แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 7189|ตอบ: 9
go

พระธาตุกาหลง บ.สบปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_7398.JPG



พระธาตุกาหลง

บ.สบปั๋ง  ม.๔  ต.แม่ปั๋ง  อ.พร้าว  จ.เชียงใหม่

[พระเกศาธาตุ]



Rank: 8Rank: 8

IMG_7326.JPG



IMG_7332.JPG


IMG_7345.JPG


IMG_7350.JPG


IMG_7358.JPG



พระธาตุกาหลง ประดิษฐานตั้งอยู่บนดอยลูกเล็ก ริมถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๐๑ (สายเชียงใหม่-พร้าว) บ้านสบปั๋ง หมู่ที่ ๔ ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ตรงข้ามกับวัดพระเจ้าตนหลวงค่ะ



Rank: 8Rank: 8

เส้นทางขึ้นไปกราบนมัสการพระธาตุกาหลง

มี ๒ เส้นทาง คือ บันไดนาค และทางรถขึ้น


IMG_7353.JPG



IMG_7336.JPG



IMG_7340.JPG



IMG_7342.JPG



บันไดนาคทางขึ้น พระธาตุกาหลง มีบันได ๒๗๙ ขั้น ค่ะ



IMG_7367.JPG


IMG_7365.JPG



IMG_7369.JPG



IMG_7380.JPG



IMG_7533.JPG



IMG_7385.JPG



ทางรถขึ้น ไปกราบนมัสการพระธาตุกาหลง ขับรถมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๐๑ (สายเชียงใหม่-พร้าว) แล้วเลี้ยวเข้าแยกถนนทางหลวงชนบท ๔๐๔๙ ระยะทางจากปากทางเข้า (ถนนทางหลวงชนบท ๔๐๔๙) ถึงพระธาตุกาหลง ๑ กิโลเมตร ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

IMG_1485.JPG



DSC05093.JPG



IMG_7392.JPG



IMG_7429.JPG



IMG_7400.JPG



พระธาตุกาหลง ส่วนองค์ฐานพระบรมธาตุเจดีย์ บูรณะโดยเทคอนกรีตเสริมเหล็กรอบฐาน หนา ๐.๑๕ เมตร สูง ๐.๙๐ เมตร เสริมพื้นรอบฐานหนา ๐.๐๕ เมตร เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ โดยเทศบาลตำบลแม่ปั๋ง และมีการบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์อีกครั้งเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ โดยพระอาจารย์สันติ ถิรญาโณ พระอาจารย์วีนัส ฐิตสิริ พระอาจารย์ประเสริฐ เขมธโร พระครูปลัดธนกร กตปุณฺโณ พร้อมศิษยานุศิษย์ พร้อมศรัทธาชาวบ้านสบปั๋ง ค่ะ


DSC05104.JPG



ตำนานพระธาตุกาหลง


(แหล่งที่มา : นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ๑ ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์, หน้า ๓๐.)


ตำนานพระเจ้าเลียบโลก กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงบ้านสบปั๋ง เจ้าน้อยจันต๊ะ ได้อาราธนานิมนต์นั่งบนหลังช้าง บรรดาชาวประชามีจิตศรัทธาได้นำเอามะพร้าวมาถวายพระองค์ ครั้นเสวยเสร็จแล้ว ได้โยนกะลามะพร้าว หรือชาวล้านนาเรียกว่า “กะหล้ง” ขึ้นบนเขาลูกหนึ่งทางทิศตะวันออก ต่อมาจึงมีชื่อว่า "ดอยกะหลัง" พร้อมทั้งทรงประทานเกศาธาตุไว้บรรจุ ต่อมามีผู้สร้างเจดีย์ครอบไว้บนนั้นเรียกว่า “พระธาตุดอยกะหล้ง”

ตำนานอีกแห่งว่า เมื่อสรงน้ำพระธาตุ มักจะมีการทำบุญด้วยข้าวก้อนใหญ่ให้แก่นกกา ซึ่งในขณะนั้นมีกาเป็นจำนวนมากอาศัยอยู่ แต่กาลงมาจิกกินข้าวไม่ได้ มีแต่ว่าบินวนเวียนไปมาเหมือนหลงทิศ ต่อมาชื่อพระธาตุดอยกะหล้ง จึงเรียกเพี้ยนมาเป็น "พระธาตุดอยกาหลง" จนกระทั่งทุกวันนี้ ส่วนเมืองนี้ ก็ชื่อว่า เวียงพร้าว เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าเสวยผล "มะพร้าว" ณ สถานที่นี้นั่นเอง



Rank: 8Rank: 8

IMG_7416.JPG



IMG_7419.JPG



IMG_7413.JPG



IMG_7409.JPG



IMG_7407.JPG



พระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ องค์พระธาตุกาหลง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

IMG_7399.JPG



จุดธูปเทียน ถวายดอกบัวและดอกไม้ ลูกแก้วจักรพรรดิ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ค่ะ สาธุ สาธุ



IMG_7405.JPG



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระธาตุกาหลง พร้อมกันเลยนะคะ


นะโม ตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)   

        วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ มีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้น จงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์ และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



Rank: 8Rank: 8

IMG_7421.JPG



IMG_7438.JPG



รูปปั้นเทพพนม ตั้งอยู่่บนกำแพงแก้วล้อมรอบ พระบรมธาตุเจดีย์ ค่ะ



IMG_1476.JPG



IMG_7508.JPG



ศาลาปฏิบัติธรรม ณ พระธาตุกาหลง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

DSC05107.JPG



DSC05108.JPG



DSC05111.JPG


IMG_7491.JPG



DSC05109.JPG



DSC05114.JPG



IMG_7520.JPG



IMG_7527.JPG



วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ คณะตามรอยพระพุทธบาท เว็บแดนนิพพาน ได้เดินทางมาตามรอยพระพุทธบาทที่อำเภอพร้าว ก็ได้แวะมากราบนมัสการพระธาตุกาหลง หลังจากที่ได้เดินทางมากราบนมัสการพระธาตุกาหลงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒ และเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง มีการบูรณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ใหม่จากเดิม คงเป็นเพราะคณะศรัทธาทุกฝ่ายต่างร่วมแรงร่วมใจกันในการรักษาบูรณะสถานที่นี้ให้เป็นศาสนสถานเพื่อสืบต่ออายุพระศาสนาให้มั่นคงต่อไป

และวันนี้ก็ได้มีคณะภิกษุสงฆ์ พร้อมทั้งศรัทธาญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาจากจังหวัดเชียงใหม่และต่างจังหวัดคณะหนึ่ง ได้เดินทางมาถวายห่มผ้าองค์พระบรมธาตุเจดีย์ และสวดบทอิติปิโสฯ เดินเวียนไปทางขวา (ทักษิณาวรรต) ๓ รอบ พระธาตุกาหลง ข้าพเจ้าขอโมทนาบุญเป็นอย่างสูงกับทุกท่านด้วยค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ


Rank: 8Rank: 8

รูปภาพเก่า ณ พระธาตุกาหลง พ.ศ.๒๕๕๒



IMG_1453.JPG



IMG_1483.JPG



IMG_1493.JPG



IMG_1489.JPG



IMG_1494.JPG



IMG_1495.JPG



IMG_1496.JPG



IMG_1477.JPG



IMG_1490.JPG



การเดินทางมากราบนมัสการพระธาตุกาหลง วันนี้ขอจบการเดินทางด้วยรูปภาพเก่า ณ พระธาตุกาหลง พ.ศ.๒๕๕๒ เลยนะคะ สวัสดีค่ะ


Rank: 8Rank: 8

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญสำหรับข้อมูลจาก :
        • พระธาตุกาหลง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
        • นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ๑ ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์, หน้า ๓๐.
        • พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๙ กรกฎาคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๒ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๑๖๖.
        • และทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญครั้งนี้

หมายเหตุ  
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทาน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-4-19 23:08 , Processed in 0.087324 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.