แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 9034|ตอบ: 10
go

วัดสะปุ๋งน้อย ม.๓ ต.ม่วงน้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_1659.JPG



วัดสะปุ๋งน้อย  

ม.๓ ต.ม่วงน้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

[พระบรมธาตุเจดีย์]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 4 ม.ค. 2565)


Rank: 8Rank: 8

Picturekan-394.jpg



วัดสะปุ๋งน้อย ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๕ บ้านสะปุ๋ง หมู่ที่ ๓ ตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าซางไปทางทิศใต้ประมาณ ๔ กิโลเมตร


IMG_1513.JPG



IMG_1545.JPG



วิหาร วัดสะปุ๋งน้อย



DSC07592.JPG



รูปปั้นสิงห์ ประดับประตูทางเข้าด้านหน้า วัดสะปุ๋งน้อย


IMG_1685.JPG



IMG_1719.JPG



IMG_1707.JPG



IMG_1712.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดสะปุ๋งน้อย


Rank: 8Rank: 8

IMG_1705.1.JPG



IMG_1697-99.JPG



IMG_1695.1.JPG



จิตรกรรมฝาผนังภาพวิถีชีวิตและการอพยพของชาวยอง จากสิบสองปันนามาตั้งถิ่นฐานที่นครหริภุญชัย (จังหวัดลำพูนปัจจุบัน) ภายใน วิหาร วัดสะปุ๋งน้อย


Rank: 8Rank: 8

IMG_1644.JPG



IMG_1734.JPG



IMG_1746.JPG



IMG_1623.JPG



IMG_1667.JPG



IMG_1500.JPG



IMG_1590.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดสะปุ๋งน้อย ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


Picturekan 382.jpg



Picturekan 387.jpg



Picturekan-369.jpg



Picturekan 372.jpg



ภาพเก่าพระบรมธาตุเจดีย์ พ.ศ.๒๕๕๐ วัดสะปุ๋งน้อย


IMG_1537.JPG


คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(กล่าวนะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ


IMG_1730.JPG



ประวัติวัดสะปุ๋งน้อย



วัดสะปุ๋งน้อย ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๕ บ้านสะปุ๋งน้อย ถนนสายป่าซาง-ลี้ หมู่ที่ ๓ ตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน ๖๕ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๒๑๑๓๔ และ ๒๖๐๘๑ อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ประมาณ ๒ เส้น ๘ วา จดโรงเรียน ทิศใต้ ประมาณ ๒ เส้น ๗ วา จดลำเหมืองสาธารณะ ทิศตะวันออก ประมาณ ๓ เส้น ๖ วา จดลำเหมืองสาธารณะ ทิศตะวันตก ประมาณ ๑ เส้น ๑๓ วา จดทางสาธารณะ


อาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร กุฏิสงฆ์ ศาลาอเนกประสงค์ และศาลาบำเพ็ญกุศล ปูชนียวัตถุมี พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น พระพุทธรูปเนื้อทองสัมฤทธิ์ พระพุทธรูปเนื้อเงิน และเจดีย์


วัดสะปุ๋งน้อย สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๕ เดิมชาวบ้านเวลาทำบุญจะต้องเดินทางไปวัดสะปุ๋งหลวง เมื่อถึงหน้าฝนการเดินทางไปมาลำบาก ครูบาวัดสะปุ๋งหลวงจึงให้ครูบาอุปละไปตั้งวัดขึ้นใหม่ในหมู่บ้านฮ้อง ครูบาอุปละพร้อมด้วยศรัทธาชาวบ้านจึงได้แผ้วถางแล้วสร้างวัดขึ้น และได้ขนานนามวัดบ้านฮ้องนี้ใหม่ว่า "วัดสะปุ๋งน้อย" และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๕


การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

รูปที่ ๑ ครูบาอุปละ  พ.ศ.๒๓๗๒-๒๔๐๒

รูปที่ ๒ ครูบาคำภิระ คมฺภีรปญฺโญ  พ.ศ.๒๔๐๒-๒๔๓๒

รูปที่ ๓ ครูบาพรหมเสน พรหมเสโน  พ.ศ.๒๔๓๒-๒๔๖๒

รูปที่ ๔ ครูบาอ้าย อินฺทปญฺโญ  พ.ศ.๒๔๖๒-๒๔๙๒

รูปที่ ๕ ครูบาพรหม พฺรหฺมปญฺโญ  พ.ศ.๒๔๙๒-๒๕๑๙

รูปที่ ๖ พระอธิการจินดา จิตฺตธมฺโม  พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๓๐

รูปที่ ๗ พระอธิการสวัสดิ์ สิริวณฺโณ  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นต้นมา


----------------------


(แหล่งที่มา : ระบบฐานข้อมูลวัด สนับสนุนโดย มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. วัดสะปุ๋งน้อย. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.templethailand.org/ID51060405-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2.html. (วันที่ค้นข้อมูล : ๑ มีนาคม ๒๕๕๘.))


Rank: 8Rank: 8

IMG_1767.JPG



IMG_1761.jpg



IMG_1754.jpg



IMG_1758.jpg



IMG_1756.jpg



พระพุทธรูปปางอุ้มบาตรและปางห้ามญาติ
ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน พระบรมธาตุเจดีย์ วัดสะปุ๋งน้อย


Rank: 8Rank: 8

IMG_1676.JPG



IMG_1679.JPG



พระพุทธรูปปางมารวิชัย ๒ องค์ ประดิษฐานด้านทิศตะวันออก พระบรมธาตุเจดีย์ วัดสะปุ๋งน้อย



IMG_1743.JPG



IMG_1769.JPG



รูปปั้นสิงห์ อยู่บนมุมฐานเขียงทั้งสี่ทิศ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดสะปุ๋งน้อย


IMG_1725.JPG



IMG_1720.JPG



รูปปั้นกุมภัณฑ์ อยู่บนหัวเสากำแพงแก้วทั้งสี่ทิศ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดสะปุ๋งน้อย


Rank: 8Rank: 8

IMG_1510.JPG


IMG_1518.JPG


IMG_1522.JPG


IMG_1529.JPG



อนุสาวรีย์ครูบาอ้าย อินทะปัญโญ วัดสะปุ๋งน้อย บรรจุพระธาตุดิบของครูบาอ้าย อินทะปัญโญ ไว้ในรูปเหมือนของครูบา



Picturekan 365.jpg



คำนมัสการครูบาอ้าย อินทะปัญโญ

(ตั้งนะโม ๓ จบ) อินทะปัญโญ กะตัง นัง วา สุขะสันตัง กะริ สิระสา นะมามิ ฯ (กราบ)



Picturekan-366.jpg



ประวัติครูบาอ้าย อินทะปัญโญ


(พระนักปฏิบัติแห่งวัดสะปุ๋งน้อย)



ครูบาอ้าย ชื่อเดิมคือ อ้าย เสนป่าหมุ้น เกิดปีเถาะ พ.ศ.๒๔๓๔ เป็นบุตรของ พ่อสม และ แม่ดา เสนป่าหมุ้น บ้านสะปุ๋ง หมู่ ๓ ต.ม่วงน้อย แขวงปากบ่อง (อ.ป่าซางปัจจุบัน) จ.ลำพูน มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันจำนวน ๕ คน


เมื่อเจริญวัยพอสมควร นอกจากครูบาอ้ายจะช่วยพ่อแม่ทำงานอย่างเต็มความสามารถแล้ว ท่านยังเป็นเด็กที่ชอบติดตามพ่อแม่ไปทำบุญที่วัดเป็นประจำ และมีนิสัยรักสันโดษไม่ชอบยุ่งเกี่ยวกับญาติพี่น้อง หรือคบหาสมาคมกับเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง


การศึกษา

เมื่ออายุได้ ๑๐ ปี พ่อแม่ได้พาไปฝากเล่าเรียนหนังสือภาษาล้านนาไทย ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองเหนือ กับครูบาอุปละ เจ้าอาวาสวัดสะปุ๋ง (บ้านฮ้อง) ซึ่งท่านมีความตั้งใจศึกษาเล่าเรียนภาษาพื้นเมืองเป็นเวลา ๕ ปี จนสามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี ตลอดจนท่องคำไหว้พระสวดมนต์ได้อย่างคล่องแคล่ว


การบรรพชา-อุปสมบท

กระทั่งปี พ.ศ.๒๔๔๙ เมื่อพออายุได้ ๑๕ ปี ครูบาอ้ายได้บวชเป็นสามเณร ณ วัดสะปุ๋ง (บ้านฮ้อง) โดยมีครูบาอุปละเป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งนอกจากจะศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนศึกษาภาษาพื้นเมืองแล้ว พระเณรสมัยนั้นยังฝึกหัดเขียนธรรมใบลาน และเทศน์ธรรมใบลานด้วย ทำให้สามเณรอ้ายได้ชื่อว่าเป็นนักเทศน์ธรรมที่เก่งรูปหนึ่ง


จากนั้นเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ในวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๔ ครูบาอ้ายได้บวชเป็นภิกษุ ณ วัดป่าตาล ต.ม่วงน้อย โดยมีครูบาธรรมวงค์ วัดสันกำแพง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้นามฉายาว่า “อินทะปัญโญ  ภิกขุ” หลังจากนั้นท่านหมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ จนมีความรู้ความสามารถดีแล้ว ครูบาอ้ายจึงได้หาความรู้เพิ่มเติม ทั้งวิชาเวทมนต์คาถา วิชาโหราศาสตร์ และวิชาแพทย์แผนโบราณ จากครูบาอาจารย์หลายสำนัก


ครูบาอ้ายนักปฏิบัติและผู้มีจิตเมตตาธรรมสูง

ครูบาอ้ายชอบความสงบ และไม่ค่อยพูดคุยกับใคร ส่วนมากท่านจะบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานอยู่บนกุฏิ กิจวัตรประจำของท่านคือ ตื่นนอนตั้งแต่ตี ๔ ของทุกๆ วัน เพื่อทำกิจส่วนตัว จากนั้นท่านจะสวดมนต์ไหว้พระ เสร็จแล้วจึงนั่งสมาธิภาวนาตกลูกประคำ พอออกจากสมาธิก็รอจนสว่าง ท่านจะถือไม้กวาดกับตะกร้าเก็บกวาดใบไม้ใบหญ้าบริเวณหน้ากุฏิ และลานวัดไปเรื่อยๆ ทำเช่นนี้เป็นประจำทุกเช้าและเย็น โดยไม่เคยดุว่าหรือตำหนิพระเณรรูปใดที่ตื่นสาย หรือไม่ช่วยทำความสะอาดวัด พอตกเย็นท่านก็จะทำวัตรสวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา และเดินจงกรมรอบพระธาตุเจดีย์หรือข้างพระวิหารเป็นประจำมิได้ขาด


แต่ถ้าญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ได้รับความเดือดร้อนและขอพบ ท่านจะให้คำแนะนำช่วยเหลือเสมอ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม นอกจากนี้ท่านยังเมตตาเทศนาสั่งสอนและให้ความรู้ทางธรรมเป็นประจำทุกวันพระ โดยมุ่งสอนให้ญาติโยมอุบาสก และอุบาสิกา มีศรัทธาตั้งมั่นในศีลธรรม ลดละการทำความชั่ว ประกอบแต่คุณงามความดี และให้หมั่นเข้าวัดปฏิบัติธรรมตั้งแต่เมื่อเยาว์วัย


นอกจากนี้ครูบาอ้ายยังนำความรู้วิชาแพทย์แผนโบราณ ซึ่งร่ำเรียนมาคิดค้นเป็นยารักษาโรคนิ่ว-ลมนิ่ว เพื่อช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยให้กับผู้ป่วยจำนวนมาก จนเป็นที่ทราบกันดีถึงสรรพคุณของยารักษาโรคนิ่ว-ลมนิ่ว ตำรับครูบาอ้ายว่า สามารถรักษาผู้ป่วยทุกรายให้หายได้ ทำให้ผู้ป่วยโรคนิ่วจากทุกพื้นที่ต้องเดินทางมาขอรับแจกฟรีจากท่านเป็นประจำ


สร้างโอกาสทางการศึกษา

ครูบาอ้ายยังมีบทบาทในการพัฒนา และสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กๆ โดยเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๓ ท่านได้เป็นประธานสร้างโรงเรียนชั่วคราว ซึ่งย้ายจากวัดสะปุ๋งหลวงมาอยู่ที่วัดสะปุ๋งน้อย โดยอาศัยศาลาบาตรของวัดเป็นสถานที่เรียนภาษาไทยให้กับเด็กนักเรียน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติเงินจำนวน ๑,๐๐๐ บาท เพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น โดยมอบให้ครูบาอ้าย อินทปัญโญ เป็นประธาน พร้อมด้วยเจ้าอธิการพรหม พรหมปัญโญ เจ้าคณะตำบลม่วงน้อย และพระอธิการอิ่นคำ คัมภีโร เจ้าอาวาสวัดสะปุ๋งหลวง ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนตามแบบป.๑ ของกระทรวงศึกษาธิการ ในที่ดินของวัดสะปุ๋งน้อย โดยอาคารดังกล่าวกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๗ เมตร และสูง ๔ เมตร มีห้องเรียนทั้งหมด ๓ ห้อง


แต่เนื่องจากระหว่างการก่อสร้าง อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทำให้วัสดุก่อสร้างมีราคาแพงมากและหายาก การก่อสร้างโรงเรียนจึงล่าช้าและมาแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๘๘ ซึ่งขณะนั้นทางราชการได้ยุบตำบลม่วงน้อยและชาวบ้านสะปุ๋งไปรวมกับตำบลป่าซาง จึงได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนประชาบาลตำบลป่าซาง” (อินทปัญญาราษฎร์รังสฤษฎ์)


ต่อมาทางราชการได้จัดตั้งตำบลม่วงน้อยขึ้นมาใหม่ และกำหนดให้หมู่บ้านสะปุ๋งกลับมาอยู่กับตำบลม่วงน้อยเหมือนเดิม โรงเรียนจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนประชาบาล ๓ (อินทปัญญาราษฎร์รังสฤษฎ์) จนกระทั่งราชการได้วางระเบียบใหม่อีกครั้ง ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนวัดสะปุ๋งน้อย” (อินทปัญญาราษฎร์รังสฤษฎ์) ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้


พัฒนาถาวรวัตถุเพื่อพุทธศาสนา

ครูบาอ้าย พยายามส่งเสริมพระพุทธศาสนาด้วยการพัฒนาถาวรวัตถุของวัดสะปุ๋ง ให้เจริญก้าวหน้า และบูรณปฏิสังขรณ์บริเวณวัดให้มีความเป็นระเบียบน่ามอง โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดของวัดเป็นสิ่งที่ท่านให้ความสำคัญ จนเป็นที่ทราบกันดีว่า บริเวณลานวัดสะปุ๋งน้อยสะอาดงามตา ซึ่งครูบาอ้ายได้กำชับศิษยานุศิษย์และญาติโยม ภิกษุสามเณรว่า ถ้าไม่มีตุ๊ลุงต้องช่วยกันดูแลวัดให้ดี อย่าให้วัดสกปรกรุงรัง เพราะวัดเป็นสถานที่ที่ผู้คนมากราบไหว้บูชา จึงไม่ควรปล่อยปละละเลย


ปลงสังขาร

เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ ครูบาอ้ายอายุย่างเข้าวัย ๖๑ ปี ท่านเริ่มมีอาการเจ็บป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวาร ซึ่งทำให้ท่านต้องทนทุกข์ทรมานและชำระล้างเลือดเป็นประจำทุกวัน แต่ท่านก็ยังตั้งอยู่ในขันติธรรมเสมอ ไม่มีอาการกระวนกระวายเช่นผู้ป่วยอื่นๆ โดยพยายามรักษาอาการป่วยทั้งการกินยาและทายาทุกตำรับเพื่อระงับอาการของโรค แต่อาการก็ไม่ทุเลาลงและยิ่งกำเริบมากขึ้น ทางญาติโยมและลูกศิษย์จึงได้ไปหาหมอที่เก่งในการรักษาโรคริดสีดวงทวารมาเป็นผู้รักษา ก็ยังไม่สามารถรักษาอาการป่วยของครูบาอ้ายได้


จนเมื่อครูบาอ้ายอายุย่างเข้าวัย ๗๒ ปี หลังจากทนทรมานกับอาการเจ็บป่วยนานถึง ๑๐ ปีเศษ ท่านพิจารณาแล้วว่าโรคนี้เป็นโรคกรรมสังขารของตัวเอง ไม่มีโอกาสจะเยียวยาให้หายได้ นอกจากดับสังขารเท่านั้น ท่านจึงนอนสำรวจจิตพิจารณาถึงสังขารที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป พอถึงเวลา ๐๕.๓๙ น. ของ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๕ ครูบาอ้ายก็ละสังขารด้วยอาการอันสงบ


โลงเก็บศพเกิดอภินิหาร

หลังจากบรรจุศพครูบาอ้ายได้ประมาณ ๑ เดือน คณะกรรมการและศิษยานุศิษย์ ซึ่งมีเจ้าอธิการพรหม พรหมปัญโญ ว่าที่เจ้าอาวาสวัดสะปุ๋ง เป็นประธานในการเปลี่ยนขี้เถ้า (ฟาง) ศพ พบว่าขี้เถ้าบริเวณหน้าอกของครูบาอ้าย มีก้อนขาวๆ รูปทรงสัณฐานคล้ายปะการัง ขนาดเท่ากำปั้นผู้ใหญ่วางอยู่ ญาติโยมต่างลงความเห็นว่าเป็นพระธาตุดิบ (ยังไม่ได้เผาร่าง) เหตุการณ์มหัศจรรย์นี้แพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ญาติโยมจำนวนมากพากันมากราบไหว้บูชา ซึ่งปัจจุบันพระธาตุดิบดังกล่าวบรรจุอยู่ในรูปเหมือนของครูบาที่วัดสะปุ๋งน้อย


จนเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๖ คณะศิษยานุศิษย์ได้จัดงานฌาปนกิจร่างของครูบาอ้าย ณ เมรุหน้าวัดสะปุ๋งน้อย โดยเปิดให้มีงานทำบุญ ๓ วัน เพื่อให้ญาติโยมและประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้กราบไหว้บูชาอย่างทั่วถึง และภายหลังการฌาปนกิจครบ ๗ วัน เกิดเหตุมหัศจรรย์อีกครั้งขณะกำลังเก็บอัฐิของครูบาอ้าย พบเม็ดพระธาตุของท่านอยู่ในกองเถ้า เป็นเม็ดกลมๆ ขนาดเท่าเม็ดข้าวสาลี และมีอยู่เม็ดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดอื่นขนาดเท่าปลายนิ้วมือ ความยาวประมาณ ๑ นิ้ว ติดอยู่ที่กะโหลกศีรษะของครูบาอ้าย โดยพระธาตุมีสองสีคือ สีขาวและเขียวมรกต ซึ่งเมื่อข่าวพระธาตุของครูบาอ้ายได้แพร่ออกไปทุกสารทิศ ทำให้มีประชาชนจำนวนมากหลั่งไหลมากราบไหว้เคารพบูชามิได้ขาด


ทั้งนี้ทางวัดสะปุ๋งน้อยได้แบ่งอัฐิธาตุของครูบาอ้ายเก็บรักษาไว้ใน ๓ แห่ง คือ บรรจุไว้ที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า, ท่านอาจารย์สาธิต พระขโนง กรุงเทพฯ และที่วัดสะปุ๋งน้อย โดยในส่วนของวัดสะปุ๋งน้อย จะเปิดให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชา ในงานประจำปีของทางวัด ซึ่งจะจัดขึ้นในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ ของทุกปี


---------------------


(แหล่งที่มา : หนังสือประวัติครูบาอ้าย อินทะปัญโญ วัดสะปุ๋งน้อย และบทสวดมนต์แปล. ตุลาคม ๒๕๕๖, หน้า ๕-๑๑.)


Rank: 8Rank: 8

IMG_1494.JPG



กุฏิ อินทปัญฺโญ พรหมปัญฺโญนุสรณ์ วัดสะปุ๋งน้อย


IMG_1496.JPG



IMG_1654.JPG



พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานด้านหน้า
กุฏิ อินทปัญฺโญ พรหมปัญฺโญนุสรณ์ วัดสะปุ๋งน้อย


IMG_1611.JPG



IMG_1501.JPG



IMG_1539.JPG



อุโบสถ และ ลูกนิมิต วัดสะปุ๋งน้อย ปัจจุบัน (๒๕๕๘) กำลังดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนธันวาคม ๒๕๕๘



IMG_1563.JPG



เสื้อวัด วัดสะปุ๋งน้อย


Rank: 8Rank: 8

IMG_1581.JPG



IMG_1582.JPG



ศาลาบำเพ็ญกุศล วัดสะปุ๋งน้อย



IMG_1575.JPG



IMG_1567.JPG



หอระฆัง วัดสะปุ๋งน้อย



Rank: 8Rank: 8

ภาพเก่าวัดสะปุ๋งน้อย พ.ศ.๒๕๕๐



DSC07593.JPG



DSC07585.JPG



DSC07582.JPG



Picturekan-362.jpg



Picturekan 389.jpg



DSC07588.JPG



DSC07586.JPG



Picturekan 364.jpg



DSC07595.JPG



DSC07591.JPG



Picturekan-390.jpg



การเดินทางมาวัดสะปุ๋งน้อย ขอจบการเดินทางด้วยภาพเก่าวัดสะปุ๋งน้อย พ.ศ.๒๕๕๐ สวัสดีค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-12-1 03:59 , Processed in 0.071653 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.