัดโบสถ์ (อุโบสถ)




DSC00390.jpg


วัดโบสถ์ (อุโบสถ) ตั้งอยู่ในเขตบ้านป่าเปอะ ตำบลท่าวังตาล อยู่นอกเขตเวียงกุมกาม ด้านทิศตะวันตก ห่างจากแนวคูเมือง-กำแพงเมือง ประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดโบสถ์มีเนื้อที่ ๘๕ ตารางเมตร ซึ่งพื้นที่บางส่วนอยู่ในที่ดินของประชาชน ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว


DSC00391.jpg


ทางเข้า/ออก
วัดโบสถ์ (อุโบสถ) ค่ะ


DSC00392.jpg


วัดโบสถ์ (อุโบสถ) แต่เดิมพื้นที่วัดนี้เป็นโบราณสถาน ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นโบสถ์ของวัดร้าง ชาวบ้านจึงเรียกกันเนื่องจากเป็นเนินลักษณะคล้ายอุโบสถ และเคยมีการขุดพบพระพิมพ์จำนวนมาก ชาวบ้านจึงเชื่อว่าเป็นอุโบสถของวัดร้าง โบราณสถานแห่งนี้อยู่ลึกลงไปจากพื้นดินปัจจุบันมาก จึงประสบกับปัญหาน้ำท่วมขัง ภายหลังการขุดแต่งและบูรณะเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๔ จึงได้นำทรายมากลบปิดโบราณสถานบางส่วนไว้ เพื่อให้คงสภาพอยู่ต่อไปได้ กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่ง เมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๓ พบโบราณสถานประกอบด้วย วิหาร และเจดีย์ ค่ะ


DSC00395.jpg


ฐานวิหาร วัดโบสถ์ (อุโบสถ) หันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คงเหลือเพียงฐานหน้ากระดานบัวคว่ำ และท้องไม้บางส่วน พื้นวิหารปูด้วยอิฐและฉาบปูนขาว พบร่องรอยฐานเสาทำจากศิลาค่ะ


DSC00399.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน ส่วนตอนหลังวิหาร วัดโบสถ์ (อุโบสถ) วางตัวตามแนวทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ค่ะ


DSC00402.jpg


ฐานพระเจดีย์
วัดโบสถ์ (อุโบสถ) ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร เหลือหลักฐานเพียงชั้นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมชั้นล่าง ลักษณะเป็นเจดีย์สมัยล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ซึ่งคล้ายวัดกู่ป้าด้อม มีแท่นบูชาตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ และทิศตะวันตก

จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุสำคัญ เช่น ยอดเจดีย์ทำจากสำริด ปะติมากรรมปูนปั้น รูปเศียรเทวดา พระพิมพ์ดินเผาชิ้นส่วนพระพุทธรูปทำจากปูนปั้น สำริดดินเผาและหินทราย นอกจากนี้ยังพบแผ่นอิฐจารึกอักษาฝักขาม จำนวน ๑๐ แผ่น ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๕. วัดป่าเปอะ




DSC00404.jpg


วัดป่าเปอะ ตั้งอยู่ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่บริเวณใกล้กับวัดโบสถ์ (อุโบสถ) ค่ะ


DSC00403.jpg


ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00405.jpg


วิหารหลังใหญ่ วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00408.jpg


วิหารหลังเล็ก วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00412.jpg


DSC00413.jpg



บรรยากาศภายใน วัดป่าเปอะ ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00414.jpg



DSC00419.jpg



พระเจดีย์
วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00418.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ พระเจดีย์ วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00416.jpg


DSC00417.jpg



รูปพระสังกัจจายน์จีน ประดิษฐานภายใน ซุ้ม ฐานองค์พระเจดีย์ วัดป่าเปอะ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๖. วัดพญามังราย




DSC00421.jpg



วัดพญามังราย ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระเจ้าองค์ดำ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเดินทางเข้าถึงจากสามแยกถนนสายเกาะกลางด้านหน้าวัดเจดีย์เหลี่ยม เลาะเสียบถนนในหมู่บ้านตามแนวลำเหมืองก็ถึงบริเวณวัด ปัจจุบันวัดอยู่ในเขตที่ดินสวนลำไยของเอกชน แปลงเดียวกันกับวัดพระเจ้าองค์ดำ วัดหนานช้างและวัดปู่เปี้ย ที่ตั้งอยู่ห่างออกมาทางทิศใต้ตามลำดับ


DSC00432.jpg


ประวัติวัดพญามังราย วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (๔๕ องศา) เข้าหาลำแม่น้ำปิงสายเก่า (ปิงห่าง) ชื่อวัดพญามังราย เป็นชื่อเรียกที่ตั้งกันขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากรในระยะที่ผ่านมา เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดนี้ แต่เมื่อพิจารณาจากที่ตั้งที่อยู่ใกล้วัดกู่คำ-เจดีย์เหลี่ยม มีบริเวณแวดล้อมที่อยู่ใกล้ชิดกับวัดพระเจ้าองค์ดำมากดังกล่าว จนดูเหมือนว่าเดิมเป็นวัดเดียวกัน ที่ผู้อุปถัมภ์วัดน่าจะมีสถานภาพทางสังคมในระดับสูง อาจจะเป็นกษัตริย์หรือเจ้านายที่เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ จึงสามารถสร้างวัดที่มีสิ่งก่อสร้างหลายๆ แห่งในบริเวณเดียวกัน โดยก่อสร้างกันในระหว่างหมู่เครือญาติ หรือสร้างประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญต่างๆ ประการสำคัญค่ะ


DSC00430.jpg


ฐานวิหาร วัดพญามังราย ค่ะ


วิหาร วัดพญามังราย ขนาดค่อนข้างใหญ่ สร้างก่ออิฐสอดินฉาบปูน มียกพื้นฐานสูงทำย่อเก็จลดทางด้านหน้า (เฉพาะข้างขวา-ข้างซ้ายเป็นบันได) ๒ ช่วง ส่วนบนวิหาร พื้นปูอิฐเดิม ปรากฏร่องรอยของฐานเสาแบบใช้ก้อนหินธรรมชาติรองรับ การที่วัดนี้มีวิหารมากหลังย่อมแสดงถึงคนหลายกลุ่มของสายตระกูลผู้อุปถัมภ์เดียวกัน ที่ได้เข้ามาทำกิจกรรมทำบุญฟังเทศนาธรรมกันมาก จึงได้สร้างวิหารไว้หลายหลัง วัดนี้มีเอกลักษณ์อยู่ที่การสร้างวิหารที่ไม่มีทางขึ้นลงหลักไว้ที่ด้านหน้า แต่สร้างไว้ที่ด้านข้างซ้าย (เมื่อหันหน้าไปทางหน้าวัด) ตอนหน้า


DSC00431.jpg


บันไดทางขึ้น/ลงหลัก อยู่ด้านข้างซ้ายทิศเหนือตอนหน้า วิหาร วักพญามังราย ค่ะ



DSC00433.jpg


แท่นแก้ว (ฐานชุกชีพระประธาน) ส่วนห้องตอนหลังวิหาร วัดพญามังราย เป็นที่ทำย่อเก็จยื่นออกมาข้างหน้า เพื่อประดิษฐานพระประธาน ซึ่งปัจจุบันพังทลายไม่เหลือหลักฐานแล้วค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00435.jpg



DSC00427.jpg



ฐานพระเจดีย์
วัดพญามังราย ค่ะ


พระเจดีย์ วัดพญามังราย ก่ออิฐสอดินฉาบปูน ปัจจุบันคงเหลือหลักฐานเฉพาะในส่วนฐาน จากระเบียบการก่อสร้างในส่วนฐานนี้ พิจารณาว่าเป็นเจดีย์ทรงมณฑปโดยเฉพาะการทำชั้นฐานปัทม์ย่อเก็จท้องไม้ลูกแก้วอกไก่สูง ๒ ชั้น พบหลักฐานลวดลายปูนปั้นประดับส่วนซุ้มพระพุทธรูปจากการขุดแต่ง และมีร่องรอยการตกแต่งปูนปั้นลายช่องกระจกสอดไส้ ลักษณะคล้ายคลึงกับที่เจดีย์วัดป่าสัก-เชียงแสน ทำให้พิจารณาได้ว่าวัดนี้อาจจะมีอายุเก่าแก่ไปถึงประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ค่ะ


DSC00428.jpg


ฐานอาคารโบราณสถาน และมีบันไดทางขึ้น/ลงด้านข้างสองแห่ง วัดพญามังราย อยู่ด้านหลังวิหารและด้านหน้าพระเจดีย์ค่ะ


DSC00434.jpg


อาคารจัตุรมุข วัดพญามังราย ลักษณะผังพื้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำย่อเก็จเป็นมุขยื่นออกไปทั้ง ๔ ด้าน เดิมคงจะประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ มีโครงสร้างและเครื่องยอดหลังคาที่งดงามค่ะ


DSC00429.jpg


กำแพงแก้ว และประตูโขงด้านหน้า วัดพญามังราย ปัจจุบันยังขุดแต่ง-บูรณะเพียงเฉพาะด้านหน้าโดยที่ส่วนของกำแพงแก้วเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนตอนล่าง ซึ่ง ณ เวลาปัจจุบันยังขุดแต่งขอบเขตกำแพงแก้วไม่ครบทุกด้าน ส่วนประตูโขงทำย่อเก็จในส่วนฐาน อันแสดงถึงว่าแต่เดิมเคยมีส่วนของเสาและสิ่งก่อสร้างในส่วนเครื่องหลังคา


กำแพงแก้ว และประตูโขงด้านหน้า
วัดพญามังราย เป็นรูปแบบที่พบเห็นได้ของวัดในเขตล้านนาโดยทั่วไป ซึ่งอาจจะมีการสร้างเสริมขึ้นมาในระยะหลังก็ได้ ซึ่งการทำประตูโขงกำแพงแก้วที่สร้างล้อมรอบเขตพุทธาวาสของวัดนี้ พบหลักฐานการอ้างอิงถึงในเอกสารโบราณอย่างน้อยอยู่ในสมัยยุคทองของล้านนา-สมัยพญาติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๑) เป็นต้นมา ดังเช่นที่ได้กล่าวการสร้างกำแพงแก้วไว้ในประวัติวัดเจ็ดยอด (โพธารามมหาวิหาร) อันเป็นสถานที่กระทำมหาสังคายนพระไตรปิฏกครั้งที่ ๘ ของโลก ในวาระพุทธศาสนายังมีอายุครบ ๒,๐๐๐ปี ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๗. วัดพระเจ้าองค์ดำ




DSC00421.jpg


DSC00426.jpg



วัดพระเจ้าองค์ดำ ตั้งอยู่ในเขตที่ดินเอกชน บริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือเวียงกุมกาม กลางทางระหว่างวัดเจดีย์เหลี่ยม และวัดธาตุขาว (ร้าง) แต่เดิมน่าจะเป็นอาคารพุทธศาสนสถานกลุ่มเดียวกับวัดพญามังราย ที่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือในเขตใกล้เคียงกัน พื้นที่โดยรอบเป็นเขตสวนลำไย ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ใกล้กับเขตวัดศรีบุญเรือง ด้านทิศใต้ใกล้เคียงกับวัดหนานช้าง (ร้างและวัดปู่เปี้ย (ร้าง) ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่าวัดพระเจ้าองค์ดำ อันเนื่องมาจากการที่เคยมีผู้ขุดพบพระพุทธรูปองค์สีดำ ณ วัดนี้

โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง-บูรณะวัดพระเจ้าองค์ดำ ได้แก่ พระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กศิลปะแบบล้านนาหลายองค์ พระพุทธรูปสำริดนาคปรกทรงเครื่องแบบศิลปะเขมร-ลพบุรี พระพิมพ์แบบหริภุญไชย (พระสิบสอง) ลวดลายปูนปั้นตกแต่งประดับต่างๆ และ (เศษ) ภาชนะดินเผา ผลิตภัณฑ์ของเตาสมัยล้านนาในหลายรูปแบบค่ะ


DSC00441.jpg


กลุ่มพระเจดีย์-วิหาร วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


ประวัติวัดพระเจ้าองค์ดำ แต่เดิมมีบริเวณวัดที่กว้างขวาง สิ่งก่อสร้างพบ ๒ กลุ่ม ที่เป็นกลุ่มเจดีย์-วิหาร และอาคารประเภทวิหารทางด้านทิศใต้ เดิมวัดนี้คงเป็นวัดที่สำคัญของเวียงกุมกามอีกวัดหนึ่ง เพราะได้พบหลักฐานสิ่งก่อสร้างหลายแห่ง อีกทั้งรูปแบบของอาคารแต่ละแห่งนั้นมีลักษณะเฉพาะของตนเอง โดยเฉพาะการทำย่อมุมในส่วนฐานเจดีย์ประธาน รวมถึงฐานพระพุทธรูปต่างๆ

ผังรูปแบบการก่อสร้าง วัดพระเจ้าองค์ดำ สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่สายแม่น้ำปิง (ห่าง) ในแนวแกนทิศเดียวกันกับวัดพญามังราย การศึกษาเปรียบเทียบและกำหนดอายุสมัยวัดพระเจ้าองค์ดำ กล่าวได้ว่า บรรดาสิ่งก่อสร้างของทั้งวัดพระเจ้าองค์ดำและวัดพญามังราย แต่เดิมน่าจะเป็นกลุ่มวัดเดียวกัน เพราะเหตุที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันมาก อีกทั้งยังสร้างพระเจดีย์-วิหารหันหน้าไปในแนวเดียวกัน ซึ่งจากทำงานขุดแต่ง-บูรณะของกรมศิลปากรแต่เดิมในปีพ.ศ.๒๕๓๐ นั้นก็เรียกชื่อรวมเป็นวัดเดียวกันว่า กลุ่มวัดพระเจ้าองค์ดำ จนมาในระยะหลังได้มีการแยกออกเป็น ๒ วัด ดังเช่นในปัจจุบันนี้


DSC00440.jpg


ฐานวิหาร วัดพระเจ้าองค์ดำ ส่วนฐานก่อสร้างด้วยอิฐสอดินฉาบผิวนอกด้วยปูนขาว โดยทำมุขด้านหน้าลดระดับกับส่วนท้องใหญ่ของวิหารอย่างชัดเจนค่ะ


DSC00444.jpg


แท่นแก้ว (ฐานชุกชีพระประธาน) ส่วนห้องตอนหลังวิหาร วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


DSC00442.jpg


รูปปั้นตัวหัวบันไดแบบขดก้นหอย วิหาร วัดพระเจ้าองค์ดำ เป็นรูปขดก้นหอยปูนปั้นลักษณะเดียวกับหัวบันไดขึ้นลานปทักษิณฝั่งตะวันออกของเจดีย์ประธานวัดอีค่างค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00439.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


พระเจดีย์ วัดพระเจ้าองค์ดำ ทำฐานพระเจดีย์เป็นแบบย่อมุม ๒๐ ย่อเก็จในส่วนฐาน รูปทรงเดิมพระเจดีย์น่าจะเป็นทรงระฆัง เพราะไม่การทำฐานย่อเก็จแบบเจดีย์ทรงมณฑป ซึ่งไม่เหมือนกับวัดแห่งอื่นๆ ในเขตเวียงกุมกาม นอกจากการมีฐานย่อมุม ๒๐ ดังกล่าวแล้ว พิจารณาว่าน่าจะก่อสร้างร่วมสมัยกับอยุธยา โดยเฉพาะระยะหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อีกทั้งการทำแท่นบูชาไว้ตอนบนส่วนฐานเขียงตอนล่างนั้น ไม่ค่อยพบในเจดีย์ที่อื่นๆ เพราะโดยทั่วไปที่พบเห็นมักจะทำไว้นอกส่วนของฐานเจดีย์ ด้านโบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง ก็พบคล้ายกับที่พบจากการขุดแต่งวัดพญามังราย

ดังนั้นการกำหนดอายุสมัยของวัดนี้ โดยเฉพาะจากรูปแบบเจดีย์ประธาน ที่มีการทำย่อมุมคล้ายกับเจดีย์แบบอยุธยา จึงพิจารณาว่าการก่อสร้าง (หรือซ่อมบูรณะ) ในระยะหลังกว่าพระเจดีย์วัดพญามังราย แต่จากรูปแบบการทำหัวบันไดปูนปั้นแบบขดก้นหอย พิจารณาได้ว่าน่าจะสร้างระยะใกล้เคียงกับฐานลานปทักษิณพระเจดีย์วัดอีค่างในระยะพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา


DSC00448.jpg


ฐานอาคาร ๓ แห่งทางด้านข้าง (ทิศใต้) และพระเจดีย์ วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


DSC00443.jpg


ฐานอาคารแห่งแรก ของกลุ่มอาคาร ๓ แห่งทางด้านข้าง (ทิศใต้) วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


DSC00445.jpg


ฐานอาคารแห่งที่สอง ของกลุ่มอาคาร ๓ แห่งทางด้านข้าง (ทิศใต้) วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


DSC00446.jpg


ฐานอาคารแห่งที่สาม ของกลุ่มอาคาร ๓ แห่งทางด้านข้าง (ทิศใต้) วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๘. วัดธาตุขาว




DSC00451.jpg


วัดธาตุขาว ตั้งอยู่ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่  ทางทิศใต้วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ในเส้นทางผ่าทางเข้าวัดพญามังราย-พระเจ้าองค์ดำมาทางใต้ ในเขตพื้นที่ทางด้านตะวันตกของเวียงกุมกามและวัดปู่เปี้ย (ร้าง) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สภาพปัจจุบันเป็นวัดร้าง และขึ้นบัญชีเป็นวัดของกรมศาสนา สภาพแวดล้อมทั่วไปแวดล้อมด้วยสวนลำไยของเอกชน มีถนนบุญรักษ์สายใหม่ตัดผ่านด้านหน้าวัดค่ะ


DSC00453.jpg


ผังรูปแบบการก่อสร้างและลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรม วัดธาตุขาว ค่ะ

วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จากหลักฐานด้านเอกสารไม่ปรากฏการกล่าวอ้างอิงถึงถึงประวัติของวัดนี้ว่าการก่อสร้างขึ้นเมื่อใด แต่เข้าใจว่าสภาพความเป็นวัดคงเกิดขึ้นแล้วในสมัยเวียงกุมกาม และดำรงอยู่ร่วมสมัยล้านนาเรื่อยมา ที่เรียกกันว่า วัดธาตุขาว ก็เนื่องมาจากแต่เดิมเจดีย์ยังคงปรากฏผิวฉาบปูนสีขาว (ธาตุ หรือ กู่ เป็นคำเรียกขานในท้องถิ่นล้านนา หมายถึง เจดีย์) ลักษณะพิเศษทางด้านการก่อสร้างพบการทำ (ฐาน) มณฑปหรือแท่นแก้วชุกชี ที่สร้างอยู่ตรงกลางอาคารใกล้เคียงทางด้านใต้พระเจดีย์


DSC00455.jpg


ฐานวิหาร วัดธาตุขาว ค่ะ


วิหาร วัดธาตุขาว สภาพคงเหลือหลักฐานเพียงส่วนฐานก่ออิฐสอดินเช่นเดียวกัน ลักษณะเดิมเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งและร่องรอยโครงสร้างเสาแล้ว เป็นวิหารที่มีหลังคาทรงหน้าจั่วเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา และเนื่องจากการขุดแต่งไม่พบหลักฐานการก่อเรียงอิฐในส่วนผนัง ทำให้เข้าใจว่าเป็นวิหารแบบโถง องค์พระประธานพังทลายไม่เหลือหลักฐานแล้ว


DSC00456.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน ส่วนด้านหลัง วิหาร วัดธาตุขาว ที่คงเหลือร่องรอยเฉพาะค่ะ


DSC00458.jpg


DSC00465.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดธาตุขาว สร้างก่ออิฐสอดินฉาบผิวด้วยปูนขาว จากรูปแบบสภาพปัจจุบันที่คงเหลือเฉพาะส่วนฐานเขียงเตี้ยตอนล่าง และชั้นปัทม์ย่อเก็จ ๒ ฐานซ้อนกัน พิจารณาว่าน่าจะเป็นเจดีย์ทรงระฆังค่ะ


DSC00466.jpg


แท่นบูชา อยู่ด้านหน้า พระเจดีย์ วัดธาตุขาว ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-6 17:54 , Processed in 0.083820 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.