แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระเจดีย์ซาวหลัง บ.วังหม้อ ม.๒ ต.ต้นธงชัย อ.เมือง จ.ลำปาง [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8


DSC03262.jpg


ศาลาร่วมทำบุญกับวัด และเชิญปิดทองพระประจำวันเกิด วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03264.jpg


รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ประดิษฐานภายใน ศาลาร่วมทำบุญ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03265.jpg


DSC03267.jpg



ที่ตั้งกองทุนมูลนิธิโรงเรียนบ้านวังหม้อ (ธงไชยศึกษา) วัดพระเจดีย์ซาวหลัง มียาสมุนไพรจำหน่ายด้วยค่ะ


DSC03268.jpg



รูปเอกอัครมหาบูรพปรมาจารย์ ชีวกโกมารภัจจ์ ประดิษฐานภายใน ที่ตั้งกองทุนมูลนิธิโรงเรียนบ้านวังหม้อ (ธงไชยศึกษา) วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


พระคาถาบูชาเอกอัครมหาบูรพปรมาจารย์ ชีวกโกมารภัจจ์  

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) โอมะ นะโม ชีวะโก สิระสา อะหัง กะรุณีโก  สัพพะ สัตตานัง โอสะถะทิพพะมันตัง ปะภาโส สุริยาจันทัง โกมาระภัจโจ ปะภาเสสิ วันทามิ สุเมธะโส อะโรคา สุมะนะโหมิ สาธุ



Rank: 8Rank: 8

DSC09423.jpg



วิหารพระแสนแซ่ทองคำ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03302.jpg



DSC03290.jpg

พระแสนแซ่ทองคำ ประดิษฐานภายใน บุษบก วิหารพระแสนแซ่ทองคำ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


คำไหว้พระแสนแซ่ทองคำ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง

  (กล่าวนะโม ๓ จบ)  สุวรรณะ พุทธะรูปัง วันทามิหัง  โทสัง  ขะมะตุเม (ว่า ๓ จบ)



DSC03301.jpg


ประวัติพระแสนแซ่ทองคำ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง

พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ เป็นพระพุทธรูปทองคำหนัก ๑๐๐ บาท สองสลึง โดยชาวบ้านขุดพบเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านนาราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ชาวบ้านนำมาถวายไว้ที่วัด ‘'พระแสนแซ่ทองคำ'' คือพระพุทธรูปที่ใช้ ‘'แซว่‘' คือหมุดตอกตรึงองค์พระ สร้างโดยการเคาะขึ้นรูปทั้งองค์ แบ่งเป็นส่วนต่างๆ มาสวมต่อกัน ซึ่งผู้กล่าวว่าพระแสนแซ่ทองคำองค์นี้เข้าลักษณะพระสีหลักขณะตามตำรับช่างโบราณเชียงแสนสมัยล้านนาหรือกรุงศรีอยุธยาพร้อมทั้งให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า พระแสนแซ่ทองคำเป็นพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ น้ำหนักทองคำรวม ๑๐๐ บาทกับอีก ๒ สลึง สร้างโดยการเคาะตีขึ้นทั้งองค์แล้วจึงนำส่วนต่างๆ มาประกอบกัน

พุทธลักษณะของพระเจ้าแสนแซ่ คือมีขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้วครึ่ง สูง ๑๕ นิ้ว ในช่องพระเศียรมีผอบหรือกล่องบรรจุพระบรมธาตุ นอกจากนี้ พระเศียรซึ่งสามารถถอดออกเป็นชิ้นได้ ๓๒ ชิ้น นั้นได้รับการประดับด้วยอัญมณีสีต่างๆ สำหรับในองค์พระพุทธรูปมีใบลานทองคำซึ่งจารึกบทคาถาเป็นอักขระพื้นเมืองขดรวมกันอยู่ในที่หัวใจและปอด ที่สำคัญคือพระเจ้าแสนแซ่เป็นพระพุทธรูปทองคำองค์แรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุแห่งชาติ

การค้นพบพระพุทธรูปองค์นี้ มีขึ้นในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๖ โดยนายบุญเทียม เครือสาร อดีตผู้ใหญ่บ้าน โดยขณะที่เขากำลังเดินเก็บหญ้าอยู่ ได้พบดินก้อนโตขนาดเท่าผลมะม่วง มีสีออกวาวคล้ายโลหะ เมื่อนำไปล้างพบว่าเป็นเศียรพระพุทธรูป เขาจึงนำไปถวายพระครูสิริเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น ภายหลังทราบว่าเป็นเศียรพระพุทธรูปทองคำ จากนั้นนายบุญเทียม เจ้าของสวนได้จุดธูปเทียน ณ บริเวณที่ค้นพบเศียรพระพุทธรูป แล้วลงมือขุดลงไปลึกประมาณ ๑ คืบ ได้พบสิ่งที่เป็นพระศอ เมื่อขุดลึกลงไปอีกประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ก็พบองค์พระ เขาจึงนำไปมอบให้คณะสงฆ์


ต่อมาองค์พระพุทธรูปได้รับการเก็บรักษาไว้ ณ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ภายหลังทางกรมศิลปากรได้ส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมา โดยผู้อำนวยการกองพิพิธภัณฑ์แห่งชาติและดร.ชูวงศ์  ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดในครั้งนั้นเป็นกรรมการรับพระ จากนั้นในวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๗ ช่างได้ดำเนินการนำเศียรของพระพุทธรูปจนสำเร็จเรียบร้อย และนำมาประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์ซาวหลังจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ทางวัดยังมีงานบุญประจำปีซึ่งจะจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนเก้าเหนือ (เดือน ๗ ใต้) ของทุกๆ ปี  


Rank: 8Rank: 8

DSC03280.jpg



DSC03303.jpg



วิหารพระมหากัจจายะนะและพระสีวลี และโขงพระพุทธรูป วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ
  

DSC03284.jpg


DSC03287.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน โขง วิหารพระมหากัจจายะนะและพระสีวลี วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03281.jpg


รูปพระมหากัจจายนเถระ ประดิษฐานภายใน วิหารพระมหากัจจายะนะและพระสีวลี วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


คาถาบูชาพระมหากัจจายนเถระ

(กล่าวนะโม ๓ จบ)  กัจจายะนะมหาเถโร  สัพพะสันตาปะวัตติโต  สัพพะเวระมะติกกันโต  สัพพัตถะ  สัมมานะสัมปันโน  อลีติภูโต  สัทธา  เว  ภะวะตุ  หิตายะ  ธะนะสุขัง  โหตุ  ตัสสะ  มหากัจจายะนะมหาเถรัสสะ  ลาโภ  จะ  มหาลาโภ  จะ  อุปปันนา  โหนตุ  สัพพะทาฯ



DSC03283.jpg


รูปพระสีวลีมหาเถระ ประดิษฐานภายใน วิหารพระมหากัจจายะนะและพระสีวลี วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ



คำอาราธนาพระสีวลีมหาเถระ

(กล่าวนะโม ๓ จบ)  สีวะลี  จะ  มหาเถโร  เทวะตานะระปูชิโต  โสระโห  ปัจจะยา  ทิมหิ  สีวะลี  จะ  มหาเถโร  ยักขา เทวาภิปูชิโต  โสระโห  ปัจจะยา  ทิมหิ  อะหังวันทามิ  ตังสะทา



Rank: 8Rank: 8

DSC03304.jpg


DSC03310.jpg


ถ้ำหลวงพ่อมะขามเฒ่า พระครูวิมลคุณากร วัดพระเจดีย์ซาวหลัง บูรณะ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC03277.jpg


ห้องสมุดประชาชน วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03279.jpg



DSC03306.jpg


ทางไปบ่อน้ำสองพี่น้อง อยู่ด้านหลัง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ตามมาเลยค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC03312.jpg


DSC09425.jpg



พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ  


Rank: 8Rank: 8

DSC03316.jpg


DSC09427.jpg



ประตูทางเข้า/ออก บ่อน้ำสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC09438.jpg


DSC03319.jpg



รูปอนุสรณ์สองพี่น้องสร้างบ่อน้ำถวายแด่พระอรหันต์ บริเวณ บ่อน้ำสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ



DSC03321.jpg


หอเทพารักษ์ บริเวณ บ่อน้ำสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ  


Rank: 8Rank: 8

DSC09437.jpg


DSC03324.jpg



บ่อน้ำบ่อพี่ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03322.jpg


ประวัติบ่อน้ำสองพี่น้อง
วัดพระเจดีย์ซาวหลัง  

เมื่อพระยามิลินทร์ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ซาวหลังน้อมถวายเป็นมหาสังฆทานอันยิ่งใหญ่แด่พระสงฆ์ทั้งปวง ซึ่งมีพระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสองร่วมเป็นประธานอนุโมทนาอยู่ด้วย และนับแต่นั้นมาพระอารามแห่งนี้ก็มีชื่อเรียกว่า “วัดป่า(พระ)เจดีย์ซาวหลัง”

ต่อมาได้มีชายหนุ่มกำพร้าอนาถาสองพี่น้องตั้งบ้านเรือนอยู่ในละแวกนั้น เป็นคนเข็ญใจ แต่สองพี่น้องคู่นี้เป็นผู้มีจิตใจฝักใฝ่ในพระรัตนตรัยเป็นอย่างยิ่งและมิได้ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อถึงวันธรรมะสวนะทั้งสองก็จะละจากการหาเลี้ยงชีพมาสดับรับฟังพระธรรมเทศนา ให้ทาน และรักษาศีล เจริญภาวนา อยู่มิได้ขาด อยู่มาวันหนึ่ง ทั้งสองพี่น้องต่างปรึกษาหารือถึงความเป็นอยู่ยากจนข้นแค้นของตัวเองและรำพึงถึงวาสนาที่อาภัพช่างไม่เหมือนผู้อื่นเขาเลย พลันชายผู้พี่กล่าวว่า

“ในชาติปางก่อนเราทั้งสองอาจจะไม่เคยได้ทำบุญให้ทานรักษาศีลเป็นแน่แท้ คงจะเป็นมัจฉริยะตระหนี่ถี่เหนียวมีจิตใจคับแคบไม่เอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่นเขา เกิดมาชาตินี้ จึงกำพร้าพ่อแม่แต่เยาว์วัย ยากจนไร้ทรัพย์สมบัติ ขาดที่พึ่งอาศัย ได้รับการดูถูกเหยียดหยามดังเช่นทุกวันนี้”

เมื่อชายผู้พี่กล่าวจบ ชายผู้น้องจึงกล่าวว่า “คงจะเป็นผลกรรมตามสนองดังพี่ว่า แล้วเราทั้งสองจะทำประการใด” ชายผู้พี่จึงกล่าวปลอบโยนและชักชวนน้องชายว่า “น้องอย่าได้เศร้าเสียใจ และคิดย่อท้อให้กับความทุกข์ยากในปัจจุบันนี้เลย นับเป็นบุญของเราทั้งสองอยู่ที่ไม่เสียชาติ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีก ได้มาพบพระพุทธศาสนา และพระอรหันต์เจ้าทั้งสอง ควรที่เราจะประกอบคุณงามความดีไว้ เพราะความยากจนมิได้เป็นอุปสรรคในการกระทำความดี เราควรจะสร้างทำอะไรสักอย่างหนึ่งตามกำลังและศรัทธาที่เรามีอยู่ ถวายแด่องค์พระอรหันต์”

เมื่อชายผู้พี่กล่าวจบ ชายผู้น้องก็มีความชื่นชมยินดี และทั้งสองต่างปรึกษากัน ในที่สุดก็ตกลงใจสร้างบ่อน้ำถวายคนละบ่อ แล้วทั้งสองก็พากันไปเลือกดูสถานที่ เมื่อได้เป็นที่พอใจแล้ว วันต่อมาสองพี่น้องก็พากันมาพร้อมด้วยเครื่องมือขุด ก่อนจะขุดทั้งสองพี่น้องก็พากันคุกเข่าประนมมืออธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า “ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เป็นคนยากจนไร้ทรัพย์สมบัติ ขาดที่พึ่งอาศัย ต่างก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ปรารถนาจะขุดบ่อน้ำถวายพระอรหันต์ ณ ที่นี้คนละบ่อ แต่ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นผู้มีกำลังน้อย เมื่อขุดขออย่าให้น้ำออกลึกจนเกินกำลัง ขอให้ลึกพอประมาณเถิด”

เมื่อทั้งสองอธิษฐานแล้วก็ลงมือขุดพร้อมกัน พอขุดได้ไปลึกประมาณ ๑ วา ก็มีน้ำใสสะอาดไหลซึมออกมาพร้อมกัน สองพี่น้องเมื่อเห็นเช่นนั้นต่างก็ปลื้มปีติลืมความเหน็ดเหนื่อยทั้งสิ้น จึงรีบตกแต่งบ่อน้ำให้เรียบดีแล้ว จึงนำเอาดินกี่ (อิฐ) ซึ่งเตรียมไว้แล้วมาก่อเป็นรูปบ่อน้ำสี่เหลี่ยม เมื่อเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว สองพี่น้องก็ได้น้อมถวายแด่พระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสอง เพื่อจะได้ใช้อาบและฉัน และเพื่อให้เป็นสาธารณะประโยชน์โดยทั่วไป

บ่อน้ำทั้งสองนี้ (นับว่าแปลกมิใช่น้อย เท่าที่ทางวัดได้ขุดต่อมา บ่อบ่อหนึ่ง ปรากฏว่าลึกไม่ต่ำกว่า๕-๖ วา จึงจะพบน้ำ) อยู่ทางทิศเหนือของวัด ห่างจากกำแพงประมาณ ๗๐ เมตร ปัจจุบันนี้ยังคงมีน้ำใสสะอาดอยู่ตามเดิม ชาวบ้านเรียกกันว่า “บ่อน้ำสองพี่น้อง” จนทุกวันนี้



Rank: 8Rank: 8

DSC09439.jpg


DSC03328.jpg



บ่อน้ำบ่อน้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ

ตามประวัติบ่อน้ำสองพี่น้อง อายุได้ ๒,๐๐๐ กว่าปี บูรณะเมื่อพ.ศ.๒๔๖๔ เชื่อกันว่าน้ำในบ่อมีความศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดมีโรคภัยไข้เจ็บเยียวยาเท่าใดไม่หาย และมีเรื่องทุกข์ร้อนทางใจ ก็ไปตั้งสัจจะอธิษฐานขอดื่มและอาบสระเกล้าดำหัวจะทำให้ผู้นั้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บและทุกข์ร้อนทางใจได้ เมื่อต้องการนำไปใช้ให้ตั้งจิตอธิษฐานแล้วตักเอาน้ำด้วยสัจจะคารวะเถิด
เวลาจะตักน้ำในบ่อน้ำ ไม่อนุญาตให้นั่งบริเวณขอบปากบ่อน้ำ


Rank: 8Rank: 8

DSC03323.jpg


DSC09435.jpg


รูปปั้นพระฤาษี บริเวณ บ่อน้ำสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-6 21:50 , Processed in 0.055915 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.