- สมัครสมาชิกเมื่อ
- 2009-1-22
- เข้าสู่ระบบล่าสุด
- 2025-7-24
- สิทธิ์ในการอ่าน
- 150
- เครดิต
- 0
- โพสต์
- 5072
- สำคัญ
- 4
- UID
- 13
 
|
 | |  |  |
ตำนานพระมหาบรมธาตุเจ้าดอยเกิ้ง (เรียบเรียงใหม่) (ต่อ)
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ก็เดินทางกลับไปพักอยู่ในป่าเชตวันอาราม ส่วนพระอรหันต์ทั้งหลาย พร้อมด้วยพระอินทร์ พญาสีสู่ พญาโศกราช และขุนแสนทอง ก็ได้นำผอบทองคำลงไปสู่ในถ้ำทางทิศตะวันออก พระอินทร์เจ้าได้เนรมิตถ้ำให้เป็น ๓ ชั้น กว้าง ๑ วา สูง ๓ ศอก ชั้นบนนั้นเก็บผอบแก้วไว้บนชั้นทองคำ ขุนแสนทองก็นำสัปทนทองคำที่กั้นให้พระพุทธเจ้า กางให้กับพระธรรมถึกและพระเกศาธาตุ
พระพุทธองค์ทรงรำพึงว่า
“ใยภายภาคหน้า ปวงชนทั้งหลายจะไม่รู้จักจุดประทีปบูชาตถาคต พระองค์จึงทรงรวบรวมทองคำทิพย์เท่าเม็ดผักกาด แล้วมอบให้พระอินทร์สั่งให้พระวิษณุกรรมหลอมประทีปกว้าง ๑ วา หนา ๑ นิ้ว ลึก ๓ วา แล้วใส่น้ำมันทิพย์ไว้ บรรจุสายสิญจน์แทนไส้ตะเกียงโตเท่าแขนของมนุษย์ให้จุดไว้ในชั้นล่าง”
เมื่อเสร็จแล้ว พระวิษณุกรรมได้อธิษฐานไว้ว่า “ตราบใดที่พระสารีริกธาตุแห่งตถาคตยังไม่เข้าสู่โคนต้นศรีมหาโพธิ์ ขอให้ไฟดวงนี้อย่าดับเป็นอันขาด และน้ำมันก็อย่าได้เหือดแห้งไป” แล้วพระวิษณุกรรมจึงกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “อันพระสารีริกธาตุของพระองค์ จะมาตั้งไว้ในภูเขานี้หรือพระเจ้าข้า และเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วนานเท่าไรศาสนาของพระองค์จึงจักรุ่งเรืองไปในภาคหน้า พระเจ้าข้า”
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ดูกรมหาราช อันพระสารีริกธาตุจักตั้งอยู่ในภูเขาลูกนี้ เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว ๒,๕๖๗ ปี ๒ เดือน ๒๕ วัน ศาสนาก็จักรุ่งเรือง”
พระอรหันต์ พญาโศกราช พญาสีสู่ และพระอินทร์เจ้าก็ทูลถามพระพุทธเจ้าความว่า “ภูเขาลูกนี้หรือพระเจ้าข้าที่พระองค์ทรงทำนายว่าจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแห่งพระองค์ก็ดีพระเจ้าข้า จะได้เป็นที่ประเสริฐในภายภาคหน้าจักปรากฏชื่อไปนานแสนนาน” และพระพุทธองค์ทรงกล่าวอีกว่า “ตถาคตมาถึงภูเขาลูกนี้ ขุนแสนทองก็นำสัปทนทองคำมากั้นแสงแดดให้เราตถาคตจักให้ชื่อว่า “ดอยเกิ้ง”
ยังเป็นนิมิตแห่งภูเขาลูกนี้ด้วยกับมีเทวดาองค์หนึ่งกล่าวว่า “ข้าแต่พระพุทธเจ้า ข้าจักอยู่รักษาพระบรมธาตุนี้ ข้าฯไม่มีวิมาน แล้วจักอาศัยอยู่ตรงไหนจึงจะดี” พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า “ดูกรเทวดากับรุกขเทวดาอีกองค์หนึ่งอยู่ภายใต้โน้น ไม่ไกลจากที่นี่มากนัก อีก ๗ วัน รุกขเทวดานั้นจะมาจุติวิมานแก่เทวดาเจ้า แล้วก็จักลำดับจากชั้นวิมานมาจุติขึ้นไว้ให้ หากผู้ใดใคร่รักษาพระสารีริกธาตุแห่งตถาคตก็ขอให้รักษาสัก ๗ วันก่อนเถิด” เทวดาองค์นั้นยินดีเป็นยิ่งนัก
ตำนานพระมหาบรมธาตุเจ้าดอยเกิ้ง (เรียบเรียงใหม่) (ต่อ)
ขุนแสนทองเมื่อได้ยินพระพุทธเจ้ากล่าวกับเทวดานั้นก็ได้ทูลถามว่า ตนได้นำสัปทนทองคำกั้นแดดถวายจักได้รับอานิสงส์อันใด เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน “ดูกรเทวดากับรุกขเทวดาอีกองค์หนึ่งอยู่ภายใต้โน้น ไม่ไกลจากที่นี่มากนัก อีก ๗ รุกขเทวดานั้นจะมาจุติวิมานแก่เทวดาเจ้า แล้วก็จักลำดับจากชั้นวิมานจุติขึ้นไว้ให้ หากผู้ใดใคร่รักษาพระสารีริกธาตุแห่งตถาคตก็ขอให้รักษาสัก ๗ วันก่อนเถิด” เทวดาองค์นั้นยินดีเป็นยิ่งนัก
ขุนแสนทองเมื่อได้ยินพระพุทธเจ้ากล่าวกับเทวดานั้นก็ได้ทูลถามว่า ตนได้นำสัปทนทองคำกั้นแดดถวายจักได้รับอานิสงส์อันใด เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน “ดูกรขุนแสนทองมีรุกขเทวดาองค์หนึ่งอยู่ทางทิศเหนือไม่ไกลจากที่นี้ อีก ๗ วัน ก็จะจุติจากวิมานแล้ววิมานนั้นสูง ๑๒ โยชน์ ด้วยอานิสงส์ของท่าน เมื่อท่านสิ้นบุญไปแล้วจักได้ไปเกิดเป็นเทวบุตรและมีวิมานนั้นสูงได้ ๑๒ โยชน์ ด้วยอานิสงส์ของท่าน เมื่อท่านสิ้นบุญไปแล้วจักได้ไปเกิดเป็นเทวบุตรและมีวิมานอยู่อาศัยดูแลรักษาพระสารีริกธาตุแห่งตถาคตในภูเขานี้ นับนานได้ ๕,๐๐๐ ปี
เมื่อใดพระศรีอาริยเมตตรัยลงมาจุติ ขุนแสนทองจักได้เป็นสาวกองค์หนึ่งด้วย ขุนแสนทองมีความยินดียิ่งนัก ได้ขออาราธนานิมนต์พระพุทธเจ้าอยู่ เพื่อจักได้เป็นกุศลผลบุญอันยิ่งใหญ่แก่ตนถึง ๗ วัน กับได้ปรารภกราบลาไปสู่เมืองของตน พระพุทธเจ้าทรงตรัสถามว่า “บ้านท่านอยู่ไกลจากที่นี่เพียงไร” ขุนแสนทองทูลถวายว่า บ้านเมืองตนมีอยู่ประมาณครึ่งการุต และไกลออกไป ๕๐๐ ขาธนู และในวันรุ่งขึ้นขุนแสนทองได้นำหลานตนเองอายุ ๑๗ ปี มาฝากเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ทั้งได้นำโภชนาอาหารอันประณีตพร้อมด้วยลูกสมอถวายแด่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าฉันแล้ว พระอานนท์จึงทูลถามจักนำอาหารที่เหลือไปไว้ ณ แห่งใดดี
พระพุทธองค์จึงกล่าวว่า “ดูกรอานนท์ ที่ใดไม่เป็นที่สาธารณะก็นำไปเทไว้ที่นั้น และหากผู้ใดมากินอาหารนั้นก็จักเจริญด้วยธรรมทั้งปวง ๕ ประการแก่เขาผู้นั้นแล” พระอานนท์พิจารณาที่อันควรแล้ว จึงเดินไปทางทิศตะวันตกของเขาลูกนั้นประมาณ ๕๘๐ วา ซึ่งมีจอมปลวกสูงเกิดขึ้นระหว่างหิน ๓ ก้อน คล้ายก้อนเส้า (เตาหุงโบราณ) เทอาหารและอธิษฐานว่าน้ำเหลือจากการฉันอาหารแล้วของพระพุทธเจ้านี้ ขอรินน้ำสมอไพรต้นนี้สู่แผ่นดินตรงนี้ อย่าได้มีความแห้งแล้งเลย ทั้งสมอต้นนี้ก็อย่าได้แห้งตายลงเลย ขอให้สมอไพรต้นนี้จงอายุ ๕,๐๐๐ ปี ด้วยเถิด หากว่าสมภารรูปใดมาพบ หรือบุคคลใดมาดื่มน้ำนี้แล้วก็จักเจริญด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นต้นว่า จักมีอายุยืนนาน มีลักษณะงดงาม ดังคำอธิษฐานของพระอานนท์ด้วยเถิด”
เมื่อขุนแสนทอง นำหลานของตนมามอบถวายแด่พระพุทธเจ้าเพื่ออุปสมบทแล้ว พระพุทธเจ้าก็ได้บวชให้เป็นพระภิกษุ แล้วสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานให้พอภาวนาได้ วันหนึ่งก็ได้เป็นพระอรหันต์ในวันนั้น ได้รับมงคลนามจากพระพุทธเจ้าว่าอุบาสกผู้เป็นเป็นโยมอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ากับผู้ดูแลใกล้ชิด
ณ ที่เหนือภูเขาอุจจุปัปปัตตา พระพุทธองค์ได้ประทับอยู่เทศนาโปรดมนุษย์เทวดาทั้งหลายได้ ๗ วัน ๗ คืน เมื่อสรรพสัตว์ทั้งหลายสดับพระธรรมเทศนาของพระองค์ได้ ๗ วัน ๗ คืน ได้รับรสพระธรรมอันวิเศษบรรลุธรรมเป็นโสดาบันจำนวนถึง ๘๔,๐๐๐ คน ส่วนขุนแสนทองนั้นถวายเครื่องไทยทานอันเป็นทานมหากุศลแก่พระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์เจ้า ๕๐๐ องค์ ในเวลา ๗ วัน ๗ คืน รวมข้าวของถวายทานทั้งหมดเป็นประมาณโกฏิหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จดำเนินตามไหล่เขานั้นมาลงสู่แม่น้ำระมิงค์ กับเสด็จพระราชดำเนินสำรวจดูสถานที่อันจะเก็บพระบรมอัฐิธาตุไว้ในอนาคต เมื่อพระองค์ทำนายไว้แล้วก็เสด็จผ่านหมู่บ้านใหญ่น้อย และเทศนาธรรมโปรดชาวบ้านแถบนั้น แล้วจึงเสด็จกลับป่าเชตวันอารามที่พระองค์ประทับเป็นประจำ
ขณะนั้น พระอุบาลีเถระก็ติดตามพระพุทธเจ้า เหล่ารุกขเทวดาตามลำดับนั้น ก็จุติพรากจากวิมานของตนได้ไปจุติในทิพยวิมานชั้นฟ้าแห่งชั้นจาตุมหาราชิกา ส่วนเทวดาผู้รักษาพระบรมอัฐิธาตุแห่งพระพุทธเจ้านั้น ก็ได้ไปสู่วิมานของตน
วันซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จจากดอยเกิ้งไป ขุนแสนทองก็ไปหาเพื่อนบ้านจำนาน ๑๑๖ คน ซึ่งอาศัยอยู่ตามเชิงดอยอุจจุปัปปัตตาไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหมู่บ้านประมาณ ๑๐๐ หลังคาเรือน ขุนแสนทองกล่าวว่า “เพื่อนทั้งหลาย ตัวเรานี้เป็นขุนเมื่ออายุ ๒๕ ปี จึงได้สถาปนาแทนพ่อว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าพระองค์ประกอบไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันมหาศาลทั้งยังโปรดตัวเรา พระองค์ได้มอบพระเกศาธาตุให้เป็นที่สักการบูชาแก่เรา ๑ องค์ (หนึ่งเส้น) ยาว ๘ นิ้ว
เรามีความยินดียิ่งนักขอให้หมู่บ้านเรา ๑๐๐ ครอบครัวนี้ ช่วยบริจาคข้าวเปลือกปีละ ๗ ถัง (เจ็ดต๋าง) เริ่มมาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวดแห่งตระกูลเรา ยังมิได้ขอสิ่งใดจากสูเจ้า (ท่านทั้งหลาย) เลย ตัวเราจะขอนำข้าวเปลือกนี้บริจาคทานรอบๆ ภูเขา อันเป็นการค้ำชูพระธาตุดอยเกิ้งนี้ไว้ อย่าให้คนทั้งหลายมาเบียดเบียนพระบรมธาตุแห่งพระพุทธเจ้านี้ และสูเจ้าทั้งหลายก็จะได้เป็นข้าราชบริภารของพระพุทธเจ้าไว้ด้วย หมู่บ้านนี้ภายหน้าขอตั้งชื่อไว้ว่า “บ้านแว้ง” เถิด” ปวงชนทั้งหลายต่างเห็นดีด้วย ตามขุนแสนทองทุกประการ หมู่บ้านนี้ยังอยู่ที่นั่นตลอดมาจนทุกวันนี้
| |  | |  |
|
|