แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC00594.jpg



พระเจดีย์
วัดกู่ขาว เป็นเจดีย์แบบล้านนา ฐานล่างเป็นหน้ากระดาน สี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนลดหลั่น ๓ ชั้นขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วซ้อนกันอยู่ ๒ ชุด ย่อเก็จ มีฐานพระพุทธรูปอยู่ระหว่างเจดีย์และวิหาร จะเห็นว่าแนวกำแพงก่ออิฐแบบสลับสั้นยาว ลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์กู่ขาว วัดกู่ขาว ส่วนสำคัญอยู่ที่มุมย่อเก็จบริเวณหน้ากระดานท้องไม้ใหญ่ระหว่างฐานบัวลูกแก้ว ๒ ชั้น ลักษณะคล้ายลายประจำยามมุม เป็นลวดลายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กรอบนอกเป็นเส้นโค้งหนา กึ่งกลางเป็นรูปดอกกลมล้อมด้วยกลีบดอกและลายก้านขด อีกแห่งหนึ่งอยู่ที่ฐานชุกชี (ฐานพระประธาน) ของวิหารเดิมมีลายปูนปั้นรูปกลีบบัวและรูปสิงห์ที่ประดับไว้ค่ะ  


DSC00605.jpg


ด้านข้าง พระเจดีย์ วัดกู่ขาว แต่ละชุดมีเส้นบัวลูกแก้วคาด ๒ เส้น ระหว่างฐานบัวแต่ละชุดคั่นด้วยกระดานท้องไม้ใหญ่ ประดับลวดลายปูนปั้นที่มุมของย่อเก็จทุกแห่งโดยรอบค่ะ


DSC00598.jpg


พระเจดีย์ วัดกู่ขาว จากลักษณะรูปทรงของพระเจดีย์ ที่เป็นแบบทรงระฆังที่ทำชั้นฐานปัทม์ย่อเก็จแบบมีการตกแต่งลูกแก้วอกไก่ หรือชั้นบัวคว่ำบัวหงายตอนกลาง รวมถึงลักษณะของลายปูนปั้นแบบประจำยาม ซึ่งกำหนดอายุได้ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑ หรือในระยะที่รัฐล้านนามีความเจริญรุ่งเรือง แต่ว่าอาจจะเป็นหลักฐานการซ่อมเสริมเจดีย์องค์นี้ในระยะเวลาดังกล่าว เพราะสิ่งก่อสร้างในสมัยโบราณย่อมทรุดโทรม และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์กันเรื่อยมา


ดังนั้นจึงอาจจะเป็นไปได้ว่า เดิมอาจเป็นวัดในรุ่นสมัยเวียงกุมกามระยะก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งต่อไปควรมีการขุดแต่งศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะแนวกำแพงแก้วและร่องรอยโบราณสถานแห่งอื่นๆ โดยรอบ อีกทั้งขุดแต่ง-ขุดค้นทางโบราณคดี เพื่อหาหลักฐานร่องรอยกิจกรรมการอยู่อาศัยต่อไปค่ะ  


DSC00602.jpg


พระเจดีย์ด้านทิศเหนือ วัดกู่ขาว เป็นทรงระฆังที่เหลือหลักฐานเฉพาะส่วนมาลัยเถาทรง ๘ เหลี่ยมลงมา ส่วนฐานเขียงตอนล่างทำสูง มีชั้นฐานปัทม์ย่อเก็จรองรับส่วนมาลัยเถาแบบ ๘ เหลี่ยม ในส่วนท้องไม้ตอนกลางพบการตกแต่งลายปูนปั้นแบบประจำยาม ส่วนบนยอดพระเจดีย์มีต้นไม้ขึ้นเต็มไปหมดเลยค่ะ


DSC00600.jpg


ด้านหลัง พระเจดีย์ด้านทิศเหนือ  วัดกู่ขาว เราจะเห็นส่วนฐานปัทม์ย่อเก็จที่ยังคงร่องรอยปูนปั้นประจำยามประดับ และบริเวณโล่งๆ คือลานกิจกรรมใช้เตะตะกร้อค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๗. วัดกุมกามทีปราม   




DSC01064.jpg


วัดกุมกามทีปราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดชียงใหม่ ในเขตเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตพื้นที่ดินสวนลำไยของเอกชน สามารถเดินทางเข้าถึงโดยใช้เส้นทางใหม่ ที่สร้างเวียงกุมกามทางด้านตะวันออก โดยเริ่มจากวัดกู่ขาว (ร้าง) ที่อยู่คนละฝั่งของสายน้ำปิงเก่าทางด้านเหนือผ่านเข้ามาทางป่าช้าหนองผึ้งแล้วเลี้ยวขวาข้ามลำน้ำปิงห่าง วัดตั้งอยู่ในเขตที่ดินของเอกชนด้านซ้ายก่อนถึงวัดข่อยสามต้นหรือวัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ค่ะ  


DSC01063.jpg


ประวัติวัดกุมกามทีปราม
ปรากฏหลักฐานด้านเอกสารกล่าวถึงวัดนี้ว่า ในสมัยล้านนามีกษัตริย์ได้เข้ามาทำบุญรับศีลและฟังเทศนาธรรมที่วัดแห่งนี้ ซึ่งชื่อของวัดนี้ยังวิเคราะห์ได้ไม่ชัดเจนว่าเป็นวัดเดียวกันกับวัดที่กล่าวถึงในเอกสารหรือไม่ แต่จากรูปแบบผังการก่อสร้างและลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมต่างๆ ของวัด อนุมานได้ว่าวัดกุมกามทีปรามแห่งนี้เป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งของเวียงกุมกาม จึงเรียกชื่อโบราณสถานตามชื่อเวียงกุมกาม หมายถึงอารามของเวียงกุมกาม ในปี ๒๕๑๒-๒๕๑๖ กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งบูรณะ


DSC01088.jpg


วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม ค่ะ

วัดกุมกามทีปราม มีวิหาร ๒ แห่ง คือวิหารใหญ่ และวิหารเล็ก  


DSC01082.jpg


ด้านบน วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม ค่ะ  

วัดกุมกามทีปราม สร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือเข้าสู่แม่น้ำปิง (ห่าง) อยู่ลึกจากผิวดินปัจจุบันประมาณ ๐.๕๐ เมตร เหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐานตอนล่างที่สร้างก่ออิฐยกพื้นขึ้นมาไม่สูงมาก วิหารใหญ่มีลักษณะเป็นวิหาร-โถง มีบันได ๓ ด้าน


DSC01079.jpg


บันไดทางขึ้น/ลงหลักด้านหน้า วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม ค่ะ

บันไดทางขึ้น/ลงหลักด้านหน้า วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม พบก่อสร้างทางด้านหน้าตอนกลาง ที่มีลักษณะตัวบันไดเป็นปูนปั้นรูปตัวมกรคายพญานาค ๕ เศียร อันมีรูปแบบคล้ายกับตัวบันไดของพระเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ รวมไปถึงวัดสวนดอก และบันไดขึ้นลานปทักษิณเจดีย์วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม ในเขตเมืองเชียงใหม่ อันพิจารณาว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยใกล้เคียงกัน คือตั้งแต่ระยะสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา


DSC01071.jpg


บันไดเล็กทางขึ้น/ลงด้านข้างทิศตะวันออกตอนหลัง วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม เป็นบันไดส่วนของย่อเก็จลดอีกแห่งหนึ่ง อันน่าจะเป็นบันไดสำหรับพระสงฆ์ไว้ขึ้น/ลงวิหารใหญ่โดยเฉพาะค่ะ


DSC01078.jpg


รูปปั้นตัวมกรคายนาค ๕ เศียร (ชำรุด) บันไดทางขึ้น/ลงหลักด้านหน้า วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม มีร่องรอยการสร้างสองสมัยค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01075.jpg



ฐานชุกชีพระประธาน
วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม อยู่ด้านข้างทิศตะวันออกตอนหลังของวิหารใหญ่ค่ะ


DSC01094.jpg


DSC01089.jpg



วิหารเล็ก วัดกุมกามทีปราม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ฐานรากอยู่ต่ำกว่าวิหารใหญ่ ประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตรค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๘. วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑

(วัดข่อยสามต้น)





DSC01100.jpg


วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ (วัดข่อยสามต้น) ตั้งอยู่ในบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเวียงกุมกาม ใกล้กับปากทางเข้าวัดกุมกามทีปราม (ร้าง) เดินทางเข้าถึงได้จากแยกถนนเชียงใหม่-ลำพูน (ต้นยาง) เข้าสู่เวียงกุมกามโดยใช้เส้นทางถนนเลียบเวียงในแนวทางด้านตะวันออก วัดอยู่ตรงสี่แยกทางไปวัดต้นโพธิ์ (ร้าง) สภาพแวดล้อมทั่วไปเป็นเรือกสวนไร่นา และที่อยู่อาศัยของชุมชนค่ะ


DSC01110.jpg


ประวัติวัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ (วัดข่อยสามต้น)

ชื่อวัดข่อยสามต้น เป็นชื่อใหม่ที่คณะอบรมอาสาสมัครนำชมเวียงกุมกามรุ่นที่ ๑ ปี พ.ศ.๒๕๔๕ ตั้งขึ้นตามจุดสังเกตที่เป็นต้นข่อยจำนวน ๓ ต้น ที่ขึ้นเจริญเติบโตในพื้นที่บริเวณวัด ความสำคัญของวัดนี้นอกจากเป็นวัดร้างร่วมสมัยกับกลุ่มวัดอื่นๆ ของเวียงกุมกามแล้ว ด้านการวางผังการก่อสร้างวัด ที่พบหลักฐานทั้งพระเจดีย์-วิหาร อาคารวิหารเล็ก และกำแพงวัดพร้อมโขงประตู ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เดิมถูกฝังใต้ดิน ๑ เมตร  กรมศิลปากรขุดแต่งบูรณะ ๒๕๑๕-๒๕๑๖

จากรูปแบบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น ชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น ๓ ชิ้น เม็ดพระศก พระเก่าเปลวรัศมี อย่างไรก็ตามเชื่อได้ว่าน่าจะมีสถาปัตยกรรมและอาคารอีกในบริเวณนี้ แต่อาจถูกทำลายและฝังดิน


DSC01107.jpg


ฐานวิหาร วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ค่ะ  


วิหาร วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะสร้างฐานยกพื้นไม่สูงมากนักโดยก่ออิฐเป็นฐานบัวหรือฐานปัทม์ พื้นตอนบนปูอิฐและฉาบปูน ไม่มีการทำย่อเก็จลดทั้งทางตอนหน้าและตอนหลัง มีบันไดหลักขึ้น/ลงทางด้านตอนกลาง ลักษณะเป็นขั้นบันไดเรียบๆ ไม่มีการตกแต่งบันไดอย่างชัดเจน และอิฐปูยกพื้นทางเดิน โครงสร้างเสาเดิมน่าจะเป็นเสาไม้ เพราะไม่พบหลักฐานของอิฐทรงโค้งแบบหน้าวัว ที่มักใช้ก่อเป็นเสากลมดังเช่นที่พบในวัดอื่นๆ ของเวียงกุมกาม เดิมเป็นวิหารโถงแบบมีผนังเตี้ยๆ บนส่วนฐาน เพราะเหตุที่ขุดแต่งพบหลักฐานที่ด้านข้างขวาตอนหน้า


DSC01103.jpg


DSC01102.jpg



พระประธาน วิหาร วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ประดิษฐานบนแท่นแก้วชุกชีแบบย่อเก็จออกมา เพราะทางด้านหน้าขนาดเล็กพอเหมาะสำหรับประดิษฐานพระประธานองค์เดียวที่ได้พังทลายไม่เหลือหลักฐานแล้วค่ะ


DSC01113.jpg


ฐานวิหาร และฐานพระเจดีย์ วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01114.jpg


ฐานพระเจดีย์  วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ค่ะ



พระเจดีย์ สร้างก่ออิฐฉาบปูนมีลักษณะระเบียบการก่อสร้างเป็นทรงมณฑป พบร่องรอยการทำซุ้มทางด้านทิศเหนือ ซึ่งเอกลักษณ์ของวัดนี้คือการทำพระเจดีย์ประธานขนาดเล็ก ตกแต่งเสาหลอกในส่วนของย่อเก็จย่อมุมต่างๆ ด้านผังรูปแบบการก่อสร้างนั้น วัดนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือ เข้าสู่สายน้ำแม่ปิง (ห่าง) สภาพปัจจุบันได้รับการขุดแต่งในปี พ.ศ.๒๕๔๕


DSC01116.jpg


DSC01115.jpg



พระเจดีย์ วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ บางส่วนเหลือหลักฐานและบางส่วนเสียหาย สันนิษฐานเป็นเจดีย์ทรงบัว  หลักฐานการก่อสร้างตอนบนเจดีย์พังทลาย แต่คงเหลือรูปแบบเดิมในส่วนฐานปัทม์ลักษณะย่อเก็จตื้น แบบที่มีการทำเสาหลอกตามมุมย่อเก็จต่างๆ ค่ะ


DSC01106.jpg


กำแพง วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ อยู่ด้านหน้า วิหารค่ะ


กำแพง วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ พบร่องรอยการก่อสร้างมาถึงส่วนหักมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งแนวกำแพงและโขงประตูวัดด้านหน้าฝังตัวอยู่ในพื้นดินใต้ระดับผิวถนน ดังนั้นการขุดแต่งหาร่องรอยการก่อสร้างของวัดนี้ทั้งหมด จึงยังขุดแต่งได้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์


DSC01104.jpg


ร่องรอยหลักฐานโขงประตู กำแพง วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ อยู่ด้านหน้า วิหารใหญ่ค่ะ


DSC01109.jpg


DSC01111.jpg



ฐานอาคารวิหารเล็ก วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ อยู่ด้านตะวันตกกลุ่มเจดีย์-วิหาร พบฐานบัวคว่ำขนาดใหญ่ และยังมีบางส่วนตอนหลังที่มีแนวเข้าไปในพื้นที่เอกชนเขตติดกันใกล้เคียงค่ะ  



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๙. วัดกู่ไม้ซ้ง




DSC01125.jpg



วัดกู่ไม้ซ้ง
ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเวียงกุมกาม เดินทางเข้าถึงได้โดยใช้เส้นทางถนนผ่านมาทางวัดกุมกามทีปรามและวัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ (วัดข่อย ๓ ต้น) หรือใช้เส้นทางในหมู่บ้านช้างค้ำผ่านเข้ามาทางทิศตะวันตก วัดที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงคือวัดกู่มะริดไม้ ห่างออกมาทางตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะประมาณ ๑๕๐ เมตร และตั้งอยู่ใกล้ถนนสายวงแหวนรอบกลางทางด้านใต้ในระยะที่มองเห็นได้ค่ะ


DSC01124.jpg



ประวัติวัดกู่ไม้ซ้ง วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือ แม้ว่าไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้าง จากหลักฐานทางด้านบันทึกเอกสารหรือตำนานบอกเล่าในท้องถิ่น แต่หากได้พิจารณาจากทิศทางการหันหน้าวัดที่หันเข้าสู่สายน้ำแม่น้ำปิง (เก่า) หรือในทิศเหนือ ประกอบกับด้านรูปแบบแผนผังการก่อสร้างและลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมต่างๆ ของวัด รวมไปถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ล้านนาโดยรวมแล้ว

วัดนี้น่าจะก่อสร้างขึ้นแล้วในระยะล้านนารุ่งเรือง หรือราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นอย่างน้อย ประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดี จากการดำเนินงานขุดแต่ง-บูรณะ โดยหน่วยศิลปากรที่ ๔ ในระยะที่ผ่านมา ที่เป็นพระพิมพ์ศิลปะแบบปาละ-พุกาม (รุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙) น้ำต้น (คนโฑ) ดินเผาแบบหริภุญไชย จารึกอักษร/ภาษาล้านนาบนแผ่นอิฐ และลวดลายปูนปั้นจำนวนหนึ่ง

สภาพพื้นที่วัดกู่ไม้ซ้ง เป็นที่ลุ่มต่ำทำให้เกิดน้ำท่วมขังเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในหน้าฝนจะมีน้ำขังมากและเป็นที่เจริญเติบโตของผักบุ้งที่ขึ้นเป็นเถาเครือเขียวชะอุ่มคลุมพื้นที่ตอนในกำแพงแก้วในส่วนของพระเจดีย์ค่ะ


DSC01138.jpg


DSC01127.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดกู่ไม้ซ้ง มีขอบเขตกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง องค์เจดีย์เหลือหลักฐานก่ออิฐเฉพาะในส่วนฐาน ลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยมสูงตอนล่าง และส่วนของฐานปัทม์ย่อมุม ๒๐ ตอนบน ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปของเจดีย์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรูปแบบของเจดีย์ทรงมณฑป ที่จากหลักฐานการขุดแต่งได้พบชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้นประเภทลายประดับกรอบซุ้มประเภทลายพรรณพฤกษาค่ะ


DSC01139.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานบน พระเจดีย์ วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01140.jpg



DSC01135.jpg



ฐานวิหาร
วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ



วิหาร วัดกู่ไม้ซ้ง หันหน้าค่อนไปทางตะวันตก สร้างก่ออิฐดินฉาบผิวด้วยปูนขาว มีส่วนฐานเป็นแบบปัทม์ท้องไม้ลูกแก้วอกไก่ ทำย่อเก็จลดตอนหน้า ๑ ครั้ง และมีบันไดทางขึ้น/ลงหลักอยู่ทางด้านหน้า โดยมีทางเดินยกพื้นก่ออิฐเชื่อมต่อไปถึงส่วนโขงประตูกำแพงแก้ว ลักษณะวิหารเป็นแบบโถงและพื้นปูอิฐ


DSC01130.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน ด้านบน วิหาร วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ


DSC01134.jpg


โขงประตูกำแพงแก้ว ด้านหน้า วิหาร วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ


DSC01136.jpg


แนวกำแพงแก้วด้านหน้าด้านตะวันออก วิหาร วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ


DSC01133.jpg


เจดีย์รายหรือกู่บรรจุกระดูกผู้อุปถัมภ์ หรือเจ้าอาวาสของวัดเดิม วัดกู่ไม้ซ้ง ลักษณะเป็นฐานทรง ๘ เหลี่ยม สภาพปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐาน ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางด้านหน้าตอนขวา (ทิศตะวันออก) วิหาร ค่ะ


DSC01128.jpg


สภาพปัจจุบันวัดกู่ไม้ซ้ง เป็นที่ลุ่มต่ำ อันทำให้เกิดน้ำท่วมขังเกือบตลอดปี แม้ว่าในปัจจุบันได้ทำการบูรณะโบราณสถานของวัดไว้ทั้งหมดแล้ว แต่หากปล่อยให้มีน้ำขังอยู่ดังเช่นในปัจจุบันแล้ว อายุการใช้งานของวัสดุก่อสร้างต่างๆ คงอยู่ไปได้อีกไม่นาน ควรที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังวัดนี้กันต่อไป เช่นเดียวกับวัดกู่มะริดไม้(ร้าง) ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงด้านตะวันตก ที่ภายหลังการขุดแต่ง-บูรณะแล้ว ก็ควรดูแลถากถางทำความสะอาดเป็นประจำ ไม่ปล่อยวัชพืชให้ขึ้นปกคลุมมิดเป็นป่ารกจนไม่เห็นวัดดังเช่นในปัจจุบันค่ะ


DSC01121.jpg



ศาลาพักร้อน บริเวณ ทางเข้า/ออก วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๐. วัดกู่ริดไม้




DSC00180.jpg


DSC00175.jpg



วัดกู่ริดไม้ ตั้งอยู่ในเขตบ้านช้างค้ำ ตำบลท่าวังตาล อยู่ทางทิศใต้ในเขตเวียงกุมกาม อยู่ทางทิศใต้ในเขตเวียงกุมกามห่างจากแนวคูเมือง-กำแพงเมืองประมาณ ๑๕๐ เมตร วัดกู่ริดไม้เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันเนื่องจากมีต้นเพกา (ต้นริดไม้) ขึ้นอยู่บนเนินวัดและวัดน่าจะมีอายุร่วมสมัยกับวัดปู่เปี้ย คือราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้วค่ะ


DSC00178.jpg


ฐานวิหาร วัดกู่ริดไม้ เราจะเห็นส่วนของฐานชุกชีพระประธานด้วยค่ะ


DSC00182.jpg


ฐานพระเจดีย์ วัดกู่ริดไม้ ค่ะ


พระเจดีย์ วัดกู่ริดไม้ มีลักษณะการวางตัวของเจดีย์แตกต่างจากลักษณะเจดีย์อื่นๆ ฐานเจดีย์ค่อนข้างเล็กและตอนนี้ถูกปกคลุมไปด้วยหญ้าจนแถบมองไม่เห็นฐานเจดีย์เลยค่ะ


DSC00177.jpg


ศาลผีเสื้อ วัดกู่ริดไม้ ลักษณะเป็นอาคารแปดเหลี่ยม อยู่ด้านทิศใต้ของเจดีย์อยู่ชิดกับกำแพงแก้วค่ะ


DSC00176.jpg


ซุ้มประตูโขง (ภาพด้านซ้าย) วัดกู่ริดไม้ อยู่ทางด้านทิศใต้ของวัด ส่วนภาพตรงกลางคือ ส่วนฐานชุกชีพระประธานของวิหาร และภาพด้านขวาคือ ศาลผีเสื้อ อยู่บริเวณใกล้ๆ กันค่ะ


DSC00183.jpg


กำแพงแก้ว วัดกู่ริดไม้ ปรากฏให้เห็นเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ของวัดค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๑. วัดกู่อ้ายสี




DSC01143.jpg


วัดกู่อ้ายสี ตั้งอยู่ในเขตบ้านช้างค้ำ ตำบลท่าวังตาล อยู่ภายในเขตเวียงกุมกาม ห่างจากวัดช้างค้ำไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดกู่อ้ายสีเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันตามชื่อของนายสีเจ้าของที่ดินค่ะ


DSC01144.jpg


DSC01152.jpg



ฐานวิหาร
วัดกู่อ้ายสี ค่ะ


DSC01151.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน วิหาร วัดกู่อ้ายสี อยู่ตอนหลังวิหาร ค่ะ


DSC01154.jpg


ฐานพระเจดีย์ วัดกู่อ้ายสี อยู่ด้านหลังวิหาร มีหญ้าปกคลุมเต็มไปหมดแถบจะไม่เห็นฐานเจดีย์เลยค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๒๒. วัดกอมะม่วงเขียว




DSC00380.jpg


DSC00381.jpg


วัดกอมะม่วงเขียว ตั้งอยู่นอกเวียงกุมกาม ห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ ๕ กิโลเมตร เนื่องจากมีต้นมะม่วงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ในบริเวณวัด ประชาชนในท้องถิ่นจึงเรียกชื่อวัดร้างว่า “วัดกอมะม่วงเขียว” หรือ “กอมะม่วงเขียว” ตามภาษาท้องถิ่น อย่างไรก็ตามยังไม่พบความเป็นมาในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ซึ่งกรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดี และบูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์วัดกอมะม่วงเขียว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖-๒๕๔๗ ค่ะ


DSC00383.jpg


DSC00386.jpg



ฐานวิหาร วัดกอมะม่วงเขียว ค่ะ


วิหาร วัดกอมะม่วงเขียว สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จด้านหน้า ๒ ช่วง ตามประวัติทางวัดบอกว่ามีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อยู่ทางด้านทิศใต้ของวิหาร แต่เดินสำรวจไม่พบซากโบราณสถานดังกล่าว สันนิษฐานว่ามีโบราณสถานอื่นๆ อีก แต่อาจถูกฝังใต้ดิน หรือถูกทำลายไปแล้ว


จากรูปแบบสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุ ได้แก่ เศษภาชนะเครื่องเคลือบแหล่งเตาภาคเหนือ และเครื่องถ้วยจีนราชวงศ์หมิง กำหนดอายุได้ว่าวัดนี้สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒


DSC00388.jpg



DSC00382.jpg



ฐานชุกชีพระประธาน อยู่ส่วนตอนหลัง วิหาร วัดกอมะม่วงเขียว ค่ะ


DSC00384.jpg


กำแพงแก้ว วัดกอมะม่วงเขียว พบอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัดกอมะม่วงเขียวค่ะ


DSC00385.jpg


ศาลเจ้าพ่อคำตัน วัดกอมะม่วงเขียว ค่ะ




บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:15 , Processed in 0.041647 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.