แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 1440|ตอบ: 1
go

กระบวนการแห่งเหตุและปัจจัย [คัดลอกลิงค์]

Rank: 1

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นิคม ที่ชื่อ ธัมมาสทัมมะ ในแคว้นกุรุ ในครั้งนั้น พระอานนท์เข้าไปเฝ้า และกราบทูลว่า ปฏิจจสมุปบาท ลึกซึ้งสุดประมาณ ปรากกฏเป็นของลึกซึ้ง แต่สำหรับท่านเองแล้วรู้สึกว่าเป็นของตื้น ๆ         พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า  อย่าพูดอย่างนั้น   เพราะปฏิจจสมุปบาท เป็นของลึกซึ้งยิ่งนัก ปรากฏเป็นของลึกซึ้ง สัตว์ทั้งหลายต้องยุ่งเหยิง วุ่นวาย ต้องเวียนว่ายตายเกิดก็เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนี้เอง  และเกิดมายุ่งจับต้นชนปลายไม่ถูก เปรียบเหมือนหญ้าที่เขาตัดแล้วโยนเรี่ยราดอยู่ เหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันเป็นปมยุ่งเหยิงแก้ให้เป็นระเบียบได้ยาก  เมื่อตายแล้วก็มักไม่พ้น อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และ สัตว์เดียรัจฉาน
          ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท เริ่มตั้งแต่ ชรา มรณะ สาวไปหาต้นว่า  เพราะมีความเกิด ถ้าไม่มีความเกิด ความแก่ ความตาย ย่อมมีไม่ได้  ความเกิดมีเพราะภพ คือความตั้งใจ หรือความพอใจในการเกิด ยังไม่เบื่อหน่ายในการเกิด ยังอยากเกิดอีก ความอยากเกิดหรือภพมีได้ เพราะมีอุปาทาน  ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดมั่นถือมัน(อุปาทาน) มีได้ เพราะมีตัณหา (ความดินรนทะยานอยาก)  ตัณหามีได้ เพราะว่ามีเวทนา (ความรู้สึกทุกข์  สุข  หรือไม่ทุกข์ไม่สุข)  เวทนา มีได้เพราะมีผัสสะ (การกระทบ)  ผัสสะมีได้เพราะ มีนามรูป  นามรูปมีได้เพราะมีวิญญาณ และวิญญาณนั้น ก็เป็นปัจจัยให้มีนามรูปด้วย
           ท่านทรงหยุดไว้เพียงเท่านี้ ไม่สาวต่อไปถึงสังขาร (ความคิด ความปรุงแต่ง) และ อวิชชา (ความไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง)  
                            เมื่อถึงตอนที่ว่าด้วยตัณหา ทรงซอยละเอียดลงไปอีกดังนี้.........เพราะอาศัยตัณหาจึงมีการแสวงหา   เมื่อมีการแสวงหาก็มีลาภ เมื่อมีลาำภก็มีความปักใจ (ว่าลาภนั้นเป็นของเรา)  เมื่อเกิดปักใจ ก็เกิดรักใคร่ พะวง  เมื่อมีความรักใคร่พะวงก็เกิดการยึดถือ  เกิดตระหนี่ เกิดการป้องกันหวงแหน และเกิดอกุศลต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น การถือไม้ ถือมีด การทะเลาะแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น  วิวาท การกล่าว มึงกู ส่อเสียด และพูดเท็จ
            ท่านได้ทรงแสดงอีกว่า  นามรูป (กายกับใจ) เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยเวียนเกิดเวียนตายอยู่ เป็นเพียงสมมุติบัญญัติ ทำให้เกิดความยึดมั่นในเรืองอัตตา (ตัวตน) ขึ้น  อันที่จริงไม่ควรยึดมั่นในเรื่องอัตตา เมื่อไม่ยึดมั่นจึงหลุดพ้น
             พระสูตรนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท (สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้น หรืออาการของสิ่งที่เป็นปัจจัยของกันและกัน)  มีอีกชื่อหนึ่งที่ท่านเรียกว่า "อิทัปปัจจยตา"  คือความเป็นเหตุผลของกันและกัน เช่น ไก่กับไข่ หรือเม็ดมะม่วงกับต้นมะม่วง หมายความว่า เม็ดมะม่วงเป็นเหตุของการเกิดเป็นต้นมะม่วง ต้นมะม่วงก็เป็นเหตุให้เกิดเม็ดมะม่วงต่อไป เวียนกันอยู่อย่างนี้
             เราควรรู้แจ้งในเหตุและปัจจัย  ว่า เหตุและปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย ในฐานะเป็นของอิงอาศัยกัน ทำให้เรารู้เห็นตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตามที่เรายึดมั่นถือมั่นไว้ด้วยอุปาทานหรือความเชื่อผิด ๆ ทำให้เข้าใจหลักกว้าง ๆ และหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ว่า  สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ย่อมเป็นไปตามเหตุและปัจจัย (ยถาปจฺจยํ ปวตฺตนฺติ)


             ลองนำไปพิจารณาดูกันครับมันอาจเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้ที่ปราถนาพระนิพพาน...............................

Rank: 1

สาธุ กับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ สาธุจ้า

‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-14 13:47 , Processed in 0.042665 second(s), 14 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.