แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 12248|ตอบ: 7
go

วัดรมณียาราม (กู่ละมัก) ม.๔ ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC05308.JPG



วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)  

ม.๔ ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูน

[พระบรมธาตุเจดีย์]

---------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 19 ต.ค. 2564)


Rank: 8Rank: 8

DSC05255.JPG



วัดรมณียาราม ชื่อเดิมว่า วัดกู่ละมัก ตั้งอยู่บนถนนสายลำพูน-ป่าซาง ห่างจากตัวเมืองลำพูนไปทางทิศใต้ประมาณ ๔ กิโลเมตร ตั้งอยู่เลขที่ ๔๓ บ้านศรีย้อย หมู่ที่ ๔ ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๓๗ ตารางวา

เสนาสนะประกอบด้วย วิหาร ศาลา กุฏิสงฆ์ ศาลาบาตร และโรงครัว ปูชนียสถานประกอบด้วย พระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะละโว้ เศียรพระพุทธรูป เศียรพระฤษี ศิลปะละโว้ ธรรมาสน์หลวง ซึ่งสร้างโดยครูบาเจ้าศรีวิชัย และพระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุกู่ละมัก)


DSC05321.JPG



ทางเข้าด้านหน้า วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


DSC05259.JPG



ทางเข้าด้านหลัง วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


DSC05293.JPG


DSC05294.JPG


DSC05298.JPG



วิหาร วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


DSC05299.JPG



DSC05290.JPG



DSC05289.JPG



รูปปั้นพญานาค บันไดนาคทางขึ้น วิหาร วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


Rank: 8Rank: 8

DSC05325.JPG



DSC05328.JPG


DSC05316.JPG


DSC05277.JPG


DSC05285.JPG


DSC05266.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุกู่ละมัก) วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


DSC05273.JPG



คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(กล่าวนะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ


DSC05301.JPG



DSC05305.JPG



ประวัติวัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


โดย ป้ายประวัติวัดรมณียาราม (กู่ละมัก) และตำนานมูลศาสนา



ในปีพุทธศักราช ๑๒๐๖ พระนางจามเทวี ได้เสด็จขึ้นเรือจากเมืองละโว้มาตามแม่น้ำปิงตามคำเชิญของพระสุเทวฤาษีและสุกกทันตฤาษี เพื่อขึ้นครองเมืองหริภุญชัย ระหว่างที่พระนางเสด็จขึ้นมาตามแม่น้ำปิงได้ผ่านสถานที่ต่างๆ พอมาถึงท่าน้ำชื่อว่า เจียงตอง (ปัจจุบันอาจเป็นอำเภอจอมทอง) พระนางจึงหยุดพักไพร่พล ณ ที่นั่น และได้ตรัสกับนายธนูผู้ขมังเวทย์เป็นผู้จัดการคาดคะเน ยิงธนูหาภูมิประเทศที่วิเศษที่จะสร้างวัด โดยที่พระนางเจ้าได้ตั้งจิตอธิษฐานว่าหากลูกธนูไปตก ณ. ที่แห่งใด จะให้สร้างองค์มหาเจดีย์และวัด ณ. ที่แห่งนั้น

ดังนั้น นายธนูผู้มีพระเวทย์ก็ยิงลูกธนูหันหัวศรมุ่งตรงมาทางทิศเหนือ ๓ ครั้ง และเป็นที่ประหลาดอัศจรรย์ในเมื่อลูกธนูพุ่งขึ้นสู่อากาศไปบนฟ้าทั้ง ๓ ดอกจากจุดที่ยิงจากเจียงตอง ลูกธนูพุ่งมาตามแรงอธิษฐานของพระนางเจ้า แล้วตกลงมาทั้งสามครั้ง ซึ่งเมื่อนายธนูได้ติดตามค้นหาลูกธนูที่ยิงมานั้นก็ได้พบว่าตกมายัง ณ. จุดที่สร้างองค์เจดีย์กู่ละมัก พระนางจึงโปรดฯ ให้มีการสร้างมหาเจดีย์ขึ้นบริเวณดังกล่าว พร้อมกับรับสั่งให้ช่างเอาธนูทั้ง ๓ ดอกนั้นบรรจุลงไปบนองค์พระเจดีย์นั้นด้วย


อนึ่ง พระนางได้โปรดฯ ให้สร้างพระพุทธรูปเนื้อทองสัมฤทธิ์ที่มีความสูงขนาดเท่ากับพระนางจามเทวี และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำจากเมืองละโว้บรรจุไว้ในองค์พระพุทธรูปองค์นี้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ของพระนางจามเทวีองค์หนึ่ง เพื่อให้เป็นที่กราบไหว้ของผู้คนทั้งหลายและให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้เคารพบูชา และยังเป็นการนำมาซึ่งความผาสุกความเจริญแก่ผู้คนที่มาเคารพบูชาด้วย และให้สร้างวัดไว้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมจำพรรษาของพระสงฆ์องค์เจ้าและสามเณรที่ได้อาราธนามาจากกรุงละโว้

สำหรับพระเจดีย์ได้ปรักหักพังไปตามกาลเวลา จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ ครูบาศรีวิชัยได้ทำการบูรณะและสร้างครอบเจดีย์องค์เดิมดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ใช้เวลาในก่อสร้าง ๑ เดือน ซึ่งครูบาเจ้าศรีวิชัยได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะละโว้ เศียรพระพุทธรูป เศียรพระฤษี ศิลปะละโว้ ธรรมาสน์หลวง ที่ใช้สำหรับแสดงพระธรรมเทศนาไว้ในคราวนั้นด้วย องค์เจดีย์กู่ละมักนี้ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพกราบไหว้ของผู้คนทั้งหลาย



DSC05265.JPG



ประวัติวัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


โดย พระชัยวัฒน์ อชิโต หนังสือตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑



ในสมัยพระนางจามเทวี เสด็จมาสร้างพระธาตุดอยน้อย แล้วจึงข้ามฝั่งแม่น้ำระมิงค์ เสด็จเลียบฝั่งด้านตะวันออกเรื่อยมากระทั่งถึงสถานที่แห่งหนึ่ง มีบริเวณร่มรื่นอุดมสมบูรณ์ดี จึงได้ยับยั้งไพร่พลที่นี้ คืนนั้นก็ได้ทรงพระสุบินว่า มีดวงมณีขาวโชติช่วงได้ตกลงมายังภาคพื้นดิน ณ สถานที่ใกล้ๆ กับที่พักไพร่พล จึงวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะเส็ง พุทธศก ๑๒๐๑ ก็ประชุมพระอาจารย์ แล้วทรงเล่าถึงพระสุบินจนจบสิ้น

พระอาจารย์ทั้งปวง ก็ทำนายพระสุบินว่า สถานที่นี้จักเป็นสถานที่สำคัญ จักเจริญด้วยศาสนาของพระตถาคต จึงถวายความเห็นว่า สมควรสร้างพระอาราม ณ ที่นี้ ดังนั้นในวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๕ นั้น ได้เริ่มสร้างพระอาราม ทรงสร้างพระเจดีย์ทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และทรงสร้างพระพุทธรูปเท่าพระองค์ หมู่เศรษฐีที่ติดตามมาได้สร้างพระพุทธรูปไว้เป็นจำนวนมาก รวมเวลาสร้างเกือบ ๒ เดือน แล้วทรงทำพิธีการสมโภช ๓ วัน ๓ คืน ทรงขนานนามว่า พระอารามรามัญ (สถานที่แห่งนี้ปัจจุบันคือ วัดกู่ละมัก จ.ลำพูน)

--------------------


(แหล่งที่มา : พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๓๗๖.)


Rank: 8Rank: 8

DSC05315.JPG


DSC05279.JPG



DSC05314.JPG



DSC05313.JPG



DSC05284.JPG


DSC05280.JPG


พระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน พระบรมธาตุเจดีย์ วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


DSC05327.JPG



พระพุทธรูปปางประทานพร ประดิษฐานด้านทิศเหนือ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


Rank: 8Rank: 8

DSC05267.JPG



DSC05268.JPG



ศาลพระแม่กวนอิม มหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) วัดรมณียาราม (กู่ละมัก) สร้างถวายเมื่อ ๒๙ มีนาคม ๒๕๓๗



DSC05271.JPG



DSC05270.JPG



อนุสาวรีย์เจ้าแม่จามเทวี เจริญประชาสามัคคี วัดรมณียาราม (กู่ละมัก) สร้างถวายเมื่อ ๘ สิงหาคม ๒๕๓๑


Rank: 8Rank: 8

DSC05304.JPG



ศาลา วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


DSC05307.JPG



พระพุทธรูปปางสมาธิ วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


DSC05300.JPG



อาคารเรียนพระปริยัติธรรม วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


DSC05274.JPG


DSC05281.JPG


DSC05269.JPG



หอระฆัง วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


Rank: 8Rank: 8

DSC05276.JPG


DSC05275.JPG



ฐานอุโบสถสมัยโบราณ วัดรมณียาราม (กู่ละมัก) เมื่อหลายปีที่ผ่านมา วัดมีการสร้างถนนผ่านด้านหลังวัด มีการขุดค้นพบพระเครื่องจำนวนมาก และยังพบฐานอุโบสถสมัยโบราณและของโบราณจำนวนมาก ทางกรมศิลปากรดำเนินการสำรวจแล้ว


DSC05311.JPG



ใบเสมาหิน อุโบสถสมัยโบราณ วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)



DSC05322.JPG


DSC05324.JPG



บ่อน้ำทิพย์ อยู่นอกกำแพงด้านหน้า วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


ประวัติบ่อน้ำทิพย์ วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)


สมัยที่พระแม่เจ้าจามเทวี เสด็จจากละโว้มาขึ้นที่วัดกู่ละมัก ได้อธิษฐานให้มีน้ำขึ้นมาจากพื้นดิน เพื่อที่เหล่าทหารและคนติดตามได้ดื่มกินกัน เรียกว่า “บ่อน้ำทิพย์” กาลเวลาผ่านไป มีดินทับถมจนไม่เหลือร่องรอย คุณนวลระหงส์ ธานัสชา ได้ทำพิธีขุดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

----------------------


(แหล่งที่มา : หนังสือละคอนการกุศล พระราชประวัติพระนางจามะเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญไชย พระนางจามะเทวี ๑๔๐๐ ปี นครหริภุญไชย, โดยชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ กรมศิลปากร ดาราวิดีโอ จำกัด.)



DSC05306.JPG


DSC05309.JPG


บ่อน้ำ วัดรมณียาราม (กู่ละมัก)



Rank: 8Rank: 8

ภาพเก่าวัดรมณียาราม (กู่ละมัก) พ.ศ.๒๕๕๐


DSC05260.JPG



DSC05297.JPG



DSC05310.JPG


DSC05263.JPG



DSC05312.JPG



การเดินทางมาวัดรมณียาราม (กู่ละมัก) ขอจบการเดินทางด้วยภาพเก่า บรรยากาศภายในวัดรมณียาราม (กู่ละมัก) พ.ศ.๒๕๕๐ สวัสดีค่ะ

----------------------


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • วัดรมณียาราม (กู่ละมัก) อ.เมือง จ.ลำพูน
        •
พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.        
        • หนังสือละคอนการกุศล พระราชประวัติพระนางจามะเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญไชย พระนางจามะเทวี ๑๔๐๐ ปี นครหริภุญไชย, โดยชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ กรมศิลปากร ดาราวิดีโอ จำกัด.

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-12-1 04:48 , Processed in 0.108735 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.