แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ม.๑ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_7315.JPG



ประวัติวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


l28.png





๑. ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ


IMG_7231.JPG



ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัย มาจากชื่อของเมืองหริภุญชัย ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้เมื่อครั้งเสด็จมาบิณฑบาตในสมัยพระพุทธกาลและได้แวะรับและฉันลูกสมอที่ชาวลัวะนำมาถวาย โดยได้ทรงพยากรณ์ไว้ตอนนั้นว่า สถานที่แห่งนี้จะมีผู้มาสร้างเมืองและตั้งชื่อว่า “หริภุญชัยนคร”


และในกาลต่อมาก็มีฤาษี ๒ องค์ ชื่อว่า วาสุเทพและสุกกทันตะได้ร่วมกันสร้างเมือง ณ สถานที่แห่งนี้ และให้ชื่อเมืองว่า หริภุญชัยนคร ในปี พ.ศ.๑๒๐๔ สมจริงตามคำพยากรณ์ของพระพุทธองค์ทุกประการ  


หริภุญชัยนคร แปลว่า เมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยลูกสมอ (หริ แปลว่า สมอ, ภุญชัย แปลว่า เสวย, นคร แปลว่า เมือง) ส่วนพระบรมธาตุนั้น แต่เดิมเก็บรักษาไว้ในกระบอกไม้รวกและใส่ไว้ในโกศแก้วอีกชั้นหนึ่ง


ต่อมากษัตริย์ผู้ครองนครลำพูนทุกพระองค์ก็ได้บูรณะและพัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยเปลี่ยนจากโกศแก้วเป็นโกศทองและเปลี่ยนเป็นมณฑป ในที่สุดเป็นเจดีย์ และมีการขยายขนาดเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งสูงถึง ๒๕ วาครึ่ง กว้าง ๑๒ วาครึ่ง ดังปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้และเรียกชื่อว่า “วัดพระธาตุหริภุญชัย”



๒. สมัยพระพุทธกาล


IMG_5679.JPG



พระดำรัสพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมาบิณฑบาตยังชัยภูมิแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวเม็งหรือมอญ เมื่อรับบิณฑบาตแล้ว ก็ได้เสด็จเลียบฝั่งแม่น้ำระมิงค์ขึ้นมาทางทิศเหนือจนถึงสถานที่แห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าจึงทรงหยุดพักประทับอยู่บนหินก้อนหนึ่งและทรงวางบาตรไว้ด้านข้าง


ขณะนั้นมีพญาชมพูนาคราชและพญากาเผือกได้มาปรนนิบัติและอุปัฏฐากพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด และได้มีชาวลัวะผู้หนึ่งได้นำเอาลูกสมอมาถวายพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ได้เสวยลูกสมอนั้นแล้ว จึงทรงทิ้งขว้างเมล็ดลูกสมอเหล่านั้นลงบนพื้นดิน พร้อมกับตรัสพยากรณ์ไว้ว่า


“สถานที่แห่งนี้ต่อไปภาคหน้า หลังจากเราตถาคตได้นิพพานไปแล้ว จะเป็นที่ตั้งของหริภุญชัยนคร และยังจะเป็นที่ประดิษฐานของพระสุวรรณเจดีย์อีกด้วย”


หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว จะมีพระบรมสารีริกธาตุเป็นต้นว่า ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง มาประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้ด้วย หลังจากทรงมีพุทธพยากรณ์แล้ว พระอรหันต์ พระยาอโศก ชมพูนาคราช และพระยากาเผือก จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลขอพระเกศาธาตุจากพระพุทธองค์


พระองค์ทรงใช้พระหัตถ์เบื้องขวาลูบพระเศียรประทานให้เส้นหนึ่ง พระอรหันต์และพระยาทั้งสามได้นำเอาพระเกศาธาตุบรรจุไว้ในกระบอกไม้รวก แล้วนำไปบรรจุในโกศแก้วใหญ่ ๓ กำ นำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำใต้ที่ประทับนั้น


พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระอรหันต์ทั้งหลายจึงเสด็จกลับพาราณสี ส่วนหินที่พระพุทธองค์ประทับนั้นก็จมลงไปในแผ่นดินดังเดิม โดยชมพูนาคราชและพระยากาเผือกได้ทำหน้าที่เฝ้าพระเกศาธาตุนั้น  


พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานไปได้ ๒๑๘ ปี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้พบพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสอยากจะสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุเหล่านั้นให้ได้ ๘๔,๐๐๐ แห่ง จึงมอบให้พระเถระทั้งหลายอัญเชิญพระบรมธาตุไปบรรจุในเจดีย์ยังเมืองต่างๆ ทั่วแคว้นชมพูทวีป


สันนิษฐานว่าประเทศไทยเราก็คงได้รับส่วนแบ่งพระบรมธาตุในครั้งนั้นด้วย และตำนานท้องถิ่นบางแห่งยังบอกว่า พระกุมารกัสสปเถระ และพระเมฆิยเถระ เป็นผู้อัญเชิญพระบรมธาตุจากพระยาศรีธรรมาโศกราชมาไว้ที่ลัมภะกัปปะนครและหริภุญชัยนคร ซึ่งในกาลต่อมาพระเจ้าอาทิตยราชได้มาบูรณะพระธาตุหริภุญชัย และพระเจ้าจันทะเทวราชมาบูรณะพระธาตุลัมภะกัปปะนคร ปัจจุบันคือวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง



๓. สมัยนครหริภุญชัย


IMG_5672.JPG



จากเขตพระราชฐานเป็นเขตพุทธาวาส กาลเวลาล่วงมาจนถึงปีจุลศักราช ๒๓๘ พระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๑,๔๒๐ ปี ณ อาณาบริเวณที่เป็นวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ในปัจจุบันนี้


เมื่อครั้งนั้นเป็นเขตพระราชฐานแห่ง พระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัย ในสมัยนั้นพระองค์โปรดให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรเป็นที่ประทับ ครั้นเสร็จแล้วพระองค์ก็เข้าประทับอยู่ภายในปราสาทราชมณเฑียรแห่งนั้น


IMG_5685.JPG



วันหนึ่งพระองค์จะเสด็จไปสู่วสัญชนฐาน (ห้องน้ำ) ปรากฏมีกาตัวหนึ่งได้บินโฉบลงมาเป็นทำนองกันไม่ให้พระองค์เข้าไปถึงฐานนั้นได้ ด้วยความกริ้วพระองค์จึงต้องย้ายไปใช้ฐานอื่น และทรงมีกระแสรับสั่งให้จับกาตัวการนั้นมาฆ่าเสีย แต่เทวดาได้ดลใจให้อำมาตย์ผู้หนึ่งทัดทานไว้ เพราะสงสัยในพฤติการณ์ของกานั่นเอง


IMG_5691.JPG



คืนนั้นยามใกล้รุ่ง เทวดาผู้รักษาพระเกศาธาตุได้สำแดงฤทธิ์มาในพระสุบินถวายคำแนะนำให้พระองค์นำทารกมาอยู่กับกา ๗ วัน และอยู่กับคน ๗ วัน เป็นเวลา ๗ ปี



IMG_5707.JPG



เมื่อถึงเวลานั้นเด็กก็จะสามารถแปลภาษากาให้คนได้รับทราบเหตุการณ์อันเป็นปริศนานั้นได้โดยชัดแจ้ง พระเจ้าอาทิตยราชจึงทรงทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระเกศาธาตุโดยละเอียด

พระเจ้าอาทิตยราชจึงโปรดให้เชิญพระยากาเผือกมาสู่ปราสาทแห่งพระองค์ โดยพระองค์โปรดให้จัดสถานที่สำหรับต้อนรับพระยากาเผือกอย่างสมฐานะพระยาแห่งกาทั้งปวง พระยากาเผือกจึงเล่าความเป็นมาถวายทุกประการ


IMG_5716.JPG



พระเจ้าอาทิตยราชทรงมีพระราชหฤทัยอภิรมย์ยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้รื้อราชมณเฑียรทั้งปวงออกไปจากสถานที่แห่งนั้นจนหมดสิ้น แล้วโปรดให้ปรับพื้นที่อันเป็นมงคลนั้นให้เรียบงามตา พระองค์โปรดให้พระสงฆ์สวดพระปริตรมงคล เพื่ออาราธนาพระบรมธาตุให้ออกมาปรากฏ

พระธาตุเจ้าจึงสำแดงฤทธาภินิหารโผล่ขึ้นมาพ้นแผ่นดิน ทั้งโกศแก้วลอยขึ้นไปในอากาศสูงเท่าต้นตาล พระบรมธาตุได้เปล่งฉัพพรรณรังสีเจิดจ้าไปทั่วนครหริภุญชัยเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน แล้วจึงลอยลงมาประดิษฐานบนแผ่นดินดังเดิม


IMG_5727.JPG



พระเจ้าอาทิตยราชโปรดให้ขุดเอาโกศบรรจุพระธาตุขึ้นมา แต่ทว่ายิ่งขุดโกศนั้นก็ยิ่งจมลงไป พระองค์จึงต้องบูชาอาราธนาพระธาตุ จึงได้ยอมลอยขึ้นมาสูงจากพื้นดินถึง ๓ ศอก พระองค์จึงให้สั่งรื้อถอนปราสาทราชมณเฑียรทั้งหมดออกไปตั้งราชสำนัก ณ ที่อื่น


ดังนั้น พระบรมธาตุหริภุญชัย จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.๑๔๔๐ โดยพระเจ้าอาทิตยราชโปรดให้สร้างโกศทองคำหนัก ๓,๐๐๐ คำ สูง ๓ ศอก ประดับประดาไปด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการ ครอบโกศพระธาตุของพระพุทธเจ้านั้น แล้วโปรดให้สร้างมณฑปปราสาทสำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้า ดังข้อความที่กล่าวไว้ในตำนานมูลศาสนา ดังนี้

“...
พระยาอาทิตยราชก็ให้เอาหินมาเพื่อจักก่อให้เป็นเจดีย์ ครั้นได้หินมาบริบูรณ์แล้วจึงให้หานักปราชญ์มาพิจารณาดูวันยาม ฉายาฤกษ์อันเป็นมงคล ครั้นได้ฤกษ์แล้วพระยาก็แบกหินอันเป็นมงคลนั้นมาก่อในท่ามกลาง เพื่อจักให้ก่อก่อนสำหรับเป็นที่รอง โกศธาตุพระพุทธเจ้า ทั้งหลายนั้นแล

ครั้นพระยาหยิบหินก้อนนั้นยอขึ้น ก็ให้ประโคมดุริยดนตรีเป็นมงคลเสียงอึงมี่นัก เป็นดังเมฆอันพัดกันในท้องฟ้าฉะนั้น ก็เป็นอันดังกึกก้องทั่วเมืองหริภุญไชยทั้งมวลนั้น พระยาก็ให้ก่อในที่หนึ่งแล้วก็ให้ก่อเป็น ๔ เสาดังปราสาทสูงได้ ๑๒ ศอก ให้เป็นประตู โค้งทั้ง ๔ ด้าน อยู่ภายนอกโกศธาตุเจดีย์นั้นแล ในเมื่อธาตุเจดีย์เสร็จพร้อมทุกอันแล้ว พระยาก็ให้ฉลองเจดีย์มีเครื่องพร้อมทุกอัน กระทำบูชาอยู่ถ้วย ๗ วัน ๗ คืน...”

สมัยพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัย องค์ที่ ๓๒ แห่งจามเทวีวงศ์ จึงได้สร้างวัดพระธาตุหริภุญชัยขึ้นเป็นศูนย์ศาสนสถานอันยิ่งใหญ่แห่งล้านนาไทยอีกครั้งหนึ่ง


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6364.JPG



ตำนานพระธาตุหริภุญชัย



จากหนังสือตำนานต่างๆ เช่น มูลศาสนาชินกาลมาลินีจามเทวีวงศ์ และพงศาวดารโยนก ปรากฏว่า พระธาตุหริภุญชัยบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ชั้นเดิมบรรจุไว้ในกระบอกไม้รวก ฝังไว้ใต้พื้นซึ่งเป็นที่ตั้งพระบรมธาตุเจดีย์หริภุญชัย ปัจจุบันนี้เอง


ในตำนานกล่าวไว้ว่า ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้นได้เคยเสด็จมาสู่สถานที่นี้ ได้ประทับนั่งบนหินก้อนหนึ่ง ทรงทำนายว่า สถานที่นี้จะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในอนาคต


และกล่าวว่า พญานาคราชได้ออกมาทูลขอพระเกศาธาตุ พระองค์จึงทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาเส้นหนึ่ง พญานาคราชจึงน้อมรับมาบรรจุไว้ในกระบอกไม้รวกฝังไว้ในดิน นำหินทับไว้อีกชั้นหนึ่ง โดยพระเทพบุตรซึ่งได้จำแลงเป็นกาเผือกได้คอยเฝ้ารักษาพระบรมสารีริกธาตุไว้มิให้ใครมาดูหมิ่นเหยียบย่ำ


จนกระทั่งรัชสมัยของพระเจ้าอาทิตยราชได้ทรงค้นพบ โดยได้เห็นพระบรมธาตุเสด็จปรากฏเป็นฉัพพรรณรังสีสว่างเจิดจ้าอยู่เป็นเวลานาน และฉัพพรรณรังสีทั้งหมดหายไปในกระบอกไม้รวก


พระองค์จึงทรงอัญเชิญพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ทุกท่านต่างก็มีความเห็นอย่างเดียวกันว่า ควรอัญเชิญพระบรมธาตุไปบรรจุไว้ในสถานที่เดิมจะเป็นการดีที่สุด เพราะเป็นพระประสงค์ของพระพุทธองค์ โดยทรงบรรจุพระบรมธาตุไว้ในโกศ ๓ ชั้น ตั้งประดิษฐานบนสำเภาทองคำ บรรจุไว้ในหลุมลึก ๙ วา และทรงสร้างพระเจดีย์ครอบองค์พระบรมธาตุไว้ และได้ทำบุญสมโภชพระเจดีย์เป็นการใหญ่


ในคืนหนึ่งยามใกล้รุ่ง พระเจ้าอาทิตยราชได้ทรงสุบินนิมิตว่า ได้ทรงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งฉันลูกสมออยู่ ณ ที่องค์เจดีย์ประดิษฐานอยู่ แวดล้อมด้วยพระอรหันตสาวกหลายองค์ พระพุทธองค์ทรงวางเม็ดสมอไว้ในที่ที่พระองค์ทรงประทับอยู่


หลังจากตื่นบรรทมแล้วพระองค์จึงทรงปรึกษากับปุโรหิตาจารย์ทั้งหลายว่าเป็นนิมิตหมายประการใดเหล่า ปุโรหิตาจารย์ได้พิจารณาแล้วได้ถวายความเห็นว่า นับว่าเป็นนิมิตหมายอันเป็นมงคลยิ่งจะนำความเป็นสิริมงคลมาสู่ปวงชนประชาทั้งหลาย บ้านเมืองจะอุดมสมบูรณ์ พระพุทธศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรือง เป็นต้น


และทรงพิจารณาเห็นว่าวัดที่ทรงสร้างขึ้นนี้ยังไม่มีชื่อเรียกขาน สมควรที่จะนำเอานิมิตที่เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังฉันลูกสมอมาเป็นมงคลนามของวัดก็จะเป็นการดียิ่งนัก จึงได้ชื่ออันเป็นที่พอพระทัยว่า “วัดพระธาตุเจ้าจอมสะหรีหริภุญไชยาวาส” หรือวัดพระธาตุหริภุญชัยปัจจุบัน ซึ่งมาจากคำว่า หริตะ แปลว่า สมอ ภุญชยะ แปลว่า ขบฉัน ตามนิมิตทุกประการ


---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ศุภสิทธิ์ มหาคุณ. (๒๕๓๗, ๒๓ มกราคม). หนังสือพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุประจำปีเกิด.)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6430.JPG



IMG_6366.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุหริภุญชัย) ประดิษฐานด้านหลังวิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร



IMG_6259.JPG



IMG_6267.JPG



IMG_6310.JPG



IMG_6292.JPG



IMG_6203.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุหริภุญชัย) วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีระกา (ไก่) ประดิษฐานพระเกศาธาตุ พระบรมธาตุส่วนกระหม่อมข้างขวา พระบรมธาตุส่วนกระดูกอก พระบรมธาตุส่วนกระดูกนิ้วมือ และพระบรมธาตุย่อยเต็มบาตรหนึ่งขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


IMG_6438.JPG



IMG_6262.JPG



IMG_6286.JPG



IMG_6394.JPG



พระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

พระเจดีย์มีส่วนสูง ๒๕ วา ๒ ศอก มีฐานกว้างด้านละ ๑๒ วา ๒ ศอก ๑ คืบ มีสัตติบัญชร (รั้วหอก) รอบองค์พระธาตุ ๒ ชั้นทั้งสี่ด้าน มีซุ้มกุมภัณฑ์และฉัตรหลวงประจำทั้งสี่มุม และมีหอยอภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประจำทั้งสี่ด้านของพระธาตุหริภุญชัย


IMG_6324.JPG



IMG_7511.JPG



พระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

ตำนานระบุว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ โดยพระเจ้าอาทิตยราชเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อุบัติขึ้นในเขตพระราชวัง แรกสร้างเป็นเจดีย์ทรงปราสาท ต่อมาในสมัยพระเจ้าสววาธิสิทธิแห่งอาณาจักรหริภุญไชยได้ทรงก่อพอกองค์พระธาตุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมไว้ ครั้งพระยามังรายตีเมืองหริภุญไชยได้ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ได้ทรงก่อเจดีย์ทรงกลมครอบทับองค์เจดีย์เดิมไว้

ต่อมาได้รับการปฏิสังขรณ์โดยบูรพกษัตริย์ล้านนาสืบเนื่องมาอีกหลายพระองค์ ส่วนรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นผลจากการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ โดยผสมผสานเจดีย์ทรงระฆังแบบพุกามและเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกาจนกลายเป็นรูปแบบเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา ที่ได้รับการยอมรับว่ามีรูปแบบที่สง่างามและส่งอิทธิพลให้แก่การสร้างเจดีย์ประธานในวัดต่างๆ จำนวนมาก

พระธาตุหริภุญชัย เป็นปฐมเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในอาณาจักรหริภุญไชยและได้รับการเคารพสักการะจากพุทธศาสนิกชนและบูรพกษัตริย์ สืบมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาร่วม ๙๐๐ ปี ถือเป็น ๑ ใน ๘ จอมเจดีย์ของไทย และยังเป็น ๑ ใน สัตตมหาสถานที่พระมหากษัตริย์เมื่อแรกเสวยราชย์ จะต้องแต่งเครื่องสักการบูชาถวายตามโบราณราชประเพณี

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติ
พระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร)


IMG_6261.JPG



IMG_7465.JPG



การกราบบูชาพระธาตุหริภุญชัย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)

       สุวัณณะเจติยัง หริภุญชะยัฏฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฏฐิเสฏฐัง สะหะอังคุลิฏฐิง กัจจายะเนนานีตะ ปัตตะปูรัง สีเสนะ มัยหัง ปะณะมามิ ธาตุง อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ

ข้าพเจ้าขอเอาเศียรเกล้าของข้าพเจ้านอบน้อมพระธาตุอันเป็นพระเจดีย์ทองซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหริภุญชัยคือ พระอัฐิเบื้องพระโมลีอันประเสริฐ พระอัฐิเบื้องพระทรวงอันประเสริฐสุด กับทั้งพระอัฐิพระองคุลี และพระธาตุย่อยเต็มบาตรหนึ่ง อันพระกัจจายนะนำมา ข้าพเจ้าขอวันทาในกาลทุกเมื่อแล

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่งทุกชาติไป ขอกราบนอบน้อมระลึกนึกถึงพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม และพระอริยสงฆ์


ขออานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ พึงเป็นปัจจัยแด่พระนิพพาน แม้ต้องเกิดในภพชาติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาแห่งบวรพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ มีโอกาสฟังธรรม ประพฤติธรรมจนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ในอดีตชาติก็ตาม ปัจจุบันชาติก็ตาม ขอกราบอโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น

ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบ ในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้น จงมีแต่ความสุขๆ ทั่วหน้ากันทุกท่านเทอญ


IMG_6359.JPG



IMG_6388.JPG



IMG_6383.JPG



จุดธูป เทียน ถวายดอกไม้ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และ
ขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต สาธุ สาธุ สาธุ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7555.JPG



IMG_5666.JPG



วิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

วิหารหลังปัจจุบันนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ โดยมี พระญาณมงคล (ปวน อภิชโย) อดีตเจ้าอาวาสวัดเหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

สร้างเสร็จและมีงานทำบุญฉลองสมโภชพระวิหาร เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ.๒๔๖๗ ตรงกับวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๗ ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชาในปีนั้น


IMG_5651.JPG



ประวัติวิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร



วิหารหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระธาตุหริภุญชัย สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๒๐๕๗ สถาปัตยกรรมเป็นทรงล้านนามีความงดงามมาก ต่อมามีการสร้างปรับปรุงขึ้นใหม่ในสมัยเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๗

นับเป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาวิหารทั้งหมดในวัด และมีความวิจิตรงดงามมาก เนื่องจากว่ามีลายรดน้ำประดับในส่วนที่เป็นไม้ทุกชิ้น วิหารดังกล่าวประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งมีกล่าวไว้ใน "นิราศหริภุญชัย" ซึ่งแต่งในราว พ.ศ.๒๐๖๐ สมัยพระเมืองแก้ว ใจความกล่าวไว้ดังนี้

" นบพระไสยาสน์เยื้อน              ปฎิมา
วงแวดฝูงขีณา                        ใฝ่เฝ้า
พระพุทธเปลี่ยนอิริยา                กรูโณ
เทียนคู่เคนพระเจ้า                   จุ่งได้ปัจจุบัน
มณฑกพระเจ้าบอก                  เกลือคอย กว่าเอย
สูงใหญ่หย้องเองพอย               เพื่อนบ้าน
เทียนทุงคู่คบสอย                    วอยแว่น เวนเอย
ผลเผื่อเร็วอย่าช้า                     ชาตินี้เนอมุนี "


S__42131466.jpg


ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๘ วิหารหลวงที่สร้างด้วยไม้ เกิดถูกลมพายุขนาดใหญ่ ที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่า "ลมหลวง" พัดจนเกิดความเสียหาย พังทลายลงทั้งหลัง สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ชาวเมืองลำพูนเป็นอย่างมาก คงเหลือเพียงพระพุทธรูปที่ประดิษฐานบนแท่นแก้วองค์ที่อยู่ด้านเหนือเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่มีสภาพสมบูรณ์


ท่านเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยในยุคสมัยนั้น พร้อมด้วยศรัทธาประชาชนชาวเมืองลำพูน ได้ช่วยกันก่อสร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๐ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๖๗ (อ้างอิงจากภาพถ่ายวิหารหลวงในวิหารหลวงวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร)

แต่ตามข้อมูลอ้างอิงจาก ประวัติวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (ออนไลน์) กล่าวว่า พระวิหารสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๗๒ และเป็นวิหารหลังที่เห็นในปัจจุบันนี้

-----------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร. ประวัติวัด. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.hariphunchaitemple.org/modules.php?name=Content&pa=list_pages_categories&cid=11. (วันที่ค้นข้อมูล : ๑ มกราคม ๒๕๕๗))  


IMG_7220.JPG



IMG_7548.JPG



ต้นไม้ทองคู่ ประดับหน้าวิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


IMG_6576.JPG



ภายในวิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


IMG_6562.JPG



IMG_6557.JPG



IMG_6534.JPG



IMG_6541.JPG



IMG_6543.JPG



IMG_6221.JPG



พระประธานและพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในวิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


IMG_6520.JPG



IMG_6521.JPG



พระพุทธสิทธิมณีศรีหริภุญไชย (พระประธาน) ประดิษฐานภายในวิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


IMG_6530.JPG



IMG_6569.JPG



บุษบกที่ประดิษฐาพระแก้วขาว “พระเสตังคมณีศรีเมืองหริภุญชัย” ภายในวิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


IMG_6529.JPG



พระแก้วขาว “พระเสตังคมณีศรีเมืองหริภุญชัย” ประดิษฐานบนบุษบกที่แกะสลักลงรักปิดทองอย่างสวยงาม ภายในวิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7201.JPG



IMG_7204.JPG



IMG_7545.JPG



ซุ้มประตูโขงท่าสิงห์ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

บูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙


IMG_5611.JPG



ประวัติซุ้มประตูโขงท่าสิงห์ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร



ซุ้มประตูโขงท่าสิงห์ เป็นซุ้มประตูทางเข้าสู่เขตพุทธาวาสของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก สร้างขึ้นเมื่อครั้งที่พระเจ้าติโลกราชทรงทำการบูรณะวัด โดยโปรดให้ก่อกำแพงโดยรอบเขตพุทธาวาส เพื่อเป็นการป้องกันรักษาองค์พระธาตุอีกชั้นหนึ่ง

ทั้งพระองค์ยังทรงให้ก่อสร้างซุ้มประตูโขงประดับด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงามทางประตูด้านทิศตะวันออกหน้าวิหารหลวง ทางทิศเหนือ ทางทิศใต้ และทางทิศตะวันตก แต่ปัจจุบันคงเหลือแต่ซุ้มประตูโขงทางทิศตะวันออกเท่านั้น

มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบฐานปัทม์ลูกแก้วอกไก่ มีหลังคาเป็นแบบ “ซุ้มโขง” คือก่อผนังเสาทั้ง ๒ ด้านโค้งเข้าหากัน ยอดหลังคาสร้างเป็นทรงปราสาทซ้อนกันหลายชั้น ซุ้มประตูนี้เชื่อว่าสร้างขึ้นพร้อมการปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุหริภุญชัย ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑

ด้านหน้าซุ้มประตูมีประติมากรรมสิงห์ปูนปั้น ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ประดับอยู่ทั้ง ๒ ข้าง เดิมถัดจากซุ้มประตูนี้ไปทางทิศตะวันออก มีสะพานไม้ทอดข้ามแม่น้ำกวงไปยังวัดพระยืน จึงเรียกซุ้มประตูนี้ว่า ซุ้มประตูโขงท่าสิงห์

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติซุ้มประตูโขงท่าสิงห์
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร)


IMG_5608.JPG



IMG_5623.JPG



IMG_5620.JPG



รูปปั้นสิงห์แดงคู่ ประดับหน้าซุ้มประตูโขง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


IMG_5641.JPG



IMG_5640.JPG



ประตูทางเข้าเขตพุทธาวาสทิศตะวันออก วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6600.JPG



วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๘ ไร่ ๓ งาน ๒๖ ตารางวา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑๕๐ เมตร

อาณาเขตของวัด มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ทิศเหนือ ติดกับถนนอัฏฐารส ทิศใต้ ติดกับถนนชัยมงคล ทิศตะวันออก ติดกับถนนรอบเมืองใน และทิศตะวันตก ติดกับถนนอินทยงยศ


IMG_6604.JPG



IMG_7189.JPG



ป้ายวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน


IMG_5978.2.jpg



แผนผังวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร เดิมทีเป็นพระราชวังของพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัย องค์ที่ ๓๒ แห่งจามเทวีวงศ์ ต่อจากพระนางจามเทวี ปฐมบรมกษัตริย์ของเมืองหริภุญชัย บริเวณกำแพงพระราชวังของพระเจ้าอาทิตยราช ได้แบ่งออกเป็น ๒ ชั้น คือ ชั้นนอกและชั้นใน


ในกาลต่อมาภายหลังพระเจ้าอาทิตยราช ได้ถวายพระราชวังของพระองค์ให้เป็นสังฆารามไว้กับทางพระพุทธศาสนา เมื่อพระองค์ถวายเป็นสังฆารามแล้วได้รื้อกำแพงชั้นนอกออก แล้วปั้นสิงห์คู่หนึ่งไว้ที่ซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก เป็นสิงห์ขนาดใหญ่ประดับเครื่องทรงยืนอ้าปากประดิษฐานไว้แทน ตามคติโบราณทางเหนือซึ่งนิยมสร้างสิงห์เฝ้าวัด


วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จึงมีกำแพง ๒ ชั้น ตามรูปลักษณะของพระราชวังเดิมของพระเจ้าอาทิตยราช คือ รอบบริเวณวัดชั้นนอกชั้นหนึ่ง และก่อกำแพงเป็นศาลาบาตรรอบองค์พระธาตุหริภุญชัยเป็นกำแพงชั้นในอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้


๑. บริเวณกำแพงวัดชั้นใน (เขตพุทธาวาส) ประกอบด้วย พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นพระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นส่วนพระอัฐิเบื้องธารพระโมลี พระอัฐิเบื้องพระทรวง พระอัฐิพระองคุลีและพระธาตุย่อยเต็มบาตรหนึ่ง


จัดเป็นหนึ่งในจอมเจดีย์ ๘ แห่งของประเทศไทย ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดไว้ว่าเป็นปูชนียสถานสำคัญที่สุดของไทย ในแง่ที่เป็นพระเจดีย์ที่สร้างก่อนพระเจดีย์องค์อื่นในแคว้นล้านนาไทย


๒. บริเวณกำแพงวัดชั้นนอก (เขตสังฆาวาส) นอกกำแพงวัดชั้นในมีคณะสงฆ์ประจำทั้ง ๔ มุม คือ มุมอาคเนย์ เรียกว่า คณะหลวง มุมอีสาน เรียกว่า คณะเชียงยัน มุมหรดี เรียกว่า คณะสะดือเมือง มุมพายัพ เรียกว่า คณะอัฏฐารส เป็นคณะสงฆ์ประจำบำรุงพระอารามที่เป็นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-5 11:18 , Processed in 0.083924 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.