แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระนอนหนองผึ้ง ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุอยู่ในพระเจดีย์) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_8665.JPG



IMG_8539.JPG



ข้อมูลพระนอนหนองผึ้ง หรือพระพุทธป้านปิง วัดพระนอนหนองผึ้ง

(แหล่งที่มา : บอร์ดป้ายข้อมูลพระนอนหนองผึ้ง ภายใน วัดพระนอนหนองผึ้ง ถ่ายรูปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙)


๑. ยาวตั้งแต่ยอดพระโมฬีถึงพระบาท ๑๙ เมตร (๓๘ ศอก)
๒. พระโอษฐ์ (ปาก) ยาว ๓๗ นิ้ว
๓. พระนาสิก (จมูก) กว้าง ๒๖ นิ้ว ยาว ๒๗ นิ้วครึ่ง
๔. พระเนตร (ตา) ยาว ๑๗ นิ้วครึ่ง
๕. พระนลาฏ (หน้าผาก) ยาว ๙๑ นิ้ว
๖. พระโสต (หู) ยาว ๘๕ นิ้ว
๗. พระศอ (คอ) ยาว ๒๐ นิ้ว วัดโดยรอบ ๑๘๘ นิ้ว
๘. ฝ่าพระบาทกว้าง ๓๑ นิ้ว
๙. พระโมฬีวัดโดยรอบ ๕๕ นิ้ว
๑๐. พระกร (แขน) ยาว ๓๑๗ นิ้ว
๑๑. พระหัตถ์ (ฝ่ามือ) กว้าง ๓๒ นิ้ว ยาว ๑๐๘ นิ้ว



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8594.JPG


img010.jpg




ตำนานพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดพระนอนหนองผึ้ง


เรียบเรียงโดย พระศรีวงค์  โชติธมฺโม (เจริญวงศ์)



(แหล่งที่มา : หนังสือตำนานพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดพระนอนหนองผึ้ง เรียบเรียงโดย พระศรีวงค์ โชติธมฺโม (เจริญวงศ์). พิมพ์ที่ดาวคอมพิวกราฟิก เชียงใหม่. พฤษภาคม ๒๕๔๔.)



ตำนานของพระพุทธไสยาสน์ เป็นภาษาพื้นเมืองเหนือ จารึกจารใส่ใบลานไว้ไม่ปรากฏว่าเขียนขึ้นในสมัยใด น่าเสียดายที่ไม่ได้จารึกปีแห่งการเขียนและสร้างไว้ให้แน่นอน มิหนำซ้ำตำนานบางแห่งก็ได้ฉีกขาดสูญหายไป ผู้เรียบเรียงได้ถ่ายทอดมาเป็นภาษาไทยและย่อความให้สั้นลงแต่ใจความนั้นไม่ให้เสียรูปส่วนข้อความที่ขาดไปนั้น ผู้เรียบเรียงสันนิษฐานและสืบถามคนที่มีอายุสูง เพื่อหาหลักฐานและให้ตำนานสมบูรณ์ขึ้น แต่อย่างไรก็ดีข้อบกพร่องคงจะมี ท่านผู้เมธีเห็นไม่สมควรอย่างไรโปรดทักท้วงไปที่ข้าพเจ้า เพื่อจะแก้ไขในคราวต่อไป อันดังนี้ขอท่านผู้อ่านที่เคารพรัก จงหาความรู้จากตำนานพุทธไสยาสน์ของวัดพระนอนหนองผึ้ง เพื่อให้เกิดทัศนานุตตริยะ ทางอักษรทัศน์ ดังต่อไปนี้ :-

นามาวตฺถุ พุทฺธรูปํ กถา ตตฺสวาโห โส ภควา ฯลฯ ในที่นี้ เราจักได้พรรณนาตำนานพระพุทธรูปเจ้าองค์หลวงก่อนยามเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรมานเที่ยวประกาศพระสัทธรรมโปรยโปรดแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ในกาละครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ไปประกาศพระศาสนาในแว่นแคว้นนครหริภุญชัยจนเป็นที่พอพระหฤทัยแล้ว มาวันหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จจากหริภุญชัยนครขึ้นมาทางทิศเหนือประมาณว่าได้หมื่นวา พระพุทธเจ้าก็ได้มาพบยังบ้านลัวะและม่าน (พม่า) แห่งหนึ่งแล้วก็สนทนาปราศรัยกันพอสมควร ส่วนม่านผู้นั้นก็ได้ไปแสวงหาหมากพลูมาถวายแด่พระพุทธองค์ แล้วกล่าวว่าข้าแต่พระพุทธเจ้าจงกุนทิจาเต๊อะ

ว่าดังนี้แล้ว พระพุทธองค์ก็รับเอามาฉันและต่อจากนั้นม่านผู้นั้นก็นิมนต์พระพุทธเจ้าเป็นประธานฉันจังหันก็ใกล้จะถึงเที่ยงวันแล้ว พระพุทธองค์ก็ได้สนทนากับพระอรหันต์และพระยาอโศกว่า พระตถาคตะมาถึงที่นี้ ม่าน (พม่า) ก็เอาหมากพลูมาถวายพร้อมทั้งข้าวบิณฑบาตและกล่าวกับตถาคตว่า ท่านจงกุนทิจาว่าดังนี้ ต่อไปภายหน้าบ้านอันนี้จักได้ชื่อว่ากุนทิจา และต่อไปภายหน้าอีกก็จักได้เปลี่ยนชื่อว่า บ้านกุมกาม ในอนาคตแหล่

ต่อจากนั้นพระอรหันต์ (อรหันตา) จึงกราบทูลพระพุทธองค์ว่า ในสถานที่นี้ก็สมควรจะไว้ศาสนาและกราบทูลขอพระเกศาจากพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็เลยให้พระเกศา ๑ เส้น แก่พระอรหันต์ พระยาอโศก ลัวะ และม่านเป็นประธานแล้วก็มาพร้อมเพรียงกันขุดหลุมลึกได้ร้อยเอ็ดศอก เอาพระเกษาใส่ไว้ในบอกไม้รวก (ไม้ไผ่) แล้วซ้ำใส่ไว้ในผอบคำใหญ่ ๕ กำมือ ก็เอาลงใส่ไว้ท่ามกลางหลุม ลัวและท่านก็ได้เสียสละข้าวของเงินคำของตนใส่ไว้ในหลุมนั้น คนทั้งหลายก็ได้นำมาใส่ไว้ด้วยความเลื่อมใสเป็นจำนวนมาก เหลือที่จะคณานับ

แล้วก็มาก่อพระเจดีย์ตรงกับพระธาตุบรรจุไว้สูง ๓ ศอก เพื่อเป็นเครื่องหมาย ต่อแต่นั้นพระพุทธเจ้าก็ทำนายไว้ว่า ถ้าบุคคลผู้ใดได้สักการบูชา คราวะคบยำด้วยความเลื่อมใสยิ่ง บ้านเมืองที่นี้ก็จักก้านกุ่งรุ่งเรืองดี (ในตอนนี้ตำนานได้ฉีกขาดสาบสูญไป ผู้เรียบเรียงสันนิษฐานว่าในระยะนี้ บ้านเมืองคงจะเกิดศึกสงคราม ประชาชนในท้องถิ่นนี้คงจะพากันอพยพไปอยู่ถิ่นอื่นเสีย ปล่อยให้บ้านกุนทิจานั้นรกร้างว่างเปล่า มีเครือเขาเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมพระธาตุไว้พอเป็นเครื่องสังเกตเท่านั้น และคงจะเป็นเวลาอันยาวนาน)

ต่อไปตำนานไม่ปรากฏ ได้มีคนหมู่หนึ่งมาอาศัยบ้านกุนทิจา มีหัวหน้า คนเหล่านั้นตำนานเรียกว่ามหาเศรษฐี และมีพระมหาเถระองค์หนึ่งซึ่งเป็นผู้รู้วิปัสสนาญาณก็ได้ติดตามมาด้วย เมื่อมาอยู่อาศัยก็ได้พบพระเจดีย์ที่ก่อไว้ก็นึกแปลกใจมาก จึงได้ชวนพระมหาเถระเจ้าไปดูสถานที่นั้น ก็เกิดความรู้สึกว่าเราก็สมควรคิดสร้างบูรณปฏิสังขรณ์อารามขึ้นไว้สักการะคารวะและให้ได้เป็นถาวรวัตถุ แต่ยังไม่รู้แน่ความเป็นมาของพระธาตุได้

ท่านพระมหาเถระและมหาเศรษฐีก็ไปสืบถามยังผู้เฒ่าผู้แก่มีอายุซึ่งอยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกับพระธาตุ และยังไม่มีใครทราบชัดว่าพระพุทธเจ้ามาเมตตาในสถานที่ใดแน่ แล้วก็มาปรึกษาหารือกันว่าเราก็สมควรรักษาพระธาตุไว้ก่อน หากบุญกุศลของเราแรงกล้าจักได้สร้าง แล้วเศรษฐีก็มาตกแต่งยังประมะมิสบูชา บวงสรวง บริกรรม ยังเทวดาอารักษ์อันรักษาพระธาตุที่นั้น

ส่วนท่านมหาเถระเจ้าก็มีใจอภิรมย์ชมชื่น ยังการที่รู้แจ้งยังสถานที่พระพุทธเจ้ามานอนครั้งแรกก็มีความปะสาทะ เกิดเลื่อมใสศรัทธาได้สละเบิกข้าวของเงินคำออกจ่ายเป็นค่าทำอิฐ (ปั้นดินจี่) ได้เป็นจำนวนมากหลายแล้วก็มาประชุมพร้อมกันทั้งภายในและภายนอก ภายในหมายมีพระมหาเถระเจ้าเป็นประธาน ภายนอกหมายมีมหาเศรษฐีเป็นประธาน กันว่าถึงนักขัตฤกษ์วันดีมงคลแล้วก็มาพร้อมกันก่อยังพระพุทธรูปเจ้านอน (พระพุทธไสยาสน์) องค์หนึ่ง ให้เสมือนดังพระพุทธเจ้ามานอนเมตตา เรียบร้อยดีแล้วก็มีการฉลอง และอุทิศถวายไว้เป็นทานในพระพุทธศาสนาต่อไป


พระมหาเถระและมหาเศรษฐีก็อยู่ปฏิบัติรักษาไปตามเขตอายุแห่งตน และก็ไปตามยถากรรมแห่งตนก็มีด้วยประการฉะนี้ พรรณนาประวัติของพระพุทธเจ้ามาเมตตานอน และเผยแผ่ศาสนาในเวียงกุมกาม และพรรณนาว่าด้วยมหาเถระและมหาเศรษฐีมาสร้างพระพุทธรูปนอนองค์หลวง พระเจดีย์ และกุฏิ ให้มหาเถระเจ้าอยู่ตอนหนึ่งก่อนแลฯ ในตอนนี้ต่อไปนี้ตำนานได้พรรณนาว่ามีเจ้าศรมณ์ (ภิกษุ) องค์หนึ่งจากทิศเหนือ เพื่อจักมาบูรณะซ่อมแซมพระพุทธรูปเจ้าป้านปิงเป็นครั้งที่สอง ดังจักได้บรรยายต่อไป

ตั้งแต่พระพุทธศาสนาล่วงพ้นไปแล้ว ๒ พันปีเศษตามเกจิอาจารย์คูณหารว่า นับตั้งแต่มหาเศรษฐี และพระมหาเถระเจ้าคิดสร้างครั้งแรก และมาถึงอาศรมองค์ที่จะมาบูรณะครั้งที่ ๒ นี้ก็เป็นเวลายาวนานปียิ่งนัก และในองค์พระพุทธรูปนอนนั้นก็เป็นอันคร่ำคร่าเสียหายไปมาก หลังแต่นั้นมาแม่น้ำระมิงค์ก็เลยกลายเป็นท้องปิงห่างไปเสีย ในที่พระพุทธเจ้ามาเมตตานอนก็กลายเป็นป่าไม้ดงหลวง มีเครือเถาวัลย์ปกคลุม

พระและในองค์พระเจ้านอนนั้นก็มีไม้รัง (ไม้ยาง) ต้นหนึ่งออกมาที่พระศอ (ป่มบ่าเบื้อง) เป็นร่มอันกว้างสาขาใหญ่นัก จักดาไม่รู้องค์แห่งพระพุทธรูปองค์หลวง ในกาละนั้นก็เป็นเวลาว่างสูญหายไม่มีคนจะรักษาดูแลปราศจากคนอยู่อาศัยดังนี้ นานต่อนานยังมีพญาองค์หนึ่งเสวยเมืองหริภุญชัยนคร ที่นั้นอยู่ไม่นานเท่าใดก็เลยเวนราชสมบัติให้อนุชา (น้อง) ขึ้นปกครองแทนเสียส่วนท่านก็ได้มาเสวยเมืองปิงเชียงใหม่

ต่อมาไม่นานเท่าไรยังมีราชบุตรอันเป็นโอรสแห่งพระองค์นั้นก็ได้พาพวกพ้องบริวารแห่งพระองค์มาตั้งบ้านอยู่ใกล้ๆ พระป้านปิงนั้นเป็นทิศหรดี (คือตะวันตกเฉียงใต้พระนอน) ไกลประมาณร้องเรียกหากันได้ยิน และอยู่มิช้ามินานสักเท่าไร หมู่ชาวบ้านที่นั้นเขาก็มาพร้อมกันสร้างวัดขึ้นที่นั้นขนานนามว่า วัดหนองเผิ้ง ใกล้บ้านนั้น (ปัจจุบันปรากฏว่า วัดร้างมีหลายแห่งชาวบ้านเรียกว่ากู่หน้าห้าง กู่แดง บัวโสถ เท่านั้นน่าเสียดายที่เขาไม่ได้จารึกไว้ให้คนรุ่นหลังได้ทราบ) แล้วจึงพร้อมกันไปอาราธนานิมนต์ศรมณ์องค์ที่กล่าวมานั้น มาเมตตาอยู่เป็นหว่างเป็นคราว ศรมณ์องค์นั้นก็หากเป็นลำญาติเชื้อสายลูกหลานแห่งเขาที่ไปนิมนต์มานั้น และที่กำเนิดแห่งเจ้าศรมณ์องค์นั้นก็มีทิศอุดรหนเหนือ

เมื่อศรมณ์องค์นั้นมาเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส พอได้ ๑ พรรษาล่วงแล้วนั้น พญาองค์เป็นพระราชบิดาแห่งเจ้าราชบุตรองค์นั้นท่านก็ได้มาทรงพยาธิอันทรุดมากนัก และท่านก็ทนต่อพระโรคมิได้ก็เลยสวรรคต (สิ้นกรรม) เสีย ราชบุตรผู้เป็นโอรสยังมิได้จัดการพระศพแห่งราชบิดา (ปิตตา) มีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นไม่ปรากฏแน่ชัดในตำนาน ท่านได้ลี้หนีไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารแห่งกษัตริย์กรุงอโยธิยา (กรุงอยุธยา) พระองค์ก็เลยมาทิ้งเสียยังราชสมบัติและพระราชมารดา (แม่) และอัครมเหสี (ภรรยา) พระบรมวงศานุวงศ์ (หมู่คณะญาติพี่น้อง) และประชาชนราษฎร (ข้าคณะมนตรี) แห่งพระองค์นั้นแหล่

ในที่นี้ จักได้พูดถึงเจ้าศรมณ์องค์มาอยู่รักษาการเจ้าอาวาส ก่อนที่ศรมณ์องค์นั้นท่านไปรู้ไปเห็นยังพระพุทธรูปเจ้าป้านปิงนั้นเป็นองค์ใหญ่โตยิ่งนักดังนี้ ท่านก็ใจปลื้มปีติเลื่อมใสศรัทธายิ่งนักแล้วก็กราบนมัสการระลึกถึงพุทธคุณ เพื่อให้เกิดพุทธานุสติกัมมัฏฐาน แล้วก็กลับมาวัดแห่งตน และแล้วก็มาสืบถามหมู่ศรัทธาทั้งหลายว่า พ่อออกแม่ออกศรัทธาอยู่ที่นี้เคยรู้เคยได้เห็นพระนอนองค์หลวงฤา เมื่อนั้นศรัทธาพ่อออกแม่ออกทั้งหลายก็ตอบว่า ก็ยังได้กราบไหว้สักการบูชาบ้างฤา หมู่ศรัทธาทั้งหลายกล่าวตอบว่า บ่ได้ไปไหว้สาสักครั้งเลยเหตุว่าเห็นก็รู้สึกเกรงกลัวมากนัก ว่าฉะนั้น

เมื่อนั้นศรมณ์องค์นั้นก็ชักชวนศรัทธาไปกราบนมัสการบูชา และนัดปรึกษากันว่าถึงวันขึ้นปีใหม่มาถึงก็พาหมู่ศรัทธาไปสรงน้ำ ไปตามแต่ความอุตส่าหะได้ และในเมื่อศรมณ์ อยู่รักษาการเจ้าอาวาสนานได้ ๗ พรรษา อายุของท่านได้ ๒๘ ปี จักย่างดข้าสู่ ๒๙ ปี นั้นเคราะห์กรรมของท่านก็มาบังเกิด เบียดเบียนร่างกายแห่งท่านที่เรียกว่าเป็นไข้

ต่อมาวันหนึ่งท่านก็อุตส่าห์ไปขอเมตตายายังที่บ้านก็ไปพบยายแก่ (ย่าเฒ่า) คนหนึ่งผู้รู้ยาอันให้หายเป็นไข้ ท่านก็เลยขอเมตตายาฉันจากยายแก่ผู้นั้น เมื่อรับฉันแล้วก็เลยผิดด้วยธาตุ ไม่ถูกโรคพยาธิ์แล้วก็กลับกลายเป็นพยาธิในลำคอรักษาอาการก็ไม่ทุเลา ท่านก็เลยเสียกำลังใจอันเป็นใหญ่นัก ท่านขอให้พี่ชาย (ปี้อ้าย) ของตนไปถามยายแก่ผู้นั้นดู และบอกอาการให้ยายก็เอายาอีกขนานหนึ่งให้มาฉัน แก้ก็ไม่หายยิ่งซ้ำกำเริบใหญ่โตกลายเป็นลำคอพองขึ้นมาอีก ท่านก็เกิดทุกขเวทนาโทมนัสใจมากนัก ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ก็ไม่หายแล้วซ้ำไปยาที่บ้านหมอฮ่อก็ไม่หายอีก ท่านก็อดทนต่อทุกข์เวทนายิ่งนัก

เมื่อนั้นยังมีมหาอุบาสกผู้หนึ่งก็หากเป็นญาติกับท่านมาเห็นเข้า ก็เป็นอันสลดใจ จึงบอกให้ท่านทราบว่ายังมีหมอคนหนึ่งเคยยาใครต่อใครหายมามากหลาย ว่าฉะนั้นแล้วก็บอกให้ท่านไปยาที่บ้านหมอ เมื่อท่านไปถึงบ้านหมอก็บอกความประสงค์ให้หมอทราบ และขอเมตตายาที่บ้านหมอ ส่วนหมอก็ตรวจดูอาการของโรคแล้วก็บอกว่าพอจะยาได้ และก็เกิดความสงสารอินดูพยายามจนสุดความสามารถ ท่านอยู่พยาบาลรักษาที่บ้านหมอนาน ๕ เดือนเต็ม พยาธิยังบ่รู้หาย เวลานั้นก็เกือบจะเป็นเวลาที่ใกล้เข้าพรรษาตามวินัยนิยมเข้ามาแล้ว ท่านก็อยากจะเข้าพรรษาที่นั้น เพื่อให้หมอได้หยูกยาด้วยสะดวก

เมื่อคิดดังนี้จึงใช้ศิษย์ที่ติดตามไปปฏิบัติอุปฐากหวนกลับมาบอกให้ลูกศิษย์ทางวัด และบอกให้ศรัทธาและศิษย์ที่อยู่ทางวัดทราบ ก็เป็นอันแตกตื่นเดือดร้อนกันมากนัก เหตุกลัวท่านจะไม่กลับมา เมื่อเขาทั้งหลายประชุมพร้อมกันด้วยประการต่างๆ ว่าเราจะทำอย่างใดกัน บางคนก็ว่าถ้าเราบ่ไปนิมนต์ท่านก็ไม่มาแน่ๆ เมื่อนั้นเขาทั้งหลายก็พร้อมกันไปนิมนต์โดยด่วน ต่อไปจะได้พูดถึงเรื่องภายหลังที่ท่านไปยายังไม่เสร็จเรื่องก่อน ยังมีอุบาสิกาผู้หนึ่งมันหากเป็นศรัทธาแห่งท่าน แล้วนางอุบาสิกาคนนั้นมีลูกชายคนหนึ่งไปเป็นศิษย์วัด (ขโยม) และนางอุบาสิกาคนนี้มันก็หากเป็นคนใช้นางราชเทวีองค์เป็นราชมารดา (แม่) แห่งราชบุตรที่หนีไปเมืองอโยธิยานั้นแล

มีวันหนึ่ง นางอุบาสิกาผู้นั้นมันก็ไปเฝ้านางราชเทวีเจ้า เมื่อนั้นนางราชเทวีเจ้าก็ถามนางอุบาสิกาว่า ได้ทราบว่าเธอมีลูกไปอยู่วัดหนึ่งฤา เมื่อนั้นนางอุบาสิกาสาวใช้ในคุ้มก็กราบทูลว่ามี นางราชเทวีถามว่าได้ร่ำเรียนหนังสือดีบ่ดี ว่าดังนี้แล้ว นางอุบาสิกาก็กราบไหว้ว่า บ่รู้เหตุว่าท่านเจ้าอาวาสก็บ่อยู่วัดไปยาตัวท่านมานานแล้ว ยังไม่กลับคืนมาวัด บัดนี้จักว่ามีผู้สอนหรือว่าบ่มียังบ่รู้ว่าดังนี้แล้ว นางราชเทวีเจ้าก็ถามต่อไปว่า ท่านไปยาหมอที่ไหนและเป็นพยาธิอันใด

เมื่อนั้นนางอุบาสิกาจึงเล่าความเป็นมาของท่านเจ้าอาวาสตั้งแต่ต้นถึงปลายให้นางราชเทวีได้ทราบทุกประการ นางราชเทวีทราบแล้วก็กล่าวกับอุบาสิกาว่าให้เธอไปนิมนต์ท่านมาเที่ยวหาฉันด้วย อนึ่งให้ทราบรู้ด้วยว่าอย่าได้เกรงขามกลัวอะไรด้วย เมื่อกล่าวกับนางอุบาสิกาแล้ว ถึงกาละอันนางอุบาสิกาจะดีสมควรกลับบ้านแล้ว นางก็รับเอาอาญาและกราบอำลากลับบ้านแห่งตนเสียก่อน

อยู่มาอีกไม่นานสักเท่าไร หมู่คณะศรัทธาก็พร้อมกันไปนิมนต์เอาท่านกลับคืน เมื่อนั้นท่านเป็นอันโต้เถียงศรัทธาบ่ได้ ท่านก็กลับวัดเดิม พยาธิแห่งท่านก็ไม่หาย ท่านก็เลยกลับวัดแห่งตนเสียก่อน กับท่านกลับวัดได้ ๒ วันแล้ว ส่วนนางอุบาสิกานั้นก็ได้ไหว้สา และบอกยังถ้อยคำแห่งพระนางราชเทวีเจ้าทุกประการ

เมื่อนั้นท่านเจ้าอาวาสจึงกล่าวตอบว่า ดูราอุบาสิกาจักใคร่ให้อาตมาไปเมตตายังมหาราชเทวีเจ้านั้น อาตมาบ่ไปอาตมาเกรงขามนัก เหตุว่าอาตมานี้บ่คุ้นเคยเจ้าคุ้นเคยนายผู้มียศศักดิ์ อาตมาก็ยิ่งเกรงกลัวบ่ไปได้ เมื่อนั้นนางอุบาสิกาผู้นั้นก็เล้าโลมว่า ท่านอย่าได้คิดเช่นนั้นเลย มหาราชเทวีเจ้าท่านมีพระหฤทัย (มีใจ๋) ยินดีและท่านก็ใคร่เห็น จึงตรัสพระอายาให้ผู้ข้ามานิมนต์ บ่ไปนั้นบ่ดี เหตุว่าคำพูดเจ้านายมีฐานันดร ยศศักดิ์ใหญ่ และท่านอย่าได้เกรงกลัวเลย ว่าดังนี้แล้ว เมื่อนั้นท่านเจ้าอาวาสก็เป็นเหลือคำบ่ได้ก็เลยได้ไปเมตตากันว่าราชเทวีเจ้าเห็นท่านก็ตรัสถามว่า ท่านไปอยู่ที่ไหน เป็นเวลาอันนานแล้ว ท่านจึงเล่าความเป็นมาที่ตนไปยานั้นตั้งแต่ต้นถึงปลายถวายให้พระนางราชเทวีเจ้าทราบทุกประการ

เมื่อนั้นนางราชเทวีเจ้าจึงกล่าวว่าดีละ กันว่าท่านต้องการประสงค์อันใด อย่าได้เกรงอกเกรงใจแห่งเราเลย หมอแห่งเราก็ยังมีในวันนี้ก็บ่ช่างว่าฤา เหตุว่าจะตะวันพลบค่ำเสียแล้ว จะไปหาหมอไม่ทันวันพรุ่งนี้นิมนต์ท่านมาที่เราอีก อย่าได้เกรงใจอะไรเลย เราหากจะจัดการให้หมอแห่งเรายาดูก่อน ตรัสดังนี้แล้วก็ถึงกาลอันสมควร ท่านเจ้าอาวาสก็ถวายพระพรลากลับวัด (ตามความสันนิษฐานเข้าใจว่า เวียงกุมกามอยู่ไม่ไกลวัดสักเท่าใด ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าอยู่ระหว่าง ต.หนองผึ้ง ต.ท่าวังตาล ติดต่อกัน)

อยู่มามินานสักกี่วันท่านเจ้าอาวาสก็ไปที่คุ้มราชเทวีเจ้า ก็ให้หญิงคนใช้ผู้หนึ่งไปเรียกเอาหมอมา หมอผู้นั้นก็มาตามราชอาญา กันว่าหมอมาถึงแล้ว ราชเทวีเจ้าก็กล่าวว่าหมอมาดีแล้ว บัดนี้เราก็มีความต้องการหนักหนา เราก็มาเห็นท่านเจ้าศรมณ์องค์นี้เป็นพยาธิ์บ่เหมือนคนอื่น เราก็มาสังเวชจึงขอหมอตรวจอาการของโรคดู ท่านศรมณ์องค์นี้ ก็เสมือนดั่งบุตรของเรา หมออย่าได้เข้าใจไปอย่างอื่นเลย ขอหมอสงเคราะห์ท่านตามครูบาอาจารย์แห่งหมอมีอย่างใดอย่างก็ตามหมออย่าได้เกรงใจเราเลย ในเรื่องยกครู (ขั้นตั้ง) เรารับรองจัดการตามธรรมเนียมทั้งหมด

เมื่อนั้นหมอก็กราบทูลว่าจะปฏิบัติตามที่พระเทวีเหนือหัวเจ้าสั่งก่อน จะหายหรือบ่หายก็ยังบ่รู้ จะค่อยยาไปตามสติกำลังดูก่อนว่า ดังนี้แล้ว ในระยะนี้ท่านเจ้าศรมณ์ก็อยู่รักษาพยาบาลตัวกับหมอผู้นั้นไปก่อน ในวันนั้นก็ถึงกาลอันค่ำมืด ท่านก็อำลาหมอและพระราชเทวีกลับวัด อยู่มามิช้ามินานหยูกยาก็หมดไปเสีย ท่านก็ไปขอเมตตาเอายากันว่าท่านไปถึงแล้วราชเทวีก็ปฏิสัณฐานต้อนรับสนทนาปราศัยไหว้สายังท่านว่า ท่านยังอยู่ที่นั้นยังได้ทราบรู้เห็นพระนอนหลวงนั้นจักว่ามีหรือบ่มี ตามดังเขามาเล่าให้เราว่ายังมีพระนอนองค์ใหญ่นอนขวางมืออยู่จริงหรือบ่จริง

ท่านตอบว่ามีจริง ตามมหาราชเทวีเจ้าว่า อาตมาก็ยังได้เห็นสารูปแห่งท่านนั้นก็เป็นอันคร่ำเสียหายมาก เหลือแต่สารูปแห่งท่านเท่านั้น ดูไม่ถี่ถ้วนแล้วจะเสมือนดั่งกำแพง ไม่แต่เท่านั้น ยังมีไม้ยางต้นหนึ่งก็มาออกที่ไหล่ติดลำคอ (พระศอ) เป็นร่มกว้าง กางกั้นรูปพระนอนดูงามร่มเย็นยิ่งนัก กันว่าถึงฤดูปีใหม่มาถึงอาตมาก็ยังได้ชักชวนป่าวร้องยังหมู่ศรัทธาทั้งหลายไปนมัสการสรงน้ำทุกปีมิได้ขาด เมื่อนั้นนางราชเทวีก็กล่าวว่าดีละท่านยังได้พากันไปถากถางทำความสะอาดฤาชา ว่าดังนี้แล้วท่าน ก็ตอบว่าอาตมาบ่ได้ไปถากถางทำความสะอาดเลย ก็เท่ายังเป็นป่าไม้ดงหนาอยู่อย่างนั้น

เมื่อนั้นราชเทวีเจ้ากล่าวตอบว่า ตั้งแต่นี้ไปขอท่านจงอุตส่าหะพาหมู่ศิษย์โยมไปทำความสะอาดตามสติกำลัง หากวันภายหน้าหลอนเป็นแต่บุญเราเจ้าข้ามี ก็หากจักไปบูรณะซ่อมแซมสร้างไว้เป็นถาวรบ้านเมืองก็บ่รู้ กับบ่ได้คิดสร้างก็เอาบุญเราเป็นไป กันเราและได้ไปถากถางทำความสะอาดไว้นั้นก็เป็นการอันดีนักแหล่ พอเป็นบุญกุศลเรา กันเราได้คิดสร้างแท้นั้นบ้านเมืองบ่เห็นกับเราอย่างไร ที่แท้มาเราก็จะจ้างเอาเป็นใหญ่

บัดนี้ในตนตัวเราก็เป็นแม่ร้างแม่หม้ายลูกก็หนีไปเสียบ่ได้อยู่เมือง ในฤดูแล้งหน้านี้เราก็จักได้ไปสร้างวิหารดอยเกิ้งเสียก่อน เพราะเหตุว่าพระบิดาเมื่อจักใกล้ตาย (สวรรคต) ได้สั่งไว้ ส่วนในพระเจ้านอนหลวงนี้ค่อยเอาบุญเป็นไป หากมีชีวิตอยู่หากจะได้สร้างวันใดวันหนึ่ง กันว่าหมดชีวิตก็หมายความว่าบ่ได้สร้างบ่มีบุญคุณแล่ กันว่าท่านบ่อับบ่จนอะไรตอนนั้นบริบูรณ์ ก็ค่อยชักชวนหมู่ศิษย์โยมไปแผ้วถางทำความสะอาดตามแต่จะได้ดูก่อน

เมื่อมหาราชเทวีสนทนากับท่านเจ้าอาวาสนั้นก็พอสมควรแก่เวลา ท่านเจ้าอาวาสก็ถวายพระพรอำลากลับสู่สำนักที่อยู่ของท่าน กันว่าท่านมาถึงสำนักแล้ว นับตั้งแต่นั้นมาท่านก็เป็นอันคุ้นเคยเข้าออกยังเจ้ายังนายสะดวก และเมื่อท่านมาถึงวัดของท่านได้สองวัน ท่านก็ไปบอกยังเฒ่าแก่พ่อบ้านแม่บ้านผู้เป็นหัวหน้า ตามคำราชเทวีเจ้าทุกประการ อยู่มาไม่นานเท่าใด ท่านก็พาหมู่ศิษย์โยมไปทำความสะอาดแผ้วถางพอให้เรียบร้อยแล้ว

ในปีนั้น ก็เป็นเวลาที่ใกล้จวนเข้าพรรษา และต่อเมื่อเข้าพรรษาถึงปวารณาออกพรรษามาถึง เดือนห้าเหนือ ท่านก็ซ้ำไปช่วยราชเทวีไปสร้างพระวิหารดอยเกิ้ง (อยู่ท้องที่อำเภอฮอด) เสีย เหตุใดท่านจึงไปช่วยโดยราชเทวีได้ขอร้อง การที่ท่านได้ไปช่วยนั้น เพราะราชเทวีมีพระคุณต่อท่าน ในคราวที่ไปหยูกยาตัวท่านแหละ ท่านบ่ลืมบุญคุณจึงเสียสละเวลาไปช่วยฉะนี้แล

เวลาที่ท่านไปนั้นเป็นเดือนห้าเหนือแรมสี่ค่ำกันไปถึงแล้ว ก็ได้ไปช่วยราชเทวีบูรณะซ่อมแซมนาคสองตัวและทาสะตาย (โบกปูน) วิหาร นานได้ห้าเดือนพอดี แล้วจึงลากลับมาเสียก่อนราชเทวี การที่ท่านกลับมาก่อนก็เพราะหมู่ศรัทธาไปนิมนต์มา เพื่อจะบวชลูกหลานญาติมิตร กันว่าท่านมาถึงแล้ว เดือนเก้าเหนือศรัทธาทั้งหลายก็พร้อมกันบวช (บรรพชา) ยังหมู่ลูกหลานเป็นสามเณร และอยู่มาอีกไม่นานก็ถึงเวลาเข้าพรรษาเสียนั่นแล

ส่วนพระนางเจ้าราชเทวี กันว่าถึงเดือนเก้าจะใกล้ดับก็ได้เสด็จมาถึงเวียงเมื่อเดือนสิบออก และต่อมาในพรรษานั้นราชเทวีก็มาประชวรป่วยหนักนัก ก็เลยได้สวรรคตไปเสีย กันว่าถึงเดือนห้ามา หมู่เจ้าลูกเจ้าหลานก็ได้จัดการปลงพระศพเสีย ส่วนในท่านเจ้าอาวาสนั้นท่านอุตส่าห์ไปช่วย ก็หวังว่าราชเทวีจะได้มาช่วยบูรณะก่อสร้างพระนอนองค์หลวง ท่านก็เป็นอันเสียใจมาก ยามเมื่อท่านไปอยู่ดอยเกิ้ง ก็ได้พูดต่อกันแล้วว่า ในปีหน้านี้บ้านเมืองปรกติเราก็จักพากันไปขุดทองคำแล้วสร้างอารามตรงนั้น บัดนี้ คำที่ได้พูดต่อกันนั้นก็เป็นอันสลายสูญหายไปเสีย ท่านก็เลยไม่ช่างทำอย่างไร เต็มว่าท่านคิดจะทำอยู่ก็ไม่มีใครที่จะช่วยเหลือ ท่านเลยอุตส่าห์พาหมู่ศิษย์โยมไปก่อสร้างอุโมงค์ตรงพระโมฬี (บนหัวพระนอนแล้วก็ซ้ำมาซ่อมแซมพระพุทธรูปองค์น้อยพระเจ้าทันใจที่เห็นอยู่ทุกๆ วันนี้)

ส่วนพระเจ้าองค์หลวงมิได้บูรณะซ่อมแซมอะไรสักอย่างเลย การที่ท่านก่ออุโมงค์ครอบพระเจ้าองค์น้อยนั้น เพื่อเป็นที่จำหมายไม้ขาม และที่นั้นยังมีไม้ขื่อแปเหลืออยู่ ท่านจึงซ่อมแซมขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแทนไม้ขาม วันหลังมาท่านก็พาเอาสามเณรผู้เป็นศิษย์มาสองรูป เพื่อจะมาทำต่อไปที่ยังไม่เสร็จ เมื่อมาถึงแล้วสามเณรองค์หนึ่งก็แลตาไปเห็นอิฐปูนเรี่ยราดเต็มอุโมงค์ แล้วก็กลับหันหน้ามาบอกให้อาจารย์ เมื่อนั้นอาจารย์ก็แลตาไปที่นั้นก็เห็น เมื่อท่านเห็นฉะนี้แล้ว ก็รีบก้าวเดินไปเมื่อถึงที่แล้วก็ร้องออกปากว่า มันเป็นใครมาทำให้ทุกข์ใจอีกแล้ว มือของท่านแตะศีรษะไปๆ มาๆ แล้วก็บอกให้สามเณรผู้เป็นศิษย์กลับมาบอกหมู่ศิษย์ทางวัดและศรัทธาทั้งหลายมาดู

เมื่อศิษย์และศรัทธาทั้งหลายมาถึงแล้ว ทุกๆ คนก็ตกอกตกใจ และกล่าวคำต่อผู้ร้ายว่าคนบาปหนาอธรรมแท้ อยู่มาอีกระยะหนึ่ง มีท่านเจ้าอาวาสเป็นประธาน พร้อมด้วยศรัทธาก็ได้เสียสละซ่อมแซมขึ้นอีก และก็ได้มาสร้างวิหารแถมหลังหนึ่ง (วิหารน้อยปัจจุบันนี้) พอได้ก่อและมุงหลังคาไว้เท่านั้น ยังบ่เสร็จเรียบร้อยดี นับตั้งแต่โจรผู้ร้ายมาทำลายเป็นเวลานานได้ ๑๒ ปี ในอันดับต่อไปตำนานได้กล่าวถึงครูบาเจ้าวัดสะเมิงได้ดำริคิดสร้างวิหารหลังหนึ่งแล้วก็ว่าใครได้พระพุทธรูปประธานสักองค์หนึ่ง

ท่านก็มาพิจารณาหานายช่างในถิ่นนั้นก็ไม่มีใครเลย เมื่อภายหลังจึงคิดถึงครูบาวงศ์อยู่ไม่ไกลวัดป้านปิง ซึ่งก็เป็นญาติและคุ้นเคยกันดี ท่านครูบาก็มาปรึกษาหารือหมู่ศรัทธาทั้งหลายว่า จักใคร่นิมนต์ท่านมาเป็นสล่า (นายช่าง) หมู่ศรัทธาทั้งหลายก็ว่าดีละกันว่าจักเอาท่านมานั้น ก็สมควรพาเอาพ่อของท่านมาด้วย (พ่อของท่านสืบถามคนเฒ่าคนแก่ว่าเป็นสล่าที่ชำนาญจนมีชื่อลือว่าแสบสรรพช่างฝีมือของท่านก็ยังมีให้ดูอยู่) คือปราสาทซึ่งปัจจุบันมีหลังพระวิหารพระนอน)

ว่าดังนี้แล้ว ครูบาก็ใช้คนมานิมนต์เอาตัวท่านและพ่อของท่านไปก่อพระพุทธรูปเพื่อเป็นพระประธานไว้กับวิหารที่สร้างใหม่ หน้าตักกว้างสามศอก ทำได้ ๒๐ วัน พอดีจึงเสร็จเรียบร้อย เมื่อท่านและพ่อของท่านได้สร้างพระพุทธรูป เป็นที่เสร็จเรียบร้อยดีแล้ว ท่านก็ได้พาพ่ออำลากลับเมื่อเดือนเจ็ดออก ๒ ค่ำ

กันว่ามาถึงที่อยู่แห่งตนแล้ว ท่านก็มีใจยังไม่สิ้นต่อการที่ได้สร้างพระพุทธรูปองค์น้อย (พระเจ้าทันใจปัจจุบัน) ซึ่งโจรผู้ร้ายได้ทำลายและปล่อยค้างไว้ นับตั้งแต่นั้นก็เป็นเวลานานได้ ๑๒ ปี จนถึงครูบาวัดสะเมิงนิมนต์ไปก่อพระประธานวัดสะเมิง (บัดนี้ร้างไปหรือมีอยู่ผู้เขียนไม่ทราบ) ที่พระเจ้าทันใจปัจจุบันนี้เป็นที่จำหมายไม้ขาม มาสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าพาคณะจาริกมาประกาศพระศาสนามาพักครั้งแรกนั่นแหละ

ในปีอันจักสร้างพระพุทธรูปองค์น้อยนั้น เป็นปีเต่ายี่ จ.ศ.ได้ ๑๒๐๔ ตัวพ.ศ.๒๓๘๕ เดือน ๘ เหนือ ออก ๕ ค่ำ ครูบาจึงพาหมู่ศิษย์โยมไปสร้างยังรูปพระเสียก่อน ในปีนั้นก็ได้สร้างเฉพาะตั๋ว (องค์พระ) และได้สร้างลงรักหาง ในครั้งนั้นตำนานกล่าวว่าเกือบจะไม่เสร็จ เหตุว่ามารมารบกวนจิตใจครูบาเจ้า แต่ท่านยังมีกำลังใจดีสู้ด้วยขันติธรรม

เมื่อออกพรรษาแล้วถึงเดือนยี่ออก (ขึ้น) ๑ ค่ำ ท่านครูบาก็ได้จัดการฉลองอบรมสมโภชตามเยี่ยงอย่างประเพณี และเชิญชวนหมู่ศรัทธาทั้งหลาย ตลอดถึงท้าวขุนมูลนายและเจ้าบ้านเจ้าเมืองมาร่วมกุศลอนุโมทนาทาน แต่เจ้าเมืองมีราชกิจ จึงได้ให้ราชเทวีและเจ้าพี่เจ้าน้องมาแทน ก็เป็นอันเสร็จพิธี และสนุกรื่นเริงด้วยความปลื้มใจ ต่อมามีครูบาเจ้าเป็นประธาน ภายนอกมีเจ้าเมืองเป็นประธาน พร้อมด้วยท้าวขุนมูลนายศรัทธาบุญทั้งหลายก็ถวายไว้ในพระบวรพุทธศาสนา

ในครั้งนั้น ได้สร้างพระพุทธรูปองค์น้อยและก่อโขงอุโมงค์ (ที่พระเจ้าทันใจ) สิ้นทรัพย์เป็นจำนวน ๑๘๐๐ จึงสำเร็จเรียบร้อย (ครูบาเจ้าองค์ที่กล่าวนี้ตอนท้ายตำนานกล่าวว่าชื่อ สุนนฺทศรมณ์ สืบถามผู้เฒ่าผู้แก่ว่าเช่นเดียวกัน แต่เพี้ยนเป็น ครูบาสุนันต๊ะ ตามภาษาเมือง)

ตอนต่อไปตามกล่าวถึงพระมหาเถระ ผู้เป็นประมุขของสงฆ์องค์หนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อเพียงแต่เรียกว่าสังฆนายก ในระหว่างที่ครูบาเจ้า (สุนนฺทศรมณ์หรือภิกขุ) สร้างพระพุทธรูปที่โขงอุโมงค์นั้น ท่านมหาเถระตามตำนานเรียก ได้เดินรุกขะมูลเทศสัณฐีมาถึงที่นั้น ได้พิจารณายังพระพุทธป้านปิง อย่างหนึ่งก็จะได้พิจารณายังตนตัวแห่งท่านสุนนฺทภิกขุที่มาคิดสร้างดูเหมือนจักก้านกุ่งรุ่งเรืองให้ถาวรไว้กับบ้านกับเมือง เมื่อท่านมหาเถระพิจารณาด้วยปัญญาเช่นนี้แล้ว ท่านก็มีความยินดีกับด้วยท่านสุนนฺทภิกขุผู้มาบูรณปฏิสังขรณ์ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในอนาคต และอีกอย่างหนึ่งท่านก็มาคิดอยู่ในใจว่า เกรงกลัวท่านสุนนฺทภิกขุจะบ่อยู่ไม่นาน กลัวจะกลับวัดเดิม (อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้วัดพระนอนปัจจุบัน) เสีย

ท่านสังฆนายกก็ได้ชี้แจงแนะนำเล้าโลมท่านสุนนฺทภิกขุว่า ดีละท่านมาคิดสร้างปฏิสังขรณ์เช่นนี้ ก็เป็นที่ชอบพออกพอใจเรามากนัก ท่านอย่าได้ด่วนรีบกลับไปอยู่วัดเดิม ค่อยอดทนอยู่นี้ไปก่อนถ้าหากมีบุญวาสนาภายหน้า บ้านเมืองอยู่สุขสบายปรกติดีก็จักก้านกุ่งรุ่งเรืองวันหนึ่งแน่ๆ ในกาลครั้งนี้ก็เป็นเวลาค่ำมืด ท่านสังฆนายกก็ได้พักนอนอยู่ที่นั้น รุ่งอรุณวันใหม่ท่านก็ออกไปเดินบิณฑบาตมาฉัน แล้วก็อำลาก้าวเดินไปต่อไป หลังแต่นั้นมาอีกไม่นานนัก ถึงเดือนห้าครูบาเจ้าก็ใคร่กลับวัดเดิม ส่วนคณะศรัทธาก็ใคร่ให้ครูบาเจ้ากลับ เกรงคนอื่นจะติเตียนว่าเป็นคนอยู่หลายวัดหลายวา อยู่บ่เป็นหลักเป็นฐาน แต่ท่านสังฆนายกบ่ให้กลับ

เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูบาก็นำเอาข่าวไปกราบเรียนให้ท่านสังฆนายกทราบ ร้อนถึงท่านสังฆนายก ท่านจึงเสด็จและเรียกคณะศรัทธาทั้งหลายมาประชุมชี้แจงเหตุผล ชักอดีต อนาคต มาเปรียบเทียบให้ศรัทธาทั้งหลายรู้ว่า พระพุทธป้านปิงนี้เป็นถาวรวัตถุที่สำคัญยิ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง มาตั้งแต่อดีตโน้น

เพราะฉะนั้นอาตมาขอร้องและเมตตาให้ครูบามาอยู่ที่นี้ เพื่อว่าจะได้บูรณปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมให้ดีเรียบร้อยขึ้น ในโอกาสนั้นศรัทธาทั้งหลายก็เห็นดีเห็นชอบด้วยและยินดีให้ครูบาเจ้าอยู่นับตั้งแต่นั้นมา วัดพระพุทธป้านปิงได้มีท่านเจ้าอาวาสเป็นองค์ที่สองรองจากท่านมหาเถระที่มาสร้างครั้งแรก แล้วครูบาก็ได้ย้ายของมาอยู่เป็นประจำ หมู่ศรัทธาทั้งหลายก็ค่อยอพยพกันมาอยู่เรื่อยๆ จนหมด ก็เลยปล่อยวัดและบ้านที่นั้นร้างไปเสียเลย

ต่อมาอีกไม่นานมีท้าวขุนมูลนายก็พร้อมกันไปรื้อขนโรง (กุฏิ) มาสร้างในวัดพระเจ้าหลวง ท่านครูบาก็เลยหยุดเข้าพรรษาเสีย เมื่อออกพรรษาดังนี้แล้ว เมื่อนั้นครูบาก็ถือโอกาสบอกกล่าวให้หมู่ศรัทธาทั้งหลายว่า เรามาอยู่ที่นี้ก็เพื่อพระเจ้าองค์หลวง ด้วยเหตุนี้เราขอเมตตาศรัทธาช่วยกันสละกำลังกาย กำลังความคิด กำลังทรัพย์ ช่วยกันสร้างยังพระเจ้าองค์หลวงนี้ไปตามสติกำลัง เมื่อนั้นหมู่ศรัทธาทั้งหลายก็กล่าวว่าถูกละ

แต่ว่าเราจะสร้างอันใดก็ควรสร้างอันนั้นก่อน จะสร้างวิหาร หรือจะสร้างพระเจ้าหลวง แล้วหมู่ศรัทธาทั้งหลายก็ตกลงสร้างวิหารก่อน ส่วนพระนอนหลวงนั้นปล่อยละไว้ก่อน หากบุญกุศลเรามีก็จักได้สร้างต่อไปเพื่อเป็นการถาวรไว้สักการะกราบไหว้ บัดนี้เราทั้งหลายมาอยู่ใหม่ ที่อยู่ยังบ่เป็นที่อยู่ ที่กินยังบ่เป็นที่กิน (เศรษฐกิจตกต่ำ) เราก็สมควรคิดสร้างวิหารเสียก่อน

เมื่อนั้นครูบาก็ว่าดีเหมือนกัน หมู่ศรัทธาว่าจะสร้างวิหารก่อน เราก็ยินดีเห็นชอบด้วย อยู่ต่อมาหมู่ศรัทธาก็ตกลงกันไปรื้อขนวิหารวัดเก่ามาสร้าง หลังจากถกเถียงกันเป็นเวลานานแล้ว อยู่มาอีกหนึ่งปี จึงได้เริ่มสร้างวิหารแล้วก็สำเร็จในปีนั้น และถัดมานั้นมาอีกหนึ่งปีจึงได้ลงมือทำการปฏิสังขรณ์บูรณะซ่อมแซมพระเจ้าหลวง โดยมีเจ้าเมืององค์มีชื่อว่า พิมพิสาร หรือ โพธิสาร (ผู้เป็นราชบุตรพระยาสุพะธละ ผู้ครองเมืองเชียงใหม่) เป็นประธานฝ่ายภายใน (ฝ่ายบรรพชิต) สร้างสามปีจึงสำเร็จเรียบร้อย เมื่อสำเร็จเรียบร้อย ก็มาพร้อมกันอุทิศถวายทานตามจารีตประเพณี เป็นอันว่าพระนอนหลวงคงสภาพเดิมก็สมัยท่าน ครูบาเจ้า (สุนนฺทศรม) ต่อมาท่านก็ได้ปกครองวัดพุทธป้านปิง หรือพระนอนหนองผึ้งเป็นลำดับมา

IMG_8547.JPG



เกี่ยวด้วยชื่อวัด อีกตำนานหนึ่ง


(ตำนานฉบับนี้ท่านญาณรังสีภิกขุ เป็นผู้เขียน ไม่ปรากฏว่าเขียนในสมัยใด)



ตถา  กาเล  ในกาลครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จพระสำราญอิริยาบถ ในพระเขตวันมหาวิหาร วันนั้นอายุของพระพุทธเจ้าได้ ๘๐ พระชันษา พระพุทธองค์ก็ทรงรำพึงว่า บัดนี้อายุของเราก็จักหมดแล้ว ควรที่ตถาคตจะเสด็จไปแล้ว ก็จักได้ไปฉันเนื้อหมูที่บ้านนายจุนทะที่เมืองฝาง เมื่อพระพุทธเจ้ารำพึงเช่นนี้แล้วก็พาพระมหาอานันทะ และพระโสณะ อุตตระเถระ พญาอโศก พระอินทร์ วิศณุกรรม เทวบุตร เสด็จไปตามริมมหาสมุทร แล้วไปพบเห็นหนองแห่งหนึ่งกว้างใหญ่นักและลึกมาก แล้วก็มีตอไม้แดงต้นหนึ่งอยู่กลางหนองที่นั้นใหญ่มาก มีหน้ากว้าง ๔ วา ปกติมีแสน (ตะกวด) อยู่ตอไม้ที่นั้น ภควา อันว่าพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปยืนอยู่ที่ใกล้ริมหนองนั้น แล้วก็ทรงแย้มพระโอษฐ์นิ่งอยู่


พระมหาอานันทะก็ทูลถามว่า ภันเต ข้าแต่พระพุทธองค์เหตุใดพระองค์แย้มพระโอษฐ์ที่นั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ภายหน้าหนองที่นี้จักมูนขึ้นมาจักเป็นเมืองอันหนึ่ง ชื่อว่า อโยธิยา พญาเจ้าเมืองอันนั้น มันจักใคร่ว่าร้ายก็ว่า จักใคร่ว่าดีก็จักว่าเป็นดังแลน (ตะกวด) ตัวนี้ อันมีลิ้น ๒ อัน และเสนาบดีซ้ายขวามันจักหาความกรุณาสงสารบ่ได้ เป็นประดุจดังนกยางนกเค้านี้และไพร่ฟ้าราษฎร์จักเป็นคนขี้ลัก กิริยามารยาทจักเสมือนลิงนี้และกันว่าพระพุทธเจ้าทำนายเท่านี้แล้ว ก็พาหมู่อรหันตาและพญาอินทร์ ขึ้นมาหนอุตตระ (ทิศเหนือ) ด้วยลำดับมาตราบถึงแม่น้ำระมิงค์

ที่นั้นก็เสด็จด้วยพระบาทขึ้นมาตามฝั่งแม่น้ำระมิงค์ ก็มาถึงหนองอันหนึ่งใหญ่นักแล้วยังมีพญานาคตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในหนองน้ำ มาพบเห็นพระพุทธเจ้าที่นั้น มันก็ยินดีปิติใจมากนัก และก็คิดหาอะไรมาถวายให้ก็ไม่มี เท่าว่ามีผึ้งรังหนึ่งอยู่ในที่นั้น ติดไม้ริมหนองนั้นแล้ว พญานาคก็เนรมิตจำแลงกายเป็นมนุษย์ขึ้นไปเอาหัวน้ำผึ้งมาถวายให้แก่พระพุทธเจ้าๆ ก็รับเอาน้ำผึ้งจากพญานาค แล้วพระพุทธองค์อยากเสด็จสำเร็จสีหไสยาสน์

ท่านพระมหาอานันทะพุทธอุปัฏฐากก็ปัดกวาดทำความสะอาด เมื่อเสร็จแล้วก็ปูอาสนะให้พระพุทธองค์บรรทมที่ร่มไม้ที่นั้น เมื่อนั้นพญานาคเล็งเห็นโอกาสดี จึงกราบทูลขอรอยพระพุทธบาทกับพระพุทธเจ้าๆ ก็กล่าวว่าสถานที่นี้ก็ไม่มีหินจักเหยียบ (ย่ำ) ตถาคตจะอนุญาตไว้ยังสารูปในที่นี้ ท่านจงก่อรูปเราไว้ยังที่ตถาคตเสด็จสำเร็จสีหไสยาสน์นี้ ไว้เป็นที่สักการบูชาบูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลาย ต่อไปภายหน้าผู้ใดได้มาสร้างก็ดี ได้สักการบูชาก็ดี ยังสารูปตถาคตนี้ก็เสมือนดั่งได้กราบไหว้สักการบูชาตถาคต และสถานที่นี้ภายหน้าจักได้ชื่อว่า พระนอนหนองผึ้ง ด้วยนิมิตมงคลอันพญานาคเอาน้ำผึ้งมาถวายให้แก่ตถาคตนี้ เมื่อตรัสพยากรณ์แล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จพุทธดำเนินต่อไป (จะไปที่ใดนั้นในที่นี้ไม่นำมาเล่าเพราะไม่เกี่ยวกับตำนานนี้) ตำนานฉบับนี้ท่านญาณรังสีภิกขุ เป็นผู้เขียน ไม่ปรากฏว่าเขียนในสมัยใด น่าเสียดายมาก



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8570.JPG



ตำนานพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดพระนอนหนองผึ้ง (ต่อ)



ท่านผู้อ่านที่เคารพรัก

เรื่องชื่อวัดนี้ ข้าพเจ้าขอท่านนักตำนานวินิจฉัยเอาเถิด ส่วนข้าพเจ้าผู้เขียนจะขอเพียงแต่สันนิษฐานเอาเท่านั้น วัดพระนอนหนองผึ้งนี้ ตามตำนานที่กล่าวไว้นั้น ในสมัยก่อนครูบาสุนันทะไม่มาสร้างคงจะเรียกว่าพระนอนบ้าง พระพุทธป้านปิงบ้าง พระเจ้าองค์หลวงบ้าง เพราะสมัยที่กล่าวนี้วัดได้ร้างไปเป็นเวลาอันยาวนานมาก ต่อเมื่อครูบาสุนันทะมาสร้าง เมื่อเสร็จแล้วก็พาหมู่ศรัทธาอพยพมาอยู่แล้วทิ้งวัดเดิมให้เป็นร้างไปเสีย ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่าวัดเก่าครูบาสุนันทะคงจะเป็นวัดหนองผึ้ง

เมื่อครูบาย้ายมาอยู่คงจะตั้งชื่อขึ้นใหม่ โดยเอาชื่อวัดเดิมมาผสมข้างท้าย แล้วขนานนามว่า “วัดพระนอนหนอนผึ้ง” แล้วคำว่า “พุทธป้านปิง” ก็เลยหายสาบสูญไปกระมัง ปัจจุบันนี้เรียกว่า “วัดพระนอนหนองผึ้ง” เท่านั้น คำว่า พุทธป้านปิง  ไม่มีเลย มีเพียงแต่ป้ายผู้ที่มาทำการบูรณปฏิสังขรณ์ ได้เขียนไว้ในพระวิหารนิดเดียวเท่านั้น แต่ไม่มีใครเรียก อย่างไรก็ดีขอท่านเมธีวิจัยสอดส่องเอาเถิด ข้าพเจ้าพลิกใบลานต่อไปส่งสายตาพุ่งไปแต่ละบรรทัดนึกว่าตาฝ้าฟาง มองดูหลายที เป็นอันว่าตำนานได้ขาดหายไปหมด ใจข้าพเจ้าวูบวาบ เลยพุ่งลมหายใจฮึกใหญ่...

รุ่งอรุณวันใหม่ ข้าพเจ้าก็ออกตระเวนเที่ยวสืบถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอาวุโสดู ก็ได้ความดังข้าพเจ้าจะประมวลมาเล่าต่อไป...เป็นอันได้ความว่าวัดพระนอนหนองผึ้ง อดีตเคยเป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของนครเชียงใหม่ เคยรุ่งโรจน์หอมหวลไปด้วยกลิ่นธูปควันเทียนแห่งศีลธรรมมาครั้งหนึ่ง แล้วได้ชำรุดทรุดโทรม และเป็นวัดร้างไปเป็นเวลาร้อยๆ ปี ก็ได้กลับมาก้านกุ่งรุ่งเรืองเจริญขึ้นสมัยครูบาเจ้า (สุนันทภิกษุ) นับว่าบรรพบุรุษและครูบาเจ้าของเรามีคุณูปการแก่เรารุ่นหลัง เป็นอันหาค่าบ่มิได้ ที่ท่านได้สร้างปูชนียสถานและปูชนียวัตถุไว้เป็นที่สักการบูชาเคารพยิ่ง

ต่อมาครูบาก็ได้ปกครองดูแลอุปัฏฐากจนถึงวัยชรา ท่านก็ได้มรณภาพไปตามสภาพของสังขาร เมื่อหมู่คณะศรัทธาและศิษย์ได้จัดการฌาปนกิจศพเป็นที่เรียบร้อย ครูบาตามัน (ตามนฺภิกขุ) ศิษย์ของครูบาสุนันทะ ก็ได้ปกครองดูแลต่อมา แต่ไม่ได้คิดปลูกสร้างปฏิสังขรณ์อะไร เพราะท่านมีปรัชญาใจเย็น และหนักไปในทางภาคปฏิบัติ คณะศรัทธาเล็งเห็นสมควรไปหาพระมาเป็นผู้ช่วยเหลือ จึงตกลงกันไปอาราธนานิมนต์ท่านครูบาสิทธิ (สิทฺธิโกภิกขุ) อยู่วัดแสนหลวงมาช่วยดูแล

อยู่มาไม่นานท่านครูบาตามันก็ถึงวัยชราก็ได้ถึงกาลมรณภาพไป อันดับต่อมา ครูบาสิทธิปกครองดูแลรักษาและได้คิดบูรณะปลูกสร้างให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอันมากการพระพุทธศาสนาก็ได้จัดเป็นระเบียบแบบแผนขึ้น ท่านครูบาสิทธิได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระครูคัมภีรธรรม เป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอสารภีองค์แรก ปกครองช่วยเหลือการคณะสงฆ์ให้ทันสมัย

ต่อมาเมื่อท่านได้มรณภาพไปแล้ว เจ้าอธิการคำจันทร์ คนฺธวํโส (อดีตเจ้าคณะ ต.หนองผึ้ง) ศิษย์ของท่านพระครูคัมภีรธรรม ก็ได้ปกครองดูแลรักษา และทำการบูรณะก่อสร้างเพิ่มเติมอีกหลายอย่าง แล้วต่อมาเมื่อ พ.ศ.๑๔๘๙ เดือน ๘ เหนือ (หกใต้) ขึ้น ๑๓ ค่ำ ก็ได้ลาสิกขาบทไป

พระอธิการอินสม ชุตินฺธโร ผู้เป็นศิษย์ก็ได้ปกครองดูแลและได้บูรณะอีกหลายอย่าง ในปีพ.ศ.๒๔๙๙ ก็ได้ทำการรื้อศาลาเก่า ปลูกสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้เหมาะกับกาลสมัยนิยม โดยความพร้อมเพรียงสามัคคีของคณะศิษย์ และคณะกรรมการวัดตลอดถึงศรัทธาใหญ่-น้อย-ชาย-หญิง มีความเห็นพร้อมเพรียงกัน สมควรจัดสร้างขึ้นใหม่โดยความอนุมัติจากคณะกรรมการสงฆ์อำเภอ บัดนี้การก่อสร้างยังไม่เรียบร้อยดี แต่ก็คงสำเร็จภายในเร็วๆ นี้เป็นแน่เมื่อจะเรียงลำดับเจ้าอาวาสวัดพระนอนหนองผึ้ง มีรายนามดังนี้

IMG_8553.JPG



๑. พระมหาเถระ (ผู้มาสร้างครั้งแรก)
๒. ครูบาสุนันต๊ะ (สุนนฺทภิกขุ  ตระกูลไทยเขิน)
๓. ครูบาตามัน  (ตามนฺภิกขุ  ตระกูลยาง)
๔. ครูบาสิทธิ  สิทฺธิโก  (พระครูคัมภีรธรรม  เจ้าคณะแขวงสารภี ตระกูลไทยลานนา)
๕. เจ้าอธิการคำจันทร์  คนฺธวํโส (ลาสิกขา)
๖. พระอธิการอินสม  ชุตินฺธโร (มรณภาพ)
๗. พระอิ่นแก้ว  คนฺธสาโร (ลาสิกขา)  (เพิ่มจากฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑)
๘. พระอธิการฉลองชัย  อาภสฺสโร (เจ้าอาวาสปัจจุบัน) (เพิ่มจากฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑)

เป็นอันรวมความได้ว่า วัดพระนอนหนองผึ้ง นับตั้งแต่ท่านมหาเถระและเศรษฐีได้สร้างมา เป็นเวลา ๗๐๐ กว่าปีแล้ว ขาดผู้ดูแลรักษาก็ได้กลับมาเจริญ และเอาใจใส่ดูแลตั้งแต่สมัยครูบาสุนันต๊ะ มาจนถึงกาลปัจจุบันนี้ วัดพระนอนหนองผึ้ง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของนครเชียงใหม่ มีคนมานมัสการสักการะกราบไหว้ และดูศิลปะในด้านประติมากรรมในปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งใกล้และไกล ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ส่วนพระพุทธไสยาสน์พระนอนหนองผึ้งนี้ ก็นับว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน เมื่อเมธีผู้รู้มองโดยสายตาอย่างละเอียดแล้ว ย่อมจะพบพระพุทธธรรมอันล้ำค่ายิ่ง เพราะพระพุทธไสยาสน์ เป็นทั้งปูชนียวัตถุที่เคารพสักการะ และเป็นทั้งวัตถุธรรม ดังที่ข้าพเจ้าเล่ามาให้ที่ทราบ ก็มีด้วยประการฉะนี้แล.



พระศรีวงศ์  โชติธมฺโม (เจริญวงศ์)

เรียบเรียง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8674.JPG



IMG_8551.JPG



คำไหว้พระนอน
(ตั้งต้น นะโม ๓ จบ แล้วว่า ๓ จบ)
        อะหัง  ภัณเต  พุทธะไสยาปิ
        ปะรินิพพุตัมปิ  ตัง  ภะคะวันตัง
        สะระณัง  คัจฉามิ  อะภิวาเทมิ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC09673.JPG



IMG_8549.JPG



พระนอนหนองผึ้งจำลอง (พระพุทธรูปป้านปิงจำลอง)  ประดิษฐานภายใน วิหารพระนอน วัดพระนอนหนองผึ้ง ค่ะ  



DSC05690.JPG



DSC09664.JPG



DSC09672.JPG



พระพุทธรูปประจำวันเกิด  ประดิษฐานภายใน วิหารพระนอน วัดพระนอนหนองผึ้ง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC05699.JPG



IMG_8563.JPG



IMG_8561.JPG



รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ประดิษฐานภายใน วิหารพระนอน วัดพระนอนหนองผึ้ง ค่ะ


DSC05701.JPG



IMG_8555.JPG



รูปเหมือนพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ประดิษฐานภายใน วิหารพระนอน วัดพระนอนหนองผึ้ง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8670.JPG



DSC05697.JPG



IMG_8608.JPG



IMG_8609.JPG



DSC05698.JPG



DSC09671.jpg



รูปกุมภัณฑ์นั่ง ๒ ตน ภายใน วิหารพระนอน วัดพระนอนหนองผึ้ง ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC09692.JPG



IMG_8559.JPG



รูปไม้แกะสลักโบราณ ภายใน วิหารพระนอน วัดพระนอนหนองผึ้ง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC09640.JPG



IMG_8714.JPG



ศาลาพระเจ้าทันใจ  วัดพระนอนหนองผึ้ง ค่ะ



DSC09642.JPG



DSC09645.JPG



IMG_8707.JPG



IMG_8703.JPG



IMG_8708.JPG



พระเจ้าทันใจ ประดิษฐานภายใน ศาลาพระเจ้าทันใจ วัดพระนอนหนองผึ้ง ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8713.JPG



DSC09646.JPG



IMG_8712.JPG



คำไหว้พระเจ้าทันใจ

(กล่าวนะโม ๓ หน แล้วว่า ๓ จบ) ตะมะหัง ขิปปะจิตตะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ขิปปะจิตตะ พุทธัง เมสิ ระสา อะภิปูชะยามิ ขิปปะจิตตะ พุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวะตุเม  ขิปปะจิตตะ พุทธานุภาเวนะ สะทา มะหาลาโภ ภาวะตุเม  ขิปปะจิตตะ พุทธานุภาเวนะ สะทา มะหายะโส  ภาวะตุเม



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-5 18:01 , Processed in 0.047218 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.