แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 13243|ตอบ: 15
go

วัดพระเจ้าตนหลวง ม.๑ ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_1342.JPG



วัดพระเจ้าตนหลวง

ม.๑ ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

[พระเจ้าหลีกเคราะห์ (พระเจ้าตนหลวง) อายุกว่า ๖๐๐ ปี]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 25 ม.ค. 2565)


Rank: 8Rank: 8

IMG_1196.JPG



การเดินทางไปวัดพระเจ้าตนหลวง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ และเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๐๑๐ ไปอีก ๖ กิโลเมตร ถึงวัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1203.JPG


IMG_1211.JPG


IMG_1230.JPG



วัดพระเจ้าตนหลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๘ บ้านหล่ายแก้ว หมู่ที่ ๑ ตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๓


IMG_1207.JPG


ซุ้มประตูทางเข้า วัดพระเจ้าตนหลวง



Rank: 8Rank: 8

IMG_1215.JPG



IMG_1212.JPG


IMG_1217.JPG



IMG_1227.JPG


IMG_1218.JPG



อนุสาวรีย์เจ้าแม่นางแก้ว วัดพระเจ้าตนหลวง ผู้สร้างวัดครั้งแรกประมาณ ๑,๔๐๐ ปี ศรัทธา นายจันทร์-นางทองใบ แสนไชย พร้อมด้วยบุตรธิดา สร้างขึ้นเมื่อ วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓


Rank: 8Rank: 8

ประวัติเจ้าแม่นางแก้ว วัดพระเจ้าตนหลวง




IMG_1453.JPG



๑. นางแก้ว เป็นลูกเต้าเหล่าใครไม่ปรากฏ มีฤาษีที่พำนักบนดอยอีหุยเลี้ยงไว้จนเติบใหญ่เป็นสาวสคราญ เล่ากันว่า นางมีผิวที่งามงดถึงสามสี วันหนึ่ง ขณะที่นางกำลังเพลินอยู่กับการเก็บผลไม้อยู่นั้น ได้มีพรานป่าผู้หนึ่งแอบดูอย่างตะลึงในความงาม



IMG_1458.JPG



๒. โดยมิรอช้า พรานป่าก็รีบนำเรื่องที่พบนางงามกลางไพรไปบอกพญาจันทร์ เจ้าเมืองหนุ่มแห่งเวียงหวาย (ที่ตั้งวัดพระเจ้าสะเลียมหวานในปัจจุบันนี้)



IMG_1380.JPG



๓. เมื่อข่าวความงามของนางกระจาย ดอยก็แทบพัง เพราะหนุ่มๆ ต่างขึ้นมาหมายปอง และเมื่อเห็นว่านางสมควรจะมีคู่ได้แล้ว ฤาษีจึงนัดหนุ่มๆ มาชี้แจงกติกาว่า แม้นผู้อยากได้นาง ก็จงวิ่งแข่งกันขึ้นดอยโดยอย่าอาการแสดงว่า หอบ หิว หุย เลย (เพื่อให้นางได้คู่ครองที่มีปัญญา ฉลาด)



IMG_1383.JPG



๔. ผู้เข้าแข่งขันครั้งนั้นมี ๕ คน คือ ๑. ขุนหลวงมะลังก๊ะ ๒. พญาวีวอ ๓. พญาติดเอี่ยวจองวอง ๔. พญาล่องกองปากหวาก ๕. พญาจันทร์ ซึ่งต่างก็ไปไม่รอด ยกเว้นพญาจันทร์ ซึ่งวิ่งไปก็ตะโกนไปว่า “น้องบ่หื้อปี้หุย ปี้ก็บ่หุยๆ” เป็นการระบายความเหนื่อยอย่างฉลาด จึงเป็นผู้ชนะ ได้นางแก้วไปครองสมปอง และดอยลูกนั้นจึงได้ชื่อว่า “ดอยอีหุย” ตราบทุกวันนี้ แล



IMG_1385.JPG



๕. รางวัลของผู้ชนะ คือสาวงาม นามว่า นางแก้ว วันที่พญาจันทร์รับนางเข้าเวียงหวาย นับว่าเป็นขบวนที่ยิ่งใหญ่นัก



IMG_1388.JPG



๖. ครั้งหนึ่ง ข้าศึกยกทัพมาประชิดเมืองเถิน พญาจันทร์ทราบข่าว จึงชวนสหายคือ พญากอก พญายี เจ้าเมืองหนองล่อง ยกทัพไปสกัด โดยหารู้ไม่ว่าสหายคิดไม่ซื่อ มีจิตปฏิในตัวนางแก้วอยู่ ดังนั้น พอเดินทัพมาถึง ณ ตำบลหนึ่ง ทั้ง ๒ จึงหนี “ป้อก” หรือกลับ ตำบลนั้นจึงชื่อว่า “แม่ป้อก” จนทุกวันนี้ แล



IMG_1390.JPG



๗. แล้วพญาเจ้าเล่ห์ทั้งสองก็มาหลอกนางแก้วว่า พญาจันทร์ตายขณะที่รบแล้ว ข้าศึกกำลังมา ให้นางวิ่งหนีไปเวียงหนองล่องโดยเร็ว นางแก้วหลงเชื่อจึงตามไป จึงรู้ว่าถูกหลอก เมื่อพญากอกพยายามเกี้ยวพาราสีลวนลาม แต่พอจะถูกเนื้อนาง กลับร้อนรุ่มด้วยบุญฤทธิ์



IMG_1392.JPG



๘. พอเสร็จการศึก พญาจันทร์ก็ยกทัพกลับเวียงหวาย จึงทราบเรื่องที่นางแก้วหนีไป จึงออกติดตาม ทราบแน่ชัดว่า นางอยู่กับพญากอกสหายรัก ก็โทมนัสยิ่ง จึงเดินทางกลับ ขณะถึง ณ แม่น้ำแห่งหนึ่ง ท่านยืนขมชะง่อนหินทอดสายตาลงไปในน้ำ ก็เห็นเงาตนเป็นบุรุษผู้งามงดหาที่ติมิได้ จึงเกิดขัตติมานะถึงอุทานว่า “โอ้หนอ อันตัวเรามีมีถึงแปดเหลี่ยม ซึ่งมิว่าจะพิศมองเหลี่ยมไหน ก็งามงดไปทุกส่วน ใยเราจักมาตามงอนง้อผู้หลายใจนางเดียว" ดังนี้ คนทั้งหลายจึงเรียกขานนามท่านว่า “เจ้าแปดเหลี่ยม” อีกนามหนึ่ง



IMG_1394.JPG



๙. ทั้งรักทั้งแค้นแน่นอุระ พญาจันทร์จึงขึ้นสู่ดอยศรีเมือง ยกเท้าถีบดอยพังด้วยพลังฤทธิ์ เพื่อกั้นเป็นเขตแดน บ้านนั้นจึงเรียก ดอยแดน แล้วถีบเซาะจนที่อีกแห่งจนเป็นร่องน้ำแบ่งเป็นละหล่าย(ฝ่าย) เชื่อมให้ชนทั้งสองเมืองไปมาหากัน ปัจจุบันเรียก บ้านหล่ายแก้ว บ้านหัวหล่าย ตามลำดับ ท่านอยู่ครองเวียงหวายจนจำเนียรกาลต่อมา แล้วเกิดเบื่อในสังสารวัฏฏ์ จึงออกบวชที่วัดดอยก้อม ตราบอายุขัย แล้วคนทั้งหลายจึงตั้งศาลเจ้าไว้เป็นที่เคารพสักการะ เรียก “ศาลเจ้าแปดเหลี่ยม” จนทุกวันนี้



IMG_1397.JPG



๑๐. ฝ่ายนางแก้ว พอทราบข่าวว่า พญาจันทร์ยังไม่ตายและชนะศึกกลับมาแล้ว ก็ดีใจนักจึงรีบไปหาทันที เมื่อถึงหัวหล่าย ก็ถูกพญาหัวหล่ายทัดทานว่าพญาจันทร์ไม่ให้พบ ก็ดึงดันไปจนได้ และไปหา ณ ที่พญาจันทร์บวช ก็ห้ามเข้าพบเด็ดขาด แม้นางจะอ้อนวอนชี้แจงความจริงอย่างไร ท้าวเธอก็ไม่ฟัง



IMG_1399.JPG



๑๑. เมื่อถูกคนที่รักยิ่งดังดวงใจไม่ให้พบ มิหนำซ้ำยังขับไล่ไสส่งอย่างสิ้นเยื่อใย หัวใจนางก็แทบสลาย กระเซอะกระเซิงกลับ หมายจะชวนเหล่านางสนมช่วยเป็นพยานแห่งความซื่อสัตย์ ระหว่างทางด้วยความเหนื่อยล้า คับแค้นทดท้อทรมานทรุดกายลงข้างบึงน้ำใส พอวักน้ำลูบพักตร์ นางก็อกแตกตาย น่าเวทนานัก ทิ้งไว้แต่วิญญาณรักอมตะ ให้เล่าขานสืบไป ตราบชั่วฟ้าดินสลาย แล


----------------------


(แหล่งที่มา : จิตรกรรมฝาผนังภาพประวัตินางแก้ว ภายในวิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง)


Rank: 8Rank: 8

IMG_1244.JPG



อนุสาวรีย์เจ้าผู้สร้างพระเจ้าตนหลวง พ.ศ.๑๙๐๙ วัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1249.JPG



IMG_1250.JPG



อนุสาวรีย์ครูบาสิริราชวํโสเถระ-พระยาจอม-พ่อเรือนมูล ผู้แรกเริ่มสร้างพระเจ้าตนหลวง เมื่อ พ.ศ.๑๙๐๙ วัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1253.JPG



อนุสาวรีย์พระสิริราชวํโสเถระ วัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1255.JPG



อนุสาวรีย์พ่อเรือนมูล วัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1256.JPG



อนุสาวรีย์พระยาจอม วัดพระเจ้าตนหลวง


Rank: 8Rank: 8

IMG_1273.JPG



IMG_1242.JPG



อนุสาวรีย์พระครูอินทรัตนคุณ-พระครูสุนทรธรรมานุรักษ์ วัดพระเจ้าตนหลวง  



IMG_1265.JPG



IMG_1266.JPG



รูปเหมือนพระครูอินทรัตนคุณ (ครูบาสองเมือง) อดีตเจ้าอาวาสวัดหล่ายแก้ว องค์ปฐมผู้บูรณะพระเจ้าตนหลวง และพัฒนาวัดจนรุ่งเรืองต่อมา



IMG_1270.JPG



IMG_1268.JPG



รูปเหมือนพระครูสุนทรธรรมานุรักษ์ (ครูบาดวงดี พรหมฺโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1259.JPG



กู่อัฐิ อยู่ด้านข้างอนุสาวรีย์พระครูอินทรัตนคุณ-พระครูสุนทรธรรมานุรักษ์ วัดพระเจ้าตนหลวง



Rank: 8Rank: 8

IMG_1322.JPG



IMG_1320.JPG



IMG_1272.JPG



IMG_1276.JPG


IMG_1329.JPG



วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง มีการบูรณะวิหารพระเจ้าตนหลวง เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ สิ้นทุนทรัพย์ ๓๒๐,๐๐๐ บาท



IMG_1291.JPG



IMG_1288.JPG



พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ๒ องค์ ประดิษฐานด้านหน้า วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง



Rank: 8Rank: 8

IMG_1333.JPG



พระเจ้าหลีกเคราะห์ หรือ พระเจ้าตนหลวง ประดิษฐานภายใน วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1431.JPG



IMG_1408.JPG



IMG_1335.JPG



IMG_1357.JPG



IMG_1367.JPG



IMG_1441.JPG



IMG_1447.JPG



พระเจ้าตนหลวง ประดิษฐานภายใน วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่โบราณแบบปูนปั้นสมัยเชียงแสนต่อสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๗.๕๐ เมตร สูงตั้งแต่ฐานถึงพระโมลี ๙.๕๐ เมตร กรมศิลปากรออกแบบในการบูรณะ



IMG_1358.JPG



IMG_1410.JPG



คำไหว้พระเจ้าหลีกเคราะห์ (พระเจ้าต๋นหลวง)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)   

        โย พุทโธ มังคะลัตถานัง สุมังคะโล โหติ ตัสสะ มหาพุทธะรูปัง วันทามิ สัพพะทุกขะ สัพพะโรคะ สัพพะภัยยะ วินาสันตุ สะทา โสตถี ภะวันตุ โน ฯ


        ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นมงคลดี ของเหล่าชนผู้มีความต้องการมงคล ขอความทุกข์โศกโรคภัยทั้งหลาย จงวินาศไป ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในกาลทุกเมื่อเทอญ



Rank: 8Rank: 8

จิตรกรรมฝาผนังภาพประวัติพระเจ้าตนหลวง

ภายในวิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง



IMG_1456.JPG



๑. เชียงแสนในอดีตครั้งหนึ่ง ได้เกิดทุพภิกขภัยพิบัติร้ายแรง จนประชาชนอพยพหลีกหนีเคราะห์ภัยไปคนละทิศละทาง และมีพระเถระรูปหนึ่งเดินธุดงค์มุ่งสู่นครหริภุญชัยเพียงรูปเดียว



IMG_1378.JPG



๒. พระเถระรูปนั้นคือ พระสิริราชวํโส วัดพระแก้ว พระราชครูพระเจ้าแสนภู ผู้ครองนครเชียงแสน ธุดงค์หลีกเคราะห์ภัยพรหมจรรย์ ระเรื่อยมาจนล่วงถึง ณ ตำบลหนึ่ง พิจารณาเห็นเป็นที่สัปปายะ จึงคิดปักกลดพำนักบำเพ็ญเพียร (ก็คือ ที่ตั้งวัดพระเจ้าตนหลวงในปัจจุบันนี้)



IMG_1381.JPG



๓. พญาจ๋อม เจ้าเมือง และปู่เขื่อนคำ มาพบเห็นปฏิปทาน่าเลื่อมใส จึงนิมนต์อยู่ เพื่อพัฒนา ณ ที่นี้ ต่อไป



IMG_1384.JPG



๔. ลุจุลศักราช ๗๒๘ ตรงกับพุทธศักราช ๑๙๐๙ ท่านก็ได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง ขนาดหน้าตักกว้าง ๗.๕๐ เมตร สูงตั้งแต่ฐานถึงเมาลี ๙.๕๐ เมตร เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ได้หลีกเคราะห์ภัยมา คนทั้งหลายจึงเรียก พระเจ้าหลีกเคราะห์ หรือ พระเจ้าตนหลวง แล



IMG_1387.JPG



. นานาในโลกล้วนอนิจจัง ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ก็เช่นกัน เมื่อกาลผ่านไปเนิ่นนาน จากภัยพิบัติต่างๆ เช่น ภัยจากสงคราม เป็นต้น จึงทรุดโทรมหักพังน่าสังเวช



IMG_1389.JPG



๗. มีผู้คิดจะบูรณะหลายครั้ง มีครูบายาสมุทร ครูบาศรีวิชัย เป็นต้น แต่ไม่สำเร็จ และเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ พระครูอินทรัตนคุณและพระอธิการน้อย จึงดำริที่จะสร้างต่อ



IMG_1391.JPG



๘. และพอถึงวันเสาร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๕ จึงเริ่มวางศิลาฤกษ์บูรณะ และบรรจุดวงหทัย เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๖ เดือน ๑๐ เหนือ แรม ๑๑ ค่ำ



IMG_1393.JPG



๙. หลังจากบรรจุดวงหทัยแล้ว พลบค่ำวันหนึ่ง ก็ปรากฏรัศมีพวยพุ่งจากองค์พระงดงามยิ่ง หลังจากนั้น พระพิรุณก็โปรยปรายพรูพรั่ง ดั่งจะเป็นการรับรู้และอนุโมทนาของเหล่าทวยเทพในสากลจักรวาล



IMG_1396.JPG



๑๐. ในวันแรม ๑๕ ค่ำ ตรงกับเดือน ๘ เหนือ ได้จัดให้มีงานประเพณีสรงน้ำที่ยิ่งใหญ่ทุกปี



IMG_1398.JPG



ภาพวาดพระครูสุนทรธรรมานุรักษ์ (ดวงดี พรหมฺโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเจ้าตนหลวง ผู้รวบรวมเรียบเรียง ประวัตินางแก้ว และประวัติของพระเจ้าตนหลวงทั้งหมด


----------------------


(แหล่งที่มา : จิตรกรรมฝาผนังภาพประวัติพระเจ้าตนหลวง ภายในวิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง ได้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๑ สิ้นทุนทรัพย์ทั้งหมด ๑๕๓,๒๐๐ บาท)


Rank: 8Rank: 8

IMG_1426.JPG



ประวัติการสร้างพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง



ตามประวัติการสร้างเล่าว่า สมัย พระเจ้าแสนภู ครองอาณาจักรลานนาไทย ได้สร้างเมืองใหม่ที่เชียงแสนเป็นเมืองหลวง โดยมี พระสิริราชวังโส เป็นพระราชครู พระเถระองค์นี้มีความรู้ความสามารถมาก อาศัยในวัดพระแก้วภายในพระราชวังนั่นเอง

ครั้งหนึ่ง พระคุณท่านได้สร้างพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ขึ้นไว้สักการบูชาในพระราชวังองค์หนึ่ง มีขนาดใหญ่โตมาก โดยให้ฉายาว่า พระเจ้าล้านตื้อ ปัจจุบันนี้แม่น้ำโขงเปลี่ยนทางเดิน ไปเซาะพังเอาฝั่งแม่โขงตอนที่ตั้งตัวเมืองเชียงแสนพังทลายไป พระเจ้าล้านตื้อก็ได้ทรุดลงไปจมอยู่ในแม่น้ำโขง

แต่เมื่อไม่นานมานี้เอง บริษัทอิตาเลียนไทยฯ จำกัด ได้ใช้เครื่องมือสมัยใหม่ แต่ก็ไม่สามารถดึงขึ้นมาได้ มีผู้นำชิ้นส่วนที่ได้ออกมาแล้ว คือพระเมาลีเท่านั้น ได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานเชียงแสน เรื่องนี้หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดจันทาราม (ท่าซุง)) ท่านเคยบอกไว้ว่า ถ้าพระพุทธรูปยังอยู่ที่นั้นจะเป็นมงคลแก่เขตชายแดนของประเทศไทย

ขอเล่าเรื่องของพระเถระต่อไปว่า วันหนึ่ง ท่านได้ไปบิณฑบาตภายในละแวกบ้านขณะนั้น ท่านได้เห็นทารกเพศหญิงคนหนึ่งนอนอยู่บนเบาะภายในบ้าน จึงได้รู้ด้วยญาณของตนเองว่า เด็กหญิงคนนี้แหละ จะมาเป็นคู่ครองของเรา

เมื่อกลับมาจากบิณฑบาตแล้ว จึงมาคิดพิจารณาว่า หากเราอยู่ในเมืองนี้ต่อไป ความเสื่อมเสียทางเพศพรหมจรรย์และเคราะห์ภัยพิบัติอื่นๆ อีกหลายอย่างก็จะบังเกิดมีขึ้นแก่ตน เราควรจะหลีกหนีออกจากเมืองนี้ไปให้ไกล

เมื่อคิดดังนี้แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจจาริกออกจากเมืองเชียงแสน มุ่งหน้ามาทางเมืองลำพูนจนเลยเข้ามาถึงเขตอำเภอบ้านโฮ่ง เมื่อเห็นว่าไกลพอสมควรแล้ว ท่านจึงตัดสินใจสร้างวัดขึ้น แล้วสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นอีกองค์หนึ่ง ให้เหมือนอย่างครั้งที่ได้อยู่ในเมืองเชียงแสน แล้วให้ชื่อว่า พระเจ้าหลีกเคราะห์ คือ พระเจ้าตนหลวง ในปัจจุบันนี้


สมัยต่อมาบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม วัดพระเจ้าตนหลวงก็รกร้างเป็นป่าเป็นดง จนถึง พ.ศ.๒๔๗๖ จึงได้อาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยมาเป็นประธาน ท่านก็ยินดีสนับสนุน คิดที่จะสร้างพระองค์ใหม่ขึ้น โดยจะไม่บูรณะพระองค์เก่า แต่ในขณะที่กำลังคิดวางโครงการกัน พระครูอินทนนท์ วัดบ้านก้อง เจ้าคณะอำเภอป่าซาง ได้ขอให้หยุดการก่อสร้างต่อไป

เพราะฉะนั้น โครงการที่ครูบาเจ้าฯ ได้คิดไว้จึงเป็นอันล้มเลิกไป ส่วนวัสดุก่อสร้าง เช่น อิฐ ปูน ไม้ ที่ชาวบ้านหามาให้ ก็ได้นำไปสร้างวัดและโรงเรียนกันเสียหมด จึงเป็นที่น่าเสียดายเจตนาดีของท่านครูบาเจ้าฯ และศรัทธาทั้งหลายที่ได้ถูกเพิกถอนไปถึง ๒ ครั้ง


ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๐๕ ได้จัดให้มีพิธีการเทศน์ เพื่อหาทุนก่อสร้างพระวิหารพระเจ้าตนหลวง ในขณะที่พระให้พรและชี้แจงความเป็นมาของพระเจ้าตนหลวง แล้วได้ชักชวนให้คณะศรัทธาประชาชนร่วมมือกับคณะสงฆ์ ช่วยกันบูรณะพระเจ้าตนหลวงต่อไป ทุกคนที่ได้ไปร่วมพิธีกันวันนั้นประมาณพันกว่าคน ต่างก็สาธุการเห็นพร้อมด้วยกัน

ในขณะที่จบพิธีแล้วนั่นเอง ชาวบ้านทั้งหลายกำลังจะกลับบ้าน ต่างก็เห็นปาฏิหาริย์ขึ้นบนท้องฟ้า คือเกิดมีท้องฟ้ามืดคลึ้มในทันทีทันใด และเกิดเป็นลมฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก จนถึงกับพลัดหลงกันไป

เวลาพลบค่ำ พวกคนที่มาติดตามหาลูกหลานที่พลัดหลง ๓-๔ คน ได้เดินผ่านไปทางใกล้ๆ กับพระเจ้าตนหลวง สิ่งที่น่าอัศจรรย์ทำให้คนพวกนั้นตกตะลึง คือมีแสงสว่างจ้าพุ่งออกจากฐานพระขึ้นสู่ท้องฟ้า สูงประมาณเท่าต้นตาล ในที่ต่อหน้าต่อตา ทั้งๆ ที่เมฆฝนยังโปรยลงมาไม่ขาดระยะ

ด้วยอภินิหารนี่เอง ประชาชนบริเวณนี้เมื่อถึงเวลาฝนแล้ง มักจะพากันไปบูชาสรงน้ำพระเป็นประจำ เพื่อทำพิธีขอฝน และก็มักสมความปรารถนาทุกปี

---------------------


(แหล่งที่มา : พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๓๕๘-๓๕๙.)


DSC05778.JPG



ประวัติพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง



ประวัติความเป็นมากล่าวว่า เมื่อ พ.ศ.๑๙๐๙ ปีมะเมีย มีพระเถระจากเมืองเชียงแสนเป็นผู้สร้างขึ้น จนบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม บ้านแตกสาแหรกขาด วัดก็ได้รกร้างกลายเป็นป่า ขาดผู้ปฏิบัติรักษาจนถูกช้างป่าทำลาย พระเจ้าตนหลวง ได้พังทลายลงคงเหลือพระพักตร์ และพระวรกายบางส่วน

กาลเวลาล่วงเลยมาจนถึง พ.ศ.๒๔๖๕ ครูบายาสมุทร วัดเหล่ายาว คิดบูรณะก่อสร้างขึ้น แต่ก็ได้มรณภาพลงเสียก่อน จึงเป็นอันล้มเลิกไป

พ.ศ.๒๔๖๗ คณะศรัทธาประชาชนได้อาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยมาเป็นประธานคิดบูรณะก่อสร้าง แต่ก็ต้องชงักไปอีก เมื่อเจ้าคณะอำเภอปากบ่อง (ป่าซาง) ขอให้หยุดการก่อสร้าง

พ.ศ.๒๕๐๓ พระครูอินทรัตนคุณ เจ้าอาวาสวัดหล่ายแก้ว มอบให้พระดวงดี พรหมโชโต พร้อมด้วยศรัทธาไปขุดหงายพระพักตร์เพื่อทำการซ่อมโบกปูนภายในพระเศียร แล้วทำการอัญเชิญย้ายจากที่เดิมไปไว้ทางทิศใต้ฐานพระ และทำการก่อสร้างวิหารชั่วคราว เพื่อรอเวลาชักขึ้นสู่แท่นบูรณะ

พ.ศ.๒๕๐๖ ตรงกับเดือนสิบเหนือ แรม ๑๑ ค่ำ ก็ได้ทำพิธีบรรจุดวงหฤทัย ซึ่งมีพระสงฆ์และประชาชนมาร่วมพิธีกันอย่างคับคั่ง

---------------------


(แหล่งที่มา : ป้ายประวัติพระเจ้าตนหลวง)



IMG_1419.JPG



รูปภาพพระครูอินทรัตนคุณ (ครูบาสองเมือง) องค์ปฐมผู้บูรณะพระเจ้าตนหลวง และพัฒนาวัดจนรุ่งเรืองต่อมา ภายใน วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง


IMG_1405.JPG



รูปภาพและรูปเหมือนพระครูสุนทรธรรมานุรักษ์ (ครูบาดวงดี พรหมฺโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเจ้าตนหลวง ภายใน วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง


DSC05840.JPG



จิตรกรรมฝาผนังภาพพุทธประวัติ ภายใน วิหารพระเจ้าตนหลวง วัดพระเจ้าตนหลวง


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 02:29 , Processed in 0.062458 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.