แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม อ.เมือง จ.ลำปาง (พระเกศาธาตุพระพุทธเจ้า ๔ องค์,พระบรมธาตุหัวใจ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8


DSC03080.jpg


อนุสรณ์ช้างรับเสด็จพระแก้วมรกต วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม อยู่บริเวณด้านข้าง พระบรมธาตุดอนเต้า ค่ะ


DSC03081.jpg


DSC03082.jpg



ประวัติอนุสรณ์ช้างรับเสด็จพระแก้วมรกต วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

ในปีพ.ศ.๑๙๗๙ พระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้าเมืองเชียงใหม่ ทรงจัดขบวนแห่เพื่ออัญเชิญ “พระแก้วมรกต” จากเชียงรายลงมาเชียงใหม่ แต่ขบวนแห่มาถึงทางแยกที่จะไปนครลำปาง ช้างที่รับเสด็จพระแก้วมรกตก็วิ่งตื่นไปทางเมืองลำปาง แม้หมอควาญช้างจะขู่เข็ญเล้าโลมบังคับประการใดก็ไม่ยอมไปทางเชียงใหม่ ในที่สุดพระเจ้าสามฝั่งแกนก็ต้องยอมให้อัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานไว้ ณ วัดพระแก้วดอนเต้า ประทับอยู่วัดนี้เป็นเวลา ๓๒ ปี

ครั้นลุพ.ศ.๒๐๑๑ พระเจ้าติโลกราช เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปเชียงใหม่ และสมัยรัตนโกสินทร์ก็ได้ประดิษฐาน ณ กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ สถานที่นี้ยังเป็นต้นกำเนิดพระแก้วมรกตอีกองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวลำปาง ในปัจจุบันนี้ได้ย้ายไปประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง อันเป็นเรื่องราวของนางสุชาดาและพระมหาเถระองค์หนึ่งในอดีต ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับหลวงพ่อเกษม เขมโก ในปัจจุบันนี้


DSC03091.jpg

รูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


Rank: 8Rank: 8


DSC03112.jpg


DSC03114.jpg



DSC03106.jpg



พระอุโบสถและพระวิหารหลวงครูบาศรีวิชัย วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


ประวัติพระอุโบสถและพระวิหารหลวงครูบาศรีวิชัย วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

พระอุโบสถและพระวิหารหลวงครูบาศรีวิชัย เป็นศิลปะล้านนาผสมรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขององค์พระบรมธาตุ พระวิหารหลังเดิมซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากรหรือพระแก้วมรกต มีความชำรุดทรุดโทรม ดังนั้นในปีพ.ศ.๒๔๖๗ ครูบาศรีวิชัยจึงได้เป็นประธานในการบูรณะวิหารหลังนี้ขึ้น โดยตัววิหารในขณะนั้นมีขนาดความกว้าง ๙ วา ๑ คือ ๔ วา ๒ ศอก

(ต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานเป็นเขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร) พร้อมกันนั้นได้สร้างพระพุทธรูปพระประธานองค์ใหญ่ปางมารวิชัย ซึ่งมีขนาดหน้าตักกว้าง ๒ วา ๒ ศอก สูง ๓ วา ๑ ศอก ขึ้น ๑ องค์ อนึ่ง ในการก่อสร้างครั้งนั้น ครูบาอภิชัยขาวปี ศิษย์เอกของครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อย วิหารหลังนี้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจพระประธานองค์เดิมของพระวิหารหลังเก่า


DSC03117.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านข้าง พระอุโบสถและพระวิหารหลวงครูบาศรีวิชัย วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


DSC03095.jpg



ระฆัง ด้านข้าง พระอุโบสถและพระวิหารหลวงครูบาศรีวิชัย วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


Rank: 8Rank: 8


DSC03097.jpg


พระวิหารพระเจ้าทองทิพย์ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


พระวิหารพระเจ้าทองทิพย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมธาตุ หรือทางด้านเหนือของวิหารหลวง สร้างโดยพระนางจามเทวี ดังนั้นจึงมีชื่อเดิมว่า “วิหารพระนางจามเทวี” เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน วิหารหลังเก่ามีความชำรุดทรุดโทรม จนกระทั่งในปีพ.ศ.๒๕๐๕ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ได้เสด็จมานมัสการพระบรมธาตุดอนเต้า ณ วัดพระเก้าดอนเต้า ทรงมีพระราชศรัทธาบริจาคเงินเป็นทุนในการบูรณะวิหารร่วมกับศรัทธาสาธุชนจนสำเร็จเรียบร้อย



DSC03100.jpg



DSC03102.jpg



พระเจ้าทองทิพย์ เนื้อสำริด หน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๓ ศอก ๑ คืบ ประดิษฐานภายใน พระวิหารพระเจ้าทองทิพย์ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


DSC03103.jpg



พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประดิษฐานด้านซ้าย พระเจ้าทองทิพย์ ภายใน พระวิหารพระเจ้าทองทิพย์ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ



DSC03101.jpg


รูปพระแม่เจ้าจามเทวี ประดิษฐานภายใน พระวิหารพระเจ้าทองทิพย์ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


Rank: 8Rank: 8


DSC03107.jpg


ศาลาบาตร วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


DSC03105.jpg



ซุ้มประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


DSC03109.jpg



พิพิธภัณฑสถานแห่งล้านนา วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ

พิพิธภัณฑสถานแห่งล้านนา วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ในสังกัดกรมศิลปากรสร้างขึ้นโดยพระมหาอุ่น สุมงคโล อดีตเจ้าอาวาสวัดพระแก้วดอนเต้า เมื่อพ.ศ.๒๕๐๕ โดยสร้างให้เป็นตึก ๒ ชั้น กว้าง ๘ เมตรเศษ ยาว ๒๘ เมตรเศษ เป็นสถานที่รวบรวมศิลปวัตถุและโบราณวัตถุของล้านนา โดยเฉพาะของจังหวัดลำปาง ซึ่งประชาชนทั่วไปได้มอบให้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้



Rank: 8Rank: 8

DSC03115.jpg


อาคารสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


DSC03120.jpg



DSC03121.jpg



DSC03125.jpg



พระพุทธรูปประธาน พระพุทธรูปต่างๆ และรูปภาพสมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙ ประดิษฐานภายใน อาคารสมเด็จพระญาณสังวร วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ  


DSC03129.jpg


พระพุทธศรีโพธิ์ทอง ประดิษฐานภายใน อาคารสมเด็จพระญาณสังวร วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


Rank: 8Rank: 8


DSC03139.jpg


พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ตอนนี้ประตูทางเข้าวิหารพระนอนปิด เพื่อทำการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ค่ะ

พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม เป็นศิลปะล้านนา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระบรมธาตุ ขนาดของวิหารหลังนี้ คือมีความกว้าง ๕ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ยาว ๙ วา ๒ ศอก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ซึ่งมีอายุเก่าแก่พอๆ กับวัด วิหารหลังเดิมได้ชำรุดทรุดโทรม ครูบาธรรมชัยแห่งวัดปงสนุกใต้ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำการบูรณะวิหารพระนอนและองค์พระนอนเมื่อปีพ.ศ.๒๔๖๘ ในปีต่อมา พระอธิการพุฒิ เจ้าอาวาส วัดพระแก้วดอนเต้า ได้ทำการต่อเติมให้พระวิหารมีความกว้างขึ้นอีก



DSC03141.jpg



DSC03143.jpg



DSC03140.jpg



พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ประดิษฐานภายใน พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม เป็นพระพุทธไสยาสน์ ศิลปะเชียงแสน สร้างขึ้นในสมัยพระญาชุมพูจิตตะเจ้าผู้ครองนครลำปางในขณะนั้น เป็นพระพุทธรูปที่มีความยาว ๕ วา และมีพุทธลักษณะที่งดงามมากค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC03137.jpg


พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ ประดิษฐานด้านหน้า พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


DSC03152.jpg


หอเทพารักษ์ อยู่ด้านหลัง พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


DSC03027.jpg



DSC03033.jpg



DSC03034.jpg



ศรัทธาสาธุชนสามารถร่วมทำบุญถวายผ้าเวียนพระบรมธาตุ บูชาวัตถุมงคลบำรุงวัด และทำบุญต่างๆ ภายใน ศาลาบาตร วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ค่ะ


การเดินทางมากราบนมัสการพระบรมธาตุดอนเต้า วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม วันนี้ก็ขอจบการเดินทางเพียงเท่านี้นะคะ สวัสดีค่ะ


Rank: 8Rank: 8

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        •  วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่

        •  พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๒๗๔-๒๗๕.                      
       •  นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ๑ ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์, หน้า ๒๔๑.        
       •  ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญครั้งนี้

หมายเหตุ   
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทาน


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-6 17:55 , Processed in 0.053861 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.