แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 30776|ตอบ: 54
go

วัดเจดีย์หลวง (โชติอาราม) อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุส่วนคางเบื้องซ้าย) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_0761.JPG



วัดเจดีย์หลวง (โชติอาราม)

ถ.ปกเกล้า  ต.พระสิงห์  อ.เมือง  จ.เชียงใหม่  

[พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุส่วนคางเบื้องซ้าย]


ตำนานพระเจ้าเลียบโลก กล่าวว่า...หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปวัดนันทาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แล้ว ลัวะผู้หนึ่งอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไปเมตตาที่บ้านของเขา พระพุทธเจ้าก็เสด็จจากที่นั้นไปถึงบ้านของลัวะ ประทับเหนือแท่นอาสนะท่ามกลางบ้านแห่งนั้น ลัวะผู้นั้นยังมีนักบวชม่านรูปหนึ่ง มีอายุได้ ๑๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมา ก็บังเกิดปสาทยินดีมากกล่าวว่า “ตั้งแต่เราเกิดมา อายุถึง ๑๒๐ ปี และได้บวชนอกศาสนา หาประโยชน์สิ่งใดมิได้ บัดนี้ได้มาพบเห็นพระพุทธเจ้าตอนชราเช่นนี้ ดียิ่งนัก” แล้วก็แก้ผ้าสไบชุบน้ำมันจุดบูชาพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์จึงพยากรณ์ว่า
“เมื่อตถาคตมาถึงที่นี้ เขาทั้งหลายมาปักฉัตรและธงถวายบูชา ชีม่านก็จุดผ้าสไบนี้บูชาเป็นอันรุ่งโรจน์โชตนาการยิ่ง ต่อไปภายภาคหน้า คนทั้งหลายจะมาสร้างวัดที่นี้ เป็นอารามใหญ่แห่งหนึ่ง จะปรากฏนามว่า “โชติอาราม” (วัดเจดีย์หลวงปัจจุบัน) พระเจ้าอโศกราชและพระอรหันต์ทั้งหลาย ก็ทูลขอพระเกศาธาตุเอาบรรจุลงในก้นหลุม เอาสมบัติข้างขอถมใส่เป็นจำนวนมาก พระอินทร์ทรงเนรมิตยนตร์จักรผันป้องกันไว้ แล้วก็กลบก่อเจดีย์ครอบสูง ๓ ศอก (บางฉบับว่า ๓๐๐ ศอก) พระพุทธองค์ทรงสั่งพระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชไว้ว่า “เมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้ว ท่านทั้งหลายจงเอาธาตุอุ้งมือข้างขวาของตถาคต มาไว้นี้เถิด”



Rank: 8Rank: 8

Picture-291.jpg


DSC09829.jpg




ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า และป้ายชื่อ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


วัดเจดีย์หลวง หรือ “ วัดโชติการาม ” หรือ “ ราชกูฏา ” หรือ “ กุฏาราม ” ก็เรียก เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ เลขที่ ๑๐๓ ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๓๒ ไร่ ๑ งาน ๒๗ ตารางวา ทางกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๓ และประกาศกำหนดขอบเขตเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๓


DSC09831.jpg



IMG_1105.JPG



ประวัติวัดเจดีย์หลวง


วัดเจดีย์หลวง เป็นพระอารามหลวงแบบโบราณที่แบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆวาสไว้เป็นสัดส่วน คือ มีเขตพุทธาวาส ๑ แห่ง และสังฆวาส ๔ แห่ง  คือ เขตพุทธาวาส ตั้งอยู่กึ่งกลางสังฆวาสทั้ง ๔ แห่ง ที่อยู่โดยรอบทั้ง ๔ ทิศ

เขตพุทธาวาส นี้มีศาสนสถานที่สำคัญคือ พระบรมธาตุเจดีย์หลวง พระวิหารหลวง พระพุทธไสยาสน์ และพระเจดีย์เล็กอีก ๒ องค์ แต่เดิมนั้นเขตพุทธาวาสมีกำแพงล้อมรอบเป็นเอกเทศ ต่อมาได้มีการรื้อกำแพงออกในราว พ.ศ.๒๔๘๐–๒๔๘๑

เขตสังฆาวาส มี ๔ แห่ง ได้แก่
๑. สังฆาวาสวัดสุขมิ้น (สุขุมินท์ ก็เรียก) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเมตตาศึกษา
๒. สังฆาวาสสบฝาง (ป่าฝาง ก็เรียก) ตั้งทางทิศตะวันตกขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ ปัจจุบันเป็นศาลาปฏิบัติธรรม
๓. สังฆาวาสหอธรรม ตั้งทางทิศเหนือขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ ปัจจุบันคือคณะหอธรรมของวัดเจดีย์หลวง
๔. สังฆาวาสพันเตา คือวัดพันเตาในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระบรมธาตุเจดีย์


Rank: 8Rank: 8

Picture-488.jpg



DSC09811.jpg



พระอุโบสถ/พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง (ปลายปี ๒๕๔๘ ขณะบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เพื่อฉลองอายุครบ ๙๐ ปี ของพระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) และเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ด้วยงบประมาณ ๕๐ ล้านบาท) ค่ะ


DSC09816.jpg



ประวัติพระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง

ปัจจุบันพระวิหารหลวงเป็นพระอุโบสถด้วย ตั้งอยู่ห่างพระบรมธาตุเจดีย์หลวงประมาณ ๑๕.๘๔ เมตร วิหารหลวงนี้หลังแรกซึ่งสร้างโดยพระนางติโลกจุฑา พระราชมารดาของพระเจ้าสามฝั่งแกน เมื่อปีพ.ศ.๑๙๕๔ พร้อมทั้งได้หล่อพระอัฏฐารสพุทธปฏิมาประธาน และพระอัครสาวกโมคคัลลานะ สารีบุตร ไว้ในวิหาร

ต่อมาในปีพ.ศ.๒๐๑๗ พระเจ้าติโลกราชให้รื้อวิหารหลังเก่าแล้วสร้างวิหารหลังใหม่ มีขนาดกว้าง ๙ วา ยาว ๑๙ วา ขึ้นมาแทน ในปีพ.ศ.๒๐๕๘ พระเมืองแก้วได้รื้อวิหารหลังเก่าแล้วสร้างขึ้นใหม่ในที่เก่าอีก ครั้นถึงสมัยพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ ไฟได้ไหม้วิหารเสียหาย จึงต้องรื้อแล้วสร้างใหม่ทับที่เดิมอีกครั้ง

ต่อมาในยุคเจ้าหลวงอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ราชวงศ์ทิพจักร ได้รื้อวิหารหลังเดิม แล้วสร้างวิหารหลังใหม่ขึ้นที่เดิมอีก ซึ่งวิหารเดิมในยุคก่อนๆ นั้นคงทำด้วยไม้ จึงมีการสร้างและรื้อถอนกันบ่อยๆ ส่วนวิหารหลังปัจจุบันได้รับการสร้างขึ้นใหม่ในยุคเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ โดยสร้างขึ้นหลังปีพ.ศ.๒๔๗๑ ซึ่งเป็นปีที่มีการอาราธนาเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) มาพัฒนาวัดเจดีย์หลวง


ในปีถัดมา (พ.ศ.๒๔๗๒) จึงทำการสร้างวิหารหลังใหม่ในที่เก่าซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเดิม คือความกว้าง ๑๗.๗๐ เมตร ยาว ๕๐.๘๐ เมตร นับว่าวิหารหลังนี้เป็นการสร้างครั้งที่ ๖ โดยไม่ให้มีหลังคาที่มุขตรงบันไดทางขึ้นวิหารด้านเหนือและใต้เหมือนของหลังเก่ามีระเบียงหลังพระวิหารแต่ไม่มีหลังคา มุขหน้าหลังคาลดหลั่นเป็น ๔ ชั้น ผืนหลังคาซ้อน ๓ ตับ มุขหลังคาลดลหั่นเป็น ๒ ชั้น ผืนหลังคาซ้อน ๓ ตับ หน้าบันเป็นรูปช้างเอราวัณสามเศียร กล่าวได้ว่าเป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบรัตนโกสินทร์หรือแบบไทยภาคกลางหลังแรก ที่มีในนครเชียงใหม่และล้านนา ถือว่าเป็นของแปลกในยุคนั้น

ตั้งแต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๖ เป็นต้นมา พระวิหารหลวงจึงเป็นทั้งพระวิหารและพระอุโบสถในหลังเดียวกัน และได้เลิกใช้อุโบสถหลังเก่าที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระธาตุเจดีย์หลวงประกอบสังฆกรรมตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ เพราะคับแคบ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ จึงได้ทำการผูกพีนธสีมาฝังลูกนิมิตโดยกันเขตร่วมในพระวิหาร ๓ ห้อง คือห้องที่ ๖,๗, ๘ (นับจากประตูใหญ่ด้านพระวิหาร) เป็นพระอุโบสถ

ในการบูรณะครั้งนี้ถือเป็นการสร้างครั้งที่ ๗ เริ่มแรกเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ต้องใช้เวลาถึง ๑๐ ปี โครงสร้างส่วนสำคัญๆ จึงแล้วเสร็จทันทำบุญฉลองสมโภชในวันที่ ๒๘-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒) โดยที่การตกแต่งภายในและจิตรกรรมฝาผนังยังไม่แล้วเสร็จ ในการบูรณะใหม่ครั้งนี้ เป็นศิลปสถาปัยกรรมล้านนา ที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๓


DSC09701.jpg


IMG_0623.JPG



บันไดนาคทางขึ้น/ลง ด้านหน้า พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


ประวัติพญานาค คู่ชูเศียรเหนือราวบันไดขึ้นพระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง

กล่าวกันว่า เป็นพญานาคที่สวยที่สุดคู่หนึ่งในภาคเหนือ สร้างได้สัดส่วนสวยงามให้มีสีสีนลวดลายปูนปั้นเกล็ดนาค ฝีมือประณีตงดงามมาก นาคคู่ราวบันไดพระวิหารหลวงนี้ได้รับการสร้างพร้อมกับการสร้างพระวิหารหลังแรก (พ.ศ.๑๙๕๔) แต่รื้อ/สร้างหรือบูรณะใหม่ตามการรื้อ/สร้างหรือบูรณะใหม่พระวิหารหลายครั้ง

๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ เวลา ๐๘.๓๐ น. เกิดอุบัติเหตุนั่งร้านเหล็กล้มใส่เศียรพญานาคทั้งคู่ ทำให้ตัวด้านเหนือเศียรขาด ตัวด้านใต้หงอนขาด (๓ พ.ย. ๒๕๕๑ ประชุมตกลงรูปแบบการบูรณะ ๑๙ พ.ย. ๒๕๕๑ ทำพิธีสูตรถอนแบบพื้นเมือง เพื่อทำการบูรณะ) พระครูปัญญา แห่งวัดแสนฝาง เมืองเชียงใหม่ เป็นผู้สร้างพญานาค สร้างในยุคเดียวกันพญานาควัดแสนฝาง อำเภอเมือง, วัดป่าแง อำเภอแม่ริม, วัดหัวริน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ พระครูปัญญามีชีวิตร่วมสมัยรัชกาลที่ ๔ ราชวงศ์จักรี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ สวรรคต พ.ศ.๒๕๑๑)

พระวิหารหลวงหลังที่พระครูปัญญาสร้างพญานาค เป็นวิหารหลังเก่าที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์รื้อออก แล้วทรงสร้างพระวิหารหลังใหม่ศิลปะแบบล้านนาแทนเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๓ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑ พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ให้รื้อพระวิหารหลวงที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์สร้างนั้นเสีย

ปีพ.ศ.๒๔๗๒ จึงสร้างพระวิหารหลวงหลังใหม่ศิลปสถาปัตยกรรมแบบภาคกลางกรุงเทพฯ พอปีพ.ศ.๒๕๔๘ ทางวัดจึงรื้อพระวิหารแบบภาคกลางออก (ฐาน/ผนังคงไว้) แล้วสร้างหรือบูรณะพระวิหารตามแบบสถาปัตยกรรมล้านนาที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ทรงสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๓ ขึ้นอีกครั้ง...พระวิหารหลังเก่า (นำแบบมาสร้างใหม่) พญานาคคู่เก่า (บูรณะใหม่ให้เหมือนเก่า) ย้อนยุคมาบรรจบกันอีกครั้ง


Rank: 8Rank: 8

Picture-489.jpg


IMG_0249.JPG



IMG_0254.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานด้านหน้า พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


DSC08726.jpg



DSC08731.jpg



เดี๋ยวเราเข้าไปกราบพระประธานและกราบศพพระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) อดีตเจ้าอาวาส ภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง กันเลยนะคะ


Rank: 8Rank: 8

IMG_0560.JPG

IMG_0493.JPG



ภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   


IMG_0365.JPG



IMG_0567.JPG


IMG_0369.JPG



พระอัฏฐารส (พระประธาน) และพระอัครสาวก ประดิษฐานภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   


IMG_0460.JPG


ประวัติพระอัฏฐารส (พระประธาน) พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง

ในโคลงนิราศหริภุญชัย ได้กล่าวถึง พระอัฏฐารส ว่าเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่หล่อด้วยทองสำริดปิดทองคำเปลว ปางห้ามญาติ สูง ๑๖ ศอก (๒๓ ซม.) หรือ ๘.๒๓ เมตร พร้อมทั้งพระอัครสาวกทั้ง ๒ องค์ คือ พระอัครสาวกซ้ายคือ พระโมคคัลลานะ สูง ๔.๔๓ เมตร และพระอัครสาวกขวาคือ พระสารีบุตร สูง ๔.๑๙ เมตร หล่อโดยพระนางติโลกจุฑา พระมเหสีของพระเจ้าแสนเมืองมารัชกาลที่ ๗ ราชวงศ์มังราย เมื่อพ.ศ.๑๙๕๕

นอกจากทำการหล่อพระอัฏฐารส/พระอัครสาวกทั้งสององค์แล้ว ยังได้หล่อพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวนมาก ประดิษฐานรายล้อมพระอัฏฐารสอยู่ด้านหน้าและผินพระพักตร์สู่ทิศต่างๆ การหล่อพระพุทธรูปขนาดต่างๆ อีกจำนวนมากเมื่อปีพ.ศ.๑๙๕๔ ในครั้งนั้นต้องใช้เบ้าเตาหลอมทองจำนวนมากเป็นพันเตาพันเบ้า ต่อมาสถานที่ตั้งเตาหลอมทองหล่อพระพุทธรูปได้สร้างเป็นวัดและเรียกชื่อว่า วัดพันเตา

"เมื่อครั้งหล่อพระพุทธรูปอัฏฐารสนั้น พระเถระชื่อว่า นราจาริยะ ผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดโชติการาม (วัดเจดีย์หลวง) ใคร่ลองบุญญาภินิหารของท่าน กระทำสัตยาธิษฐานแล้วอุ้มเบ้าทองอันร้อนด้วยมือยกขึ้นตั้งเหนือศีรษะนำไปหล่อ เบ้านั้นก็ไม่ทำให้ร้อนไหม้ คนทั้งหลายเห็นแปลกดังนั้น ก็เกิดอัศจรรย์พากันสาธุการเอิกเกริกทั่วทั้งเวียง"

ความจริงแล้วพระอัฏฐารสไม่ได้แปลว่าพระสูง ๑๘ ศอก พระอัฏฐารสแปลว่า พระสิบแปด ไม่มีคำว่าศอกแต่อย่างใด ความหมายที่แท้จริงท่านหมายถึงพุทธธรรม ๑๘ ประการ อันเป็นพระคุณสมบัติเฉพาะพระพุทธองค์ ไม่ได้หมายความว่าพระพุทธรูปสูง ๑๘ ศอกดังที่เข้าใจกัน องค์พระพุทธรูปปฏิมาอัฏฐารสอาจจะสูงตำกว่านั้นหรือจะสูง ๑๘ ศอกก็ย่อมได้ ที่ตั้งชื่อพระพุทธรูปเช่นนั้นก็เพื่อเป็นอุบายธรรมสื่อนำไปสู่ความเข้าใจในพุทธคุณอันประเสริฐของพระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นศาสดาของมนุษย์และเทพเจ้าทั้งหลาย

ดังพระบาลีในอาฏานาฏิยปริตรว่า : "อุเปตาพุทธธัมเมหิ อัฏฐารสหิ นายกา พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เป็นนายกคือผู้นำ ทรงประกอบด้วยพุทธธรรม ๑๘ ประการ" คือ

๑.  พระพุทธองค์ไม่มีกายทุจริต
๒.  ไม่มีวจีทุจริต
๓.  ไม่มีมโนทุจริต
๔.  ทรงมีอตีตังสญาณ
๕.  ทรงมีอนาคตังสญาณ
๖.  ทรงมีปัจจุบันนังสญาณหยั่งรู้กาลทั้ง ๓ แจ่มแจ้ง
๗.  กายกรรมของพระพุทธองค์เป็นไปตามพระญาณ
๘.  วจีกรรมของพระพุทธองค์เป็นไปตามพระญาณ
๙.  มโนกรรมของพระพุทธองค์เป็นไปตามพระญาณ
๑๐. ไม่มีความเสื่อมแห่งฉันทะ
๑๑. ไม่มีความเสื่อมแห่งวิริยะ
๑๒. ไม่มีความเสื่อมแห่งสติ
๑๓. ไม่มีเล่น
๑๔. ไม่มีพลั้ง
๑๕. ไม่มีพลาด
๑๖. ไม่มีความผลุนผลัน
๑๗. ไม่มีพระทัยย่อท้อ
๑๘. ไม่มีอกุศลจิต (สังคีติสุตตวรรณนา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค).

นอกจากนี้ ภายในพระวิหารหลวงยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนล้าน ศิลปะแบบทรงเครื่องล้านนา เนื้อสัมฤทธิ์ผสมเงินแท้ พระเกศโมลีทองคำแท้หนัก ๕๑ บาท องค์พระประดับด้วยอัญมณีแท้ทั้งองค์ ขนาดหน้าตัก ๒๙ นิ้ว จัดสร้างในโอกาสที่พระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง เจริญมงคลอายุครบ ๙๐ ปี ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๐


DSC09728.jpg


พระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวนมาก ประดิษฐานรายล้อมพระอัฏฐารสอยู่ด้านหน้า ภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

IMG_0424.JPG


IMG_0456.JPG



IMG_0406.JPG



IMG_0445.JPG



IMG_0479.JPG



รูปพระอัครสาวกพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร ประดิษฐานด้านซ้ายขวาของพระอัฏฐารส (พระประธาน) ภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

IMG_0405.JPG



พระพุทธรูปองค์เล็ก ประดิษฐานภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ



DSC09714.jpg



IMG_0486.JPG



เชิญร่วมปิดทองพระอัฏฐารส (จำลอง) ภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ



IMG_0429.JPG


DSC08761.jpg



DSC08759.jpg



รูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส วัดเจดีย์หลวง ประดิษฐานด้านหน้า พระอัฏฐารส ภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   


ลำดับเจ้าอาวาส วัดเจดีย์หลวง  มีดังนี้ คือ

๑. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์  สิริจันโท)  เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกปี พ.ศ.๒๔๗๑ – ๒๔๗๔
๒. พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต                        เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ.๒๔๗๕ ปีเดียวออกธุดงค์
๓. พระครูนพีสีพิศาลคุณ (ทอง โฆสิโต)         เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ.๒๔๗๖
๔. พระพุทธิโศภณ (แหวว ธัมมทินโน)           เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ.๒๔๗๗ – ๒๕๐๒
๕. พระญาณดิลก (พิมพ์ ธัมมธโร)                ต่อมาเป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าอาวาส วัดพระศรีมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ) มาดูแลกำกับการคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๐ – ๒๔๘๓ ตำแหน่งพิเศษ มิใช่เจ้าอาวาส
๖. พระธรรมดิลก (ขันติ์ ขันติโก)                   เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ.๒๕๐๓ – ๒๕๓๔
๗. พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล)        เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ.๒๕๓๕ – ๒๕๕๑

๘. พระราชเจติยาจารย์ (ชูเกียรติ อภโย)         รักษาการเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๕๑ - ปัจจุบัน

(เรียบเรียงจาก หนังสือสมโภชพระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ๒๘-๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒)



Rank: 8Rank: 8

DSC08757.jpg



รูปเหมือนพระพุทธิโศภน (แหวว ธัมมทินโน) ประดิษฐานด้านหน้า พระอัฏฐารส ภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   


DSC08760.jpg



รูปเหมือนพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานด้านหน้า พระอัฏฐารส ภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   


DSC09720.jpg



รูปเหมือนพระพุทธพจนวราภรร์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) ประดิษฐานภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


DSC08758.jpg



รูปเหมือนหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ ภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

DSC09732.jpg


DSC08745.jpg


DSC08742.jpg



กราบพระศพและรูปเหมือนพระพุทธพจนวราภรร์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) ประดิษฐานภายใน พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   


กำหนดการงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วันจันทร์ที่ ๑๘ เดือน มกราคม ๒๕๕๓ ณ เมรุชั่วคราว วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร


DSC08748.jpg


DSC08740.jpg



พระพุทธพจนวราภรร์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) อายุ ๙๑ ปี พรรษา ๗๑ ปี มรณภาพเมื่อ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC09708.jpg


DSC09707.jpg



ซุ้มประตูหน้าต่าง และรูปปั้นเทพพนม ประตูด้านหน้า พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


DSC09743.jpg


DSC09744.jpg



DSC09745.jpg



DSC09746.jpg



รูปปั้นสัตว์ป่าหิมพานต์ ซุ้มประตูหน้าต่าง พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-12-1 00:16 , Processed in 1.552031 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.