- สมัครสมาชิกเมื่อ
- 2009-1-22
- เข้าสู่ระบบล่าสุด
- 2025-7-24
- สิทธิ์ในการอ่าน
- 150
- เครดิต
- 0
- โพสต์
- 5072
- สำคัญ
- 4
- UID
- 13
 
|
 | |  |  |
ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ 
ตำนานไม้ค้ำสะหลี (ไม้ค้ำศรีมหาโพธิ์) อำเภอจอมทอง
คำว่า “สะหลี” เป็นภาษาพื้นเมืองมาจากคำว่า “ศรี” ประวัติความเป็นมาของไม้ค้ำสะหลี หรือไม้ค้ำโพธิ์ มีเรื่่องเล่าว่า สมัยเมื่อครูบาปุ๊ด หรือ ครูบาพุทธิมาวังโส เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๔ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร นั้น ยามเดือนแปดเหนือ (เดือนพฤษภาคม) พ.ศ.๒๓๑๔ ได้เกิดลมพายุใหญ่พัดเอากิ่งไม้สะหลี (ต้นโพธิ์) ภายในวัดหักลงมา รุ่งเช้าครูบาจึงให้พระภิกษุ สามเณร และเด็กวัดช่วยกันเก็บกวาดกิ่งไม้หักไปไว้นอกวัด ยามนั้นครูบาพุทธิมาวังโส หรือ ครูบาปุ๊ด เจ้าอาวาสให้นึกตกใจกลัวยิ่งนักกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่สมัยเจ้าอาวาสองค์ก่อนๆ ไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเลย ครูบาปุ๊ดคิดอย่างนั้นทำให้เครียดหนักขึ้น ตกตอนกลางคืนครูบาปุ๊ดเข้าจำวัดและก็เกิดนิมิตขึ้นว่า มีเทวดามาบอกว่าที่เกิดเหตุอาเพศลมพัดกิ่งไม้สะหลีหักนั้นเป็นเพราะครูบาปุ๊ดไม่ได้ตั้งใจปฏิบัติธรรมโดยเคร่งครัด จวบจนล่วงเวลาได้ ๒ เดือนก็ได้บรรลุธรรมอภิญญาณ สามารถย่นย่อแผ่นดินได้
พอท่านครูบาปุ๊ดได้ธรรมอภิญญาณแล้วก็มีสติปัญญาเกิดขึ้นตามลำดับ จึงได้วางแผนไว้ในใจ ในปีนี้พอถึงวันเข้าพรรษา ชาวบ้านต่างมาทำบุญฟังเทศน์ที่วัดมากมาย ท่านจึงได้บอกเรื่องถึงเหตุการณ์ที่ไม้สะหลีหัก ที่ประชุมจึงตกลงไว้ว่า ปีต่อไปประมาณเดือน ๗ (เดือนเมษายน) ให้ชาวบ้านไปตัดง่ามมาช่วยกันค้ำกิ่งต้นไม้สะหลีเอาไว้กันลมพัดหักโค่นในพ.ศ.๒๓๑๕ นั้นเอง
ต่อมาครูบาปุ๊ด และชาวบ้านได้กำหนดให้มีประเพณีการทำบุญแห่ไม้ค้ำโพธิ์ หรือไม้ค้ำสะหลี ทุกปีในเดือน ๗ เหนือ หรือ เดือนเมษายน ซึ่งมีประเพณีดังนี้
วันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันสังขารล่องให้ชำระจิตใจและบ้านเรือนให้สะอาด
วันที่ ๑๔ เมษายน เป็นวันเนาว์ หรือ วันเน่า ห้ามพูดคำไม่ดี ไม่เป็นสิริมงคล ถือเป็นวันดา หรือวันเตรียมงานด้วยมีการขนทรายเข้าวัด
วันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันพญาวัน เป็นวันยิ่งใหญ่กว่าวันใดๆ มีการทำบุญใหญ่ เป็นวันแห่ไม้ค้ำสะหลี (แห่ไม้ค้ำโพธิ์) ซึ่งชาวจอมทองไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนต่างก็จะพากันกลับบ้านมารดน้ำดำหัวบุพพการี และร่วมแห่ไม้ค้ำสะหลีกันอย่างเนืองแน่น ถือเป็นประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่สืบทอดกันมาช้า นานนับสองร้อยกว่าปีมาแล้ว
วันที่ ๑๖ เมษายน เป็นวันปากปี ถือเป็นวันเริ่มศักราชใหม่ของชาวพื้นเมืองเหนือล้านนา
ประเพณีแห่ไม้ค้ำสะหลี หรือประเพณีปี๋ใหม่เมือง หรือประเพณีวันสงกรานต์ ถือเป็นวันทำบุญครั้งใหญ่ของชาวล้านนา การทำบุญที่วัดและให้บรรดาญาติผู้ใหญ่ตลอดจนถึงบรรพชนที่ลุล่วงลับดับขันธ์ไป
นอกจากนี้ครูบาปุ๊ดยังได้อบรมสั่งสอนให้ชาวบ้านถึงกุสโลบายการจัดประเพณีนี้โดยได้อานิสงค์หลายอย่างเช่น เป็นการค้ำไม้สะหลี (ต้นโพธิ์) ไม่ให้หักโค่นลงมา เป็นการสืบชะตาวัด หมู่บ้าน และชาวบ้านเองให้เป็นสิริมงคลอยู่ร่มเย็นเป็นสุข เป็นการค้ำจุนสืบทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ยาวนานตลอดถึง ๕,๐๐๐ พระวสา เป็นรื่นเริงในหน้าแล้งซึ่งอากาศร้อนมากโดยมีพิธีรดน้ำดำหัว พักผ่อนในยามว่างงาน จากนั้นบรรดาเครือญาติจากที่ต่างๆ จะมารวมตัวพบปะสังสรรค์กัน ถือว่าเป็นวันครอบครัวของชาวล้านนาจอมทองอีกด้วย
สำหรับผู้ที่เล่าสืบต่อมา คือ ครูบามหาวัน เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๕ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ซึ่งขณะนั้นเป็นสามเณรน้อยอายุประมาณ ๑๐-๑๑ ขวบ อยู่ในเหตุการณ์ด้วย ครูบายะ หรือ ครูบาพุทธศาสตร์ สุประดิษฐ์ เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๖ ผู้สร้างกุฏิไม้หลังใหญ่ (โฮงหลวง) ตุ๊พ่อตั๋น สังวโร พระเถระผู้ใหญ่สมัยท่านพระครูสุวิทยธรรม เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๗ พ่อหนานศรีทน ยศถามี มัคนายก วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ยังได้เล่าอีกว่า ตอนนั้นนอกจากกิ่งไม้สะหลีได้หักโค่นลงมาแล้ว ยังเกิดเหตุพระธาตุจอมทองได้หายจากผอบทองคำในมณฑปอีกด้วย ซึ่งต่อมาก็ได้เสด็จกลับมาประดิษฐานยังมณฑป หรือประสาทชมปูดังเดิม
ตำนานไม้ค้ำสะหลีก็จบแค่นี้ก่อนแล อาจารย์ เพชร แสนใจบาล ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๙
ศาลาบำเพ็ญบุญ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ค่ะ
| |  | |  |
|
|