แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 14915|ตอบ: 33
go

วัดสวนดอก (บุปผาราม) อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ, พระบรมธาตุส่วนกลางกระหม่อม องค์ที่ ๑) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8


DSC09544.jpg


วัดสวนดอก (บุปผาราม)

ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

[พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุส่วนกลางกระหม่อม องค์ที่ ๑]


วัดสวนดอก หรือชื่อเดิมว่า วัดบุปผารามสวนดอกไม้ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ซึ่งมีความสำคัญมากวัดหนึ่งของเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนถนนสุเทพ เลขที่ ๒๑/๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยตั้งอยู่นอกเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ทางด้านทิศตะวันตก มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๕ ไร่ ๒ งาน ๔๔ ตารางวา และมีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๕ แปลง เนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ๔๔ ตารางวา ปัจจุบันผนวกเอาวัดพระเจ้าเก้าตื้อรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของวัดสวนดอกแล้ว




Rank: 1

สวยมากเลยค่ะ

Rank: 1

สวยมากครับ อนุโมทนาบุญด้วยครับ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 08:45 โดย pimnuttapa

  

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
• วัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
• หนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง. (คัดลอกจาก หนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง. นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง ๒๕๔๐-๒๕๔๕. พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕. หน้า ๒๓, ๑๕๑-๑๕๓.)
• และทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญในครั้งนี้


หมายเหตุ   
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทานค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 08:44 โดย pimnuttapa

DSC09840.jpg

บ่อน้ำโบราณ อยู่ด้านหน้า สุสานหลวงของกษัตริย์และเจ้านายในราชวงศ์เชียงใหม่ (ราชวงศ์ของพญากาวิละ) วัดสวนดอก ค่ะ



สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวทำบุญนมัสการพระบรมธาตุ วัดสวนดอก ก็ขอจบการเดินทางเพียงเท่านี้ค่ะ สวัสดีค่ะ   




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 08:41 โดย pimnuttapa

DSC09883.jpg

กู่บรรจุพระอัฐิของพระเจ้ากาวิละ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์แรกในราชวงศ์พญากาวิละ ภายใน สุสานหลวงของกษัตริย์และเจ้านายในราชวงศ์เชียงใหม่ วัดสวนดอก ค่ะ   


DSC09881.jpg

กู่บรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ในราชวงศ์พญากาวิละ (พ.ศ.๒๔๑๓-๒๔๔๐) ภายใน สุสานหลวงของกษัตริย์และเจ้านายในราชวงศ์เชียงใหม่ วัดสวนดอก ค่ะ   


DSC09879.jpg

กู่บรรจุพระอัฐิของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ภายใน สุสานหลวงของกษัตริย์และเจ้านายในราชวงศ์เชียงใหม่ วัดสวนดอก ค่ะ    


ประวัติพระราชชายาเจ้าดารารัศมี

ในสมัย ร.๕ เจ้าอินทรวิชานนท์ได้ถวายเจ้าดารารัศมีให้เป็นพระราชชายาใน ร.๕ พอช่วงหลังที่ ร.๕ ย้ายมาประทับที่วังสวนดุสิต พระราชชายาจ้าดารารัศมีก็ย้ายมาประทับที่พระตำหนักสวนฝรั่งกังไสด้วย หลังจากที่ ร.๕ เสด็จสวรรคตแล้ว ท่านก็ยังประทับอยู่ที่นั่นอีกประมาณ ๕-๖ ปี จนประมาณปี ๒๔๕๖-๒๔๕๗ ท่านจึงย้ายกลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ตามเดิม โดยได้ขอพระบรมราชนุญาติจาก ร.๖ พระโอรสของ ร.๕ แล้วท่านก็ย้ายมาประทับยังพระตำหนักดาราภิรมย์ พระราชชายาเจ้าดารารัศมีสิ้นพระชนม์ในสมัย ร.๗ ได้มีการพระราชทานเพลิงที่วัดสวนดอกและบรรจุพระอัฐิไว้ที่นี่





Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 08:36 โดย pimnuttapa

DSC09845.jpg

สุสานหลวงของกษัตริย์และเจ้านายในราชวงศ์เชียงใหม่ (ราชวงศ์ของพญากาวิละ) วัดสวนดอก ค่ะ  


DSC09849.jpg

ประวัติกู่กษัตริย์และเจ้านายในราชวงศ์เชียงใหม่ (ราชวงศ์ของพญากาวิละ)

กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ เป็นอนุสาวรีย์ซึ่งบรรจุพระอัฐิของอดีตผู้เจ้าครองนครของเชียงใหม่แต่ละพระองค์ นอกจากนี้ยังมีกู่บรรจุพระอัฐิของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจอมอยู่หัว รวมทั้งอัฐิของเจ้านายผู้ถือกำเนิดโดยตรงจากเจ้าหลวงเชียงใหม่ค่ะ





Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-10-4 06:46  


DSC09868.jpg

อาคาร ๖๐ เกจิอาจารย์ วัดสวนดอก ค่ะ


รายนามเจ้าอาวาส วัดสวนดอก ได้แก่


• พระมหาสุมนเถระ (พ.ศ.๑๙๑๕ – ๑๙๓๓ )
• พระมหากัสสปะเถระ (พ.ศ.๑๙๓๓ – ๑๙๔๗)
• พระมหานันทปัญญาเถระ (พ.ศ.๑๙๔๗ – ๑๙๖๒)
• พระมหาพุทธญาณ พระมหาพุทธคัมภีร์มงคล พระมหาญาณรังษี (พ.ศ. ๑๙๘๗ – ๑๙๙๔)
• พระมหาปิฎกสังฆราช (พ.ศ.๑๙๙๔ – ๒๐๑๐)
• พระมหาพุทธรักขิต บางตำราว่าพระมหาพุทธรักโต (พ.ศ.๒๐๑๐ – ๒๐๑๒)

• พระมหาญาณสาคร พระมหาสังฆราชานาคเสน พระมหาญาณวชิรโพธิ์ (พ.ศ.๒๐๒๒ – ๒๐๓๓)
• พระมหาพุกามญาณสาท (พ.ศ.๒๐๓๓ – ๒๐๔๓ – ๒๐๔๔)
• พระมหาธรรมโพธิ์ พระมหาวชิรปัญญา ครูบาศรีวิชัย (พ.ศ.๒๔๕๒ – ๒๔๗๕)
• พระครูสุคันธศีล หรือหลวงปู่คำแสน อินทะจะกะโร (พ.ศ.๒๔๘๙ – ๒๕๑๙)
• พระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ (พ.ศ.๒๕๒๔ – ๒๕๓๑)
• และเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระมหาวรรณ เขมจารี (พ .ศ.๒๕๓๒ เป็นต้นมา)


Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 08:35 โดย pimnuttapa

  

DSC09870.jpg

ศาลาครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดสวนดอก ค่ะ   


DSC09871.jpg

รูปครูบาเจ้าศรีวิชัย ประดิษฐานภายใน ศาลาครูบาศรีวิชัย วัดสวนดอก ค่ะ   


DSC09874.jpg

อนุสาวรีย์ (กู่) บรรจุอัฐิครูบาศรีวิชัย วัดสวนดอก ค่ะ   


DSC09875.jpg

รูปครูบาเจ้าศรีวิชัย ประดิษฐานภายใน อนุสาวรีย์ (กู่) บรรจุอัฐิครูบาศรีวิชัย วัดสวนดอก ค่ะ   

เดี๋ยวเรามากราบนมัสการอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัยพร้อมกันนะคะ

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) อะยัง วุจจะติ สิริวิชะยะจะนะ จะ มหาเถโร อุตตะมัง สีลัง นะระเทเวหิ ปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภา ภะวันตุเม อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ สิระสา อะหัง วันทามิ สัพพะโส สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ





Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 08:34 โดย pimnuttapa

  

DSC09565.jpg

พระเจ้าเก้าตื้อ พระพุทธรูปพระประธานอุโบสถ นำประดิษฐานภายใน อุโบสถ วัดสวนดอก เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๓ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๐๔๗ วัดสวนดอกขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ และกำหนดขอบเขต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ ค่ะ   


DSC09567.jpg

ประวัติพระเจ้าเก้าตื้อ ประดิษฐานภายใน อุโบสถ วัดสวนดอก

พระเจ้าเก้าตื้อ ถือเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญยิ่งของชาวเชียงใหม่ หล่อด้วยทองสำริด ปางมารวิชัยหรือปางสะดุ้งมาร ฝีมือช่างเชียงแสนผสมสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๑๒๐ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดพระเมาฬีประมาณ ๑๓๐ นิ้ว ปีชวด ฉศก หนัก ๙ ตื้อ (ตามน้ำหนักชั่งโบราณ)  (ตื้อ=หน่วยวัดน้ำหนัก) หล่อด้วยสัมฤทธิ์ทั้งองค์สามารถแยกออกได้เป็น ๙ ส่วน

ในสมัยพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์หนึ่งในราชวงศ์มังราย โปรดให้สร้างขึ้นในปี ๒๐๔๗ (ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑) องค์พระพุทธรูปได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยตอนปลายสุด (Post Classic Sukhothai) สังเกตได้จากรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง, หน้ารูปไข่, จมูกโด่ง, คิ้วโก่ง, บ่าใหญ่-เอวเล็ก, นั่งแบบขัดสมาธิราบในท่าปางมารวิชัยบนฐานเกลี้ยงไม่มีลวดลาย, นิ้วทั้งสี่ยาวเท่ากัน พระเจ้าเก้าตื้อนี้ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่งามที่สุดในภาคเหนือในช่วงล้านนาตอนปลายเลยทีเดียว จุดเด่นอีกอย่างของพระพุทธรูปทางภาคเหนือคือปากจะทาสีแดง คิ้วจะเขียนให้มีสีดำเข้ม สันนิษฐานว่าเป็นการซ่อมในช่วงที่พม่าครองเมือง พม่าถือว่าพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ปากจึงเป็นสีแดง, เขียนคิ้วดำค่ะ





‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-12-1 02:36 , Processed in 0.053870 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.