รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา ประดิษฐานภายใน วิหารครอบรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา วัดพระบาทยั้งหวีด ค่ะ
ประวัติการก่อสร้างพัฒนา ตอนที่ ๒ วัดพระบาทยั้งหวีด สมัยท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ร่วมกับพระเณรคณะกรรมการวัดศรัทธา มีดังนี้
๑. เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๓ ตรงกับเดือน ๑๐ เหนือขึ้น ๑๒ ค่ำ ภายในมีพระครูขันตยาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอสันป่าตอง เป็นประธาน พระครูสุภัทรวิทยาคุณ รองเจ้าคณะอำเภอนี้ และพระมหายรรยงค์ เลขานุการเจ้าคณะอำเภอ ฯลฯ ภายนอกมีนายสุพรรณ์ สิงห์ปุรอุดม นายอำเภอสันป่าตอง คุณโสภา สุวรรณศรีคำ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ (ปัจจุบันนี้เป็นศึกษาธิการอำเภอสันป่าตอง พ.ศ. ๒๕๒๓) ท่านเจ้าอาวาสทุกวัดในตำบลเขต ๑-๒ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลมะขามหลวง เจ้าหน้าที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัดสาขาสันป่าตอง ศรัทธาประชาชน มีโอกาสได้นำเอาข้าพเจ้าย้ายจากวัดบ้านเปียง ตำบลบ้านแม และมีสามเณรติดตามมาคือส.ณ.มานิตย์ ปันคำ ส.ณ.ดวงคำ ศรีวิชัย ส.ณ.สมศรี กันยวม ส.ณ.อินสม สมคำเอ้ย ส.ณ.สมาน ชาวสิงห์ ส.ณ.อมร เก่งการ บุญเริ่ม ศรีวรรณ์ (บุญเริ่ม ศรีวรรณ์ ได้บวชเป็นสามเณรองค์แรกในวัดนี้) ๗ คนนี้เป็นผู้ติดมาจากวัดบ้านเปียงและได้อยู่ร่วมกันปฏิบัติรักษาวัดวาอาราม ฯลฯ
๒. วันจันทร์ที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๑๓ ได้แก้ไขทำป้ายวัดขึ้นใหม่ให้ดีกว่าเดิม พอถึงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ได้ขออนุญาตจากท่านเจ้าคณะอำเภอทำป้ายบอกไว้ ณถนนปากทางเข้ามาวัดพระบาทยั้งหวีดให้นามว่า ทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทยั้งหวีด ๑ ก.ม. พอมาถึงวันที่ ๓ เดือนเมษายน ๒๕๑๗ วันพุธ เดือน ๗ เหนือขึ้น ๑๑ ค่ำก็ได้มีนายสุวรรณ นางคำแสน สุวรรณประสิทธิ์ บ้านม่วงพี่น้องร่วมกับท่านผู้มีจิตศรัทธาบางท่านทำเปลี่ยนขึ้นใหม่ตามเดิม สิ้นเงิน ๑,๐๐๐ บาท ฯ
๓. วันจันทร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๓ โรงบ่อน้ำนาคบุ (โรงบ่อน้ำพญานาค) ดูเป็นที่ชำรุดหักพังใช้การไม่ได้จึงได้ขออนุญาตจากท่านเจ้าคณะอำเภอ เพื่อขอรื้อแล้วสร้างใหม่ได้ตามความประสงค์และได้ร่วมกับท่านผู้มีจิตศรัทธาคือ ครูจันทร์ทิพย์ นางอาจิณ สิงห์แดงบ้านปากทางพระบาทบริจาคเงินสร้างและมีผู้บริจาคอื่นร่วมด้วยสร้างเสร็จเมื่อวันจันทร์ที่ ๓๐ ธันวาคม๒๕๑๓ สิ้นเงิน ๒,๔๘๒ บาท ๘๐ สตางค์ ฯ
๔. วันอังคารที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๔ ได้ร่วมกับคณะกรรมการทุกฝ่ายและท่านศรัทธาประชาชนผู้มีจิตศรัทธารื้อศาลาการเปรียญหลังเก่าแล้วสร้างใหม่ใหญ่สูงกว่าแก่เหนือวิหารเสร็จเมื่อวันอังคารที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๗๕,๒๑๘ บาท ๕๐ สตางค์ ทำบุญฉลองวันที่ ๑๓-๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๖ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๑๒ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ฯ
๕. วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๑๔ วันวิสาขะบูชาขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ภายในมีพระครูขันตยาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอสันป่าตอง เป็นประธาน พร้อมด้วยเจ้าคณะตำบลเจ้าอาวาสทุกวัดทุกตำบลในอำเภอสันป่าตอง ภายนอกมีนายสุพรรณ์ สิงห์ปุระอุดม นายอำเภอเป็นประธาน พร้อมด้วยข้าราชการอำเภอทุกแผนกการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน และศรัทธาประชาชนทั่วไป ได้ทำพิธีปลูกพระศรีมหาโพธิ์ (ไม้ศรี) ที่ท่านพระครูบาอินถา สุขวฑฺฒโก เจ้าอาวาส วัดพระพุทธสันติปารังกร ตำบลแม่ก๊า ได้นำเชื้อมาจากประเทศอินเดีย ณ พุทธคยาสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาปลูก ณ ที่บริเวณหน้าวัดพระบาทยั้งหวีด ด้านหน้าวัดทิศตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเป็นที่สักการบูชา บัดนี้ปีพ.ศ.๒๕๒๓ พระศรีมหาโพธิ์ใหญ่โตขึ้นสูงประมาณ ๖ เมตร เมื่อปลูกแล้วนานประมาณ ๖ เดือนได้แตกกิ่งต้นเป็น ๓ กิ่ง เท่ากันดูสง่างดงาม
๖. วันที่ ๘ สิงหาคมพ.ศ.๒๕๑๔ ได้ร่วมกับท่านผู้มีจิตศรัทธา ซื้อฆ้องกลองถวายวัด คือที่วัดเดิมไม่มีมีสิ้นเงิน ๑,๘๐๐ บาท
๗. วันที่ ๑๔ กันยายนพ.ศ.๒๕๑๔ จ้างนายช่างทำรูปและสถานที่พระอุปคุต ณ บริเวณในวัดใต้วิหาร หล่อคอนกรีตทำเป็นเสาเดียวข้างบนทำด้วยไม้มุงสังกะสี รูปพระอุปคุตทำเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๖ มีนายสุวรรณ นางคำแสน สุวรรณประสิทธิ์ เป็นศรัทธาเจ้าภาพ สิ้นเงิน ๔๐๐ บาท
๘. วันอังคารที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๕ ได้ร่วมกับท่านผู้มีจิตศรัทธา ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ถวายวัด ๑ เครื่อง ความแรง ๔.๕ ส่ง ๒ กิโลวัต ไฟ ๑๖๐๐ พร้อมทั้งอุปกรณ์ทุกอย่างด้านการโฆษณากระจายเสียง สิ้นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท ผู้บริจาค คือ ๑.พระครูขันตยาภรณ์ เจ้าคณะเภอสันป่าตอง ๑,๐๐๐ บาท พระครูแสน ญาณวโร เจ้าอาวาสวัดพระบาทยั้งหวีด ๑,๒๒๒ บาท แม่เจ้าเซ็งโฉ่ วณีสอน บ้านม่วงพี่น้อง ๒,๐๖๕ บาท นายชั้น นางอารี แย้มขยาย ปากทางพระบาท (บ้านเดิมอยู่อำเภอบางระจันทร์จ.สิงห์บุรี) บริจาค ๑,๐๐๐ บาท นายสุวรรณ นางคำแสน บ้านม่วงพี่น้อง ตำบลมะขามหลวง ๒๕๐ บาท เงินนอกจากนี้ คณะศรัทธารวม ฯ
๙. วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๖ ได้ขออนุญาต และร่วมกับท่านผู้มีจิตศรัทธาสร้างโรงบ่อน้ำใหญ่หน้าวัดทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำด้วยหล่อคอนกรีตเสริมเหล็กดาดฟ้า สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๔,๑๘๔ บาท ๕๐ สตางค์บ่อนี้มีประวัติเดิมโดยย่อว่า ท่านครูบาอินตา วันหนองยางหมื่น (ปัจจุบันนี้ว่าวัดศรีเกิด ต.ยุหว่า) ได้สร้างไว้ ครูบาอินตา มรณภาพไปนานได้ ๓๑ ปีต่อมาปีพ.ศ.๒๔๗๒ ครูบาศรีวิชัย ได้มาสร้างวัดพระบาทยั้งหวีด เลยสร้างบ่อนี้ ต่อมาปีพ.ศ.๒๕๐๘ ได้มีหลวงพ่อสม (พระพ่อสม) จากจังหวัดแพร่มาอยู่วัดนี้ จึงได้สร้างเพิ่มเติมอีกพอถึงวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๖ ข้าพเจ้าจึงสร้างโรงบ่อนี้อีก
๑๐. (กล่าวคืนหลัง) วันอาทิตย์ที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๕ ตรงกับแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ เหนือระฆังสัญญาณที่วัดไม่มี จึงได้ร่วมกับท่านผู้มีจิตศรัทธาสร้างถวายวัด ๑ ใบเงินสิ้น ๖๐๐ บาท ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๒๐ ได้มีแม่ทร สาระสุข บ้านเลขที่ ๒ ถนนสิทธิวงศ์อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นำมาทำบุญครบรอบปีเกิด ๑ ใบ ราคา ๗๐๐ บาท รวม ๒ ใบเป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท
๑๑. วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๖ พิมพ์ดีดที่วัดไม่มีใช้ จึงได้เอาเงินส่วนกลางของวัดซื้อ ๑ เครื่อง ยี่ห้อทิปป้าแบบกระเป๋าหิ้ว ราคา ๒,๔๐๐ บาท
๑๒. วันศุกร์ที่๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๖ ตรงกับเดือนยี่ เหนือ ขึ้น ๒ ค่ำได้ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาขออนุญาตหล่อลาดฟุตบาตรรอบกำแพงศาลาชั้นนอกจอดทุกด้านเพื่อความมั่นคงของวัดคือศาลากำแพง ขนาดกว้าง ๑ เมตรความยาวทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ยาวด้านละ ๕๒ เมตร ทิศเหนือทิศใต้ ยาวด้านละ ๕๖เมตร สิ้นเงิน ๕,๔๐๐ บาท
๑๓. วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๗ เดือน ๖ เหนือขึ้น ๘ ค่ำ วันศุกร์ได้ร่วมกับท่านผู้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดิน ๑ แปลง เพื่อเป็นที่สร้างอุโบสถใหม่คือที่นาเหนือวัดถวายวัด เป็นราคาเงินสด ๑,๕๐๐ บาท
๑๔. วันที่ ๑๐ ตุลาคมพ.ศ.๒๕๑๙ ก็ได้มีคุณพ่อทองอินทร์ คุณแม่พวงแก้ว บัณฑรานนท์ พร้อมด้วยธิดาคือคุณโยมพวงทอง บัณฑรานนท์ (วัชรจักร) อาจารย์ผ่อนพรรณ บัณฑรานนท์ เลขที่ ๑๐๙ ถนนมูลเมือง อำเภอเมือง เชียงใหม่บริจาคเงินซือที่ดิน บริเวณหน้าวัดอุโบสถอีก ๑ แปลง เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท รวมทั้ง ๒ แปลง ติดต่อกันเป็นเนื้อที่ของอุโบสถวัดพระบาทยั้งหวีด ทั้งสิ้น
๑๕.วันศุกร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ ร่วมกับคณะกรรมการวัด ศรัทธาประชาชนทั่วไปได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ที่ดินดำเนินการสร้างอุโบสถ มีพระราชสิทธาจารย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ สร้างอุโบสถ
๑๖.วันอาทิตย์ที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐ได้ร่วมกับท่านผู้มีจิตศรัทธาและผู้บริจาคคือแม่บุญหลง คำบุญเรือง บ้านเลขที่ ๑๔๓-๑๔๔ ถนนวัวลาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างกำแพงแก้ว (รั้ว) ล้อมพระศรีมหาโพธิ์ตามที่กล่าวแล้วในข้อ ๕ ทำเป็น ๒ ชั้น ชั้นในกว้าง ๒ เมตร ๘เหลี่ยม ชั้นนอก กว้าง ๕ เมตร สี่ด้านมีประตูเข้าออก ๔ ประตูหล่อคอนกรีตดอกซีเมนต์บล็อกสิ้นเงิน ๓,๓๓๙ บาท
.
๑๗. วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐ ตรงกับเดือน ๑๐ เหนือ ขึ้น ๔ ค่ำ ได้มีนายสุวรรณ นางคำแสน สุวรรณประสิทธิ์ พร้อมด้วยลูกหลาน บ้านม่วงพี่น้องตำบลมะขามหลวง บริจาคเงินจำนวน ๑๐,๘๐๐ บาท ร.อ.กนกคุณนายบังอร รัตนัย บ้านเลขที่ ๒๙ ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ซอย ๗ บริจาค ๑,๒๐๐ บาท อุทิศกุศลให้ ร.อ.พจน์ รัตนัย สร้างห้องสุขา ห้องอาบน้ำ รวม ๕ห้องถวายวัดทางทิศใต้วัด สิ้นเงินรวม ๑๒,๐๐๐ บาท
๑๘. วันเสาร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๑ ตรงกับเดือน ๔ เหนือ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ได้ร่วมกับคณะกรรมการและท่านผู้มีจิตศรัทธาขออนุญาตสร้างโขงล้อมครอบพระพุทธรูปในวิหารเพื่อรักษาความปลอดภัยต่อพระพุทธรูปและสะดวกในการรักษา สิ้นเงินในการใช้จ่าย ๙,๖๘๙ บาท เป็นเงินทุนทางวัด ๒,๐๐๐ บาท พระครูแสนญาณวโร เจ้าอาวาสบริจาค ๕๐๐ บาท แม่เจ้าเซ็งโฉ่วณีสอน บ้านม่วงพี่น้อง บริจาค ๒,๐๐๐ บาทนายสุวรรณ นางคำแสน สุวรรณประสิทธิ์ และลูกหลานบ้านม่วงพี่น้อง บริจาค ๕๐๐ บาทเหลือจากนี้เป็นเงินที่ท่านผู้มีจิตศรัทธาบริจาคต่ำกว่า ๕๐๐ บาท ลงมา
๑๙. วันพฤหัสที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๒๒ ตรงกับเดือน ๔ เหนือ ขึ้น ๑๔ ค่ำคณะกรรมการทุกฝ่ายภายในมี พระครูขันตยาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอสันป่าตอง เป็นประธานพระครูแสน ญาณวโร เจ้าอาวาส ฯลฯ ภายนอกมีนายประพัฒน์ แก้วโพธิ์ นายอำเภอ นายธนิตแสนศรีสวัสดิ์ กำนันตำบลมะขามหลวง นายสมบูรณ์ ตุ่นตามเชื้อ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑๔ตำบลนี้ พร้อมด้วยคณะกรรมการ และเจ้าของที่นา เพื่อขอขยายถนนให้กว้างเท่าเขตเดิมก็เป็นที่ตกลงกันดี พร้อมกันนั้นทางคณะกรรมการก็ได้ขอซื้อที่นาทางถนนโค้งหน้าวัดทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อถมเป็นถนนทางเดินก็ตกลงเรียบร้อยเป็นราคาเงินสด ๕๐๐ บาท ผู้บริจาคออกเงินซื้อคือคุณรักษ์ชัยคุณโยมสุณี กุลภิรักษ์ เจ้าของโรงงานปั้นกระเบื้อง ร้านตั้งบุ้นเซ้ง เลขที่ ๘๒ ถนนราชดำเนิน (ข้างวัดชัยพระเกียรติ) อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซื้อกับนายคำ ใจตาบ้านทุ่ง ต.มะขามหลวง ได้ถมดินตามเขตที่ตกลงกันเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๒๓บัดนี้รถยนต์เดินผ่านไปมาพอเว้นกันได้
๒๐. ใจความย่อในการสร้างอุโบสถ วัดพระบาทยั้งหวีด เมื่อพ.ศ.๒๕๑๕ ได้ทำรายงานยื่นคำร้องขอพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานวิสุงคามสีมาได้มีพระราชองค์การโปรดเกล้า พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๑๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๖ กองพุทธศาสนาสถานกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการวันที่๙ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๖ วางศิลาฤกษ์ วันศุกร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘และเริ่มสร้างเป็นลำดับมาวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๒ เดือน ๘ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำทำบุญพิธียกช่อฟ้า วันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๓ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ เหนือทำบุญพิธีตัดฝังลูกนิมิต มีท่านเจ้าคุณพระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูนเจ้าคณะภาค ๗ เป็นประธานสงฆ์ในพิธี พระสงฆ์ที่นิมนต์มาในงานพิธี รวมทั้งหมด ๘๕ รูปที่ได้มาร่วมจริง ๘๕ รูป วันอังคารที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓ เดือน ๘ เหนือ ขึ้น ๑๕ค่ำ ได้มีคุณรักษชัย คุณโยมสุณี กุลาภิรักษ์ พร้อมด้วยลูกหลาน เลขที่ ๘๒ นนราชดำเนิน อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีเจตนาศรัทธาจ้างนายช่างทำยอดเสมาเป็นเงิน ๓,๓๐๐ บาท รวมทั้งบริจาคไปแล้วครั้งก่อนเป็นเงิน ๖,๔๐๐บาท กระเบื้องมุงหลังคาอุโบสถนั้น ผู้เป็นศรัทธาเจ้าภาพบริจาค คือ แม่เจ้าเซ็งโฉ่วณีสอน บ้านม่วงพี่น้อง ตำบลมะขามหลวง สิ้นเงิน ๓๗,๘๔๕ บาท
๒๑. ปีนี้เป็นปีที่แล้งขาดแคลนน้ำใช้น้ำอุปโภคพระภิกษุสามเณรที่อยู่ปฏิบัติรักษาวัดวาอาราม ได้มีอาจารย์วันดี จารุจินดาครูสอนร.ร.ยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่ เลขที่ ๒๙ ถนนมูลเมือง ซอย ๕ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่พร้อมด้วยบุตรธิดา ได้มีเจตนาบริจาคเงินจำนวน ๑,๐๐๐บาท เพื่อเป็นค่าจ้างขุดคูที่เก็บน้ำบริเวณเหนือวัด กว้าง ๑ เมตรครึ่ง ลึก ๒ เมตรยาว ๔๔ เมตร ขุดเสร็จวันพุธที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๓
รวบรวมโดย พระครูแสน ญาณวโร เจ้าอาวาส (เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๓)
“วัดพระบาทยั้งหวีด เป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์มาแต่นาน ถ้าขาดการพัฒนาก็มัวหมอง
โชคเรายังดีมีรอยพระพุทธบาททั้งซ้ายขวาประดิษฐานไว้
เป็นที่กราบไหว้บูชาสืบศาสนาแทนตัวพระพุทธองค์
วัดนี้จะมั่นคงยืนนานอยู่ได้ เพราะเราและท่านทุกท่านสามัคคีกันช่วยเอาใจใส่พัฒนาการ ฯลฯ”
รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา วัดพระบาทยั้งหวีด จะเล็กกว่ารอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายและไม่ปรากฏรอยนิ้ว เป็นพระบาทเกือกแก้วค่ะ
งานประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทยั้งหวีด เป็นประจำทุกปี ในวันเดือน ๘ เหนือ เดือน ๖ ใต้ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ตั้งแต่โบราณมา
คำส่งเสริมประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาท
พระพุทธเจ้าได้เหยียบพระบาทไว้ในที่ใดที่นั้น จะเห็นกลางชุมชนอำเภอสันป่าตอง ทรงเหยียบไว้ ๒ รอย ซ้าย-ขวา ณ วัดพระบาทยั้งหวีด สมัยแต่ก่อนนั้นครูบาอาจารย์ให้มีประเพณีสรงน้ำต่อๆ กันมา ถึงสมัยท่านพระครูบาศรีวิชัย นักบุญล้านนาไทย ก็มาสร้างศาลาบาตรล้อมวัด ท่านพระครูขันตยาภรณ์ สร้างศาลาการเปรียญ กวมพระบาทที่ศาลาสมัยพระครูแสน ญาณวโร บริหารเจริญรุ่งเรืองสุดขีดเพราะก่อสร้างอุโบสถ ผูกพัทธสีมาสำเร็จเริ่มมีของแปลกก็หลายอย่างคือ ต้นโพธิ์อินเดียแตกออกเป็น ๓ กิ่ง สวยงาม มะม่วงที่ปลูกกลางวัดก็แยกออกเป็น ๓ กิ่ง เหมือนกัน แม้แต่ต้นกล้วยก็ออกปลิเป็น ๓ ใน ต้นเดียวกันใน ต.มะขามหลวง ควรงึดอัศจรรย์นักเหตุการณ์อันใดจึงเป็นอย่างนั้น ผู้เขียนคำส่งเสริมว่าเพราะปุ๋ยดินดีและเพราะอาศัยพระบารมีของพระพุทธเจ้าโปรดทรงถ่ายมูตคูตเว็จ (ส้วม) เหยียบรอยพระบาทไว้ให้เป็นที่สักการบูชาแก่หมู่คนและเทวดาทั้งหลาย ครั้นว่าถึงวันเดือน ๘ เดือนเพ็ญ มาแล้ว ชาวพุทธเราไม่ว่าอยู่ ณ แห่งหนตำบลใด ทั้งในเมืองเชียงใหม่ทั้งอำเภอรอบนอกถิ่นฐานใด และนอกประเทศควรบอก เชิญชวนกันมาสรงน้ำพระพุทธบาทยั้งหวีดจะเป็นการอุดมมงคลแก่ท่านผู้นั้น ด้วยดังพระบาลีว่า ปูชา จ ปูชะนียานํ เอตมํมฺคลมุตฺตมํ.
พระครูปิยธรรมภาณี (บุญมา ธมฺมปญฺโญ)
๓๐ พ.ค. ๒๕๒๓
รองเจ้าคณะอำเภอสันป่าตอง