แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC00119.jpg



พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00120.jpg



แผนผังห้องจัดแสดงต่างๆ เกี่ยวกับเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


รายละเอียด

ห้องที่ ๑    เป็นโถงต้อนรับ
ห้องที่ ๒    เป็นห้องประวัติพญามังราย
ห้องที่ ๓    เป็นห้องประวัติเวียงกุมกาม
ห้องที่ ๔    เป็นห้องโบราณสถาน
ห้องที่ ๕    เป็นห้องวิถีชีวิตล้านนา
ห้องที่ ๖    เป็นห้องแสดงดนตรีพื้นบ้าน


DSC00122.jpg


ห้องที่ ๒ ห้องประวัติพญามังราย พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



DSC00123.jpg



DSC00127.jpg



อนุสาวรีย์พญามังรายมหาราช ประดิษฐานภายใน ห้องประวัติพญามังราย พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



DSC00124.jpg



ป้ายข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายมังรายศาสตร์ ภายใน ห้องประวัติพญามังราย พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00128.jpg



ห้องที่ ๓ ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00136.jpg



ศิลาจารึก วัดพระยืนอักษรล้านนา ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


ศิลาจารึก วัดพระยืนอักษรล้านนา มีป้ายประวัติคำแปลเป็นภาษาไทย กล่าวว่า...


“นโมตสส ภควโต อันว่าพระเสลาจาฤก เจ้าท้าวสองแสนนาอันธรรมิการาช ผู้เป็นลูกรักแก่พระยาผายูเป็นหลานพระยาคำพูเป็นเหลน พญามังรายหลวงเจ้าท้าวนิรมิตร สุชะนะมาพิธีปีเดือนมาพอตนดั่งอั้น จึงได้เสวยราชไชยศรีมีบุญเดชะตะบะหนักหนา เป็นพระยาธรรมิกราช อาจบังเกิดในศาสนาศรัทธา พระศรีระตะนะตรัย แลจึ๋งให้ไปอารธนานิมนต์พระมหาเถระเป็นเจ้าผู้หนึ่ง ชื่อมหาครูสุมนเถระอันอยู่ในสุโขทัย คาบนั้นบ่มิได้มาและพลอยจึงให้ไปอารธนาหน่วงเหนี่ยวพระมหาเถระเป็นเจ้าด้วยความเคารพหนักหนา

คาบหนึ่งโสด คาบนั้นท่านเป็นเจ้าจึ่งลีลามาด้วยศิษย์ตนคนล้านผู้ดีย่อม อริยสงฆ์ทรงศิลาจาริย์อุกฤตนักหนา พระมหาเถระเจ้านั้นโสดประกอบด้วยอริยบทอันดี มีอินทรีย์ล้านทรงอรรถและธรรมทั้งหลาย รู้สั่งสอนคนเข้าในตรัยสรณคม และผู้ใดจะจำไปในจตุราบายนรกไซร์ท่านยกออกหนทางสวรรค์ ด้วยอันว่าในจำศีลภาวนากระทำเพียน เมื่อท่านเป็นเจ้ามานั้น ในปีระกาเดือนเจี่ยงวันศุกร์ วันตนเป็นเจ้าจักมาถึงนั้น ท่านพระยาธรรมิกราชปรินิพพานด้วยฝูงรายโยธามหาชนพลลูกขุนมาตรีทั้งหลายยายกันให้ถือจ่อธงข้าวตอกดอกไม้ เตียน ตีพาทย์ ตังพิณ ฆ้องสะระไนยไชยทะโกลาหลแตรสังข์พานกังสะดานมะระทงดงเดียดเสียงกลองทั้งคนร้องปรีดาสะท้านทั่วทั่งหริภุญไชย

แลจึ่งไปรับมหาเถระเป็นเจ้าอัญเชิญเข้ามา ในวิหารโอยทานเวนกุฏิสถานอาวาสนี้แก่มหาเถระเป็นเจ้า แล้วจึ่งบำเรอพระมหาเถระเจ้าและฝูงสงฆ์ทั้งหลาย ด้วยจตตุปัจจัยล้วนดี ฝูงชนอันอยู่ในเมืองหริภญไชยก็ดี ฝูงชนอันอยู่ภายในกุมกามมีเชียงใหม่พ้นก็ดี ฝูงคนทั้งหลายเขามีใจศรัทธาแก่พระมหาเถระเป็นเจ้าตนนั้น จึงบังเกิดศรัทธาบุญธรรมนักหนา พระมหาเถระเป็นเจ้ามาอยู่บมินานเท่าใดท่านจึงรำเพิงไปมาพิจารณา (ตอนนี้ศิลาชำรุดแตกออกไม่มีตัวอักษร) กับพระพุทธรูปอันสถิตย์อยู่ด้าน (ศิลาแตกชำรุดอีก แต่ยังมีส่วนต่อไปอีก ๒ –๓ บรรทัดยังฝังอยู่ในฐานที่ก่อหุ้ม)”



DSC00138.jpg



ศิลาจารึก วัดกานโถม พร้อมป้ายคำแปลภาษาไทย ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


คำแปลศิลาจารึก วัดกานโถม กล่าวว่า...


“พ.ศ.๒๐๓๒ เจ้าหมื่นจ่าบ้าน เข้าเฝ้ากษัตริย์เชียงใหม่ กษัตริย์ฯรับสั่งจัดคน ๔ หมู่บ้าน (เดิม ๗) ซึ่งเป็นข้าคนของอาจารย์กานโถมไว้เพื่อดูแลพระพุทธรูปที่วัดกานโถมพร้อมกันนี้ นางบุญยวงได้ถวายข้าคน ๑๒ คน และหมู่บ้าน ๔ หมู่บ้านแด่พระพุทธรูปด้วย พ.ศ. ๒๐๔๒ นางบุญยวงหล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์น้ำหนักประมาณ ๑๕๐ กก. ประดิษฐาน ณ วัดกานโถม และทำพินัยกรรมว่า หลังจากเสียชีวิตแล้วสมบัติของนางมอบถวายแด่พระพุทธรูปองค์นี้”


DSC00130.jpg



DSC00131.jpg



DSC00132.jpg



รอยจารึกบนผิวหน้าอิฐ ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00133.jpg



DSC00134.jpg



DSC00139.jpg



DSC00140.jpg



รอยจารึกบนผิวหน้าอิฐ
ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



DSC00142.jpg



สภาพจำลองระบบการผันน้ำในล้านนา
ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00143.jpg



เศียรพระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00144.jpg


พระพิมพ์ดินเผาจำลอง ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00145.jpg


เศียรพระพุทธรูป และโบราณวัตถุต่างๆ ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00146.jpg


เครื่องใช้โบราณต่างๆ จำพวกเครื่องถ้วยลายคราม ไห กระปุก ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00147.jpg


ทางเดินไป ห้องที่ ๔ ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม จะมีรูปภาพวัดต่างๆ ในเวียงกุมกามติดตามผนังเรียงรายเป็นแถวค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00170.jpg



DSC00148.jpg



ห้องที่ ๔ ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม จะมีข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุที่ถูกค้นพบที่เวียงกุมกามต่างๆ ค่ะ


DSC00151.jpg


รูปแบบจำลองเจดีย์เจ็ดเหลี่ยม ภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00149.jpg


ภาพเครื่องถ้วยจีน ภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00150.jpg


ภาพถ้วยลายคราม ภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ส่วนใหญ่เป็นถ้วยลายครามผลิตภัณฑ์จากเมืองจีนในสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.๑๙๑๑-๒๑๘๗) ที่ถูกค้นพบที่วัดหนานช้างค่ะ


DSC00152.jpg


นิทรรศการข้อมูลโบราณวัตถุ ที่ถูกค้นพบในเวียงกุมกามต่างๆ ภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00153.jpg



ตู้จัดนิทรรศการแสดงโบราณวัตถุที่ถูกค้นพบ ในเวียงกุมกามต่างๆ จัดแสดงภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกามค่ะ


DSC00154.jpg


เศียรนาคปูนปั้น ถูกค้นพบจากวัดกุมกามค่ะ


DSC00155.jpg


บัวกลุ่ม ถูกค้นพบจากวัดกู่ป้าด้อมค่ะ


DSC00156.jpg


เศียรนาค ถูกค้นพบจากวัดหนานช้างค่ะ


DSC00157.jpg


ลายประจำยามปูนปั้นประดับส่วนท้องไม้เจดีย์ (ภาพตรงกลาง) ถูกค้นพบจากวัดกู่อ้ายหลานค่ะ


DSC00377.jpg


บัวกลุ่มปูนปั้น ถูกค้นพบจากวัดกู่อ้ายหลานค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00158.jpg



ซุ้มจระนำลายพันธ์พฤกษา ถูกค้นพบจากวัดหนานช้างค่ะ


DSC00159.jpg


ลายประจำยามปูนปั้น ถูกค้นพบจากวัดกู่อ้ายหลานค่ะ


DSC00160.jpg


กิเลน ถูกค้นพบจากวัดหนานช้างค่ะ


DSC00161.jpg


ซุ้มจระนำลายพันธ์พฤกษา ถูกค้นพบจากวัดหนานช้างค่ะ


DSC00162.jpg


กลีบบัวฟันยักษ์ปูนปั้น
ประดับส่วนฐานอุโบสถ วัดกู่ป้าด้อม ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00163.jpg



ภาชนะดินเผาเคลือบสีเขียว ถูกค้นพบหลังเตาสันกำแพงในเวียงกุมกามค่ะ


DSC00164.jpg



DSC00165.jpg



ภาชนะดินเผา (กระปุก) ถูกค้นพบในเวียงกุมกามค่ะ


DSC00166.jpg


ภาชนะดินเผาเคลือบสีน้ำตาลเข้ม
ถูกค้นพบจากวัดพันเลาค่ะ


DSC00167.jpg


ภาชนะดินเผา (กระปุก) เคลือบสีน้ำตาล ถูกค้นพบในเวียงกุมกามค่ะ


DSC00169.jpg


หม้อดินเผาเนื้อไม่แกร่ง
ถูกค้นพบจากวัดพันเลาค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC00171.jpg



ห้องที่ ๕ เป็นห้องวิถีชีวิตล้านนา พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00172.jpg


จำลองวิถีชีวิตล้านนา ภายใน ห้องวิถีชีวิตล้านนา พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00173.jpg


ภาพการแต่งตัวของคนล้านนา ภายใน ห้องวิถีชีวิตล้านนา พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00174.jpg


เสาหินจำลอง อยู่กลางสวน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



ส่วนห้องที่ ๖ เป็นห้องแสดงดนตรีพื้นบ้าน วันนี้ประตูปิด เพราะไม่มีการแสดงนะคะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

๑๖. วัดกู่ขาว




DSC00593.jpg



วัดกู่ขาว ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายเชียงใหม่ - ลำพูน (สายเก่า) ตรงกิโลเมตรที่ ๕ ปากทางเข้าสู่เวียงกุมกามด้านถนนเชียงใหม่-ลำพูน (ต้นยาง) ในเขตตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่อยู่เขตนอกเวียงกุมกามด้านตะวันออกเฉียงเหนือใกล้กับบริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิงสายเดิมหรือปิงห่าง ปัจจุบันมีถนนสร้างผ่ากลางวิหาร สถานะเป็นวัดร้าง เขตที่ดินประมาณ ๑๐ ไร่เศษ กินพื้นที่บริเวณสุสาน บ้านเรือน และร้านค้าของราษฎรที่ดินเขตวัดร้างหลายสิบหลังคาเรือน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของกรมศาสนา


DSC00596.jpg



วัดกู่ขาว สร้างหันไปทางทิศใต้เข้าสู่ลำน้ำปิงห่าง มีสิ่งก่อสร้างปรากฏหลักฐานชัดเจนคือ พระเจดีย์และวิหาร ที่มีถนนทางเข้าเวียงกุมกามทางด้านนี้สร้างผ่ากลาง รวมถึงหลักฐานจากการขุดแต่งบูรณะโดยกรมศิลปากรในระยะที่ผ่านมา ที่ได้พบร่องรอยหลักฐานที่เป็นแนวกำแพงแก้ว และโขงประตูทางด้านทิศเหนือใกล้กับส่วนฐานพระเจดีย์ (ปัจจุบันเอาดินถมกลบไว้) ค่ะ


ประวัติวัดกู่ขาว สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว คำว่ากู่ ในภาษาถิ่นเหนือ หมายถึงเจดีย์สีขาว ซึ่งคงจะเรียกตามลักษณะของเจดีย์ ประดับลวดลายปูนปั้นและฉาบปูนสีขาว กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะวัดกู่ขาว พ.ศ.๒๕๓๒

โบราณวัตถุสำคัญที่พบจากการขุดแต่งพระธาตุกู่ขาว ได้แก่ พระพุทธรูปศิลา และพระพุทธรูปแก้วสีเขียวปางมารวิชัย


DSC00595.jpg



พระเจดีย์ วัดกู่ขาว ค่ะ


วิหาร วัดกู่ขาว คงเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนหน้าท้ายอาคาร อันเป็นส่วนของแท่นแก้วพระประธาน มีร่องรอยแสดงการก่อสร้างซ้อนทับกันสองครั้ง ซึ่งหากได้รับการขุดแต่งตามแนวฐานไปทางด้านใต้แล้ว ก็จะพบหลักฐานในส่วนฐานวิหารนี้ต่อยาวออกไป วัสดุก่อสร้างเป็นอิฐก่อสอด้วยดินและฉาบปูนขาว ที่ปัจจุบันส่วนของปูนขาวฉาบหลุดออกร่อนไปแล้วเสียส่วนมาก ยกเว้นในส่วนองค์เจดีย์ตอนบนที่คงเหลือร่องรอยมากอยู่ ลายประจำยามประดับเจดีย์บางแห่งยังคงเห็นรายละเอียดที่ชัดเจน


DSC00597.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานบนฐานชุกชีส่วนวิหาร วัดกู่ขาว ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-27 23:37 , Processed in 0.056761 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.