แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง (รอยพระพุทธบาท , พระเกศาธาตุ ฯ ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:17 โดย pimnuttapa


DSC06539.jpg

รูปภาพเจ้านางศรีอโนชา (แม้เจ้าครอกศรีอโนชา) พระนางทรงเป็นพระธิดาของเจ้าฟ้าชายแก้วและเจ้าแม่จันทาเทวี เชื้อสายของพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:09  

DSC06546.jpg

อาคารพระแก้ว และพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:17 โดย pimnuttapa


DSC06554.jpg

ภายใน อาคารพระแก้วและพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:18 โดย pimnuttapa

  
DSC06561.jpg

พระแก้วมรกต ประดิษฐานภายใน บุษบก ภายใน อาคารพระแก้วและพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ   


คำไหว้พระแก้วมรกต วัดพระธาตุลำปางหลวง

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) มณีตินามัง รัตตะเนนะ การัง ชาตัง ชะนานัง วะระปูชะนียัง สัตถา ชินาเสวิตัง ชะเนนะสุ พุทธะพิมพัง สิระสา นะมามิหัง




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:18 โดย pimnuttapa

  
DSC06563.jpg

พระแก้วมรกต (พระแก้วดอนเต้า) ประดิษฐานภายใน ซุ้มพระแก้วมรกต อาคารพระแก้วและพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ   

พระแก้วมรกต คือ พระแก้วดอนเต้า
เชื่อกันว่าเป็นพระแก้วองค์เดียวกับที่เขียนไว้ในตำนานพระแก้วดอนเต้า วัดพระบรมธาตุดอนเต้า จังหวัดลำปาง พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะเชียงแสน พระพักตร์ค่อนข้างเขียว พระเศียรเรียบ ไม่มีเม็ดพระศกตกแต่ง ไม่มีพระเกตุมาลา เนื่องจากใช้เป็นโครงสร้างรองรับเครื่องทรง ซึ่งทำพิเศษออกไปต่างหาก แกะสลักจากหินสีเขียว องค์พระหน้าตักกว้าง หกนิ้วครึ่ง สูงแต่ฐานแก้วถึงเศียรแปดนิ้ว ฐานเดิมทำแผ่นเงินทาบ ลวดลายงดงามมาก ต่อมาพ.ศ. ๒๔๗๗ พระธรรมจินดานายก (ผาย) เจ้าคณะจังหวัดลำปาง เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหารเป็นประธาน ได้ชักชวนนักบุญทั้งหลายในเวียงและบ้านนอกช่วยกันบริจาคทองคำทำฐานใหม่ด้วยแผ่นทองคำทาบ เปลี่ยนเอาอันเก่าออก เอาฐานใหม่ใส่ตลอดถึงบัดนี้ น้ำหนักทองคำ ๑๙ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง มีชฎาทองคำ (กระโจมคำ ) สำหรับเป็นเครื่องทรงพระแก้วมรกต เพราะพระแก้วมรกตไม่มีเกตุ ไม่มีโมลีเหมือนพระองค์อื่นๆ ทราบจากคนเฒ่าคนแก่ว่า เจ้าแม่อูบแก้ว บ้านเชียงราย อำเภอเมืองลำปาง เป็นศรัทธาถวายเป็นเครื่องทรงพระแก้วมรกต แต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏ น้ำหนักทองคำประมาณ ๕ บาท

ส่วนเครื่องทรงของพระแก้วมรกต คือ สร้อยสังวาลย์ ทำด้วยทองคำหนัก ๗ บาท พระอินทจักษ์ (พระครูประสาทศรัทธาเจ้าอาวาสวัดพระธาตุลำปางหลวง) เป็นผู้นำศรัทธาจ้างช่างบ้านปง (ช่างคำ) อำเภอห้างฉัตร มาทำถวายเมื่อพ.ศ. ๒๔๗๕ พระแก้วมรกตทรงจีวรห่มเฉียง พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายแต่งเป็นแฉก ๒ แฉก ซ้อนกัน ๒ ชั้น ทั้งนี้แต่เดิมนั้นฐานทำด้วยแผ่นเงินทาบ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๗ เปลี่ยนเป็นแผ่นทองคำทาบ ทรงเครื่องทรงทองคำตามฤดูกาล และเครื่องทรงชุดใหม่ เจ้าหญิงทิพวรรณ ณ เชียงตุง ถวายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ ราคา ๖,๐๐๐ บาท



ตำนานพระแก้วมรกต (พระแก้วดอนเต้า) วัดพระธาตุลำปางหลวง

ดูกรอานนท์ เมื่อศาสนาตถาคตล่วงไปแล้ว ๑๐๐๐ ปี ลูกศิษย์แห่งตถาคตจักได้จุติจากดวงดาวดึงษาลงมาปฏิสนธิ์ในเมืองกุกุตนคร เมื่อจำเริญวัยขึ้นมาก็จักได้ออกบวชเป็นภิกขุภาวะ ตั้งอยู่ในเพศสมณะจนได้เป็นเถรแล้ว พร้อมกันนั้นทางเทวดาองค์หนึ่งก็ได้จุติลงมาเกิดในเมืองกุกุตนครเช่นเดียวกัน และนางได้มีใจเลื่อมใสต่อศาสนาตถาคตเป็นอันมาก นางได้มาเป็นผู้อุปถากพระมหาธาตุเจ้าวัดม่อนดอนเต้าและพระมหาเถรด้วย นางผู้นี้ชื่อว่า “สุชาดา” อยู่มาวันหนึ่งพระมหาเถรคิดอยากจะสร้างพระพุทธรูปสักองค์หนึ่ง แต่หาวัตถุอันจักมาสร้างและสลักไม่มี เมื่อนั้นมีพระยานาคตนหนึ่ง ซึ่งรักษาอยู่ในแม่น้ำอันมีชื่อวังกะนะที (แม่น้ำวัง) ได้ไปเมืองนาคแห่งพระองค์ ไปนำเอาแก้วมรกตลูกหนึ่งมา แล้วพระยานาคก็เอาแก้วมรกตลูกนั้นเข้าใส่ไว้ในหมากเต้า (แตงโม) นำไปไว้ในไร่ของนางสุชาดา

รุ่งขึ้นวันหนึ่ง นางสุชาดาเข้าไปในไร่เพื่อจักเก็บดอกไม้ ไปบูชาพระมหาธาตุและถวายพระมหาเถร นางได้พบหมากเต้าลูกนั้นมีสีสันวรรณะกว่าลูกอื่นๆ นางก็นำไปสู่สำนักมหาเถรในวัดมหาธาตุดอนเต้า และถวายให้แก่พระมหาเถร เมื่อพระมหาเถรรับเอาแล้วก็จัดแจงผ่าแตงโมนั้น ปรากฎว่าในแตงโมนั้นมีแก้วมรกตลูกหนึ่ง พระมหาเถรและนางสุชาดา เมื่อได้เห็นแก้วมรกตนั้นแล้วก็มีความโสมนัสยินดีเป็นอันมาก ส่วนพระมหาเถรเมื่อได้แก้วนั้นมาก็จัดการสลัก เพื่อให้เป็นพระพุทธรูป แต่สลักทีไรหาเข้าไม่และพระมหาเถรพยายามสลักอยู่หลายวันก็ไม่สำเร็จ

วันหนึ่งขณะที่พระมหาเถระกำลังพิจารณาแก้วมรกตที่จะสลักเป็นพระพุทธรูปอยู่ที่หน้ากุฏิ ปรากฏว่ามีชายแก่คนหนึ่งไม่ทราบว่ามาจากทิศใด เข้ามาถามมหาเถระว่า ข้าแต่พระมหาเถระเป็นเจ้า ท่านจักกระทำสิ่งอันใด เมื่อพระมหาเถรได้ฟังชายแก่นั้นถาม จึงตอบว่า เราจักสลักแก้วมรกตนี้เป็นรูปพระพุทธรูปแต่สลักเท่าใดก็ไม่เข้าแข็งนัก แล้วพระมหาเถรจึงถามชายแก่นั้นว่า ตัวอุบาสกยังมีความเข้าใจและเป็นช่างในทางนี้หรือ ชายแก่นั้นก็รับว่า ตนพอจะเข้าใจบ้าง ฝ่ายพระมหาเถรเมื่อทราบจากชายแก่นั้นก็มีความโสมนัสเป็นอันมาก รีบลุกขึ้นจากที่เพื่อเข้าไปเอาเครื่องมือให้ชายแก่นั้น ครั้นพระมหาเถรกลับออกมาจากกุฏิ พระมหาเถรก็แลเห็นองค์พระพุทธรูปแก้วมรกต มีสีสันวรรณผ่องใสงดงามมากนัก แต่พระมหาเถรมองหาชายแก่ในที่นั้นไม่พบ จึงออกเที่ยวตามหาจนทั่วบริเวณก็ไม่พบปะที่ใดเลย พระมหาเถรจึงมาคิดในใจว่า ชรอยว่าพระอินทร์และเทวดาลงมานิมิตรให้ ครั้นแล้วพระมหาเถรพร้อมด้วยนางสุชาดาต่างก็มีความโสมนัสเป็นล้นพ้น กิติศัพย์เรื่องนี้ได้ร่ำลือไปในหมู่ประชาชนจนทั่วเมือง ประชาชนต่างพากันมาทำการสักการะบูชาพระพุทธรูปเจ้าเป็นอันมาก ส่วนพระมหาเถรและนางสุชาดาก็พร้อมกันนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มาทำการอบรมสมโภชพระพุทธรูปเจ้าเสร็จแล้ว ฉนั้นสถานที่แห่งนี้จึงปรากฏนามในต่อมาว่า “วัดพระแก้วดอนเต้า” มาจนตราบเท่าทุกวันนี้

ต่อจากนั้นมีบุคคลบางพวกบางหมู่ก็เล่าลือว่า พระมหาเถรกับนางสุชาดาเป็นชู้ด้วยกัน เรื่องนี้ได้ทราบถึงอำมาตย์ของเจ้าปกครองนครแห่งนี้ ได้นำความขึ้นกราบทูลเจ้าผู้ครองนครให้ทราบ เจ้าผู้ครองนครเมื่อทรงทราบเรื่องนี้แล้ว หาได้ทรงพิจารณาให้ถ่องแท้เท็จจริงอย่างใดไม่ จึงทรงบัญชาให้เพชฌฆาตให้นำเอานางสุชาดาไปฆ่าเสีย ณ ที่ริมฝั่งน้ำแม่วังคะนะที  ก่อนลงมือฆ่า นางสุชาดาได้กระทำสัตยาอธิษฐานว่า ถ้าข้าได้กระทำการเป็นชู้กับพระมหาเถรจริงดังผู้กล่าวหาแล้วก็ให้เลือดแห่งข้าพุ่งลงสู่พื้นดิน และถ้าตัวข้านี้มิได้กระทำการเป็นชู้กับพระมหาเถร ก็ขอให้เลือดแห่งข้าพุ่งขึ้นสู่อากาศ อย่าได้ตกลงสู่พื้นดินเลย เมื่อเพชฌฆาตลงดาบและคอนางขาด ปรากฏว่า เลือดของนางได้พุ่งขึ้นสู่อากาศโดยมิได้ตกลงมาบนพื้นดินเลย

ดังนั้น เมื่อพวกเพชฌฆาตได้เห็นเหตุการณ์เช่นนั้น จึงพากันกลับเอาเหตุการณ์ไปกราบทูลให้เจ้าผู้ครองนครเมืองนั้นทรงทราบ  เมื่อผู้ครองนครทรงทราบเหตุการณ์เช่นนั้น พระองค์จึงลุกจากพระแท่นแล้วแล่นไปมาล้มลงขาดใจตายไปในบัดเดี๋ยวนั้น  ตั้งแต่นั้นมา พระมหาเถรเจ้าก็หนีจากสำนักวัดพระแก้วดอนเต้าไปพำนักอยู่วัดลัมภะกัปป (วัดพระธาตุลำปางหลวง) พร้อมกับนำเอาพระพุทธรูปแก้วมรกตไปด้วย ดังนั้นพระพุทธรูปแก้วมรกตองค์นั้นจึงได้สถิตอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

หมายเหตุ ตำนานพระพุทธรูปแก้วมรกตของวัดพระธาตุลำปางหลวงนี้ ข้าพเจ้า (เกษม เกาะปินะ) ได้เขียนตามตำนานฉบับใบลานอักษรพื้นเมือง ซึ่งขอยืมจากวัดพระธาตุลำปางหลวง และตำนานฉบับนี้ผู้แต่งเติมได้อ้างเป็นพระพุทธทำนาย จึงจะขอแปลตัดตอนเฉพาะเกี่ยวกับประวัติของพระพุทธรูปแก้วมรกต ดังปรากฏมาแล้วนั้น




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:19 โดย pimnuttapa

  
DSC06556.jpg

พระแก้วมรกตจำลอง ประดิษฐานด้านหน้า ซุ้มพระแก้วมรกต ภายใน อาคารพระแก้วและพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:26  

DSC06541.jpg

ศาลาการเปรียญ วัดพระธาตุลำปางหลวง ขนาดกว้าง ๑๒.๘ เมตร ได้รับการต่อเติมในปีพ.ศ. ๒๕๑๑ อยู่ด้านหน้า อาคารพระแก้วและพิพิธภัณฑ์ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:28  

DSC06547.jpg

หอสรงน้ำพระโบราณขนาดเล็ก วัดพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งสร้างด้วยไม้ อยู่ด้านข้าง อาคารพระแก้วและพิพิธภัณฑ์ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:29  

DSC06549.jpg

กุฏิขันติโก วัดพระธาตุลำปางหลวง สร้างเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:31  

DSC06544.jpg

กุฏิอาคันตุกะ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:05 , Processed in 0.199433 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.