แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 4246|ตอบ: 4
go

เช็คความพร้อมอย่างเป็นรูปธรรม "เตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ" คุณพร้อมหรือยัง ? [คัดลอกลิงค์]

Rank: 1

ต่อไปนี้เป็นหัวข้อสำหรับการตรวจเช็คความพร้อมต่อการรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของการเกิดภัยพิบัติหรือยัง ?
ไม่ใช่เพียงฟังข่าวลือเรื่องเล่าแล้วด่วนเชื่อหรือด่วนปฏิเสธ แต่ต้องศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายๆด้าน ต้องเข้าใจให้ได้ว่ากำลังมีอะไรเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ มีความผิดปกติอย่างไร ภาวะโลกร้อน แกนโลกเปลี่ยนแปลง เปลือกโลกเคลื่อนตัว วงแหวนแห่งไฟ พายุสุริยะ และความแปรปรวนในอวกาศ อ้างอิงกับคำพยากรณ์จากพระวิปัสสนาต่างๆ เนื่องจากความเข้าใจในเรื่องนี้มีผลต่อการเตรียมตัวในข้อต่อๆไป เพราะการเตรียมตัวในบางข้อนั้นถือว่าฝืนใจ ฝืนความเคยชิน ฝืนความรู้สึกมากๆ เรา จะต้องใช้ความเชื่อมากมายขนาดไหนจึงจะกล้าสละบ้านช่อง ทรัพย์สิน ตำแหน่งหน้าที่การงาน ลดกิเลส เลิกความนิสัยที่ไม่ดีหรือความเคยชินบางประการ ทั้งยังต้องพยายามชักชวนอธิบายคนในครอบครัว ต้องอดทนต่อคำเยาะเย้ยถากถางของผู้ที่ไม่เห็นด้วย ความเชื่อเพียงอย่างเดียวจึงอาจไม่เพียงพอ ต้องมีความรู้และความเข้าใจจริงๆ จึงจะไม่ไขว้เขวหรือถอดใจไปเสียก่อน รวมถึงมีความรู้ต่างๆเกี่ยวกับวิธีการรับมือกับภัยพิบัติที่มาในรูปแบบต่างๆด้วย
2. มีความเคารพพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง รักษาศีล 5 กรรมบถ 10 และทรงพรหมวิหาร 4 เป็นปกติหรือยัง ?
เพราะ เชื่อว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม จึงเชื่อว่าการที่จะรอดชีวิตหรือตายในภัยพิบัติก็มาจากกรรมของตน ไม่แน่ว่าคนที่รู้เรื่องภัยพิบัติมีข้อมูลหลักฐานอ้างอิงมากมายแล้วจะรอด ชีวิตเสมอไป ไม่แน่ว่าคนรวยที่ไปซื้อที่ดินบนยอดเขาหรือมีหลุมหลบภัยใต้ดินจะรอดเสมอไป บางทีชาวบ้านธรรมดาๆในต่างจังหวัดที่ไม่ได้เตรียมตัวอะไรเลยอาจจะรอด เราควรเชื่อในพุทธานุภาพและคุณงามความดี เชื่อว่าศีลและบุญจะรักษา เชื่อว่าธรรมจะรักษาผู้ประพฤติธรรม
3. เตรียมกระเป๋ารับภัยพิบัติหรือกระเป๋ายังชีพหรือยัง ?
เริ่มจัดกระเป๋าเตรียมอุปกรณ์ยังชีพต่างๆหรือยัง ควรเตรียมเดี๋ยวนี้ อย่างน้อยก็ให้พร้อมประมาณ 70 - 80% ให้ เตรียมเท่าที่พอจะหาได้จากสิ่งที่มีอยู่แล้วไปก่อน เช่นถ้ามีไฟฉายอยู่แล้วก็เตรียมไว้ก่อน แม้มันจะเก่าไปหน่อยแต่ก็ยังดีกว่าไม่เตรียมหรือผลัดไปวันหลังค่อยหาซื้อ คิดแต่จะเอาแบบที่ดีๆไปเลย ที่จริงควรเตรียมโดยใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วไปก่อน ต่อไปหากมีงบประมาณหรือมีเวลา ค่อยหาแบบที่ดีขึ้น เช่นแบบที่กันน้ำได้ แบบคาดหัว หรือแบบไดนาโมชาร์จไฟมือถือได้ด้วย สรุปคือเราควรเตรียมไว้ก่อนแล้วค่อยๆปรับเปลี่ยนหาของอื่นๆที่ดียิ่งขึ้น หากมีงบประมาณเพียงพอ
4. กำหนดเวลาการอพยพหรือยัง ?
การทำงานที่ดีจะต้องมีเป้าหมายและกำหนดเวลาเสร็จแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน โดยเฉพาะกำหนดการเรื่องเวลาสำคัญมาก เช่นถ้าเรามีโปรเจคหรือโครงการที่ทำ เราต้องมีกำหนดการว่าต้องเสร็จเมื่อไหร่ กำหนดการที่ระบุเวลาเป็นสิ่งที่วัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะไม่เช่นนั้นวันๆหนึ่งเราอาจเพลิดเพลินหรือวุ่นวายไปกับการทำมาหากิน เราหมดเวลาไปกับการนั่งเสริชหาข้อมูลเรื่องภัยพิบัติว่าเกิดที่ไหนบ้าง เราพยายามพิสูจน์ทฤษฎีค้นหาหลักฐานต่างๆมาอ้างอิง เราหมดเวลาไปกับการเตือนคนอื่นๆเรื่องภัยพิบัติ เราหมดเวลาไปกับการโต้เถียงกับคนที่ไม่เชื่อเรื่องภัยพิบัติ จนในที่สุดตัวเราก็ไม่มีอะไรสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน ตัวอย่างเช่นกำหนดไปเลยว่าตั้งแต่วันนี้จะพยายาม รักษาศีล 5 กรรมบถ 10 และทรงพรหมวิหาร 4 เป็นปกติตลอดไป กระเป๋าเตรียมรับภัยพิบัติจะต้องพร้อมอย่างน้อย 80 - 90 % ภายในเดือนเมษายน 2554 นี้ ระหว่าง นี้จะค่อยๆเก็บเงินและหาสถานที่หลบภัย โดยจะสรุปสถานที่อย่างช้าที่สุดภายในเดือนธันวาคมปี 2554 และอย่างช้าที่สุดต้นเดือนเมษายน ปีพ.ศ. 2555 จะอพยพออกจากกรุงเทพ เป็นต้น (กำหนดเวลาสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์)
5. กำหนดสถานที่อพยพหรือยัง ?
การรับมือกับภัยพิบัติที่ดีที่สุดคือการหลบภัย มีคำเตือนว่าภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นนั้นมันรุนแรงมากเกินที่คาดคิด “ไม่ มีที่ใดในกรุงเทพเป็นที่ปลอดภัย” และ “อย่าคิดที่จะแบกเป้หนีน้ำ” ความหมายของผู้ที่เตือนคือให้ออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยเสียก่อน ไม่ใช่ไปคิดอพยพตอนที่ภัยพิบัติมาแล้ว อย่างนั้นจะไม่มีทางหนีทัน หลายแหล่งข้อมูลยืนยันตรงกันว่าภาคกลางและภาคใต้มีภัยรุนแรงจนอยู่ไม่ได้ ในเรื่องการกำหนดสถานที่หลบภัยนั้น ผมมักจะเจอคำถามที่ว่า “แล้วไปซื้อที่ไว้แล้วหรือยัง” หรือ “แล้วจะไปซื้อที่ดินแถวไหนดีล่ะ” คำถามประเภทนี้ต้องฟังน้ำเสียงผู้ถามให้ดีก่อนว่าไม่ใช่การถามแบบแดกดันหรือล้อเลียนประชดประชัน บางทีถ้าเราไม่มีเงินมากพอก็ไม่เห็นจำเป็นที่เราจะต้องไปซื้อที่ดินหรือปลูกบ้านในต่างจังหวัดที่ เราคิดจะไปหลบ เพราะไม่แน่ใจว่าที่ดินที่คิดจะไปซื้อและปลูกบ้านนั้นจะปลอดภัยมากแค่ไหน และปลอดภัยนานแค่ไหน อาจจะต้องอพยพมากกว่า 1 ครั้ง เอาเงินมาเตรียมปัจจัย 4 และอุปกรณ์ยังชีพน่าจะดีกว่า แม้ที่อยู่อาศัยเพื่อหลบภัยจะเป็น 1 ในปัจจัย 4 แต่ถ้าไม่มีเงินเหลือเฝือ แค่ถุงนอน หรือเปล เต๊นท์และฟลายชี๊ทก็คงจะพอหลบภัยชั่วคราว ไปขออนุญาตหลบภัยกางเต๊นท์ตามวัดหรือสถานปฏิบัติธรรมก็คงจะพอได้ ถ้ามีเพื่อนสนิทหรือมีญาติก็ไปขอพักด้วยชั่วคราวไปก่อน สิ่งที่สำคัญคือสถานที่ที่เราไปหลบนั้นมันปลอดภัยก็พอ ส่วนจะเป็นสถานที่ใดก็ต้องลองหาข้อมูลในเว็บนี้มีหลายท่านแนะนำไว้แล้ว http://board.palungjit.com
6. มีเงินสดและเสบียงเพียงพอหรือยัง ?
เนื่อง จากเราวางแผนไว้ว่าจะอพยพก่อนเกิดภัยพิบัติ ดังนั้นการอพยพไปในถิ่นที่อยู่ใหม่ต้องมีค่าใช้จ่าย เพราะถ้าภัยพิบัติยังไม่เกิด การจะไปอาศัยพึ่งวัดหรือสถานที่ราชการเพื่อหลบภัยแบบฟรีๆคงเป็นเรื่องยาก (ยกเว้นในบางวัดที่พระท่านทราบเรื่อง) อาจต้องอธิบายร่ายยาว ดีไม่ดีคนจะหัวเราะเยาะเอา ต้องหาข้ออ้างนู่นนี่ไปเรื่อย คงต้องรอให้ภัยพิบัติเกิดขึ้นเสียก่อน อีกทั้งช่วงแรกเราต้องมีการปรับตัวในเรื่องการทำมาหากิน คงต้องมีเงินสดสำรองเพื่อใช้จ่ายในระยะแรก ปัญหาคือเวลานั้นนานแค่ไหน เพราะไม่ มีใครบอกได้แน่นอนว่าภัยพิบัติจะเกิดเมื่อไหร่ ถ้าคาดการณ์แม่นสุดๆคืออพยพวันนี้แล้วพรุ่งนี้เกิดภัยพิบัติเลยก็คงดี แต่ถ้าไม่ใช่ล่ะ ? สมมติว่าอพยพในเดือนเมษายนปี พ.ศ 2555 แล้วภัยพิบัติไปเกิดในเดือนพฤษภาคมปีพ.ศ. 2556 นั่นหมายความว่าต้องอพยพไปหลบรอภัยพิบัติล่วงหน้าอยู่นาน 11-12 เดือน ระหว่างนั้นถ้ามีเงินสดไม่มากพอคงต้องหางานทำ แต่ถ้าต้องเลี่ยงเมืองใหญ่ งานที่ให้ทำคงมีให้เลือกไม่มากนักและไม่ใช่งานที่ถนัด
7. กรณีที่ตายในภัยพิบัติ มีจุดมุ่งหมายหลังความตายหรือยัง ?
คิด เผื่อว่ากรณีที่ไม่รอดจากภัยพิบัติ จำจะต้องทิ้งร่างกายนี้ไป ลองเช็คตัวเราเองดูวิว่าคุณธรรมหรือความดีของตัวเราที่มีอยู่ในวันนี้นั้นจะ พาเราไปที่ไหน แดนของเทวดา แดนของพรหม หรือแดนพระนิพพาน บางท่านอาจคิดว่าการได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกถือว่า ‘เท่า ทุน’ แต่สำหรับผมไม่คิดแบบนั้น เพราะผมถือว่า ‘สอบตก’ และต้องกลับมาเรียน ‘ซ้ำชั้น’ สิ่งที่ต้องเสียคือ 'เวลา' และค่าหน่วยกิจที่ต้องจ่ายคือ 'น้ำตา' ที่ต้องวนเวียนกลับมาทุกข์และพลัดพรากจากบุคคลและสิ่งอันเป็นที่รักอีก (ยกเว้นท่านที่ปราถนาพุทธภูมิ ท่านต้องกลับมาสร้างบารมี) สำหรับสาวกภูมิแล้วอย่างเลวนี่น่าจะไปเรียนต่อที่โรงเรียนานาชาติ (ชาติหน้า) ไปเป็นเทวดาหรือพรหมแล้วไปเรียนต่อบนนั้น หรือไปรอฟังเลคเช่อร์ รอฟังเทศน์จากพระศรีอาริยเมตไตรย แล้วเรียบร้อยโรงเรียนนิพพาน

เคยสงสัยไหมว่าทำไมเราต้องเกิดมาในยุคภัยพิบัติ ทำไมภัยพิบัติต้องมาเกิดในคนรุ่นเรา ?
บางคนกลับมาเรียนซ้ำชั้น แต่บางคนอธิษฐานมาทำหน้าที่ บางคนปราถนามาสร้างบารมี

ภัยพิบัติใหญ่ครั้งนี้อาจจะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่จะได้เจอ
หากยังคงเวียนว่ายอยู่ในวัฏะสงสารนี้ก็ต้องเจอภัยพิบัติซ้ำแล้วซ้ำอีก
ไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง แล้วจะต้องกลับชาติมาเกิดแล้วมาเถียงกันเรื่องภัยพิบัติอีกกี่ครั้ง
ต้องเป็นทุกข์จากการผลัดพรากอีกกี่ครั้ง ต้องอพยพหนีตายกันอีกกี่ครั้ง
ถ้าครั้งนี้โชคดีรอด มั่นใจไหมว่าภัยพิบัติครั้งหน้าในชาติต่อๆไปจะรอด
รอดจากภัยพิบัติไม่ได้แปลว่ารอดตาย เพราะสุดท้ายทุกคนเกิดมาต้องตาย ไม่มีใครหรืออะไรเหลือ
สุดท้ายแล้วเราเป็นผู้ไม่มีอะไรเลย ไม่มีสิ่งใดเป็นของเราเลย
รู้แบบนี้แล้วขอไปพระนิพพานชาตินี้เลยดีกว่า....

เชิญร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความเห็น และเล่าถึงการเตรียมตัวในข้อต่างๆต่อไปนี้
เพื่อเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมและเป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจ
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
http://board.palungjit.com/f178/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87-284168.html

Rank: 1


Rank: 1

ผมมาจากอนาคตครับ ปีสองพันสิบสองโลกยังไม่แตกงัฟ

Rank: 1

ขอบคุุณที่แนะนำ เขียนได้สนุกมากค่ะ

Rank: 1

ขอบคุนครับ

‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 06:34 , Processed in 0.033740 second(s), 14 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.