แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 2069|ตอบ: 1
go

(บทความหลวงพ่อ) "สัปปุริสธรรม" [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด putthapaun เมื่อ 2010-8-20 22:53  



[size=180%]


[size=180%]สัปปุริสธรรม
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง)
หนังสือ ธรรมปฏิบัติ เล่ม ๑๐ หน้า ๖๖-๗๑

สัปปุริสธรรมท่านกล่าวว่าเป็นธรรมของสัตบุรุษ มี ๗ อย่าง ท่านรู้ไหมว่าสัตบุรุษคือใคร

สัตบุรุษ ขอแปลง่ายๆ ว่า คนดี คือ คนไม่เลว
[size=130%]
ถ้าถามว่ามีอะไรบ้างก็มองกันต่อไป คนที่จะดีที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าสัตบุรุษก็คือ

๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักสังเกต เช่น รู้จักว่าสิ่งนี้เป็นเหตุของความทุกข์ สิ่งนี้เป็นเหตุของความสุข ก็ได้แก่คนดีศึกษามาดีแล้ว และมีปัญญาใคร่ครวญ ถ้าสิ่งใดที่เป็นเหตุของความสุขท่านทำอย่างนั้น สิ่งใดที่เป็นเหตุของความทุกข์ท่าน หลีกเลี่ยง

ท่านฟังกันมา แล้วตลอดกาลไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุของความสุข ไม่รู้อะไรเป็นเหตุของความทุกข์ ก็จงก้มหน้าก้มตาตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่า ข้าพเจ้าตามคราวนี้ข้าพเจ้าขอไปอยู่ในอเวจีมหานรก อย่างนั้นแหละมันเป็นการสมควรแก่ท่าน

๒. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่น รู้จักว่าสุขเป็นผลมาจากเหตุอันนี้ ทุกข์เป็นผลมาจากเหตุอันนี้ นี่คนมีปัญญาอย่างนี้ท่านเรียกสัตบุรุษ

๓. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน ว่าเรามีชาติตระกูล ยศศักดิ์ สมบัติ บริวาร ความรู้ และคุณธรรมอย่างละเท่านี้ๆ แล้ว ประพฤติตนให้สมควรแก่ที่เป็นอยู่อย่างนั้น

ก็ทรงความดีมันไว้ คือละความชั่ว ประพฤติความดี มีพรหมวิหาร๔ จะเกิดในตระกูลแบบไหนก็ตาม ทรงความดีมันไว้

๔. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ และก็รู้จักประมาณในการบริโภค แต่พอดีพอควร

คำว่าบริโภค ไม่ได้หมายความว่ากินเฉยๆ นะ หมายถึงใช้สอยด้วย อย่าให้มันเกินฐานะ คือการแสวงหาเลี้ยงชีพก็อย่าโกงเขา ไม่คอรัปชั่น คอรับฉันอะไรนี่ ไอ้โกงกินกันนี่ชาวบ้านยับเยิน เราก็พบบ่อยๆ เวลานี้ผีมันเยอะจริงๆ จะขุดบ่อ จะลอกคลอง จะทำถนนหนทาง ไอ้คนจริงๆ มันไม่กี่คน ผีช่วยซะเยอะ มันมีชื่อซะด้วยนะ ลงมาช่วยทำ อย่างนี้หากินในทางที่ไม่ชอบ ต้องเว้นจากการทุจริตคิดมิชอบ ตรงไปตรงมา

แล้วก็รู้จัก ประมาณในการบริโภคทรัพย์ หมายความว่า รู้ฐานะของตัว ใช้อยู่ในขอบเขต ความจริงเงินดาวน์เงินเดือนหาได้นี่ มันพอกินพอใช้ ถ้าท่านไม่ไปใช้นอกลู่นอกทาง ท่านสัตบุรุษท่านรู้จักประมาณในเรื่องนี้

๕. กาลลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควร ในอันที่จะประกอบกิจ นั้น เรื่องเวลาเป็นเรื่องสำคัญมากนะ กาลเวลาที่เราจะต้องทำอะไรโดยให้มันเหมาะมันควร จะไปหาใครนี่ต้องดูกาลเวลานะ อย่าเอาแต่ใจเรา คนเลวมีมาก

จำไว้นะว่า กาลเวลาต้องดูสมควร จะไปที่ไหนก็ตาม คนที่ดีนะ เขาต้องเคารพกับระเบียบของสถานที่ คนทุกคนเขามีงานมีภารกิจ คนเราที่มีทุกข์เพราะไม่รู้จักาลเวลา กาลเวลาที่เขากำหนดต้องแน่นอน เพราะว่าเราจะเป็นมิตรหรือศัตรูกันมันอยู่ที่กาลเวลา

เราจะปลอดภัยมีกินหรือมีใช้มันอยู่ที่กาลเวลา เวลาฝนตกไม่รองน้ำไว้กิน ฝนแล้วจะหาน้ำกินได้ที่ไหน เวลาเขากินอาหารการบริโภคเราไม่กิน พอเขากินเสร็จเขาเทหมดค่อยไปกิน แล้วมันจะได้กิจข้าวไหม นี่ความสุขความทุกข์ใหญ่อยู่ที่กาลเวลา

ถ้าคนดีละก็เขาต้องเคารพกับเวลา เพราะเป็นเรื่องสำคัญ

๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชน และ กิริยาที่จะต้องประพฤติต่อที่ประชุมนั้นๆ

ว่าหมู่นี้เมื่อเข้าไปหาจะต้องใช้กิริยาอย่าง นี้อย่างนั้น พูดอย่างนี้ แต่แต่การแต่งตัว เรื่องนี้มีคนมาถามบ่อยๆ ว่า เราทรงศีลทรงทานแบบนี้ มีศีลอยู่ข้อหนึ่งที่ว่า นัจจะคีตะวา ทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคัธะวิเลปะนะฯ

ว่าอย่าแต่งตัว อย่าติดในเครื่องแต่งตัว ลูบไล้ของหอม ทัดทรงดอกไม้อะไร ก็มาตกอยู่ในจุดนี้ว่า ถ้าเราแต่งตัวแบบนั้นเพื่อเหมาะ สมกับสถานที่ เหมาะสมกับบุคคลเพื่อไม่ให้เกิ้อเขิน เราไม่ติดอยู่ในความสวยความงาม ศีลข้อนี้ไม่เป็นไร

ถ้าเขานุ่งกางเกงแพรกัน เรานุ่งกางเกงขาก๊วยไปมันก็แย่ เขาหวีผมเขาผัดหน้า เขาแต่งหน้ากัน เราก็ต้องทำตามเขา เราไม่ติดซะก็ แล้วกัน ก็หมดเรื่อง คนดีก็ต้องทำกิริยาวาจาหรือการแต่งตัวให้เหมาะสมกับสถานที่นั้น

๗. ปุคคลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคลว่า ผู้นี้ควรคบหรือไม่ควรคบ

ขอพูดง่ายๆ การเลือกบุคคลนี่ดี ต้องเลือก ถ้ามิตรเลวล่ะก็ดูอย่างพระโกกาลิกะ ไปคบ พระเทวทัต เข้า พระเจ้าอชาตศัตรู ไปคบพระเทวทัตเข้า เลยลงนรกไปตามๆ กัน น่าจะเป็นคนดี เรื่องการคบมิตรนี่มีความสำคัญ ถ้าเห็นว่าเขาไม่ดี เจอะหน้ากันก็พูด กันได้แต่ว่าอย่าคบหาสมาคม อย่างแสดงอาการรังเกียจจนออกนอกหน้า ทำเฉยๆ แต่ถ้าเขาชวนไปในทางที่ชั่ว เราก็บอกไม่ว่าง

ถ้าจะ ถามว่า “บอกว่าไม่ว่างไม่เป็นการโกหกรึ ... ?”

เราไม่โกหก เราไม่ว่างจากการกระทำความดี เพราะเขาจะชวนไปทำความชั่ว จิตเราไม่ว่างที่จะรับความชั่ว ไม่เป็นไร


[size=130%]ต่อไปอีกอย่างหนึ่ง เขาเรียกว่า สัปปุริสธรรมเหมือนกัน มีอีก ๗ อย่าง คือ สัตบุรุษ ประกอบไปด้วยธรรม ๗ ประการ

๑) มีศรัทธา ความเชื่อง และมีความละอายต่อบาป มีละอายต่อจริยาที่จะสร้างความชั่ว คืออารมณ์ที่จะสร้างความชั่วให้เกิดขึ้น มีอารมณ์เกรงกลัวต่อผลของความชั่ว

เป็นคนได้ยินได้ฟังมาก คือศึกษามาดีแล้ว เป็นคนที่มีความเพียรดี คือเพียรละความชั่ว ประพฤติความดี เป็นคนมีสติมั่นคงทรงอยู่ในอารมณ์ของบุญกุศล เป็นคนมีปัญญารอบรู้ ไม่ติดอยู่ในขันธ์ ๕

๒) จะปรึกษาสิ่งใดกับใครๆ ก็ไม่ปรึกษาเพื่อจะเบียดเบียนตน และเบียดเบียนบุคคลอื่น
คำว่า เบียดเบียนตน หมายความว่าสิ่งนั้นมันเลว เลวเป็นเหตุแห่งความทุกข์ ก็มาเบียดเบียนตัวเรา
ถ้าเรา คิดเบียดเบียนคนอื่นมันก็เป็นการเบียดเบียนตนเพราะผลแห่งความชั่วเดือดร้อน มันสะท้อนมาถึงเรา

๓) จะคิดสิ่งใด ก็ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนและบุคคลอื่น คืออารมณ์ที่คิดแบบอารมณ์ที่เปลื้องความทุกข์

๔) จะพูดสิ่งใด ก็ไม่พูดเพื่อจะเบียดเบียนตนและคนอื่น

๕) จะทำสิ่งใด ก็ไม่ทำเพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่น

๖) มีความเห็นชอบ มีความเห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอันว่า มีความเห็นว่าไอ้ความชั่วน่ะ เราไม่ทำดีกว่า เราสร้างแต่ความดี ทำจิตให้ผ่องใสดีกว่า

๗) ให้ทานโดยเคารพ หมายความว่า เวลาให้ทานไม่ได้แสดงอาการเหยียดหยามผู้รับทาน

ท่านบอกให้เอื้อเฟื้อแก่ของที่ตัวให้ เวลาที่เราจะให้ทาน ก็เลือกสรรของดีๆ ที่สมควรแก่ผู้รับ รับแล้วจะได้ประโยชน์และก็เอื้อเฟื้อ กับผู้รับทาน หมายความว่าเวลาจะให้เขาก็ไม่แสดงอาการดูถูกดูหมิ่น อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้เป็นอาการของสัตบุรุษ คือคนดี.



พิมพ์โดย มิ้ม


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-9 02:25 , Processed in 0.031467 second(s), 14 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.