แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Resize-of-DSC01321.jpg



Resize-of-DSC01325.jpg



ชิ้นส่วนของปล้องไฉนเจดีย์ และมณฑปเล็กด้านหน้า
วัดหนานช้าง ค่ะ

โบราณวัตถุสำคัญที่พบจากการขุดแต่ง
บริเวณด้านหลังมณฑปเสาสี่ต้น วัดหนานช้าง คือ เครื่องเคลือบเนื้อขาวแบบลายครามสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.๑๙๑๑-๒๑๘๗) ของจีน ที่มีผู้นำมาบรรจุไหใบใหญ่ฝังไว้ในระยะที่วัดได้ร้าง และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้พังทลายลงไปแล้ว จำนวนถึง ๔๓ ใบ (จากทั้งหมด ๕๒ รายการ), ไหบรรจุกระดูก ที่พบฝังไว้ใต้กำแพงวัดด้านข้างซ้าย (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) ใต้ประตูทางเข้า-ออก ลักษณะเคลือบสีเขียว และเคลือบสีน้ำตาล(หลุดร่อน), จานเครื่องเคลือบลายครามฝังตัวตะแคงซ้อนกันรวม ๘ ใบในชั้นตะกอนทรายที่น้ำพัดพามาด้านหน้าโขงวัดฝั่งขวา

แสดงถึงการร้างของเวียงกุมกามในลักษณะที่ผู้คนไม่ได้นำเอาของข้าวเครื่องใช้ติดตัวไป และประการสำคัญเวียงกุมกามได้ร้างลงไปนานระยะหนึ่งก่อนที่น้ำจะพัดพาตะกอนดินและทรายมาทับถม ประมาณช่วงเวลากลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ภายหลังจากที่พม่าเข้ายึดครองล้านนาได้แล้วระยะหนึ่ง


Resize-of-DSC01324.jpg



านอาคารมณฑป วัดหนานช้าง อยู่ด้านหลัง ฐานพระเจดีย์ค่ะ

อาคารมณฑป วัดหนานช้าง เป็นอาคารโถงก่ออิฐผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานเป็นแบบปัทม์ท้องไม้ลูกแก้วอกไก่คู่ที่พบหลักฐานเฉพาะด้านข้างซ้าย ส่วนด้านอื่นๆ เหลือหลักฐานเฉพาะส่วนบัวคว่ำ และท้องไม้ลูกแก้วอกไก่ตอนล่าง ประกอบการขุดแต่งได้ขุดเลยระดับพื้นมณฑปไปมากจนฐานเสาลอย ทำให้ดูเหมือนฐานมณฑปไม่สูง บันไดหลักอยู่ทางด้านหน้าที่พบหลักฐานตัวบันไดเป็นรูปตัวมกร (ชำรุด)


Resize-of-DSC01326.jpg



ตัวบันไดรูปมกรปูนปั้น อาคารมณฑป วัดหนานช้าง ค่ะ


Resize-of-DSC01327.jpg



ด้านบน อาคารมณฑป วัดหนานช้าง ค่ะ


Resize-of-DSC01332.jpg


ฐานอาคารวิหารเล็ก วัดหนานช้าง เป็นอาคารอยู่ด้านหลังตอนซ้ายวิหารค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

Resize-of-DSC01307.jpg



Resize-of-DSC01313.jpg



แนวกำแพงวัดด้านหน้า และบ่อน้ำ อยู่ตอนซ้าย ประตูโขง วัดหนานช้าง ค่ะ

บ่อน้ำ วัดหนานช้าง ลักษณะเป็นบ่อน้ำก่ออิฐทรงกลม ซึ่งในเขตบริเวณวัดพบมากถึง ๔ แห่ง



Resize-of-DSC01310.jpg



Resize-of-DSC01315.jpg


ฐานวิหารด้านหน้า วัดหนานช้าง ค่ะ


วิหารด้านหน้า วัดหนานช้าง ลักษณะเป็นอาคารแบบโถง ส่วนฐานก่ออิฐสร้างยกพื้นสูงในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีย่อเก็จลดด้านหน้า ๑ ชั้น โดยพบร่องรอยการฉาบปูนตกแต่งลายช่องกระจกหรือลายเมฆในส่วนท้องไม้ มีบันไดหลักขึ้นลงทางด้านหน้าตอนกลาง และพบบันไดขนาดเล็กด้านหลังตอนซ้าย ที่ยังคงปรากฏตัวหัวบันไดเป็นรูปตัวหางวัน (เหงา) ปูนปั้นอย่างชัดเจน พื้นตอนบนวิหารปูอิฐและฉาบปูน โครงสร้างเสาน่าจะเป็นเสาไม้ที่มีหินธรรมชาติรองตีนเสา แท่นแก้วพระประธานอยู่ตอนหลังวิหาร ส่วนด้านหน้าทำย่อเก็จลดหลายชั้น ตกแต่งลวดลายเครือเถาและรูปสัตว์หิมพานต์ปูนปั้น (ชำรุด) ที่ส่วนท้องไม้


Resize-of-DSC01316.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดหนานช้าง ค่ะ


พระเจดีย์ วัดหนานช้าง แม้ว่าจะเหลือหลักฐานการก่อสร้างเพียงส่วนฐานก่ออิฐฉาบปูนลักษณะเขียงซ้อนกัน ๓ ชั้น และชั้นปัทม์ย่อเก็จเล็กเดี่ยวตอนกลางที่ชิ้นส่วนปล้องไฉนทรงกลม บัลลังก์และชั้นรองรับปล้องไฉนทรง ๘ เหลี่ยม ที่พบร่วงหล่นตกลงมาบนพื้นระดับดินเดิมของวัดในพื้นที่ด้านหลังวิหารตอนขวา ทำให้วินิจฉัยได้ว่ารูปทรงเต็มๆ เดิมของเจดีย์ควรจะเป็นทรงระฆังแบบ ๘ เหลี่ยม ประกอบกับการที่ไม่พบหลักฐานลวดลายปูนปั้น ประเภทลายกรอบซุ้มในจำนวนมากพอ ซึ่งโดยทั่วไปเจดีย์ทรงมณฑป มักทำซุ้มประกอบที่ตอนกลางในส่วนห้องมณฑป


Resize-of-DSC01319.jpg



ลักษณะพิเศษของพระเจดีย์ วัดหนานช้าง คือ การทำเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กที่มุมฐานเขียงตอนล่างทั้ง ๔ มุม ตกแต่งลายปูนปั้นนูนรูปดอกประจำยาม ๔ ด้าน (เหลือร่องรอยหลักฐานเฉพาะองค์ที่อยู่ ๒ มุมด้านหน้า) ตอนกลางติดกับฐานเขียงชั้นแรกของเจดีย์ เป็นที่ตั้งของแท่นบูชา ลักษณะฐานปัทม์ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเว้นทางด้านหน้าที่เป็นมณฑปโถงขนาดย่อม


Resize-of-DSC01323.jpg



ส่วนฐานรองรับเสามณฑปย่อเก็จ ที่ตอนบนมุมทั้ง ๔ ยังมีร่องรอยหลักฐานของปูนฉาบรอบเสา ส่วนก่อสร้างตอนบนพังทลายหมด มีส่วนฐานเขียงประดับเจดีย์เล็กที่มุมทั้งสี่แท่นแก้วค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๒. วัดหนานช้าง




Resize-of-DSC01296.jpg



Resize-of-DSC01298.jpg



Resize-of-DSC01297.jpg



วัดหนานช้าง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สวนลำไยของเอกชน ระหว่างกลางกลุ่มโบราณสถาน วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดปู่เปี้ย วัดธาตุขาว และวัดอีค่าง ในระยะที่ผ่านมากรมศิลปากรใช้เงินงบประมาณซื้อที่ดินบริเวณวัด พร้อมกับได้ดำเนินการขุดแต่ง-บูรณะโบราณสถานที่เป็นซากเหลืออาคารสิ่งก่อสร้างของวัดนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๗ ค่ะ


ประวัติวัดหนานช้าง เป็นชื่อที่เรียกกันใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ โดยตั้งตามชื่อเดิมของเจ้าของที่ดินบริเวณวัด (บางท่านเรียกว่าวัดปิงห่าง) สภาพก่อนดำเนินงานขุดแต่งพบเพียงเนินดินปรากฏเศษและแนวก่อเรียงอิฐกระจัดกระจาย หลังการขุดแต่งจึงพบว่าใต้ดินลึกลงไปเฉลี่ย ๒ เมตรนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างและอาคารประเภทต่างๆ ของวัดจำนวนร่วม ๑๐ แห่ง แม้ว่าวัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงในเอกสารบันทึกทางประวัติศาสตร์ แต่หากพิจารณาจากรูปแบบการก่อสร้างและลักษณะทางสถาปัตยกรรมต่างๆ แล้ว อนุมานว่าคงก่อสร้างเป็นวัดขึ้นแล้วตั้งแต่สมัยที่รัฐล้านนารุ่งเรือง (ยุคทอง) ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑


Resize-of-DSC01301.jpg



เดี๋ยวเรามาเดินสำรวจบริเวณวัดหนานช้างกันเลยนะคะ  



Resize-of-DSC01305.jpg



ศาลาชั้นดินทางโบราณคดี  วัดหนานช้าง สร้างหลังคาคลุมชั้นดินเอาไว้บังฝนและแดด เพื่อรักษาไม่ให้ชั้นดินได้รับความเสียหายค่ะ


ชั้นดินทางโบราณคดี วัดหนานช้าง แบ่งออกเป็น ๕ ชั้น ดังนี้

ชั้นดินที่ ๑ เกิดจากการปรับถมพื้นที่ใน พ.ศ.๒๕๔๕ ลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายผสมเศษกระเบื้องดินของมุงหลังคา ชั้นดินนี้พบเฉพาะบริเวณนอกกำแพงวัดด้านทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก

ชั้นดินที่ ๒ แสดงการใช้พื้นที่บริเวณนี้หลังน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่ ลักษณะเป็นดินร่วน ดินเหนียวสีน้ำตาลดำ มีรากไม้และเศษอิฐปะปนชั้นดินนี้หนา ๐.๒๐-๐.๓๐ เมตร

ชั้นดินที่ ๓ ชั้นตะกอนพัดพาจากแม่น้ำปิงเมื่อน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่บริเวณด้านทิศตะวันออกของวัด ซึ่งมีแนวผนังดินกลบอยู่ พบชั้นทรายทับถมหนา ๐.๑๐-๐.๑๕ เมตร

ชั้นดินที่ ๔ เป็นส่วนดินด้านทิศตะวันตกของวัด ชั้นทรายหยาบ ผสมเศษอิฐและเศษกระเบื้องดินของมุงหลังคา โดยทั่วไปชั้นดินหนา ๐.๒๐ เมตร แต่ในตำแหน่งใกล้โบราณสถานชั้นดินนี้มีความหนาตั้งแต่ ๐.๖๐-๑.๐๐ เมตร

ชั้นดินที่ ๕ เกิดจากการขุดทับถมเป็นแนวผนังดิน ลักษณะเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลและมีกลุ่มทรายแทรกปะปนพบเฉพาะด้านทิศตะวันออกของวัด ผนังดินนี้วางตัวในแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ ขนาดฐานกว้าง ๘-๑๐ เมตร สูง ๐.๘๐-๑.๒๐ เมตร สันนิษฐานว่าผนังดินนี้สร้างหลังการสร้างวัดหนานช้าง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ และสร้างก่อนน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่


Resize-of-DSC01304.jpg


Resize-of-DSC01308.jpg



โขงประตู-กำแพงด้านหน้า วัดหนานช้าง ในส่วนของกำแพงวัดนี้ พบว่าสร้างโขงประตูทางเข้าออกหลักทางด้านหน้าตรงแนวกึ่งกลางวิหาร โดยสร้างทางเดินยกพื้นก่ออิฐเชื่อมต่อถึงกัน และพบช่องประตูเล็กเข้าออกมาที่กำแพงวัดด้านข้างซ้ายตอนกลางค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01238.jpg



พระเจดีย์
วัดอีค่าง เป็นทรงระฆังกลมแบบมาตรฐานล้านนาแท้ ตั้งอยู่บนฐานลานปทักษิณสูง และปรากฏร่องรอยแท่นฐานศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปตอนบน ๓ ด้าน ยกเว้นส่วนที่เป็นด้านหลังวิหารค่ะ

องค์เจดีย์ในส่วนฐานล่าง เป็นแบบเขียงสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ชั้นหน้ากระดาน ๘ เหลี่ยม รองรับส่วนฐานปัทม์ย่อเก็จ ๒ ตอนที่ท้องไม้ประดับชั้นบัวคว่ำ (ตอนล่าง) และบัวหงาย (ตอนบน)

ส่วนองค์ระฆังเจดีย์ ตั้งอยู่บนชั้นมาลัยเถากลม แบบชั้นฐานปัทม์ท้องไม้ลูกแก้วอกไก่คู่ บัลลังก์เป็นแบบแท่นฐานปัทม์สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ปัจจุบันส่วนของก้านฉัตร ปล้องไฉน และปลียอดพังทลายลงมาไม่เหลือหลักฐานแล้ว จัดเป็นเจดีย์ทรงระฆังรูปแบบมาตรฐานของแคว้นล้านนาในระยะพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๐๐๑-๒๑๐๐) ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชุมชนเมืองสำคัญต่างๆ ของล้านนา โดยมีต้นแบบที่สำคัญคือ องค์เจดีย์พระธาตุหริภุญไชย กล่าวคือ มีลักษณะเด่นอยู่ที่ส่วนองค์ระฆัง ที่ตั้งอยู่บนชั้นมาลัยเถาสูงหลายชั้น และมักจะมีฐานปัทม์แบบย่อเก็จรองรับไว้เสมอ แต่เจดีย์ประธานวัดอีค่างนี้แตกต่างไปจากเจดีย์องค์อื่นๆ คือการทำชั้นหน้ากระดาน ๘ เหลี่ยมรองรับส่วนฐานปัทม์ย่อเก็จ (รูปแบบเดิมอาจจะเป็นเจดีย์ทรง ๘ เหลี่ยม)



DSC01233.jpg



ส่วนแท่นฐานชุกชีพระประธาน วัดอีค่าง ลักษณะย่อเก็จออกมาทางด้านหน้า ตั้งอยู่ด้านหลังตอนบนทับซ้อนกับส่วนฐานลานปทักษิณของพระเจดีย์ค่ะ


DSC01243.jpg


แท่นบูชา อยู่รอบทั้งสี่ทิศ พระเจดีย์ วัดอีค่าง ค่ะ


DSC01236.jpg


ฐานอาคาร ฝังตัวอยู่ใต้ระดับดินเดียวกับวิหารทางด้านทิศตะวันออกใกล้วิหาร วัดอีค่าง ขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ ค่ะ


DSC01237.jpg


กำแพง วัดอีค่าง ขุดตรวจพบใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ ค่ะ



DSC01234.jpg


DSC01247.jpg



ฐานอาคารก่ออิฐ วัดอีค่าง อยู่บริเวณหลังพระเจดีย์ ซึ่งขุดแต่งในปี พ.ศ.๒๕๔๗ (ปัจจุบันยังไม่ได้ขุดแต่งอย่างครอบคลุมพื้นที่ของวัดเดิมทั้งหมด) ค่ะ


DSC01239.jpg



ซากฐานเจดีย์ราย วัดอีค่าง ก่ออิฐฐานทรง ๘ เหลี่ยมค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๑. วัดอีค่าง




DSC01225.jpg



วัดอีค่าง ตั้งอยู่ห่างจากวัดปู่เปี้ยออกมาทางทิศตะวันออก ระยะห่างกันประมาณ ๒๕๐ เมตร สถานภาพเป็นวัดร้างในบัญชีของกรมศาสนา แวดล้อมด้วยเขตที่ดินของเอกชน บริเวณวัดก่อนเข้าดำเนินงานขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ สภาพเป็นป่ารกชัฏมีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นเจริญเติบโตหนาแน่น หลังจากดำเนินการขุดแต่ง-บูรณะแล้วเสร็จ พบว่าสิ่งก่อสร้างมีสภาพโดยทั่วไปพังทลายเสียหาย พื้นที่โดยรอบเป็นเขตสวนลำไยและเขตที่อยู่อาศัยของชาวบ้านค่ะ


DSC01230.jpg



ประวัติวัดอีค่าง
วัดอีค่างสร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือ ที่เดิมเป็นเส้นทางการไหลของแม่น้ำปิง ไม่ปรากฏหลักฐานด้านเอกสารกล่าวถึงวัดนี้ แต่เข้าใจว่าต้องเป็นวัดสำคัญมากแห่งหนึ่งของเวียงกุมกาม เพราะว่าสิ่งก่อสร้างภายในบริเวณวัดล้วนมีขนาดใหญ่ ทั้งพระวิหารและพระเจดีย์ อีกทั้งการที่ที่ตั้งของวัดอยู่ในเขตกึ่งกลางเวียงและมีการก่อสร้างในส่วนพระเจดีย์-วิหาร ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเวียงกุมกาม จึงอาจเข้าลักษณะคติการสร้างวัดมหาธาตุประจำเมือง

ที่เรียกชื่อว่าวัดอีค่าง เนื่องมาจากแต่เดิมที่บริเวณวัดมีสภาพเป็นป่ารกร้างนั้น ได้มีฝูงค่างใช้ซากวัดร้างแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งค่างในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า อีก้าง (นางค่าง) ชาวบ้านจึงเรียกวัดร้างแห่งนี้ว่าวัดอีก้างกันสืบต่อกันมา



DSC01231.jpg



ผังบริเวณวัดอีค่าง ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างต่างๆ คือ พระเจดีย์ ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารค่ะ  


ฐานวิหาร ขนาดใหญ่ (ฐานเฉลี่ย ๑๓.๕๐ คูณ ๒๐.๐๐ เมตร) สร้างก่ออิฐสอดินฉาบผิวด้วยปูนขาว คงเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐานที่สร้างยกพื้นสูง เดิมเป็นวิหารแบบโถง (ไม่มีผนัง) หลังคาทรงหน้าจั่ว โครงสร้างเสาประกอบด้วย เสากลมก่ออิฐทรงโค้งของคู่กลาง ที่ใช้รองรับเครื่องหลังคาในส่วนแนวใต้จั่ว และเสาคู่ริมที่รองรับเครื่องหลังคาในส่วนปีกนก


DSC01251.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้า วิหาร วัดอีค่าง เป็นบันไดทางขึ้น-ลงหลักทางด้านหน้าตอนกลางวิหารที่มีตัวบันได ๒ ข้างชำรุด จึงได้มีการสร้างสะพานไม้เชื่อมแทนเพื่อรักษาบันไดเก่าเอาไว้ค่ะ



DSC01249.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้า มุมทิศตะวันออก และรูปปั้นตัวมกรคายพญานาค ๕ เศียร วิหาร วัดอีค่าง ค่ะ


DSC01235.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านข้าง ในส่วนย่อเก็จตอนหน้า (ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ) วิหาร วัดอีค่าง ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๐. วัดธาตุน้อย




Resize-of-DSC01256.jpg


Resize-of-DSC01255.jpg



วัดธาตุน้อย ตั้งอยู่ปากทางเข้าด้านตะวันตกวัดกานโถม (ช้างค้ำ) สามารถเดินทางเข้าถึงอย่างสะดวก ตามเส้นทางที่แยกมาจากถนนที่เชื่อมถนนเกาะกลาง และถนนเชียงใหม่-ลำพูน (ต้นยาง) เข้ามาในหมู่บ้านช้างค้ำ หมู่ ๑๑ ของตำบลท่าวังตาล สภาพพื้นที่โดยรอบเป็นเขตที่อยู่อาศัยของชุมชน วัดน้อยได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๑๐๘ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ ค่ะ



Resize-of-DSC01259.jpg



ฐานวิหาร วัดธาตุน้อย สร้างก่ออิฐถือปูน ฐานเป็นแบบปัทม์หรือฐานบัวทำย่อเก็จลดด้านหน้าและหลัง  เป็นวิหารแบบโถง พื้นปูอิฐเต็มที่ โครงสร้างเสาปรากฏร่องรอยเสาเดิมเป็นแบบก่ออิฐสูงขึ้นไป

ผังการก่อสร้างวัดธาตุน้อย พบว่า วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือเข้าสู่สายน้ำปิงห่าง โดยมีพระเจดีย์เป็นสิ่งก่อสร้างหลัก และมีวิหารสร้างตั้งอยู่ทางด้านหน้า องค์พระเจดีย์เหลือหลักฐานเฉพาะเพียงส่วนฐานเขียงก่ออิฐทรงสี่เหลี่ยมสูงตอนล่าง และมีร่องรอยการก่ออิฐตอนบนเป็นชั้นไม่ชัดเจนค่ะ


Resize-of-DSC01263.jpg



Resize-of-DSC01260.jpg



Resize-of-DSC01261.jpg



ส่วนด้านหลัง ฐานวิหาร วัดธาตุน้อย รูปแบบการก่อสร้างวิหารปรากฏส่วนที่เรียกว่า มูลคันธกุฎี อันเป็นสถานที่ประดิษฐานพระประธานแบบมีผนัง ลักษณะเดียวกับวิหารของบางวัดในเขตเมืองศรีสัชนาลัย-สุโขทัย รวมถึงวัดพระธาตุปูเข้า-สามเหลี่ยมทองคำในเขตเวียงสบรวกค่ะ


Resize-of-DSC01257.jpg



ฐานพระเจดีย์ ประดิษฐานด้านหลัง วิหาร วัดธาตุน้อย ค่ะ


รูปแบบพระเจดีย์ วัดธาตุน้อย เป็นทรงมณฑปแบบเจดีย์ ๕ ยอด เช่นเดียวกับเจดีย์วัดเชียงยัน-ลำพูน เจดีย์พระธาตุสองพี่น้อง(องค์พี่) เวียงปรึกษา และเจดีย์วัดป่าสักเมืองเชียงแสน ที่มีระยะเวลาก่อสร้างในรุ่นต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งวิเคราะห์จากชิ้นส่วนปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมที่พบจากการขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ ที่เป็นปูนปั้นรูปบัวกลุ่มหัวเสากรแบบซุ้มนั้น เป็นรูปแบบเก่าของเจดีย์ทรงมณฑปล้านนา แต่รูปแบบการก่อสร้างของเจดีย์ วัดธาตุน้อย อาจจะรับนำมาก่อสร้างในระยะหลัง เพราะหากพิจารณาร่วมกับทิศทางการหันหน้าวัดที่สร้างหันหน้าเข้าสู่แม่น้ำปิงสายเดิมนั้น จัดว่าเป็นวัดที่สร้างหรือซ่อมเสริมในระยะหลัง โดยเฉพาะสมัยที่เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางราชธานีของรัฐสมัยล้านนาแล้ว


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๙. วัดกุมกาม




Resize-of-DSC00796.jpg



วัดกุมกาม แต่เดิมบริเวณนี้เป็นที่ดินขนาดใหญ่ และมีการบุกรุกสร้างบ้านเรือนในเนินดิน ปีพ.ศ.๒๕๒๙ กรมศิลปากรได้เข้าดำเนินการขุดแต่ง

โบราณวัตถุที่สำคัญในการขุดพบที่วัดกุมกาม คือ ชิ้นส่วนพระพุทธรูปทำจากปูนปั้นศิลา และชิ้นส่วนพระพุทธรูปทำจากปูนปั้นสำริด ชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น ส่วนพระศกพระพุทธรูปจำนวนมาก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖-๘ เซนติเมตร แสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในวัดนี้มีขนาดใหญ่มาก พิจารณาจากสถาปัตยกรรม สามารถกำหนดอายุของวัดได้ว่าอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ค่ะ


Resize-of-DSC00790.jpg



Resize-of-DSC00793.jpg



ฐานวิหาร  วัดกุมกาม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารขนาดใหญ่ ที่มีขนาดใหญ่กว่าวิหารของวัดกุมกามหมายเลข ๑ มากค่ะ


Resize-of-DSC00792.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดกุมกาม ลักษณะเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม อยู่ด้านหลังวิหารค่ะ



Resize-of-DSC00791.jpg



ฐานมณฑป วัดกุมกาม เป็นซากโบราณสถานฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดกุมกามค่ะ


Resize-of-DSC00794.jpg



ภาพซ้าย คือ ฐานวิหาร และฐานพระเจดีย์ และภาพขวา คือ ฐานมณฑป วัดกุมกาม ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๘. วัดกุมกามหมายเลข ๑




Resize-of-DSC00809.jpg


Resize-of-DSC00812.jpg



วัดกุมกามหมายเลข ๑
ตั้งอยู่ใกล้กับวัดกุมกามในเขตเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออก ไม่ปรากฏประวัติความเป็นมาในตำนานทางประวัติศาสตร์และพงศาวดาร เมื่อกรมศิลปากรดำเนินการขุดพบ และบูรณะแต่งแล้วระหว่าง พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๑๖ จึงได้กำหนดชื่อชัดเจนว่า วัดกุมกามหมายเลข ๑

สำหรับโบราณวัตถุที่ขุดพบที่วัดกุมกามหมายเลข ๑ คือ ชิ้นส่วนพระพักตร์ เม็ดพระศกของพระพุทธรูปปูนปั้นและชิ้นส่วนพระบาทกับพระกรของพระพุทธรูปสำริด พิจารณาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมสามารถกำหนดอายุของวัดได้ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ค่ะ


Resize-of-DSC00805.jpg


Resize-of-DSC00801.jpg



ฐานวิหาร วัดกุมกามหมายเลข ๑
หันหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียงตรง แตกต่างจากแผนผังวิหารที่พบในเวียงกุมกาม ซึ่งมักจะหันหน้าวิหารไปด้านหน้า และเจดีย์อยู่ด้านหลังวิหารแต่พังมาหมดแล้ว เหลือเพียงฐานชั้นแรกในบริเวณนี้น่าจะมีส่วนประกอบสถาปัตยกรรมและอาคารอื่นอีก แต่อาจถูกทำลายไปแล้ว หรืออาจจะยังคงถูกฝังไว้ใต้ดินค่ะ


Resize-of-DSC00797.jpg


ฐานพระเจดีย์ วัดกุมกามหมายเลข ๑ อยู่ด้านหลังวิหารค่ะ


Resize-of-DSC00802.jpg



แท่นบูชา วัดกุมกามหมายเลข ๑ อยู่ด้านหลัง พระเจดีย์ ลักษณะเป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กๆ ค่ะ


Resize-of-DSC00800.jpg



กำแพงแก้ว ที่สร้างล้อมรอบวิหารและเจดีย์ วัดกุมกามหมายเลข ๑ ค่ะ


Resize-of-DSC00808.jpg


ร่องสายน้ำปิงเดิม ก่อนที่จะเปลี่ยนเส้นทางไปหลังจากน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งนั้นค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๗. วัดกู่อ้ายหลาน




Resize-of-DSC00815.jpg


วัดกู่อ้ายหลาน ตั้งอยู่บ้านช้างค้ำ ต.ท่าวังตาล ทางทิศเหนือในเขตเวียงกุมกาม ห่างแม่น้ำปิงสายเดิม (ปิงห่าง) ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑๐๐ เมตร ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้วค่ะ



Resize-of-DSC00816.jpg



ทางเข้า/ออก วัดกู่อ้ายหลาน และวัดกุมกามหมายเลข ๑ เราก็จะเห็นซอยเล็กๆ ติดกับกำแพงใหญ่บ้านคนค่ะ


Resize-of-DSC00831.jpg


Resize-of-DSC00817.jpg



ทางเข้า/ออก วัดกู่อ้ายหลาน อยู่ด้านซ้ายของซอย จะมีหญ้าขึ้นเต็มไปหมด เราก็เดินตามรอยทางหญ้าที่ถูกเหยียบแล้วเข้าไปในวัดกู่อ้ายหลานเลยนะคะ


Resize-of-DSC00818.jpg



ฐานพระเจดีย์ใหญ่ และวิหาร วัดกู่อ้ายหลาน ค่ะ


Resize-of-DSC00821.jpg



ฐานพระเจดีย์ใหญ่ที่เหลืออยู่
วัดกู่อ้ายหลาน ลักษณะของเจดีย์เป็นแบบสมัยล้านนาคล้ายกับเจดีย์กู่ป้าด้อมและวัดหัวหนอง ซึ่งสร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ และมีแท่นบูชา ๓ แท่นรอบพระเจดีย์ค่ะ



Resize-of-DSC00823.jpg



กำแพงแก้ว ที่สร้างไว้ล้อมรอบวิหารและเจดีย์ แต่เมื่อถูกน้ำท่วมพังทลายลงมาแล้วก็เหลือแต่ฐานกำแพงแก้ว จากเอกสารกล่าวว่ากำแพงแก้วที่เหลืออยู่เหลือเฉพาะทางด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ ค่ะ


Resize-of-DSC00826.jpg



โขงประตูทางเข้า วิหาร วัดกู่อ้ายหลาน ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่เหลือเฉพาะแต่ส่วนฐาน อยู่ติดกับฐานกำแพงด้านหน้าบันไดขึ้นวิหารค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC00083.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน
วิหาร วัดกู่มะเกลือ ค่ะ



DSC00087.jpg



ฐานพระเจดีย์ และฐานวิหาร วัดกู่มะเกลือ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันค่ะ



DSC00084.jpg



ฐานพระเจดีย์
วัดกู่มะเกลือ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกของวัด คงเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐาน เป็นฐานหน้ากระดาษ ๒ ชั้น เหนือฐานปัทม์ขึ้นไปพังทลายหมดแล้วค่ะ  



DSC00086.jpg



กำแพงแก้ว วัดกู่มะเกลือ อยู่ด้านทิศตะวันตกของพระเจดีย์ คงเหลือหลักฐานยาวประมาณ ๖ เมตร และซากโบราณสถานส่วนฐานอาคาร วัดกู่มะเกลือ ที่ปกคลุมด้วยหญ้าเต็มไปหมดค่ะ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-21 20:33 , Processed in 0.074596 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.