แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 12710|ตอบ: 17
go

วัดพระธาตุห้าดวง ม.๑๕ ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_2184.JPG



วัดพระธาตุห้าดวง  

ม.๑๕ ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน  

[พระเมโตธาตุ (พระธาตุน้ำไคลมือ)]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 21 มกราคม 2566)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1696.JPG



วัดพระธาตุห้าดวง ตั้งอยู่ เลขที่ ๑ บ้านพระธาตุห้าดวง หมู่ที่ ๑๕ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ๕๑๑๑๐ ติดเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ (สายลี้-ลำพูน) บริเวณกิโลเมตรที่ ๔๙-๕๐


IMG_1686.JPG



การเดินทางไปวัดพระธาตุห้าดวง


ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ (สายลี้-ลำพูน) เข้าเขตอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน ผ่านอำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง จนถึงอำเภอลี้ ระยะทาง ๑๐๕ กิโลเมตร และเดินทางต่อมาด้านทิศใต้อีกประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร หรือเลยจากวัดพระธาตุดวงเดียวไป ๕๐๐ เมตร ถึงวัดพระธาตุห้าดวง



IMG_1709.JPG



IMG_1699.JPG



IMG_1702.JPG



ซุ้มประตู วัดพระธาตุห้าดวง



IMG_1724.JPG



IMG_1719.JPG



IMG_2302.JPG



ทางเข้า วัดพระธาตุห้าดวง ระยะทาง ๓๐๐ เมตร


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1740.JPG



วัดพระธาตุห้าดวง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองลี้ ตั้งอยู่ เลขที่ ๑ บ้านพระธาตุห้าดวง หมู่ที่ ๑๕ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีเนื้อที่ ๙๒ ไร่ ๕๑ ตารางวา ทางกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกวัดร้างเป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษา เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๘ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๙



IMG_1737.JPG



IMG_1747.JPG



ทางเข้าเขตพุทธาวาส วัดพระธาตุห้าดวง  


IMG_2305.JPG



IMG_2006.JPG



IMG_1859.JPG



ปูชนียสถานปูชนียวัตถุวัดพระธาตุห้าดวง

๑. องค์พระธาตุห้าดวง
๒.
พระวิหารเฉลิมเทวี (วิหารใหญ่)
๓.
พระวิหารสมเด็จองค์ปฐม (พระวิหารจตุรมุข)
๔. วิหาร ๙ ครูบา
๕. วิหารท่านแม่จามเทวี
๖. องค์พระชำระหนี้สงฆ์
๗. พระโคอุศุภราช

๘. อุโบสถ
๙. พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
๑๐. สำนักงาน (อาคารชัยยะวงศานุสรณ์)
๑๑. อาคารหอฉันและโรงครัว
“เพ็ญศิริอนุสรณ์”
๑๒. โรงทาน “บูชาพระคุณ”



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1893.JPG



พระวิหารเฉลิมเทวี (วิหารใหญ่) วัดพระธาตุห้าดวง


IMG_2122.JPG



ประวัติพระวิหารเฉลิมเทวี (วิหารใหญ่) วัดพระธาตุห้าดวง


การก่อสร้างแบ่งเป็น ๒ ระย

๑. ครั้งที่ ๑ ลงมือวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพุธที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๕ โดยมีหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา เป็นประธานอุปถัมภ์ พระอธิการคำฟู ธมฺขนฺโธ เป็นรองประธาน ลงหลักปักฐานและก่อเสาเหล็กไว้ ๑๒ ต้น ทิ้งร้างไว้ เป็นเวลา ๕ ปี สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๕๐,๗๙๒ บาท

๒. ครั้งที่ ๒ ทำพิธีบวงสรวง เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ เริ่มสร้างต่อ โดยมีหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา เป็นประธานอุปถัมภ์ พระอธิการคำฟู ธมฺขนฺโธ เป็นรองประธาน ควบคุมและดำเนินการก่อสร้าง ตลอดจนหาปัจจัยและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างโดย พ.ต.ท.เฉียบ-คุณรัตนาภรณ์ วีรเดชะ

ขนาดอาคารวิหาร ความยาว ๒๘ เมตร ความกว้าง ๑๔ เมตร ผนังวิหารก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ๒ ชั้น เพื่อความคงทนถาวร สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น คิดเป็นมูลค่า ๕,๖๔๙,๒๙๒ บาท

ถวายทานพระวิหาร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ใช้เวลาก่อสร้าง ๓ ปี ๙ เดือน ๒๗ วัน

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ประวัติพระวิหารเฉลิมเทวี บนผนังด้านหน้าพระวิหารเฉลิมเทวี วัดพระธาตุห้าดวง)


IMG_1900.JPG



บันไดนาคทางขึ้นด้านหน้า พระวิหารเฉลิมเทวี (วิหารใหญ่) วัดพระธาตุห้าดวง  


IMG_1905.JPG



ประตูทางเข้าด้านหน้า พระวิหารเฉลิมเทวี (วิหารใหญ่) วัดพระธาตุห้าดวง  



IMG_1971.JPG



พระพุทธรูปปางรําพึง ๓ องค์ ประดิษฐานด้านหลังพระวิหารเฉลิมเทวี (วิหารใหญ่) วัดพระธาตุห้าดวง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2180.jpg



IMG_1785.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุห้าดวง) ประดิษฐานด้านหลังพระวิหารเฉลิมเทวี (วิหารใหญ่) วัดพระธาตุห้าดวง



IMG_2116.JPG



IMG_2110.jpg



IMG_2103.JPG



IMG_2099.JPG



IMG_2063.JPG



IMG_2082.JPG



IMG_2156.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุห้าดวง) วัดพระธาตุห้าดวง

ประดิษฐานพระเมโตธาตุหรือพระธาตุน้ำไคลมือขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระธาตุที่เกิดจากน้ำล้างพระหัตถ์ที่ไหลผ่านลงมาถึงปลายนิ้วมือทั้งห้าของพระพุทธเจ้า ได้ปรากฏเป็นดวงแก้วทั้งห้าดวง ดวงแก้วทั้งห้าก็คือ "พระเมโตธาตุ" หรือ "พระธาตุน้ำไคลมือ"

และสถานที่แห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพระโคอุศุภราช ซึ่งพระโคมารดาได้ให้กำเนิดพระโคอุศุภราช ณ บริเวณใต้ต้นดอกบุนนาคภายในวัดพระธาตุห้าดวงแห่งนี้


IMG_1988.JPG



คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(ว่านะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2180.jpg



ประวัติวัดพระธาตุห้าดวง



ในสมัยก่อนพุทธกาล เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “พระสมณโคดม” ยังทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ได้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร เป็นเวลา ๔ อสงไขย กับอีกแสนมหากัป

พระองค์ได้เกิดมาเป็นมนุษย์บ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง เพื่อสร้างสมบารมีและปรารถนาที่จะตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในพระชาติต่างๆ นั้น พระองค์ก็ใช้ความวิริยะ อุตสาหะ ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้เข้าถึงซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ครั้งหนึ่ง พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นวัวกระทิงป่า ทรงมีพระนามว่า “อุศุภราช” ก่อนที่พระโคอุศุภราชจะกำเนิดขึ้นนั้น (ขณะอยู่ในครรภ์ของพระโคมารดา) พระโคมารดา
กำลังตั้งครรภ์อ่อนๆ ได้พาฝูงวัวกระทิงป่าอพยพจากอโยธยามุ่งหน้าออกหากินไปยังที่ต่างๆ

เมื่อเดินทางมาถึงสถานที่แห่งหนึ่ง มีหญ้าอ่อนที่อุดมสมบูรณ์ มีลำห้วยไหลผ่าน จึงได้พาฝูงพักอาศัยอยู่บริเวณนั้น (ปัจจุบันคือ บริเวณวัดพระธาตุจอมสวรรค์ ตั้งอยู่ในเขตตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งพระครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ไปสร้างพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย)

เมื่อเวลาผ่านไปนานพอสมควร หญ้าอ่อนและอาหารใกล้จะหมดลง พิจารณาแล้วเห็นควรที่จะพาฝูงวัวกระทิงป่าทั้งหมดอพยพย้ายออกไปหาที่อยู่ใหม่ และครรภ์ของพระโคมารดาเริ่มแก่ใกล้ที่จะให้กำเนิดแล้ว จึงได้พาฝูงออกเดินทาง

และได้ไปถึงยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง เหมาะสมที่จะให้กำเนิดพระโคน้อย มีหมู่พฤกษาหอมตลบอบอวล ต้นไม้น้อยใหญ่ให้ความร่มรื่น น้ำในลำห้วยใสสะอาด มีหญ้าอ่อนอุดมสมบูรณ์ จึงได้หยุดพักอาศัยในสถานที่แห่งนี้ (บริเวณนี้จึงถูกเรียกว่า “ดอยอุศุภราช” หรือ วัดพระธาตุห้าดวงในปัจจุบัน) ซึ่งพระโคมารดาได้ให้กำเนิดพระโคอุศุภราช ณ บริเวณใต้ต้นดอกบุนนาค ภายในวัดพระธาตุห้าดวงแห่งนี้

จวบจนเข้าสู่สมัยพุทธกาล หลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ได้เสด็จจาริกไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระสัจธรรมที่พระองค์ได้รู้ได้เห็นแล้วแก่เหล่าเวไนยสัตว์ คราวหนึ่ง พระองค์ได้เสด็จมาพร้อมกับพระอานนท์และพระสาวกอีกเป็นจำนวนมาก พระองค์ได้ประทับนั่งที่ใต้ต้นดอกบุนนาคต้นเดิม (ต้นเดียวกันกับที่พระโคมารดาได้ให้กำเนิดพระโคน้อย)

ในสมัยนั้นดอยอุศุภราช เป็นสถานที่อาศัยของชาวลัวะ เมื่อพญาลัวะหรือเจ้าเมืองลัวะทราบว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมา จึงได้พากันเข้าไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้นำภัตตาหารมาถวาย เมื่อพระองค์ได้ทำภัตกิจ กล่าวคือ ได้ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงได้แสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาลัวะและชาวลัวะที่มาเข้าเฝ้า

พระองค์ได้ทรงเล่าถึงความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้ ตั้งแต่สมัยที่พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพระโคอุศุภราช และได้ไปละสังขารลง ณ หนองวัวเฒ่า (ปัจจุบันคือ สถานที่ตั้งของพระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน) เมื่อพระองค์ทรงเล่าจบ พญาลัวะได้ทูลขอสิ่งสักการบูชา เพื่อเป็นเครื่องระลึกนึกถึงพระพุทธองค์ และเอาไว้ให้ผู้คนที่เดินทางมา ณ สถานที่นี้ได้กราบไหว้บูชา

พระองค์จึงมีรับสั่งให้พญาลัวะยกขันน้ำทองขึ้นล้างพระหัตถ์ เมื่อพระองค์ยกพระหัตถ์ขึ้นเหนือขันน้ำ น้ำที่ไหลผ่านลงมาถึงปลายนิ้วมือทั้งห้าของพระองค์ ได้ปรากฏเป็นดวงแก้วห้าดวง ส่องแสงสว่างไปทั่วบริเวณนั้น ดวงแก้วทั้งห้าก็คือ “พระเมโตธาตุ” หรือ “พระธาตุน้ำไคลมือ” ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงประทานไว้ให้กับพญาลัวะและชาวลัวะในสมัยนั้น

ดวงแก้วทั้งห้าลอยให้เห็นเป็นที่น่าอัศจรรย์ พระอินทร์จึงเนรมิตโกศทองคำมารองรับไว้ และนำไปฝังไว้ในดินลึก ๖๐ ศอก แต่งยนต์ฟันไว้ทั้ง ๔ ทิศ (คำว่า “ยนต์ฟัน” หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาบอกว่าหมายถึง ค่ายกลที่ทำขึ้นเพื่อรักษาพระธาตุ) พญาลัวะจึงได้นำเอาก้อนหินมาก่อเป็นกองสูงขึ้นเหนือพื้นดิน เพื่อให้รู้ว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ฝังอยู่ ณ ที่แห่งนี้ และได้นำพาชาวลัวะทำการสักการะด้วยดอกไม้อยู่เป็นนิจ

เมื่อมาถึงสมัยของพระนางจามเทวี กษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัย ได้ทราบข่าวจากราษฎรเมืองลี้หรือเมืองลับลี้ในสมัยนั้นว่า มีดวงแก้วห้าดวงปรากฏลอยให้ราษฎรเห็นอยู่บ่อยครั้ง พระนางจามเทวีจึงได้เสด็จมาดูด้วยพระองค์เอง เมื่อเสด็จมาถึงยังดอยอุศุภราช ในเวลาค่ำหลังจากที่สวดมนต์เจริญภาวนาเสร็จ พระนางก็ได้ทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างจากดวงแก้วทั้งห้าลอยปรากฏขึ้น


พอรุ่งเช้า จึงได้เสด็จไปดูสถานที่ดวงแก้วปรากฏด้วยพระองค์เอง ก็จึงพบกองดินทั้งห้ากอง ทราบว่าเป็นพระเมโตธาตุของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนางจึงเกิดความศรัทธา ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ครอบกองดินทั้งห้ากองเอาไว้ เมื่อสร้างเสร็จได้ทรงทำการสมโภช เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน และได้เสด็จมาสักการบูชาเป็นประจำทุกปี

เมื่อเวลาผ่านพ้นไป พระธาตุเจดีย์ทั้งห้าองค์ก็ได้ทรุดโทรมลงไป เพราะขาดคนดูแลรักษา ถูกปล่อยให้รกร้าง ในระหว่างปีพุทธศักราช ๕๐๐-๗๐๐ ราษฎรในแคว้นโยนกถูกชาวจีนฮ่อกดขี่ข่มเหงทำสงคราม พระนางจามรีเทวี ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าผู้ครองเมืองหลวงพระบาง ถูกพวกจีนฮ่อตีเมืองแตก จึงได้ล่าถอยออกมาหลบภัย โดยเสี่ยงสัจจะอธิษฐานให้ช้าง “พลายสุวรรณหัตถี” นำทางมาหาสถานที่สร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่

พญาช้างจึงนำพาพระนางจามรีเทวี ผ่านเมืองฝาง “จัมปีระนคร” (ปัจจุบันคือ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่) ไปทางอำเภอจอมทอง ล่องไปทางอำเภอดอยหล่อ ข้ามแม่น้ำลี้มาทางอำเภอทุ่งหัวช้าง จนกระทั่งพญาช้างได้นำพาพระนางจามรีเทวีมาถึงดอยอุศุภราช บริเวณนั้นมีจอมปลวกใหญ่จอมหนึ่ง (บางตำนานว่า ก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ในบริเวณวัดพระธาตุดวงเดียว) พญาช้างได้แสดงกิริยา ๕ อย่าง คือ

๑. คู้แข้งทำท่าไหว้
๒. ชูงวงเสมือนโปรยข้าวตอก
๓. แผดเสียงสีหนาท ประหนึ่งว่าแสดงความยินดี
๔. ก้มหัวน้อมลงดินแสดงอาการสักการะ
๕. ลุกขึ้นเดินเวียนรอบๆ ๓ รอบ เสมือนเป็นการประทักษิณ

หลังจากที่พญาช้างได้แสดงกิริยาทั้ง ๕ อย่างแล้ว จึงได้เดินออกไปรอบๆ บริเวณนั้น พระนางจามรีเทวีจึงสั่งให้เสนาอำมาตย์ รวมทั้งข้าราชบริพารตามพญาช้างไป เพื่อกำหนดเขตการสร้างบ้านเมืองจนเสร็จ


พญาช้างได้วิ่งเตลิดแผดเสียงสีหนาทมาทางพระธาตุเจดีย์ทั้งห้าองค์ และได้ขาดใจตาย ณ บริเวณด้านข้างวิหารด้านทิศใต้ของวัดพระธาตุห้าดวงในปัจจุบัน พระนางจามรีจึงได้ทำพิธีปลงศพพญาช้าง และได้เริ่มก่อสร้างบ้านเมือง แผ้วถางบริเวณที่ได้กำหนดเขตไว้ให้สะอาด ขุดดินทำคูน้ำ ทำกำแพงดิน ทำกำแพงไม้ไผ่กั้นรอบๆ เมืองอย่างแน่นหนา

พระนางจามรีเทวีได้สร้างองค์พระธาตุดวงเดียวครอบจอมปลวกใหญ่ พร้อมกับสร้างวิหารไว้ในเวียงวังของพระนาง (ด้วยเหตุนี้ วัดพระธาตุดวงเดียวจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า วัดพระธาตุกลางเวียง ซึ่งเป็นวัดแรกของอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน) และพระนางได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุเจดีย์ห้าดวงขึ้นอีกครั้ง (
ด้วยเหตุนี้ วัดพระธาตุห้าดวงจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เวียงเจดีย์ห้าหลัง)

ในยุคสมัยของพระนางจามรีเทวี บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก
ประชาชนได้ทำการค้าขายภายในเมือง ราษฎรชาวเมืองมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุข มีความสุขดี พระนางจามรีเทวีได้เอาใจใส่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี และทรงสร้างวัดวาอารามหลายวัดด้วยกัน จนกระทั่งยุคสมัยของพระนางได้สิ้นสุดลง

ต่อมาถึงยุคสมัยพระเจ้านิ้วมืองาม เป็นเจ้าเมืองลี้ ได้เสียเมืองให้กับเจ้าเมืองสุโขทัย เมืองลี้หรือเมืองลับลี้จึงถูกทำลายด้วยภัยสงคราม ผู้คนถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก ชาวเมืองบางส่วนถูกจับไปเป็นเชลยศึก บางส่วนก็ย้ายหนีออกไปอยู่ที่อื่น จึงทำให้เมืองลี้ถูกทิ้งร้างอีกครั้ง รวมทั้งวัดพระธาตุห้าดวงด้วย

เมื่อกาลเวลาผ่านไปนานพอสมควร ได้มีผู้คนเริ่มอพยพกลับเข้ามาอยู่ในเมืองลี้อีกครั้ง จึงเป็นความหวังที่วัดพระธาตุห้าดวงจะได้รับการดูแลบูรณปฏิสังขรณ์ ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้บูรณะองค์พระธาตุเจดีย์ห้าดวงขึ้น เป็นศิลปะมอญผสมไทยล้านนา

และในปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ นายสนิท จิตต์วงค์พันธ์ ได้มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จึงนิมนต์ พระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี และพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา พร้อมทั้งชาวบ้านและชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอ มาทำการบูรณะซ่อมแซมและทำความสะอาดบริเวณวัดพระธาตุห้าดวงและวัดพระธาตุดวงเดียวอีกครั้ง และได้ก่อตั้งหมู่บ้านให้ประชาชนเข้ามาอาศัย หลังจากนั้นจึงมีพระภิกษุ สามเณร เข้ามาจำพรรษาที่วัดพระธาตุห้าดวง


ทางคณะสงฆ์ โดยมีเจ้าคณะอำเภอลี้ร่วมกับนายอำเภอลี้ พร้อมทั้งศรัทธาประชาชน จึงได้ทำเรื่องขออนุญาตยกวัดร้างขึ้น โดยกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกวัดร้างเป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษา เมื่อวันที่ ๑๘ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๑๘ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๒ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๔๙

เมื่อวันที่ ๑-๑๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕ พระครูอินทวุฒิคุณ เจ้าคณะอำเภอลี้ พร้อมด้วยคณะสงฆ์อำเภอลี้ และนายอุดม จันตาใหม่ นายอำเภอลี้ พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐ ศรัทธาประชาชนอำเภอลี้ และพุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกสารทิศได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์ ร่วมทำบุญบูรณะปิดทององค์พระธาตุห้าดวงจนแล้วเสร็จ


และได้มีเจ้าอาวาสเข้ามารับภาระธุระสืบต่องานทางพระพุทธศาสนาดูแลวัดพระธาตุห้าดวงอีกหลายรูป มาช่วยกันพัฒนาวัดพระธาตุห้าดวง โดยอุปถัมภ์งานด้านการศึกษา งานก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุ งานเผยแผ่ งานสาธารณสงเคราะห์ งานอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น และงานอื่นๆ จึงทำให้วัดพระธาตุห้าดวงกลับมามีความเจริญรุ่งเรือง งดงาม มาจนถึงทุกวันนี้

ปัจจุบันวัดพระธาตุห้าดวง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านพระธาตุห้าดวง หมู่ที่ ๑๕ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ตำบลลี้-ดงดำ เขต ๑ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน คณะสงฆ์ภาค ๗ (เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน)
โดยได้รับการกำกับดูแลจากมหาเถรสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ บริเวณวัดพระธาตุห้าดวงมีเนื้อที่ ๙๒ ไร่ ๕๑ ตารางวา

หน่วยงาน/องค์กรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่วัด คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุห้าดวง , สถานีวิทยุชุมชนคนเมืองลี้ , สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้

ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๗) วัดพระธาตุห้าดวงมี พระมหาโจ กตโจโจ ป.ธ.๗, น.ธ.เอก เป็นเจ้าอาวาส


------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติวัดพระธาตุห้าดวง ภายในวัดพระธาตุห้าดวง
และจิตรกรรมฝาผนังภาพประวัติวัดพระธาตุดวงเดียว ายในศาลาบาตร วัดพระธาตุดวงเดียว)


IMG_2193.JPG



วัดพระธาตุห้าดวงมีกิจกรรมและงานบุญประเพณีประจำปี ดังนี้

๑. งานปริวาสกรรม       
    : ช่วงเวลา วันที่ ๑๐-๒๐ เดือนมกราคม ของทุกปี

๒. งานบรรพชา-อุปสมบท ภาคฤดูร้อน     
    : ช่วงเวลา เดือนมีนาคม-เดือนเมษายน ของทุกปี

๓. ประเพณีสรงน้ำองค์พระธาตุห้าดวง      
    : ช่วงเวลา วันที่ ๒๐ เดือนเมษายน ของทุกปี

๔. งานบุญถวายผ้ากฐิน                          
    : ช่วงเวลา เดือนพฤศจิกายน ของทุกปี

๕. งานอบรม/ปฏิบัติธรรม                        
    : ช่วงเวลา (ไม่กำหนดแน่นอน) อิงตามกำหนดการของหน่วยงานและองค์กรที่ติดต่อมา

๖. วันสำคัญต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา     
    : ช่วงเวลา ตลอดทั้งปี

------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติวัดพระธาตุห้าดวง ภายในวัดพระธาตุห้าดวง
)


IMG_2161.JPG



ช่องทางการติดต่อหรือร่วมทำบุญกับวัดพระธาตุห้าดวง ดังนี้

๑. สำนักงาน โทร. ๐๕๓-๕๗๐๒๔๔

๒. พระมหาโจ กตโจโจ (เจ้าอาวาส) โทร. ๐๙๑-๒๔๘๓๗๙๒


๓. Facebook :
www.facebook.com/Watfivedoung


------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติวัดพระธาตุห้าดวง ภายในวัดพระธาตุห้าดวง)



IMG_2139.JPG



IMG_1844.JPG



ห้ามผู้หญิงเข้าเขตรอบในพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุห้าดวง


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1798.JPG



IMG_1809.JPG



IMG_1805.JPG



IMG_1801.JPG



IMG_1806.JPG



ซุ้มพระพุทธรูปทิศตะวันตก พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุห้าดวง


IMG_1921.JPG



IMG_1922.JPG



ซุ้มพระพุทธรูปทิศใต้ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุห้าดวง


IMG_1858.JPG



IMG_1867.JPG



ซุ้มพระพุทธรูปทิศเหนือ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุห้าดวง


IMG_2108.JPG



IMG_1793.JPG



IMG_1794.JPG



รูปองค์จตุคามรามเทพ ประดิษฐานนอกกำแพงแก้วทิศตะวันตก พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุห้าดวง


IMG_1847.JPG



ขอเชิญร่วมทำบุญถวายผ้าห่มองค์พระธาตุห้าดวง วัดพระธาตุห้าดวง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2095.JPG



IMG_1756.JPG



IMG_1838.JPG



IMG_1817.JPG



พระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุห้าดวง  


IMG_2096.JPG



ประวัติพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุห้าดวง



พระวิหารจตุรมุขหลังนี้ ได้เริ่มลงเสาเอก เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๒ โดยมีพระเดชพระคุณพระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา หรือหลวงปู่พระครูบาวงศ์) เป็นองค์ประธาน และมีคณะศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) และคณะศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณพระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา หรือหลวงปู่พระครูบาวงศ์)

ได้รวมน้ำใจกันสร้างพระวิหารหลังนี้จนสำเร็จ และได้ทำการยกฉัตร ในวันเสาร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ โดยได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นองค์ประธานในการยกฉัตร

ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ขนาดหน้าตัก ๔ ศอก และรูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อลิงเล็ก หลวงพ่อลิงขาว ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ในสายหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค จัดสร้างขึ้นเพื่อให้เหล่าคณะศิษยานุศิษย์ในสาย ได้ระลึกถึงพระคุณความดีและพระธรรมคำสั่งสอนของท่าน เพื่อเป็นอนุสสติและเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น

ขออานิสงส์ที่พวกเราเหล่าลูกหลานได้ร่วมสร้างพระวิหารหลังนี้จนสำเร็จ จงเป็นปัจจัยให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเทอญ

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม (พระสิขีทศพล) วัดพระธาตุห้าดวง)        

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2028.JPG



พระพุทธรูปสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม พระพุทธสิกขีทศพลญาณที่ ๑ (สมเด็จองค์ปฐม) ประดิษฐานภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุห้าดวง


IMG_2046.JPG



คำขอขมาพระรัตนตรัย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)

       สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ


IMG_2025.JPG



สรุปคำสอนสมเด็จองค์ปฐม


(หลวงพ่อได้สรุปใจความสั้นๆ ตามที่ท่านเทศน์ไว้ดังนี้)



ท่านทั้งหลายการหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของไม่ยาก

๑. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตายอาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ

๒. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)

๓. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ

๔. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหมในชาติต่อไป ตั้งใจไปพระนิพพาน โดยเฉพาะเท่านี้ทุกท่านจะหนีอบายภูมิพ้นและไปพระนิพพานได้ในที่สุด”


(หมายเหตุ : เทศน์ที่ “เทวสภา” วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๓๕ เวลา ๘.๐๐ น. พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เมตตาเล่าให้ลูกหลานฟัง เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ เวลา ๒๑.๐๐ น.)

------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายสรุปคำสอนสมเด็จองค์ปฐม ภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุห้าดวง)   


IMG_2035.JPG



พานธูปเทียนแพ เพื่อถวายสักการบูชาและขอขมาพระรัตนตรัย ภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุห้าดวง


IMG_2041.JPG



รูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดจันทาราม (ท่าซุง) (เรียงจากซ้าย-ขวา) ประดิษฐานด้านข้างสมเด็จองค์ปฐม ภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุห้าดวง


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_2031.JPG



รูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดจันทาราม (ท่าซุง) (เรียงจากซ้าย-ขวา) ประดิษฐานภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุห้าดวง



IMG_2032.JPG



รูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ประดิษฐานภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุห้าดวง



IMG_2033.JPG



รูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดจันทาราม (ท่าซุง) ประดิษฐานภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุห้าดวง


IMG_2036.JPG



รูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงขาว และพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงเล็ก (เรียงจากซ้าย-ขวา) ประดิษฐานภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุห้าดวง



IMG_2038.JPG



รูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงขาว ประดิษฐานภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุห้าดวง



IMG_2040.JPG



รูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงเล็ก
ประดิษฐานภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุห้าดวง


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-12-29 07:57 , Processed in 0.102342 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.