แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 21692|ตอบ: 37
go

วัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8


DSC00558.jpg


วัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  

[พระเกศาธาตุ , รอยพระพุทธบาทยังหาไม่พบ]

                      อันพระธาตุดอยคำนั้นล้ำค่า                สถิตอยู่คู่พารามานานหลาย
                      เป็นปูชนียสถานพรรณราย                  ปวงทวยเทพกราบไหว้แต่ไรมา
                      เป็นสถานศักดิ์สิทธิ์มหิทธ์ยิ่ง                เพราะเป็นมิ่งชาวพุทธสุดจักหา
                      บรรจุพระบรมธาตุจอมศาสดา              ประสาทให้ด้วยหัตถาของพระองค์
                      เราชาวไทย ต่างกราบไหว้ด้วยใจภักดิ์    ช่วยปกปักป้องไว้ให้สูงส่ง
                      ช่วยเสริมต่อก่อให้สวยช่วยจรรโลง        เพื่อดอยคำให้ดำรงอยู่คู่ดินฟ้าเอย

ตำนานพระเจ้าเลียบโลก
กล่าวว่า...สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปพักประทับนอนที่ภูเขาลูกเล็กลูกหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันตก พระองค์ประทับอยู่ใต้ต้นมะขามใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งใหญ่ประมาณ ๘ กำ สูง ๑๕ ศอก ทรงประทับอยู่เมตตาในที่นั้นตลอดราตรี ในกลางคืนนั้นเทพยดาทั้งหลายก็โสมนัสยินดี จึงบันดาลให้ฝนเงิน ฝนทองคำตกลงมาบูชาพระพุทธองค์ ครั้นสว่างขึ้นมา แก้ว เงิน ทองคำ เหล่านั้นก็หายเข้าไป สู่ใต้ภูเขาลูกเล็กนั้นสิ้น เป็นไปเพราะพุทธานุภาพ เหตุนั้นภูเขาลูกนั้นจึงได้ชื่อว่า “ดอยเขาคำหลวง” (พระธาตุดอยคำ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่)

แล้วพวกเทพยดาทั้งหลายก็กราบทูลขอรอยพระบาทจากพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสว่า “สถานที่นี้ ไม่มีที่จะไว้รอยพระบาทตถาคต” พอรุ่งสว่างดีแล้วก็เสด็จไปทางทิศตะวันออก ทรงพบก้อนหินหนึ่งงดงามยิ่ง ทรงประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงทอดพระเนตรดูสถานที่แห่งนั้น แล้วทรงรำพึงว่า “สถานที่นี้ ต่อไปภายหน้าจักเป็นมหานครเมืองใหญ่ จักเป็นที่อยู่แห่งกษัตริย์และคนทั้งหลาย ศาสนาตถาคตจะมาดำรงอยู่ในเมืองที่นี้ เป็นที่รุ่งเรืองยิ่ง จักปรากฏชื่อเสียงไปทั่วทิศ ในเมืองนี้จะมีอารามใหญ่อยู่ ๘ หลัง เหมือนดังที่เคยนั่งภาวนาที่โสฬสสถาน ๑๖ แห่งในเมืองลังกาทวีปนั้นเถิด” ทรงรำพึงเช่นนี้แล้ว
เสด็จลุกขึ้นแล้วทรงเหยียบรอยพระบาทไว้เหนือหินที่ประทับนั่ง ส่วนรอยพระพุทธบาทที่กล่าวในตำนานนั้นได้จมหายไปในพื้นดิน โดยมีเทพเจ้ารักษาไว้ ซึ่งในกาลเบื้องหน้าจักขึ้นมาปรากฏแก่มหาราชทั่วไป




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-6-24 17:36  

DSC00531.jpg

การเดินทางไปวัดพระธาตุดอยคำ เราสามารถเดินทางไปวัดพระธาตุดอยคำได้ ๓ ทางคือ

ทางที่หนึ่ง เข้าทางถนนเลียบคลองชลประทาน แยกจากถนนเชิงดอยบริเวณตลาดต้นพะยอมไปทางทิศใต้ประมาณ ๖ กิโลเมตร วัดพระธาตุดอยคำจะอยู่ด้านขวา

อีกเส้นทางหนึ่ง คือ ไปตามถนนสาย เชียงใหม่ - ฮอด เป็นระยะทางประมาณ ๙ กิโลเมตร จากสี่แยกสนามบิน และมีทางแยกเลี้ยวขวาสู่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ ๗ เข้าไปอีก ๔ กิโลเมตร ซึ่งจากเส้นทางนี้บริเวณวัดจะอยู่ในเขตของศูนย์ขยายพันธุ์พืช

และเส้นทางที่สาม จากจุดนี้ เราจะเดินทางตามเส้นทางสี่แยกสะเมิง ถนนเชียงใหม่ - หางดง ไปตามเส้นทางเรียบคลองชลประทาน จะมีป้ายบอกข้ามคลองไปทางตำบลแม่เหี๊ยะ ไปทางเดียวกับสวนราชพฤกษ์ หรือเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และศูนย์วิจัยเกษตรฯ ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-6-24 17:41  

DSC00533.jpg

วัดพระธาตุดอยคำ เดิมชื่อ วัดสุวรรณบรรพต แต่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดดอยคำ" ตั้งอยู่บนยอดเขาดอยคำที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยดอยคำจะตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างดอยเหล็ก ดอยตอง และดอยเงิน ซึ่งอยู่ทางทิศเหนืออ้อมไปทางทิศตะวันตก มีลำธารกั้นกลาง ทิศใต้จะเป็นดอยแก้ว สำหรับทิศตะวันออกของดอยคำจะเป็นที่อยู่ของปู่แสะย่าแสะ

การเดินทางขึ้นไปวัดพระธาตุดอยคำ มี ๒ ทาง คือ ทางซ้ายจะเป็นทางขึ้นโดยรถยนต์ ส่วนทางขวาจะเป็นทางเดินขึ้นโดยบันไดค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 07:33 โดย pimnuttapa


DSC00536.jpg

ศาลปู่แสะ - ย่าแสะ อยู่บริเวณ ป้ายชื่อ วัดพระธาตุดอยคำ ค่ะ    

ตำนานพระธาตุดอยคำ ซึ่งได้รับการเรียบเรียงขึ้นโดย สุทธวารี สุวรรณภาชน์ สรุปได้ดังนี้

“เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๕๐ ปีเศษ พระองค์ได้นำพระภิกษุอรหันต์พร้อมด้วยพระอินทร์มุ่งหน้าขึ้นสู่ทิศเหนือผ่านเมืองบุรพนคร และได้พักอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันนี้เป็นสถานที่ตั้งของวัดเจดีย์เหลี่ยม จากนั้นเสด็จต่อไปถึงดอยคำซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ณ ที่นั้น ทรงพบว่ามียักษ์สามตน พ่อ แม่ ลูก อาศัยอยู่และยังชีพด้วยเนื้อมนุษย์หรือเนื้อสัตว์ตลอดมา

ทันทีที่พวกเขาเห็นพระพุทธองค์พร้อมด้วยเหล่าสาวก ก็หมายจะจับกินเป็นอาหารดังเช่นเคย แต่พระพุทธองค์ทรงแผ่เมตตาห้ามจิตกิเลสของพวกเขาให้อ่อนลง จนต้องเข้ามากราบพระองค์ด้วยความยำเกรง จากนั้นพระพุทธองค์ทรงทำนายว่าหลังจากที่พระองค์ปรินิพพานไปแล้ว จะมียักษ์ตนหนึ่งสามารถปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ได้ ซึ่งหมายถึงยักษ์ผู้เป็นลูกนั่นเอง

เนื่องจากยักษ์ผู้เป็นผัวนามว่า “จิคำ” และผู้เป็นเมียชื่อว่า “ตาเขียว” ไม่สามารถจะรักษาศีลห้าได้ตลอด จึงขออนุญาตพระพุทธเจ้ากินเนื้อมนุษย์ปีละ ๒ หน เมื่อพระองค์ไม่อนุญาตจึงขอเปลี่ยนเป็นเนื้อสัตว์ แต่พระองค์ก็เลี่ยงให้ไปขอเจ้าผู้ครองนครเอง ซึ่งท่านเจ้าเมืองก็ยินยอม ดังนั้น จึงมีพิธีฆ่าควายเผือกเขาเพียงหูให้ปู่แสะขึ้นที่บริเวณวัดฝายหิน เชิงดอยสุเทพ และการจัดพิธีฆ่าควายดำเขาเพียงหูให้ย่าแสะที่เชิงดอยคำ จึงมีมาถึงบัดนี้

ภายหลังเมื่อลูกยักษ์ขอบวช พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรมให้ฟังพร้อมกับประทานพระเกศาธาตุ ซึ่งทรงอธิษฐานให้เป็นพระธาตุของพระองค์ให้กับพ่อและแม่ของลูกยักษ์ตนนั้น จำนวน ๑ ปอย แล้วบอกทั้งสองรักษาไว้ให้ดี เนื่องจากจะใช้เป็นที่เคารพบูชาแทนพระองค์ได้ และสถานที่แห่งนี้ก็จะเป็นที่ประชุมของผู้มีบุญญาธิการทั้งหลายในภายภาคหน้า ยักษ์ทั้งสองจึงนำพระธาตุบรรจุไว้อย่างดีในผอบแก้วมรกต จากนั้นได้เกิดศุภนิมิตขึ้น คือมีฝนตกหนักเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน แล้วเม็ดฝนได้กลายเป็นทองคำไหลเข้าสู่ถ้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งต่อมาเรียกชื่อกันว่า “ถ้ำคำ” ต่อมาไม่นาน ลูกยักษ์ได้ขอลาสิกขาบทเพื่อบวชเป็นฤาษี พระพุทธองค์ทรงอนุญาตพร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า “วาสุเทพฤาษี” นับแต่นั้นเป็นต้นมาค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 07:34 โดย pimnuttapa

  

DSC00534.jpg

รูปปู่แสะ - ย่าแสะ ค่ะ   

ตำนานพื้นเมือง กล่าวว่า ปู่แสะย่าแสะ เป็นผีบรรพบุรุษของพวกลัวะ มีหน้าที่ดูแลรักษาเมืองเชียงใหม่ กษัตริย์ ขุนนาง และชาวบ้าน จะต้องร่วมกันทำพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะเป็นประจำทุกปี พิธีบวงสรวงปู่แสะและย่าแสะ จึงกระทำเป็นประเพณีสืบมา โดยถือเอาวันแรม ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ (เดือน ๙ เหนือ) เป็นวันบวงสรวง แต่ต่อมาราวปี พ.ศ.๒๔๘๐ ทางรัฐบาลได้สั่งให้งดพิธีบวงสรวงดังกล่าว จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๘๓ – ๒๔๘๔ ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดสงครามอินโดจีนขึ้น จึงมีการฟื้นฟูประเพณีนี้ขึ้นมาอีกในวันเวลาเดิม โดยพิธีจะมีการฆ่าควายดำตัวเดียว แล้วมีคนทรงให้ปู่แสะย่าแสะลงประทับทรง ณ สถานที่ซึ่งทั้งสองสถิตอยู่ คือที่เชิงดอยคำทางทิศตะวันออกค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-6-24 18:05  

DSC00538.jpg

สำหรับวันนี้ เราจะใช้เส้นทางเดินขึ้นโดยบันไดสู่วัดพระธาตุดอยคำกันนะคะ เพื่อจะได้เดินชมดูธรรมชาติของดอยคำ จากจุดป้ายวัดพระธาตุดอยคำ เราก็เดินตรงไปตามทางลูกศรชี้ประมาณ ๒๐๐ เมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตามป้ายสีเหลือง "ทางเดินขึ้นวัดพระธาตุดอยคำ"

จากป้ายสีเหลืองทางเดินขึ้น วัดพระธาตุดอยคำ มาถึงบันไดทางขึ้นดอยคำนี้ประมาณ ๒๐๐ เมตร นะคะ ดูจากบริเวณรอบๆ แล้วจะเต็มไปด้วยต้นไม้ร่มรื่นมาก ได้บรรยากาศการอยู่กับธรรมชาติจริงๆ ถ้าใครชอบธรรมชาติก็เดินขึ้นวัดพระธาตุดอยคำโดยใช้บันไดได้นะคะ

อุโมงค์ใต้ดินจากดอยคำถึงอ่างสลุง
พระแม่เจ้าจามเทวี ทั้งท่านพระสุเทพฤาษี พระพี่เลี้ยงทั้งสอง หมู่ปุโรหิตและขุนนางผู้ใหญ่รวม ๑๐๐ เศษ ได้เสด็จเข้าในอุโมงค์ดอยคำ ตรงไปยังอุจฉุตบรรพต (ดอยสุเทพ) และต่อไปยังดอยอ่างสลุง เพื่อไปกระทำพระราชพิธีทรงน้ำมูรธาภิเษกที่นั้น เมื่อวันขึ้น ๑๒ ค่ำเดือน ๗ ปีมะเมีย พุทธศก ๑๒๐๒ (คงใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ - ๓ วันก็ถึงดอยอ่างสลุง)

ขุนแผนกับอุโมงค์ดอยคำ

สมัยที่ขุนแผน ชาวสุพรรณบุรี ยกทัพไปตีเมืองเชียงอินทร์ (คือเชียงใหม่ปัจจุบัน) ผ่านเชียงทอง (อ.จอมทอง) ได้พบทางลับใต้ดินจากดอยจอมทองไปถึงดอยคำ ภายในอุโมงค์ถ้ำดอยคำสามารถบรรจุคนได้ร่วม ๑๐๐ คน ถ้ำนี้เคยเป็นที่อาศัยของปู่แสะย่าแสะ พระฤาษีสุเทพ และพระแม่เจ้าจามเทวีมาแล้ว ขุนแผนได้ใช้เส้นทางลับใต้ดินนี้จากจอมทองเข้าไปจับเมืองเชียงอินทร์ได้อย่างง่ายดาย โดยมิต้องใช้กำลังรี้พลมากนัก

สำหรับเรื่องนี้ อาจารย์ชุ่ม ณ บางช้าง
ได้ให้ทัศนะว่า ภายในถ้ำจะต้องกว้างขวางคล้ายกับท้องพระโรงใหญ่ เพราะมีข้อความปรากฏในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนว่า เมื่อครั้งที่ขุนแผนยกทัพมาจับเจ้าเมืองเชียงใหม่นั้น ได้เดินทางมาพร้อมกับพระไวยบุตรชายและทหารจำนวน ๓๕ คน แล้วระหว่างทางได้อาศัยถ้ำดอยคำแห่งนี้เป็นที่พักหลบซ่อนตัว ก่อนที่จะเข้าตีเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ ระหว่างการเดินทางกลับ ขุนแผนยังได้พักพลอยู่ที่วัดป่าม่วง เมืองตาก และได้สร้างพระพุทธรูปจำนวนแปดหมื่นสี่พันองค์เพื่อบรรจุไว้ที่ถ้ำดอยคำ ตำนานตอนนี้จึงเป็นการกล่าวถึงการกำเนิดของพระเครื่องชื่อ “พระสามกุมาร” ซึ่งสร้างขึ้นในครั้งนั้น ที่ถ้ำดอยคำนี้ ต่อมามีผู้ยืมของใช้ต่างๆ และเครื่องบวชไปแล้วไม่คืนเทพยดาจึงบันดาลให้มีก้อนหินก้อนใหญ่มาปิดปากถ้ำเสีย ส่วนที่จอมทองได้สร้างพระเจดีย์ปิดปากอุโมงค์ไปแล้วค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-6-24 18:08  

DSC00540.jpg

จากบันไดทางขึ้นดอยคำ ถึงจุดบันไดนาค วัดพระธาตุดอยคำ มีบันไดประมาณ ๓๑๐ ขั้น เราก็เดินขึ้นบันไดนาคกันต่อไปอีก ๑๗๘ ขั้น ก็จะถึงลานจุดชมวิว ซึ่งเป็นลานด้านหน้าวัด และบริเวณก่อนถึงบันไดนาคจะมีกุฏิสงฆ์อยู่ เป็นที่สัปปายะเหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมมากค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 07:34 โดย pimnuttapa



DSC00541.jpg

ถึงลานจุดชมวิว วัดพระธาตุดอยคำ แล้วค่ะ นอกจากนักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนที่เดินทางเข้าสู่สวนราชพฤกษ์แล้ว ได้เดินทางไปยังจุดชมวิวบริเวณลานหน้าวัดพระธาตุดอยคำ ที่สามารถมองลงมาเห็นภาพในวงกว้างของพื้นที่สวนราชพฤกษ์ เพราะระยะทางจากสวนราชพฤกษ์ไปสู่วัดพระธาตุดอยคำ ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีก็เดินทางไปกราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ได้ นอกจากนั้นยังมีโซนขายของที่ระลึกต่างๆ ภายในลานจุดชมวิวด้วยค่ะ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราเข้าไปภายในวัดพระธาตุดอยคำกันเลยนะคะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-6-24 18:13  

DSC00542.jpg

วิหาร วัดพระธาตุดอยคำ ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 07:37 โดย pimnuttapa

DSC00543.jpg

พระประธาน ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดพระธาตุดอยคำ ค่ะ



‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-22 23:40 , Processed in 0.175574 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.