แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 9299|ตอบ: 13
go

วัดช่อแลพระงาม ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ (พระบรมธาตุน้ำสระพระเกศา , น้ำสรงพระบาท) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC03482.jpg



วัดช่อแลพระงาม

ม.๑  ต.ช่อแล  อ.แม่แตง  จ.เชียงใหม่  

[พระบรมธาตุน้ำสระพระเกศา , น้ำสรงพระบาท]



Rank: 8Rank: 8

DSC03463.jpg


วัดช่อแลพระงาม ตั้งอยู่ เลขที่ ๓๘๘ หมู่ ๑ ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อพ.ศ.๒๓๗๕ (ดังปรากฏในคัมภีร์ใบลาน) ซึ่งทางวัดได้เก็บอนุรักษ์ไว้จนถึงทุกวันนี้ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งแต่วันที่ ๑๐ กุมภาพันธุ์ พ.ศ.๒๔๑๑ ครับ

การเดินทางไปวัดช่อแลพระงาม ดูข้อมูลแผนที่จากเว็บ google ได้ตามลิงค์นี้ครับ

https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1/@19.144236,99.011566,17z/data=!3m1!4b1!4m2!3m1!1s0x30da10080fc095d7:0xcda24fd99d424a87?hl=th


DSC03464.jpg



DSC03483.jpg



ประตูทางเข้า/ออก วัดช่อแลพระงาม ครับ


Rank: 8Rank: 8

DSC03473.jpg



วิหาร - อุโบสถ
(เรียงจากซ้าย - ขวา) วัดช่อแลพระงาม ครับ



DSC03497.jpg


อุโบสถ วัดช่อแลพระงาม ครับ


DSC03467.jpg


DSC03468.jpg



พระพุทธรูป ประดิษฐานด้านหลัง อุโบสถ วัดช่อแลพระงาม ครับ



Rank: 8Rank: 8

DSC03498.jpg


วิหาร วัดช่อแลพระงาม ครับ


DSC03477.jpg


บันไดนาคทางขึ้น/ลง วิหาร วัดช่อแลพระงาม ครับ



DSC03471.jpg



พระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐานด้านหน้า วิหาร วัดช่อแลพระงาม ครับ


Rank: 8Rank: 8

DSC03465.jpg



รูปปั้นฤาษี วัดช่อแลพระงาม ครับ


DSC03466.jpg


หอเทพารักษ์ วัดช่อแลพระงาม ครับ


Rank: 8Rank: 8

DSC03502.jpg



ศาลา วัดช่อแลพระงาม ครับ


DSC03500.jpg


กุฏิสามัคคี วัดช่อแลพระงาม สร้างเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๐ ครับ


DSC03478.jpg



ศาลากลอง วัดช่อแลพระงาม ครับ


Rank: 8Rank: 8

DSC03481.jpg



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดช่อแลพระงาม ประดิษฐานด้านหลัง วิหาร ครับ
  

DSC00747.jpg


ตำนานพระธาตุช่อแลพระงาม นส่วนตำนานเมืองเกศคันธนคร (เมืองแกน) พระมหาหมื่น วุฑฒิญาโน คัดเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๐ แปลโดย คุณสงวน โชติสุขรัตน์ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๓ มาจากต้นฉบับเดิมเป็นอักษรธรรม

(แหล่งที่มา :
พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๙ กรกฎาคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๒ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๑๗๔-๑๗๖.)


ซึ่งจะขอนำมาเฉพาะบางตอนว่า....

“สมัยหนึ่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสาวกได้เสด็จมาถึง บ้านธัมมิละ พอชาวบ้านทั้งหลายรู้ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงจึงได้ตกแต่งอารามในร่มไม้ยาง แล้วจึงนิมนต์พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นั้น ๓ วัน เพื่อได้ถวายไทยทานและอาหาร พร้อมกับทำอาสนะถวาย

เมื่อพระพุทธองค์สถิตสำราญอยู่บนอาสนะนั้นแล้ว จึงผินพระพักตร์ไปทางทิศอุดรทอดพระเนตรเห็นเขาวิบูลม่อนจอมหด (คือม่อนหินไหล) ท่านครูบาขาวปี คงจะทราบประวัติดี ถึงได้ขึ้นไปสร้างพระธาตุไว้บนยอดเขาที่สูงที่สุดเป็นอันดับ ๓ ของประเทศ) และ แม่น้ำสงัด (ปัจจุบันเรียกว่า “แม่น้ำงัด”) เพราะที่แห่งนั้นราบเตียนดี

ในขณะนั้น พระองค์ทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์จึงกราบทูลถามถึงเหตุนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์จึงตรัสตอบว่า ในสถานที่นี้ควรไว้ศาสนา แล้วจึงได้ประทานพระเกศา ๑ เส้น ให้บรรจุไว้จะมีชื่อว่า อุโมงคอาราม ต่อไปข้างหน้าเรียกว่า ศรีคมคำแสนทอง

ต่อมาพระองค์เสด็จไปถึงเขาแห่งหนึ่งบ้านธัมมิละ ได้ประทับอยู่ใต้ร่มไม้ชมพู่ต้นหนึ่งที่อยู่ริมห้วย เวลานั้น พระยาธัมมิละ, ขุนอ้ายบ่อทอง, กับ ขุนอุตระกาจแก้ว ได้เข้าไปถวายภัตตาหารกับน้ำเมี่ยง (น้ำชา) และผลมะตูม

ในขณะนั้น พระองค์จึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ในที่นี้ควรไว้ที่ศาสนา แล้วจึงได้ประทานพระเกศา ๑ เส้น บรรจุไว้ที่นั้น ให้ชื่อว่า เจรุวรรณอาราม เรียกนามตามที่มีผู้เอาน้ำเมี่ยงและมะตูมเข้าไปถวาย และทำมณฑปด้วยเด็ดไม้แลใบไม้ กาลข้างหน้าจะเรียกชื่อว่า เมืองเกศคันธนคร ต่อไปจึงเรียกว่า เมืองแกน (ปัจจุบันนี้อยู่ที่ ต.ช่อแล อ.แม่แตง)

ส่วนที่ลำห้วยนั้น เรียกว่า “แม่หอเด็ด” ต่อไปข้างหน้าจะเรียกว่า “แม่หอพระ” “(บ้านแม่หอพระ ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง) ขณะนั้นขุนอ้ายและขุนตระพร้อมด้วยคนทั้งหลายจึงกราบทูลขอบรรจุพระเกศาไว้ที่นั้น

พระองค์จึงทรงตรัสว่า ต่อไปข้างหน้าถ้าพระองค์นิพพานไปล่วงแล้วได้สองพันปลาย ท้าวพระยาทั้งหลายจึงจะคิดสร้างได้ และบ้านเมืองก็จะเจริญรุ่งเรืองไปด้วยบุญบารมีของพระองค์ที่ได้ตรัสโปรดธัมมิละและขุนทั้งหลายที่ไปตักน้ำห้วยฝ้ายมาให้พระองค์สรง

ขณะนั้น พระองค์ทรงทอดพระเนตรไปเห็นต้นไม้ยังแลต้นหนึ่งอยู่ริมแม่น้ำระมิงค์ดูพุ่มพวงสวยงาม สถานที่นั้นก็ราบเตียนดียิ่งสมควรจะได้ตั้งศาสนา พระอานนท์จึงกราบทูลถามว่า พระองค์จะเสด็จไปสู่ที่ต้นไม้ยังแลหรือพระพุทธเจ้าข้า?

พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่า เธอจงพาพระสงฆ์ทั้งหลายไปเถิด แล้วพระองค์จึงเอาน้ำสระเกศเกล้า  กับ ฝ่าพระบาทแก้ว ให้พระอานนท์และภิกษุทั้งหลายนำมาไว้ริมต้นไม้ยังแลนั้น

ฝ่ายขุนจอมใจเด็ด กับภรรยาที่มีชื่อว่า สุนันทา เข้ามากราบนมัสการพระอานนท์กับพระภิกษุทั้งหลาย แล้วได้ทำอาสนะที่ประทับและเอาน้ำเย็นมาถวาย แล้วขุนจอมใจเด็ดกับผู้คนทั้งหลายช่วยกันขุดเป็นหลุมกว้าง ๕ ศอก ลึก ๕ วา


พอเสร็จแล้วก็เอา ธาตุน้ำพระเกศ กับ ฝ่าพระบาท ลงบรรจุไว้แล้วปิดด้วยหินและอิฐแล้วให้ชื่อว่า “อุปางาม” ขณะนั้น ขุนจอมใจเด็ด, ขุนอ้าย, ขุนอุตระกาจแก้ว ประณมหัตถ์ขึ้นนมัสการว่า จะขอสร้างและก่อพระธาตุให้เป็นฐานขึ้น

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ต่อไปในกาลข้างหน้า ถ้าตถาคตปรินิพพานไปแล้วได้สองพันปลาย ท่านทั้งหลายจึงควรสร้างพระธาตุนี้ แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จไปซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าที่ล่วงไปแล้ว ๓ พระองค์ ณ “ดงปาย” (สถานที่นี้น่าจะเป็นพระพุทธบาทสี่รอย)

ขุนจอมใจเด็ด, ขุนอ้าย, ขุนอุตระกาจแก้ว กับชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลาย พอได้บรรจุพระธาตุไว้แล้ว ต่างก็มีความชื่นชมยินดียิ่งนัก ชวนกันสักการบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียนทุกวันคืนมิได้ขาด คนเหล่านี้เมื่อตายไปแล้วก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อหมดบุญแล้วก็ได้มาเกิดในเมืองเกศคันธนคร เมื่อพุทธศักราช ๒๐๕๐จะได้สร้างพระธาตุ บางคนก็ได้บวชเป็นพระภิกษุ บางคนจะได้เป็นอุปราช บางคนจะได้เป็นอุบาสกอุบาสิกา แล้วจะได้ประชุมสงฆ์สร้างพระธาตุความเจริญรุ่งเรืองจะเกิดขึ้นในเมืองนี้


เมืองเกศคันธนครนี้ ให้ชื่อตามเหตุที่พระองค์ได้ฉันภัตตาหารกับไว้เกศาฝ่าพระบาทและน้ำสระพระเกศเกล้าของพระองค์ ตามที่พระยาธัมมิละได้ถวายน้ำเมี่ยงกับผลมะตูม เมืองจึงได้ชื่อว่า เมืองคั่งแค้น (ชาวเหนือเรียกว่า เมืองกั่งแก้น แล้วต่อมาก็เรียกว่า เมืองแกน) กับพระยาธัมมิละทำอาสนะและที่ประทับให้แก่พระอรหันต์ด้วยใบไม้แลเด็ดไม้นั้น ได้ชื่อว่า แม่หอพระ

ส่วนกุศลเมื่อผู้ใดได้สร้าง พระธาตุจอมหด, พระธาตุม่อนจอมหิน และฝ่าพระบาทแก้ว ผู้นั้นจะได้เกิดร่วมกับพระรัตนตรัย จะได้ถึงพระอรหันต์แลนิพพานในที่สุด...”

ตามตำนานเล่าไว้เพียงเท่านี้ พอสรุปได้ว่า สถานที่พระพุทธเจ้าประทานพระเกศาธาตุบรรจุไว้มีชื่อว่า อุโมงคอาราม และ จารุวรรณอาราม ส่วนน้ำที่สระพระเศียรและฝ่าพระบาทของพระองค์ คงจะกลายเป็นพระธาตุ แล้วให้บรรจุไว้มีชื่อว่า อุปางาม รวม ๓ แห่งด้วยกัน


ในตำนานยังได้กล่าวไว้ในตอนท้ายอีกว่า...

"ผู้ใดได้จารหรือเขียนพงศาวดารพระธาตุ ๓ หลังคือ ม่อนจอมหด, จอมหิน, พระบาทแก้ว ไว้ตราบ ๕,๐๐๐ พระวัสสา หรือได้เทศนาให้ผู้อื่นฟังก็ดี หรือจารไว้กับศาสนาก็ดี ถ้าเกิดชาติหน้าจะได้สมความปรารถนาทุกประการ กล่าวในพงศาวดารเมืองเท่านี้ก่อนแล ฯ"


Rank: 8Rank: 8

DSC00741.jpg


DSC03496.jpg




ประวัติพระบรมธาตุเจดีย์ วัดช่อแลพระงาม  

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดช่อแลพระงาม สร้างขึ้นในพ.ศ.๒๔๔๕ โดยท่านครูบามหาวรรณเป็นเจ้าอาวาส และด้วยความเลื่อมใสศรัทธาบารมีของท่านครูบามหาวรรณ อันมีศิษยานุศิษย์และช่างฝีมือชาวม่าน (พม่า) ร่วมกับชาวบ้านช่อแลที่มีฝีมือ ช่วยกันก่อสร้างองค์พระธาตุและลวดลายต่างๆ เป็นที่งดงามตามศิลปะล้านนาผสมม่าน เป็นที่สักการบูชาของชาวบ้านช่อแลและพุทธศาสนิกชนซึ่งเป็นเวลาช้านาน

ต่อมาตัวองค์พระธาตุหรือลวดลายซุ้มพระเกิดการชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา เนื่องจากเกิดการผุกร่อนหมดอายุของปูน ทางคณะศรัทธาประชาชนบ้านช่อแล โดยมีพระอธิการสุพรรณ โชติธัมโม เจ้าอาวาสได้พร้อมใจกันบริจาคทุนทรัพย์ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ตัวองค์พระธาตุครั้งใหญ่ โดยให้คงไว้ตามศิลปะรูปทรงเดิมและครอบโดยลงรักปิดทองทั้งองค์ เพื่อเป็นศาสนวัตถุเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนต่อไป


รายชื่อเจ้าอาวาส วัดช่อแลพระงาม ดังต่อไปนี้

๑. ครูบาอินทร์                              พ.ศ. ๒๔๐๒ - ๒๔๑๔
๒. ครูบาปัญญา                            พ.ศ. ๒๔๑๔ - ๒๔๓๐
๓. ครูบาอินทจักร                          พ.ศ. ๒๔๓๐ - ๒๔๔๕
๔. ครูบาวัน มหาวีโร                      พ.ศ. ๒๔๔๕ - ๒๔๖๐
๕. พระครูสิงห์ คันธวังโส                 พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๒๕๐๓
๖. พระอาจารย์ทองคำ อัคควัณโณ    พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๑๓
๗. พระอาจารย์ดวงจันทร์ กิตติภัทโท  พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๒๑





Rank: 8Rank: 8

DSC03489.jpg


DSC03493.jpg



DSC03492.jpg



DSC03495.jpg



DSC03488.jpg




ซุ้มจระนำ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ ทั้งสี่ทิศ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดช่อแลพระงาม ครับ


Rank: 8Rank: 8

DSC03482.jpg


จุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา  และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ครับ สาธุ สาธุ

  

DSC03480.jpg


DSC03491.jpg



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดช่อแลพระงาม พร้อมกันเลยนะครับ

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) วันทามิ  เจติยัง  สัพพัง  สัพพัฏฐาเนสุ  ปะติฏฐิตา  สะรีระธาตุโย  เกศาธาตุโย  อะระหันตา  ธาตุโย  เจติยัง  คันทะกุฏิง  จะตุละสี  ติสสะหิสเส  ธัมมักขันเธ  สัพเพสัง  ปาทะเจติยัง  อะหังวันทามิ  ธาตุโย  วันทามิทุระโส  อะหังวันทามิ สัพพะทา  อะหัง  วันทามิ  สิระสา ฯ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ มีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 04:38 , Processed in 0.051350 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.