แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า ม.๗ ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_0258.JPG



ศาลาครอบรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาของพระพุทธเจ้ากกุสันธ(พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า



IMG_0222.JPG



รอยพระพุทธบาทเบื้องขวาของพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ในภัทรกัป ประดิษฐานอยู่ด้านล่างข้างถ้ำพระเจ้า ภายในศาลาครอบรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาของพระพุทธเจ้ากกุสันธ พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า



IMG_0217.JPG



IMG_0218.JPG



IMG_0188.JPG



รอยพระพุทธบาทเบื้องขวาของพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ในภัทรกัป พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า

เป็นรอยพระบาทข้างขวาขนาดใหญ่มาก เดิมลักษณะเป็นเพียงครึ่งรอย ส้นพระบาทไม่มี ปรากฏเห็นรอยนิ้วทั้ง ๕ นิ้ว อย่างชัดเจน พระพุทธองค์ทรงเหยียบประทับไว้ขนาดกว้างยาวของพระบาทใกล้เคียงกับรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ แต่รอยพระบาทที่ถ้ำพระเจ้าจะขนาดเล็กกว่า



IMG_0256.JPG



คำนมัสการพระพุทธบาท
(ว่านะโม ๓ จบ) ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะปาทัง ตัง ปาทะ วะลัญชะนะ มะหัง สิระสา นะมามิฯ


IMG_0293.JPG



จากนั้นเราจะไปกราบนมัสการรอยพระพุทธหัตถ์คู่และรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ซึ่งประดิษฐานอยู่หน้าถ้ำเสือ พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้ากันต่อเลยนะคะ


293.jpg



IMG_0264.JPG



ศาลากลางเขา พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

291.jpg



รอยพระพุทธหัตถ์คู่ของพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ในภัทรกัป ประดิษฐานอยู่หน้าถ้ำเสือ ด้านล่างหลังถ้ำพระเจ้า พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า



IMG_0287.JPG



รอยพระพุทธหัตถ์คู่ของพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ในภัทรกัป พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า


ประทับบนก้อนหินใหญ่ ป็นรอยพระพุทธหัตถ์คู่เบื้องขวาและเบื้องซ้าย มีลักษณะของพระหัตถ์ขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน โดยรอยพระหัตถ์ข้างขวาจะมีขนาดใหญ่กว่ารอยพระหัตถ์ข้างซ้ายเล็กน้อย ปรากฏเห็นรอยนิ้วมือชัดเจนทั้งสองข้าง ปัจจุบันเรียกชื่อว่า "พระพุทธหัตถ์เลิศหล้าสุธาไพร" มีขนาดกว้าง ๑ เมตรกว่า ยาว ๒ เมตรกว่า เป็นรอยประทับตามธรรมชาติแบบเดิมๆ ที่สมส่วน สวยงามมากรอยหนึ่ง


ค้นพบเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒ โดยพระประทีป อตฺถกโร พระธุดงค์ซึ่งได้เดินธุดงค์จากอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มาปักกลดที่ถ้ำพระเจ้า และอยู่จำพรรษา ๑ พรรษา และพระธุดงค์ (ไม่ทราบนามฉายา) ที่เดินทางมาปักกลดที่ถ้ำพระเจ้าแห่งนี้เช่นกัน



IMG_0271.JPG



288.jpg



รอยพระพุทธหัตถ์เบื้องขวาของ
พระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ในภัทรกัป พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า


289.jpg



IMG_0275.JPG



รอยพระพุทธหัตถ์เบื้องซ้ายของ
พระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ในภัทรกัป พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า


IMG_0291.1.JPG



ประวัติการค้นพบรอยพระพุทธหัตถ์คู่พระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า

(พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑)

พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า

อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน


เรียบเรียงโดย พระประทีป อตฺถกโร



อาตมภาพ พระประทีป อตฺถกโร ได้เดินธุดงค์จากอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มาที่อำเภอแม่สะเรียง เริ่มตั้งแต่วัดพระธาตุจอมมอญ อาตมาได้นิมิตว่า มีเมืองหนึ่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพระผู้มีศีล และมีรอยพระพุทธบาทและรอยพระพุทธหัตถ์ปรากฏอยู่ด้วย อาตมภาพได้สอบถามกับพระภิกษุที่รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมมอญว่า มีสถานที่ศักดิสิทธิ์ที่มีชื่อว่า "ถ้ำพระเจ้า" อยู่แถวนี้รึเปล่า เมื่อได้คำตอบว่า มี จึงได้แสวงหาจนพบ และได้อยู่จำพรรษา ๑ พรรษา


หลังจากออกพรรษาจะเดินธุดงค์ต่อไปที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แต่ได้มีเทวดามานิมนต์ให้อยู่ เพื่อบูรณะให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม จากเดิมที่ท่านพระอาจารย์สวัสดิ์ (อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกวัดพระธาตุจอมมอญ) ได้มาบูรณะไว้แล้ว แต่ท่านมรณภาพไปเสียก่อน จึงขาดพระภิกษุมาอยู่จำพรรษาเป็นเวลานานถึง ๕ ปี  

ต่อมาอาตมภาพพระประทีป ได้นิมิตเห็นรอยฝ่าพระพุทธหัตถ์คู่เพิ่มอีก ซึ่งตรงกันกับนิมิตของพระธุดงค์ที่ได้มาเจอกันที่ถ้ำแห่งนี้ ดังนั้นแล้วจึงได้พากันออกค้นหาจนพบ และได้สร้างศาลาครอบไว้รอบๆ พระพุทธบาท


และต่อมาได้นิมนต์ พระครูบาบุญศรี  อภิปุณฺโณ วัดพระมหาบรมธาตุเจ้าดอยเกิ้ง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ให้มาดูวัดถ้ำพระเจ้า และท่านครูบาบุญศรีได้นิมิตเพิ่มขึ้นอีกว่า มีพระผู้มีศีลอยู่ด้วยกันห้าพระองค์อยู่ในถ้ำพระเจ้า มีรอยฝ่าพระหัตถ์และพระพุทธบาทอยู่ทั่วทั้งวัด ด้วยเหตุนี้ ท่านพระอาจารย์ครูบาบุญศรีจึงได้มีศรัทธาตัดสร้างถนนทางเข้าไปถ้ำพระเจ้า เป็นระยะทาง ๔.๗ กิโลเมตร

และความพิสดารอยู่ในถ้ำยังมีอีกมากมาย ต่อมามีลุงคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวบ้านแถวนั้น ได้เข้าไปที่ถ้ำและได้เจอรอยพระพุทธบาทอยู่ในถ้ำและกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในถ้ำ อีกทั้งยังเจอซากเรือลำใหญ่อยู่ในถ้ำด้วย จากนั้นลุงได้ออกจากถ้ำกลับมาบ้าน เพื่อเล่าให้กับชาวบ้านฟังเกี่ยวกับสิ่งแปลกประหลาดมากมายที่ตนเองได้พบเจอในถ้ำ อีกเรื่องหนึ่ง มีชาวบ้านไปพบเห็นรอยพระพุทธบาท แต่นึกไม่ถึงคิดว่าเป็นรอยหินธรรมดา ด้วยความไม่รู้ จึงได้ปัสสาวะใส่รอยหินนั้น พอกลับมาถึงบ้าน ชาวบ้านคนนั้นก็ได้เสียชีวิตลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

ด้วยเหตุนี้ อาตมภาพพระประทีป จึงอยากจะขอเรียนเชิญเจริญพรญาติโยมสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย ได้ช่วยกันร่วมบูรณะรอยพระพุทธบาทของถ้ำพระเจ้า เพื่อให้เป็นมรดกของอำเภอแม่สะเรียงและเพื่อให้ลูกหลานได้กราบไหว้สักการบูชา เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้าต่อไป

อาตมภาพพระประทีป อตฺถกโร ยังมีความเห็นอีกว่า สถานที่ถ้ำพระเจ้าแห่งนี้ เป็นป่าอุดมสมบูรณ์และมีต้นน้ำลำธารที่สะอาด ในภายภาคหน้าจะได้ขอโครงการหลวงเข้ามาเพื่อพัฒนารอยพระพุทธบาทถ้ำพระเจ้าในเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา อาตมภาพได้มีโอกาสเดินทางธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เช่น พม่า, จีน, กัมพูชา, ลาว, มาเลเซีย, อินเดีย, ทิเบต, และประเทศจีน เขตสิบสองปันนา ได้พบเห็นรอยพระพุทธบาทและพระพุทธหัตถ์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับรอยพระพุทธบาทที่ถ้ำพระเจ้าแห่งนี้  

อาตมภาพคิดว่า รอยพระพุทธบาทที่อาตมาได้พบเห็นในหลายๆ ประเทศ น่าจะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มากกว่านี้ แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้อยู่ในเขตประเทศไทย บังเอิญอาตมาได้มาพบอีกที่ประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ต๊อบเหนือ หมู่ที่ ๗ ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งชาวบ้านแถวนั้นไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทที่ถ้ำพระเจ้า ว่าเป็นปูชนียวัตถุที่มีคุณค่ามากแค่ไหน ถ้าอยู่ในเขตสิบสองปันนาและทิเบต เขาให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

อย่ากล่าวถึงต่างประเทศเลย ยกตัวอย่างเช่นในเมืองไทย เช่น รอยพระพุทธบาทสระบุรี, รอยพระพุทธบาทสี่รอยที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และในอีกหลายๆ ที่ในเมืองไทย ที่ได้รับการบูรณะพัฒนาอย่างสมเกียรติในเขตที่มีรอยพระพุทธบาท แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย รอยพระพุทธบาทที่ถ้ำพระเจ้า
ถือเป็น "พระพุทธบาทคู่บ้านคู่เมือง" แม่สะเรียง ที่อยู่คู่กับชาวเมืองแม่สะเรียงเป็นร้อยปีพันปี แต่ไม่ได้รับการบูรณะพัฒนา อาตมภาพได้มีโอกาสไปนมัสการรอยพระพุทธบาทหลายที่หลายแห่ง ซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นอย่างดี

ด้วยเหตุนี้ อาตมภาพจึงอยากจะขอเรียนเชิญพระครูบาอาจารย์ทุกท่าน พร้อมทั้งญาติโยมสาธุชนทุกท่านที่มีจิตศรัทธา ได้ช่วยกันสร้างและร่วมบูรณปฏิสังขรณ์รอยพระพุทธบาทที่ถ้ำพระเจ้า ในเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และยังจะเป็นการพัฒนาวัฒนธรรมและประเพณีของชาวบ้านในเขตชุมชนอำเภอแม่สะเรียง เพื่อให้เป็นมรดกตกทอดของชนชาวไทยในด้านวัฒนธรรมและประเพณี ศีลธรรม จริยธรรม และประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการเริ่มต้นบูรณะพัฒนาที่รอยพระพุทธบาทถ้ำพระเจ้าเป็นอันดับแรก

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : พระประทีป อตฺถกโร. ถ้ำพระเจ้า รอยพระพุทธบาท. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.bankad-sao.go.th/main ... n_lang=120612100236. (วันที่ค้นข้อมูล : ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖))



IMG_0283.JPG



290.jpg



พระพุทธรูปปางสมาธิ ประดิษฐานด้านข้างรอยพระพุทธหัตถ์คู่ของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า


พระครูบาบุญศรี อภิปุณฺโณ (วัดพระมหาบรมธาตุเจ้าดอยเกิ้ง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่) สร้างถวาย “พระพุทธหัตถ์เลิศหล้าสุธาไพร” เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0295.JPG



ศาลาครอบรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑)


หรือที่พระอาจารย์สวัสดิ์เรียกว่า "ศาลาพระบาทกลางเขา" พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า



IMG_0353.JPG



พระพุทธรูปปางประทานพร ประดิษฐานภายในศาลาครอบรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า


297.jpg



รอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายของพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ในภัทรกัป ประดิษฐานอยู่หน้าถ้ำเสือ ด้านล่างหลังถ้ำพระเจ้า ภายในศาลาครอบรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า



IMG_0319.JPG



298.jpg



IMG_0345.JPG



IMG_0377.JPG



รอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายของพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ในภัทรกัป พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า

ประทับบนก้อนหินใหญ่ ลักษณะเอียงตะแคงข้างไว้ ขนาดกว้าง ๙๗ เซนติเมตร ยาว ๑๙๐ เซนติเมตร ลึก ๑๐-๕๕ เซนติเมตร ปรากฏส้นและรอยนิ้วปลายพระบาทชัดเจน ปัจจุบันรอยพระพุทธบาททาสีทองเรียบร้อยแล้ว

ค้นพบเมื่อประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ โดยนายมงคล ใฝ่กุศลกระจาย หนึ่งในผู้ร่วมงานบูรณะพัฒนารอยพระพุทธบาทถ้ำพระเจ้า ที่เพิ่งเดินทางไปถ้ำพระเจ้าเป็นครั้งแรก


IMG_0388.JPG



คำนมัสการพระพุทธบาท

(ว่านะโม ๓ จบ) ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะปาทัง ตัง ปาทะ วะลัญชะนะ มะหัง สิระสา นะมามิฯ



IMG_0326.JPG



ประวัติการค้นพบรอยพระพุทธบาทพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า

(พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑)

พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า

อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน



ในขณะที่พระอาจารย์สวัสดิ์ นริสฺสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมมอญ พาคณะศรัทธาไปบูรณะพัฒนา ขุดดินเป็นบันไดขึ้นเขาเป็นชั้นๆ บ้าง ทำบันไดไม้ขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทบ้าง ทำบันไดลงไปชมความงามของถ้ำบ้าง ซึ่งก็พยายามอนุรักษ์ให้คงสภาพตามธรรมชาติมากที่สุด ตามนโยบายของกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคณะผู้ดำเนินการได้ยื่นคำขอใช้พื้นที่ เพื่อเข้าไปใช้ประโยชน์ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติแล้ว

อยู่มาวันหนึ่ง ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ นายมงคล ใฝ่กุศลกระจาย หนึ่งในผู้ร่วมงาน เพิ่งเดินทางไปเป็นครั้งแรก ก็ได้นั่งพักเหนื่อยอยู่บนขอนไม้ มองดูโน่นดูนี่ชมความงามของบริเวณปากถ้ำ ได้เหลือบไปเห็นหินผาก้อนใหญ่เบ้อเริ่ม (ใหญ่โตกว่าปรกติ) อยู่ก้อนหนึ่งเอียงตะแคงข้างไว้ ตรงกลางมองเห็นเหมือนเป็นรอยเท้าใหญ่มากรอยหนึ่ง ทั้งๆ ที่แต่ละคนเดินไปมาทำงานอยู่ใกล้ๆ นั้น ก็มิได้สังเกตเห็น เพราะตั้งใจจะทำงานขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทของพระ
พุทธเจ้าโคตมะที่พบครั้งแรกเมื่อ ๔-๕ ปีก่อนเท่านั้น พอนายมงคลทักถามขึ้นมา จึงพากันไปดู ก็เห็นเป็นรูปลักษณ์พระบาทใหญ่มากจริงๆ เห็นทั้งส้นและปลายพระบาทชัดเจน ลึกร่วมศอก

เมื่อพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้ว มีพระอาจารย์สวัสดิ์และอาจารย์ณริศได้อธิษฐานจิตขอบารมีพระพุทธองค์สัมผัสกับพุทธานุภาพ แล้วก็ทราบได้ว่า เป็นรอยพระพุทธบาทของแท้จริงๆ ซึ่งเรื่องรอยพระพุทธบาทของแท้หรือจำลอง หรือคนโบราณสร้างขึ้นก็ตาม พระอาจารย์สวัสดิ์ผู้รวบรวมเรียบเรียงหนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก (ฉบับชำระสะสาง) ได้มีประสบการณ์มามากพอสมควร พอที่จะแยกแยะออกว่าเป็นรอยอะไร


ในพระสูตรกล่าวไว้ว่า การที่จะมีเจโตปริยญาณหยั่งรู้บุคคลใดบรรลุธรรมระดับไหน บุคคลนั้นต้องได้ระดับเดียวกัน จึงรู้ได้ว่าบรรลุพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นต้น แต่ก็คงมีข้อแม้อยู่ว่า เมื่อเรายังไม่ถึงขั้นอะไร ก็จงตั้งจิตอธิษฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญูรู้แจ้งโลก ได้เปิดเผยให้ทราบตามความเป็นจริง ก็จะสามารถรู้ได้ในนิมิตนั้น

อีกประการหนึ่ง ตามหลักวิทยาศาสตร์ทฤษฎีของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า “พลังงานย่อมไม่สูญหายไปไหน ยังคงอยู่ในที่นั้น เพียงแต่จะเปลี่ยนจากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง” (ดูรายละเอียดในหนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง หน้า ๒๐๕ เรื่องพระพุทธศาสนาสามารถพิสูจน์ได้กับหลักวิทยาศาสตร์) เช่น สถานที่ๆ พระพุทธเจ้าเสด็จมาเหยียบประทับรอยพระบาทไว้ ย่อมมีพลังแห่งพุทธานุภาพ หรือ “พุทธคุณ” สถิตอยู่ ผู้รู้มีพลังจิตพอสัมผัสได้ ย่อมทราบด้วยใจของท่านเอง ที่เรียกว่าเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน

--------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่ : ลานนาการพิมพ์. หน้า
๓๐๖-๓๐๗.)

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

305.jpg



IMG_0374.JPG



IMG_0336.JPG



IMG_0333.JPG



รอยพระบาท ประดิษฐานด้านหลังศาลาครอบรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า  

เป็นรอยพระบาทข้างซ้าย ประทับนก้อนหินใหญ่ ลักษณะเอียงตะแคงข้าง ถูกต้นไม้ใหญ่โอบล้อมไว้ รอยพระบาทมีลักษณะนิ้วโป้งและฝ่าพระบาท ส้นพระบาทที่เหยียบลงไปมองเห็นได้ชัดเจน เป็นรอยประทับตามธรรมชาติแบบเดิมๆ


IMG_0300.JPG



IMG_0369.JPG



ศาลาครอบรอยพระบาท อยู่หน้าถ้ำเสือ พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า


304.jpg



302.jpg



IMG_0305.JPG



IMG_0363.JPG



รอยพระบาทต่างๆ ประดิษฐานอยู่หน้าถ้ำเสือ ด้านล่างหลังถ้ำพระเจ้า พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า


IMG_0359.JPG



307.jpg



กุฏิสงฆ์ในซอกหิน พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0349.JPG



ป้ายชี้ทางเข้าถ้ำเสือ พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า


IMG_0399.JPG


ป้ายชี้ทางเข้าถ้ำพญานาค พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า


.....เนื่องจากวันที่ทางคณะเดินทางมาถึงถ้ำพระเจ้า เวลา ณ ตำแหน่งนี้ประมาณ ๑๔.๓๐ น. แล้ว และต้องใช้เวลาเดินลงจากเขาอีกประมาณ ๓ ชั่วโมง กลัวจะค่ำเกินไป ทำให้การเดินทางลำบาก ทางคณะจึงไม่มีเวลาเข้าไปสำรวจภายในถ้ำเสือ ถ้ำพญานาค และถ้ำอื่นๆ ตลอดจนไปบ่อน้ำทิพย์ ซึ่งจะต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะไปครบทุกแห่ง จึงขอบันทึกประวัติสถานที่ต่างๆ ไว้ ดังนี้


IMG_0393.JPG



๑. ถ้ำเสือ


หน้าถ้ำเสือ มีรูปคล้ายพยัคฆ์คำราม คือ คล้ายเสืออ้าปากคำราม เห็นลิ้น ฟัน จมูก และลูกตา อยู่เฝ้าปากถ้ำ ภายในถ้ำเสือ มีหินงอกหินย้อยรูปร่างต่างๆ สูงใหญ่มาก เช่น คล้ายพระปิดตาปางสมาธิ คล้ายพระพิฆเนศ คล้ายรูปคนและสัตว์อีกหลายชนิด อาทิ รูปคล้ายหัวกวาง แรดก้มลงมากินน้ำ พญานาคชูคอ มีหงอนด้วย รูปคนนั่งเอื้อมมือ คนยืน และนางนอน เป็นต้น ถ้ำนี้อยู่ข้างล่างถ้ำพระเจ้าอีกทีหนึ่ง

๒. ถ้ำเอราวัณ


ปากถ้ำเอราวัณ มีรูปคล้ายงวงช้าง หรือคล้ายพระฤาษีมีหนวดเครายาว ลักษณะเป็นถ้ำที่สูงและกว้างแห่งหนึ่ง มีเสาหินสูงตระหง่าน และมีหินงอกหินย้อยคล้ายพระเจดีย์อยู่ในถ้ำเอราวัณ หนึ่งในถ้ำพระเจ้าที่สวยงาม ถ้ำนี้อยู่ข้างล่างถ้ำพระเจ้าอีกทีหนึ่ง ซ้ายมือจากศาลาพระบาทกลางเขาไปอีกประมาณ ๑๐๐ เมตร

๓. บ่อน้ำทิพย์


บ่อน้ำทิพย์ ไหลออกจากข้างภูเขา ก่อนจะถึงพระพุทธบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า มีการก่ออิฐทำเป็นรูปบ่อน้ำไว้ บริโภคได้

295.jpg



296.jpg



๔. ถ้ำนกยูง


หน้าถ้ำนกยูง มีรูปคล้ายปากนก เห็นหัวและตาชัดเจน อยู่ใกล้ถ้ำเสือด้านซ้ายมือ ต้องคลานลอดรูเล็กๆ เข้าไป คนอ้วนๆ จะเข้าไม่ได้ แต่ข้างในเป็นห้องโถงกว้าง


IMG_0394.JPG



IMG_0402.JPG



เดินทางออกจากพุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า

โดยไม่ต้องเดินย้อนกลับทางเดิม สามารถเดินตรงไปตามทางจากศาลาพระบาทกลางเขา ผ่านหน้าถ้ำเสือ ถ้ำพญานาค จนถึงบริเวณบันไดไม้ทางขึ้นศาลาพระพุทธบาทบนเขา ที่มีป้ายสีเขียว “พระพุทธบาทสี่รอย-พระหัตถ์ถ้ำพระเจ้า" เราก็เดินลงจากเขา กลับตามทางเดิมที่เดินขึ้นเขามานะคะ  


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9881.JPG



พระเมตตาสัมพุทโธ



(๑) ในทุกยุคพุทธสมัยพระบรมสารีริกธาตุรอยพระพุทธบาทแลโพธิพฤกษ์ในสถานที่ทุกแห่งล้วนแต่เป็นที่ตั้งรำลึกถึงพระคุณอันมิอาจประมาณได้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อเกื้อกูลหนุนนำให้อนุชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเข้ามาสร้างสมบารมี เพื่อให้เข้าถึงความเป็นผู้ที่ไม่ประมาท สมดังพระปัจฉิมโอวาทในสมเด็จพระพิชิตมารพระองค์นั้น ทว่าในสังคมชุมชนที่กำลังถูกความเจริญทางด้านวัตถุหรือลัทธิวัตถุนิยมเข้าครอบงำชีวิตจิตใจของผู้คนอยู่มาก ได้มีการกล่าวพาดพิงไปถึงพระบรมธาตุรอยพระพุทธบาทแลโพธิพฤกษ์เป็นเพียงวัตถุธาตุที่มิจำเป็นต้องเคารพเทิดทูนอย่างเคร่งครัดอีกสืบไป ให้เป็นเสมือนหนึ่งว่าสมเด็จประทีปแก้วยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ในฐานะเป็นพระบิดาทางธรรมแต่อย่างใด (หรืออีกนัยหนึ่ง พระองค์ท่านทรงเป็นทูลกระหม่อมพ่อในวิวัฏฏะของกัลยาณชนทั้งหลายนั้นเอง) เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่จักทำให้พระอมตธรรมนี้เสื่อมสูญสิ้นไปได้โดยง่าย

(๒) จึงเห็นสมควรที่จะช่วยกันปลุกเร้ากุศลธรรมให้อนุชนได้บังเกิดอารมณ์มหากุศลให้มีขึ้นภายในจิตใจว่า แท้จริงแล้วสมเด็จพระทศพลยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ด้วยพระธรรมไม่มีกาล (อกาลิโก) อันได้ชื่อว่า ผู้ใดก็ตามเมื่อเข้าถึงอมตธรรมหรือปิดประตูอบายภูมิ ๔ ในเบื้องต้น แลหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในเบื้องปลาย เข้าถึงความดับเย็นแล้วฉันใด ก็ย่อมจักได้ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐหรืออริยบุคคลที่ไม่อาจถือได้ว่าเป็นผู้ที่ตายแบบสูญเปล่าอีกเลยฉันนั้น ด้วยการถวายสมัญญาเป็น พระเมตตาสัมพุทโธ โดยมหาฐาปนาแผ่นดินใหญ่ทั่วทั้งสามภพแลเป็นที่ตั้งแห่งพระบรมสถูปเจดีย์รอยพระพุทธบาทแลโพธิพฤกษ์ อันเป็นที่ตั้งระลึกถึงพระคุณแห่งองค์พระรัตนตรัย เพื่อตั้งสัจจะแผ่เมตตาอย่างอดทน แล้วให้ทำจิตให้เป็นอารมณ์มหากุศลเฉพาะพระพักตร์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลทุกเมื่อ ถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระอริยวงศ์แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตลอดชั่วกัปชั่วกัลป์ เฉกเช่นเดียวกันกับพระบรมธาตุอื่นใดทุกพระองค์ฉะนั้นแล (มีหลักฐานปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ถูปวงศ์ ประเทศศรีลังกา สรุปความได้ว่า พระอริยบุคคลกราบไหว้ ลุกรับ ยกมือไหว้ แสดงความเคารพเทิดทูนพระบรมธาตุอย่างสูงด้วยการเรียกขานว่า “สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”)

(๓) ขอเทพพรหมทั้งปวงมีพระอริยเทพพรหม พระโพธิสัตว์เทพพรหม ดังนี้เป็นต้น พร้อมด้วยพระยมราชาแลนายนิริยบาลทั้งปวง ตลอดจนถึงมนุษย์ รูปนามใดที่ได้ทราบการเฉลิมบุคลาธิษฐานในครั้งนี้เป็นสักขีพยาน แลช่วยผดุงรักษาพระเกียรติคุณวิบุลยยศของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายให้ทรงปรากฏไปทั่วสามภพทั้งในภัทรกัปนี้แลทุกยุคพุทธสมัยสืบไปชั่วกัปชั่วกัลป์ ขอให้ชนทั้งหลายทุกชาติพันธุ์จงบังเกิดความรักใคร่ปรองดองสามัคคีต่อกันโดยถ้วนหน้า รวมทั้งขอให้ผู้หมั่นบูชากราบไหว้เป็นนิตย์มิได้ขาดด้วยจิตใจบริสุทธิ์สะอาด จงได้รับอานิสงส์ให้ถึงพร้อมไปด้วยมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ แลนิพพานสมบัติ ให้เป็นผู้มีสัมมาทิฐิอย่างมั่นคง ละเว้นอนันตริยกรรมทั้ง ๕ อกุศลทั้งปวงในเบื้องต้นทุกภพทุกชาติตลอดไป รวมทั้งได้ดวงตาเห็นธรรมให้สอดคล้องกับพระมหากัจจายนเถรคาถาความว่า “ผู้มีปัญญาถึงมีตาดี ก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดีก็ทำเป็นดังคนหูหนวก ถึงมีปัญญาก็ทำดังคนใบ้ ถึงมีกำลังก็ทำเป็นดังคนทุรพล แต่เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น ถึงจะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตายก็ยังทำประโยชน์นั้นได้” ในเบื้องปลาย เพื่อจักได้นำมาสร้างสรรค์ความสุขสงบร่มเย็นให้แก่สามภพในกาลข้างหน้าทุกยุคทุกสมัยสืบทอดพระอมตธรรมให้ยืนยาวนานกว่าที่เคยเป็นอยู่ตลอดไปด้วยเทอญฯ

(๔) ผู้ริเริ่มการเฉลิมพระบุคลาธิษฐานพระบรมธาตุพร้อมด้วยสรรพธาตุอื่นใดทำการมหาฐาปนาด้วยมหากุศลเจตนาเคารพเทิดทูนอย่างสูงสุดด้วยเศียรเกล้า ถวายเป็นอริยสมบัติเพื่อเกื้อกูลสามภพ ฉลองพระองค์พระผู้ทรงเลิกทาส รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และโดยพุทธประเพณีฝ่ายฆราวาสแห่งพระอริยวงศ์ในสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จงบังเกิดอานิสงส์ให้ล่วงหลุดพ้นจากความเป็นทาสใดๆ ในสามภพ เป็นผู้มีความเพียบพร้อมไปด้วยพุทธชาตาและบุญญาธิการมิอาจประมาณได้ตลอดชั่วกัปชั่วกัลป์ ขออนุโมทนาสาธุการกับผู้ศรัทธาทุกท่านในฐานะที่ได้ตั้งมหากุศลเจตนาร่วมกันถวายทั้งอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ถวายไว้เพื่อภายภาคหน้าฯ


IMG_9875.JPG



IMG_0180.JPG



285.jpg



การเดินทางมาพุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า ขอจบการเดินทางด้วยข้อความป้ายพระเมตตาสัมพุทโธ และภาพบรรยากาศ ณ สถานที่แห่งนี้ สวัสดีค่ะ

----------------------



ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • พุทธอุทยานพระบาทสี่รอยถ้ำพระเจ้า อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
        
นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่ : ลานนาการพิมพ์.                      
        • หนังสืออนุสรณ์ เนื่องในงานฌาปนกิจศพอาจารย์สวัสดิ์ (คงเดช) วงศ์ประเสริฐ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมมอญ. ๒๓ มกราคม ๒๕๔๘. ได้รับความอนุเคราะห์เอกสารจาก คุณลุงตีแอ ผู้ดูแลวัดพระธาตุจอมมอญ อายุ ๖๘ ปี (พ.ศ.๒๕๕๖)
        • พระประทีป อตฺถกโร. ถ้ำพระเจ้า รอยพระพุทธบาท. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :http://www.bankad-sao.go.th/main ... n_lang=120612100236. (วันที่ค้นข้อมูล : ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖)


**หมายเหตุ :


ท่านใดประสงค์จะนำรูปภาพหรือเนื้อหาบทความไปใช้ประโยชน์ที่อื่น สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากข้าพเจ้าก่อน


และได้โปรดกรุณาให้เครดิตอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มา : เว็บแดนนิพพาน และกรุณาอย่าลบหรือครอบตัดเครดิตแหล่งที่มาบนรูปภาพ “Photo by Dannipparn.com”


(ป.ล. หากว่ากระทู้บทความนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยในความผิดพลาดต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปไว้ ณ ที่นี้ด้วย และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 1

สาธุๆ อนุโมทนาครับ

Rank: 1

อนุโมทนาบุญทุกประการค่ะ

‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:23 , Processed in 0.067221 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.