แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 10292|ตอบ: 8
go

วัดน้ำฮู ม.๕ ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_3761.3.jpg



วัดน้ำฮู  

ม.๕ ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน  

[หลวงพ่ออุ่นเมือง , พระเจดีย์]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 19 ตุลาคม 2565)


Rank: 8Rank: 8

DSC09234.JPG



วัดน้ำฮู ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำฮู หมู่ที่ ๕ ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะทางห่างจากตัวเมืองอำเภอปายไปทางทิศตะวันตก ๓ กิโลเมตร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน ๖๓ ตารางวา



DSC09229.JPG



แผนผังปูชนียสถานปูชนียวัตถุวัดน้ำฮู

๑. วิหาร
๒. พระพุทธรูปอุ่นเมือง หรือหลวงพ่ออุ่นเมือง
๓. พระเจดีย์

๔. ศาลาพระครูบาเจ้าศรีวิชัย
๕. ศาลากลางน้ำ
๖. ศาลาการเปรียญ
๗. ศาลาปฏิบัติธรรม
๘. ศาลาอเนกประสงค์
๙. กุฏิสงฆ์


DSC09247.JPG



ประตูทางเข้า วัดน้ำฮู


DSC09366.JPG



วิหาร วัดน้ำฮู


DSC09237.JPG



ประวัติวิหาร วัดน้ำฮู


วิหาร วัดน้ำฮู สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ โดยพระครูบาเจ้าศรีวิชัย เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอุ่นเมือง ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุสำคัญคู่เมืองปาย มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ต่อมาวิหารหลังนี้ได้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ไม่สามารถใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปอุ่นเมืองได้

คณะพุทธบริษัทจากกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และอำเภอปาย โดยมีพลโทวิเชียร วิชัยวัฒนะ เป็นประธานดำเนินการ นายเกษม ไชยวงศ์ จากหน่วยศิลปากรที่ ๔ กรมศิลปากร เป็นผู้ควบคุมแบบก่อสร้าง และนายสมบูรณ์ เบ็ญมาตร์ นายอำเภอปาย เป็นผู้ประสานงาน ได้ร่วมกันบูรณะวิหารหลังนี้ โดยให้คงลักษณะสถาปัตยกรรมตามแบบเดิมให้มากที่สุด เพื่อเป็นการอนุรักษ์โบราณสถาน เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๓-๒๕๓๔ และได้อัญเชิญพระพุทธรูปอุ่นเมืองเข้าประดิษฐานในวิหารดังเดิม


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติวิหารวัดน้ำฮู)

Rank: 8Rank: 8

DSC09180.JPG



พระพุทธรูปอุ่นเมือง หรือ หลวงพ่ออุ่นเมือง ประดิษฐานภายในวิหาร วัดน้ำฮู



IMG_3741.jpg



DSC09182.JPG



DSC09181.jpg



IMG_3743.jpg



พระพุทธรูปอุ่นเมือง หรือ หลวงพ่ออุ่นเมือง วัดน้ำฮู


เป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม ปางมารวิชัย ประทับนั่งแบบขัดสมาธิราบบนฐาน ศิลปะเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้ว สูง ๓๐ นิ้ว ไม่มีประวัติบันทึกการสร้างอย่างชัดเจน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


มีพุทธลักษณะไม่เหมือนพระพุทธรูปธรรมดาทั่วไปคือ ส่วนพระเศียรกลวง ที่พระเศียรขององค์พระมีพระเกศโมลีครอบ จะทำพระเกศโมลีเป็นฝาเปิดออกได้ โดยการยกพระเกศโมลีออกจะเห็นภายในพระเศียรเป็นช่องกว้างประมาณ ๓ นิ้ว และมีน้ำซึมออกมาตลอด เชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้รักษาโรคต่างๆ ได้ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด และเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองปาย


พระนามหลวงพ่ออุ่นเมือง ตั้งชื่อโดย นายอาณัติ บัวขาว นายอำเภอปาย เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ ความหมายคือ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นมิ่งขวัญให้ประชาชนอำเภอปายอุ่นอกอุ่นใจ



IMG_3740.jpg



คำบูชาหลวงพ่ออุ่นเมือง
(ตั้งนะโม ๓ จบ) อะหัง วันทามิ พุทธะรูปัง อะหัง วันทามิ สัพพะโส อะหัง วันทามิ สัพพะทา ตัสเสวานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ


DSC09184.JPG



ประวัติหลวงพ่ออุ่นเมือง วัดน้ำฮู


จาก เอกสารบรรยายสรุปอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน


  
หลวงพ่ออุ่นเมือง เป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้ว สูง ๓๐ นิ้ว ส่วนพระเศียรกลวง มีพระเกศโมลีครอบ ไม่มีประวัติบันทึกการสร้างอย่างชัดเจน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมกับสถูปเจดีย์ซึ่งอยู่หลังวิหาร ได้รกร้างอยู่เป็นเวลานาน


ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ ผู้ใหญ่ทอน และนายเห็งพงษ์ พงษ์คำเต็ม พร้อมด้วยชาวบ้านน้ำฮู ได้สร้างศาลาประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งอยู่โคนต้นไม้ พร้อมด้วยซากปรักหักพังของเจดีย์

ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ พระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ได้นำคณะศิษยานุศิษย์เดินธุดงค์มายังอำเภอปาย ได้มาเห็นสภาพทรุดโทรมของวัดและได้พบพระพุทธรูปดังกล่าว จึงได้สร้างวิหารขึ้นหนึ่งหลังสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป พร้อมกับสร้างเจดีย์ขึ้นด้านหลังวิหาร ๑ องค์

ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ได้มีพระธุดงค์จากอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มาพักที่วัด ได้สังเกตเห็นพระพักตร์ของพระพุทธรูปเป็นโพรง พระโมลีถอดได้ และในโพรงนั้นมีน้ำขังอยู่เต็ม จึงสอบถามชาวบ้านและเจ้าอาวาสก็ไม่มีใครทราบมาก่อน เป็นที่เล่าลือกันอยู่พักหนึ่ง แต่ไม่มีใครกล้าพิสูจน์ความจริง

ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ร.อ.ประเสริฐ เรียมศรี นายอำเภอปาย พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการอำเภอปาย ได้ร่วมทำการอธิษฐานขอพิสูจน์ข้อเท็จจริง โดยความร่วมมือจากเจ้าอาวาสและศรัทธาได้ตักน้ำออกจากพระเศียรทั้งหมด ใช้สำลีเช็ดจนแห้งสนิท ทำการปิดพระเศียร ผูกเชือกประทับตราครั่ง ปิดหน้าต่างประตูทุกบาน ห้ามคนเข้าออก กำหนดเวลา ๕ วัน เมื่อครบกำหนด ได้ทำการเปิดต่อหน้าคณะกรรมการทำการพิสูจน์ชุดเดิม ผลปรากฏว่ามีน้ำขังในเศียรของพระพุทธรูปจริง นับเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ตั้งแต่นั้นมาก็มีประชาชนทั่วทุกสารทิศได้เข้ามากราบไหว้มิได้ขาด

ในปี พ.ศ.๒๕๑๗ นายอาณัติ บัวขาว นายอำเภอปาย ได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่ออุ่นเมือง” เป็นมิ่งขวัญให้ประชาชนอำเภอปายอุ่นอกอุ่นใจ


ในปี พ.ศ.๒๕๒๖ คนร้ายไม่ทราบจำนวน ได้ลักลอบขุดเจาะผนังวิหารทางด้านทิศใต้ เข้าไปขโมยสิ่งของเงินทองในวิหาร ทางวัดและศรัทธาจึงได้นำหลวงพ่ออุ่นเมืองขึ้นไปประดิษฐานไว้บนศาลาการเปรียญ เพราะเกรงขโมยจะลักเอาพระพุทธรูป อีกทั้งวิหารก็ชำรุดทรุดโทรม การย้ายมาอยู่ในที่ใหม่ ทำให้น้ำในพระเศียรของพระพุทธรูปลดน้อยลง บางครั้งเหือดแห้งหายไป ประชาชนที่เคารพกราบไหว้ก็น้อยลง

ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่สมบัติ คุเณสโก วัดก้ำก่อ และนายประมวล รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มาเยี่ยมอำเภอปายและได้มานมัสการหลวงพ่ออุ่นเมืองที่วัดนี้ เจ้าอาวาสและศรัทธาวัดได้แจ้งให้ทราบ หลวงพ่อสมบัติ จึงได้ตรวจสอบทางสมาธิ ทราบว่าการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปออกจากวิหารเดิมผิดเจตนารมณ์ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย แต่วิหารเดิมชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้มีมติให้รื้อถอนทำการปลูกสร้างวิหารใหม่ โดยคงรูปแบบวิหารของพระครูบาเจ้าศรีวิชัยเดิม ได้รับจัดหาทุนดำเนินการก่อสร้าง ครั้งแรกมีผู้ร่วมบริจาคเป็นเงิน ๘๐,๐๐๐ บาท

ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ พลโทวิเชียร วิชัยวัฒนะ พร้อมด้วยครอบครัวและคณะ รับเป็นเจ้าภาพในการก่อสร้างวิหาร โดยการนำกฐินมาทอดเพื่อเป็นทุนดำเนินการก่อสร้างวิหารใหม่จนสำเร็จ และได้หลวงพ่ออุ่นเมืองไปประจำในวิหาร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของเมืองปายต่อไป น้ำที่มีอยู่ในพระเศียรก็ยังคงมีอยู่เป็นที่น่าอัศจรรย์ถึงปัจจุบัน

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เอกสารบรรยายสรุปอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับความอนุเคราะห์เอกสารจาก ปลัดอำเภอจักรพันธ์ุ ทองอ่ำ (ปลัดอำเภอปาย พ.ศ.๒๕๔๗))  


DSC09183.JPG



ประวัติวัดน้ำฮู (รู)


เรียบเรียงโดย พระชัยวัฒน์ อชิโต

หนังสือตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑



วัดน้ำฮู ซึ่ง ครูบาศรีวิชัย ได้มาสร้างพระวิหารและพระเจดีย์เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง มีนามว่า "พระอุ่นเมือง" ซึ่งชาวเมืองปายมีความเคารพเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองปายมานานแล้ว

และมีพระพุทธลักษณะไม่เหมือนพระพุทธรูปธรรมดาทั่วไป คือที่พระเศียรขององค์พระ จะทำพระเกศเป็นฝาเปิดออกได้ โดยการยกพระเกศออก จะเห็นภายในพระเศียรเป็นช่องกว้างประมาณ ๓ นิ้ว และมีน้ำซึมออกมาตลอด เชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้รักษาโรคต่างๆ ได้

เจ้าอาวาสได้เล่าว่า มีนายทหารผู้หนึ่งมียศเป็นพลโท ได้มาอธิษฐานดื่มน้ำในพระเศียรแล้วหายจากโรคอัมพฤกษ์ ต่อมาจึงได้จัดผ้าป่ามาช่วยบูรณะพระวิหารจนแล้วเสร็จ นี่คงเป็นผลจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระอุ่นเมือง

ท่านได้เล่าต่อไปว่า พระพุทธรูปองค์นี้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างเพื่ออุทิศถวายให้แก่ พระพี่นางสุพรรณกัลยา ขณะที่พระองค์ทรงยกกองทัพไปตีพม่า เพื่อเป็นการแก้แค้นที่พระพี่นางถูกปลงพระชนม์ ขณะที่ยกพลมาถึงเมืองปาย พระพี่นางได้มาเข้าฝันพระองค์ว่า อย่าไปทำสงครามเลย จะเกิดความเสียหายทั้งสองฝ่าย ขอให้สร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่ง แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ดีกว่า ต่อมาจึงได้นำพระอัฐิและเส้นพระเกศาของพระพี่นางมาจากพม่า แล้วได้บรรจุไว้ในพระเจดีย์หลังพระวิหารนี้

เจ้าอาวาสท่านเล่าเสริมว่า แต่ก่อนนี้มีการพิสูจน์กันว่า พระพุทธรูปองค์นี้จะศักดิ์สิทธิ์จริงหรือไม่ หรือว่าใครเป็นผู้เอาน้ำมาเติมไว้อยู่เสมอ จึงได้แต่งตั้งกรรมการชุดหนึ่งเป็นสักขีพยาน จากนั้นก็ตักน้ำในพระเศียรออกจนหมด แล้วทำการปิดพระเศียร ผูกเชือกประทับตราครั่ง ทั้งที่ประตูหน้าต่างวิหารทุกบาน ถ้าใครเปิดผ่านเข้าไปก็จะรู้ได้ทันที แล้วรอไปจนครบ ๕ วัน

คณะกรรมการจึงได้ตรวจสอบประตูหน้าต่างเสียก่อน ว่ามีใครเปิดเข้าไปหรือไม่ แล้วถึงจะเปิดพระเศียรขององค์พระ ปรากฏว่าทุกอย่างเรียบร้อย ไม่มีร่องรอยการเปิดเข้าไปอย่างแน่นอน เมื่อเปิดดูภายในพระเศียร ปรากฏว่ามีน้ำขังเต็มเหมือนเดิม ทุกคนจึงเชื่อว่าพระพุทธรูปองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์จริง ใครจะนำไปไว้ที่ไหนก็ไม่ได้ จะต้องมีเหตุต้องนำกลับวัดน้ำฮูไปในที่สุด

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์, ๓๐๘-๓๑๐.)  


DSC09189.JPG



DSC09190.JPG



ภาพถ่ายวิดีโอตอนยกพระเกศโมลีหลวงพ่ออุ่นเมืองออก ภายในวิหาร วัดน้ำฮู

คือ พระเศียรเป็นโพรงกลวง เป็นช่องกว้างประมาณ ๓ นิ้ว มีพระเกศโมลีเป็นฝาเปิดออกได้ และมีน้ำซึมออกมาตลอด ทำให้มีน้ำเต็มโพรงพระเศียรอยู่เสมอ


DSC09275.jpg



น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากพระพุทธรูปอุ่นเมือง (หลวงพ่ออุ่นเมือง) วัดน้ำฮู

ทางวัดจะตักน้ำในพระเศียรของหลวงพ่ออุ่นเมืองออกมาผสมกับน้ำธรรมดาเก็บไว้ในวิหาร ให้ศรัทธาญาติโยมผู้มาเยือนได้ตักมาดื่มและประพรมเพื่อความเป็นสิริมงคล และทางวัดจะมีขวดพลาสติกเปล่าไว้บริการ เพื่อใส่น้ำมนต์กลับบ้านด้วย



Rank: 8Rank: 8

DSC09204.JPG



DSC09203.JPG



DSC09202.JPG



DSC09201.JPG



DSC09205.JPG



พระเจดีย์ ประดิษฐานด้านหลังวิหาร วัดน้ำฮู


IMG_3764.jpg



IMG_3758.jpg



DSC09368.jpg



พระเจดีย์ วัดน้ำฮู


พระเจดีย์นี้ไม่มีบันทึกประวัติการสร้างชัดเจน เชื่อกันว่าสร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อบรรจุพระอัฐิและเส้นพระเกศาของพระพี่นางสุพรรณกัลยา ซึ่งได้เสด็จไปเป็นองค์ประกันที่พม่าแทนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกปลงพระชนม์ที่พม่านั้นเอง พร้อมกับสร้างพระพุทธรูปอุ่นเมือง เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่พระพี่นางสุพรรณกัลยา


ต่อมา พ.ศ.๒๔๗๔ พระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ได้นำคณะศิษยานุศิษย์เดินธุดงค์มายังอำเภอปาย ได้มาเห็นสภาพทรุดโทรมของวัด จึงได้สร้างพระเจดีย์ครอบสถูปเจดีย์องค์เก่าที่ปรักหักพัง พร้อมกับสร้างวิหารขึ้นหนึ่งหลัง


พระพี่นางสุพรรณกัลยา หรือ
พระสุพรรณกัลยา เป็นวีรสตรีไทยที่ประวัติศาสตร์ควรจารึกไว้ หากไม่มีพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชอาจไม่มีโอกาสกลับมากอบกู้เอกราช และอาจไม่ทรงทราบข่าวการเคลื่อนไหวของกองทัพพม่าก่อนทุกครั้ง ชาวไทยจึงควรระลึกถึงวีรกรรมของพระองค์ และถวายสักการะดวงวิญญาณของพระองค์โดยทั่วกัน

-------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติพระเจดีย์ ติดอยู่ตรงฐานทางทิศเหนือขององค์พระเจดีย์
วัดน้ำฮู และเอกสารบรรยายสรุปอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน)


DSC09200.JPG



DSC09214.JPG



คาถาบูชาพระพี่นางสุพรรณกัลยา
(ตั้งนะโม ๓ จบ) มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตัง มะนุรักเข เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมานัง (กราบ ๑ ครั้ง)



IMG_3761.1.png



ประวัติพระเจดีย์ วัดน้ำฮู


ประวัติของวัดน้ำฮู และพระพุทธรูปอุ่นเมือง แท้จริงมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชาติไทยย้อนหลังกลับไปประมาณ ๔๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา ในสมัยแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา สมัยเมื่อพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพกลับไทยหลังตีหงสาวดีสำเร็จ และทรงรับอัฐิธาตุของพระพี่นางสุพรรณกัลยา (พี่สาวแท้ๆ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงถูกปลงพระชนม์โดยพระเจ้านันทบุเรง) เรียบร้อยแล้ว

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกทัพไปตีเมืองตองอู แต่ตีไม่ได้ เพราะมีป้อมปราการแข็งแรง เนื่องจากเคยเป็นเมืองหลวงมาก่อน ประกอบกับกองทัพขาดเสบียงและมีไข้ป่าชุกชุม จึงรับสั่งให้ยกทัพกลับ เมื่อกองทัพเสด็จผ่านมาทางชายแดนพม่า ทรงพักทัพรักษาไพร่พลที่เมืองปาย (วัดน้ำฮูในปัจจุบัน)

และได้ทรงพระสุบินนิมิตไปว่า พระพี่นางสุพรรณกัลยาทรงเสด็จมาหาและทรงกันแสงร่ำไห้ตรัสว่า "องค์ดำเอ๋ย พี่เสมือนคนสองแผ่นดิน ลูกพี่เป็นลูกพม่า ตัวพี่เป็นไทย ย่อมผูกพันกันอยู่กับแดนพม่าและไทย คือเมืองปายนี้ วิญญาณของพี่จะได้เป็นสุขเสียที พี่ลำบากมามากแล้วทั้งชีวิตนี้ และขอฝากจันทร์* ให้ดูแล"

หลังจากพระนเรศวรตื่นบรรทมขึ้นเมื่อยามใกล้รุ่ง พระนเรศวรก็ทรงสั่งให้สร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุพระอัฐิและเส้นพระเกศาของพระพี่นางสุพรรณกัลยาที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองปาย พร้อมทั้งให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่พระพี่นางสุพรรณกัลยาตามพระสุบินนิมิตทุกประการ

พระพุทธรูปองค์นี้ปัจจุบันอยู่ที่วัดน้ำฮู อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนพระอัฐิและเส้นพระเกศานั้นอยู่ในใต้พระเจดีย์องค์ปัจจุบัน หลังวิหารที่พระครูบาเจ้าศรีวิชัยสร้างไว้

จากบันทึกเรื่องราวของพระวัดน้ำฮู และเรื่องของวีรสตรีพระพี่นางสุพรรณกัลยาที่พบนี้ ได้กล่าวสรรเสริญพระพี่นางไว้ว่า พระพี่นาง เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังชัยชนะของการศึกที่พระนเรศวรทรงมีทุกครั้งไป พระพี่นางได้ทรงลอบส่งข่าวศึกมาให้ทางกรุงศรีอยุธยาล่วงหน้าตลอดเวลา และท้ายที่สุดแล้วพระองค์ยอมสละแม้ชีวิตเพื่อชาติไทย เพื่อคนไทยทั้งชาติ

(หมายเหตุ : * องค์จันทร์ หรือคุณท้าวจันทร์ เป็นพระญาติข้างอยุธยา (หลานของพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชมารดาของพระนเรศวร) ที่ติดตามพระพี่นางสุพรรณกัลยาและพระนเรศวรไปอยู่ที่เมืองหงสาวดี คราวที่กรุงศรีอยุธยาเสียอิสรภาพให้แก่พม่า และต่อมาได้เป็นชายาของพระนเรศวร ณ กรุงหงสาวดีนั้นเอง)

-------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ข้อมูลทั้งหมดนี้ย่อจากหนังสือที่ระลึกเนื่องในพิธียกช่อฟ้าและฉลองวิหาร วัดน้ำฮู ฉบับพิมพ์วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๔)


Rank: 8Rank: 8

DSC09196.JPG



ศาลาพระครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดน้ำฮู



IMG_3757.jpg



ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานภายในศาลาพระครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดน้ำฮู


DSC09372.JPG



รูปภาพและรูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย) ประดิษฐานภายในศาลาพระครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดน้ำฮู



DSC09210.JPG



DSC09209.JPG



DSC09375.JPG



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย) ประดิษฐานภายในศาลาพระครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดน้ำฮู


DSC09380.JPG



คำไหว้พระครูบาเจ้าศรีวิชัย

(ว่านะโม ๓ จบ) อะยังวุจจะติ สิริวิชะยะจะนะ จะ มหาเถโร อุตตะมัง สีลัง นะระเทเวหิ ปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภา ภะวันตุเม อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ สิระสา อะหัง วันทามิ สัพพะโส สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิฯ



DSC09211.JPG



DSC09374.JPG



รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ประดิษฐานภายในศาลาพระครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดน้ำฮู


Rank: 8Rank: 8

DSC09193.JPG



DSC09232.JPG



DSC09215.JPG



DSC09217.JPG



ศาลากลางน้ำ วัดน้ำฮู


DSC09231.JPG



ประวัติศาลากลางน้ำ วัดน้ำฮู


ศาลากลางน้ำ วัดน้ำฮู หลังนี้สร้างขึ้นแทนศาลาไม้หลังเดิม เพื่อประดิษฐานพระบรมรูป สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ พระวีรกษัตริย์ไทย และพระพี่นางสุพรรณกัลยา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยและทรงเสียสละเพื่อชาติไทย

งบประมาณในการก่อสร้างศาลาและหล่อพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ รวมเป็นเงิน ๑,๙๐๐,๐๐๐ บาท ได้จาก ศรัทธาคณะกฐินจากกรุงเทพมหานคร คุณแม่ของพลโทวิเชียร วิชัยวัฒนะ ศ.นพ.เกรียง-วิชาญา ตั้งสง่า และชาวเมืองปาย ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดย นายเกษม ไชยวงศ์ และนายพรรษพล ขันแก้ว สำนักงานศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติศาลากลางน้ำ)

Rank: 8Rank: 8

DSC09220.JPG



DSC09363.JPG



พระบรมรูปสมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระพี่นางสุพรรณกัลยา (เรียงจากซ้าย-ขวา) ประดิษฐานภายในศาลากลางน้ำ วัดน้ำฮู  


DSC09360.JPG



พระคาถาบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
(ตั้งนะโม ๓ จบ) โอม ปะระเม นะเรศวรมะหาราชา นะเรศสะจิตติ อิทธิ ฤทธา นุภาเวนะ นะเรศจิตติ สิทธิ สังโฆ นะโม พุทธ ปะฐะวี คงคา ภุมมะ เทวา ขะมา มิหัง (สวด ๓ จบ หรือ ๙ จบ)



DSC09359.JPG



พระคาถาบูชาสมเด็จพระเอกาทศรถ
(ตั้งนะโม ๓ จบ) โอม ปะระเม เอกาทะสะ รัสสัง มะหาราชานัง สัพพะ เทวา ภิปูชิตัง มะหาลาโภ นิรันตะรัง มะหาลาภัง โหตุ สัพพะทา (สวด ๓ จบ)


DSC09358.JPG



DSC09353.JPG



คาถาบูชาพระพี่นางสุพรรณกัลยา
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะ มะนุรักเข เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง (กราบ ๑ ครั้ง)


DSC09356.JPG



DSC09365.JPG



พระฉายาสาทิสลักษณ์พระสุพรรณกัลยา ประดิษฐานภายในศาลากลางน้ำ วัดน้ำฮู


Rank: 8Rank: 8

IMG_3751.jpg



ศาลาปฏิบัติธรรม วัดน้ำฮู



DSC09240.JPG



DSC09175.JPG



ศาลาการเปรียญ วัดน้ำฮู



Rank: 8Rank: 8

DSC09245.JPG



DSC09174.JPG



DSC09177.JPG



DSC09244.JPG



DSC09216.JPG



DSC09218.JPG



การเดินทางมาวัดน้ำฮู ขอจบการเดินทางด้วยภาพบรรยากาศภายในวัด สวัสดีค่ะ

---------------------


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • วัดน้ำฮู อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
        
เอกสารบรรยายสรุปอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับความอนุเคราะห์จาก ปลัดอำเภอจักรพันธ์ุ ทองอ่ำ (ปลัดอำเภอปาย พ.ศ.๒๕๔๗)                  
        • พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.      


**หมายเหตุ :


ท่านใดประสงค์จะนำรูปภาพหรือเนื้อหาบทความไปใช้ประโยชน์ที่อื่น สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากข้าพเจ้าก่อน


และได้โปรดกรุณาให้เครดิตอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มา : เว็บแดนนิพพาน และกรุณาอย่าลบหรือครอบตัดเครดิตแหล่งที่มาบนรูปภาพ “Photo by Dannipparn.com”


(ป.ล. หากว่ากระทู้บทความนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยในความผิดพลาดต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปไว้ ณ ที่นี้ด้วย และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-12-1 03:42 , Processed in 0.101967 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.