แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 15811|ตอบ: 36
go

วัดถ้ำตับเตา ม.๑๓ ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_0484.JPG



วัดถ้ำตับเตา

ม.๑๓ ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่  

[รอยพระพุทธหัตถ์ , พระเกศาธาตุ , พระธาตุเจดีย์]

---------------------


(กำลังแก้ไขข้อมูล : 10 มิถุนายน - 20 สิงหาคม 2567)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9797.2.jpg



การเดินทางไปวัดถ้ำตับเตา

ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๗ (เชียงใหม่-ฝาง) จนถึงระหว่างกิโลเมตรที่ ๑๒๐ และ ๑๒๑ แล้วแยกซ้ายเข้าถนนทางหลวงชนบท ชม.๓๐๐๑ กิโลเมตรที่ ๐ บริเวณด่านตรวจผาหงษ์ สภ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ และเดินทางต่อไปอีก ๒.๗ กิโลเมตร ถึงวัดถ้ำตับเตา


IMG_9799.1.jpg



ทางเข้า วัดถ้ำตับเตา

บริเวณด่านตรวจผาหงษ์ สภ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ หรือแยกเข้าสู่ถนนทางหลวงชนบท ชม.๓๐๐๑


IMG_9804.JPG



DSC00932.JPG



ป้ายวัดถ้ำตับเตา


IMG_9801.1.jpg



IMG_9819.JPG



IMG_9814.JPG



IMG_9829.JPG



IMG_9833.JPG



IMG_9840.JPG



IMG_9861.JPG



DSC00949.JPG



ทางเข้า วัดถ้ำตับเตา ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9866.JPG



ป้ายวัดถ้ำตับเตา (ทับเถ้า)


เวลาทำการวัดถ้ำตับเตา : ทุกวัน เปิดเวลา ๐๙.๐๐ น. ปิดเวลา ๑๗.๐๐ น.



IMG_9871.JPG



วัดถ้ำตับเตา (ทับเถ้า) ตั้งอยู่ในเขตบ้านถ้ำตับเตา หมู่ที่ ๑๓ ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่


เป็นศาสนสถานโบราณนานนับเวลาหลายร้อยปีมานานแล้ว บริเวณวัดมีเนื้อที่ดินประมาณ ๓๕ ไร่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒


อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ วิหารพระนอน ศาลาอเนกประสงค์ และกุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปพระเจ้าตนหลวง พระพุทธไสยาสน์ พระธาตุเจดีย์ รอยพระพุทธหัตถ์ และหอพระไตรปิฎก



DSC00963.JPG



ป้ายและซุ้มประตู วัดถ้ำตับเตา

วัดถ้ำตับเตาได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมให้ที่พักสงฆ์ช่วยงานด้านป่าไม้ และมีแนวทางการพัฒนาป่าไม้โดยการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์และชุมชน บ้านถ้ำตับเตา หมู่ที่ ๑๓ ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแดง เนื้อที่ ๓๕ ไร่ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ (เชียงใหม่)



IMG_9886.JPG



ป้ายวัดถ้ำตับเตา



IMG_9887.JPG


ซุ้มประตู วัดถ้ำตับเตา


IMG_9903.JPG



DSC00976.JPG



IMG_9896.JPG



IMG_0524.JPG



IMG_9956.JPG



IMG_9935.JPG



IMG_0098.JPG



IMG_0027.JPG



บรรยากาศภายใน วัดถ้ำตับเตา

ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาชนิด


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9955.JPG



ป้ายวัดถ้ำตับเตา หน้าเชิงเขาถ้ำตับเตา วัดถ้ำตับเตา



IMG_9953.1.jpg



ที่มาชื่อของวัดถ้ำตับเตา


ที่เรียกขานกันว่า วัดถ้ำตับเตา เป็นชื่อที่เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า ตับเต้า คือหมายถึง ดับขี้เถ้า ที่เกิดจากการเผาไหม้ของป่าด้วยไฟ ทั้งนี้เมื่อเรียกกันนานๆ ก็เพี้ยนไปเป็น ตับเตา


คนในภาคอื่นไม่ทราบความหมายเรียกขานว่า ถ้ำตับเต่า ซึ่งมีความหมายไปอีกอย่างหนึ่ง คือตับของสัตว์ชนิดหนึ่ง ตับเตา เพี้ยนมาจากคำในภาษาพูดของคนในภาคเหนือที่ว่า ดับเต้า คือดับขี้เถ้า


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : อินทร์ศวร แย้มแสง ผู้ค้นคว้าเรียบเรียง. ประวัติวัดถ้ำตับเตา, หน้า ๑.)



IMG_9945.JPG



ถ้ำตับเตา หรือ ถ้ำดับเถ้า


ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้กล่าวว่า ถ้ำตับเตาแห่งนี้เป็นสถานที่ที่พระอรหันต์สมัยครั้งพุทธกาล ๒ รูป มาละขันธ์นิพพาน คือ พระภัคคุ และ พระกิมพิละ


ซึ่งทั้ง ๒ พระองค์ เป็นสองในกษัตริย์ ๖ พระองค์ คือเจ้าศากยราชกุมารที่ออกบวชพร้อมกัน ๖ พระองค์ ได้แก่ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภัคคุ พระกิมพิละ พระภัททิยะ พระเทวทัต -ภิเนษกรมณ์)


แม้กระนั้น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก็เคยจำพรรษาพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกอยู่ที่ถ้ำตับเตา ๑ พรรษา และหลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ก็เคยภาวนาที่ถ้ำตับเตาแห่งนี้


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล...เกร็ดประวัติ และปกิณกธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๔ จากหนังสือ "รำลึกวันวาน" หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.dharma-gateway.com/mo ... mun-hist-06-04.htm. และธรรมะประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ : กลับเหนือเครือคร่าววัยธรรม ๔ ตอนที่ ๒๖๖. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :   http://www.dhammasavana.or.th/article.php?a=543. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙))



IMG_0290.1.JPG



ติดตามประวัติ พระภัคคุและพระกิมพิละ ได้ที่


http://www.dannipparn.com/thread-673-5-1.html



DSC01041.1.jpg



ประวัติวัดถ้ำตับเตา



ถ้ำตับเตา เป็นศาสนสถานโบราณนานนับเวลาหลายร้อยปีมานานแล้ว ตั้งอยู่ในเขตบ้านถ้ำตับเตา หมู่ที่ ๑๓ ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณวัดมีเนื้อที่ดินประมาณ ๓๕ ไร่ มี ลำธารน้ำใสสะอาดไหลผ่านกลางบริเวณวัด ไหลจากหนองน้ำเล็กๆ ที่เกิดจากตาน้ำผุห่างไปทางด้านหลังถ้ำ ประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ

ตาน้ำผุและสระน้ำเล็กๆ นี้เกี่ยวพันกับตำนานของวัดถ้ำตับเตา วัดนี้ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาถ้ำตับเตา และเป็นภูเขาลูกหนึ่งในเทือกเขาที่กั้นเขตอำเภอไชยปราการกับอำเภอเชียงดาวทางทิศใต้และเป็นเทือกเขาหลายลูกสลับซับซ้อนกันกั้นเขตแดนไทยกับพม่าทางทิศตะวันตก

วัดถ้ำตับเตาจะสร้างในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฏแน่ชัด เพียงแต่สันนิษฐานเอาตามหลักฐานที่เป็นสิ่งก่อสร้างในวัด คือพระพุทธรูปไสยาสน์องค์ใหญ่ ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า ๙ เมตร สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนพอกด้วยยางไม้รักปิดทองในแบบศิลปะอยุธยา


ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ท่านสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ คราวเมื่อพระองค์ยกกองทัพเพื่อจะเข้าตีพม่าและตีเมืองตองอู ประมาณปี พ.ศ.๒๑๓๕ และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกกองทัพหลวงไปทางเชียงดาวพักพลที่เมืองหาง ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองในราชอาณาจักรไทย

และทราบจากปลัดอำเภออาวุโสคุณปลายมาศ พิรดาภา ว่า มีผู้เฒ่าอายุมากท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ก่อนนี้ถ้ำนี้มีป้ายเขียนบอกไว้ว่า ณ ถ้ำนี้เคยเป็นที่ประทับพักกองทัพของสมเด็จพระเอกาทศรถ

ท่านเจ้าอาวาสวัดถ้ำตับเตาสันนิษฐานเช่นนี้ว่า ด้วยเหตุผลที่พระพุทธรูปไสยาสน์องค์นี้เก่าแก่โบราณ ซึ่งคนโบราณแต่ละถิ่นแคว้นจะมีลักษณะศิลปะการก่อสร้างเป็นของตนเอง ถ้าสร้างโดยช่างฝีมือล้านนาไทย คงจะต้องมีลักษณะแบบล้านนา ถ้าสร้างแล้วก็คงมอบให้เจ้าเมืองฝางเป็นผู้อุปัฏฐากดูแลวัดแห่งนี้ และจะต้องเป็นวัดร้างมาหลายครั้งเพราะภัยสงคราม

จนกระทั่งมาถึงยุคสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้มีการบูรณะสร้างใหม่ขึ้นอีกครั้งในสมัยเจ้าหลวงมหาวงศ์ เจ้าหลวงเมืองฝางคนที่ ๒ ยุคฝางคนล่าสุดนี้ประมาณปี พ.ศ.๒๔๓๔-๒๔๓๕ เพราะมีปรากฏในตำนานโยนกเชียงแสน เมืองฝาง ไชยปราการฯ ของคุณสงวน โชติสุขรัตน์ กล่าวว่า


เจ้าหลวงมหาวงศ์ ได้เดินทางมารับหน้าที่และมาพักที่ถ้ำแห่งนี้ (คงจะต้องบูชาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในถ้ำด้วย) และต่อมาก็ได้สั่งให้มีการบูรณะศาสนสถาน คือสร้างวัดพระบาทอุดมและวัดถ้ำตับเตา ทั้งสองแห่งเป็นแห่งแรกหลังจากร้างไปนาน

ก่อนที่เจ้าหลวงมหาวงศ์จะสั่งให้บูรณปฎิสังขรณ์สร้างวัดถ้ำตับเตาขึ้น ได้มีฝรั่งชาวนอร์เวย์ ชื่อ มร.คาร์ลบ็อก มาสำรวจธรรมชาติในล้านนาไทยเข้ามาพักที่เมืองฝาง สมัยเจ้าหลวงสุริโยยศ เจ้าหลวงที่มาแผ้วถางก่อสร้างเมืองฝาง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๒๔-๒๔๓๔


เขาบันทึกถึงความสำคัญของสถานที่นี้ไว้ว่า ถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนามามากกว่าร้อยปีขึ้นไป มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระนอน ก่อด้วยอิฐโบกปูนทาด้วยยางไม้และปิดทอง ชำรุดทรุดโทรมมาก ยางไม้และทองหลุดร่อนลงเป็นแห่งๆ รอบๆ พระนอนองค์ใหญ่นี้มีพระสาวกนั่งมากมายประนมมือฟังคำสวด (คงหมายถึงคำสอนเทศนามากกว่า)

ตรงมุมสุดของโถงถ้ำ มีพระพุทธรูปนั่งองค์ขนาดย่อมๆ ปางประทานพร ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงสุดของถ้ำใกล้ๆ มีบันไดไม้โทรมๆ พาดเพื่อให้คนเดินขึ้นไปถ้ำเล็กชั้นบนได้ นอกนั้นมีพระหินแกะขนาดต่างๆ ที่มีพระธุดงค์และพวกพ่อค้าเดินทางนำมาจากเขตไทยใหญ่นำมาถวายที่ถ้ำแห่งนี้


ตามบริเวณพื้นถ้ำมีเศษจีวรเก่าๆ หมอน เสื่อเก่า คนโทน้ำ ธูปเทียน และอื่นๆ ที่มีผู้นำมาบูชาสักการะ ตรงทางเข้าปากถ้ำมีคนมาสร้างตกแต่งไว้อย่างหยาบๆ ดูเก่าและนานใช้อิฐและปูนขาวสร้างเป็นประตูทางเข้าถ้ำตรงเหนือประตูมีหินแกะเป็นรูปนกยูง

มร.คาร์ลบ็อก กล่าวว่า ก่อนๆ นี้ คงเป็นพวกชาวไทใหญ่มาสร้างเป็นศาสนสถาน เพราะการที่สลักรูปนกยูงนั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ชาวไทใหญ่และพม่าใช้ในพิธีสำคัญ เขาเล่าว่า คนเมืองฝางได้บอกว่าพวกชาวเงี้ยวนับถือถ้ำนี้มาก พวกพ่อค้ามาจากต่างแดนในเขตไทใหญ่มาค้าขายในล้านนาก็ดี พวกพ่อค้าชาวล้านนาไทยเดินทางไปค้าขายในเขตไทใหญ่ก็ดี ล้วนแต่ต้องเดินทางผ่านมาทางนี้ และจะเข้าแวะนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในถ้ำนี้

จากคำบอกเล่าของเขาทำให้เราทราบว่า วัดถ้ำตับเตาคงสร้างมานานเป็นร้อยๆ ปี และเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา และถือกันว่าเป็นสถานที่เจ้าเมืองที่เดินทางมาปกครองเมืองฝาง หรือเดินทางไปราชการยังเมืองเชียงใหม่ต้องเดินทางผ่านมาทางนี้ พักที่นี้ต้องสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในถ้ำเสมอ

บรรดาพระพุทธรูปทั้งใหญ่และเล็กในถ้ำตับเตาตามที่บรรยายมาแล้ว ยังมีพระพุทธรูปไม้แกะองค์สูงประมาณเมตรเศษอีกจำนวนมาก ที่สำคัญคือยังมีสถูปเจดีย์องค์ขนาดย่อมๆ มีลวดลายปูนสวยงามมาก แต่มีรอยถูกเจาะเอาปูนสมัยใหม่มาโบกปิดตรงรอยเจาะ สังเกตปูนที่มาปิดทับนั้นเก่าประมาณ ๓๐ ปีเศษ

สิ่งที่ขาดหายไปจากถ้ำตับเตา คือพระปางประทานพรที่มร.คาร์ลบ็อกกล่าวถึง หินแกะสลักรูปหนุมานและรูปนกยูง ตลอดจนหินจารึกด้วยอักษรโบราณที่ยังไม่มีใครอ่านออกได้เป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก ตลอดจนรูปปั้นพระสาวกรอบๆ องค์พระนอนก็ถูกทำลาย ที่เห็นเดี๋ยวนี้ก็ทราบจากเจ้าอาวาสว่าปั้นขึ้นใหม่แทนองค์เดิม วัดถ้ำตับเตาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒


IMG_0544.JPG



สิ่งสำคัญในถ้ำตับเตา

สิ่งสำคัญในถ้ำที่ยังคงเหลือจากมนุษย์ใจบาปที่ลักขโมยไป ได้แก่ พระไสยาสน์ พระเจ้าตนหลวง พระเจ้าทันใจ สถูปเจดีย์เก่าแก่สวยงาม พระพุทธรูปหินอ่อนขนาดกลางๆ ไม่กี่องค์ พระพุทธรูปไม้แกะขนาดเมตรเศษ

ในส่วนลึกของถ้ำมีเจดีย์องค์หนึ่ง ลึกเข้าไปในถ้ำมืดประมาณ ๕๐๐ เมตร เป็นเจดีย์เปียกชุ่มและนิ่ม ผู้เข้าไปสักการะมักเอาเหรียญเงินแถบ (รูปี) เหรียญบาทสตางค์แดง เหรียญโบราณต่างๆ ติดองค์เจดีย์มีแอ่งน้ำตื้นๆ ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ชำระบาปได้


DSC01026.JPG



ลักษณะของถ้ำตับเตา

วัดถ้ำตับเตา แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้

๑. ถ้ำแจ้ง เป็นห้องโถงถ้ำกว้างใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ พระเจ้าตนหลวง สถูปเจดีย์ และพระพุทธรูปไม้แกะสลัก พระหินแกะ พระพุทธรูปองค์เล็กองค์น้อย มีโพรงที่ลอดไปยังถ้ำขนาดเล็กที่เรียกว่า ถ้ำเสบียง ซึ่งอยู่ติดไปทางทิศตะวันออกติดกัน
        
๒. ถ้ำมืด อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตก มีลานหินแคบๆ เป็นทางเดินจากหน้าถ้ำแจ้งไปยังถ้ำมืดได้ ถ้ำมืดนี้มีลักษณะเป็นโพรงชอนลึกเข้าไปในภูเขา ภายในมีหินงอกหินย้อยสองข้างทางเหมือนฉากท้องพระโรงงดงามมาก มีความลึกเข้าไปประมาณ ๕๐๐ เมตร


ก้นถ้ำมีเจดีย์เปียกดังกล่าวมานานแล้ว ถ้ำมืดนั้นสมัยก่อนต้องอาศัยคบเพลิงหรือตะเกียงเจ้าพายุส่องให้แสงสว่าง เพราะไม่มีแสงอาทิตย์ส่องถึง ปัจจุบันทางวัดได้เดินสายไฟโยงไปตามที่ต่างๆ ในถ้ำแล้ว (ติดต่อขอเข้าชมถ้ำมืด ทำบุญค่าเปิดไฟฟ้า ๑๐๐ บาท ต่อคณะ)


IMG_2559.JPG



รายนามลำดับเจ้าอาวาสวัดถ้ำตับเตา

วัดถ้ำตับเตาได้มีเจ้าอาวาสปกครองดูแลพัฒนาปรับปรุงต่อเนื่องกันมาหลายรูป เท่าที่ทราบชัดเจนในยุคหลังดังนี้

๑. หลวงพ่อประภา พ.ศ.๒๔๕๐

ท่านมีเชื้อเจ้าลาว เรียกว่า สมเด็จประภา ขณะที่ท่านมาอยู่เป็นเจ้าอาวาสนั้น มีลูกศิษย์ตามมาด้วยรูปหนึ่งเป็นภิกขุ ชื่อ แก้ว ซึ่งได้เป็นกำลังช่วยเหลือในการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างพระตนหลวง ซึ่งมีศิลปะแบบล้านนา

ต่อมาพระลูกศิษย์รูปนี้คือ หลวงปู่แก้ว สุทโธ ต่อมาท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดพระธาตุดอยโมคคัลลานะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ (ติดตามประวัติวัดพระธาตุดอยโมคคัลลานะ ได้ที่ http://www.dannipparn.com/thread-873-1-2.html)

๒. พระครูวรเวทย์วิสิฐ (ครูบาธรรมชัย ธมฺมชโย) พ.ศ.๒๔๙๒

ท่านได้สร้างวิหารพระนอนในถ้ำ ตลอดจนพัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งปลูกสร้างวัตถุต่างๆ เช่น รูปปั้นพระสาวกล้อมรอบพระพุทธไสยาสน์หลายสิบองค์ สร้างที่พักสงฆ์ สร้างศาลา สร้างสถานที่พักสำหรับประชาชน พัฒนาซ่อมแซมถนนเข้าสู่ถ้ำระยะทาง ๔ กิโลเมตร เป็นระยะเวลา ๕ ปี สิ้นเงินไปถึง ๑๔๓,๙๐๐ บาท ต่อมาท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

๓. พระครูมงคลรัตน์ (ครูบาสิทธิ อภิวัณโณ) พ.ศ.๒๔๙๗

ท่านมาอยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำตับเตาไม่นานนัก ต่อมาท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดปางต้นเดื่อ (ดอยลาง) อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

๔. พระครูโสภณเจติยาราม (เจ้าคณะอำเภอฝางในขณะนั้น) พ.ศ.๒๕๐๐

ท่านเป็นเจ้าอาวาสเพื่อดำเนินการบูรณะวัดถ้ำตับเตาแห่งนี้ โดยสร้างบันไดขึ้นถ้ำจากพื้นราบขึ้นไป เพราะเดิมไม่มีบันได ใครจะเข้าถ้ำต้องปีนเขาขึ้นไป

๕. พระครูวิทิตธรรมรส (อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบาทอุดม) เป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำตับเตา พ.ศ.๒๕๑๒

ท่านได้สร้างกุฏิสงฆ์ในบริเวณด้านหน้าวัด

๖. พระครูประดิษฐ์พรหมคุณ (หลวงปู่บุญเย็น ฐานธมฺโม) (อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าไม้แดง (พระเจ้าพรหมมหาราช))

ท่านเป็นเจ้าอาวาสได้สร้างกำแพงด้านหน้าวัดและสร้างซุ้มประตู

๗. พระอาจารย์บุญช่วย ฐิตสาโร พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๔๐

ท่านเป็นเจ้าอาวาสได้สร้างบันไดขึ้นถ้ำใหม่แทนบันไดเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม และทำการบูรณะในถ้ำด้วยการเทปูนปูพื้นที่ด้วยกระเบื้อง สร้างศาลาอเนกประสงค์และเสนาสนะสงฆ์อื่นๆ

๘. พระอาจารย์ศิลปะชัย ญาณโว พ.ศ.๒๕๔๑-ปัจจุบัน

ท่านเป็นเจ้าอาวาสได้เริ่มทำการสร้างบูรณะกุฏิสงฆ์ด้านฝั่งตะวันออกของลำธารและด้านหลังถ้ำ พัฒนาสถานที่ให้น่าดูและสวยงาม

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : อินทร์ศวร  แย้มแสง ผู้ค้นคว้าเรียบเรียง. ประวัติวัดถ้ำตับเตา, หน้า ๑-๘.)


DSC01753.JPG


ภาพวาดพระครูประดิษฐ์พรหมคุณ (หลวงปู่บุญเย็น ฐานธมฺโม) (อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าไม้แดง (พระเจ้าพรหมมหาราช)) อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำตับเตา

พระภิกษุสงฆ์ผู้ที่ถือกำเนิดมาเพื่อพัฒนาสร้างสรรค์คุณประโยชน์อย่างมากมายต่อมวลมนุษย์โดยยึดถือคติธรรมที่ว่า  “เมตตาค้ำจุนโลก”



IMG_0533.JPG


ภาพถ่ายพระอาจารย์บุญช่วย ฐิตสาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำตับเตา (พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๔๐)


IMG_0540.1.jpg



ภาพถ่ายพระอาจารย์บุญช่วย ฐิตสาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำตับเตา (พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๔๐)

ถวายภาพโดย ร.ต.ต.นเรศ ฉุยฉาย พร้อมครอบครัว



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9910.JPG



IMG_9906.JPG



DSC00984.JPG



IMG_9920.JPG



IMG_9913.JPG



DSC00982.JPG



IMG_9911.JPG



อุโบสถ วัดถ้ำตับเตา


พระอุโบสถหลังนี้สร้างโดย พระบุญช่วย ฐิตสาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำตับเตา และคณะศรัทธา คุณพาณี ยุทธวงค์-ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ คุณนพภา ชอบชื่นชม และคณะชมรมเตาปูน เป็นผู้ริเริ่มและอุปถัมภ์ในการก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๖



IMG_9917.JPG



ภายในอุโบสถ วัดถ้ำตับเตา



DSC00990.JPG



DSC00989.JPG



พระประธานและพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในอุโบสถ วัดถ้ำตับเตา



IMG_9939.JPG



ซุ้มพระพุทธรูป วัดถ้ำตับเตา



IMG_9926.JPG



IMG_9923.JPG



พระพุทธรูปปางประทานพร วัดถ้ำตับเตา



IMG_9944.JPG



IMG_9943.JPG



DSC00995.JPG



รูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม วัดถ้ำตับเตา



IMG_9996.JPG



IMG_9994.JPG



IMG_0025.JPG



IMG_0032.JPG



IMG_9998.JPG



IMG_9992.JPG



IMG_0028.JPG



หอพระไตรปิฎก วัดถ้ำตับเตา

สร้างอยู่กลางน้ำ หน้าเชิงเขาถ้ำตับเตา


IMG_9918.JPG



ศาลาพักร้อน หน้าเชิงเขาถ้ำตับเตา วัดถ้ำตับเตา



IMG_0513.JPG



DSC01289.JPG



IMG_0012.JPG



สระน้ำ หน้าเชิงเขาถ้ำตับเตา วัดถ้ำตับเตา


คำเตือน!  ห้ามปล่อยสัตว์น้ำทุกชนิด...


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9941.JPG



DSC01293.JPG



IMG_9986.JPG



พระพุทธรูปปางประทานพร ประดิษฐานบริเวณหน้าบันไดทางขึ้นถ้ำ วัดถ้ำตับเตา


ศรัทธาสร้างถวายโดย คุณแม่ทองพูน พรรณรุกข์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒



IMG_0516.JPG



IMG_0009.JPG



ศาลาพระประจำวัน วัดถ้ำตับเตา



IMG_0014.JPG



IMG_0514.JPG



ขอเชิญร่วมตักบาตรพระประจำวัน วัดถ้ำตับเตา



IMG_0015.JPG



พระพุทธรูปปางประทานพร ประดิษฐานภายในศาลาพระประจำวัน วัดถ้ำตับเตา



IMG_9979.JPG



DSC01291.JPG



IMG_0029.JPG



DSC01287.JPG



อนุสาวรีย์แห่งความดี วัดถ้ำตับเตา

ใต้ฐานพระพุทธรูปปางประทานพรและรูปปั้นปริศนาธรรม ได้จารึกรายชื่อของพระสงฆ์ที่จำพรรษา ณ วัดถ้ำตับเตา ทุกรูป และรายนามผู้ร่วมทำบุญ ณ วัดถ้ำตับเตา


IMG_9974.JPG



ความหมายของพระพุทธรูปและรูปปั้นปริศนาธรรม


เรียงลำดับจากด้านบนลงล่าง ดังนี้

๑. พระพุทธเจ้า หรือ พุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้หมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลส ตัณหา และจะไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกแล้ว นั่นคือ การเข้าสู่ห้วงแห่งพระนิพพานนั่นเอง

๒. โลงศพ หมายถึง สัญลักษณ์แทนความตาย

๓. โลก หมายถึง สัตว์ประเสริฐ และสัตว์เดรัจฉาน ผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่บนโลกใบนี้


IMG_0031.JPG



ความหมายรวมของพระพุทธรูปและรูปปั้นปริศนาธรรม


๑. พระพุทธเจ้านั่งอยู่บนโลงศพ


นั่นหมายความว่า ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงพระนิพพานอันอมตะแล้วย่อมอยู่เหนือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ดังคำกล่าวที่ว่า ความตายอยู่เหนือโลก แต่พุทธะผู้รู้ละย่อมอยู่เหนือโลกและความตาย


๒. โลงศพตั้งอยู่บนโลก


หมายถึง สรรพสัตว์ทั้งโลกทั้งมวล ล้วนต้องตายและอยู่ใต้ความตายทั้งสิ้น ไม่มีใครจะหลีกหนีความตายได้พ้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีมากหรือน้อยด้วยลาภ ยศ สุข สรรเสริญก็ตาม


IMG_9962.JPG



IMG_9964.JPG



IMG_9969.JPG



รูปปั้นยักษ์กุมภัณฑ์ ๒ ตน ประดับหน้าบันไดทางขึ้นอนุสาวรีย์แห่งความดี วัดถ้ำตับเตา


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0523.JPG



DSC00997.JPG



IMG_0518.JPG



IMG_0527.JPG



IMG_0528.JPG



ร้านธูปเทียนทอง วัดถ้ำตับเตา  


พุทธศาสนิกชนสามารถร่วมทำบุญบูชาดอกไม้ ธูป เทียน บูชาเทียนสืบชะตา เทียนวันเกิด กำไรข้อมือ ซื้ออาหารปลา และท่านใดประสงค์จะเข้าชมถ้ำมืด ติดต่อเปิดไฟฟ้าเข้าชมถ้ำมืดได้ที่นี่ (ทำบุญค่าไฟเข้าถ้ำมืด ๑๐๐ บาท ต่อคณะ)



DSC00968.JPG



ติดต่อธุระ-นิมนต์พระ ขอไฟเข้าถ้ำ วัดถ้ำตับเตา ได้ที่นี่



DSC01292.JPG



IMG_9988.JPG



IMG_0022.JPG



บันไดทางขึ้นถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา

มีบันไดประมาณ ๕๐ ขั้น


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01091.JPG


DSC01044.JPG


IMG_0121.JPG



ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


ป้ายคำเตือนจากทางวัด  ห้ามขีดเขียนทำลายสถานที่วัตถุโบราณแลตามในรูถ้ำ



DSC01035.JPG



ซุ้มประตูทางเข้า/ออก ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ



DSC01033.JPG



IMG_0102.JPG



DSC01032.JPG



หอเทพารักษ์ บริเวณด้านหน้า ซุ้มประตูทางเข้า/ออก ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ



IMG_0247.JPG



IMG_0104.JPG



รูปปั้นกุมภัณฑ์  บริเวณด้านหน้า ซุ้มประตูทางเข้า/ออก ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


ตำนานยักษ์กุมภัณฑ์ ผู้รักษาวัดถ้ำตับเตา


(แหล่งที่มา : หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูปิยธรรมภาณี (ศรีมูล ปิยธัมโม) คณะศิษยานุศิษย์ วัดพระธาตุจอมแตง รวบรวม ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐.)


ถ้ำตับเตา ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้มีพุทธดำริว่า เราตถาคตจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงถาวรจนถึง ๕,๐๐๐ วัสสา โดยถือเอาดินแดนปัจจันตประเทศแห่งดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อไปภายหน้าจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง พระพุทธองค์จะต้องเสด็จไปยังดินแดนดังกล่าว เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าพร้อมเหล่าสาวกติดตามพระองค์เข้าสู่นิคมน้อยใหญ่ตามลำดับ จนถึงแคว้นกุมภะมิตรนคร (ลำปาง) พระองค์ได้พบยักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า โสกยักษ์ เป็นยักษ์ที่มีความเกเร ชอบเที่ยวกินเนื้อมนุษย์อาหาร พระองค์ได้แสดงธรรมโปรดยักษ์ตนนั้นจนซาบซึ้งในพระธรรม เมื่อยักษ์ตนนั้นได้ฟังธรรมเทศนาแล้ว จิตใจก็เข้าถึงบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ มีความสะดุ้งเกรงกลัวต่อบาป และได้สละสิ้นทุกอย่างได้ไปถือศีลในถ้ำแห่งหนึ่ง สันนิษฐานว่าเป็นถ้ำตับเตาในปัจจุบันจนถึงกาลดับไป


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0243.JPG



IMG_0120.JPG



IMG_0186.JPG



บันไดนาคทางลงสู่ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ



DSC01039.JPG



IMG_0111.JPG



DSC01070.JPG



IMG_0113.JPG



IMG_0238.JPG



พระพุทธรูปประธาน (พระเจ้าตนหลวง) เป็นพระพุทธรูปก่อถือปูนขนาดใหญ่มาก หน้าตักกว้าง  ๙ วา ๒ ศอก สูง ๑๓ วา ๒ ศอก ประดิษฐานอยู่บนแท่นภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา สร้างโดยหลวงพ่อประภา อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกวัดถ้ำตับเตา พ.ศ.๒๔๕๐ ต่อมา พ.ศ.๒๔๙๒ หลวงพ่อครูบาธรรมชัย ได้บูรณะองค์พระประธานในถ้ำที่ยังสร้างไม่เสร็จให้แล้วเสร็จเป็นองค์พระประธานสมบูรณ์ค่ะ


IMG_0112.JPG



IMG_0225.JPG



คำไหว้พระเจ้าตนหลวง วัดถ้ำตับเตา

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)   
        ศิ ละ พิม พัง สุรุ ปัจจะโย เว พุท ธัง นะมะ สันโต อะหัง วันทามิ สัพพะทา



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01068.JPG



IMG_0192.JPG



สถูปเจดีย์  ประดิษฐานด้านหน้า พระพุทธรูปประธาน (พระเจ้าตนหลวง) ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


IMG_0211.JPG



IMG_0202.JPG



พระเจ้าทันใจ ประดิษฐานด้านหน้า พระพุทธรูปประธาน (พระเจ้าตนหลวง) ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


IMG_0210.JPG


IMG_0204.JPG



IMG_0201.JPG



IMG_0194.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานด้านหน้า พระพุทธรูปประธาน (พระเจ้าตนหลวง) ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


IMG_0207.JPG


รูปเหมือนพระภิกษุ ประดิษฐานด้านหน้า พระพุทธรูปประธาน (พระเจ้าตนหลวง) ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-1 21:53 , Processed in 0.053914 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.